การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต
1.เพื่อให้ครูสอนศาสนาในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเด็ก 2.เพื่อเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับครูสอนศาสนาในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพเด็ก 3.เพื่อให้ครูสอนศาสนาเข้าใจและมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพเด็กนักเรียน
1.ประสานวิทยากรสุขภาพและผู้รู้ทางศาสนา 2.ประสานพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 3.บรรยายและเสวนาเรื่อง 08.30 - 08.30 น. ลงทะเบียน 08.30 - 09.00 กล่าวรายงาน พิธีเปิด 09.00 - 11.00 น. บรรยายเรื่องทักษะการสื่อสารด้านหลักการทางศาสนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในการดูแลบุตรให้มีคุณภาพ 11.00 - 12.00 บรรยายการสังเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการเด็กกับผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก 13.00 - 14.00 น. บรรยายเชิงปฏิบัติการทักษะการสรา้งสื่อ การบริหารจัดการเด็กเพื่อพัฒนาการเด็กใน GEN Z ให้มีคุณภาพ 14.00 - 16.00 น. แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก บรรยายการสร่้างเสริมสุภาพจิตในเด็กนักเรียน กลุ่ม 2 หลักการศาสนากับการส่งเสรมิสุขภาพ - การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเด็กกับบทบาทครูสอนศาสนาในสังคมพหุวัฒนธรรม - ถ่ายทอดประสบการณ์ความเข้าใจหลักศาสนาและพฤติกรรมสุขภาพ - ทักษะการสร้างสื่อ การสื่อสาร และการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กใน GEN Z ให้มีคุณภาพในชั้นเรียน 4.ประเมินผล
1.กลุ่มครูสอนศาสนาและผู้ที่จะกำลังจะจบในชั้น 10 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพและสามารถบูรณาการสอนและการส่งเสริมสุขภาพเด็ก GEN Z
2.โรงเรียนสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กและอาจต่อยอดเป็นตาดีกา/ปอเนาะส่งเสริมสุขภาพ
3.ในโรงเรียน ตาดีกา สถาบันปอเนาะ มีกิจกรรมที่บูรณาการกิจกรรมส่งเสรมิสุขภาพกับหลักปฏิบัติทางศาสนา เช่น แรงฟันทุกคร้ังก่อนละหมาด บริหารอาหารที่มีประโยชน์
4.ทำสัญญาประชาคมในโรงเรียนให้มีการขายเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์เท่านั้น
เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
ประกอบด้วย
1.ครูสอนศาสนา (ตาดีกา กีรอาตี สอนในสถาบันปอเนาะ) จำนวน 60 คน 2.นักเรียนศาสนาชั้น 10 (กำลังจะจบชั้นเรียน) จำนวน 40 คน
1.ครูสอนศาสนาบางส่วนยังมองแยกส่วนระหว่างศาสนากับการส่งเสริมสุขภาพ (จากการพูดคุย) และได้กำหนดแผนให้มีกิจกรรมที่ร่วมสร้างความเข้าใจให้มีความต่อเนื่องและติดตามผลอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง และเน้นให้ผู้นำศาสนาเข้าร่วมในกิจกรรม
ควรเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนและสถาบันทางศาสนา เพื่อสร้างความคุ้นเคยและความไว้วางใจ สรา้งศรัทธาร่วม เพื่อให้เกิดการร่วมมืออย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาพัฒนาการเด็กในพื้นที่