พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ
- เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกริหารจัดการน้ำ ผู้ประสบภัย ผู้ที่เกิดผลกระทบจาการแก้ปัญหา การจัดการน้ำ2.ทำการสื่อสาร จากเวทีการพูดคุย ให้เกิดการรับรับรู้กับบุคคลทั่วไป3. รวยรวมข้อมูลปัญหาผลกระทบ และการแก้ปัญา รวมทั้งข้อเสนอจากเวที
1.พระมหาบุญธรรม เจ้าอาวาสวัดท้าวโคะอ.พรหมคีรี เล่าความเป็นมาเมืองนครศรีธรรมราช 2. เวทีถกเถียงสาธารณะ "การจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม" ผู้เข้าร่วมเสวนา 1. ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. อาจารย์สุธีระทองขาวอารจารย์จากมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช 3. ตัวแทนต้นน้ำ คุณศิริภัคนาคบาศว์ 4. ตัวแทนกลางน้ำ โดยณัฐวีร์ภูมี 5. ตัวแทนปลายน้ำ โดย อาจารย์นิเวศน์วนคุณากร นำสานเสวนาโดย ดร.มัลลิกาสุบงกฎ อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
นำประเด็นธรรมมะกับ พระมหาบุญธรรม เจ้าอาวาสวัดท้าวโคะอ.พรหมคีรีความเป็นมาเมืองนครศรีธรรมราช ในอดีตมีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ ที่ตะวันตกนิยมเรียกกันมาจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต ทรงมีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่" สืบทอดมาจาก ลังกาวง และเป็นแม่บทให้กับสุโขทัยในแบบธรรมศาสตร์ เวียง วัง คลัง นา
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการแก้ไขการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ใหม่ นครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2439จนกระทั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงได้ยุบมณฑล นครศรีธรรมราชลงเป็นจังหวัดหนึ่งของราชอาณาจักรไทย และดํารงฐานะดังกล่าวเรื่อยมา จนปัจจุบัน
นครศรีธรรมราชมีพื้นที่เป็นเนินทราย เช่น โมคลาน หาดทรายแก้ว การะเกด ตอนกลางนคร ท่าเรือไปการะเกด ท่าแพไปโมคลานตะวันตกเป็นภูเขาสูง เขา ป่า นา เล มีเรือเหนือ เรือใต้ ล่องจากปากพนังขึ้นไปกำโลน ได้มีการเอาปลาแห้ง กะปิ ไปแลกข้าว แลกผลไม้มีคลอง 4 สาย ผ่านตัวเมืองนครคูพาย ป่าเหล้าหน้าเมือง ท่ามอญ ไปออกอ่าวปากนคร ฤดูน้ำพ่าน้ำในคลองทุกสายจะเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมด
เสวนาถกเถียงสาธารณะ“การจัดการน้ำเมืองคอน ทั้งระบบแบบมีส่วนร่วม”
ผู้เข้าร่วมเสวนา
1. ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. อาจารย์สุธีระทองขาวอารจารย์จากมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
3. ตัวแทนต้นน้ำ คุณศิริภัคนาคบาศว์
4. ตัวแทนกลางน้ำ โดยณัฐวีร์ภูมี
5. ตัวแทนปลายน้ำ โดย อาจารย์นิเวศน์วนคุณากร
นำสานเสวนาโดย ดร.มัลลิกาสุบงกฎ อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
• สถานการณ์น้ำของเมืองนครเป็นอย่างไร ผอ.ชลประทาน จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการใช้น้ำในส่วนของการเกษตร การประปา ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในจังหวัด ได้มีการพัฒนา พื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มี 23 อำเภอ มีพื้นที่ 6 ล้านไร่เศษ มีพื้นที่ที่ทำการเกษตรได้ 3 ล้านไร่เศษ และเป็นพื้นที่ที่ใช้น้ำจำนวนมากในช่วงฤดูแล้งในบางปีจะมีปัญหามากมายจะขาดแคลนน้ำ พื้นที่ชลประทานมีประมาณ 8 แสนไร่เศษ ปัญหา 1. การพัฒนาแหล่งน้ำดำเนินการช้าเมื่อเทียบกับที่อื่น 2. การบริหารจัดการน้ำยังไม่คลอบคลุม/หลายหน่วยงานไม่มีการร่วมมือกัน รวมถึงภาคเอกชน การพัฒนาพื้นที่ชลประทานในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชมีแหล่งน้ำหลักๆคือ 1. อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำไส อ.ชะอวด เก็บน้ำได้ 8 ล้าน ลบ.ม. 2. อ่างเก็บน้ำอ.พิปูนสามารถเก็บน้ำได้จำนวนมาก มีประโยชน์ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน 3. อ่างเก็บน้ำคลองดินแดงอ.พิปูน เกิดขึ้นเนื่องจากการเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในปี 2531 ปัจจุบันหน้าแล้งเก็บน้ำได้ 60 ล้านลูกบาทเมตร ไปใช้ในพื้นที่รอบๆอ่างเก็บน้ำ 4. อ่างเก็บน้ำเสม็ด อ.ทุ่งใหญ่ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ใช้สำหรับอุปโภค บริโภค แผนงานของชลประทานในปี 61 อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน โครงการของชลประทานต้องชะลอไว้ก่อนพื้นที่เกษตรจำนวน 3 ล้านไร่ ต้องมีการใช้น้ำจำนวนมหาศาล แต่ละหน่วยงานแบ่งกันทำ ทำให้เกิดความล่าช้าในการบริหารจัดการน้ำ
สถานการณ์น้ำในปัจจุบันของพื้นที่ต้นน้ำ โดย นางศิริภัคนาคบาศ
พื้นที่ต้นน้ำคีรีวง มีสภาพสมบูรณ์มากในอดีต มีปัญญาเรื่องน้ำหลากซึ่งเป็นปัญหาที่น่ากลัวมาก ตั้งแต่ปี 35 จนถึงปัจจุบัน มีเพียงปี 2554 มีเหตุการณ์น้ำท่วมหนักมากใน จ.นครศรีธรรมราช ท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ ปลายปี 59 มีน้ำท่วมมากเช่นกัน ท่วมเป็นเวลานาน 4 วัน ปลายปี 60 เจอเหตุการณ์น้ำท่วมในวันที่ 6 มกราคม มีปริมาณน้ำฝนมาก ปริมาณน้ำฝนรวมของปี 54 และ 60 จะเห็นว่าปี 60 มีปริมาณน้ำมากกว่าปี 54 แต่ในปี 60 น้ำไม่ท่วมในเขตตัวเมืองด้านใน
สถานการณ์น้ำในปัจจุบันของพื้นที่กลางน้ำ โดยนายณัฐวีร์ภูมี
พื้นที่กลางน้ำรับน้ำมาจากต้นน้ำคือคีรีวง เป็นพื้นที่น้ำท่วมหลาก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติ มีพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลแค่ 20-30 เมตรเป็นพื้นที่ราบลุ่มปัจจุบันปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังเกิดจากการสร้างถนน สมัยก่อนมีการเตรียมตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์น้ำท่วมปัญหาอีกเรื่องคือหลักจากฤดูน้ำหลากผ่านไป เพียงแค่ 1 เดือนก็เกิดปัญหาน้ำแล้งขาดน้ำปัจจุบันมีการสร้างนบ เพื่อกักเก็บน้ำรวมถึงการสร้างฝายขึ้นมาเพื่อคงความสมบูรณ์ของพื้นที่ มีการแก้ปัญหาในระบบนิเวศน์ โดยการใช้คลองธรรมชาติในการกักเก็บน้ำ ปัจจุบันน้ำในบ่อดินที่หายไป ได้มีการฟื้นตัวมีน้ำจากบ่อดินใช้ในการดำเนินชีวิต
แนวทางรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมและน้ำแล้ง ต้องมีการคิดถึงการแก้ไข เมื่อมีน้ำท่วมให้คิดถึงการแก้ไขในช่วงน้ำแล้ง เมื่อน้ำแล้งให้คิดถึงการแก้ไขในเวลาน้ำท่วม
สถานการณ์น้ำในปัจจุบันของพื้นที่ปลายน้ำ (อ.นิเวศน์)
ปัจจุบันหาคนที่จะมาพัฒนาบ้านเมืองได้น้อยลงต้องมีการชักจูงลูกหลานคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจกับเหตุการณ์บ้านเมืองให้มากขึ้นเพื่อร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
การจัดการต้องให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันของโลก ปัญหาคือกรมชลประทานคิดจะผันน้ำไม่ให้ท่วมเมืองนครแต่เป็นการผันน้ำไปลงในบริเวณก้นอ่าวเมืองปากพนัง มีการใช้งบประมาณจำนวนเป็นหมื่นล้าน มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับชาวปากพนัง เมื่อเกิดน้ำทะเลหนุนสูง เกิดมรสุมน้ำทะเลจะอัดเข้าไปในเมืองปากพนัง ชุมชนรอบอ่าวปากพนังน้ำทะเลหนุนสูงอัดเข้าท่วมเมืองปากพนังการผันน้ำจะทำให้น้ำท่วมถนนจากเมืองนครไปปากพนัง เส้นทางจะถูกตัดขาด การจราจรจะมีปัญหามาก ทำให้คลองต่างมีน้ำท่วมขังมากมาย ภาครัฐและประชาชนไม่ให้ความสนใจ /ไม่ใส่ใจ
แนวทางแก้ไข
1. หน่วยงานรัฐต้องมีการทำข้อมูลของพื้นที่นั้นๆ ในการจะพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. พื้นที่ปลายน้ำ ภาครัฐเป็นคนถืองบประมาณและกำหนดแนวทางในการพัฒนา เมื่อมีการเชิญชาวบ้านให้แสดงความคิดเห็น ก็ไม่นำความคิดเห็นของชาวบ้านมาเป็นข้อคิดเห็นในการดำเนินโครงการในระบบนิเวศน์ของธรรมชาติคิดทำแค่เรื่องเดียวจะกระทบไปทั้งหมด วิธีแก้น้ำท่วมเมืองนคร
ปัญหาสำคัญในการบริหารจัดการน้ำคือการมีส่วนร่วมในการจัดการ
ปัจจุบันในตัวเมืองนครมีการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างไร
การบริหารจัดการน้ำสิ่งที่สำคัญคือนครจะเดินไปในทิศทางไหน ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี มีแนวทางที่ชัดเจนโดยเฉพาะในตัวเรื่องของผังเมืองเป็นสิ่งที่สำคัญมากแต่เมืองนครยังไม่มีการประกาศใช้ผังเมืองอย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ต้องมีการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ต้องมีวิถีชีวิตของคนในอดีตควบคู่ไปกับปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่สนในและใส่ใจว่าสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ต้องตระหนักว่าปัจจุบันเรามีการดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ปัจจัยความเสี่ยงมากมายพื้นที่ต้นน้ำ/กลางน้ำ/ปลายน้ำ ต้องมีการเอื้ออาทรกัน
ภาคใต้มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำย่อยๆ และทีทางน้ำระยะสั้น มีเทือกเขาหลวงเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้มีทางน้ำที่ชันสูงมาก เราต้องมีความเข้าใจในบริบทของน้ำ ต้องมีการพิจารณาว่าสิ่งไหนที่เสี่ยงและเราสามารถที่จะเรียนรู้และอยู่กับมันได้หรือไม่
ปัจจุบันการสร้างบ้านครัวเรือน ทุกคนจะไม่สนใจในเรื่องของการกักเก็บน้ำ เน้นแต่การใช้น้ำประปา ทำให้เกิดปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
ข้อเสนอแนะจากทางบ้าน
1.ต้องมีการรวมตัวกันของคนในพื้นที่
2.ต้องสำรวจหาพื้นที่เพื่อขุดคลองสายใหม่ให้น้ำไหลลงสู่ทะเล
3.แก้ปัญหาที่เป็นปัจจุบัน
ข้อนำเสนอจากผู้เข้าร่วม
เมืองนครศรีธรรมราช มี 3 เทือกเขา
1. เทือกเขาปู่เขาย่า จะไหลลงสู่ห้วยน้ำใส และตัวเมืองชะอวด
2. เทือกเขาหลวงไหลลงสู่อ.ท่าศาลา และอ.เมือง
3. เทือกเขานัน จะไหลลงสู่คลองเสาธง ร่อนพิบูลย์
เมื่อช่วงฤดูน้ำหลาก ให้มีการเปิดเขื่อนให้หมด ในการแก้ไขต้องมีการสร้างคลองลัด
4. ต้องมองถึงระบบของการจัดการน้ำเป็นอย่างไรในแต่ละภูมินิเวศน์
5. เรียกร้องให้มีการสำรวจใหม่ ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการออกแบบ ต้องมีการคิดเห็นจากชาวบ้านก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการ
ชาวนครฯจะมีส่วนร่วมและร่วมมือกันอย่างไรในการบริหารจัดการน้ำอย่างไรอย่างยั่งยืน
1. พื้นที่ปากพนัง(ปลายน้ำ)เป็นพื้นที่เพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ เกิดจากการไปแย่งพื้นที่แก้มลิง เสนอให้ขุดคลองเพิ่มเพื่อส่งน้ำไปสู่แปลงเกษตร
2. พื้นที่กลางน้ำน้ำมีความจำเป็นในการทำการเกษตร การอุปโภคบริโภค พื้นที่กลางน้ำมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะคลองท่าดีแก้ปัญหาโดยการสร้างฝายในคลองท่าดีที่ต.ไชยมนตรีเสนอให้พื้นที่ของ ต.ไชยมนตรีมีฝายตลอดลำคลองท่าดี เพื่อเป็นการชะลอน้ำและกักเก็บน้ำ
3. พื้นที่ต้นน้ำเสนอให้มีการกักเก็บน้ำไว้ด้านบนต้องมีการวิจัยในเรื่องของการไหลของน้ำพื้นที่ต้นน้ำมีฝาย 6 ตัว แต่ตอนนี้ไม่มีเหลือเนื่องจากพังจากโดนน้ำท่วมครั้งล่าสุด ต้องสร้างฝายในพื้นที่ต้นน้ำให้มากที่สุด
กรณีโครงการบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช 9,000 ล้าน
สิ่งที่ชาวบ้านต้องการ
1. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นใหม่
2. ต้องมีแผนฟื้นฟูระบบนิเวศน์
3. ต้องมีการประเมินศักยภาพของโครงการ
4. ปรับปรุงโครงการให้มีความสอดคล้องและละผลกระทบให้มากที่สุด
5. วิธีการแก้ปัญหาที่ดีต้องมีความเข้าใจในบริบทของพื้นที่
การแก้ปัญหาของชลประทาน
1. เจรจา พูดคุย พบปะชาวบ้าน ใช้เวลาในการสำรวจความเสี่ยงต่างๆ หรืออาจใช้กฎหมายบังคับ
2. ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม สอบถามข้อมูล
3. เมื่อสร้างเสร็จต้องเข้าไปติดตาม ดูแล
4. จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ
5. ใช้หลัก 4 ประสาน ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่นชลประทานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมาชิกผู้ใช้น้ำ
ในมุมองของนักวิชาการสามารถมีการบูรณาการนำมุมมองต่างๆมาประยุกต์ร่วมแก้ไข
1.ต้องเรียนรู้ว่าระบบนิเวศน์ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำดินสามารถใช้เป็นที่กักเก็บน้ำได้ด้วย รวมถึงพืชในบางชนิด ต้องมีการปลูกป่าและต้นไม้ การบริหารจัดการน้ำไม่ใช่เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งต้องมีการร่วมมือและบูรณาการร่วมกัน
บทวิเคราะห์สรุปสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ พบว่าพื้นที่ต้นน้ำ ปริมาณน้ำมีมากแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำตลอดทั้งปี ไม่มีระบบกักเก็บน้ำ ชะลอ, รักษาที่มีคุณภาพและไม่เข้าใจระบบนิเวศน์ ขาดกฎเกณฑ์การใช้น้ำ มีการแก้ปัญหาน้ำแบบไม่มีส่วนร่วม ป่าต้นน้ำลดปริมาณลงการปลูกพืชเปลี่ยนสภาพเป็นการปลูกพื้นเชิงเดี่ยว การกัดเซาะตลิ่งทรายจากตลิ่งที่พังทำให้ลำน้ำตื้นเขิน พื้นที่กลางน้ำ ทรายกอง คลองแคบ ต้นเลารุกคลอง น้ำเปลี่ยนทิศทาง ลักลอบขายทรายแบบแยบยล “ขุดบ่อล่อทราย”ถนนขวางทางน้ำคลองหายไปจากเดิม ขยะในลำคลอง น้ำไม่พอใช้ในการอุปโภค และพื้นที่ปลายน้ำน้ำเค็มรุกน้ำจืด น้ำไม่เพียงพอในการอุปโภค ขาดเจ้าภาพในการจัดการ น้ำเสียจากชุมชนเมือง ทะเลงอกผิดทางน้ำ ความต้องการแก้ปัญหา 1. การสร้างนบ เพื่อกักเก็บน้ำรวมถึงการสร้างฝายขึ้นมาเพื่อคงความสมบูรณ์ของพื้นที่ 2. การใช้คลองธรรมชาติในการกักเก็บน้ำ 3. สร้างความเข้าใจในเรื่องของการกักเก็บน้ำให้กับชาวบ้านในพื้นที่ 4. หน่วยงานรัฐต้องมีการทำข้อมูลของพื้นที่นั้นๆ ในการจะพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5. ให้มีการประกาศใช้ผังเมืองอย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนผ่านการทำประชาคมอย่างแท้จริง 6. มีการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ต้องมีวิถีชีวิตของคนในอดีตควบคู่ไปกับปัจจุบัน 7. มีความเข้าใจในบริบทของน้ำ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
เครือข่ายฝายมีชีวตชลประทานท้องที่ท้องถิ่น ตัวแทนชาวบ้านที่อยู่ในพื้นรับผลกระทบ ตัวแทน อบจ. ภาคประชาสังคม ตัวแทนจากขบวนองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดนครศรีธรรมราช...
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี