สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร

การประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์เกาตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร25 ตุลาคม 2563
25
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
  • สรุปประเด็นคนกล้าคืนถิ่น 25-10-64.docx
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานความร่วมมือ ออกแบบกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถานการณ์สุขภาวะของจังหวัดชุมพร  ในสี่มิติด้านสุขภาพ:อันเนื่องจากภาวะเจ็บ ป่วย ตาย ใน 3 ลำดับแรกคือโรคหลอดเลือดสมอง  โรคมะเร็ง และโรคเรื้อรัง    สาเหตุการเจ็บป่วยและตายเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย และภาวะคุกคามสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีพและสิ่งแวดล้อม    ด้านเศรษฐกิจ: ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพและรายได้หลักจากภาคเกษตรและประมง เมื่อเกิดภาวะราคาผลผลิตตกต่ำทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน กระทบการดำรงชีพของคนในพื้นที่ ขณะเดียวกันผลผลิตไม้ผลโดยเฉพาะทุเรียนและมังคุด จำนวน 207,837 ไร่ จะมีผลผลิตรวม 289,354 ตัน ส่งออกปีกว่าละ 6,000 ล้านบาท แต่ต้องแลกกับการใช้สารเคมียังมากมายซึ่งกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้ผลิตคือเกษตรกร อีกทั้งต่อผู้บริโภคในประเทศ  ส่วนการท่องเที่ยวชุมชนเริ่มมีบทบาทและรายได้เสริมต่อหลายชุมชนในพื้นที่ชุมพร    ด้านสังคม: จากกระแสการพัฒนาโลกาภิวัฒน์เพิ่มปัญหาทางสังคมมากขึ้น ความซับซ้อนก็มีเพิ่มขึ้นทั้งปัญหาเด็กเยาวชน  ยาเสพติด โดยเฉพาะปัญหาแม่วัยใสจังหวัดชุมพรมีปัญหาลำดับต้นๆ ของภาคใต้  การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของชุมพรซึ่งจำนวนผู้สูงอายุ 95,401 คน (18.72% ซึ่งมีอัตรามากกว่าเกณฑ์ค่ากลางของระดับประเทศ 16.05%)      ด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม:  ด้วยเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของภาคใต้จึงเป็นพื้นทีแดงของการใช้สารเคมีเกษตรอย่างรุนแรง อีกทั้งยังได้รับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐบาล ทั้งท่าเรือน้ำลึก รถไฟรางคู่  ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC  เป็นต้น 1) ทุนและศักยภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นต่อยอดพื้นที่ดำเนินงานผลิตและบริโภคผักผลไม้ปลอดสาร  อาหารปลอดภัย -มติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยเกษตรสุขภาวะ และวาระ จังหวัดชุมพร ลด ละเลิกสารเคมีเกษตร /มีเป้าหมายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร 8000 ไร่
-มีการทำเกษตรยั่งยืน  29,457 ไร่  1500 คร.(1% ของพื้นที่ทำเกษตร  2,945,771) ค่าเฉลี่ย 0.41% -เป็นประเด็นร่วมภาคใต้-มั่นคงทางอาหาร + สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชุมพร 2) การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว 3 ลำดับแรก ยางพารา 12.98 ล้านไร่  ปาล์มน้ำมัน  3.75  ล้านไร่  ทุเรียน 0.3 ล้านไร่ (ใช้สารเคมีมากสุด)  ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย 6,075 ราย (ปี 61) ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 15-59 ปี
3)ความเสี่ยงด้านอาชีพของเกษตรกรชุมพร/ภาคใต้ มีการนำเข้าและใช้สารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3 ลำดับแรก สารกำจัดแมลง 15.23  ล้านบาท สารกำจัดวัชพืช 12.53 ล้านบาท สารกำจัดโรคพืช 1.79 ล้านบาท  (สารเคมีอันตราย คลอไพริฟอส พาราควอต อะบาแบ๊กติน จังหวัดชุมพรใช้สูงสุด)
4)จังหวัดชุมพรมีสถิติอัตราการป่วยต่อประชาการแสนคน  ปี 2558 : 19.49    ปี 2559: 24.72  ปี 2560:25.51  ปี 2561: 26.16  มีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี และจำแนกตามปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาชีพ  สูงสุดคือ ปัญหาสารเคมีเกษตร 64 %  เสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 40.99 %  และจากผลการประเมินความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย (ร้อยละ) ด้วย Reactive paper ในชุมพรเทียบเคียบกับ ศคร.11  ตั้งแต่ปี 59 ศคร.11 : 27%  ชุมพร 34%  ปี 60  ศคร.11 : 25%  ชุมพร 40%  ปี 61  ศคร.11 : 23%  ชุมพร 38%  (ข้อมูลจาก สสจ.ชุมพร)
5)แนวโน้มภาวะหนี้สินครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยหนี้สินครัวเรือน 175,000  บาทต่อครัวเรือน 6)โอกาสหรือปัจจัยเอื้อ คือวาระการพัฒนาจังหวัดชุพร ว่าด้วยการลดลดเลิกสารเคมีเกษตร และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร และการแบนสารเคมี 3)แนวทางและกระบวนการ ผลลัพธ์ที่ควรเกิดขึ้น 1)เกิดสุขภาวะทางสังคมทั้ง 4 ด้าน ด้านสุขภาพ (ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย) ด้านเศรษฐกิจ (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีเงินออม)  ด้านสังคม (ชุมชนอุดมสุข) ด้านทรัพยากร (ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและฐานการผลิตอาหาร) 2)ชุมชนท้องถิ่น มีอธิปไตยทางอาหาร  มีหลักประกันในชีวิต  และเกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค  ระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการหรือเอกชน และระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ระยะสั้น 12 เดือน : เพิ่มพื้นที่ผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสาร/อาหารปลอดภัย  อย่างน้อย 10 %  (2,945 ไร่) จากพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่มีอยู่ 1)เกิดการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย
-มีการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย -มีครัวเรือนต้นแบบและแหล่งเรียนรู้เกษตรสุขภาพ -เกิดความร่วมมือกับภาคีอย่างน้อยหนึ่งกิจกรรม 2)เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเกษตรสุขภาพ - มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (ขั้นต้นระบบ PGS – GAP-ฯ ) -มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย อย่างน้อย 5 รายการต่อพื้นที่ -มีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมและปัจจัยการผลิต -มีแผนจัดการระบบอาหารในชุมชน 3)เกิดการจัดการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัย
-มีผู้ประกอบการภาคเกษตรและชมรมผู้ประกอบการ (เกษตรกรมืออาชีพ : ทำน้อยได้มาก) -มีการจัดการตลาดระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคหลากหลายรูปแบบ เช่น ตลาดสีเขียวในท้องถิ่น  ตลาดออนไลท์  ตลาดโรงพยาบาล/โรงเรียน/โรงแรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่