พืชร่วมยาง ระนอง
ประสานความร่วมมือ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
- สรุปการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันการเกษตรกรสวนยางระดับจังหวัด การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดระนอง ครั้งที่ 6/2563 ดังนี้
1) รายงานผลการดำเนินงาน กยท.ระนอง ได้แก่ การประกันภัยอุบัติเหตุเกษตรกรชาวสวนยางโครงการประกันรายได้ โครงการพัฒนาอาชีพ การปลูกแทน ยางพารา ไร่ละ 16,000 บาท และตามหลักเกณฑ์การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ได้ปรับแบบและวิธีการปลูกแทน ไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี แบบที่ 2 ปลูกแทนด้วยต้นไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ แบบที่ 3 ปลูกแทนแบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยแบ่งเป็นพืชหลักเป็นปลูกยางพันธุดีเป็นพืชหลัก และปลูกไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นพืชหลัก
2)รายงานผล/การติดตามการดำเนินงานพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 49(6) ให้รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนปี 63 ได้แก่ การใช้เงินตามหลักเกณฑ์ การรับเงินอุดหนุนปี 63 และการเสนอโครงการขอใช้เงิน ปี 64 แนวทางการดำเนินงานพืชร่วมยางหรือสวนยางยั่งยืน โดยสรุปสาระสำคัญการขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหาร :เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ (พืชร่วมยาง,ตำบลบูรณาการระบบอาหาร,แผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ) ในจังหวัดชุมพร,ระนอง,นครศรีธรรมราช,นราธิวาส (สุราษฎร์ธานี ) ภายใต้แผนงาน :ศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศนส.มอ.)ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อยกระดับและขยายผลกระบวนการทำงานแบบเครือข่ายและเพิ่มการประสานความร่วมมือของภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาคีภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะตามประเด็นความมั่นคงทางอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้
คณะทำงานฯ ได้วางกรอบความเชื่อมโยงของการดำเนินงานโดยให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งสู่ความมั่นคงอาหารของพื้นที่และจังหวัด จากงานเชิงประเด็นได้แก่พืชร่วมยาง สู่งานเชิงพื้นที่ตำบลบูรณาการอาหารผ่านกลไกกองทุนสุขภาพท้องถิ่น (กปท./พชต.) สู่ประเด็นยุทธศาสตร์ระดับอำเภอ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) สู่ประเด็นด้านเกษตรและอาหารของกลไกสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งกรอบการดำเนินงานพืชร่วมยาง กรอบกิจกรรมและผลลัพธ์ตามแผนงานโครงการที่ตั้งไว้ ดังนี้ พืชร่วมยาง ตามงบประมาณ 200,000 บาท
กิจกรรมตามแผนงาน ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ 1)ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานจังหวัด 2)คัดเลือกเกษตรกรนำร่อง 10 ราย/จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสวนยางยั่งยืน และการเพิ่มเติมทักษะการดูแลบำรุงรักษาระบบสูบน้ำด้วยโซลาเซล 3)ติดตาม สนับสนุน ถอดบทเรียน 4)เวทีแลกเปลี่ยนสรุปบทเรียน/จัดทำข้อเสนอ 5)ร่วมเวทีสังเคราะห์บทเรียนและข้อเสนอระดับภาคใต้ (เวทีร่วมระดับภาค) 1)เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเป้าหมาย ทำพืชร่วมยางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90 2)ครัวเรือนเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยางมีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนร้อยละ 90 3)เศรษฐกิจครัวเรือนเป้าหมายดีขึ้น (รายได้เพิ่มขึ้น/รายจ่ายลดลง)
4)จำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 90แนวทางและกระบวนการดำเนินงานในระดับพื้นที่จังหวัดระนอง การดำเนินงานพัฒนาระบบอาหารหรือระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ดำเนินการควบคู่ไปกับกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ ตั้งแต่ สิงหาคม 63 ถึง พฤษภาคม 64 ตามแผนผังนี้(เอกสารประกอบ) 4.1)กลไกการดำเนินงานในรูปแบบ คณะทำงานร่วมมือกัน 3 กิจกรรม โดยมีองค์ประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาเกษตรกร (นายภัทรพงวิช สุวรรณสอง) กยท.ระนอง (นายเรืองวิทย์ ทัศการ-นายสว่าง แก้วเจริญ) , กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ฯ, สนง.เกษตร,สนง.ปศุสัตว์จังหวัด,สนง.ประมงจังหวัด,สนง.สาธารณสุข เป็นต้น (รายชื่อตามเอกสารประกอบ) 4.2) ผู้รับผิดชอบตามภารกิจงานพืชร่วมยาง ได้แก่ (นายภัทรพงวิช สุวรรณสอง) กยท.ระนอง (นายเรืองวิทย์ ทัศการ-นายสว่าง แก้วเจริญ) และ สภาเครือข่ายสถาบันเกษตรสวนยางจังหวัดระนอง 4.3) กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนโครงการระบบน้ำโซล่าเซล -เกษตรกรที่เป็นต้นแบบ อาทิ ..................................... เป็นต้น
- นัดหมายภารกิจ/กิจกรรมต่อไป
- ให้ผู้แทนสถาบันเกษตร พิจารณา คัดเลือกเกษตรนำร่อง 10 ราย และเกษตรต้นแบบ 2-4 ราย เพื่อเป็นกรณีศึกษา พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป
()