พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ
1.เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาต้นแบบด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ 2.เพื่อพัฒนาข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในทุกระดับ 3. เพื่อสื่อสาธารณะประเด็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ 4. เพื่อเสริมสร้างมุมมองต่อชีวิตในเชิงบวก มีทัศนคติที่ถู
1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร - ติดต่อประสานงานกับสาธารณะสุขอำเภอสวี เพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้ - ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น นายอำเภอสวี วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน สถานที่ ทีมสื่อ และเชิญผู้เข้าร่วม - ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม - กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเวทีถอดบทเรียน - วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ระบบสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพประเด็น กลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานและสื่อ
2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง - ติดต่อประสานงานกับประชาคมงดเหล้าจังหวัดระนอง เพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้ - ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ทั้งหน่วยงานและ วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ - ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน สถานที่ ทีมสื่อ และเชิญผู้เข้าร่วม - ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม - กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเวทีถอดบทเรียน - วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ระบบสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพประเด็น กลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานและสื่อ
3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง
- ติดต่อประสานงานคณะทำงานสมัชชาสุขภาพ จังหวัดตรังเพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้
- ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน สถานที่ ทีมสื่อ และเชิญผู้เข้าร่วม
- ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม
- กล่าวทักทายผู้เขข้าร่วมและนำเข้าข้อมูลอุบัติเหตุช่วงเทศกาลที่ผ่านมา
- วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นตรัง ประเด็นบุหรี่กับระบบสุขภาพสมัชชาสุขภาพจังหวัดสถานการณ์ ปัญหาข้อเสนอแนะ
- เปิดรับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถามผ่านสื่อออนไลน์
4.เวทีสาธารณะการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ ภาคใต้ จ.สงขลา
- ติดต่อประสานงานกับประชาคมงดเหล้าจังหวัดสงขลา เพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้
- ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ทั้งหน่วยงานและ วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน สถานที่ ทีมสื่อ และเชิญผู้เข้าร่วม
- ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม
- กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเวทีถอดบทเรียน
- วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นประเด็นเหล้ากับระบบสุขภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ ระบบสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพประเด็น กลไก/โครงสร้างที่ขับเคลื่อน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัจจัยที่เอื้อ/อุปสรรครวมทั้งบทเรียน/ข้อค้นพบที่น่าสนใจข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานและสื่อ
1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร
ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาการดื่มเหล้าของประชาชนในพื้นที่ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยการรายงานของนายอำเภอสวี พบว่า อำเภอสวีเป็นอำเภอหนึ่งซึ่งมีทั้งหมด 11 ตำบล มีจำนวนประชากรประมาณ 70,000 คน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน ทำให้ผู้ที่ดื่มเหล้าส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงานแต่มีจำนวนไม่มากเท่าใด โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ดื่มเหล้าจะเกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาหลัก ซึ่งส่งผลกระทบอื่นๆตามมาอีกมากมาย เบื้องต้นสาธารณสุขอำเภอได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัญหาสาธารณสุขที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่ คือ วัณโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง จมน้ำ และปัญหาติดสุรา โดยพบว่าแนวโน้มของผู้ที่ติดสุราเป็นกลุ่มแนวโน้มของวัยรุ่นซึ่งอยู่ในกลุ่มของนักเรียนและนักศึกษา ส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านสุขภาพ เช่น ขาดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ สมองเสื่อม สติฟั่นเฟือน เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านศีลธรรมมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการในการรณรงค์และจัดกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดจำนวนของผู้ดื่มเหล้า
โดยกระบวนการรณรงค์และกิจกรรมต่างๆ ในการลดการดื่มเหล้าของอำเภอสวีจึงเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินการเพื่อจัดกิจกรรมในการลดเหล้าให้กับประชาชน โดยใช้รูปแบบชุมพร Model (3 ส 5 ช) ประกอบด้วย
ซึ่งความร่วมมือของทุกภาคส่วนถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละภาคส่วนจะมีบทบาทที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1. ส่วนหนุนเสริมเติมเต็ม(Moniter) ประกอบด้วยผวจ.ส่วนราชการจังหวัด/วิชาการ/ปชค./ภาคีเครือข่ายสุขภาพ มีบทบาทหน้าที่ พัฒนาศักยภาพระบบสุขภาพ/เชื่อมประสาน ผลักดันระดับจังหวัด เพื่อสร้างนโยบายที่เอื้อต่อการดำเนินงาน/สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้/สื่อสารสาธารณะ/สร้างแรงบันดาลใจ/สนับสนุน สื่อ งบประมาณ/เชิดชูเกียรติ์
2. ส่วนสนับสนุน (Supporter) ประกอบด้วยนอภ./สสอ./รพ.ช./อปท./กำนัน/เอกชน/สื่อ/รพ.สต. มีบทบาทหน้าที่ เชื่อมประสานทั้งแนวดิ่ง แนวราบ เชิงนโยบาย/บังคับใช้กฎหมาย/พัฒนาศักยภาพชุมชน/สร้างความยั่งยืน เช่น คำสั่งแต่งตั้ง บรรจุในระเบียบ กติกา บทบัญญัติ/วิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้มีส่วนได้เสีย/ถ่ายทอดจากนโยบายเป็นปฏิบัติ/ขยายผลทั้งนโยบาย พื้นที่ เวลา กลุ่มเป้าหมาย/บรรจุประเด็นปัจจัยเสี่ยงในกลไกสุขภาพในพื้นที่/ติดตาม ประเมินผล สรุป รายงาน
3. ส่วนปฏิบัติการ(Actor) ประกอบด้วยครู/พระ/อสม./ผญบ./สมาชิกคนหัวใจเพชร/หิน/เยาวชน มีบทบาทหน้าที่ สำรวจ วิเคราะห์ ทำฐานข้อมูลในชุมชน/ตั้งคณะทำงาน/สร้างการมีส่วนร่วม(วางเป้าหมาย แผนงาน ปฏิบัติ สรุป พัฒนา) สร้างสภาพแวดล้อมปลอดเหล้า/สร้างข้อตกลง/กติกา/เฝ้าระวัง ส่งเสริม ด้านกฎหมาย/สร้างและพัฒนาทักษะแกนนำ/เข้าถึงระบบสุขภาพชุมชน เช่น กองทุนฯ
และหัวใจหลักของระบบการทำงานนั้น ประกอบด้วย คนทั้ง 5 ช. คือ
1. คนชง เป็นคนที่พบเจอปัญหา
2. คนชู คือ ผู้เป็นประธานการทำงานนั้น
3. คนช่วย คือ ผู้ที่สามารถให้ความร่วมมือช่วยเหลือ
4. คนเชียร์ คือ คนที่เป็นแรงสนับสนุน กำลังใจ
5. คนชิม คือ คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือชาวบ้าน/ชุมชน
ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบการผสมผสานการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยเน้นกิจกรรมต่างๆที่จะส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของการดื่มเหล้า เช่น การจัดกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักดื่มให้หยุดดื่มเหล้าในช่วงเวลา 3 เดือน โดยใช้กิจกรรมการให้กำลังใจของครอบครัว และชุมชน เป็นแรงสนับสนุน ขณะเดียวกันส่งเสริมให้คนที่ทำความดีที่สามารถเลิกดื่มเหล้าได้ครบตามกำหนดเป็นต้นแบบในการรณรงค์ ลด ละ เลิก ตามสโลแกนที่กำหนด พร้อมทั้งเชิดชูชุมชนที่เป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ชุมชนประชาเสรี หมู่ 11 ตำบล เขาค่าย อำเภอสวี จังหวัด ชุมพร ซึ่งเน้นการลด ละ เลิก เหล้าโดยมีต้นแบบจากผู้นำชุมชน ส่งผลให้เกิดพลังใจในการร่วมมือและร่วมใจระหว่างประชาชนในชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันการรณรงค์กิจกรรมในโครงการลดนักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชนและนักเรียน นักศึกษา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ล้วนเป็นอนาคตและกำลังในการพัฒนาประเทศ หน่วยงานต่างๆจึงต้องเน้นการเฝ้าระวังโดยร่วมมือกับคนในชุมชน สถานศึกษา และร้านค้าในการวางมาตรฐานในการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเน้นการให้ความรู้ตั้งแต่ระดับโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน รวมถึงการประเมินและตรวจสอบสถานศึกษาจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดระบบการติดตามอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนผู้ป่วยที่มีการติดเหล้าจะได้รับการดูแลรักษา และบำบัด จากโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด โดยเน้นกระบวนการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจ เชื่อมั่น และไว้วางใจในตนเองและผู้รักษา ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีการติดเหล้าสามารถเลิกได้อย่างเด็ดขาดมากขึ้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านสุขภาพโดยเน้นหลัก 3อ ได้แก่ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเน้นอารมณ์ที่สดชื่นและแจ่มใส เพื่อส่งผลต่อกำลังใจในการเลิกเหล้า ขณะเดียวกันชุมชนต้องมีส่วนร่วมและสนับสนุนให้คนในชุมชนได้ร่วมกันปฏิบัติความดีเพื่อเป็นมรดกสำหรับชุมชน เช่น ส่งเสริมการทำพินัยกรรมความดี โดยเน้นการไม่เลี้ยงเหล้าในงานต่างๆ หรือแม้แต่การจัดทำธรรมนูญหมู่บ้านในการเป็นหมู่บ้านปลอดเหล้า และส่งเสริมชุมชนต้นแบบให้เกิดขึ้นในพื้นที่ทั่วทั้งอำเภอ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการบูรณาการกระบวนการและกิจกรรมจากทุกภาคส่วนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างความตระหนัก ความคิด และความรู้ ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม
บันไดแห่งความสำเร็จ
ในกระบวนการสำคัญในการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพจึงจำเป็นต้องมีองค์กรประกอบหลายประการ ได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์หลักของพื้นที่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนสังคม หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีกระบวนการที่สำคัญ 7 ขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหาที่
2. การระบุประเด็นปัญหา
3. การวางแผนและนโยบาย
4. การลงมือปฏิบัติ
5. การติดตามและประเมินผล
6. การพัฒนาและปรับปรุง
7. การยกย่องและเชิดชู
ซึ่งกระบวนการทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ คือส่วนสำคัญสำหรับการดำเนินโครงการให้สบความสำเร็จ โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นตามบริบทของพื้นที่ หลังจากนั้นจะต้องมีการระบุประเด็นปัญหาอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดแนวทางในการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยวางแผนและนโยบายจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนอย่างเป็นระบบและชัดเจน พร้อมทั้งนำแผนลงสู่การปฏิบัติในทุกๆพื้นที่โดยเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน โดยเน้นในกลุ่มคนหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงซึ่งจะต้องมีการติดตามและประเมินผลของการดำเนินการเป็นระยะๆเพื่อลดความผิดพลาดของกระบวนการทำงาน ขณะเดียวกันต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และประการสุดท้ายจะต้องช่วยกันส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องเชิดชูบุคคลหรือชุมชนที่เป็นแบบอย่างให้เกิดการเผยแพร่กิจกรรมให้ครอบคลุมพื้นที่อื่นๆมากยิ่งขึ้น กระบวนการเหล่านี้สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆในการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย การสร้างความรู้ การบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้และส่งเสริมพฤติกรรมของประชาชนและชุมชมให้เกิดความตระหนักต่อไปในอนาคต เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน ต่อไป
2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง
ผลผลิต
1. ตั้งกลุ่ม/องค์กร/ชมรม (รู้เรา) : ภาคประชาสังคมต้องมีการตั้งกลุ่มที่เข้มแข็งและเป็นรูปธรรม เช่น องค์กรสาธารณะประโยชน์ สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ โดยสำคัญคือต้องมีเป้าหมายองค์กรที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ การศึกษา การบำบัด หรืออื่นๆ และกำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินให้สอดคล้องกันกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาในพื้นที่นั้นๆ ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และพัฒนาโครงการหรือแผนปฏิบัติการณ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตัวชี้วัดของหน่วยงานราชการ เพื่อบูรณาการด้านงบประมาณ
2. ศึกษายุทธศาสตร์หน่วยงานภาครัฐ (รู้เขา) : หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานจะมีการจัดทำยุทธ์ศาสตร์ ตัวชี้วัดไว้อย่างชัดเจน โดยสามารถหาข้อมูลได้จากเวปไซค์ของหน่วยงานนั้นๆ หรือขอรับเป็นเอกสาร เพื่อการออกแบบโครงการหรือแผนปฏิบัติการจะได้สอดคล้องกัน หรือพื้นที่ในการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วย โดยขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจในกรอบการปฏิบัติ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ชัดเจน ทั้งขั้นตอนการปฏิบัติ การใช้จ่ายงบประมาณและการจัดการด้านหลักฐานการเงิน
3. หนุนเสริม เติมเต็ม/สร้างความสัมพันธ์ : ขั้นตอนนี้เน้นหนักมากคือ การหนุนเสริมซึ่งกันและกัน เช่น การสนับสนุนด้านการประสานงาน การจัดกิจกรรม การแชร์ความรู้ สื่อรณรงค์ และผลัดกันให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม เช่น การออกบูธกิจกรรม การเข้าร่วมขบวนรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ โดยยึดหลัก แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง
4. สร้างการทำงานแบบมีส่วนร่วม : โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้
พื้นทีี่เป็นเจ้าของปัญหา----------ศึกษาบริบทของพื้นที่เข้าร่วม-------------กำหนดแนวทางแก้ไขร่วมกัน-----------------ตัดสินใจและปฏิบัติร่วมกัน----------------ติดตาม ประเมินผล สรุป พัฒนาร่วมกัน
5. สร้างความยั่งยืน/สร้างนโยบายสาธารณะ : เป็นขั้นตอนที่ต้องสรุปบทเรียน/ข้อค้นพบ จากการดำเนินร่วมกัน แล้วพัฒนาเป็นองค์ความรู้ เพื่อยกระดับจากยุทธ์ศาสตร์ระดับกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงาน สู่นโยบายสาธารณะระดับจังหวัด และอาศัยต้นทุนหรือจุดแข็งของภาครัฐและภาคประชาสังคม ผลักดันให้เป็นยุทธ์ศาสตร์หลักด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของจังหวัดต่อไป
ผลลัพธ์
1. ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งซึ่งกันและกัน
2. เกิดกลไกขับเคลื่อนที่มีการดำเนินงานทั้งด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การบังคับใช้กฎหมาย งานบุญประเพณีปลอกเหล้า งานชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง งานสกัดนักดื่มหน้าใหม่
3. เกิดการสร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ลัพฒนาเป็นแผนพัฒนาจังหวัด และบรรจุในยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สสจ./ปภ./พมจ.
4. ภาคประชาสังคมสามารถลดปัญหาและอุปสรรค์ด้านการขาดงบประมาณในการดำเนินงาน เพราะสามารถบูรณาการด้านงบประมาณกับหน่วยงานรัฐได้
5. หน่วยงานราชการสามารถลดปัญหาเรื่องความไม่คล่องตัวในการปฏิบัติงาน เนื่องจากข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากร เวลาปฏิบัติงาน เพราะภาคประชาสังคมจะมีความคล่องตัวสูงไม่ติดระเบียบราชการ
3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง ผลผลิต 1. มีกลไกจัดการแบบพหุภาคี (๓ ภาคส่วน): คือ 1.) ภาคท้องถิ่นและราชการ2.) ภาควิชาการและวิชาชีพ3.) ภาคองค์กรพัฒนาเอกชนและประชาสังคม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรังแต่งตั้งคณะทำงานขึ้น 3 ชุด คือ คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรังคณะทำงานฝ่ายเลขานุการคณะทำงานสมัชชาสุขภาพเชิงประเด็นซึ่งถือเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ และการทำงานก็มีความสอดคล้องทั้งเชิงยุทธศาสตร์ พื้นที่ กิจกรรม 2. มีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบ : คือ 1.) ร่างข้อเสนอสมัชชาสุขภาพตรังเชิงประเด็น2.) ให้ความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอสมัชชาสุขภาพตรังเชิงประเด็นพื้นที่10 อำเภอ 3.)ร่างมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 4.) สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 5.)มติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 6.) กระบวนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง 7.)การติดตามการแปรมติสมัชชาสุขภาพสู่แผนปฏิบัติการระดับพื้นที่จังหวัด 3. มีการทำงานบนฐานความรู้ (ใช้ปัญญา) ผสมผสานเข้ากับฐานด้านจิตใจ (ด้วยความรักสมัครสมาน) 4. ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ (ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม) 5. มีประเด็นชัดเจนและพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ดี สอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 6. มีการผลักดันไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในหลายช่องทาง ผลลัพธ์ 1. เกิดกลไกที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะอย่างเป็นระบบ ทั้งระดับนโยบาย ระดับสนับสนุนการปฏิบัติงาน ระดับปฏิบัติการ ในการควบคุมการเข้าถึง การตรวจสอบ/ร้องเรียน การบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ 2. การบังคับใช้กฎหมายควบคุมยาสูบ/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสร้างระบบการช่วยเลิกบุหรี่ 3. เกิดเจ้าภาพที่รับผิดชอบที่ชัดเจนในประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบและมีการดำเนินการภายใต้องค์กรหรือหน่วยงานในสังกัด 4. เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันและการรู้เท่าทันโดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันการเกิดนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ 5. เกิดกระบวนการสื่อสารสาธารณะผ่านสื่อหลักและสื่อท้องถิ่น ในประเด็นการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อร้ายแรง(NCD) 6. เกิดการบูรณาการเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ทั้งส่วนราชการ วิชาการ และประชาสังคม 7. บรรจุเรื่องการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพในยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และบรรจุในแผนปฏิบัติการโครงการของหน่วยงานราชการในจังหวัด 8. เกิดวัฒนธรรมในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งการลดปัจจัยเสี่ยง เสริมปัจจัยสร้างครอบคลุมในทุกกลุ่มวัย
4.เวทีสาธารณะการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ ภาคใต้ จ.สงขลา
ผลผลิต
1. เยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติ ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัญหาท้องไม่พร้อมและป้องกันตัวเองจากปัญหาท้องไม่พร้อมและปัญหาทางเพศได้
2. เยาวชน มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาท้องในวัยเรียน สามารถให้ความช่วยเหลือ แนะนำได้ในเบื้องต้น
3. เยาวชนให้ความไว้วางใจกับแกนนำชุมชนมากขึ้น/ โดยการเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กล้าเล่าเรื่องราวและปัญหาของตนเอง/ตระหนักรู้และร่วมระดมกันแก้ไขปัญหา
ผลลัพธ์
1. เกิดเครือข่ายในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุน บูรณาการ ของหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลอำเภอรัตภูมิ / สาธารณสุขอำเภอ / โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งมะขาม / องค์กรบริหารส่วนตำบลคูหาใต้ / ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น รวมไปถึงประชาชนพื้นที่ใกล้เคียง ที่ให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าว
2. เกิดกลไกการขับเคลื่อนโดย สาธารณสุขอำเภอ สนับสนุนให้กลุ่มแกนนำสตรีเข้าร่วมกิจกรรมระดับเขตเพื่อการเข้าถึงแหล่งงบประมาณต่อไป
3. เกิดการไว้วางใจ ในเยาวชนและประชาชนในพื้นที่มากขึ้น รวมไปถึงการไว้วางใจจากแหล่งทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคูหาใต้ ที่ได้เห็นการทำงานของแกนนำสตรีอย่างจริงจังและทุ่มเท คุ้มค่ากับงบประมาณที่อนุมัติ
4. เกิดการเห็นคนทำงานมีใจสู้งานเกินร้อย ตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาของชุมชน สร้างความปีติให้กับองค์กร หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เกิดความเข้าใจในกรอบ หลักการ กฏเกณฑ์การเข้าถึงงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ มากขึ้น จากนี้จึงไม่เป็นเรื่องยากที่จะ นำเสนอโครงการต่างๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชุมชนได้ต่อไป
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร
1.นายอำเภอสวี
2.สาธารณะสุขอำเภอสวี
3.โรงพยาบาลสวี
4.รพ.สต.เขาค่าย
5. เขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษา ผู้ใหญ่บ้านอสม พระ ประชาชนในอำเภอสวี ประชาคมงดเหล้าจังหวัดชุมพร
6.นักวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง
1.เครือข่ายประชาคมงดเหล้าจังหวัดระนอง
2.ดร.มัลลิกา สุบงกฏ อาจารย์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ตัวแทนจากสรรพสามิต
3.สาธารณสุขจังหวัดระนอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดระนอง
4.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
5.เทศบาลเมือง ประชาชน และประชาสังคม
3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง
1.เครือข่ายประชาคมงดเหล้า
2.เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
3.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
4.ชมรมผู้ไร้กล่องเสียง จ.ตรัง
5.โรงพยาบาลกันตัง
6.ผู้อำนวยการโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์
7.สำนักงาน สถิติจังหวัดตรัง
4.เวทีสาธารณะการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยระบบสุขภาพ ภาคใต้ จ.สงขลา 1.เครือข่ายประชาคมงดเหล้า 2.มูลนิธิเพื่อนหญิง 3.รพ.สต.ทุ่งมะขาม 4.สำนักงานสาธารณสุข รัตภูมิ 5.โรงพยาบาลรัตภูมิ 6.เทศบาลตำบลคูหาใต้จังหวัดสงขลา
ไม่มี
1.สนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการอุบัติเหตุในชุมชนได้เองเพื่อสร้างรูปแบบใหม่ๆนอกเหนือจากเรื่องสุขภาพ
1.เวทีถอดบทเรียนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสวี จ.ชุมพร ส่วนหนุนเสริม เติมเต็ม (ระดับจังหวัด) • เกิดนโยบายด้านการลดปัจจัยเสี่ยงระดับจังหวัดชุมพร และมีการบูรณาการงานด้านอุบัติเหตุ ความรุนแรง เป็นต้น • เกิดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ต่อแผนพัฒนาจังหวัดชุมพร ด้านสุขภาพ • หน่วยงานราชการบรรจุเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในยุทธศาสตร์และมีแผนปฏิบัติการโครงการ
ส่วนสนับสนุน (ระดับอำเภอ) • เกิดการบรรจุในวาระหลักของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และมีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม • เกิดยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ • เกิดแผนปฏิบัติการโครงการของหน่วนงานที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ ส่วนปฏิบัติการ (ระดับชุมชน) • เกิดคณะทำงานชุมชน/กลุ่ม/ชมรม ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนในชุมชน • เกิดฐานข้อมูลสุขภาพของชุมชน • เกิดกฎ กติกา ชุมชน • เกิดระบบช่วยเลิกโดยชุมชน • เกิดการต่อยอดด้านอาชีพ เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ • เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลิกเหล้า เช่น งานบุญประเพณีปลอดเหล้า ร้านค้าปฏิบัติตามกฎหมาย คนต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้ • เกิดการขยายผลสู่ด้านอุบัติเหตุในชุมชน
2.เวทีถอดบทเรียนการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยการบูรณาการภาครัฐกับภาคประชาสังคม จ.ระนอง
1. ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สาหรับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวพม่าซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระนองมากที่สุด โดยประสานงานกับนายจ้างในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัย
2. ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้การดาเนินการและการประงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. ควรจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนาแบบอย่างการปฏิบัติของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการรณรงค์การลดอุบัติเหตุเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ
4. ควรจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมสำรวจพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมวางแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ
3.ถอดบทเรียนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จ.ตรัง
1. ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สาหรับชาวต่างชาติ โดยประสานงานกับนายจ้างในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัย
2. ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้การดำเนินการและการประงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. ควรจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนาแบบอย่างการปฏิบัติของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการรณรงค์การลดอุบัติเหตุเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ
4. ควรจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมสำรวจพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมวางแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ