สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ

ประชุมคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย4อำเภอ เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ7 สิงหาคม 2561
7
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย areeandaman
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นายไพฑูรย์ ศิริรักษ์ แห่งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก กล่าวต้อนรับ และนายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล หัวหน้าโครงการ ชี้แจงรายละเอียดโครงการ การพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน โดยจะจัดการท่องเที่ยวผ่าน Node ทั้ง 4 อำเภอ

1.ครัวใบโหนด จะเป็น Node แรก ที่อำเภอสิงหนคร ที่เป็นเหมือนประตูเข้าพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ หากเข้าพื้นที่ทางทิศใต้ของคาบสมุทรสทิงพระ ควรปรับปรุงสถานที่ และการจัดนิทรรศการต่างๆ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก ของนายไพฑูรย์ ศิริรักษ์ จะเป็น Node ที่ 2 ที่อำเภอสทิงพระ เป็นที่ที่มีผู้เข้ามาเรียนรู้สม่ำเสมอ มีความเห็นว่า นอกจากการพัฒนาต่อยอดตามโครงการแล้ว ควรมีการสืบสานวัฒนธรรมอาหารด้วย เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีปัญหาการสืบสานด้านวัฒนธรรมอาหาร

2.ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร เสนอแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้

-ทุ่งปอเทือนรำแดง ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีพื้นที่นากว่า 300 ไร่ ซึ่งในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกๆ ปี จะมีการจัด “เทศกาลดอกปอเทืองบานที่บ้านรำแดง” ก่อนที่ดอกปอเทืองจะแปรสภาพเป็นปุ๋ยสดบำรุงดินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

-ตลาดพรีเมี่ยมรำแดง หมู่ที่ 7 บ้านป่าขวาง ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (เปิดทุกวันศุกร์ - เสาร์ เวลา 12.00 – 17.00 น. และ 08.00 – 17.00 น.) เป็นตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวัฒนธรรม ที่ตั้งอยู่กลางทุ่งนาข้าว พร้อมวิวต้นตาลโตนด และเป็นตัวอย่างของชุมชนนำร่องในการพัฒนาให้เป็นชุมชนวิถีเกษตรกรรมไทยตามนโยบายไทยนิยมยั่งยืน พร้อมต่อยอดสินค้าเกษตรเกรดพรีเมี่ยมนำมาจำหน่ายในตลาดพรีเมี่ยมรำแดง

-OTOP นวัตวิถีบ้านรำแดง “โหนด–นา–ไผ่” อัตลักษณ์ของบ้านรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งทาง อบต.รำแดง มีการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวีถีเกษตรชุมชน โดยมีการเน้นการทำกิจกรรมแบบฐานการเรียนรู้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส และเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น (1) ฐานการเรียนรู้ตาลโตนด (2) ฐานการเรียนรู้บ้านต้นแบบ (3) ฐานการเรียนรู้บ้านทักษิณาทาน (4) ฐานการเรียนรู้วัดป่าขวาง (5) ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (6) ฐานการเรียนรู้ครัวรำแดง ด้านอาหารพื้นบ้าน (1) ยำหัวโหนด (2) ไก่บ้านคั่วโหนด (3) แกงเลียง (ผักพื้นบ้าน) (4) ลูกตาลกะทิสด (5) ปลากะตักทอด (6) ชาปอเทือง ด้านผลิตภัณฑ์ OTOP (1) ไข่เค็ม (2) กล้วยฉาบ (3) ข้าวกล้อง (ข้าวสังข์หยด) (4) พายลูกตาล (5) น้ำตาลผง (ขนมขี้มอด) (6) น้ำพริกสมุนไพร (7) น้ำส้มสายชูตาลโหนด (8) เครื่องจักสานจากใบตาล

3.อำเภอระโนด เสนอแหล่งท่องเที่ยว เน้นการท่องเที่ยววิถี “โหนด-นา-เล”ดังนี้
(1) วิถีโหนด ตำบล ระวะ มีการแปรรูปตาลโหนดให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

(2) วิถีนา ตำบล ตะเครียะ กำลังจัดสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีเกษตรกลางทุ่งนา

(3) วิถีเล ตำบล ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีการจัดแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชาวประมงในการออกเรือหาปลา
ด้านสถานที่ท่องเที่ยว

-ตลาดน้ำคลองแดน ตำบลแดนสงวน (เปิดทุกวันเสาร์ เวลา 15.30 – 21.00 น.) เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาชุมชน และสร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงชาวบ้าน อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัส เรียนรู้ รวมถึงเข้าใจธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนในคลองแดน

“สามคลอง สองเมือง” สโลแกนของตลาดน้ำคลองแดน ซึ่งมีที่มาจากลำคลองธรรมชาติ 3 ลำคลองที่มาบรรจบกัน คือ ลำคลองสายแรกไหลสู่ อ.หัวไทร และ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ลงไปทางใต้ ลำคลองสายที่สองเป็นลำคลองไหลสู่ อ.ระโนด จ.สงขลา และไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา ส่วนลำคลองสายที่สามจากทางทิศตะวันตกไหลสู่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

-ตลาดน้ำปากแตระ ตำบลปากแตระ (เปิดทุกวันเสาร์ เวลา 16.30 – 20.00 น.) เป็นตลาดน้ำที่ทางเทศบาลมีการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านได้ช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในตำบล และสร้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน โดยจะมีการนำผลิตภัณฑ์การเกษตร พืชผลทางการเกษตรมาค้าขาย และมีกิจกรรมบันเทิงจากน้องๆ นักเรียนในพื้นที่มาร่วมกันแสดงดนตรี และสีสันให้กับตลาดน้ำปากแตระ

-ตลาดริมน้ำคลองระโนด อำเภอระโนด (เปิดทุกวันศุกร์ เวลา 16.00 – 20.30 น.) เสน่ห์สงขลาอีกแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม “ตลาดริมน้ำคลองระโนด” หรือ “ตลาดน้ำคลองระโนด” เป็นแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ของชาวระโนด ที่มีการนำสินค้าต่างๆมากมายมาวางจัดจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวสายเฮลล์ตี้ ได้ลองชม ชิม ช็อป สินค้าพื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็น ชมการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ชิมอาหารรสเด็ด หรือช็อปปิ้งสินค้าแฮนเมค เป็นต้น

-ด้านแหล่งอาหารพื้นเมือง (1) ตำบลบ่อตรุ ไข่ครอบ ไข่เค็มต้ม น้ำพริกเผา น้ำพริกปู กะหรี่ปั๊บ ปลาเส้น ปลาแห้ง (2) ตำบลพังยาง ขนมลา (ลากรอบ) ขนมถาด ขนมเปียกปูน (3) ตำบลระวะ แปรรูปลูกตาล ชนิด อบแห้ง ลอยแก้ว เชื่อม และวุ้นลูกตาลกรอบ (4) ตำบลปากแตระ ไข่เป็ด ไข่เค็ม มันกุ้ง (5) อำเภอระโนด ข้าวยำใบบัว ข้าวห่อใบบัว (6) ตำบลบ้านขาว ปลาดุกร้า (7) ตำบลท่าบอน น้ำพริกแม่ปลื้ม น้ำพริกสำเร็จรูป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กลุ่มเป้าหมายใน3อำเภอที่เข้าร่วมได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การจัดการท่องเที่ยว

2.เกิดข้อมูลในแต่ละพื้นที่ ในด้านภูมิปัญญา เรื่องเล่าตำนาน วัฒนธรรมประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

1.อำเภอระโนด 12 คน

2.อำเภอสทิงพระ 2 คน

3.อำเภอสิงหนคร 9 คน

4.คณะทำงานและผู้ช่วย 8 คน

5.สจรส. 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กลุ่มเป้าหมายในอำเภอกระแสสินธุิ์ ไม่สามารถเข้าร่วมได้ ทำให้ไม่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-