สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ

ประชุมคณะทำงานร่วมกับสจรส.มอ.5 ตุลาคม 2561
5
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย areeandaman
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 10.00 น. หัวหน้าโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล เข้าประชุมรายงานความก้าวหน้า ที่ สจรส.มอ. ความว่าโครงการนี้มีความสอดคล้องกับนโยบาย และแนวคิดของ อ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งสถาบันทักษิณคดีศึกษา คือใช้ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมความก้าวหน้าที่ค่อนข้างจะแน่นอนคือการยินดีร่วมงานของ node ทั้ง 4 อำเภอ ที่มีทุนเดิมทำงานด้านวัฒนธรรมอาหารอยู่แล้ว จึงจะปรับปรุงแผนงานใหม่ ภายในกลางเดือนตุลาคมนี้ โดยจะใช้บุคลากรภายนอกเข้ามาช่วย ได้แก่ นายเกริกชัย ส่องเจริญกุล และกลุ่มอดีตเยาวชนต้นกล้า เครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา จะให้เป็นผู้ลงไปขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ประสานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระ โดยเชื่อมกับ node ที่มีในพื้นที่ทั้ง 4 อำเภอ ดังนี้

(1) อำเภอสิงหนคร ร้านครัวใบโหนด

(2) อำเภอสทิงพระ ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก

(3) อำเภอกระแสสินธุ์ บ้านเขาใน ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ และ ผู้ใหญ่บ้านเขาใน

(4) อำเภอระโนด เรินพี่โย คลองแดน

โดยจะจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ดังนี้

1) เดือนตุลาคม สำรวจเส้นทางท่องเที่ยว ทดลองเที่ยว เพื่อทำโปรแกรม ทั้ง 4 อำเภอ โดย

(1) ประชุม node ทั้ง 4 อาเภอ ที่ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก เพื่อจัดทำแผนการท่องเที่ยวเพื่อการสืบสานและต่อยอดวัฒนธรรมอาหาร

(2) จัดทำเกณฑ์ประเมินผล ทั้งผลลัพธ์ และผลกระทบ จากกิจกรรมที่จะดำเนินการ

(3) จัดทำแผนการท่องเที่ยว ประกอบด้วย กิจกรรมที่จะทา เส้นทาง โปรแกรม แผนที่ ปฏิทินเนื้อหาการท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารแต่ละอำเภอ

(4) วางแผนการใช้สื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม

(5) วางแผนการทางานเอกสารคู่ขนานกับการทำกิจกรรม

(6) จัดทำแผนงบประมาณเบื้องต้น

2) เดือนพฤศจิกำยน จัดนาเที่ยวโดยนักท่องเที่ยวสมมุติ เพื่อรับฟัง Feed back (VOC : Voiceof Customer) โดย

(1) ทดลองท่องเที่ยวตามโปรแกรม ครั้งละอำเภอ รวม 4 ครั้ง 4 อำเภอ

(2) ประชุมเพื่อประเมินและปรับปรุง

3) เดือนธันวำคม จัดให้เกิดการท่องเที่ยวจริง โดย

(1) รับสมัครนักท่องเที่ยว เพื่อเที่ยวจริง ครั้งละอำเภอ รวม 4 ครั้ง 4 อำเภอ

(2) ประชุมเพื่อประเมินและปรับปรุง

4) เดือนมกรำคม จัดการท่องเที่ยว ประเมินผล และปรับปรุงโปรแกรม (PDCA : Plan – Do –Check - Action) โดย

(1) รับสมัครนักท่องเที่ยว เพื่อเที่ยวจริง ครั้งละอำเภอ รวม 4 ครั้ง 4 อำเภอ

(2) ประชุมเพื่อประเมินและปรับปรุง

(3) สรุปผลการดาเนินงาน และปิดโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.การดำเนินงานยังคงล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้

2.มีการประสานกับภาคี เครือข่ายอื่นในการทำงานร่วมกัน เพิ่มขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความสำเร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน ผ่านไปแล้ว 8 เดือน เหลือเพียง 4 เดือน ความคืบหน้ามีน้อยมาก เหตุเพราะมีงานเพิ่มเติมมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เช่น จะต้องรวบรวมข้อมูลเดิมที่ควรจะมีอยู่แล้วคือ ข้อมูลวัฒนธรรมอาหาร และข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวคณะทางานพบปัญหาภายในของตนเอง หัวหน้าโครงการมีงานส่วนตัวเข้ามามากเกินไป

-คณะทำงานจากสถาบันทักษิณคดีศึกษามีความไม่นิ่งในหน่วยงานที่มีสภาพเป็นสุญญากาศชั่วขณะ อันเนื่องมาจากการลาออกอย่างกะทันหันของผู้อานวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา และการเพิ่มภารกิจงานให้บุคลากรของสถาบันทักษิณคดีศึกษา

-ปัญหาของชุมชนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่าง อันเนื่องมาจากโครงการของสานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา และสานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ที่ขับเคลื่อน โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นการด่วน ตามนโยบายรัฐบาล

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-