สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เกี่ยวกับสถานวิจัย HIA-RC

Vision

วิสัยทัศน์   สถานวิจัยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เป็นสถานวิจัยซึ่งเน้นการผลิตและพัฒนาบุคลากร องค์ความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลกระทบ และงานวิจัย โดยงานวิจัยจะครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ (Area-based) ซึ่งมุ่งให้เกิดองค์ความรู้เพื่อการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์ นโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ ดังนี้
    1) การพัฒนาระเบียบวิธี ขั้นตอนกระบวนการของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
    2) รูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพแบบเร่งด่วน (Rapid HIA) กรณี โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสงขลา
    3) การกำหนดขอบเขต และแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Public scoping) กรณี โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสงขลา
    4) รูปแบบของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินธรรมนูญสุขภาพตำบล
    5) รูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้
    6) การพัฒนารูปแบบเพื่อการติดตามและประเมินผล
    7) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเวที ค 1 ค 2 ค 3 กรณีเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสงขลา
  2. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อสร้างการเรียนรู้ในชุมชน (Community-based) ซึ่งมุ่งให้เกิดองค์ความรู้เพื่อเสริมศักยภาพชุมชนในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่นำไปสู่การสร้างนโยบายสาธารณะในระดับชุมชน ดังนี้
    1) รูปแบบการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาโรงแยกก๊าซ ไทย มาเลเซีย
    2) รูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวล
    3) การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน กรณีการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดกระบี่
    4) การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน กรณีการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดตรัง
    5) การพัฒนา Guide line การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน
    6) การประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน กรณีศึกษา กองทุนท้องถิ่นสังกัด สปสช.เขต 11 สุราษฎร์ธานี
  3. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีนโยบาย แผนงาน โครงการระดับชาติ (Issue-based) มุ่งให้เกิดองค์ความรู้ และข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence based) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงนโยบาย การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โดยใช้เทคนิคการประเมินต้นทุน ผลได้ (Cost benefit analysis) กรณีนโยบายการทำเหมืองแร่ของประเทศไทย

Goals

เป้าหมายของสถานวิจัย

1) เป็นสถานวิจัยที่ผลิตและพัฒนาบุคลากร องค์ความรู้ เครื่องมือ และงานวิจัยด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
2) เป็นสถานวิจัยที่เผยแพร่งานวิจัย ผลงานวิชาการ และชุดความรู้จากงานวิจัยด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพแก่สังคมในวงกว้าง
3) เป็นสถานวิจัยที่พัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพในการดำเนินการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
4) เป็นสถานวิจัยที่นำงานวิจัยและงานวิชาการไปพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
5) เป็นสถานวิจัยที่ให้บริการข้อมูลวิชาการทางด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพแก่ประชาชนรวมทั้งเป็นศูนย์บริการวิชาการแก่ท้องถิ่น เพื่อตอบสนองการพัฒนาด้านต่างๆ