พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ
เพื่อรับทราบและเตรียมนำข่าวสารของโครงการโรงไฟฟ้า พลังความร้อนกระบี่ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไปสื่อสารทางช่องทางสื่อสารออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดีย
เป็นเวทีแลกปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจ โดยในเวทีดังกล่าวได้มีประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping หรือ ค.1) โครงการโรงไฟฟ้า พลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ตามขั้นตอนกฎหมาย เปิดให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมแสดงความเห็นอย่างเปิดกว้าง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในขั้นตอนการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพ (EHIA) ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างแท้จริง
ชาวกระบี่ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังและนำเสนอความคิดเห็นหลากหลายมุมมองในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ค.1 โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) กว่า 2,500 คน ซึ่งข้อคิดเห็นทั้งหมด บริษัท แอร์เซฟ จำกัด จะนำไปกำหนดขอบเขต และหามาตรการป้องกันและแก้ไขตามที่ประชาชนห่วงกังวล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งต่อไป วันนี้ (28 มกราคม 2561) นางมีนา พิทยโสภณกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอร์เซฟ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ขอขอบคุณชาวกระบี่ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็นและข้อวิตกกังวล รวมทั้งสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ ในเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping หรือ ค.1) ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตั้งแต่เวลา 13.00 - 17.00 น. ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีชาวกระบี่และผู้สนใจทุกภาคส่วนเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น จำนวน 2,630 คน โดยมีผู้แจ้งแสดงความคิดเห็นด้วยวาจา จำนวน 57 คน สำหรับประชาชนที่ร่วมนำเสนอความคิดเห็นบนเวที ส่วนใหญ่เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อห่วงกังวลต่อการขยายเขตของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านจิตใจและวิถีชีวิตของชุมชน และด้านการสื่อสารข้อมูลโครงการควรบอกทั้งข้อดีและข้อด้อยไปพร้อมกัน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลรอบด้านในการตัดสินใจ เป็นต้น โดยข้อคิดเห็นของประชาชนทั้งหมด บริษัท แอร์เซฟ จำกัด จะนำไปกำหนดขอบเขตและหามาตรการเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมข้อห่วงกังวลของประชาชนในพื้นที่ทั้ง 4 ตำบล ได้แก่ ต.คลองขนาน ต.ปกาสัย ต.คลองท่อมใต้ และ ต.โคกยาง และหลังจากนี้จะเป็นการทำ ค.2 (Public Screening) โดยการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และพูดคุยกับกลุ่มประชาชนในพื้นที่ศึกษาอย่างใกล้ชิด หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการทบทวนและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรายงาน EHIA หรือ ค.3 (Public Review) ต่อไป ด้านว่าที่ พ.ต. อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ขอขอบคุณชาวกระบี่ที่ให้ความสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรายงาน EHIA ตั้งแต่ต้น ที่มารับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างเนืองแน่น ซึ่งข้อคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดย กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาจะนำไปกำหนดกรอบการจัดทำแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในการจัดทำ ค.2 และ ค.3 เพื่อให้การจัดทำรายงานมีความถูกต้องครบถ้วน และเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวลอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กฟผ. มุ่งมั่นในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นสำคัญ เพื่อให้โรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่าง เป็นมิตรอย่างแท้จริง ชุมชนโดยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการ สถานศึกษา ศาสนสถาน องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องคืกรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน เครือข่ายสื่อจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนประชาชนผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังในเวทีนี้
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี