การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต
1.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่งานนามัยแม่และเด็กในเครือข่ายบริการสุขภาพให้สามารถนำไปปฏิบัติด้วยความเข้าใจบริบทพื้นที่ 2.เพื่อจัดทำแผนพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
1.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
2.กำหนดเนื้อหาและหัวข้อการบรรยายและอภิปราย
3.จัดทำแบบฟอร์มและกรอบแนวคิดในการจัดทำแผนพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก
4.ประสานวิทยากรและพื้นที่ดำเนินการ
5.บรรยายและปฏิบัติการกลุ่มตามหัวข้อดังนี้
1) นำเสนอสถานการณ์อนามัยแม่และเด็กและกลไกการพัฒนางานในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
2) บรรยาย มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตมุ่งสู่เป้าหมายเด็กธารโต 4.0
3) บรรยายหลักการและแนวคิดชุมชนมุสลิมกับรูปแบบการเลี้ยงดูบุตรตามแนวทางนบี
4) สรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนมุมมองวิถีคิดการทำงานในพื้นที่
5) แบ่งกลุ่มเพื่ออภิปรายและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่พหุวัฒนธรรม โดยวิทยากรกลุ่ม
1) การจัดระบบบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน
2) แนวทางเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
3) การสร้างสื่อเพื่อการสื่อสารพัฒนาการเด็กสำหรับพื้นที่
4) แนวทางเพื่อป้องกันและลดการตายมารดาสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
5) แนวทางการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และคุณค่าขอน้ำนมในมุมมองสังคมมุสลิมในพื้นที่
6) นำเสนอผลแต่ละกลุ่ม รับฟังข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ โดยวิทยากรกลุ่ม
7) อภิปรายทั่วไปและปิดการอบรม
8) กิจกรรมกระบวนการกลุ่มเพื่อสร้างสัมพันธภาพผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก
1.ผู้รับผิดชอบหลักงานอนามัยแม่และเด็กสามารถเข้าร่วมร้อยละ 100 2.ผู้รับผิดชอบมีความรู้เรื่องแนวทางการเลี้ยงดูบุตรตามแนวทางซุนนะห์ท่านนบี (ศาสดา) และสามารประยุกต์ใช้ในการให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาในระหว่างการให้บริการ 3.มีวิถีปฏิบัติในงานห้องคลอดของ รพ. ตามหลักการของอิสลาม 4.มีนวัตกรรมการสร้างสิ่งแวดล้อมในสถานบริการที่เอื้อต่อการใช้บริการในรพ. เช่น ผ้าปิดระหว่างให้นมบุตร
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู้รับผิดชอบหลักงานแม่และเด็กระดับ รพ. สสอ. และรพ.สต. รวม 14 คน
ปัญหา : 1. ความเข้าใจของบุคลากรโดยรวมในการให้บริการงานอนามัยแม่และเด็ก 2. การสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับของระบบบริการในพื้นที่ 3. การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กของชุมชน แนวทางแก้ไข : 1. จัดทำแนวทางและซักซ้อมการใช้แนวทางในการให้บริการ 2. เปิดช่องทางการรับฟังข้อเสนอแนะและแนวทางตามความต้องการการบริการของชุมชน 3. ค้นหาแกนนำอาสาจากชุมชนในการผลักดันระบบการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก 4. เสนอวาระการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กในที่ประชุมสภาพหุวัฒนธรรม
ยกระดับการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับประชาชนในพื้นที่