สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีเสวนาสาธารณะจัดการภัยพิบัติ โจทย์ท้าทายของการมีส่วนร่วมให้ถึงฝันได้อย่างไร21 มิถุนายน 2561
21
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อสอบทานพื้นที่จัดการภัยพิบัติและการแก้ปัญหา/การอยู่ร่วมกันให้มีความปลอดภัย    2.เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทาง/วิธีคิดในการขับเคลื่อนงานกับพื้นที่อื่นๆในการจัดการภัยพิบัติ  3.เพื่อให้เกิดศูนย์การจัดการภัยพิบัติในระดับตำบลและแผนรับมือกับภัยพิบัติ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เป็นเวทีเสวนาสาธารณะแลกเปลี่ยนระหว่าง ปภ. กับ ท้องที่/ท้องถิ่น กับ พื้นที่ (เสวนาผ่านสื่อ)ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย 1. นายสมเดช  คงเกื้อ เครือข่ายฝายมีชีวิต 2. ผู้แทนปภ.จังหวัด 3. ตัวแทนโครงการอาสาประชารัฐ 4. ตัวแทนพื้นที่ ต.ถ้ำพรรณรา นายวรรณะ  สังข์กรด 5. ตัวแทนพื้นที่ ต.ชะอวด นายบุญโชค นิ่มหนู 6. รต.สุภาพร  ปราบราย  ตัวแทนเครือข่าย นำเสวนาโดยนายอานนท์  มีศรีและมีการถ่ายทอดสดในระบบทีวีออนไลน์ ผ่านทาง เฟสบุ๊คเพจ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดการภัยพิบัติโดยการมีส่วนร่วม ไปให้ถึงฝันได้อย่างไร รต.สุภาพร  ปราบราย  ตัวแทนเครือข่าย เป็นทั้งผู้ประสบภัยและได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งในและนอกสถานที่  มีแนวคิดว่า  ถ้าเราไม่ต้องการที่ให้มีเหลือบ ริ้น ไร คอยเกาะกินภัยพิบัติ ชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการตนเอง  เราต้องเป็นหู เป็นตา ให้กับหน่วยงานที่จะคอยชี้เบาะแสชี้เป้าให้กับหน่วยงานรับทราบเพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุด  มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ  เปรียบเสมือนเป็น “หมาเฝ้าบ้าน” ของเราเอง  เพื่อให้พี่น้องเราได้อยู่อย่างปลอดภัยและได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นชุมชนต้อง นายบุญโชค  นิ่มหนู พื้นที่ชะอวดน้ำจะท่วมทุกปีเนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ  เมื่อปี 25560 นับว่าเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับชาวชะอวด  การคิดว่า คาดว่า ไม่น่าเกิด แต่ก็เกิดขึ้นกับชาวชะอวด ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่น้องเนื่องจากเส้นทางเข้าไปลำบาก รถไม่สามารถวิ่งได้  เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงทำให้ขาดการเตรียมการ ขาดการเตรียมพร้อม  การหวังพึ่งภายนอกจึงเป็นเรื่องยาก  จำเป็นต้องตั้งศูนย์จัดการภัยพิบัติของตนเองขึ้น วรรณะ  สังข์กรด พื้นที่อ.ถ้ำพรรณราเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่ รับน้ำมาจาก อ.ฉาง และอ.พิปูน เกิดน้ำท่วมหนักปี 2554 ทำความเสียหายอย่างหนักให้กับชีวิตและทรัพย์สิน  หลังจากนั้นชาวบ้านมีการตื่นตัว  จึงการการจัดตั้งศูนย์รับมือภัยพิบัติขึ้น มีการอบรมอาสาช่วยเหลือภัยพิบัติ มีการซื้อและจัดเตรียมอุปกรณ์ จนสามารถช่วยเหลือเพื่อนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ได้ ปภ.จังหวัดนครศรีธรรมราช แนวทางการจัดการภัยพิบัติ ถ้าชุมชนมีการเตรียมความพร้อมที่ดีพอ มีการเฝ้าระวัง มีการแจ้งเตือนภัยกันเองในพื้นที่  เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับทางจังหวัดที่คิดมาจากความแตกต่างของพื้นที่ 1 ตำบล 1 ศูนย์จัดการภัยพิบัติ ทั้ง 3 หน่วย คือ รัฐ ประชาชน เอกชน  ต้องเดินไปแนวทางที่สอดคล้องกัน รูปแบบการจัดการตนเอง เป็นการจัดการขั้นพื้นฐานที่ชุมชนต้องเรียนรู้ มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย  ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วหน่วยงานต่างๆก็ต้องมีการเตรียมพร้อมไปกับชุมชนด้วย นายศิลเรืองศักดิ์  สุขใส หัวหน้ากลุ่มจังหวัด การเตรียมความพร้อมในการรับภัยพิบัติ  ทำอย่างไรให้ชุมชนท้องถิ่นมีความพร้อมในการรับมือ  ที่ผ่านมาเราใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นแกนกลางในการเชื่อมประสานกับหน่วยงาน หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  การทำเป็นชุดความรู้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อการเตรียมความพร้อมให้กับพื้นที่ สภาองค์กรชุมชนเป็นที่ปรึกษาหารือของคนในชุมชน หรือเป็นพื้นที่กลางให้คนในชุมชนได้ปรึกษาหารือปัญหาต่างๆรวมทั้งปัญหาด้านภัยพิบัติด้วย  เป็นช่องทางให้ชุมชนสามารถเข้าถึงหน่วยงานและงบประมาณ  พอช.ไม่ได้เป็นเจ้าของสภาฯเป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนเท่านั้น สภาฯต้องเป็นตัวของตนเองสร้างพื้นที่ของตนเอง  ในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมาพอช.มีการสนับสนุนด้านงบประมาณให้กับสภาฯเพื่อการขับเคลื่อนเรื่องของการจัดการภัยพิบัติ นายสมเดช  คงเกื้อ เครือข่ายฝายมีชีวิต การมีส่วนร่วม ระหว่างน้ำท่วมและภัยแล้ง  เรารมองว่าภัยแล้งเป็นเรื่องที่รุนแรงกว่า น่ากลัวกว่า  ปรากฏการณ์ที่เราเจอ คือ น้ำท่วมในหน้าฝน น้ำแห้งในหน้าแล้ง  เมื่อพูดถึงภัยพิบัติชุมชนก็เกิดอาการขนลุกเนื่องจากความรุนแรงและเร็วของภัยพิบัติ  ด้วยเมื่อเทียบปัจจุบันกับสมัยก่อนการดำรงชีวิตของชุมชนได้เปลี่ยนวิถีไปแล้วอย่างมาก  เช่น การปลูกบ้าน  ภูมิปัญญาปัจจุบันที่เรานำมาใช้ คือ ฝายมีชีวิต  ที่ถูกพัฒนามาจาก นบ เขื่อน  รวมถึงกระบวนการประชาเข้าใจ  เป็นการระเบิดจากข้างใน  คือ ต้องให้ประชาเข้าใจก่อนถึงจะลงมือทำ  ตอนนี้ทั้งประเทศได้ดำเนินการทำฝายไปแล้วทั่วประเทศประมาณ 1000 กว่าฝาย  พบปัญหาบ้างแต่ก็ปรับแก้อย่างต่อเนื่อง  สิ่งที่เกิดขึ้น พื้นที่ฝายไม่พบปัญหาพืชผลยืนต้นตาย
น้ำพ่า กับ น้ำท่วม ไม่เหมือนกัน  น้ำพ่าชาวบ้านถือเป็นเรื่องธรรมดาเป็นการนำเอาความอุดมสมบูรณ์มาให้กับดิน  น้ำท่วมเป็นเรื่องของภัยพิบัติที่ชาวบ้านประสบความเสียหายทั้งชีวิตละทรัพย์สินแต่ไม่นาน7วัน 1เดือน  ถ้าเกิดภัยพิบัติจากภัยแล้งเราต้องประสบปัญหากันเป็นระยะเวลานาน นายวรวิชญ์  กฐินหอม หน่วยสนับสนุนจากภาคี รูปแบบวิธีการสนับสนุนการจัดการภัยพิบัติ  การสนับสนุนทักทอเครือข่ายจิตอาสาเพื่อสังคม ด้านการจัดการภัยพิบัติ สนับสนุนด้านข้อมูลภูมิศาสตร์สารสนเทศ กลุ่มคนจิตอาสาด้านภัยพิบัติเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การจัดตั้งพื้นที่ตัวอย่างการจัดการภัยพิบัติเป็นที่พอช.ทำอยู่  เรื่องภัยพิบัติไม่มีใครสามารรถคาดเดาได้ ปภ.จังหวัดนครศรีรธรรมราช มีการสนับสนุน 6 พื้นที่ ตำบลท่างิ้ว ตำบลนาเขลียง  เป็นการสนับสนุนด้านสร้างเครื่องมือให้กับตำบลเพื่อให้ตำบลสามารถดำรงอยู่ได้ยามเกิดภัย  เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน ลดงบประมาณในการฟื้นฟูให้กับชุมชน  การร้องขอในเรื่องต่างๆลดลง ปลายปี 60 จาก 100 เรื่องเหลือประมาณ 30 เรื่องเป็นต้น รต.สุภาพร  ปราบราย
การเชื่อมโยงกับกลุ่มเครือข่ายและหน่วยงานเป็นเรื่องที่ชุมชนสามารถทำได้  แต่ต้องมีการเตรียมความพร้อมของพื้นที่ตนเองก่อน  เพราะงบประมาณไม่ว่าจะมาจากไหนถ้าเราไม่พร้อมเขาก็ไม่ให้
วรรณะ  สังข์กรด ข้อจำกัดของงบประมาณ  ถ้าพื้นที่มีความพร้อม ชาวบ้านตื่นตัวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม งบประมาณจะมีมาหรือไม่ไม่เป็นปัญหา บุญโชค  นิ่มหนู มีการตั้งกองทุน เช่น กองทุนสวัสดิการ กองทุนการจัดการภัยพิบัติบ้านท่าสะท้อน สมเดช  คงเกื้อ
ครัวอาหารโลก เป็นเรื่องน่ายินดี  แต่ถ้าบ้านเราขาดน้ำ น้ำไม่อุดมสมบูรณ์อาหารบ้านเราคงไม่มีคุณภาพ  เราใช้น้ำ 115 ล้าน ลบม. แต่น้ำที่เราทิ้งมีมากกว่า การเก็บน้ำเอาไว้จะสามารถทำให้ยางพาราสามารถกรีดได้ทั้งปี  ผลได้มีทั้งในและนอกตามฤดูกาล นายวรวิชญ์  กฐินหอม กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม  ภัยพิบัติเกี่ยวกับทุกเรื่องในชีวิต  ทั้ง ด้านการให้ความรู้ ทักษะ การบูรณาการร่วม การเชื่อมโยงเครือข่าย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้  นครศรีธรรมราช 2.สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช 3.เครือข่ายฝายมีชีวิต 4.ตัวแทนจากดโครงการจิตอาสาประชารัฐ 5.ตัวแทนจากพื้นที่อ.ถ้ำพรรณรา 6.ตัวแทนจากพื้นที่อ.ชะอวด 7.เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช 8.สำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยนครศรีธรรมราช 9.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)พอช. 10.สจ.เขตอ.เมือง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี