สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

-ดำเนินการพัฒนาคุณภาพบริการตามวิถีชุมชน โดยกระบวนการ CQI R to R และนวัตกรรม1 สิงหาคม 2561
1
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย sareeya sama
circle
วัตถุประสงค์

-เพื่อกำหนดรูปแบบบริการที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรม-เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ-เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการตามวิถีชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำแผน โรงเรียนพ่อแม่1 สัญจรในรพ.สต. 6 ครั้ง/ปี (นำร่อง) โดยทีมMCH Board                อ.ยะหริ่ง   2. เพิ่มการให้ความรู้ แก่พ่อแม่และผู้ปกครองเด็ก โรงเรียนพ่อแม่ 4   3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม เป็นประชุมเชิงปฏิบัติการ แบ่งกลุ่มเป็นฐานการเรียนรู้     - ฐานที่ 1 การนับลูกดิ้น
        - ฐานที่ 2 โภชนาการ และนมแม่     - ฐานที่ 3 การกินยาเสริมธาตุเหล็กและ       แคลเซียม

- ฐานที่ 4 รู้จักความเสี่ยงของตนเอง(จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก)     - ฐานที่ 5 การเตรียมตัวคลอดและเยี่ยมชมห้องคลอด   4. มีวิทยากรร่วมในชุมชนที่เป็น ผดบ. ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิงพหุวัฒนธรรม   5. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ด้วยสื่อ แผ่นพับ คู่มือ ไวนิล ตามบริบท   6. ติดตามประเมินผลโดยทีมMCH Boardอ.ยะหริ่ง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การพัฒนาคุณภาพ รูปแบบกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน
โรงพยาบาลยะหริ่ง

บริบท (ปัญหา)
1. ในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กยังพบอุบัติการณ์ หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ส่งผลให้  เกิดความเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์และคลอด จนเกิดอันตรายทำให้มารดาตาย

เป้าหมาย  1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แบบ           พหุวัฒนธรรม         2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเองและทารกในครรภ์ SMART
          MOM TO SMART KIDS ตามบริบทพหุวัฒนธรรม

กระบวนการดำเนินงาน
แบบเดิม แบบใหม่ (ที่เปลี่ยนแปลง) 1. ร่วมกันจัดทำเนื้อหา
2. รูปแบบการให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ ใช้วิธีบรรยาย
มีสไลด์ power point ประกอบการบรรยาย และนำเยี่ยมชมห้องคลอด 3. ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด โดย
  1) รพ.สต.ทุกแห่งในอำเภอยะหริ่ง เป็นผู้จัดกิจกรรมให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ – อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ (รร.พ่อแม่1)   2) โรงพยาบาลยะหริ่ง เป็นผู้จัดกิจกรรมให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป (รร.พ่อแม่2)
  1. จัดทำแผน โรงเรียนพ่อแม่1 สัญจรในรพ.สต. 6 ครั้ง/ปี (นำร่อง) โดยทีมMCH Board                อ.ยะหริ่ง   2. เพิ่มการให้ความรู้ แก่พ่อแม่และผู้ปกครองเด็ก โรงเรียนพ่อแม่ 4   3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม เป็นประชุมเชิงปฏิบัติการ แบ่งกลุ่มเป็นฐานการเรียนรู้     - ฐานที่ 1 การนับลูกดิ้น
    - ฐานที่ 2 โภชนาการ และนมแม่     - ฐานที่ 3 การกินยาเสริมธาตุเหล็กและ       แคลเซียม - ฐานที่ 4 รู้จักความเสี่ยงของตนเอง(จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก)     - ฐานที่ 5 การเตรียมตัวคลอดและเยี่ยมชมห้องคลอด   4. มีวิทยากรร่วมในชุมชนที่เป็น ผดบ. ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิงพหุวัฒนธรรม   5. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ด้วยสื่อ แผ่นพับ คู่มือ ไวนิล ตามบริบท   6. ติดตามประเมินผลโดยทีมMCH Boardอ.ยะหริ่ง


ตัวชี้วัดที่สำคัญ

ข้อมูล/ตัวชี้วัด เป้าหมาย (ร้อยละ) ปี2560 ปี2561 ปี2562 ตค-ธค. -อัตราทารกคลอดน้ำหนัก < 2500 กรัม < 7 4.91 6.90 6.86 -อัตราการคลอดในโรงพยาบาล 100 99.49 99.01 95.35 -จำนวนทารกตายในครรภ์(DFIU)    0 - - - -อัตราความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม >80


ผลลัพธ์ 1. เกิดการทบทวนระบบงานและปรับรูปแบบการดำเนินงาน ได้แนวทางการปฏิบัติงาน

  ปัญหา/อุปสรรค       กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม รร.พ่อแม่ ค่อนข้างน้อยเนื่องจาก
    ด้านผู้รับบริการ
              1) ไม่มาตามนัด บางคนทำงานต่างถิ่น ไม่อยู่ในพื้นที่               2) หญิงตั้งครรภ์คนเดิม ตั้งครรภ์ใหม่ไม่อยากฟังซ้ำรูปแบบเดิม               3) สามีเข้าร่วมกิจกรรมน้อย อายเนื่องจากอยู่รวมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์หลายคน                 ในสถานที่คับแคบ
    ด้านผู้ให้บริการ
              1) ลืมนัด
              2) ภาระงานมาก,วันที่นัดติดประชุมไม่ได้ดำเนินการ
              3) ไม่มีเครื่องมือในการประเมินผลความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากกิจกรรม               4) รูปแบบการให้ความรู้ยังขาดการมีส่วนร่วมของสามี

บทเรียนที่ได้รับ 1. การใส่ใจ(ปัญหา)และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของผู้ให้บริการจะทำให้การบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาคผนวก

แบบประเมินผลการให้ความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนพ่อแม่ 1. แบบบันทึกลูกดิ้น 2. แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภค 3. แบบทดสอบความรู้การบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ 4 .สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 5. การประเมินเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหญิงตั้งครรภ์ 6. การดูแลสุขภาพแม่ลูกขณะตั้งครรภ์ 7. การใช้ยาขณะหญิงตั้งครรภ์ 8.การประเมินเรื่องทันตสุขภาพ...ในหญิงตั้งครรภ์ การประเมินเรื่องการนับลูกดิ้น 1. การนับลูกดิ้น ควรนับตั้งแต่อายุครรภ์เท่าไรและนับอย่างไร เพื่อลดโอกาสทารกเสียชีวิต ( ถ้ารวมกันทั้ง เช้า-เที่ยง-เย็น ลูกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง ให้รีบมาพบแพทย์)
            ได้    ไม่ได้ 2. ท่านได้นับลูกดิ้นอย่างไร
            ทุกวัน
            < 2 วัน/สัปดาห์
            > 3 วัน/สัปดาห์
            ไม่ได้นับเลย 1. ถ้าพบว่าลูกดิ้นน้อยท่านจะทําอย่างไร ระบุ..........................................................................


การประเมินพฤติกรรมการกินอาหารหญิงตั้งครรภ์ พฤติกรรมการกินอาหาร ความถี่ในการรับประทานอาหาร 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ 1-2 ครั้ง/ สัปดาห์ ไม่เคยกิน หรือ 1-2 ครั้ง/ สัปดาห์ 1. กินอาหารเช้าที่มีกลุ่มอาหารอย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าว-แป้ง และเนื้อสัตว์
2. กินอาหารหลัก วันละ 3 มื้อ โดยอาหารที่กินประกอบด้วย 2.1 อาหารกลุ่มข้าว – แป้ง
2.2 อาหารกลุ่มผัก
2.3 อาหารกลุ่มผัก ผลไม้ต่างๆ
2.4 อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ ตับ เลือด ไขมัน
2.5 ดื่มนมจืด
2.6 อาหารที่มีน้ำมันและไขมัน เช่น ทอด/ผัด
2.7 ดื่มน้ำอัดลม ดื่มสุรา เบียร์และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2.8 กินขนมกรุบกรอบ ปลาเส้นปรุงรส ขนมปังเวเฟอร์เยลลี่ ลูกอม
3. ใช้เกลือเสริมไอโอดีนหรือน้ำปลาเสริมไอโอดีนปรุงอาหารทุกครั้ง

การทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ ชื่อ-สกุล................................................ HN…………………….ครรภ์ที่.............
อายุ  ต่ำกว่า 20 ปี   20-30 ปี  31-40 ปี  41-50 ปี
การศึกษาไม่ได้เรียน  ประถม  มัธยมปลาย   อนุปริญญาหรือเทียบเท่า / ปริญญาตรี
อาชีพ แม่บ้าน ค้าขาย  ทำนา/ทำสวน รับจ้าง พนักงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ  ข้าราชการ  อื่นๆ

.................... 1. หญิงตั้งครรภ์ควรกินอาหารให้ครบ 5 กลุ่มอาหารทุกวัน ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และกลุ่มนม
.................... 2. อาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายคือ พวกเนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ................... 3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักมาก ไม่ควรทานเนื้อสัตว์และอาหารทะเลเพราะมีไขมันสูง .................... 4. หญิงตั้งครรภ์ควรดื่มนมจืดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 แก้ว .................... 5. คนที่ไม่ชอบดื่มนมวัว สามารถดื่มนมถั่วเหลืองและกินปลาเล็กปลาน้อยแทนได้ .................... 6. หญิงตั้งครรภ์มักจะท้องผูก ควรทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำให้มากๆ .................... 7. หญิงตั้งครรภ์ควรจะทานไข่ทุกวัน อย่างน้อยวันละ1 - 2 ฟอง .................... 8. หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผักทุกชนิด และผลไม้รสไม่หวานจัด .................... 9. เกลือไอโอดีนเป็นสารอาหารที่ช่วยป้องกันโรคคอพอก .................... 10. เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายและไขมันน้อย ได้แก่ เนื้อปลา .................... 11. คนที่ไม่ชอบกินผัก ควรกินผลไม้แทนเพราะได้วิตามินเหมือนกัน .................... 12. หญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ จะทำให้คลอดก่อนกำหนดและเด็กมีน้ำหนักน้อย


การประเมินเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหญิงตั้งครรภ์

  1. ระหว่างการฝากครรภ์ เคยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลให้ข้อมูลเรื่องผลดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ (บอกผลดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2 ข้อ ..โภชนาการ ภูมิคุ้มกัน ความผูกพัน ประโยชน์ต่อสุขภาพแม่)     ได้  ไม่ได้
  2. เคยมีเจ้าหน้าที่พูดถึงเรื่องต่อไปนี้หรือไม่ ( บอกได้อย่างน้อย 2 หัวข้อ)

- ความสําคัญของการให้ลูกดูดนมแม่โดยเร็วภายหลังคลอด            ได้  ไม่ได้ - ความสําคัญของการให้ลูกกับแม่อยู่ห้องหรือเตียงเดียวกัน          ได้  ไม่ได้ - ท่ากินนมของลูกและแม่ และการอมหัวนมของลูก                ได้  ไม่ได้ - ความสําคัญของการให้นมทุกครั้งเมื่อลูกต้องการ                ได้  ไม่ได้ - แม่ทําอย่างไรจึงจะมีน้ำนมพอ                            ได้  ไม่ได้ - ความสําคัญของการให้นมแม่เพียงอย่างเดียว                  ได้  ไม่ได้ 3. ปัจจุบันหัวนม /เต้านม ท่านเป็นอย่างไร     ปกติ  ผิดปกติ ระบุ........................................................................ 4. ท่านตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานเท่าไร ..................................เดือน


การดูแลสุขภาพแม่ลูกขณะตั้งครรภ์ 1. ท่านได้ลูบท้อง/พูดคุยกับลูกในขณะตั้งครรภ์         ทุกวัน  < 2 วัน/สัปดาห์  > 3 วัน/สัปดาห์    ไม่เลย
2. ท่านได้เปิดร้องเพลงเบาๆเย็นๆให้ลูกฟังในขณะตั้งครรภ์
        ทุกวัน  < 2 วัน/สัปดาห์  > 3 วัน/สัปดาห์    ไม่เลย 3. อาการหรือภาวะเสี่ยงที่ต้องไปพบแพทย์มีอะไรบ้าง (บอกได้อย่างน้อย 4 อาการ)   - แพ้ท้องมากกว่าปกติ            ใช่    ไม่ใช่   - ปวดท้อง/ท้องแข็ง              ใช่    ไม่ใช่   - ลูกดิ้นน้อย                  ใช่    ไม่ใช่
  - เหนื่อยมากกว่าปกติ ใจสั่น          ใช่    ไม่ใช่
  - บวม                      ใช่    ไม่ใช่   - มีน้ำเดิน/มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด  ใช่    ไม่ใช่
  - เกินกําหนดคลอดแต่ไม่มีอาการนําคลอด  ใช่    ไม่ใช่   - ไข้สูง                      ใช่    ไม่ใช่
  - ปวดศีรษะ ตาพร่า ชัก            ใช่    ไม่ใช่


การใช้ยาขณะหญิงตั้งครรภ์

  1. บอกความสําคัญของการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก             ได้        ไม่ได้
  2. ท่านรับประทานยาบํารุงธาตุเหล็กอย่างไร             ทุกวัน      ลืม < 2 วัน/สัปดาห์    ลืม > 3 วัน/สัปดาห์
  3. ท่านรับประทานแคลเซียมอย่างไร             ทุกวัน      ลืม < 2 วัน/สัปดาห์    ลืม > 3 วัน/สัปดาห์
  4. การรับประทานยา( แคลเซียม,ยาบํารุงธาตุเหล็ก) ในระหว่างตั้งครรภ์ถูกวิธี             ถูกต้อง    ไม่ถูกต้องบางครั้ง    ไม่ถูกต้อง
  5. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหรือพยาบาลทุกครั้งที่ต้องใช้ยาอื่นๆ   ปรึกษา    ไม่ปรึกษาบางครั้ง    ไม่ปรึกษา

แบบฝึกหัดการบันทึกลูกดิ้น

นางสาววรนุช ตั้งครรภ์ได้ 33 สัปดาห์
วันนี้นับลูกดิ้น ช่วง 7.45 – 8.45 น. นับได้ 5 ครั้ง


นางสาวแมะเยาะ  สาแม ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์
หลังกินข้าวเย็นช่วงเวลา 19.00 – 20.00 น. นับลูกดิ้นได้ 2 ครั้ง


นางสาวดารีซะห์ ตั้งครรภ์ได้ 34 สัปดาห์ หลังกินข้าวเที่ยง นับลูกดิ้นได้ 6 ครั้ง ใน 1 ชม.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือผู้รับผิดชอบงาน 5 เรื่องตามกลุ่มเป้าหมาย คือ ฝ่ายเภสัชกรรม 2 เรื่อง ฝ่ายทันตกรรม 1 เรื่อง งานผู้ป่วยใน 1 เรื่อง และงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน 1 เรื่องการพัฒนาคุณภาพ รูปแบบกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ในงานอนามัยแม่และเด็ก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม รร.พ่อแม่ ค่อนข้างน้อยเนื่องจาก
    ด้านผู้รับบริการ
              1) ไม่มาตามนัด บางคนทำงานต่างถิ่น ไม่อยู่ในพื้นที่               2) หญิงตั้งครรภ์คนเดิม ตั้งครรภ์ใหม่ไม่อยากฟังซ้ำรูปแบบเดิม               3) สามีเข้าร่วมกิจกรรมน้อย อายเนื่องจากอยู่รวมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์หลายคน                 ในสถานที่คับแคบ
    ด้านผู้ให้บริการ
              1) ลืมนัด
              2) ภาระงานมาก,วันที่นัดติดประชุมไม่ได้ดำเนินการ
              3) ไม่มีเครื่องมือในการประเมินผลความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากกิจกรรม               4) รูปแบบการให้ความรู้ยังขาดการมีส่วนร่วมของสามี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่