สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

สนับสนุนพื้นที่ ประเด็นสุขภาวะทางสังคมการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพร งวดที่ 2

กิจกรรม : สนับสนุนพื้นที่ ประเด็นสุขภาวะทางสังคมการจัดการปัจจัยเสี่ยงจังหวัดชุมพร งวดที่ 2
วันที่ 21/03/2018 - 21/03/2018
งบประมาณที่ตั้งไว้ 50,000.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 70 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย 1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร
1.หัวหน้าส่วนที่เกี่ยวของกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอสวี เช่น นายอำเภอสวี สาธารณะสุขอำเภอสวี โรงพยาบาลสวี รพ.สต.เขาค่าย
2.เขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษา ผู้ใหญ่บ้าน อสม พระ ประชาชนในอำเภอสวี ประชาคมงดเหล้า จังหวัดชุมพร
3.นักวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

2. เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง
1.หัวหน้าส่วนที่เกี่ยวของกับการจัดการประเด็นปัจจัยเสี่ยงกับแผนพัฒนาจังหวัดระนอง
2.เครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดระนอง
3.ดร.มัลลิกา สุบงกฏ อาจารย์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขต ชุมพรเขตอุดมศักดิ์
4.ตัวแทนจากสรรพสามิต
5.สาธารณสุขจังหวัดระนอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดระนอง
6.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
7.เทศบาลเมือง ประชาชน และประชาสังคม

3. ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง
1.เครือข่ายประชาคมงดเหล้า
2.เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
3.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
4.ชมรมผู้ไร้กล่องเสียง จ.ตรัง
5.โรงพยาบาลกันตัง
6.ผู้อำนวยการโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์
7.สำนักงาน สถิติจังหวัดตรัง

4. เวทีสาธารณะการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ ภาคใต้ จ.สงขลา
1.เครือข่ายประชาคมงดเหล้า
2.มูลนิธิเพื่อนหญิง
3.รพ.สต.ทุ่งมะขาม
4.สำนักงานสาธารณสุข รัตภูมิ
5.โรงพยาบาลรัตภูมิ
6.เทศบาลตำบลคูหาใต้ จังหวัดสงขลา
รายละเอียดกิจกรรม :
เป็นการถอดบทเรียนโดยใช้แนวคิดแนวคิดเชิงระบบ (System Concept) ในการดำเนินการซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Input) อาจได้แก่วัสดุ/อุปกรณ์ เงินทุน องค์ความรู้เดิม งานวิชาการที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรต่างๆ รวมไปถึงเวลาและสถานที่
2. กระบวนการ (Process) ได้แก่ เทคนิควิธี ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ
3. ผลที่ได้รับหรือผลผลิต (Output) เป็นผลที่ได้รับจากปัจจัยนำเข้าและกระบวนการทั้งหมด ผลผลิตเป็นสิ่งที่ต้องการในขั้นสุดท้ายของระบบ ผลผลิตอาจเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายๆอย่างรวมกัน รวมถึงให้เห็นกลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจ และข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพซึ่งตลอดทั้งงานมีการถ่ายทอดสดผ่านรายการสื่อชุมชนภาคใต้ และมีการรับฟังความคิดเห็นผ่านรายการรวมทั้งการตอบปัญหาให้กับผู้ที่ซักถามผ่านรายการอีกด้วย