สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

พืชร่วมยาง ระนอง

ประชุม ประสานความร่วมมือเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จ.ระนอง10 กุมภาพันธ์ 2565
10
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
  • สรุปเวทีหารือภาคีเครือข่าย 11-2-64.docx
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานความร่วมมือ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การขับเคลื่อนการดำเนินงานพืชร่วมยางจังหวัดระนองโดยในภาพรวมของการขับเคลื่อนจะมองตามทิศทางของชาวสวนยางภาคใต้ ดังนี้ 1. การดำเนินงานสวนยางยั่งยืน ภายใต้ทิศทางของเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้
2. รายงานผล/การติดตาม โครงการประกันรายได้  โครงการพัฒนาอาชีพ โครงสวนยางแปลงใหญ่ การปลูกแทน ยางพารา ไร่ละ 16,000 บาท และตามหลักเกณฑ์การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ได้ปรับแบบและวิธีการปลูกแทน ไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี  แบบที่ 2 ปลูกแทนด้วยต้นไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ  แบบที่ 3 ปลูกแทนแบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยแบ่งเป็นพืชหลักเป็นปลูกยางพันธุดีเป็นพืชหลัก และปลูกไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นพืชหลัก
3. การดำเนินงานของสถาบันเกษตรกรปี 63 ให้รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนปี 63 ได้แก่ การใช้เงินตามหลักเกณฑ์ การรับเงินอุดหนุนปี 63 และการเสนอโครงการขอใช้เงิน ปี 64  รวมทั้งการประกันอุบัติเหตุกลุ่มเกษตรสาวนยาง,สวนประสบภัย

    การดำเนินงานพืชร่วมยางหรือสวนยางยั่งยืน  โดยสรุปสาระสำคัญการขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคง ทางอาหาร :เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ (พืชร่วมยาง,ตำบลบูรณาการระบบอาหาร,แผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ) ในจังหวัดชุมพร,ระนอง,นครศรีธรรมราช,นราธิวาส (สุราษฎร์ธานี ) ภายใต้แผนงาน :ศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศนส.มอ.)ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก  เพื่อยกระดับและขยายผลกระบวนการทำงานแบบเครือข่ายและเพิ่มการประสานความร่วมมือของภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาคีภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะตามประเด็นความมั่นคงทางอาหาร

    การดำเนินงานพืชร่วมยาง  กรอบกิจกรรมและผลลัพธ์ตามแผนงานโครงการที่ตั้งไว้ ดังนี้ พืชร่วมยาง  ตามงบประมาณ 200,000 บาท
กิจกรรมตามแผนงาน

  • ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานจังหวัด
  • คัดเลือกเกษตรกรนำร่อง 10 ราย/จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสวนยางยั่งยืน และการเพิ่มเติมทักษะการดูแลบำรุงรักษาระบบสูบน้ำด้วยโซลาเซล
  • ติดตาม สนับสนุน ถอดบทเรียน
  • เวทีแลกเปลี่ยนสรุปบทเรียน/จัดทำข้อเสนอ
  • ร่วมเวทีสังเคราะห์บทเรียนและข้อเสนอระดับภาคใต้ (เวทีร่วมระดับภาค)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเป้าหมาย ทำพืชร่วมยางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90
  • ครัวเรือนเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยางมีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนร้อยละ 90
  • เศรษฐกิจครัวเรือนเป้าหมายดีขึ้น (รายได้เพิ่มขึ้น/รายจ่ายลดลง)
  • จำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 90

  ซึ่งตามแผนการขับเคลื่อนงานพืชร่วมยางของจังหวัดระนองได้มีการปรับเปลี่ยนคนรับผิดชอบเพื่อให้การดำเนินงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกับ กยท.จังหวัดระนองซึ่งเป็นการยอมรับของทุกฝ่ายและทาง ผอ.กยท.จังหวัดระนองและทีมเห็นชอบให้ ผู้ช่วย กยท.นายเรืองวิทย์ และ นายสว่าง เป็นผู้รับผิดชอบและมีการทบทวนเกษตรกร 10 ราย ดังนี้   1. นายอุดม คำแป้น มีสวนยางจำนวน 100 ไร่ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ในส่วนที่ 2-3มีการปลูกยางแบบสวนผลมผสาน โดยมี การปลูก ปาล์ม โกโก้ ทุเรียน กาแฟ ไม้เศรษฐกิจ มะพร้าว กล้วย และมีการเลี้ยงปลา หมูหลุม เพื่อผลิตปุ๋ยใช้เอง 2.นายพงษ์ศร สีสิน มีที่ดินจำนวน 200 ไร่ 7 แปลงซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิจึงไม่สามารถขอเงินสงเคราะห์การทำสวนยางได้ แต่มีการทำไร่ผสมผสานในสวนยางมีการปลูก ทุเรียน หมาก สะตอ กาแฟ ตะเคียน
3.นายอภิชัย นาคฤทธิ์ มีสวนยางจำนวน 50 ไร่ โดยมีการปลูกแบบผสมผสานแต่เป็นการปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน จำปา ยางนา พะยอม และผักเหลียง มะเดื่อ 4.นายสุลาวัตร เตาตระกูล มีสวนยาง 30 ไร่ โดยมีการปลูกแบบผสมผสาน คือ ทุเรียน กาแฟ สะตอ หมาก กล้วยหอมและมีการขุดสระเพื่อสร้างแหล่งน้ำในพื้นที่ 5.นายสินมหัด ด่อนศรี มีสวนยาง 6 ไร่ ปาล์ม 30 ไร่ โดยมีการปลูกจำปาทองและมีการขุดสระเพื่อสร้างแหล่งน้ำในพื้นที่ และมีการใช้พื้นที่แยกจากสวนปาล์ม ยาง เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์โดยมีการเลี้ยงวัว 40 ตัว หมู 80 ตัวโดยมีการขายเนื้อหมูเดือนละ 180 ตัวและใช้ขี้หมูในการเป็นปุ๋ยให้แก่หญ้าเนียเปีย 6.นายพูนธวัช เหล่าประวัติชัย มีพื้นที่ 15 ไร่ โดยมีการปลูกผักเหลียง กล้วย ไม้ดอก เพื่อให้มีการปลูกที่หลากหลายและจะทำให้เป็นพื้นที่ตัวอย่างของจังหวัดระนอง
7.นางสุจินต์ ศรีเกตุ  หมู่11ต.ลำเลียง อ.กระบุรี
8.นายสมศักดิ์ ไชยนาศักดิ์  หมู่2 ต.ละอุ่นใต้ อ.ละอุ่น
9.นายบาหรี  หมาดหมัน  หมู่8ต.นาคา อ.สุขสำราญ
10.นายวินัย ทองพร้อม  หมู่7 ต .นาคา อ.สุขสำราญ

โดยหลังจากการประชุมทาง กยท.ระนองจะมีการบูรณาการแผนพืชร่วมยางกับแผนงานของ กยท.เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายและจะมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรกรต้นแบบในพื้นที่เป็นลำดับต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่