ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
-เพื่อกำหนดรูปแบบบริการที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรม-เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินการการจัดบริการภายใต้พหุวัฒนธรรมนำสู่การพัฒนางานต่อไป-เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยน ผลการดำเนินงานในแต่ละชุมชน ในอำเภอยะหริ่ง
คู่มือฉบับใหม่ในงานอนามัยแม่และเด็ก จากการลงมือปฏิบัติของโรงพยาบาล
การให้บริการตรวจครรภ์ในหญิงมีครรภ์ รพ.ยะหริ่ง
1. ผู้ให้บริการต้องเป็นเพศเดียวกันกับผู้รับบริการ ถ้าไม่สามารถเลี่ยงได้ ต้องไม่ปฏิบัติการพยาบาลสองต่อสอง ต้องมีญาติที่ใกล้ชิดอยู่ด้วยทุกครั้ง
2.ในกรณีที่ผู้รับบริการหญิงตั้งครรภ์ต้องการตรวจครรภ์กับผู้ให้บริการที่เป็นเพศเดียวกัน ทางรพ.ดำเนินการดังนี้
- เลื่อนนัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไปให้ตรงกับผู้ให้บริการที่เป็นแพทย์ผู้หญิงโดยคำนึงถึงความปลอดภัย
- ประสานแพทย์ผู้หญิงมาตรวจแทนกรณีที่ไม่สามารถเลื่อนนัดได้
ทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ
3. กระทำในสถานที่มิดชิด เช่น การปิดม่าน โดยต้องไม่เปิดเผยร่างกาย หรือ อวัยวะให้ผู้อื่น ที่ไม่ใช่ญาติใกล้ชิด
1. ภายในอาคาร หรือ ห้องพักผู้ป่วยควรแสดงทิศของการละหมาด
2. มีอาคาร/สถานที่ละหมาดที่สะอาด เงียบสงบ และกว้างขวางเพียงพอต่อจำนวนผู้มาใช้บริการ โดยแยกเป็นสัดส่วนระหว่างผู้ชายและผู้หญิง
3. ส่งเสริมการละหมาดบนเตียงในผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวอยู่บนเตียง เนื่องจากข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว เช่น การคาสายต่างๆ ตามร่างกาย
4. การจัดให้อุปกรณ์ช่วยด้านการส่งเสริมจิตวิญญาณ เช่น หนังสือดุอาอ์ บทซิกิรฺ คัมภีร์อัลกุรอ่าน หนังสือหรือบทความที่เกี่ยวข้องกับศาสนา บริการหนังสือตั้งชื่อตามหลักศาสนา ทั้งพุทธและอิสลาม รวมทั้งบทความที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา
5. จัดมุมอาซานสำหรับทารกแรกเกิด
6. จัดบริการจิตอาสาทำอาซานทารกแรกเกิดในครอบครัวที่ไม่พร้อม
7. รับบริการแจ้งเกิด โดยรับยื่นเอกสาร เพื่อนำส่งทะเบียนราษฎร์ และนัดวันรับสูติบัตรที่ห้อง UC
เน้นอาหารฮาลาล ที่เตรียมจากครัวฮาลาล โรงพยาบาลยะหริ่ง ถูกหลักการทางศาสนาอิสลาม
(ปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นข้อห้าม เช่น สุกร และ สิ่งที่มีส่วนผสมจากเหล้า)ส่งเสริมให้ทุกเทศกาล งานบุญ งานประเพณี ให้เป็นให้ปรับวิถีการดูแลตนเอง เช่น ในช่วงเทศกาลการถือศีลอด 2.ปรับวิธีการดูแลตนเอง เรื่องการกินยา ในช่วงเทศกาลการถือศีลอด(เดือนรอมฏอน) โดยปรับช่วงเวลา มื้อเช้า เปลี่ยนเป็นเวลา หัวรุ่ง=ซาโฮ (04.00 น.) มื้อเที่ยงเปลี่ยนเป็น เวลา เปิดปอซอ(18.30 น.) มื้อเย็นเปลี่ยนเป็นเวลา เที่ยงคืน
3.การตรวจภายใน 45 วัน หลังคลอด ถ้าตรงช่วงเดือนเทศกาลการถือศีลอด(เดือนรอมฏอน) หากผู้รับบริการประสงค์ขอเลื่อนนัดได้ เพื่อให้ทำศาสนกิจได้โดยสมบูรณ์- มีบริการอินทผาลัมแจกญาติที่มาเฝ้ามารดารอคลอดและหลังคลอดตลอดเดือนรอมฏอน จากชมรมมุสลิมโรงพยาบาลยะหริ่งและชุมชน
การสร้างเสริมสุขภาพวิถีอิสลามในกลุ่มแม่และเด็ก 1.เปิดโอกาสให้ผู้นำศาสนาของทุกหมู่บ้านในตำบลมาเป็นเครือข่าย เป็นส่วนหนึ่งในงานอนามัยแม่และเด็ก โดยมีขั้นตอนตั้งแต่ [1] ก่อนที่ชายและหญิงจะแต่งงาน จะมีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านศาสนาและด้านสุขภาพ การใช้ชีวิตคู่ [2] ตอนทำพิธีแต่งงานจะมีการนาฮีฮัต(ตักเตือน) ให้โอวาทและความรู้ กำชับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก รวมไปถึงเน้นย้ำให้ฝากครรภ์กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ รพ.สต. หรือที่โรงพยาบาลเป็นต้น
ร่วมมือเครือข่าย ได้แก่ โต๊ะบีแดหรือผดุงครรภ์โบราณ ผู้นำศาสนา และ อสม. มาเป็นเครือข่ายในการดูแลหญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอด โดยส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มาฝากครรภ์ก่อน 12ให้ความรู้ ปรับวิธีคิด ในความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับหลักการอิสลาม โดยให้ผู้นำศาสนาเป็นผู้สอน ผู้อธิบาย ด้วยวิธีการค่อยเป็นค่อยไป ค่อยปรับค่อยแก้ และให้ความรู้ด้านทางการแพทย์ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจแก่โต๊ะบีแดในการดูแลและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์มาที่โรงพยาบาลรวมถึงการนวดหลังคลอด
สร้างวิถีอิสลามให้มีในตัวเจ้าหน้าที่และในโรงพยาบาล เช่น การแต่งกายที่เหมาะสมถูกต้องตามหลัก มีบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับอิสลาม เช่น การยิ้ม การทักทายด้วยการให้สลาม การขอพร(ดุอาร์) การปฏิบัติดูแลเสมือนญาติมิตร และการสร้างบรรยากาศในโรงพยาบาลให้เอื้อต่อการทำ อิบาดะห์ (ประกอบศาสนากิจ)
- การจัดกิจกรรมให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์และสามี(โรงเรียนพ่อแม่ 1 และ พ่อแม่ 2 )เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ 5.เปิดให้บริการ Case Early ANC รายใหม่ทุกวัน เพื่อตอบสนองต่อผู้รับบริการที่มีปัญหาเช่น วันให้บริการไม่ตรงกับวันหยุดของผู้รับบริการ (ผู้รับบริการที่กลับจากทำงานต่างถิ่น ,ที่ทำงานมาเลย์)และในชุมชนมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
- กิจกรรมตำบลนมแม่ จนเกิดนโยบายสาธารณะในหมู่บ้านเช่นในตำบลตอหลัง ที่ขับเคลื่อนโดยโต๊ะอีหม่าม ผู้นำท้องถิ่น แลท้องที่ จนเกิดข้อตกลงเรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และไม่มีนมผสมสำหรับทารกจำหน่ายในชุมชน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
เครือข่ายสุขภาพชุมชนผู้นำ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา จนท.คปสอ.ยะหริ่ง จำนวน 40 คน
ดำเนินการตามแผน