สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ

จัดโปรแกรมท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารอำเภอสิงหนคร ครั้งที่124 พฤศจิกายน 2561
24
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย areeandaman
circle
วัตถุประสงค์

จัดการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ อำเภอสิงหนคร

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา

09.00 – 09.30 น. ออกเดินทางไปร้านครัวใบโหนด อำเภอสิงหนคร

09.30 – 09.35 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์

09.35 – 11.00 น. ทำขนมพื้นบ้าน ขนมเจาะหู ขนมโค (มีวิทยากรคุย เล่า ขั้นตอนทำ)

11.00 – 12.30 น. ลงพื้นที่ทำอาหาร ณ หมู่บ้านสว่างอารมณ์ ม.2 ต.ชะแล้ -เมนูอาหาร แกงคั่วหัวโหนดกุ้ง ผัดผักบุ้งนา ,-เมนูขนมหวาน ลูกโหนดกะทิสด

12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง พร้อมด้วยเมนูอาหารขันโต๊ะ (จากครัวใบโหนด) แกงส้มปลาหัวโหม่งกับลูกเขาคัน ,ต้มส้มปลาท่องเที่ยว ปลาทอดขมิ้น น้ำพริก ผักสด (วิทยากรคุย เล่า เมนูอาหาร) ,น้ำสมุนไพร

13.30 – 14.30 น. ดูวิถีการทำนา การทำน้ำตาลโตนด

14.30 – 15.30 น. ดูวิถีการผัดน้ำผึ้ง

15.30 – 16.30 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการสืบสานและต่อยอดวัฒนธรรมอาหารสิงหนคร

-หัวหน้าโครงการกล่าวนาความเป็นมาของโครงการ คุณนพ หรือ ดลนภา สุวรรณรัตน์ แห่งครัวใบโหนด เริ่มด้วยการเล่าเรื่องของครัวใบโหนด การขับเคลื่อนงานความมั่นคงทางอาหาร เกษตรอินทรีย์ มี7 เครือข่าย“ครัวใบโหนด” เกิดจาการรวมกลุ่มของคนในชุมชนรวมตัวกันสร้างความเข้มแข็งให้สามารถช่วยเหลือตัวเอง พึ่งพาตนเองได้ในทุกด้าน โดยเฉพาะการเป็นแหล่งผลิตอาหารให้ชุมชนเพื่อความพร้อมรับสถานการณ์ในทุกด้าน โดยน้อมนำวิถีแห่งความพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานของกลุ่มจนประสบผลสาเร็จ อีกทั้งความเข้มแข็งด้านการรักษาสืบสานคุณค่าเดิมๆ ของท้องถิ่นที่บรรพชนสร้างเอาไว้ มาปรับใช้เพื่อการดำรงชีวิตทั้งการกินการอยู่ นาสู่วิถีสุขภาพกายใจได้อย่างเยี่ยมยอด จึงเปิด “ครัวใบโหนด” ขึ้นภายใต้แนวคิด “ครัวชุมชนเพื่อคนทั้งมวล” ครัวใบโหนดจึงเป็นศูนย์กลางการฟื้นฟูสูตรอาหารท้องถิ่น โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างอาหารพื้นบ้านกับถิ่นกำเนิด จากนั้น เป็นการแนะนาตัว ทีมงานครัวใบโหนด เช่น ป้าแดง ป้าสาว ป้าพูน ป้าดวน ป้าดา พี่อ้น อร ลุงต่วน ฯ นศ.บี และแพง จากมหิดล และแนะนาตัวนักท่องเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยวฐานที่ 1 เริ่มจากการทาขนม โดยป้าสาว เป็นผู้นาทาขนมเจาะหู ส่วนป้านา นา ทำขนมโค ,ขนมเจาะหู , กิจกรรมก่อนเที่ยงที่ร่วมกันเตรียมอาหาร เริ่มตั้งแต่ไปปีนต้นโหนด เก็บลูกโหนด เก็บผักบุ้ง มาเตรียม ขูดมะพร้าว ทำเครื่องแกง เพื่อแกงคั่วหัวโหนดกับกุ้ง,แกงส้มกุ้งกับลูกเขาคัน,ต้มส้มปลาท่องเที่ยว และทำขนมหวานลูกโหนดน้ำเทะสด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เรื่องอาหารและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ได้สัมผัสภูมิปัญญาการทำนาปลอดสารพิษ การขึ้นตาลโตนด การผัดน้ำผึ้งโหนด และการทำ น้ำตาลโหนดผง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1.นักท่องเที่ยว 15คน

2.คณะทำงานโครงการ 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-