สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

งานบริหาร โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประชุมการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้4 ธันวาคม 2560
4
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย วราภรณ์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ รพ นำร่อง.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นายประเวศ  หมีดเส็น รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) เป็นประธานในการประชุมฯ ได้ดำเนินการตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ 1.1 นโยบายการดำเนินงานในพื้นที่พหุวัฒนธรรม ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
2.1 แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิถีอิสลาม/วิถีพุทธ) ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา 3.1 แนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งเพื่อทราบ 1.1 นโยบายการดำเนินงานในพื้นที่พหุวัฒนธรรม ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) ได้จัดทำคู่มือ แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งไทยพุทธและมุสลิมในหลักการและวิถีทางของศาสนาในการให้บริการด้านระบบสุขภาวะนั้น จึงได้จัดประชุมการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เพื่อหารือแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนวางแผนและทำความเข้าใจนโยบายเบื้องต้นว่าสามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่จริงได้หรือไม่ โดยเริ่มดำเนินการจากโรงพยาบาลนำร่องในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วย 1) โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา 2)โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล 3) โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 4) โรงพยาบาลธารโต จังหวัดยะลา 5) โรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อยกระดับงานวิชาการที่ได้ศึกษาวิจัยมาสู่การปฏิบัติในพื้นที่จริง เป็นระยะเวลา 1 ปี และให้แต่ละโรงพยาบาลสรุปถอดบทเรียนขยายแนวทางการปฏิบัติไปสู่โรงพยาบาลอื่นต่อไป มติ ที่ประชุมรับทราบ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ
2.1 แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิถีอิสลาม/วิถีพุทธ) - แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม ประกอบด้วยประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้
1) การตรวจ/การปฏิบัติพยาบาลที่ต้องสัมผัสร่างกายหรือถูกเนื้อต้องตัวจากเพศตรงข้าม 2) การจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา 3) การจัดการด้านอาหาร 4) การช่วยเหลือ/ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 5) การบริการสุขภาพในเทศกาลหรือวาระพิเศษทางศาสนา และ 6) กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น มติที่ประชุมรับทราบ - หลักการระบบสุขภาพโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอ ปัจจัยกำหนดระบบสุขภาพมี 3 ปัจจัย คือ คน สภาพแวดล้อม และระบบกลไก ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้จะเป็นตัวควบคุม สภาวะทางกาย สภาวะทางจิต สภาวะทางสังคม สภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณ ทำให้เกิดเป็นระบบสุขภาวะที่ดี ระบบบริการสุขภาพจึงต้องมีการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ทั้งนี้ สจรส. ได้เลือกพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้นแบบของโครงการ การแพทย์สาธารณสุขในพื้นที่พหุวัฒนธรรม โดยมีงบประมาณ เป็นเงินทั้งสิ้น 1,200,000 บาท จัดสรรให้แก่โรงพยาบาลนำร่องในเครือข่ายจังหวัดละ 180,000 บาท ยกเว้นโรงพยาบาลสตูล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไป จำนวนเงิน 200,000 บาท เพื่อพัฒนาและสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นเรื่องการแพทย์พหุวัฒนธรรม พัฒนาโรงพยาบาลนำร่องในเครือข่ายให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการประเมินการสร้างระบบสุขภาพ โดยการขับเคลื่อนกลไกการทำงานในเชิงรุก วางนโยบายด้วยนวัตกรรมและพัฒนาศักยภาพของคน และสนับสนุนให้กับศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ เป็นเงิน280,000 บาท มติที่ประชุมรับทราบ ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา 3.1 แนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประธานในที่ประชุม ได้เสนอแนะแนวทางการจัดบริการสุขภาพ ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ แก่ประชาชนที่มารับบริการสุขภาพกับหน่วยรับบริการในพื้นที่ โดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ 1 รวมถึงแนวทางในการใช้งบประมาณ โดยนำงบประมาณที่ได้รับจากการจัดสรร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมหลักๆ ดังต่อไปนี้ 1) การจัดอบรมแก่บุคลากรสาธารณสุขเพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักการและวิถีทางศาสนา ต่อการให้บริการสุขภาพแก่ผู้ป่วย 2) การจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบบริการที่ถูกต้องตามหลักศาสนา โดยมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมของพื้นที่ 3) การสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ เป็นต้น ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) 3.1.1 ประธานในที่ประชุมได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบงานฯ ของโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่ง จัดทำแผน ปฏิบัติการและกำหนดทิศทางการทำงาน (Road Map) ของโรงพยาบาล โดยมีกำหนดส่ง ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2560 แก่ผู้รับผิดชอบงานฯ ของ ศบ.สต. เพื่อรวบรวมและดำเนินการในขั้นตอนต่อไป และจะมีการประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับ คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม ปี 2560 มติที่ประชุมเห็นชอบ 3.1.2 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม - ความไม่เข้าใจในแนวทางศาสนาของศาสนิกยังเป็นอีกปัญหาที่ทำให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาวะเป็นไปได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การทำความเข้าใจประชาชนไม่ใช่การนำประชาชนเข้ามาทำความเข้าใจระบบสุขภาพ ในทางกลับกัน หน่วยบริการต้องเข้าถึงประชาชนแล้วนำมาปรับให้เข้ากับหน่วยบริการ จะทำให้การขับเคลื่อนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น โรงพยาบาลสะบ้าย้อย มีชมรมโต๊ะอิหม่ามเข้ามาสร้างการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน หน่วยบริการปรับแผนให้ตรงกับความต้องการและกำหนดมาตรฐาน หน่วยงานภายใต้สังกัดสาธารณสุขสามารถถ่ายทอดนโยบายให้หน่วยงานในพื้นที่รับไปสานต่อให้เหมาะกับในพื้นที่ต่อไป - เพิ่มเติมรายละเอียดของแผนงานหรือการทำงานเชิงรุกให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
- หน่วยบริการควรจัดสรรเรื่องระบบทรัพยากรบุคคลและเวลา ในการทำกิจกรรมทางศาสนาให้เป็นระบบเพื่อให้การจัดการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเป็นการลดช่องว่างระหว่างบุคลากรในหน่วยบริการกับผู้รับบริการ ถือเป็นการบูรณาการทางสุขภาวะสู่การบริการที่เป็นธรรมาภิบาลภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม - ควรแจกแจงรายละเอียดงบประมาณว่าสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง และพิจารณาความเหมาะสมในการนำ งบประมาณไปใช้ มติที่ประชุมเห็นชอบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายประเวศ  หมีดเส็น  รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. นายพงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3. นายมัซรัน  ตะเระ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธารโต จ.ยะลา 4. นายมาหะมะ  เมาะมูลา  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรือเสาะ จ.นราธิวาส 5. นายณรงค์  ลือขจร นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล 6. นางสาวพิกุล  จิรรัตนโสภา เภสัชกรเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 7. นายสายันห์  เศียรอิทร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา
8. นายแวปา  วันฮุสเซ็นต์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส 9. นางสาวสุภาวรรณ  ตันนติหาชัย นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.สตูล จ.สตูล 10. นางนอซีด๊ะ  เจะสอเหาะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี 11. นางเริงฤทัย  หลีเส็น นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา 12. นายนิมิตร  แสงเกตุ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา 13. นางฉัตรพิไล  เจียระนัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล 14. นายสุประพล  บินตำมะหงง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล 15. นายอดิศักดิ์  หวันประรัตน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี 16. นางสาวนาวีราห์  ลาเต๊ะ เจ้าพนักงานสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 17. นายอาแว ลือโม๊ะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี 18. นายมูฮัมหมัด สาเล็ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี 19. นางสาวหทัยรัตน์  ชัยดวง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.เทพา จ.สงขลา 20. นางอรอนงค์  แซ่กี่ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.เทพา จ.สงขลา 21. นางวรรณาพร  บัวสุวรรณ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี 22. นายอาหมัด  จาลงค์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี 23. นางสมศรี  สิ้นโครก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา 24. นางสาวละอองศรี  ไชยวรรณ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา 25. นายมะยือรี  หะแว นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา 26. นางสาวมารินี  โด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา 27. นายมูฮัมหมัด  อัซมี  กาซอ เจ้าพนักงานสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธารโต จ.ยะลา 28. นางสาวซูวารี  มอซู เจ้าหน้าที่ประสานงานวิจัย สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 29. นางสาววราภรณ์  เส็นสมมาตร นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 30. นายชาคริต  หมีดเส็น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ 31. นางสาวกรกช  ศรีผ่อง นักวิขาการสาธารณสุข ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี