สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ

เวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ปี 2561 ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน19 มกราคม 2561
19
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อรับฟังสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัญหา อุปสรรค ข้อท้าทาย และข้อเสนอเชิงนโยบายในการก้าวต่อ 2.เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ รวมทั้งรับฟังร่างมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนของทางสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 19 มกราคม 2560 1.เกริ่นนำ – ความเป็นมางานสร้างสุขภาคใต้ และที่มาห้องย่อย      การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ 2.การนำเสนอแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนมติการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ งานสร้างสุขภาคใต้ พ.ศ. 2559 การแลกเปลี่ยนสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอใหม่เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จาก • ผู้แทนภาครัฐ  สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด /สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
• ผู้แทนกลุ่มเครือข่ายสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดโซนอันดามัน • ผู้แทนภาคองค์กรสนับสนุน อาทิ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) , สสส. • ผู้แทนภาควิชาการ วันที่ 20 มกราคม 2560 1.Check –in /ทบทวนประเด็นการพูดคุย 2.เวทีสาธารณะ “การท่องเที่ยวโดยชุมชนอันดามัน จะสร้างความมั่นคง ยั่งยืนได้อย่างไร” • นางศิรวี วาเล๊าะ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต กรรมการและเลขานุการเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน • นายสมพร สาระการ ประธานเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดฝั่งอันดามัน • ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และเครือข่ายสายใยนักวิชาการ • ดำเนินการเสวนาโดย คุณบัญชร วิเชียรศรี 3.รับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) เกณฑ์มาตรฐานท่องเที่ยวโดยชุมชน ภาคใต้ โดย สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ 4.พูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดงานสร้างสุขภาคใต้  โดยเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ความเป็นมางานสร้างสุขภาพใต้ มีจุดเริ่มมาจากงานสร้างสุขภาคใต้ตั้งแต่ปี 2549 โดยดูความความพร้อมของหน่วยงานที่มาหนุนเสริม เรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่นำมาซึ่งความสุข มี 3 ระดับ ปี 2549 ปี2559การเป็นเจ้าของห้องย่อยมาจากฐานงานวิจัย ทำไปช่วงหนึ่งพบว่าพลังในการขับเคลื่อนยังมีไม่มากพอ เจ้าของประเด็นห้องย่อยที่แท้จริงต้องมาเป็นแกนนำ วิชาการเพียงหนุนเสริมเท่านั้น มาปี 2561 ในส่วนของห้องย่อยชุมชนควรขยับอย่างไร เวทีระดับโซน ตั้งแต่อันดามัน ใต้บน ใต้ล่าง โดยมีสมาคมมานร่วมขับอย่างจริงจัง กระบวนการพูดคุยผู้เล่นสำคัญโดยสมาคมท่องเที่ยวชุมชนที่ขยับมาตั้งแต่ปี 58 มีผลสัมฤทธิ์ไปถึงไหนแล้ว การขับเคลื่อนงาน ต้องเริ่มมาจากความเข้มแข็งของชุมนก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องพึ่ง 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. พึ่งตนเอง เพื่อให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย 2. พึ่งงานวิจัย ยุทธศาสตร์ 60-64 มี4 ยุทธศาสตร์หลัก ยึดโยงแผนงานเหมือนหน่วยงานราชการทั่วไป
- พัฒนาองค์กร สทยต. เชื่อมโยงระดับองค์กรในการขับเคลื่อนเครือข่าย
- การพัฒนาโครงข่ายเส้นทางการท่องเที่ยว - การตลาดและประชาสัมพันธ์ สสส. สจรส.
- การจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกัน 3. พึ่งหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัย พอช. สกว.ฝ่ายท้องถิ่น เครือข่ายสื่อมวลชน
กระบวนการทั้งหมดเป็นปนิธานของสมาคมที่จะขับเคลื่อนงานท่องเที่ยวชุมชน เจตนาเพื่อการพัฒนาโครงข่ายให้เป็นมาตรฐานของการท่องเที่ยวภาคใต้ และมีการรับรองมากขึ้น คัดกรองเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามตัวชี้วัด เพื่อตอบโจทย์ของ สจรส. และหน่วยงานอื่นๆ กระบวนการท่องเที่ยวชุมชนแต่ละจังหวัด สถานการณ์ปัญหา จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดเล็กแต่มีความยาวของพื้นที่ มีอุทยานแห่งชาติแหลมสนเป็นข้อได้เปรียบ มีการท่องเที่ยวแบบ “1 วันอัศจรรย์ป่าชายเลน” การเชื่อมโยงเครือข่าย ชายแดนชุมพร คืออำเภอกระบุรี มี 14 เครือข่าย การสร้างเครือข่ายถูกเมินจากภาครัฐ สร้างความเข้มแข็งมาโดยตัวของชุมชนเอง มีการแก้ปัญหาประมงชายฝั่ง อาชีพของกลุ่มต่างๆ ทำอย่างไรให้แต่ละกลุ่มดำเนินการไปได้อย่างมีผลกำไร เลี้ยงชีพ เลี้ยงคนเองได้อย่างพอเพียง การร้อยเรียงเชื่อมโยงตั้งแต่เหนือสุดถึงล่างสุด มีการหารือพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาของแต่ละพื้นที่ ให้สมาคมช่วยเหลือในเรื่องใดบ้าง การทำท่องเที่ยวชุมชนโดยอาศัยทรัพยากรในพื้นที่ส่วนใหญ่จะกระทบกับนโยบายรัฐ แต่ยังขับเคลื่อนไปได้เพราะเรารวมตัวกัน ระนองมีการวางแผนการดำเนินกาในเรื่องธุรกิจนำเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามฤดูกาล การท่องเที่ยวตามชุมชนต่างๆ จังหวัดสตูล  มี 23 ชุมชนที่ร่วมกันขับเคลื่อน โดยแบ่งเป็นโซน  แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นรูปแบบวิสาหกิจ เช่น ปากบารา อนาคต อ.ละงู เป็นที่เดี่ยวที่ชาวบ้านเก็บค่าเข้าชมมาบริหารจัดการกันเอง ไม่ใช่เก็บให้กับอุทยาน มีการสร้างมัคคุเทศก์ท้องถิ่นจำนวน 170 กว่าคน มีภาคีร่วม อุทยาน หน่วยกู้ชีพ อบต. อบจ. สนับสนุนในเรื่องงบประมาณ องค์ความรู้ ไม่เป็นปฏิปักษ์กับหน่วยงานไหน ร่วมกันขับเคลื่อนไปด้วยกัน พลิกทุกปัญหาให้เป็นโอกาส
จังหวัดกระบี่ มี 15 ชุมชนการท่องเที่ยว และ1 สมาคม มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน มีการพัฒนาขีดความสามารถของแต่ละชุมชนให้มีการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยชุมชนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการจัดกระบวนการทางความคิดของคน/ชุมชน มีการเชื่อมโยงเป็นโซนอันดามัน ผลักดันให้มีการดูแลในมิติของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หัวใจหลักชุมชนต้องทำใน 3 ปัจจัยหลักนี้ก่อนจึงจะประสพความสำเร็จ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากกระบวนการเรียนรู้เป็นโอกาสส่งเสริมให้กับชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการชุมชนตนเองได้ จังหวัดตรัง แบ่งเป็น 2 นิเวศน์ คือเขาและทะเล เน้นเรื่องวิถี ความเป็นอยู่ของชุมชนเป็นจุดขาย ภาพรวมการท่องเที่ยวชุมชนถูกยกระดับไปอีกระดับหนึ่งแล้ว เช่น นาหมื่นสี ลำขนุน เป็นต้น ถือเป็นจุดขายและปัจจัยที่เป็นโอกาส แผนการพัฒนาจังหวัดที่ผู้ว่าฯดูและมีเวทีประชาคม ทำให้ชุมชนหลายชุมชนได้รับโอกาสได้รับการสนับสนุนในการท่องเที่ยว ปัญหาที่พบคือ การท่องเที่ยวยังอ่อนในเรื่องกระบวนการคิด ทำอย่างไรให้ไปถึงคำขวัญท่องเที่ยวที่ว่า “คนอยู่ได้ทรัพยากรอยู่ดี” ภาพรวมโซนจังหวัดอันดามัน
แนวทางการขับเคลื่อนมีทั้งแบบวิถีชุมชน และแบบธุรกิจท่องเที่ยว แต่ทั้ง 2 แบบมีการบริหารจัดการโดยชุมชน โดยอาศัยโอกาสจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ หรือเรียกว่าธรรมชาติที่เอื้อให้กับชุมชน
ข้อเสนอ 1. มีทีมจัดการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวชุมชนเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน 2. จัดให้มีมหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน
3. เครือข่ายการท่องเที่ยวต้องมีตัวแทนเข้าไปนั่งในระดับจังหวัด(นโยบายเศรษฐกิจฐานราก) 4. มีการทำMOUกับหน่วยงานเพื่อเชื่อมโยงทางการตลาด 5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการสนับสนุนเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และPagketing ให้เป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยว 6. หน่วยงานวิชาการด้านวิจัย ต้องมีชุดองค์ความรู้ให้ไว้กับชุมชน 7. ให้มหาวิทยาลัยมีและพัฒนาหลักสูตรท่องเที่ยวโดยชุมชน 8. ให้ทีมวิจัยมีการติดตามประเมินผลชุมชน เช่น รายได้ ทรัพยากร ความสุข เปรียบเทียบกับก่อนที่จะมีการขับเคลื่อนเรื่องท่องเที่ยวชุมชน แง่คิดเพื่อการปรับปรุง 1. ชุมชนเองตอบสนองนักท่องเที่ยวกลุ่มใดกันแน่ ? 2. สื่อต้องเป็นตัวขยายเรื่องราวให้ข้างนอกได้รับรู้ กระตุ้นการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยใช้สื่อเป็นตัวเชื่อม เช่น จัดประกวดหนังสั้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยว 3. ด้านพื้นที่ชุมชนเรื่องของยานพาหนะในการขนส่งต้องพร้อม 4. การจูงใจ เช่น ยกระดับเป็นการท่องเที่ยวเป็น The best plectist 5. รายได้ต้องเป็นแรงจูงใจให้กับชุมชน 6. ชุมชนต้องมีการเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่น 7. ต้องมีแบบสอบถามให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อการปรับปรุงที่ตอบสนองนักท่องเที่ยวภายใต้บริบทและอัตลักษณ์ของชุมชน เช่น มีการสอนทำอาหารพื้นบ้านให้กับนักท่องเที่ยว 8. มองให้ออก “ท่องเที่ยวโดยชุมชน” และ “ท่องเที่ยวเพื่อชุมชน” ต่างกันอย่างไร 9. พื้นที่ต้องมีจุดยืน แต่ขณะเดียวกันต้องพร้อมยอมรับการบูรณาการ ที่ไปทิศทางที่ดีขึ้น 10. ชุมชนต้องศึกษากฏหมายที่เกี่ยวข้อง เสวนา “การท่องเที่ยวโดยชุมชนอันดามัน จะสร้างความมั่นคงยั่งยืนได้อย่างไร” ผู้ร่วมเวที ประกอบด้วย 1. คุณศิรวี วาเล๊าะ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต 2. คุณสมพร สาระการ ประธานเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดฝั่งอันดามัน 3. ผศ.อำนาจ รักษาพล ม.แม่โจ้-ชุมพร และเครือข่ายสายใยนักวิชาการ ดำเนินเวทีเสวนาโดย คุณบัญชร วิเชียรศรี มุมมองด้านนโยบายเกี่ยวกับด้านท่องเที่ยวชุมชน คุณศิรวี วาเล๊าะ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นวาระแห่งชาติ ทางรัฐบาลเน้นเรื่องที่จะทำอย่างไรให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร พรบ.การขับเคลื่อนเขตพัฒนาการท่องเที่ยวมี 8 เขต ทางอันดามันจะได้เปรียบเรื่องต้นทุนด้านทรัพยากร วิถีชีวิตของชุมชน ที่สืบทอดมาจากศรีวิชัย ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวไทยมุสลิมที่มาจากมลายู มีการหลอมรวมเรื่องอาหารหารกินและวัฒนธรรมต่างๆ และมีกลุ่มชาติพันธุ์ วิถีของชาวเลที่แตกต่างออกไป ซึ่งนโยบายรัฐบาลกำลังเชื่อมเรื่องการท่องเที่ยว การดำเนินงานที่มีการจัดการที่สมดุล
ผศ.อำนาจ รักษาพล ม.แม่โจ้-ชุมพร และเครือข่ายสายใยนักวิชาการ เป็นวิธีการหนึ่งที่ชุมชนนำมาเป็นเครื่องมือ ที่มาจากฐานราก สามารถเชื่อมโยงคน พัฒนาชุมชน แต่ทั้งนี้ชุมชนเองต้องเห็นฐานของทรัพยากรสำคัญในการท่องเที่ยว วิธีการ เช่น น้ำตก ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมองน้ำตกมากกว่าเป็นสถานที่มาเที่ยว มาเล่น ให้มองเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นอยู่ คน ต้องมีความสุขในพื้นที่ และต้องทำให้คนที่มาเที่ยวมีความสุขด้วย
งานวิจัยของจังหวัดโดยชุมพร ได้พัฒนาหลักสูตรท่องเที่ยวโดยชุมชน จะเป็นการสร้างมูลค่าใหม่ให้กับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้ชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้กับห้องเรียนที่เป็นธรรมชาติ คุณชาญวิทย์ เพิ่มทรัพย์ นายกสมาคมท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่ ต้องการทำให้เป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ เมื่อถึงเวลาต้องมีการยกระดับ 15 ชุมชน และ 1 เครือข่ายย่อย เป็นการรวมตัวกันภายใต้การขับเคลื่อนไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน มีกระบวนการพัฒนา ช่วยขับเคลื่อนในระดับชุมชน การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องมีการเชื่อมโยงกันได้จริง สังคมไม่แตกแยก วัฒนธรรมคงอยู่ มีกฎกติกาของการอยู่ร่วม หรือเข้ามาในพื้นที่ สิ่งแวดล้อมคงอยู่อย่างสมบูรณ์ ยั่งยืน การท่องเที่ยวชุมชนถึงจะยั่งยืนไปด้วย
อุปนายกการท่องเที่ยว การบูรณาการในการเข้าใจไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการพูดคุยกันให้ตกผลึก เช่น เรื่องมาตรฐานของการท่องเที่ยว มีหลักสูตรท่องเที่ยวโดยชุมชน นโยบายการท่องเที่ยวภาคใต้จะเป็นอันดับหนึ่ง

วันที่ 20 มกราคม 2561(สะท้อนวันวาน) เป็นเวทีของการเรียนรู้สถานการณ์ท่องเที่ยวชุมชนของแต่ละจังหวัด สถานที่ท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชน การเชื่อมโยงหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือของหน่วยงาน การรับรู้/การเรียนรู้วิถี วัฒนธรรมท่องเที่ยวชุมชนแต่ละจังหวัด เพื่อนำไปปรับใช้ในชุมชนของตนเอง อานนท์ มีศรี กองบก.สื่อสร้างสุข การทำงานร่วมของสื่อสร้างสุขภาคใต้ กระบวนการขับเคลื่อนภาคประชาชนสื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขยายผล เป็นช่องทางสื่อสารเรื่องราวให้สังคมรับรู้ ที่ผ่านมา ประกอบด้วย7 จังหวัด 4 ประเด็น ความมั่นคงทางด้านอาหาร การแพทย์พหุวัฒนธรรม ปัจจัยเสี่ยง  ลองพัฒนาศักยภาพสื่อโดยการสร้างเครือข่ายสื่อเพื่อการสื่อสร้างสุขภาคใต้ ที่ผ่านมามีรายการกินอิ่มนอนอุ่นที่ภาคใต้ นำเสนอเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เช่น เรื่องข้าวไร่ และตลาดใต้โหนดที่พัทลุง  การขับเคลื่อนสื่อเพื่อสร้างสุขภาคใต้ เป็นการคลายข้อกังวลในข้อประเด็นปัญหา คนทำงานประเด็นกับทำงานสื่อไม่เคยได้เจอกัน คุยเรื่องดีกัน มีการสรุปบทเรียนร่วมกัน คุยเรื่องเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดส่งผลกระทบด้านใดบ้าง ใช้กระบวนการแบบ ออนแอร์ ออนไลน์ ออนกราวน์ เวทีวันนี้ถือเป็นเวทีออนกราวน์(ล้อมวงคุย)
งานในปี 61 เป็นรูปแบบของงานวิจัยทำ 2 เรื่อง คือ จริยธรรมของสื่อ และรูปแบบของการสื่อสาร การเชื่อมโยงเครือข่ายและประเด็นงานต้องมีการแจ้งผ่านกองบก.สื่อเพื่อการเข้าร่วม
1. 18 ก.พ. 61 ลำขนุน และตลาดต้นน้ำ เวทีการท่องเที่ยวชุมชน 2. 28-30 มี.ค. 61 งานสื่อสร้างสุขภาคใต้ต้องมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นสื่อต้องทำงานให้เร็วขึ้น ขยายวงการทำสื่อให้กว้างขึ้น
3. 23-26 งานแข่งขันวิ่งว่าวที่สตูล 4. 24-28 เม.ย.61 งานท่องเที่ยวโดยชุมชนอันดามัน ทำMOUการท่องเที่ยวชุมชนระดับประเทศ

ประชุมส่วนกองบก. 3 เครือข่ายประเด็น 1. การจัดการน้ำโดยฝายมีชีวิต 2. ความมั่นคงด้านอาหาร 3. ปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย 6 จังหวัด นคร พัทลุง สงขลา พังงา กระบี่ ชุมพร งบประมาณ โอนลงจังหวัดแล้ว การทำงานร่วมเครือข่าย เชิงประเด็น ได้รูปแบบของการสื่อสาร - แผนงาน - การสื่อสารก่อน-หลัง - การทำงานร่วมกัน

เป้าหมาย ยกระดับการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง สะท้อนกระบวนการเวทีของโซนอันดามัน
- ประเด็นพูดคุย - กระบวนการแบบออนกราวน์ สามารถสะท้อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง - กองบก.นำการสื่อสารมาใช้ในวงได้ สามารถให้ความรู้ เป็นการชวนคุยความรู้พื้นฐานในวงพูดคุยได้ - สื่อเป็นส่วนช่วยในการขยายผล - ดึงให้เห็นความสำคัญของสื่อ - พรบ.การท่องเที่ยวชุมชน เป็นเรื่องที่พื้นที่ต้องการ สื่อสามารถผลักดันได้ - การจับคู่ท่องเที่ยวชุมชนถือเป็น cast statsdy สิ่งที่สจรส.ต้องการคือ งานวิชาการ สิ่งที่นำไปปรับใช้ในงานสื่อสร้างสุขภาคใต้ - ความเป็นมา รูปแบบ กรอบเนื้อหา ทิศทาง สร้างการเปลี่ยนแปลง - กลุ่มเป้าหมายต้องเป็นกลุ่มคนที่มาคุยเรื่องรูปแบบ - จริยธรรมสื่อที่นำมาใช้มีอะไรบ้าง - ดึงให้เห็นรูปแบบการสื่อสารกระบวนการ 6 จังหวัด 3 ประเด็น - วาง Time line การขับเคลื่อน - ใช้ผังกลางในการส่งงานให้กับจังหวัด - การเปลี่ยนแปลงเน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ - ส่งรูปแบบเป็นเรื่องเล่า ส่งไม่เกินวันที่ 5 มีนาคม 60 - แผน 3 ส่วน ประกอบด้วย แผนออนไลน์ ออนแอร์ ออนกราวน์ 8 ประเด็นงานสร้างสุข 1. ความมั่นคงทางด้านอาหาร 2. ปัจจัยเสี่ยง 3. การจัดการน้ำโดยฝายมีชีวิต 4. ชุมชนน่าอยู่ 5.  ภัยพิบัตื 6.  จริยธรรมสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม 7.  ความมั่นคงทางสุขภาพและเขตสุขภาพ 8.  เกษตรกรรมเพื่อสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

1.ผู้แทนภาครัฐ  สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด /สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2.ผู้แทนกลุ่มเครือข่ายสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดโซนอันดามัน 3.ผู้แทนภาคองค์กรสนับสนุน อาทิ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) , สสส. 4.ผู้แทนภาควิชาการ  สจล.ชุมพร ม.แม่โจ้ ชุมพร ม.วลัยลักษณ์ ม.ราชภัฎสงขลา ม.อ.สุราษฎร์ธานี ม.สวนดุสิต ศูนย์ตรัง 5.ผู้แทนภาคชุมชนท่องเที่ยวจากจังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล
6.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี