ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
เพื่อให้สถานบริการสุขภาพ และศาสนสถานต้นแบบมีกิจกรรมเอื้อต่อการสร้างสุขภาวะวิถีธรรมที่ตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณตามบริบทพหุวัฒนธรรม
1.ประชุมคณะกรรมการ 2.ลงเยี่ยหน้างานเพื่อรับทราบประเด็นกรอบการพัฒนาบริการสุขภาวะวิถีธรรม รอบที่ 2 3.สรุปผลการลงเยี่ยมหน้างาน รอบที่ 2
ลงเยี่ยมหน้างานบุคลากรเพื่อรับทราบประเด็นกรอบการพัฒนาสุขภาวะวิถีธรรมรอบที่ 2
เป้าหมาย บุคลากรเข้าร่วม 67 คน (หน่วยบริการสุขภาพ ร่วมกิจกรรมร้อยละ 80)( กลุ่มงานของโรงพยาบาลรือเสาะร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 )
ผลการดำเนินงาน พบว่าจำนวนหน่วยบริการสุขภาพในคปสอ.รือเสาะ 16 แห่งร่วมกิจกรรม คิดเป็น
ร้อยละ 100 , กลุ่มงานจากโรงพยาบาลรือเสาะ จำนวน 12 กลุ่มงาน คิดเป็นร้อยละ 100
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1. ด้านปัจเจกชน บุคลากรที่ได้รับการอบรมเกิดการจัดการแบบแผนชีวิตที่ดีส่งผลให้เกิดมิติคุณค่า 5 ด้าน (VALUE) คือในด้านการปกป้องจิตวิญญาณ การปกป้องชีวิต การปกป้องสติปัญญา การปกป้องครอบครัว และการปกป้องทรัพยากร และทำให้เกิดความยั่งยืน(IMPACT) ในด้านภูมิปัญญา ด้านผู้สืบทอด และด้านประโยชน์สาธารณะ
1.1ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความคาดหวังในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ พหุวัฒนธรรม ดังนี้
-บุคลากรสามารถทำงานอย่างมีความสุข
-เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- บุคลากรตรงต่อเวลา
- บุคลากรกินอิ่ม นอนหลับ
-บุคลากรสุขภาพดี สามารถดูแลตนเองได้ ตามวิถีชุมชน
-เสริมสร้างสมรรถนะแก่บุคลากรด้านการให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน
- สร้างรอยยิ้มในระหว่างการทำงาน ให้ตัวเองมีความสุขกับทุกวันทำงาน
- ผู้รับบริการพึงพอใจ การรับบริการให้มากที่สุด
- มีเครื่องมือ อุปกรณ์พร้อมในการทำงาน
-ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เช่น การได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง มาเร็ว การฉีดวัคซีน การรับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นต้น
-ประชาชนสามารถเป็นต้นแบบในการดูแลตนเอง ในแต่ละกลุ่มโรค (Model)
-มีระบบการทำงานและการจัดการอย่างชัดเจนตามแนวทางที่กำหนด
-บุคลากรสามารถทำงานเป็นทีม
-บุคลากรหวังว่าจะเข้าใจ พหุวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น
-บุคลากรนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย
-สถานที่ทำงานมีระบบความปลอดภัย
-การให้บริการที่สอดคล้องกับความเชื่อ วัฒนธรรมของผู้รับบริการ
-ให้บริการผู้ป่วยแบบพหุวัฒนธรรมโดยผู้ป่วยไม่ร้องเรียน
-อยู่ด้วยกันอย่างสมานฉันท์
2.ด้านองค์กรสุขภาพ การจัดการนวัตกรรม มีกิจกรรมขับเคลื่อนนวัตกรรม สุขภาพดีวิถีธรรม
2.1ประสบการณ์ One day Experiences
-มุมมองของจุด หน่วยงาน
-มุมมองของผู้รับบริการ
*อารมณ์ประสบการณ์ด้านบวก
ดีใจที่เจอเจ้าหน้าที่
ดีใจที่ได้มากินข้าวที่รพ. ปลอดภัย
อยากนอนรพ.กับข้าวอร่อย
สบายใจเมื่อเจอพยาบาลยิ้มหวาน สบายใจเมื่อเจอเจ้าหน้าที่ดี
มีความสุขที่ได้มาเจอหมอรักษาหาย
รู้สึกโล่งได้มาทำฟันสักที
ดีใจบุคลากรสวย
ได้ข้อมูลครบถ้วน
*อารมณ์ประสบการณ์ด้านลบ
เสียใจ
เศร้าใจ
หงุดหงิด หงุดหงิดเมื่อเจอเจ้าหน้าที่หงุดหงิด
เบื่อเข้าคิวหลายรอบซับซ้อน เร่งรีบอยากเข้าห้องฉุกเฉิน
ไม่สบายตัว เวียนศรีษะแสงเข้าตา
ไม่สบายใจ
กังวล ถูกปฏิเสธ กังวลต้องเสียตังค์ไหม
รพ.รือเสาะคนไข้เยอะจังรอคิวนาน
งงสับสนไม่รู้จะไปที่ไหน รู้สึกบอกไม่ถูกหาไม่เจอ
รู้สึกโมโห หมอไม่อยู่ต้องเดินไปเดินมา
-เกิดนวัตกรรม Ruso 8 hrs Happinometer
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
1.แกนนำสุขภาพเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรือเสาะ(กลุ่มงานการพยาบาล, กลุ่มงานเภสัชกรรมและกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค,กลุ่มงานบริหารทั่วไป,กลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์,กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม,กลุ่มงานบริการทางการแพทย์,กลุ่มงานทันตกรรม,กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู,กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและทางเลือก,กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์,กลุ่มงานโภชนาศาสตร์ และกลุ่มงานรังสีวิทยา) 2.แกนนำเจ้าหน้าที่จากกลุ่มงานต่างๆจากเครือข่ายสาธารณสุขอำเภอรือเสาะ(กลุ่มเป้าหมายเครือข่ายสาธารณสุขอำเภอรือเสาะ 1.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรือเสาะ 2.รพ.สต.นาโอน 3.รพ.สต.บาตง 4.รพ.สต.โคกสะตอ 5.รพ.สต.เรียง 6.รพ.สต.ซือเลาะ 7.รพ.สต.บลูกาฮีเล 8.รพ.สต.สาวอ 9.รพ.สต.ือและห์ 10.รพ.สต.มะนังปันยัง 11.รพ.สต.บาโงกือเตะ 12.รพ.สต.ยือลาแป 13.รพ.สต.ตายา 14.รพ.สต.บูกิตจือแร 15.รพ.สต.ลาโละ 16.รพ.สต.อูยิ)
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี