สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

-อบรมหลักธรรมทางศาสนากับบริการที่มีคุณภาพตามวิถีชุมชน8 มีนาคม 2561
8
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย sareeya sama
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อกำหนดรูปแบบที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.รวบรวมและวิเคราะห์ 2.ประชุมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ 3.ดำเนินการตามโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ความสุขกับพหุวัฒนธรรม โจทย์สำคัญ จากเพลงเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมอย่างไร ? -การยอมรับและไม่ยึดติดกับสิ่งใด เช่น ผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้เราเข้าใจความคิด ความรู้สึก ถ้าเราไม่คาดหวังในตัวเขา เราก็จะมีความสุข (พี่สุกี้) -เครื่องดนตรี ศิลปิน หลายอย่างแต่ก็เข้ากันได้ โยงมาถึงโรงพยาบาลเราก็สามารถเชื่อมโยงคนไข้ไทยพุทธ มุสลิมก็สามารถเชื่อมโยงเข้ามาได้ อาจารย์เสริมเรื่องการรักษากระแสหลักและภูมิปัญญาความเชื่อ เป้าหมายเพื่อการดูแลผู้ป่วย องค์กรมีความสุขและตอบโจทย์คนในพื้นที่ (ก๊ะสุไบดะห์) -คุณค่าของความเป็นคนเท่ากันและความสุขอยู่ที่ใจ (กะดะห์) -การมีสติ ใจต้องนิ่ง ทำให้เรารับรู้สิ่งรอบข้างและไม่ยึดติด ทำให้เรามองสิ่งรอบข้างเป็นความสุข และความสุขอยู่ใกล้ๆในทุกเพศทุกวัย ค้นหาที่ใจเราก่อน แค่ใจเราไม่คิดว่าทุกข์ก็สุขแล้ว (พี่พร) อาจารย์เสริมเรื่องเด็ก คือการสร้างเมล็ดพันธุ์เหมือนกับในองค์กรให้เปิดโอกาสให้เด็กๆเข้ามามีส่วนร่วมในงานใหญ่ๆด้วย (เหมือนเพลงเพลงนี้อาจจะแค่ 5 นาที แต่การเดินทางของเพลงนี้ยาวนานเช่นเดียวกับการทำงานองค์กร) -การผสมผสานของเครื่องดนตรีในแต่ละภาคมาในเพลงๆเดียวกัน ทำให้ลงตัว อาจารย์เสริมเรื่องการรักษาแบบพหุวัฒนธรรม ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากัน (พี่เอียด) -การผสมผสานระหว่าเครื่องดนตรีของแต่ละภาค ที่สำคัญคือสามารถเอามารวมกันเป็นเพลงเดียวกัน นักร้องก็หลากหลายทำนองหลากหลายโทน แต่มารวมเป็นเพลงเดียวกัน มองกลับกันว่าความเชื่อต่างกัน วัฒนธรรมต่างกัน แต่ความหลากหลายสามารถนำมาอยู่ร่วมกันได้โดยมีความสุข (แบลีจิต) -วัฒนธรรมต่างถิ่น ต่างพื้นที่ก็ต่างกันแต่ความต่างไม่ได้ทำให้เกิดความแตกแยก เพราะความดีงามของวัฒนธรรมมีอยู่แล้ว ถ้าเรามองความดีงามก็จะมีความสุขและถ้าสิ่งที่ไม่ขัดกับหลักการศาสนาเราก็สามารถนำมาอยู่ร่วมกันได้ (แบเค) -ไทยพุทธและอิสลามก็อยู่ด้วยกันกลมกลืนกัน เหมือนกับเพลง จากเด็กสู่ผู้ใหญ่ ก็อยู่กันแบบญาติมิตร แต่ภาพสื่อที่ทำให้มองออกไปเป็นอีกแบบ (รพ.สต.) อาจารย์เสริมว่า “พหุวัฒนธรรม” จุดร่วมคือ “ความสุข” ใช้การสื่อสารที่ทำให้เข้าใจตรงกัน
ให้เราเข้าใจแก่นของเรื่องแต่ไม่ต้องยึดที่รูปแบบ พหุวัฒนธรรมคือวิถีธรรมชาติและคือสิ่งที่เราเติบโตขึ้นมา ไม่มีอะไรเป็นเชิงเดี่ยว (คำพูดจากอ.อุษมาน) การให้บริการแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา  ภาพฝันแบบไหน? ที่จะเอาวิถีพหุวัฒนธรรมขึ้นมาและมีแผนที่(บันได)เพื่อให้เราไปถึง .. ภาพฝัน “ใจเขาใจเรา” การบริการที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรม ห้องคลอด ลักษณะการให้บริการ : สูติกรรม เจ้าหน้าที่ ญาติผู้ป่วย และสหวิชาชีพร่วมดูแล ผู้ให้บริการมีบทบาท : -เครื่องแบบเหมาะสม ปกปิดเอารัต มีผ้าคุลมให้ผู้รับบริการหลังคลอด -เจ้าหน้าที่มาทำงานตรงเวลา -กล่าวทักทายให้สลาม ให้ทำทุกเคส ทุกคน -ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้บริการดุจญาติมิตร -ไม่แสดงสีหน้าไม่พอใจ เป็นผู้ฟังที่ดี ตอบคำถามผู้รับบริการได้ -เป็นผู้ประสานงานที่ดี -สถานที่ให้บริการ ตาม 5 ส. -เริ่มต้นการให้บริการด้วยพระนามของอัลลอฮฺ “บิสมิลละฮฺ” -ส่งเสริมให้ผู้ป่วยปฏิบัติศาสนกิจ -มีการอ่านดุอาอฺให้ผู้ป่วยคลอด -มีผู้อาซานในเด็กแรกเกิด โดยญาติหรือเจ้าหน้าที่ชายของห้องคลอด -มีแนวทางการอ่านดุอาอฺตามจุดต่างๆ -คลินิกนมแม่ มีการแบ่งโซนเพื่อปกปิดเอารัตของผู้รับบริการ ผลลัพธ์
ปัญหา/อุปสรรค -แรงจูงใจแรงผลักดันและแรงสนับสนุนทำให้ขาดความต่อเนื่อง -สถานที่คับแคบ มีการวางแนวทางแก้ไขปัญหา บันไดของผลลัพธ์
“เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งรอยยิ้ม” COMMENTS : การปรับเปลี่ยนหรืออุปสรรคบางอย่างเกิดขึ้นจากโครงสร้าง
-ต้องมีการสะท้อนคิดในเรื่อง สุขภาวะของผู้ให้บริการ เช่นเมื่อได้ปฏิบัติศาสนกิจ ไปพร้อมกับการให้บริการจะทำให้เรามีความรักในงานมากขึ้น “การบริการที่สอดคล้องกับวิถีพหุวัฒนธรรม” แพทย์แผนไทยและกายภาพบำบัด -เจ้าหน้าที่พูดเรื่องโรคแทรกกับหลักศาสนา -มีการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือกในการรับบริการเช่น ผู้ป่วยชายและเจ้าหน้าที่ชาย -มีการแบ่งโซนชาย-หญิง -มีมุมหนังสืออิสลามกับการดูแลสุขภาพ/หนังสือพระ -มีการใช้ดนตรีบำบัด บทบาทผู้ให้บริการ
-การกล่าวทักทาย -การสื่อสารโดยมีการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้รับบริการ
-ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปฏิบัติ ความเชื่อ
-เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการและญาติสามารถบอกความต้องการได้ สุขภาวะของผู้ให้บริการ ถ้าเราทำแล้วมีความสุขก็จะทำให้เราอยากทำ ผู้รับบริการ พึงพอใจ ได้นำหลักศาสนาไปปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ
ปัญหาและอุปสรรค -อาจจะไม่ได้ปฏิบัติในทางเดียวกัน -การสื่อสาร การใช้ภาษา ยังไม่เป็นแนวทางเดียวกัน อาจจะมีปัญหาในด้านการเข้าถึง -สถานที่ไม่มีห้องเฉพาะสำหรับให้คำปรึกษา -ภาวะทางใจส่งผลต่ออาการป่วยทางร่างกายได้ แนวทางการแก้ปัญหา -มีการจัดเวทีสนทนา พูดคุย ให้ความรู้เรื่องหลักปฏิบัติและแนวทางที่จะสื่อสารกับผู้ป่วยและมีการจัดทำ Work-in มีการวัดผลจากการสังเกตและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ
-การสื่อสาร จะมีการจัดทำเล่มคู่มือ ภาษากับการให้บริการ โดยเป็นศัพท์ที่เกี่ยวกับงานที่เราต้องใช้ และจะมีการใช้วิธีแบบ “เพื่อนสอนเพื่อน” วัดผลจากผู้รับบริการเข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสาร -มีการแบ่งโซนเฉพาะในการให้คำปรึกษา
แผนการปฏิบัติงาน -จัดทำ work-in -เจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติตามได้จาก work-in ร่วมกับมีการจัดทำคู่มือ -มีการทดลองใช้/ปรับแก้ภาษาถิ่น
*มีการวางแผนและวางเป้าหมาย COMMENTS
-ชื่นชมเจ้าหน้าที่ในด้านการทักทาย และคิดว่าจุดนี้น่าจะมีกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีกว่างานอื่น เนื่องจากการฟังเป็นการรักษาอย่างหนึ่ง
-อาจารย์เสนอให้มีการผลิตสื่อการสื่อสาร โดยทีมงานโสตฯ :ซึ่งมีหน่วยงานวิทยุสามารถเป็นพี่เลี้ยงในการผลิตสื่อ
-ต้องเพิ่มการอ่านคนไข้ให้แตกว่าสภาวะของผู้รับบริการเป็นอย่างไร ซึ่ง skill ของผู้ปฏิบัติงานก็ต้องมี ในทางกลับกัน ผู้ปฏิบัติงานต้องรับรู้เรื่องผู้รับบริการจะส่งผลให้เกิดความคิด ต้องมีการclear สนามพลังของเราเอง ผู้ที่เป็น Healer ออร่าต้องเบ่งบานเพื่อไปดูแลผู้อื่น
-สำหรับการชาร์จสนามพลัง/การปฏิบัติศาสนกิจ สำหรับผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการเซ็ตระบบตัวเองใหม่ เช่นเรื่องความโกรธ/เครียดแค้น จะส่งผลให้เราเป็นโรคความดันได้ มีการใช้บทสวดมนต์ ขอดุอาอฺ เดินเหยียบหญ้า (ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อดูแลตนเอง) รพ.สต. ภาพฝันที่เป็นจริง
-เจ้าหน้าที่ต้องทักทายผู้รับบริการซึ่งมีหลายศาสนา มีการให้บริการอย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มารับบริการกับเรา มีการทักทายด้วยรอยยิ้ม สัมผัสเบาๆด้วยความเป็นห่วง ถามไถ่ -เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยใจ ถ้าใจมามันก็จะออกมาทางดวงตา “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” -ไปเยี่ยมเยียนที่บ้านผู้ป่วย “รู้เมื่อไหร่ ไปเมื่อนั้น” -สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ต้องหัดภาษามลายูด้วย -มีใจให้บริการ ทำใจให้สงบ “ถ้าเรามีปัญหา ก็ให้เราวางภาระไว้ก่อน” -ฟังคนไข้อย่างตั้งใจ บางครั้งคนไข้ไม่ได้จะเอายาอย่างเดียว บางครั้งแค่อยากให้ฟัง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น -ผู้ป่วยกลับมารับบริการอีก แสดงว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจ -ผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยยอมรับ
-ผู้ป่วยไว้วางใจมารับคำปรึกษาสุขภาพ ปัญหาและอุปสรรค -เจ้าหน้าที่ไม่พร้อมหน้าพร้อมตา เนื่องจากมีประชุมเร่งด่วน มีแผนการปฏิบัติงานแต่ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
บันได 5 ขั้น
จุดร่วมคือการสร้างความสุขในองค์กร COMMENTS: -การทำงานบทบาทต้องเชื่อมไปกับเครือข่าย เช่นการเสริมละหมาดโดยผู้นำชุมชน -ทำอย่างไรให้เป็นพื้นที่พหุโดยอยู่ในโครงสร้างของ อบต. ถ้าทำได้จะทำให้ขยับแผนได้ดีขึ้น
จากประสบการณ์การทำงานเป็นทีมยังไม่เข้มแข็ง ทำให้ทำงานคนเดียวและเหนื่อยคนเดียว การบริการด้านปฐมภูมิ การบริการ : องค์รวม กันเอง ญาติมีส่วนร่วม ผู้ให้บริการ :ทักทายภาษาท้องถิ่น ยิ้มแย้ม แต่งกายเหมาะสม การสื่อสาร : 2 ทางเน้นการรับฟังจากญาติและมาปรับใช้ในการให้บริการ สุขภาวะของผู้ให้บริการ : เป็นต้นแบบได้ ผลลัพธ์ ผู้รับบริการไว้วางใจ พึงพอใจ ไม่มีข้อร้องเรียน ปัญหาและอุปสรรค ผู้ให้บริการไม่สามารถพูดภาษาถิ่นได้ทุกคน ผู้ให้บริการไม่แยกเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวจากกัน ผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ไม่รับผิดชอบ แนวทางการแก้ไข -มีการปรับทัศนคติเชิงบวกในเจ้าหน้าที่ -ผู้ให้บริการมีความพร้อมให้บริการด้วยความเต็มใจ มีการฝึกสมาธิและสติให้กับผู้บริการ COMMENTS: -ความพึงพอใจ ถ้าเราใช้แนวคิดพหุวัฒนธรรม ลองดูว่าตัวไหนมีการเปลี่ยนแปลงเราอาจจะหยิบมาทำ CQI หรือ R2R -การสื่อสารเป็นหัวใจของงานพหุวัฒนธรรม อาจจะไม่จำเป็นว่าต้องพูดได้ทุกภาษา แต่ทำให้มีตัวเชื่อม เนื่องจากรพ.ต้องรองรับผู้ป่วยกลุ่มอื่นอีก เช่นแรงงานต่างด้าว ผู้อพยพ
IPD
บริการดุจญาติมิตร ใกล้ชิดชุมชน ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยทุกข์น้อยที่สุด ให้ผู้ป่วยเปิดเผยความทุกข์ในใจ
-กล่าวทักทายทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย เพื่อสร้างสัมพันธภาพ -พยายามใช้ภาษาถิ่นกับผู้ป่วย สลามจับมือ ซึ่งสัมผัสทำให้ผ่อนคลายลงไปได้บ้าง
-มีการให้ผ้าคลุม แต่งกายให้เหมาะสมไม่รัดรูปจนเกินไป ทางด้านเจ้าหน้าที่แต่งกายสะอาด มีการสร้างความเชื่อถือให้แก่ผู้ป่วย
ส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยและญาติ -มีการออกกำลังกายยืดเหยียดทั้งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ -มีการกล่าวดุอาอฺ เหมือนก่อนเข้าโรงเรียน เพื่อเป็นการปลดทุกข์ก่อนให้การรักษา -มีบริการการปฏิบัติศาสนกิจ เช่นรถอาบน้ำละหมาด ทรายตะยะมุม สุขภาวะของผู้ให้บริการ -ผู้บริการมีความพร้อมให้บริการในด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม
ปัญหาและอุปสรรค -ขาดผู้นำทางศาสนาที่ชัดเจน -ขาดการสนับสนุนและแรงจูงใจ -สถานที่ไม่เอื้ออำนวย การแก้ปัญหา -มีการจัดหาผู้นำทางศาสนาในหอผู้ป่วย โดยมีการคัดเลือกว่าท่านใดสามารถเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยได้ -มีการวางแนวทางปฏิบัติในเจ้าหน้าที่ -มีการเปิดเวทีให้สามารถพูดคุยเปิดเผยเรื่องที่คับข้องใจได้ *ยังมีภาพฝันในการดูแลผู้ป่วย Palliative care ซึ่งต้องการห้องที่มีความพร้อม ผู้ให้บริการศาสนาเดียวกัน เช่นกลุ่มผู้ป่วยทางเดินหายใจที่ยังต้องใช้เครื่อง Oxygen ได้ฟังกุรอ่าน ได้ละหมาด สำหรับผู้ป่วยไทยพุทธระยะสุดท้ายจะมีการนิมนต์พระมาที่เตียง (มีเจ้าหน้าที่ไทยพุทธประสานให้) COMMENTS: -พระอยากได้เข้ามามีส่วนร่วมมีบทบาทมาให้กำลังใจบุคลากรไทยพุทธ รวมทั้งผู้ป่วย (ต้องนิมนต์) ER การดูแลหัวใจด้วยหัวใจ การดูแลหัวใจคนไข้และญาติให้เหมือนหัวใจตัวเอง -ผู้ป่วย ญาติและทีมสหวิชาชีพ ผู้ให้บริการ : -แต่งกายเหมาะสม -มาทำงานตรงต่อเวลา -ปฏิบัติงานเต็มความสามารถ มีพฤติกรรมบริการที่เป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส -รวมเร็ว ถูกต้อง อ่อนโยน -รับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วยและญาติด้วยความใส่ใจ -ก่อนให้หัตถการ มีการกล่าวพระนาม -มีการขอดุอาอฺ สวดมนต์เมื่อผู้ป่วยอยู่ในอาการเจ็บป่วย -ผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้ญาติมีบทบาทในการดูแลเช่นการกล่าวชาฮาดะห์ / สวดมนต์ -มีการจัดทำแนวทางติดไว้เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติปฏิบัติได้ -ใช้ภาษาถิ่น สุขภาวะของผู้ให้บริการ -แข็งแรงทั้งร่างกาย จิตใจ ควบคุมอารมณ์ได้แม้อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ปัญหา -เป็นงานเร่งรีบ ความกดดัน -เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อภาระงาน ผลลัพธ์ ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีการทำงานเกี่ยวข้องกับสหวิชาชีพ สนับสนุนญาติให้อยู่ใกล้ชิด ได้ทำพิธีกรรม เจ้าหน้าที่ปลอบประโลมผู้ป่วย มีการอาบน้ำศพตามหลักการศาสนา COMMENTS: -พหุวัฒนธรรม: ความไม่เข้าใจนำมาซึ่งความขัดแย้งเสมอ การนำพหุมาใช้จะช่วยได้ ช่วยลดเรื่องการฟ้องร้อง พหุสามารถทำให้เหตุที่เกิดขึ้น soft ลงได้ -ต้องมีการใส่ใจที่จะสื่อสาร ทำอย่างไรให้งานสุขภาพจะเป็นการยกระดับจิตใจของคน ซึ่งความเจ็บป่วยจะทำให้เราศิโรราบกับทุกอย่าง ซึ่งเป็นการกระตุ้นเตือนเปรียบเสมือนผู้ให้สัจจะทางศาสนา -อาจารย์ถามว่าเจ้าหน้าที่ ER มี skill ในการเข้าหาผู้ป่วย โดยใช้ทักษะที่ลึกซึ้งในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรจะมีการทบทวนองค์ความรู้ สิ่งที่ฝาก ... มีการแบ่งปันสิ่งที่ดีงามโดยการออกรายการวิทยุออนไลน์ในแต่ละหน่วยงาน เราจะทำอย่างไร ให้คนต่างวัยในโรงพยาบาล ให้คนรุ่นต่อไปมองได้เหมือนคนรุ่นก่อน ? เราควรจะมีการวางแผนทำอย่างไรต่อ ..... เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านคนทำงาน ไม่มีการถ่ายทอดการทำงาน ไม่มี Road map ! ซึ่งรุ่นใหม่และเก่าต้องมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ฝากไปที่บริหารในการจัดเวทีเล็กๆ , การ Conference ควรมีการแนบเนียนในการสื่อสาร ,Best – Bad Practice ในพื้นที่ติดกันไม่เคยเรียนรู้กันทำให้ไม่มีการพัฒนา -ควรมีการนำแผนที่ผลลัพธ์และการเรียนรู้ร่วมกันมาขับเคลื่อน และติดตามผลว่าไปตอบโจทย์ผลลัพธ์หรือไม่ ?

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

จำนวนผู้เข้าร่วม 100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ควรมีการนำแผนที่ผลลัพธ์และการเรียนรู้ร่วมกันมาขับเคลื่อน และติดตามผลว่าไปตอบโจทย์ผลลัพธ์หรือไม่ ?

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ฝากไปที่บริหารในการจัดเวทีเล็กๆ , การ Conference ควรมีการแนบเนียนในการสื่อสาร ,Best – Bad Practice ในพื้นที่ติดกันไม่เคยเรียนรู้กันทำให้ไม่มีการพัฒนา