สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีสาธารณะ การท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้ม มุ่งสู่ความเป็นเลิศ9 มิถุนายน 2561
9
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อ ทำไมต้องเข้มมุ่งความเป็นเลิศ และพรบ.การท่องเที่ยวเป็นตัวท้าทายอย่างไร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เป็นเวทีสาธารณะ ว่าด้วยเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้ม  มุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นใน หัวข้อ ทำไมต้องเข้มมุ่งความเป็นเลิศ และพรบ.การท่องเที่ยวเป็นตัวท้าทายอย่างไร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำไมต้องเข้มมุ่งความเป็นเลิศ และพรบ.การท่องเที่ยวเป็นตัวท้าทายอย่างไร           คุณบัญชา  แขวงหลี พรบ.การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ทางสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ ซึ่งนายกสมาคมการท่องเที่ยวได้พูดคุยกันไม่ตำกว่า 2 ปีโดยเหตุผลที่ว่า กระแสของท่องเที่ยวโดยชุมชนหรือท่องเที่ยวชุมชนโดยรัฐบาล  มุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว เพราะฉะนั้น กรอบหรือแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจึงไม่มีกรอบที่ชัดเจน  การพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นและตอบโจทย์การท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยแท้จริงเป็นอย่างไร ไม่สามารถที่จะเดินต่อไปได้ เพราะฉะนั้นทางสมาคมการท่องเที่ยวจึงต้องร่วมคิด  ร่วมทำเพื่อให้มีกรอบ กติกาของสมาคม  ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นที่รับรู้กันว่า มาตรฐานของโฮมสเตย์ จะมีกรมการท่องเที่ยวเป็นผู้รับรอง  มาตรฐานของโรงแรมก็จะมี ททท.เป็นผู้รับรอง  ทั้งหมดเหล่านี้ มีหน่วยงานที่ดูแลอยู่  เพราะฉะนั้นมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนหรือพรบ.การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ได้กำหนดหรือร่างขึ้นมานั้นเพื่อต้องการให้มีแนวทางที่ถูกต้องและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
ถ้ามี พรบ.เกิดขึ้น สามารถสร้างบรรทัดฐานเหนือจากที่หน่วยงานที่รับรองได้อย่างไร           คุณบัญชา  แขวงหลี  ถ้าจะถามว่าเหนือกว่าไหม นั้นคือเป็นกรอบแนวคิดที่ต้องการให้เกิด ให้ชุมชนการท่องเที่ยวทุกพื้นที่ได้มีกรอบแนวคิดเป็นของตัวเอง และเป็นเครื่องมือป้องกันที่จะไม่ให้ชุมชนสูญเสียอัตลักษณ์ วัฒนธรรมของชุมชนเอง ก็เลยต้องมีกรอบขึ้นมา พรบ.ที่จะร่างขึ้นมีรายละเอียดและองค์ประกอบอย่างไร           คุณบัญชา  แขวงหลี  มีองค์ประกอบในหลายๆด้าน แต่เบื้องต้นได้มีการยกร่างในหลายเวทีมาแล้ว ซึ่งอยู่ในระดับร่างสุดท้ายที่จะไปสู่กระบวนการพิจารณาของกรรมการของสมาคม  แต่ถ้ามีระเบียบ ข้อบังคับอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมี พรบ. แต่ทางสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ก็มีคำตอบที่จะยื่นต่อไป           คุณอำพล  ธานีครุฑ  ชุมชนน่าจะเป็นผู้เขียน พรบ. ด้วยตนเอง เพราะจะได้รู้เรื่องและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เมื่อร่าง พรบ.เสร็จแร้ว รับรู้กันทั้งหมด มีการเชื่อมโยงกันทั้ง 4 ภาค พรบ. ฉบับนี้ต้องมีทั้ง 4 ภาค และน่าจะขึ้นเป็นสมาคมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
        ทำไมเราต้องมี พรบ. เป็นของตัวเอง เกิดจากตัวเราเองเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป้าหมายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวกระแสหลักหรือการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ แต่เรามีเป้าหมายเดียวกันหมด กฎหมายที่ร่างออกมาแล้วมาบังคับใช้กับการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น ไม่สอดคล้อง ไม่ตรงกับความต้องการ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น พรบ.ธุรกิจนำเที่ยว  ไม่ใช่กฎหมายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นแค่กฎหมายนายทะเบียน กฎหมายที่ควบคุมมัคคุเทศน์  ควบคุมบริษัททัวร์ ไม่มีมาตราไหนที่พูดถึงชุมชนการท่องเที่ยวเรยไม่สามารถเอามาปฏิบัติได้ ส่วนมากจะมีแค่การพัฒนาท้องที่ แต่ต้องทำตามกฎหมายนั้น ดังนั้น พรบ.การท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องร่างขึ้นมาเอง
        คุณสมพร สาระการ  ความต่างของท่องเที่ยวชุมชนกับท่องเที่ยวกระแสหลัก ต่างกันอย่างไร ความต่างที่ชัดเจนที่สุดคือ การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการสร้างคุณค่า สร้างอาชีพให้กับชุมชน  แต่การท่องเที่ยวกระแสหลักเป็นการมองที่ตัวเลขการท่องเที่ยวเป็นหลัก  ส่วนใหญ่จะใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการจัดการชุมชน ในการสร้างรายได้  ในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ นั้นคือเข้มมุ่งของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

การสร้างอัตลักษณ์ตัวเราไม่ใช่เฉพาะกลุ่มหนึ่ง กลุ่มใด แต่ต้องเป็นองค์กรระดับชาติ  และองค์กรระดับชาติเป็นสภาการท่องเที่ยว ที่จะเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชมหรือเชื่อมโยงกับสมาคมได้อย่างไร และมีหลักคิดและแนวคิดอย่างไร           ในเรื่องของ พรบ. ถ้ามี พรบ.ขึ้นก็เป็นเครื่องมืออีกเหมือนกัน และถ้าจะมีพรบ.ท่องเที่ยวชุมชน ก็ต้องมีสภาการท่องเที่ยวเพื่อเป็นตัวหนุนเสริม ในการขับเคลื่อน ผลักดัน สะท้อนปัญหา มองเป็น  2มิติ ถ้ามีสภาก็สามารถผลักดันการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรมได้ เพราะสภามีองคฺ์กร มีคณะทำงานที่ชัดเจน มีตัวแทนแต่ละจังหวัด มีการรับรู้กันทุกภาคส่วนและสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐได้
          คุณปาทิดา  โมราศิลป์ ในมุมของนักวิชาการ คือ มีบทบาทในการทำคู่กันมาตลอดทางด้านข้อมูลด้านวิชาการ มาตรฐาน ศึกษาข้อมูล หลายๆ ข้อมูลที่จะประมวลและเป็นภาพของมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้  ซึ่งในข้อมูลชุดนั้นจะผ่านการคัดกรองมาหลายวิธีด้วยกัน และจากมาตรฐานก็ขึ้นมาเป็น พรบ.  และเมื่อสภาที่กำลังจะเกิดขึ้นในระดับภาค นักวิชาการก็เช่นเดียวกันก็จะต้องยึดโยงในระดับภาคด้วย
          ชุมชนกลุ่มเล็กที่กำลังขับเคลื่อนในพื้นที่อยู่นั้น เขาทำเพื่อปกป้องตัวเองหรือบางทีอาจจะมีการกดดันจากกระแสการท่องที่ยวกระแสหลัก  ท่องที่ยวกระแสหลักมาจากทุนภายนอก เพราะฉะนั้นฐานความตั้งใจที่จะปกป้องทรัพยากรหรือฐานตัวเองนั้น การท่อเงที่ยวโดยชุมชนถือเป็นเครื่องมือในการปกป้องผืนแผ่นดินตัวเอง จากกลุ่มเล็กๆในพื้นที่ 10เสียงอาจจะไม่พอในระดับจังหวัด เครือข่ายระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ เพราะฉะนั้นแล้วทำให้เกิด 10 เสียงขึ้นมาจะต้องมีขบวนเคลื่อนจากกลุ่มเล็กๆ รวมตัวกันเป็นเครือข่ายระดับกลุ่มจังหวัดหรือระดับภาค และตัวจะมาปกป้อง คุ้มครอง เอื้อ ก็คือ พรบ.
          คุณจรัญญา ศรีรักษฺ์  ตลาดน้ำบ้านบางใบไม้ ทำท่องเที่ยวชุมชนตั้งแต่ ปี 2549 เริ่มจากผู้นำเและชาวบ้านรวมตัวกัน โดยการใช้ทุนจากธรรมชาติ จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน  ได้เป็นโอท็อป 5 ดาว ในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชาวบ้าน จนกลายมาเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการกระจายรายได้และชาวบ้านมีความพร้อมที่จะร่วมมือกันทำ  นโยบายรัฐมีความขัดแย้งกับท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นอย่างมากแต่โชคดีที่บางใบไมใม้ไม่ได้ใช้งบประมาณจากภาครัฐ สร้างความเข้มแข็งให้กับชาวบ้าน และมีภูมิคุ้มกันไม่ตกเป็นเครื่องมือ แต่จะหยิบฉวยผลประโยชน์ที่จะได้มา เป็นมิตรกับทุกหน่วยงานแต่จะดึงเอาส่วนที่มาเติมเต็มให้กับการท่องเที่ยวของเราเอง
        คุณเชภาดร  จันทร์หอม  ส่วนของประเด็นการท่องเที่ยวในงานสร้างสุขเป็นทั้งข้อท้าทาย เป็นทั้งเครื่องมือ เป็นเรื่องที่ระดับภาคได้พูดถึง  ปี 2559 ทำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นประเด็นของงานสร้างสุขภาคใต้ และทำให้เห็นถึง ต้นทุน ขบวน และร่วมกันคิดว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะขับเคลื่อนไปในรูปแแบบไหน  ข้อเสนอที่มาจาก 14 จังหวัดภาคใต้ในงานสร้างสุข มีประเด็นสำคัญ คือ เรื่อง พรบ. เป็นเรื่องที่สำคัญและจะขับเคลื่อนต่อในการพัฒนาตัวร่างให้ชัดเจนขึ้น และจะเป็นหุ้นส่วนในการจัดเวทีให้กลุ่มเครือข่ายระดับพื้นที่มีส่วนร่วมมากที่สุด
        ส่วนของสนับสนุนโดย สสส.ดูแลเรื่องความปลอดภัยในการท่องเที่ยวซึ่งได้มาร่วมขับเคลื่อนประเด็นต่างๆกับ ชุมชน เมื่อ ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ในระดับจังหวัด ระดับพื้นที่ ระดับภาค รวมไปถึงนโยบายที่จะร่วมเข้าพบรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ โดยใช้ประเด็นความปลอดภัยเป็นตัวนำ กฎเกณฑ์ มาตรฐานของชุมชน เราจะสนับสนุนในส่วนตรงนั้น แต่กฎ กติกาต่างๆต้องมาจากชุมชนในรูปแบบภาคหนุนเสริม ใน 3 ส่วนที่พูดกันมาไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสภา พรบ. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ  3ส่วนนี้ จะหนุนเสริมกันตั้งแต่ต้น ทั้งงบประมาณ ทั้งแรงกาย แรงใจ

การท่องเที่ยว การรักษาทรัพยากรธรรมชาติเป็นเป้าหมายหลัก  สิ่งเหล่านี้เป็นของท้าทายหรือมีเข้มมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ด้วยหรือไหม         คุณบัญชา  แขวงหลี  สำหรับการที่จะให้มี พรบ.การท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับโลก นั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะในเรื่องของการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ปกป้องทรัพยากรในส่วนของตัวเอง  ใช้ท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ UN เป็นหน่วยงานที่ดูแล เข้ามามีบทบาท คววามปลอดภัยของชุมชน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม สอดรับกับเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเห็นด้วยและจะเดินไปในทิศทางและตอบโจทย์เดียวกัน และให้ลงลึกในส่วนของวิชาการ แต่จะไม่เอาในส่วนที่ไม่สอดรับกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน หน่วยงานระดับโลกถูกยอมรับอยู่แร้ว
          เครือข่ายชุมชนเล็กๆ ที่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองนั้น จะมีเครือข่ายชุมชนใหญ่ จะค่อยช่วยเหลือในการขับเคลื่อน เป็นที่ปรึกษา แต่อย่าลืมว่ารัฐ เรื่องนโยบายจะต้องเกิดขึ้นต้องทำกัยอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่คำพูด งบประมาณเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการที่จะนำไปสู่ขอท้าทาย 3 เรื่อง สภา พรบ. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ในหน่วยงานที่สนับสนุน โดยเฉพาะภาครัฐ หรือทุกภาคส่วน ต้องยอมรับว่า จะมีการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน บุคคลในพื้นที่ ที่ไม่เข้าใจในเรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชน จะต้องพยายามศึกษา และในส่วนของการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีประสบการณ์มาก่อน มองเห็นว่า อันตราย หรือกับดัก คือตัวเงินที่รัฐบาลสนับสนุนการท่องที่ยวโดยชุมชน เป็นส่วนที่สำคัญ ถ้าไม่เข้าใจจะทำให้ชุมชนแตกแยกและเมื่อชุมชนแตกแยกก็จะทำให้ชุมชนอ่อนแอ แล้วทุกอย่างก็จะพังลง เพราะฉะนั้นในส่วนนี้เป็นส่วนที่จะสำคัญที่สุด และส่วนที่น่าเป็นห่วงคือชุมชนน้องใหม่ เพราะพอมีงบเข้ามาสนับสนุนก็จะรับไว้เรยโดยไม่คำนึงถึงอันตรายอื่นๆที่จะตามมา ในขณะเดียวกัน พร้อมหรือไม่พร้อม รัฐก็จะสนับสนุนให้ ตรงนี้เป็นส่วนที่น่าห่วง ณ วันนี้การท่องเที่ยวโดยชุมชน จะต้องประเมินว่าเราอยู่ในระดับไหน ถ้ายังไม่พร้อมในส่วนของโครงสร้างในระดับชุมชน นั้น ถือว่าเป็นส่วนที่อันตรายมาก เพราะฉะนั้นในส่วนตรงนี้ การท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นตัวแทนของสมาคมยังต้องตระหนักว่าในส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญ จะต้องพูดคุยกับชุมชนที่จะเริ่มเข้ามาในเส้นทางท่องเที่ยโดยชุมชนว่า ต้องระวังอย่างไร ต้องมีกรอบ กติกาอย่างไร ให้สามารถเดินต่อไปได้ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 11 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนฝั่งอันดามัน 2.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 3.สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ 4.สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาดีน 5.กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บ้านบางใบไม้ 6.เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนฝั่งอันดามัน 7.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต สุราษฎร์ธานี

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี