ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม
การบทสัมภาษณ์ นายสุไลมาน งอปูแล วันที่สัมภาษณ์ 24-4-2564 เวลา11:14น.
ตำแหน่งนักวิชาการสธารณสุขชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา
โครงการนี้เริ่มทำเมื่อประมาณ 2-3ปีที่แล้ว ช่วงโควิทระบาดจึงได้หยุด เฟสแรกคือการสร้างการรับรู้ในพื้นที่ อาจจะต้องเจาะตรงไปเลย จะเป็นทางโซเชียลทางสื่อเป็นหลัก เน้นในกลุ่มของการแก้ปัญหาพัฒนาในพื้นที่ โดยพัฒนาในพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มีส่วนสัมภาษณ์ โดยพัฒนาในรูปแบบของพหุวัฒนธรรม
-การดึงทุกภาคส่วน อาสาสมัคร ทั้งในศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม มาช่วยในการจัดระบบ สร้างระบบ แก้ปัญหาการพัฒนาการเด็กในพื้นที่ หลักๆคือ ผู้ที่ขับเคลื่อนในส่วนของเจ้าหน้าที่ ในภาคเครือข่าย สังคมเดินหน้า และองค์กรในพื้นที่ และตัวของแม่และเด็กที่เป็นผู้ปกครองของเด็ก
-สร้างการรับรู้ร่วมกัน ให้ทั้ง2ฝ่าย มีการสนทนากันได้สนิทใกล้ชิดกันมากขึ้นมันจะเริ่มเกิดความศรัทธาสามารถที่จะสร้างความร่วมมือได้มากขึ้น
ในโครงการนี้คุณสุไลมานมีหน้าที่อย่างไรบ้าง?
-หน้าที่หลักคือมีหน้าที่บริหารจัดการในภาพรวม เวลาทำงานเราจะทำงานกันเป็นทีมในโรงพยาบาลก็เป็นสหวิชาชีพ แต่ว่าหลักๆเลยคือ ความสำคัญอยู่ที่ผู้บริหารโรงพยาบาลธารโต นพ.มะสุวรรณ สะเระ เป็นคนที่มีไอเดียและเป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ และมาถ่ายทอดให้กับทีมงานว่าเราจะทำในเรื่องไหน ส่วนผมหลักๆคือบริหารจัดการ วางแผน ควบคุมกำกับและติดตามให้เป็นไปตามที่ได้วางไว้
กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือ?
-กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ของเราคือเด็ก 0-5ปีในเรื่องของพัฒนาการ แต่กลุ่มกิจกรรมในเรื่องของกระบวนการที่เราแอคเข้าไป ในเรื่องของผู้นำศาสนา ครูอนามัยแม่และเด็ก ครูสอนศาสนาในพื้นที่และจะเป็นในส่วนของพ่อแม่ อสม. ภาคีเครือข่ายอื่นๆที่มาร่วมในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน
-เด็กนักเรียนที่จะเข้าสู่ในวัยเจริญพันธ์ ให้ได้รู้เรื่องพัฒนาการต่างๆ และได้รับรู้ในเรื่องของความสำคัญของพัฒนาการในตัวเด็ก ซึ่งจะมีผลต่ออนาคตในการเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า มีกิจกรรมให้ความสำคัญในการสร้างครอบครัวอย่างมีคุณภาพ
-การตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
-ส่วนใหญ่คนในพื้นที่จะเป็นอิสลาม จะใช้หลักพื้นฐานของศาสนาอิสลามมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
ในปีนี้มีแผนโครงการอะไรบ้าง
-มีแผนไว้หลายอย่าง เป็นการดำเนินการในเฟส2 ถ้าเรามีการดำเนินการ การปฏิบัติได้จริง เราจะดำเนินการได้อย่างไร(เพราะติดโควิด-19 เลยหยุดดำเนินการชั่วคราว) ปลายปีที่แล้วแทบจะไม่ได้ดำเนินการอะไร
-ส่วนที่ดำเนินการต่อคือการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เราได้ให้ความรู้ไป เค้าได้ดำเนินการตามเนื้อหาที่เราได้แลกเปลี่ยน ที่ได้ถ่ายทอดไปมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะตัวครู ครูมี2สาย คือ ครูสายสามัญ ครูสอนศาสนา
พื้นที่ในการขับเคลื่อน?
-พื้นที่ครอบคลุมในอำเภอ ธารโต ไม่ได้เลือกพื้นที่ทั้งหมด คัดเลือกพื้นที่ที่ให้ความพร้อม และให้ความร่วมมือจริงๆ
การประชุม?
-ประชุมปีล่าสุด ปลายปี 63 กลุ่มเป้าหมายเข้ามาน้อย(ช่วงโควิทระบาดพอดี)
-มีการติดตามแต่ไม่เข้มข้น(เพราะโควิท)
-มีแค่การสอบถามจากผู้ปกครองที่เคยเข้าร่วม
-แผนประชุมคราวหน้ายังไม่กำหนด
-ปกติแล้วทางโรงพยาบาลจะมีการประชุมทุกเดือน ปี 62-63ก่อนมีการระบาดยังมีการดำเนินทิศทางได้อยู่ แต่พอโควิด-ๅต ระบาดจึงต้องจบขั้นตอนในการทำงาน
ที่จริงเป้าหมายของผู้บริหารคืออีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องในพื้นที่ รพ.สต. ซึ่งจะให้ รพ.สต.เป็นโมเดล โดยดึงโมเดลใหญ่ที่เราเคยทำ เจาะลงในพื้นที่ที่เซตไว้ เป็น รพ.สต.บ้านซาไก ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา อีกพื้นที่นึงคือ ต.บันนังกะแจะ
2พื้นที่นี้มีความต่าง พื้นที่หนึ่งคือ มุสลิม อีกพื้นที่หนึ่ง ไทยพุทธ เราจะมาลองดูเรื่องแอ็คชั่นที่ใช้อยู่ จะดูในส่วนของพหุวัฒนธรรม ซึ่งจริงๆเรื่องพหุวัฒนธรรม เราไม่ได้แยกเรื่องศาสนา แต่เราจะลองดูว่าในบริบทที่มันมีความแตกต่างในเรื่องของความเชื่อ แอ็คชั่นที่เราใส่ลงไปจะมีผลแตกต่างกันไหม เราก็จะพยายามเติมในส่วนที่เท่ากัน
หมายเหตุ รอคู่มือ รองบประมาณ ให้สถานการณ์โควิดคลี่คลาย ขยายประเด็นเดิมคือ การพัฒนาเด็กธารโต
()