ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม
ลงพื้นที่ รพ.สต.วังใหญ่ สัมภาษณ์ติดตามการนำแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่นลงสู่การปฏิบัติ จำนวนผู้ถูกสัมภาษณ์ 2 ท่าน คือ หัวหน้าสถานนีอนามัยวังใหญ่ และพยาบาลวิชาชีพ พื้นที่นำร่องต.วังใหญ่มีปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด จากจำนวน 8 หมู่บ้าน (ไทยพุทธ 7 หมู่บ้าน อิสลาม 1 หมู่บ้าน) มีประชาชนจากพื้นที่ไทยอิสลามที่มีการติดไวรัสโควิด -19 แต่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงปฏิเสธการคัดกรองโรค การรักษาในสถานกกักกัน การรับวัคซีนโควิด-19 (พบเพียงร้อยละ 30) มีโอกาสแพร่ระบาดของโควิดเพิ่มขึ้น และปัญหาในพื้นที่เชื่อมโยงไปถึงกลุ่มอพยพเข้าจากสถานการณ์ความไม่สงบจากพื้นที่ชายแดนใต้มาพักพิงกับเครือญาติในพื้นที่ ทางหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จึงนำแนวปฏิบัติลงสู่การปฏิบัติ ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ดำเนินการรพ.สต.วังใหญ่
- ความรู้หรือนวัตกรรมชุมชน
ผลผลิต/สิ่งประดิษฐ์ใหม่
- จากการให้ข้อมูลพบว่า เกิดผลลัพธ์ในกระบวนการแนวคิดที่จะต่อยอดการพัฒนากระบวนการในเรื่องการลงพื้นที่แบบเชิงรุกของชุมชนที่มีปัญหา คือ หมู่ 8 ที่เป็นชุมชนมุสลิม และของหมู่ที่ 1-7 ที่มีผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต.วังใหญ่
วิธีการทำงานหรือการจัดการใหม่- จากการให้ข้อมูลพบว่า เกิดผลลัพธ์ในกระบวนการแนวคิดที่จะต่อยอดการพัฒนากระบวนการในเรื่องการลงพื้นที่แบบเชิงรุกของชุมชนที่มีปัญหา คือ หมู่ 8 ที่เป็นชุมชนมุสลิม และของหมู่ที่ 1-7 ที่มีผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต.วังใหญ่
- จากการให้ข้อมูลพบว่า เกิดผลลัพธ์ในกระบวนการแนวคิดที่จะต่อยอดการพัฒนากระบวนการในเรื่องการลงพื้นที่แบบเชิงรุกของชุมชนที่มีปัญหา คือ หมู่ 8 ที่เป็นชุมชนมุสลิม และของหมู่ที่ 1-7 ที่มีผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต.วังใหญ่
เกิดกลุ่มใหม่หรือโครงสร้างใหม่ - จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รพ.สต วังใหญ่ได้มีการขับเคลื่อนงานร่วมกับชุมชนมากขึ้นโดยการสร้างเครือข่ายในการลงพื้นที่ร่วมกับ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนไทยพุทธ มุสลิม เพื่อผลักดันให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนงานในชุมชน
แหล่งเรียนรู้ใหม่ - กระบวนการการดำเนินงานจากผู้ให้บริการในการศึกษาคู่มือสามารถถ่ายทอดกระบวนการคิด วิเคราะห์ สรุปเป็นแนวทางให้เพื่อนร่วมงานได้มีแนวทางในการดำเนินงาน และสามารถสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับภายนอกองค์กร คือ โรงพยาบาลเทพา
- เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล - ผู้ให้บริการมีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม มีความเป็นห่วงเป็นใยผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการของ รพ.สต เทพาได้ มีการรณรงค์ให้ผู้เข้ารับบริการ และชุมชน ได้มีการสวมใส่แมสก์ ล้างมือ และผลักดันให้มีการตรวจ ATK เชิงรุก
การลดพฤติกรรมเสี่ยง - ในชุมชนมีการตระหนักถึงโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น จากการพูดคุยปรับความเข้าใจในการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการการสัมผัสผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยง ได้มีแนวทางป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
การลดลงความเครียด ความขัดแย้ง - ผู้ให้บริการได้สร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชน และเครือข่ายในชุมชน ได้หาแนวทางร่วมกันในกรณีที่มีชาวบ้านในชุมชนติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่กล้าทิ้งบ้านไว้เพื่อไปกักตัว หรือรักษา จึงได้มีแนวทางร่วมกันในการอาสาเป็นตัวแทนดูแลบ้านและทรัพย์สินให้ในช่วงการรักษา และในกรณีการไม่เข้าใจกันในการใช้สถานที่กักตัวที่เป็นพื้นที่ต่างศาสนา เพื่อลดความขัดแย้ง ทางผู้ให้บริการและผู้นำชุมชนได้หารือร่วมกันถึงสถานที่ที่จะทำศูนย์กักตัว ณ จุดบริการแห่งใหม่ เพื่อให้ผู้รับบริการได้สามารถใช้สถานที่ในการรักษาแบบเป็นพหุวัฒนธรรมร่วมกันได้
พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน - มีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ให้บริการของ รพ.สต วังใหญ่ ในการตั้งด่านจุดคัดกรอง เข้า-ออก ชุมชน
- การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
สังคม วัฒนธรรม ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็กเยาวชน กลุ่มเปราะบาง - ผู้ให้บริการได้ตระหนักถึงการเข้ารับบริการของกลุ่มเปราะบาง เยาวชน และผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต วังใหญ่ และได้มีการร่วมมือในการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อให้กลุ่มเปราะบางและเยาวชนได้เข้ารับการบริการอย่างทั่วถึง
บริการสุขภาพ การใช้บริการ แพทย์ทางเลือก บริการทางเลือก - มีการปรับโครงสร้างในการเข้ารับบริการสวอป การรับวัคซีน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เข้ารับบริการโดยไม่มีการแบ่งแยก และให้บริการด้วยความเต็มใจ เข้าใจในบริบทของชุมชน
- กระบวนการชุมชน
การเชื่อมประสานระหว่างกลุ่ม เครือข่าย(ในรพ./ชุมชน)
- รพ.สต วังใหญ่ ได้มีการเชื่อมประสานงานกับชุมชน เครือข่ายภายนอก ได้แก่ รพ.เทพา และการร่วมมือกับผู้นำชุมชนในการสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกในชุมชนที่ยังไม่เข้าใจในถึงข้อมูลของโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ตระหนักถึงแนวทางป้องกันตัวเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมเมื่อเกิดโรคระบาด
กระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาเป็นระบบ - รพ.สต วังใหญ่มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน ถึงแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันจากความไม่เข้าใจถึงข้อมูล และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบร่วมกันกับผู้นำชุมชน ชาวบ้าน และเครือข่ายภายนอก
การใช้ทุนมนุษย์ (โรงพยาบาล/ชุมชน) - ผู้ให้บริการได้มีการผลัดเปลี่ยนกำลังการทำงานโดยการแบ่งหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนที่เข้ามารับบริการ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ได้แก่ งบประมาณอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างแรงจูงใจและกำลังใจให้กับผู้ดำเนินงาน
การขับเคลื่อนงานมีความต่อเนื่อง/ยั่งยืน - รพ.สต. วังใหญ่ มีการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องในการให้บริการแก่ชุมชนอย่างทั่วถึง และเข้าถึงการให้บริการเชิงรุกแก่พื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการของ รพ.สต. วังใหญ่ได้
มีทักษะการทำโครงการ/การใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ - การดำเนินงานของผู้ทำโครงการมีทักษะในการให้บริการแบบพหุวัฒนธรรม มีความเข้าใจในบริบทของพื้นที่ สามารถปรับแนวคิดและการปฏิบัติตลอดจนการตัดสินใจที่เป็นกลาง โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และมีการต่อยอดการดำเนินโครงการในอนาคต เพื่อพัฒนาให้ชุมชนเกิดความยั่งยืนในการเข้ารับบริการที่ประทับใจของ รพ.สต วังใหญ่
- ผลกระทบเชิงบวกด้านนโยบายสาธารณะที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสุขภาวะ
มีการสร้างแนวปฏิบัติ (ย่อย) กฎ กติกาของกลุ่ม - มีการดำเนินงานภายใต้กรอบปฏิบัติของชุมชน เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าให้บริการของ รพ.สต วังใหญ่ อันเกิดจากความไม่เข้าใจกันในการทำหน้าที่ จึงต้องมีการดำเนินงานภายใต้กฎกติกาของชุมชนและสังคม
- มิติสุขภาวะทางปัญญา/จิตวิญญาณ
ความภาคภูมิใจในตนเอง กลุ่ม ชุมชน
- ผู้ให้บริการมีความภาคภูมิใจในการให้บริการกับชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่ไม่สามารถเข้ารับบริการของ รพ.สต วังใหญ่ได้ และผู้ให้บริการได้มีการลงพื้นที่เข้าถึงชุมชน ทำให้ชุมชนนั้นได้รับบริการและเกิดความประทับใจ ตลอดจนหันมาให้ความสนใจกับสุขภาวะของตนเองมากขึ้น
ชุมชนเอื้ออาทร แบ่งปัน
- จากเหตุการณ์พบการติดเชื้อในชุมชนทำให้ชุมชนตลอดจน รพ.สต วังใหญ่ได้มีการร่วมมือกันในการรับมือกับโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ภายในชุมชนมีการแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้ติดเชื้อ ส่งข้าว อาหารแห้ง และการลงพื้นที่ของ รพ.สต วังใหญ่ ในการให้บริการสวอป ตรวจ ATK กับชุมชนที่มีความเสี่ยง
การตัดสินใจโดยฐานปัญญา - ผู้ให้บริการมีการตระหนักถึงการให้บริการภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพของการรักษาที่เป็นมาตรฐานแบบสากลและได้มีการศึกษาคู่มือเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ถึงการดำเนินงานตลอดจนกระบวนการตัดสินใจที่เกิดโดยสัญชาตญาณบนความถูกต้องภายใต้กรอบของการเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม
()