ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
เพื่อเพื่อให้ภาคีเครือข่ายเกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาวะวิถีธรรมในมิติบริบทพหุวัฒนธรรม
- จัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงาน
- จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาสุขภาวะดีวิถีธรรมในศาสนสถานอำเภอรือเสาะ
- สรุปผลการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- สรุปผลการดำเนินงาน
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้นแบบ แกนนำจากตัวแทนศาสนสถานตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
เป้าหมาย แกนนำศาสนสถานต้นแบบเข้าร่วม 200 คน ศาสนสถานมีกิจกรรมขับเคลื่อนนวัตกรรม สุขภาวะวิถีธรรม อย่างน้อย 10 แห่ง
ผลการดำเนินงาน พบว่า จำนวนแกนนำศาสนสถานต้นแบบวัด มัสยิดตำบลลาโละร่วมกิจกรรม 311 คน คิดเป็นร้อยละ 155
ศาสนสถานมีกิจกรรมขับเคลื่อนนวัตกรรม สุขภาวะวิถีธรรม 12 แห่ง
(มัสยิด 11 แห่ง วัด 1 แห่ง)
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.การนำสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย นำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ 3ส. 3อ. 1น. (3ส.-สวดมนต์,สมาธิ,สนทนาธรรม/3อ.-อาหาร,อารมณ์,ออกกำลังกาย/1น.-นาฬิกาชีวิต)เพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพดีตามบริบททางสังคมและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพ
ในชุมชนตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
กิจกรรมที่ 3 สุขภาวะดีวิธีธรรม
พื้นที่ดำเนินการ หมู่1 บ้านบือแรงหมู่ 8 บ้านไทยสุข ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
สถานการณ์ (ปัญหา) จากการพัฒนาศาสนาสถาน (มัสยิด ,วัด) ในพื้นที่เป็นศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพต้นแบบ และเป็นศูนย์เรียนรู้ต่างๆสำหรับประชาชนในพื้นที่และได้มีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของประชาชนเป็นคู่ขนานซึ่งได้พบปัญหาสุขภาพมานานซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและมีอัตราเพิ่มขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อน
จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ พบว่า ผู้ป่วยในพื้นที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงได้เกิดนวัตกรรมขึ้นมา
กระบวนการนวัตกรรม
1.มีการประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงาน
2.มีการให้ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมวิถีพุทธ วิถีอิสลาม
3.ใช้ศาสนสถานเป็นฐานร่วมดูแลสุขภาพ
4.ใช้หลักการ 3 ส.3 อ. 1 น. โดยใช้มิติ 3 ด้าน ด้านจิตวิญญาณ , ด้านสุขภาพกายใจ และด้านแบบแผนชีวิตและสังคม
หมายเหตุ: มิติด้านจิตวิญญาณ (สวดมนต์/ขอดุอาร์) (สมาธิ/อิหม่าน)(สนทนาธรรม/นาซีฮัต)
มิติด้านสุขภาพกายใจ (อาหาร/อาหารบารอกัต) (อารมณ์/นัฟซู) (ออกกำลังกาย/อามานะห์)
มิติด้านแบบแผนชีวิต (นาฬิกาชีวิต/วิถีสุนนะ)
5. นวัตกรรม
5.1เมนูอาหารงานบุญสุขภาพ
5.2เมนูอาหารส่งเสริมสุขภาพ (มัสยิด ,วัด)
5.3พื้นที่สุขภาวะโดยการใช้สื่อ(วิถีพุทธ)วัด/บ้าน
5.4พื้นที่สร้างสุขภาพโดยใช้ผ้ารองละหมาด (วิถีอิสลาม) มัสยิด/บ้าน
5.5ลานสุขภาวะ (มัสยิด/วัด)
6.ป้ายเตือนความจำ 3 ส.3 อ. 1 น. (มัสยิด ,วัด, บ้าน)
7.แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม โดยผู้ป่วย ,ญาติ
8.มีการติดตามการปฎิบัติกิจกรรม โดยอสม. ที่รับผิดชอบทุกเดือน
9.มีการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทุก๒ เดือน
ผลที่เกิดขึ้น
1. เกิดแกนนำจัดการสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานวิถีธรรม 2 ชมรม
1.1ชมรมสุขภาวะดีวิถีธรรมวัดชนาราม จำนวนสมาชิก 28 คน
1.2ชมรมสุขภาวะดีวิถีธรรมมัสยิดบ้านบือแรง จำนวน 30 คน
2.เกิดศาสนสถานต้นแบบจัดการผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตามสุขภาวะดีวิถีธรรม
การมีส่วนร่วมของนวัตกรรม
1.โรงพยาบาลรือเสาะ
2.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรือเสาะ
3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ
4.องค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ
5.ผู้นำศาสนา
6.ผู้นำชุมชม
7.อาสาสมัครสาธารณสุข
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
ตัวแทนศาสนสถานจากวัดและมัสยิดตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
- วัดชนาราม ม.8บ้านไทยสุข
- มัสยิดบ้านบือแรงม.1บ้านบือแรง
- มัสยิดบ้านบูเกะนากอ ม.2บ้านบูเกะนากอ
- มัสยิดบ้านอีนอม.3บ้านอีนอ
- มัสยิดบ้านรีเยง ม.4บ้านรีเยง
- มัสยิดบ้านอูยิ ม.4บ้านอูยิ
- มัสยิดบ้านลาโละ ม.5บ้านลาโละ
- มัสยิดบ้านบาโละห์ ม.5บ้านบาโละห์
- มัสยิดบ้านไอร์บูโละห์ม.6บ้านไอร์บูโละห์
- มัสยิดบ้านกาจอปอรี ม.7บ้านกาจอปอรี
- มัสยิดบ้านนัสรียะห์ม.8บ้านนัสรียะห์
- มัสยิดบ้านพงยือติม.9บ้านพงยือติ
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี