พัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะ
- เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาอุบัติเหตุ 2. เพื่อสรุปบทเรียนการจัดการอุบัติเหตุทางถนนของจังหวัดชุมพรและนำสู่การแก้ปัญหาต่อไป 3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอการจัดการอุบัติเหตุทางถนนต่อนโยบายจังหวัด 4. เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ
- ติดต่อประสานงานกับป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน
กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดวันเวลาสถานที่ วิทยากรและทีมงานสื่อสร้างสุขภาคใต้ - ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด วิทยากรที่จะเป็นผู้ดำเนินรายการ ชวนคิดชวนคุยถอดบทเรียน สถานที่ ทีมสื่อ และเชิญผู้เข้าร่วม
- ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม 4. กล่าวทักทายผู้เขข้าร่วมและนำเข้าข้อมูลอุบัติเหตุช่วงเทศกาลที่ผ่านมา
- วิทยากรชวนคิดชวนคุยสานเสวนาประเด็นการจัดการการอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล
สถานการณ์ ปัญหาข้อเสนอแนะ - เปิดรับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถามผ่านสื่อออนไลน์
- ผู้ว่าราชการจังหวัดรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอ จากเวที โดยให้ข้อคิดเห็นและปิดการเสวนา
สรุปประเด็นถอดบทเรียน เวทีสานเสวนาสาธารณะ ร้อยใจคนชุมพร ร่วมสร้างเมืองปลอดภัย กรณีศึกษา
“อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล” ณ ห้องประชุมเกาะเต่า โรงแรมโนโวเทล ชุมพรบีช รีสอร์ต จ.ชุมพร
จากการรวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2560 -3 มกราคม 2561 ของสานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดชุมพร พบว่า การเกิดอุบัติเหตุมีจานวนทั้งสิ้น 30 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บจานวนทั้งสิ้น 35 คน และมีผู้เสียชีวิตจานวน 5 ราย ซึ่งจากสถิติที่รายงานมีจานวนการเกิดอุบัติลดลงจากปีที่แล้ว โดยสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ การขับรถโดยประมาท การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาเดิมทั้งสิ้น จังหวัดชุมพรจึงมีแนวทางในการลดอุบัติเหตุ เพื่อลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการเสวนาในครั้งนี้จึงพบประเด็นปัญหาหลักของการเกิดอุบัติด้วยกันหลากหลายประการ การดาเนินการในการลดอุบัติเหตุทางถนนจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการวางแนวทางเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่จังหวัดชุมพร ซึ่งจากการเสวนาในครั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจากการเสวนาพบว่า ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่จังหวัดชุมพรเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้
1. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกำหนด ส่งผลต่อสติสัมปชัญญะในการควบคุม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากในช่วงเทศกาลประชาชนมักดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสังสรรค์ในครอบครัว หรือในกลุ่มสมาชิก โดยบริโภคในจานวนมากซึ่งส่งผลต่อการควบคุมสติ เช่น กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นโดยพบว่ามีหญิงชาวไทยขับจักรยานยนต์ชนรถสิบล้อ เนื่องจากดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นต้น
2. การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทาให้ผู้ขับขี่พาหนะไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ส่งผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การไม่สวมใส่หมวกกันน็อก การฝ่าฝืนกฎจราจร เป็นต้น ซึ่งจากข้อสังเกตพบว่า ประชาชนในจังหวัดชุมพรมีอัตราการสวมหมวกกันน็อกอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีผลกระทบที่รุนแรงทั้งผู้ขับขี่และผู้ที่ซ้อนท้าย
3. สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออานวยในการขับขี่ เช่น ไม่มีป้ายสัญญาณบอกทิศทาง ไม่มีสัญญาณไฟ แสงสว่างไม่ทั่วถึง และปัญหาต้นไม้ที่อยู่บริเวณริมถนน ซึ่งส่งผลให้ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเส้นทางได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเกิดการกระแทกกับต้นไม้ที่ปลูกไว้บริเวณเกาะกลาง หรือพื้นที่ข้างถนน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น
4. การตั้งจุดตรวจในพื้นที่ที่เสี่ยงต่ำ ส่งผลให้ผู้ที่ขับขี่ไม่ถูกตรวจสอบ
จากการเสวนาในครั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจึงร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันเพื่อลดอุบัติเหตุโดยมีแนวทางดังนี้ 2
1. การบังคับใช้กฎหมายที่เข็มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายตำรวจและทหารที่มีส่วนช่วยในการตรวจและจับผู้ที่ทำผิดกฎจราจร โดยเน้นการประสานงานกับท้องถิ่นและชุมชนในการช่วยเหลือ หรือตักเตือนสมาชิกในหมู่บ้านให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ถูกต้อง
2. การงดดื่มในช่วงเทศกาล ซึ่งจะต้องดาเนินการในภาพรวมตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายห้ามขาย แต่เนื่องจากบริบทของการบังคับใช้กฎหมายอาจมีความซับซ้อนและต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน หลายหน่วยงานจึงมีข้อเสนอแนะให้ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มปฏิบัติดังนี้
2.1 การงดขับรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ถ้ามีการดื่ม แต่ให้มีบริการรถจัดส่งผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปยังที่อยู่ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ ซึ่งนับว่าเป็นข้อเสนอแนะหนึ่งในการปฏิบัติ
2.2 งดการขายเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล เป็นต้น
3. ปรับปรุงสภาพถนนพร้อมทั้งเพิ่มป้ายและสัญญาณไฟจราจรในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ผู้ขับขี่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงการงดปลูกต้นไม้บริเวณพื้นที่เกาะกลางถนนหรือพื้นที่เสี่ยงเพื่อลดความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
4. การเพิ่มจุดตรวจหรือจุดบริการประชาชนเพิ่มเติมในพื้นที่ชั้นในและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อให้เกิดการตรวจตราอย่างถี่ถ้วน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและลดการฝ่าฝืนกฎจราจร
5. การรณรงค์ร่วมกันในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อเพิ่มความตระหนักและเพิ่มการรับรู้ของประชาชนให้เกิดจิตสานึกในการขับขี่บนท้องถนน และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ในระดับหมู่บ้าน ตาบล ท้องถิ่น และในหน่วยงานการศึกษาเนื่องจากมีกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น เพื่อลดการเกิดการสูญเสียในกลุ่มเด็กและเยาวชน
6. การประชาสัมพันธ์ของสื่อ โดยเน้นการใช้สื่อที่สั้น กระชับ ตรงประเด็น และเข้าใจง่าย และควรสื่อสารในกลุ่มเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดความตระหนักและความเข้าใจ โดยจะต้องมีการประสานงานทั้งระหว่างสื่อท้องถิ่นและสื่อในระดับจังหวัดอย่างบูรณาการ ซึ่งจะทาให้ผู้ใช้รถบนท้องถนนเกิดความตระหนักมากขึ้น
ภายหลังการเสวนา นายนายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้กล่าวโดยสรุปพร้อมมอบแนวทางการลดการเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนาไปใช้เป็นนโยบายต่อไป โดยเน้นการป้องกันในภาพรวมตลอดทุกวัน ไม่เพียงเฉพาะในเทศกาลสำคัญเท่านั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยมีรูปแบบดังนี้
1. ด้านพฤติกรรม (Behavior) ทุกภาคส่วนต้องทาให้ประชาชนทุกคนรับรู้ เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การใส่หมวกนิรภัย การปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร การข้ามถนนตรงทางม้าลาย เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันรณรงค์เพื่อสร้างความภัย
2. ด้านกฎหมาย (Law) ผู้มีส่วนรับผิดชอบด้านกฎหมายต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมถึงผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายต้องได้รับการลงโทษตามข้อบังคับนั้นๆ ซึ่งปัจจุบันพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ขณะเดียวกันผู้บังคับใช้กฎหมายยังไม่เข้มงวดมากนัก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกภาคส่วน
3. ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยมุ่งเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การกาจัดสิ่งกีดขวางต่างๆบนถนน การติดป้ายสัญญาณจราจรที่ชัดเจน การสร้างสัญญาณไฟจราจร ณ บริเวณแยกที่มีความเสี่ยงสูง และการขยายพื้นที่ถนนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ร่วมมือในการสำรวจพื้นที่เสี่ยงที่ไม่มีป้ายสัญญาณจราจร ถนนที่ชารุด เพื่อเร่งแก้ไขให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด
4. ด้านความร่วมมือ (Cooperative) โดยเน้นการทาอย่างบูรณาการในทุกๆภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐต้องมีการร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อนาข้อมูลมาร่วมวางแผนและพัฒนาเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
5. ด้านการวิเคราะห์และการตรวจสอบ (Analysis and Audit) ควรมีระบบการวิเคราะห์ข้อมูลถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นถึงสาเหตุการเกิดเพื่อหาแนวทางการป้องกัน ขณะเดียวกันควรจะมีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อวางแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งจากการเสวนาครั้งนี้ยังพบประเด็นที่น่าสนใจในหลายๆประเด็น เช่น ปัญหาของชาวต่างชาติที่เข้ามาพักอาศัยในจังหวัดชุมพรซึ่งไม่เข้าใจภาษาไทย ทาให้ไม่สามารถสื่อสารและเข้าใจกฎหมายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ปัญหาพื้นที่เสี่ยงที่มีทางแยกซึ่งไม่ใช่ทางแยกตามกฎหมายกำหนด ปัญหาการละเมิดสิทธิผู้ป่วยและการนาเสนอข่าวผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เป็นต้น ผู้เข้าร่วมเสวนาจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สาหรับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวพม่าซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชุมพรมากที่สุด โดยประสานงานกับนายจ้างในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัย
2. ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้การดาเนินการและการประงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. ควรจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนาแบบอย่างการปฏิบัติของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการรณรงค์การลดอุบัติเหตุเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ
4. ควรจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมสำรวจพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมวางแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ
ดังนั้นการลดการเกิดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืนในพื้นที่จัดหวัดชุมพรจาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเน้นการสร้างจิตสานึกให้ประชาชนเกิดการเกรงกลัวต่ออุบัติเหตุ ไม่ขับขี่เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ขณะเดียวกันต้องสร้างให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมที่ดีในการเคารพกฎหมายและกฎจราจร ซึ่งจะต้องเน้นการประชาสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างจริงใจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับชาวชุมพรสืบไป
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ป้องกันบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดชุมพร แขวงการทาง ทางหลวง ขนส่งจังหวัด แขวงบำรุงทาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล ตำรวจภูธรจังหวัด มูลนิธิรักศิลธรรม สนง.ศึกษาธิการจังหวัด อำเภอ สถาบันการศึกษา อบต. ประชาสัมพันธ์จังหวัด เยาวชน ภาคประชาสังคม
ไม่มี
สนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการอุบัติเหตุในชุมชนได้เองเพื่อสร้างรูปแบบใหม่ๆนอกเหนือจากเรื่องสุขภาพ
- ควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สาหรับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวพม่าซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ใน
จังหวัดชุมพรมากที่สุด โดยประสานงานกับนายจ้างในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่อย่าง
ปลอดภัย
- ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้การดาเนิน
การและการประงานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- ควรจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนาแบบอย่างการปฏิบัติของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในเรื่อง
การรณรงค์การลดอุบัติเหตุเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้เรียนรู้และเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ
- ควรจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมสำรวจพื้นที่เสี่ยง เพื่อร่วมวางแนวทางในการป้องกันการเกิด
อุบัติเหตุ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ