สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร

จัดเวทีปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่/จังหวัดชุมพร (กลุ่มเกษตรกรสุขภาพ)13 ตุลาคม 2563
13
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
  • รายงานประชุมวันที่ 13 ตค. 63 เมือง ชุมพร.docx
  • การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เตรียมนัดหมายกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ออกแบบกระบวนการ ประสานสถานที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) การยกระดับการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดชุมพร ให้เกิดการ ผลักดันทางนโยบายระดับจังหวัด โดยเชื่อมโยงกับประเด็นความมั่นคงทางอาหาร :เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารระดับจังหวัด (พืชร่วมยาง,ตำบลบูรณาการระบบอาหาร,แผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ) มีจังหวัดนำร่อง ได้แก่จังหวัดชุมพร,ระนอง,นครศรีธรรมราช,นราธิวาส (สุราษฎร์ธานี ) ภายใต้แผนงาน :ศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศนส.มอ.) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก    เพื่อยกระดับและขยายผลกระบวนการทำงานแบบเครือข่ายและเพิ่มการประสานความร่วมมือของภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาคีภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคเอกชน และสื่อมวลชน
ภายใต้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพระดับจังหวัด มีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1)วงปรึกษาหารือคณะทำงานและเครือข่ายระดับจังหวัด  2)ปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ (กลุ่ม/เครือข่าย-พื้นที่-ประเด็น) โดยสำรวจและทบทวนข้อมูลความรู้ จัดเวทีแลกเปลี่ยนรับฟังฯ คณะทำงานยกร่างแผนฯ  3)คณะทำงานและเครือข่าย ประชุมติดตามความก้าว  4)เวทีรับฟังจากผู้แทนที่เกี่ยวข้องและพิจารณาร่างแผนฯ  5)ร่วมประชุมติดตามและสรุปผลในระดับภาคใต้ ออกแบบผลักดันยุทธศาสตร์(เวทีร่วมระดับภาค)  ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ :จำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้น 1)เกิดเครือข่าย/คณะทำงานในการขับเคลื่อนงานระบบอาหารในภาคใต้ และ 2)เกิดยุทธศาสตร์ระบบอาหารระดับจังหวัดชุมพร คณะทำงานระดับเขต/ภาคใต้ ได้วางกรอบความเชื่อมโยงของการดำเนินงานโดยให้เกิดความร่วมมือโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งสู่ความมั่นคงอาหารของพื้นที่และจังหวัด จากงานเชิงประเด็นได้แก่พืชร่วมยาง สู่งานเชิงพื้นที่ตำบลบูรณาการอาหารผ่านกลไกกองทุนสุขภาพท้องถิ่น (กปท./พชต.) สู่ประเด็นยุทธศาสตร์ระดับอำเภอ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) สู่ประเด็นด้านเกษตรและอาหารของกลไกสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด และระดับเขต 11  ผ่านกลไก คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.)  เพื่อนำสู่เป้าหมาย ภาคใต้แห่งความสุข: กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด
2)แนวทางและกระบวนการดำเนินงานในระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร  การดำเนินงานพัฒนาระบบอาหารหรือระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ดำเนินการควบคู่ไปกับกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ ตั้งแต่ สิงหาคม 63 ถึง พฤษภาคม 64 ตามแผนผังนี้
2.1 ความร่วมมือและเชื่อมโยงแผนงานกิจกรรมโดยใช้ฐานการขับเคลื่อนโดยกลไกคณะทำงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ/คณะกรรมการ  Node flagship สสส.ชุมพร ประสานร่วมมือกับคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจังหวัดชุมพร สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร โดยมีหลักการสำคัญ ได้ 1)การเลือกกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินงานที่มีกลไกหรือการดำเนินงานอยู่แล้วโดยเฉพาะ 25 พื้นที่ Node flagship หรืองานที่กลไกดำเนินการอยู่  2)กลไกต้องสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยง สานงาน เสริมพลัง ทั้งยกระดับการทำงานของกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมาย  3) จุดเน้นให้การปฏิบัติการควบคู่กับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์/ข้อเสนอเชิงประเด็นและเครือข่าย 4)การประสานความร่วมมือกับกลไกทางนโยบายทั้งในระดับพื้นที่และระดับจังหวัด เพื่อสร้างการรับรู้ ความร่วมมือการหนุนเสริมกลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ในอนาคต รวมทั้งการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป 2.2 การรวบรวมข้อมูลระบบอาหาร ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร  (การมีอาหารเพียงพอ เข้าถึงและใช้ประโยชน์ มีเสถียรภาพทางอาหาร )อาหารปลอดภัย (กระบวนการผลิต-แปรรูป-มาตรฐาน-บริโภคอาหารที่ปลอดภัย) และโภชนาการสมวัย (โภชนาการตามวัยและช่วงอายุ ร่างกายสมส่วน ภาวะขาดสารอาหาร) o โจทย์การรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านอาหารในพื้นที่จังหวัดชุมพร 1)ข้อมูลยุทธศาสตร์ระบบอาหารในพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูล..........................เบอร์โทร................... 2)สถานการณ์ด้านอาหารในพื้นที่ ด้านทุนและศักยภาพการจัดการอาหาร (ระบุกลุ่มองค์กร/ผู้ประกอบการ ที่ตั้ง ที่ดำเนินการหรือแหล่งผลิตอาหารในพื้นที มีจำนวนเท่าไร อย่างไร? ) ด้านปัญหาและสาเหตุ (ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ มีผลกระทบกับใคร ขนาดไหน อย่างไร และสาเหตุเกิดจากอะไร ) 3)ข้อเสนอต่อแนวทาง/วิธีการจัดการอาหารในพื้นที่
3.นัดหมายภารกิจ/กิจกรรมต่อไป -การจัดส่งข้อมูลสถานการณ์อาหารในพื้นที่เพื่อประมวลเป็นภาพรวมของจังหวัด และจะมีเวทีนำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์อาหารต่อไปในปี 64

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่