ประชาสัมพันธ์ สถาบันนโยบายสาธารณะ

2.3psd.jpg
event_note ข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมด post_addเพิ่มข่าวประชาสัมพันธ์

การดำเนินกิจกรรมโครงการ

  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ : -@22 ก.ค. 67 18:32
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ : -@22 ก.ค. 67 18:31
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 11

    สรุป ถอดบทเรียนโครงการ : กองทุนทั่วไป 5 กองทุน (ออกจากการเข้าร่วมโครงการในปี 2567 จำนวน 3 กองทุน)รับเพิ่ม 1 กองทุน กลไกพี่เลี้ยง 6 คน พี่เลี้ยงระดับจังหวัด  3 คน พี่เลี้ยงระดับกองทุน 3 คน อบต.เกาะขันธ์ แผนงาน.......10.............แผน โครงการตามแผนที่กำหนดและได้รับอนุมัติ 7 โครงการ อบต.ขอนหาด แผนงาน..........10..........แผน โครงการตามแผนที่กำหนดและได้รับอนุมัติ 6 โครงการ ทต.ชะอวด แผนงาน......10..............แผน โครงการตามแผนที่กำหนดและได้รับอนุมัติ  8โครงการ@21 ก.ค. 67 07:22
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 11

    เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ครั้งที่ 2 : ได้ข้อมูลไม่น้อยกว่าที่กำหนด 3 กองทุน เกาะขัน ขอนหาด ชะอวด@21 ก.ค. 67 06:50
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3 : ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3@19 ก.ค. 67 14:49
  • งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

    ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามการสรุปงานโครงการจังหวัดพัทลุง : (อำเภอศรีนครินทร์) ปี 66 เขียนอนุมัติ 84 อนุมัติ 80 ปี 67 เขียนอนุมัติ 90 อนุมัติ 79 (อำเภอกงหรา) ปี 66 ขออนุมัติ 251 อนุมัติ 281 (มีโครงการขอผ่านกระดาษ) ปี 67 ขออนุมัติ 286 อนุมัติ 240 (ไม่พบโครงการขอผ่านกระดาษ) (กลไกการทำงาน) พี่เลี้ยงกองทุน                                  พี่เลี้ยงจังหวัด                                      ผู้ประสานงาน - ดูแลผลลัพธ์                        -  ดูแลพี่เลี้ยงดูแลผลลัพธ์กองทุน            -  วางแผนและบริหารกิจกรรม/ผลลัพธ์ - แนะนำพัฒนาผู้ขอรับทุน          -  ประสานงานระดับอำเภอละ 1 คน        -  ประสานกลไกระดับเขต - เสนอแนะแก่คณะทำงาน          -  ยกระดับพัฒนาเป็นวิทยากรทุกคน ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ปัจจัยความสำเร็จ ข้อจำกัด ข้อเสนอแนะ และผลผลิต/ผลลัพธ์ (อำเภอกงหรา) ปัจจัยนำเข้า คน และมีการแต่งตั้งคณะ งบประมาณ กระบวนการ - คณะกรรมการมีการเอาระเบียบมานั่งทำความเข้าใจรวมกัน และต้องมีฐานความรู้ - การไปดูงานที่อื่นแล้วมาปรับใช้ - มีการลงปฏิทิน - มีแผนของการดำเนินของหลักสุขภาพกองทุน ปรับต่าง ** มีการสอนการเขียนโครงการผ่านระบบ ปัจจัยความสำเร็จ - คณะกรรมการ มีส่วนสำคัญ ข้อจำกัด - มีการปรับข้อจำกัดในการเข้าถึง - การประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง ข้อเสนอแนะ - การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีความหลากหลายแก่ผู้รับทุน ปรับต่าง  **มีการประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์/ผลผลิต - การเขียนโครงการไม่กระจาย - ประชาชนรู้ข่าวสารมากขึ้น - มีการขอรายงานผ่านระบบที่เพิ่มขึ้น (อำเภอศรีนครินทร์) ชุมพล บางนา และอ่างทอง ปัจจัยนำเข้า คน งบประมาณ และการบริการจัดการ กระบวนการดำเนินงาน - จัดอบรมให้ความรู้ - ติดตามความก้าวหน้าโครงการ - มีการประชุมคณะกรรมการทุกเดือน ปัจจัยความสำเร็จ - ผู้บริหารให้ความสำคัญ - ผู้ขอรับทุนสามารถดูได้ในเว็บ - มีการขอทุนในหลากหลายกลุ่ม - มีกลุ่มที่ของบเพิ่มขึ้น - มีการดูแลและพัฒนาขึ้น ข้อเสนอแนะ - มีการประชาสัมพันธ์เรื่องการขอรับทุนที่เพิ่มขึ้น ผลผลิต - ใช้งบประมาณที่เหมาะสม - มีความสำเร็จในการโครงการ - มีโครงการที่ตามแผนแต่ละพื้นที่ ประเด็นพชอ.ในพื้นที่ มีการขับเคลื่อนประเด็น PA และอหารที่เป็นผลเห็นชัด (อำเภอควนขนุน) ชะม่วง นายาง บ้านสวน ปัจจัยนำเข้า คน :  ภาษีเครือข่าย สตรี ผู้สูงอายึ อสม เจ้าหน้าที่กองทุน                 งบ : สสส งบ อบจ กองทุนหมู่บ้าน                 การบริหารจัดการ กระบวนการทำงาน - มีการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง - พี่เลี้ยงจังหวัดมีการให้ความรู้แก่ผู้รับทุน - มีการเขียนโครงการ - มีการประเมินโครงการ - เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลในกองทุน - อนุกรรมการคัดกรอง - มีการสื่อสารในตำบล ปัจจัยสำเร็จ - ผู้นำเข้มแข็ง - เจ้าหน้าที่ได้มีการพัฒนาตลอด - โครงการในเว็บ 100 % ข้อจำกัด - ความขัดแย้งภายใน - มีการเตรียมและกระจายความรู้ที่เพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะ - อธิบายการทำงานอย่างเข้าใจ ผลผลิต - คณะกรรมการได้รับการพัฒนาที่เพิ่มขึ้น - มีการพัฒนาเยอะ - มีการเข้าถึงแก่ผู้ขอทุน@19 ก.ค. 67 11:11
  • งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

    ประชุมการดำเนินการพื้นที่เขต 10 : การแก้ไขปัญหาหอยเชอร์รี่จำนวนมาก วันละ 7 /ตัน ของบ้านตระกาจ - กระถางปลูกต้นไม้ที่แปรรูปจากหอยเชอร์รี่ - ทำเครื่องปั้นดินเผา - ทำดินปลูกผงที่แปรรูปจากหอยเชอร์รี่ - ถนนที่ทำจากการแปรรูปจากหอยเชอร์รี่ มาเป็นส่วนผสมหลัก - ทำอิฐจากหอยเชอร์รี่ ปัจจุบันจำนวนหอยเชอร์รี่มีจำนวนลดลง เหลือเพียง 5000 ตัน@19 ก.ค. 67 10:53
  • งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

    ประชุมวางแผนการทำสื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี : ยางขี้นก)   โครงการที่เน้นคือ การดูแลคุณภาพชีวติพี่น้องในพื้นที่ กว่า 4000 คน เน้นย้ำถึงการดูแลผู้สูงอายุ/เยาวชน  มี 4 องค์กรหลักในการขับเคลื่อนร่วมกัน - เด็กและเยาวชน มีกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับโครงการรักโลก “โครงการปั่นรักษ์โลก” เป็นการปลูกฝังให้เยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ และสร้างเสริมรายได้ให้กับเด็กโดยอิงจากวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่ครอบครัวทำร่วมกัน โดยเน้นการปลูกฝังและการอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อนำมาต่อยอดเป็นรายได้ภายในครอบครัว ทั้งนี้จุดเริ่มต้นเกิดจากการชักชวนของกลุ่ม อสม และเป็นผลที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลส่วนมาก แต่ในพื้นที่บ้านหนองใหญ่ ยังมีการปั่นจักรยานในพื้นที่ และเป็นวิธีที่เด็กทุกคนยังทำอยู่ สืบเนื่องจากการปลูกฝังจากผู้ใหญ่ในพื้นที่ที่อยากส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่เด็ก และยังอยากปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติและการจัดการขยะในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการบูรณาการให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน - วัยรุ่น/วัยกลางคน เน้นย้ำเรื่องกิจกรรมทางกาย มุ่งเน้นเรื่องการออกกำลังกาย การเต้นแอโรบิค - ผู้สูงอายุ เน้นเรื่องการออกกำลังกาย กายอุปกรณ์ และเป็นผลที่เกิดขึ้น 3 วัน/สัปดาห์ และมีการใช้กลไกผู้นำในการขับเคลื่อน นอกจากกิจกรรมทางกาย ยังมีการเน้นย้ำเรื่องการจัดการขยะ พื้นที่อยากให้ช่วยเรื่องกิจกรรมทางกาย และการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย (สหธาตุ)     โครงการที่เน้น คือ การจัดการขยะ  มีการทำกองทุนธนาคารขยะ โดยร่วมกัน 7 หมู่บ้าน และผลตัวชี้วัดคือ ไข้เลือดออกที่มีจำนวนผู้ป่วยวลดลง เนื่องจากขยะในพื้นที่จำนวนลดลง ธนาคารขยะ มีการดำเนินงานมาระยะหนึ่งแล้ว และมีการรับซื้อขยะในทุกเดือน ทำให้หมู่บ้านสะอาดขึ้น มีเกณฑ์ตัวชี้วัดในการให้คะแนน  5 ตัวชี้วัด - บ้านต้องปลอดลูกน้ำยุงลาย - จัดการขยะภายใน ภายนอก - ไม่พบผู้ป่วยภายในบ้าน - เลี้ยงปลาห่างนกยูง - ปลูกพืชสวนครัว โดยต้องปลูกผักสวนครัวไม่น้อยกว่า 10 ชนิด มีการแยกขยะ ภายในและภายนอก มีการจัดการขยะโดยตนเองไม่ต้องมีรถเก็บขยะ ทั้งนี้การประกวดโครงการขยะในครัวเรือน มีระยะเวลา 5 เดือนในการให้คะแนน (สร้างถ่อ)     เน้นเรื่อง การจัดการขยะ เนื่องจากอบต. เจอปัญหาการจัดการขยะในหมู่บ้าน จึงมีการจัดการขยะโดยประชาชนในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัด คือ 1. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2.คนในหมู่บ้านรู้จักการจัดการขยะภายในครัวเรือนมากขึ้น 3. มีการจัดการน้ำขังในหมู่บ้านหรือครัวเรือนโดยตนเอง     เรื่องการส่งเสริมผู้สูงอายุ เริ่มจากการสำรวจข้อมูลของผู้ที่เกษียณราชการแล้ว จึงมีการส่งเสริมบทบาทผู้สูงอายุและมีผลตอบรับดีจึงมีถึง 6 ชมรม ทั้งนี้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนแต่ละชมรม เพื่อหาข้อต่างแต่ละชมรม นอกจากนี้มีการส่งเสริมการแยกขยะให้แก่ผู้สูงอายุ โดยการแยกขยะและแยกและล้างถุงพลาสติก โดยมีแกนนำคือผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุในชมรม มีการให้กำลังใจกัน ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย สอดคล้องให้เห็นถึงการจัดการด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้รับการสนับสนุนจากคนรุ่งใหม่เพื่อขับเคลื่อนชมรมและการส่งเสริมผู้สูงอายุต่อไป     กิจกรรมทางกาย มีการให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายตามกำลังของตน และมีกลุ่มอสม เข้ามาขับเคลื่อนให้เกิดผลที่ง่ายขึ้นโดยการผลิตเครื่องออกกำลังกายให้แก่ผลุ่มผู้สูงอายุให้ออกกำลังเหมาะสมตามวัย และสภาพร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการทำตารางเดนและกะลามะพร้าวมาปรับใช้ในการออกกำลังกายส่งเสริมด้านการทรงตัวของผู้สูงอายุโดยกิจกรรมทางกายในพื้นที่มีการนำการรำมาปรับใช้ในการทำกิจกรรมทางกายในทุกเดือน (หัวดอน) เป็นตำบลแรกที่ทำธรรมนูญตำบล และมีการทำเรื่องการสำรวจ PM 2.5 แต่เรื่องที่เด่นคือเรื่องผู้สูงอายุ (มีการขอข้อมูลเพิ่มเติมหลังประชุม)@19 ก.ค. 67 10:50
  • งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

    ประชุมวางแผนการทำสื่อนำเสนอบทเรียนที่ดี : -  อยากให้นัดทีมประชุม  เพื่อลงรายเอียด เช่น ต้องการข้อมูลประมาณไหนที่จะนำเสนอ - นัดประชุมกับทีมพื้นที่ เพื่อประเมินพื้นที่ที่น่าสนใจ แบบเฉพาะเจาะจง -  หารูปธรรมเชิงคุณถาพ - หาเคสที่ทให้สภาพชีวิคคนในเขื่อนใน รอบนี้ทีการจัดเก็บข้อมูลก่อน@19 ก.ค. 67 10:47
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

    ประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์” : • เกิดพื้นที่พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับตำบลและอำเภอ 32 ตำบล 5 อำเภอ • ทีมพี่เลี้ยงระดับตำบลและอำเภอ ได้รับการสนับสนุน ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์@19 ก.ค. 67 09:44
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

    การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร : • ผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบล และกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฯ         โดย นายพันธ์ทอง  จันทร์สว่าง  สสอ.คำเขื่อนแก้ว ได้รายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการ จากการนำประเด็นไปสู่แผนของ พชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) ในที่ประชุมรับทราบ และเสนอแนะร่วมกัน คือ อำเภอคำเขื่อนแก้วได้ดำเนินงานการพัฒนาแผนงานกองทุนในระบบเว็บไซต์มาอย่างต่อเนื่อง หลายปี ซึ่งส่วนหนึ่งในการดำเนินงานครั้งนี้ คือพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ของเราได้รับการพัฒนาศักยภาพจากทางโครงการ โดย ในปี 2566 กองทุนในอำเภอคำเขื่อนแก้วเป็น อำเภอที่มีประสิทธิภาพการใช้เงินของกองทุน เป็นอันดับที่ 1 ในจังหวัดยโสธร ในขณะเดียวกัน จังหวัดยโสธรเป้นอันดับ 1 ของเขต และในเขต 10 เป็นอันดับ 1 ของประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่พี่เลี้ยงกองทุนตำบลของเราได้ทุ่มเท จากการที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จากทางพี่เลี้ยงโครงการ ทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้มีการชื่นชม และมีแผนจะมีเวทีในการแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนงานกัน โดย ในปี 2567 นี้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ประกาศนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ว่า 1. ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 และนโยบาย/แนวทางการขับเคลื่อนระบบสุขภาพจังหวัดยโสธร ให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน 2. มุ่งเน้นพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง ประกอบด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) พัฒนาเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ และสถานบริการผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ 3. พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเขียวชาญและทำงานอย่างมีความสุข 4. มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ 5. ขับเคลื่อนการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส มีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยืดหลักธรรมาภิบาล ภายใต้วิสัยทัศน์ เครือข่ายสุขภาพอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ที่มีเอกภาพและคุณภาพ เพื่อประชาชนโดยยึดหลักธรรมาภิบาล • จากกระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 7 ตำบล ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการ ในข้อ 4 คือ พี่เลี้ยงมีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ของกองทุนฯ         โดย จากกระบวนการแลกเปลี่ยน พี่เลี้ยงกองทุนตำบลทั้ง 7 ตำบลในอำเภอคำเขื่อนแก้ว พี่เลี้ยงได้ทบทวนการพัฒนาแผนงาน ในปี 2566 และการพัฒนาโครงการรวมถึงการร่วมกันประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในระดับพื้นที่ การทบทวนการเรียนรู้การใช้งานระบบเว็บไซต์ และปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ วิทยากรได้ช่วยพื้นที่พัฒนาแผนงาน ปี 2567 ในระบบเว็บไซต์ ดังนี้ ตำบลโพนทัน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 6 แผนงาน แต่ยังไม่มีการพัฒนาโครงการในปี 2566 ในปี 2567 ยังอยู่ในช่วงของการเก็บข้อมูล ยังไม่เกิดแผนงาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบกองทุน และระบบเว็บไซต์มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบางส่วน ทำให้ยังไม่ค่อยเข้าใจระบบเท่าที่ควร วิทยากร และพี่เลี้ยงได้ช่วยไขความกระจ่าง ให้เข้าใจการใช้งานมากขึ้น ตำบลทุ่งมน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 9 แผนงาน แต่ยังไม่มีการพัฒนาโครงการในปี 2566 ในปี 2567 ยังอยู่ในช่วงของการเก็บข้อมูล ยังไม่เกิดแผนงาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบกองทุน และระบบเว็บไซต์มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบางส่วน ทำให้ยังไม่ค่อยเข้าใจระบบเท่าที่ควร วิทยากร และพี่เลี้ยงได้ช่วยไขความกระจ่าง ให้เข้าใจการใช้งานมากขึ้น ตำบลสงเปือย ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 19 แผนงาน โดยสอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ประเด็น ได้รับอนุมัติดำเนินโครงการ 9 โครงการ ในปี 2566 ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา เป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และการมีกิจกรรมทางกาย ประชาชนตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และในปี 2567 นี้ ได้มีการพัฒนาแผนงานทั้งสิ้น 15 แผนงาน จากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ ที่ได้เก็บมาในระบบเว็บไซต์ ตำบลดงแคนใหญ่ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 15 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น โดยได้มีการพัฒนาโครงการ 1 โครงการ คือ โครงการความปลอดภัยทางถนน อุปสรรคที่พบในการดำเนินงานครั้งนี้คือ เรารู้สึกว่า มันเป็นภาระที่มากไปที่เราต้องกรอกข้อมูลลงในเว็บไซต์ 2 เว็บไซต์ คือ เว็บไซต์ของ สปสช. เอง และเว็บไซต์ของโครงการ ทางวิทยากรได้ชี้แจงให้เข้าใจถึงจุดประสงค์ และเสริมพลังใจ ทำให้พื้นที่เกิดความเข้าใจ และในปี 2567 ได้มีการพัฒนาแผนงานจากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ ไปทั้งหมด จำนวน 10 แผนงาน เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการต่อไป ต.กู่จาน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 10 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้รับการอนุมัติ 6 โครงการ ได้รับการติดตามโครงการแล้ว 2 โครงการ จากที่ได้ดำเนินงานในกองทุน ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน จากการสังเกตในพื้นที่ ผู้ปกครอง หรือกลุ่มเป้ามายที่เข้าร่วมในโครงการ มีความรู้เรื่องกฎจราจรมากขึ้น มีการสวมหมวกกันน็อคมากขึ้น อุบัติเหตุลดลง จากการสำรวจในรพื้นที่ รพ.สต. ปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาพบว่าเราขาดแคลนบุคลากรในการขับเคลื่อนงาน มีการปรับเปลี่ยนงานบ่อย ทำให้ขาดความต่อเนื่อง โครงการที่เสนอเข้ามาก็ไม่ค่อยได้ตรงกับแผน อาจจะต้องมีการพัฒนาผู้เสนอโครงการ มากขึ้น ในส่วนของระบบเว็บไซต์ อยากให้มีการพัฒนาให้เป็นเว็บไซต์เดียวรวมกันไม่ต้องทำหลายเว็บไซต์และ ออโต้มากขึ้น ในเรื่องของการรายงานผลต่าง ๆ  ในสถานการณ์ข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ ในปี 2567 ได้มีการพัฒนาแผนงานทั้งสิ้น 10 แผนงาน ตำบลนาคำ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 15 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น กำลังพัฒนาอยู่ 10 โครงการ ยังไม่ได้รับการอนุมัติในระบบ ได้เรียนรู้การพัฒนาโครงการในระบบ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ในปี 2567 วิทยากรได้ช่วยให้คำแนะนำ และพัฒนาแผนงาน ได้ 11 แผนงาน ตำบลเหล่าไฮ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 11 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น กำลังพัฒนา โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเเม่เเละเด็กมหัศจรรย์ อยู่แต่ยังไม่ได้เสนอ ได้เรียนรู้การพัฒนาโครงการในระบบ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ในปี 2567 วิทยากรได้ช่วยให้คำแนะนำ และพัฒนาแผนงาน ได้ 10 แผนงาน จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ค่อนข้างมีปัญหาเรื่องโปรแกรมเว็บไซต์ ที่ใช้งานยุ่งยากซับซ้อน จากธรรมชาติของหน่วยงานราชการ มีการปรับเปลี่ยนบุคลากร และความรับผิดชอบงานบ่อย ทำให้ คนใหม่ที่มาเรียนรู้ ค่อนข้างต้องใช้เวลาเรียนรู้นาน การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง อาจจะต้องพัมนาระบบเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายมากกว่านี้@19 ก.ค. 67 08:58
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

    การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์”อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี : • จากการดำเนินงานในเวที พบปัญหาอุปสรรค คือ สถานที่อยู่ในช่วงการปรับปรุงอาคาร และเจ้าหน้าที่ติดภารกิจด่วนทำให้กระบวนการในเวทีเกิดความล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้  แต่ได้มีการปรับแผน เป็นการชวนพี่เลี้ยงตำบลทบทวนการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ และการกรอกข้อมูลลงในระบบเว็บไซต์ เนื่องจากพี่เลี้ยงยังไม่ต้องกรอกข้อมูลในระบบ จากนั้นได้เติมเต็มข้อมูลร่วมกัน ทำให้พี่เลี้ยงมีความเข้าใจมากขึ้น และได้ทบทวนการใช้งานระบบเว็บไซต์ และแนวทางการนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่มาพัฒนาแผนงานในปี 2567 • จากกระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 5 ตำบล ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการ ในข้อ 4 คือ พี่เลี้ยงมีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ของกองทุนฯ         โดย พี่เลี้ยงได้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงการใช้งานในระบบเว็บไซต์ และ สามารถนำข้อมูลสถานการณ์ มาพัฒนาแผน ปี 2567 ได้ดังนี้ - ตำบลเหล่าบก จากการทบทวนการพัฒนาแผนงานในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงาน 15 แผนงาน ได้รับการอนุมัติ 12 โครงการ ในปี 2567 ได้พัฒนาแผนงาน 12 แผนงาน ซึ่งครอบคลุมทั้ง 8 ประเด็น  เป้าหมายยุทธศาสตร์ การพัฒนาสุขภาวะ ซึ่งพื้นที่ตำบลเหล่าบกเป็นพื้นที่ที่มีความเข้าใจระบบ และแนวทางการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่มาพัฒนาเป็นแผนงาน เลยให้พี่เลี้ยงตำบลเหล่าบกช่วยดูแล และแนะนำพี่เลี้ยงกองทุนอื่น ๆ ร่วมด้วย - ตำบลดุมใหญ่ ในปี 2566 พัฒนาแผนงานได้ 13 แผนงาน วิทยากรได้ชวนทบทวน ถึงการพัฒนาแผนที่สอดคล้องกับข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ และได้ทดลองพัฒนาแผนงานในปี 2567 ได้ 1 แผน เนื่องจากการเก็บข้อมูลในพื้นที่ยังไม่สมบูรณ์ - ตำบลหนองเหล่า ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งหมด 11 แผนงาน พัฒนาโครงการ ไป 4 โครงการ แต่ยังไม่ได้ยื่นเสนอ วิทยากรได้ชวนทบทวน และแนะนำการเก็บข้อมูลสถานการณ์ในระบบเว็บไซต์ ทำให้พีเลี้ยงเข้าใจมากขึ้น และมีแผนในการเก็บข้อมูลต่อไป - ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งหมด 11 แผนงาน ดำเนินโครงการอยู่ 1 โครงการ อีก 3 โครงการกำลังพัฒนา วิทยากรได้ชวนทบทวน และแนะนำการเก็บข้อมูลสถานการณ์ในระบบเว็บไซต์ ทำให้พีเลี้ยงเข้าใจมากขึ้น และมีแผนในการเก็บข้อมูลต่อไป - ตำบลยางโยภาพ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งหมด 6 แผนงาน ได้รับอนุมัติ 1 โครงการ วิทยากรได้ชวนทบทวน และแนะนำการเก็บข้อมูลสถานการณ์ในระบบเว็บไซต์ ทำให้พีเลี้ยงเข้าใจมากขึ้น และมีแผนในการเก็บข้อมูลต่อไป จากการทำเนินงาน และแลกเปลี่ยนพบว่า พี่เลี้ยงกองทุนตำบล อำเภอม่วงสามสิบยังขาดความเข้าใจในการเก็บข้อมูลในระบบเว็บไซต์ และการดึงเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ มาพัฒนาแผนงาน วิทยากรและคุณจินดาวรรณ  รามทอง คณะทำงานโครงการ จากสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลาฯ จึงได้ช่วยเติมเต็มข้อมูลสร้างความเข้าใจ และชวนวางแผนในการเก็บข้อมูล และการนำข้อมูลมาพัฒนาแผน@18 ก.ค. 67 19:43
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

    การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์”อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี : • ผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบล และกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฯ         โดย นายพีรพล เหนือเกาะหวาย ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน  ได้รายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการ จากการนำประเด็นไปสู่แผนของ พชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) ในที่ประชุมรับทราบ และเสนอแนะร่วมกัน คือ ที่ผ่านมาได้มีการประชุม ณ ที่ว่าการอำเภอ โดยมีนายอำเภอเขื่องในเป็นประธาน โดย ท่านก็ได้มีการกล่าวถึง และขอความร่วมมือไปยัง อปท. ทุก อปท. ในอำเภอได้รับทราบ ถึงโครงการที่ดำเนินการอยู่ ทุกพื้นที่ ก็ให้การตอบรับถึงแนวนโยบายที่จะร่วมดำเนินการในครั้งนี้ เรามีความพยายามที่จะกับเคลื่อนกองทุนต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ใช้รูปแบบ การพัฒนาแผนงาน ในระบบเว็บไซต์เป็นตัวอย่าง ซึ่งที่ผ่านมา หลายกองทุนก็ได้เข้าไปติดตามดู หลายตัวอย่าง ที่มันสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง สำหรับวันนี้เอง สำหรับ ใน 8 ตำบลที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ถือว่าเป็นตำบลต้นแบบ ถือ ว่าเป็นแกนนำ ในการที่นำพากองทุนอื่น ๆ ได้ขับเคลื่อนในการเขียนโครงการ ซึ่งแนวทางทางในปี 2567 – 2568 ก็ได้มีแนวทางตามที่ทีมพี่เลี้ยงโครงการได้พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงตำบล ซึ่งทางเราก็จะมีการขยายให้ครอบคลุมทั้ง 18 อปท. ในรูปแบบการดำเนินการที่พื้นที่ต้นแบบของเราได้ดำเนินการ ในพื้นที่อำเภอเขื่องใน ตามที่ในโครงการ ได้กำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การพัฒนาสุขภาวะไว้ 8 ประเด็น เราก็นำมาเป็นประเด็นหลักในการแก้ไขปัญหา เพราะถือว่า ในอำเภอเขื่องในเองก็เป้นพื้นที่ที่มีปัญหาตามประเด็นทั้ง 8 ประเด็น ซึ่งในเดือน มิถุนายน ก็จะได้มีการประชุมพิจารณาทบทวนประเด็นการพัฒนา พชอ. ที่จะมีการขับเคลื่อนในปี 2567 – 2568 ก็จะได้นำเอาข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่ พี่เลี้ยงกองทุนตำบลที่รายงานในระบบเว็บไซต์ นำมาวิเคราะห์ถึงประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นของ พชอ. ต่อไป • จากกระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 8 ตำบล ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการ ในข้อ 4 คือ พี่เลี้ยงมีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ของกองทุนฯ         โดย จากกระบวนการแลกเปลี่ยน พี่เลี้ยงกองทุนตำบลทั้ง 8 ตำบลในอำเภอเขื่องใน พี่เลี้ยงได้ชวนทบทวนการพัฒนาแผนงาน ในปี 2566 และการพัฒนาโครงการรวมถึงการร่วมกันประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในระดับพื้นที่ การทบทวนการเรียนรู้การใช้งานระบบเว็บไซต์ และปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน ซึ่งได้มีการอธิบายการใช้งานระบบเว็บไซต์ การกล่าวถึงความสำคัญของข้อมูลสถานการณ์ที่จะนำมาพัฒนาแผนงาน เพื่อแก้ไขปัญหา ให้ตรงจุดตามสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขขึ้น นอกจากนี้ วิทยากรได้ช่วยพื้นที่พัฒนาแผนงาน ปี 2567 ในระบบเว็บไซต์ ดังนี้ ตำบลสร้างถ่อ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 13 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้รับการอนุมัติดำเนินการ 22 โครงการ โดยการดำเนินงานที่ผ่านมาในส่วนของการใช้งานในระบบเว็บไซต์ไม่ได้พบปัญหาอะไร การเก็บข้อมูล ก็เก็บผ่านระบบเลย คณะทำงานกองทุนมีความตระหนักในการใช้ข้อมูลมาจัดทำแผนงานโครงการ เพื่อให้มันสอดคล้อมและแก้ไขตามสถานการณ์ปัญหาได้ตรงจุด และในปี 2567 – 2568  ได้มีการพัฒนาแผนงานสุขภาพปี 2567 10 แผนงาน ปี 2568 10 แผนงาน ตำบลชีทวน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 12 แผนงาน กำลังพัฒนาอยู่ 1 โครงการ ซึ่งเสนอไม่ทัน ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ยังไม่เรียบร้อยดี ทำให้ยังไม่สามารถพัฒนาแผนงานในปี 2567 ได้ ตำบลโนนรัง ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 13 แผนงาน พัฒนาโครงการ 4 โครงการ แต่ยังไม่ได้ยื่นเสนอ ในปี 2567 การเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพยังไม่ได้เรียบร้อยสมบูรณ์ ยังไม่ได้มีการพัฒนาแผนงาน แต่ได้มีการพัฒนาโครงการอยู่ 3 โครงการ ยังคงต้องปรับ และเรียนรู้การใช้งานระบบ และพัฒนาศักภาพพี่เลี้ยง ตำบลบ้านไทย ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 10 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนาโครงการไปทั้งสิ้น 4 โครงการ แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ส่วนในปี 2567 ได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นจากวิทยากร และได้พัฒนาแผนงานทั้งสิ้น 5 แผนงาน จากการนำเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพมาพัฒนาแผน ตำบลยางขี้นก ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 13 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น โดยแผนงานในปี 2566 พัฒนาโครงการ 9 โครงการ ได้รับการอนุมัติ 2 โครงการ สำหรับในปี 2567 นี้ ได้มีการพัฒนาแผนงาน 9 แผนงาน ตำบลหนองเหล่า ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 14 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนา 10 โครงการ อนุมัติ 8 โครงการ  ในปี 2567 พัฒนาแผนงาน 12 แผนงาน ครอบคลุมประเด็นยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ตำบลหัวดอน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 10 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนาโครงการ แต่ไม่ได้เสนอ และในปี 2567 นี้ วิทยากรได้มีการทดลองพาพี่เลี้ยงพัฒนาแผนงาน อยู่ 2 แผนงาน เนื่องจากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ยังไม่สมบูรณ์ ตำบลสหธาตุ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 17 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนาโครงการ แต่ไม่ได้เสนอ และในปี 2567 นี้ วิทยากรได้มีการทดลองพาพี่เลี้ยงพัฒนาแผนงาน อยู่ 9 แผนงาน เนื่องจากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ยังไม่สมบูรณ์         จากการดำเนินงานในเวทีพบว่าพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ทั้ง 8 ตำบลยังมีการพัฒนาโครงการที่ขาดการใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ คณะวิทยากร พี่เลี้ยงระดับเขต และคุณจินดาวรรณ  รามทอง คณะทำงานโครงการ จากสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลาฯ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับพี่เลี้ยงตำบล ในการเก็บข้อมูล และการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์@18 ก.ค. 67 19:36
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

    การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ : • ผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบล และกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฯ         โดย นายธีรศักดิ์  แย้มศรี สาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์ ได้รายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการ จากการนำประเด็นไปสู่แผนของ พชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) ในที่ประชุมรับทราบ และเสนอแนะร่วมกัน คือ แผนงานกองทุน ปี 2566 ที่ได้ดำเนินการ มีทั้งหมด 7 แห่ง เขียนแผนลงในโปรแกรมเว็บไซต์ ทั้งสิ้น 84 แผน มีโครงการที่เสนอ 47 โครงการ และได้มีการติดตาม 35 โครงการ จำนวนงบประมาณ 1,126,363 บาท โดยแผนงานที่ได้มีการดำเนินงานมากที่สุด คือ แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด ซึ่งได้ดำเนินการไปทั้งสิ้น 9 แผน รองลงมาคือแผนงานกิจกรรมทางการที่ได้มีการดำเนินงานไปทั้งหมด 7 แผนงาน และแผนงานอื่นๆ ตามลำดับ ส่วนแผนงานที่ยังมีการดำเนินการที่น้อยอยู่นั้นก็คือ แผนงานยาสูบ กับสุรา ขณะนี้ในการดำเนินงานในพื้นที่เองที่ได้รับการขอความร่วมมือมาก็ยังไม่ได้ดำเนินงาน เช่น สุขศาลา Health Station และพัฒนาการเด็ก ที่หลายพื้นที่ยังไม่ได้ดำเนินการ และอีกหลาย ๆ เรื่อง อยากจะขอความร่วมมือ พื้นที่ตำบลอื่น ๆ ช่วยเพิ่มเติมแผนงานเหล่านี้เข้าไปด้วย แล้วปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาที่เราค้นพบคือ เรื่องการปัญหาการใช้งานระบบ โปรแกรมเว็บไซต์ยังค่อนข้างเป็นปัญหากับพื้นที่เนื่องจาก ระบบค่อนข้างมีความซับซ้อน และยังใหม่กับพื้นที่ แต่ก็ได้มีการพัฒนา จากพี่เลี้ยงระดับเขต และทางคณะทำงานของโครงการที่มาพัฒนาให้ อีก 1 เรื่อง คือ ปัญหาจากการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ อาจจะต้องมาดูและวิเคราะห์กันอีกครั้ง ในส่วนของผลงานเด่น ของอำเภอกันทรลักษ์ ก็จะเป็นเรื่องของผู้สูงอายุไร้รอยต่อ ก็จะมีการรายงานในที่ประชุมท้องถิ่นต่อไป • จากกระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 7 ตำบล ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการ ในข้อ 4 คือ พี่เลี้ยงมีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ของกองทุนฯ         โดย จากกระบวนการแลกเปลี่ยน พี่เลี้ยงกองทุนตำบลทั้ง 7 ตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ พี่เลี้ยงได้ทบทวนการพัฒนาแผนงาน ในปี 2566 และการพัฒนาโครงการรวมถึงการร่วมกันประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในระดับพื้นที่ การทบทวนการเรียนรู้การใช้งานระบบเว็บไซต์ และปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ วิทยากรได้ช่วยพื้นที่พัฒนาแผนงาน ปี 2567 ในระบบเว็บไซต์ ดังนี้ ตำบลโนนสำราญ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 11 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้รับการอนุมัติดำเนินการ 3 โครงการ โดยเกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชน คือ ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลดการก่อให้เกิดขยะ เกิดการจัดการขยะในครัวเรือน ลดการเผา และ เกิดการควบคุมดูแลตนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออก จาการดำเนินงานได้เรียนรู้การใช้งานข้อมูลสถานการณ์สุขภาพมาออกแบบ กิจกรรม และตัวชี้วัด ยังคงพบปัญหาอุปสรรคอยู่ คือ ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณได้ทุกแผนงาน และภาระงานซ้ำซ้อนจาการใช้งานระบบเว็บไซต์ในโครงการ กับระบบเว็บไซต์ในกองทุนของ สปสช. ส่วนในปี 2567 ได้มีการพัฒนาแผนงานสุขภาพ 10 แผนงาน ต.สวนกล้วย ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 11 แผนงาน แต่ได้รับการอนุมัติ 1 แผนงานโครงการ คือ แผนงานความปลอดภัยทางถนน พื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบ และมีการเปลี่ยนแปลงพี่เลี้ยงบ่อยครั้ง ทำให้การทำเนินงานไม่ต่อเนื่อง แต่สำหรับในปี 2567 ได้มีการพัฒนาแผนงาน จำนวน 10 แผนงาน ต.ตระกาจ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 5 แผนงาน โดยสอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 4 ประเด็น คือ แผนงาน การจัดการระบบอาหาร มลพิษทางอากาศ การจัดการขยะ และปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ ได้รับการอนุมัติ 2 โครงการ คือ แผนงานการจัดการขยะ และแผนงานผู้สูงอายุ จากการพัฒนาโครงการ ในการจัดการขยะ ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม 12 หมู่บ้าน ในการจัดการ ขยะในหมู่บ้านตนเอง ลดการใช้ขยะ สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น ในส่วนแผนงานของผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุ สามารถดูแลตัวเองได้เบื้องต้น และมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจากการที่ได้เข้ามาร่วมในกิจกรรม จากการดำเนินงานพัฒนาแผนในปี 2566 กองทุนมีความเข้าใจมากขึ้นในการนำข้อมูลสุขภาพมาวิเคราะห์และใช้ในการพัฒนาแผนงานในระบบเว็บไซต์ ในปี 2567 มีการพัฒนาแผนทั้งสิ้น 8 แผนงาน ทต.น้ำอ้อม ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 10 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนาโครงการไปทั้งสิ้น 3 โครงการ ใน 3 แผนงาน คือ แผนงานยาเสพติด การป้องกันโรคระบาด และการจัดการขยะ ปัญหาที่พบ คือ คณะทำงานพี่เลี้ยงเปลี่ยนใหม่ ทำให้ยังขาดข้อมูลอื่น มานำเสนอแลกเปลี่ยน เบื้องต้นของ ปี 2566 ส่วนในปี 2567 ได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นจากวิทยากร และได้พัฒนาแผนงานทั้งสิ้น 8 แผนงาน จากการนำเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพมาพัฒนาแผน ต.ขนุน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 9 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น โดยแผนงานในปี 2566 นำเข้าเสนอกองทุนไม่ทัน โดยจะนำเข้าเสนอกองทุนในปี 2567 ปัจจุบันได้นำแผนงานขยะไปจัดทำข้อบัญญัติรายจ่าย อบต.ขนุน 60,000 บาท และแผนงานสุขภาพอุบัติใหม่ 100,000 บาท สถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ตอนนี้จากการขับเคลื่อนงานของ อบต. ในประเด็นการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความตระหนัก และดูแลสภาพแวดล้อมตัวเองมากขึ้น เกิดการรณรงค์ โดยการประกวดหมู่บ้านปลอดยุงลาย ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กองทุนมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย กลุ่มประชาชนที่เสนอโครงการเข้ามาไม่สอดคล้องกับข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ อาจจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพกลุ่มประชาชนที่เสนอโครงการในกองทุนเพิ่มเติม สำหรับในปี 2567 นี้ ยังไม่ได้มีการพัฒนาแผนงานโครงการ อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ ต.รุง ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 11 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น กำลังพัฒนาอยู่ 2 โครงการ ยังไม่ได้รับการอนุมัติในระบบ ได้เรียนรู้การพัฒนาโครงการในระบบ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ในปี 2567 วิทยากรได้ช่วยให้คำแนะนำ และพัฒนาแผนงาน ได้ 10 แผนงาน ต.กุดเสลา ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 15 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้รับการอนุมัติ 10 แผน อนุมัติโครงการในระบบ 22 โครงการ จากการดำเนินงานโครงการประชาชนมีความตระหนักในเรื่องสุขภาพ และไม่มีความประมาทในการดำรงชีวิตประจำวัน คณะทำงานกองทุนตำบลได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ได้เรียนรู้และแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ปัญหาที่พบคือ บุคลากรมีน้อย แบ่งงานตามความสามารถค่อนข้างยาก@18 ก.ค. 67 19:17
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

    การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ : • ผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบล และกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฯ         โดย นางสาวยุพยงค์  พาหา สาธารณสุขอำเภอโนนคูณ ได้รายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการ จากการนำประเด็นไปสู่แผนของ พชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) ในที่ประชุมรับทราบ และเสนอแนะร่วมกัน คือ ในส่วนท้องถิ่น ในอำเภอโนนคูณนั้น มีทุก อบต.ให้ความสนใจ ในโครงการ ที่จะมาช่วยนบริหารจัดการ การบริหารงานกองทุน ซึ่งที่ผ่านมา การดำเนินงานประเด็นสุขภาพ อาจยังไม่ครอบคลุม กับ ประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้ง 8 ประเด็นที่ทางโครงการได้กำหนดเป้าหมายไว้ ในฐานะที่ตนเป็นพี่เลี้ยงกองทุน ทั้ง 5 กองทุนในอำเภอโนนคูณ ก็จะมีการร่วมประชุม และติดตามโครงการที่เกี่ยวข้องของกองทุนทุกแห่ง และได้มีการตรวจสอบการรายงานการเขียนข้อเสนอโครงการในกองทุน ว่ามีแผนงานที่สอดคล้องกันกับแผนพัฒนาสุขภาพในระดับตำบล หรือไม่ เมื่อ ช่วงเช้าวันนี้ พชอ.โนนคูณ นำโดยนายอำเภอ ได้มีการนำประเด็นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอโนนคูณ ภายใต้วิสัยทัศน์ 15 ดี ศรีโนนคูณ โดยมีเป้าหมายการดำเนินโครงการพัฒนาสุขภาวะประชาชน 15 โครงการ คือ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน สู่ 2500 วัน, การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน, การป้องกันอุบัติเหตุการจมน้ำในเด็ก, การป้องกันปัญหายาเสพติด และการส่งเสริม โครงการ To be number one, โครงการเบาหวานความดันเพื่อชลอไตเสื่อม, โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ, โครงการอำเภอปลอดโรคพิษสุนัขบ้า, โครงการการดูแลระยะยาว(Long–term care) ผู้ป่วยผู้สูงอายุ, โครงการเกษตรปลอดภัย, โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน, โครงการการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นและวัฒนธรรม, โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม, โครงการบริหารจัดการการขยะ, โครงการการจัดการสิ่งรบกวนจากการประกอบอาชีพ, โครงการบริหารจัดการน้ำ และโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดโรคร้อน ซึ่งโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับระบบสุขภาพจะมีการถ่ายทอดต่อไปยัง รพ.สต. และกองทุนตำบลให้ได้ดำเนินการต่อไป ซึ่งหากจะให้มีความครอบคลุม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ อาจจะต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการเพิ่มเติมจากทางโครงการต่อไป ทางเรายินดีให้ความร่วมมือ • จากกระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 5 ตำบล ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการ ในข้อ 4 คือ พี่เลี้ยงมีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ของกองทุนฯ         โดย จากกระบวนการแลกเปลี่ยน พี่เลี้ยงกองทุนตำบลทั้ง 5 ตำบลในอำเภอโนนคูณ พี่เลี้ยงได้ทบทวนการพัฒนาแผนงาน ในปี 2566 และการพัฒนาโครงการรวมถึงการร่วมกันประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในระดับพื้นที่ การทบทวนการเรียนรู้การใช้งานระบบเว็บไซต์ และปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน ยังพบว่าพี่เลี้ยงยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบเว็บไซต์ และการนำข้อมูลมาจัดทำแผน ทางคณะวิทยากรจงได้มีการปรับแผนกระบวนการ ชวนพื้นที่ทบทวนการใช้งานระบบเว็บไซต์ และอธิบาย ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพให้พี่เลี้ยงในพื้นที่ ได้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ วิทยากรได้ช่วยพื้นที่พัฒนาแผนงาน ปี 2567 ในระบบเว็บไซต์ ทำให้พี่เลี้ยงเกิดความเข้าใจเพิ่มเติมมากขึ้น และสามารถพัฒนาแผนสุขภาพในปี 2567 ได้ดังนี้ ตำบลเหล่ากวางพัฒนาแผนงานได้ 27 แผนงาน ตำบลโนนค้อพัฒนาแผนงานได้ 10 แผนงาน ตำบลหนองกุงพัฒนาแผนงานได้ 10 แผนงาน ตำบลโพธิ์ พัฒนาแผนงานได้ 10 แผนงาน โดย มีแผนงานที่ครอบคลุมสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ ที่ได้มีการเก็บข้อมูล และครอบคลุมทั้ง 8 ประเด็น เป้าหมายยุทธศาสตร์ การพัฒนาสุขภาวะของโครงการ@18 ก.ค. 67 19:04
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ตำบล ปี 2567 ของอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี และ link: https://zoom.us/j/9019029104 : ปรับแก้เพิ่มเติมโครงการให้สมบูรณ์ที่จะขอรับงบประมาณสนับสนุนไปดำเนินกิจกรรม ให้แล้วเสร็จพร้อมทั้งกรอกลงในระบบเว็บให้เรียบร้อยภายในวันที 29กค67 คณะทีมงานจากม.สงขลาให้ข้อเสนอแนะแก้ไข วันที่ 30 กค67 ทางคณะทำงานเขตจะนำข้อเสนอแนะมาช่วยปรับแก้ร่วมกับพื้นที่ให้สมบูรณ์ ในวันที่ 30 ก.ค.67 อ.หัวตะพาน และ อ.เขื่องใน วันที่ 1 ส.ค. 67 วันที่ 31 ก.ค. 67 คณะทำงานเขตจะลงพื้นที่อำเภอเขื่องในเพื่อช่วยปรับแก้โครงการให้สมบูรณ์ตามกรรมการให้ข้อเสนอแนะ วันที่ 1 ส.ค. 67 คณะทำงานเขตจะลงพื้นที่อำเภอเขื่องในเพื่อช่วยปรับแก้โครงการให้สมบูรณ์ตามกรรมการให้ข้อเสนอแนะ ติดตามโครงการในเว็บ@18 ก.ค. 67 17:22
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9

    ประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานและทิศทางการพัฒนากองทุนตำบล : บทเรียนการพัฒนาขีดความสามารถคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น     1. การประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการกองทุน และสถานการณ์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน ในประเด็น ดังนี้     1.1 ความเข้าใจกับคำว่า สุขภาพ คือ สุข+ภาวะ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุข สถานการณ์สุขภาพชุมชนและปัญหาสุขภาพในชุมชนมาจากปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ สารเสพติด/อุบัติเหตุ/มลพิษสิ่งแวดล้อม/โรคอุบัติใหม่/สุขภาพจิต) และโรคเรื้อรัง (อาหาร/กิจกรรมทางกาย)     1.2 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้แก่ ส่งเสริมให้กรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในระบบสุขภาพชุมชน ทำให้กองทุนฯ มีแผนการดำเนินงาน รู้สถานการณ์และวางเป้าหมายได้ มีโครงการที่มีคุณภาพสอดคล้องกับแผน มีการติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงแผน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนและสอบถามเป้าหมายการดำเนินโครงการกับการหนุนเสริมการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566             1.3 ให้ข้อมูลการดำเนินงานของกองทุนฯ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของ สปสช.เขต ให้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัด 2 กลุ่ม รพ.สต.ที่ถ่ายโอน ยังได้รับงบประมาณสมทบจาก สปสช.เหมือนเดิม โครงการ สสส.จะเข้ามาหนุนเสริมพัฒนางานกองทุน ให้เกิดโครงการที่มีคุณภาพและพัฒนานวัตกรรมของงานกองทุนได้มากขึ้น ระเบียบเกี่ยวกับกองทุนฯที่ปรับใหม่     1.4 ทั้ง 5 กองทุนต้องมีการขออนุมัติแผนการใช้จ่ายงบกองทุน เมื่อ สปสช.อนุมัติแผนแล้วจึงจะโอนงบสมทบและแผนกองทุนต้องเอาปัญหาพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยต้องมีความเชื่อมโยงกับปัญหาของชุมชน(ใช้ข้อมูลจากหน่วยบริการ รพ.สต. และใช้กระบวนการประชาคม นำข้อมูลปัญหาสุขภาพ มาเรียงลำดับความสำคัญ) เพื่อมุ่งให้เกิดการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนได้จริง ที่สำคัญกองทุนต้องไม่ให้มีเงินค้างเกิน 2 เท่า โดยเพิ่มหมวดที่ 6 ให้จัดสรรงบในการซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ได้ (ผู้ป่วยเฉพาะราย) หลังเดือนมีนาคมของทุกปี กองทุนสามารถของบสมทบจาก สปสช.เพิ่มได้ โดยกองทุนต้องสมทบเพิ่ม 100%     1.5 เป้าหมายและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการเข้าร่วมโครงการ คือ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พัฒนาศักยภาพตนเอง และการเก็บข้อมูลท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนา ได้นำข้อมูลไปพัฒนาเขียนโครงการ เพื่อตอบสนองท้องถิ่น ตอบโจทย์ตัวชี้วัด สอดคล้องกับความต้องการของแหล่งทุน     2. การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะทำงานได้วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการกลไกสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ     3. ฝึกปฏิบัติการเขียน คณะผู้ดำเนินโครงการได้ฝึกอบรมปฏิบัติการให้คณะกรรมการทั้ง 5 กองทุน             3.1 ผู้เขียนโครงการจำเป็นต้องฟังเสียงสะท้อนจากกลุ่มผู้ส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวกับประเด็นการโครงว่า "มีมุมมองอย่างไร มีศักยภาพอะไร มีปัญหาข้อจำกัดอะไร" ที่ต้องใช้การโครงการเข้ามาช่วยแก้ปัญหา           3.2 จัดทำข้อเสนอโครงการต่อแหล่งทุน โดยทบทวนแผนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง (ฉบับปัจจุบัน)           3.3 เขียนวัตถุประสงค์ โดยนำชื่อโครงการมาแยกย่อยเป็นข้อ ๆ  เช่น เพื่อวิเคราะห์ เพื่อพัฒนา เพื่อสร้าง เพื่อเพิ่ม เป็นต้น เพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมระหว่างวัตถุประสงค์ กับ ชื่อโครงการ           3.4 วิธีการดำเนินงาน ผู้จะทำโครงการ ต้องเข้าใจว่า จะใช้การพัฒนาอะไร รูปแบบใด ใช้เครื่องมืออะไร พัฒนาอะไรบ้าง มีกลุ่มเป้าหมายใครบ้าง มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร เกิดผลอย่างไร ผู้เขียนโครงการ           3.5 กิจกรรมโครงการต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ โดยผู้จัดทำโครงการอาจจะนำ วัตถุประสงค์มาตั้ง จำแนก แยกย่อยออกมาเป็นกิจกรรม หนึ่งวัตถุประสงค์ อาจจะมี 3-4 กิจกรรม เพื่อให้ผู้ประเมิน หรือ ทรงคุณวุฒิ หรือ ผู้พิจารณาทุนได้มองเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างวัตถุประสงค์กับกิจกรรมโครงการ           3.6 กำหนดผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ ผู้เขียนโครงการควรเขียนออกเป็น 5 ประการ 1. ด้านวิชาการได้อะไร (ตีพิมพ์ หนังสือ ตำรา หลักสูตร)  2. ด้านสังคม ชุมชน ได้อะไร (ความสัมพันธ์ คุณภาพชีวิต แหล่งอาหาร รายได้เพิ่ม) 3. ด้านสิ่งแวดล้อมได้อะไร (สิ่งแวดล้อมดีขึ้น การลดการใช้เคมี ปรับตัวเข้ากับปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม) 4. ด้านพาณิชย์ได้อะไร (เกิดการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เกิดผลิตภัณฑ์ที่ขายได้)  5. ด้านนโยบายได้อะไร (ถูกบรรจุไว้ในแผนงบประมาณประจำปีหน่วยงานภาคีภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม)             3.7 ตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย คือ สุดท้ายปลายโครงการที่ดำเนินการนั้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะกลับไปตอบกลุ่มผู้ส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทั้งด้านวิชาการ ด้านสังคมชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพาณิชย์ ด้านนโยบาย เป็นต้น     4. ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการพัฒนากองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพในชุมชน โดยเฉพาะในการทำให้บริการสุขภาพเข้าถึงได้ง่ายและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด คณะทำงานข้อเสนอมุมมองต่อการพัฒนากองทุนในอนาคต             4.1 การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน ควรมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้คณะทำงานกองทุนเข้าใจปัญหาของชุมชนทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพผ่านการจัดเวทีระดับตำบล             4.2 การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมายังขาดมิติการสานสัมพันธ์เชิงลึก พร้อมทั้งการทำงานที่ลงไปคลุกคลี่กับพื้นที่อย่างจริงจัง             4.3 การจัดการทุนด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม กองทุนบางก็ทุนมักเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนที่คุ้นเลย ทำประเด็นเดิม ๆ ไม่ได้สร้างความแตกต่างที่เกิดขึ้น การแก้ไขปัญหาจึงไม่ได้สร้างมิติใหม่ให้เกิดความแตกต่างจากเดิม             4.4 การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรสุขภาพให้การสนับสนุนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพในท้องถิ่น เพื่อให้มีความสามารถในการให้บริการที่ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการของประชาชน@18 ก.ค. 67 14:48
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 7

    ประชุมสรุปบทเรียน และประเมินคุณค่าโครงการในระบบเว็บไซต์กองทุนตำบล (กองทุนขยายผล) : ผลประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ 1.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 1.การขับเคลื่อนโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน ในพื้นที่กองทุนขยายผล ทั้งหมด 5 กองทุน ประกอบด้วย อำเภอเมือง ได้แก่ ทต.เหนือ, ทต.ห้วยโพธิ์, ทต.โพนทอง อำเภอนามน อบต.หนองบัว และ ทต.สงเปลือยทุกกองทุนมีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพใน 10 ประเด็น ทั้งในปี 66 และ 67 ครบทุกกองทุน  และได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของกองทุนมาพัฒนาแผนงาน/โครงการ ได้อย่างน้อยกองทุนละ 3 โครงการ และได้รับการสนับสนุนและติดตามโครงการเป็นที่เรียบร้อย 2.สถานการณ์การพัฒนาแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์  พบว่า ทุกกองทุนได้ดำเนินการนำโครงการที่พัฒนาในระบบเว็บไซต์ไปดำเนินการเป็นที่เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ 2.ระดมความคิดเห็นสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ โดยใช้คำถาม 4 คำถาม ดังนี้ 1) ความคาดหวังที่มีต่อโครงการ -คณะกรรมการกองทุนสามารถนำข้อมูลสถานการณ์ไปใช้ในการวางแผนงาน/โครงการ และพัฒนาโครงการเข้าสู่การขอรับการสนับสนุนจากกองทุนตำบล -คณะกรรมการกองทุน/ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนพื้นที่ศูนย์เรียน และนำมาดำเนินการในพื้นที่กองทุนตนเอง -ได้ตัวอย่างโครงการนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพมาประยุกต์การดำเนินงานในพื้นที่ 2) ผลที่เกิดขึ้นจริง (สิ่งที่เป็นไปตามที่คาดหวัง/สิ่งที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง) -ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพไปใช้ในการวางแผนงาน/โครงการ เพื่อเสนอเข้าสู่กองทุนสุขภาพตำบลในพื้นที่ตนเอง กองทุนละ 3 โครงการ รวมทั้งสิ้น 15 โครงการและดำเนินการกรอกข้อมูลในระบบเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อย -ได้เรียนรู้แผนงาน/โครงการสุขภาพจากเขตอื่นๆ จากการเรียนรู้โครงการในระบบเว็บไซต์กองทุนตำบล 3) ปัจจัยความสำเร็จและไม่สำเร็จ -ระบบเว็บไซต์ข้อมูลตำบลมีความละเอียด โดยประกอบด้วยข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ 10 ประเด็น ทำให้คณะกรรมการกองทุนและผู้ที่เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนตำบลสามารถนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงในการพัฒนาโครงการได้อย่างเป็นระบบ -ประเด็นสถานการณ์สุขภาพทั้ง 10 ประเด็น มีความสอดคล้องกับประเด็นการขับเคลื่อนกับกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ทำให้ พชอ.เห็นความสำคัญของการใช้ระบบข้อมูลในเว็บไซต์ขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการกองทุนระดับตำบลและแผนอำเภอ - เจ้าหน้าที่กองทุนบางแห่งเคยเข้าร่วมโครงการนี้มาก่อนจึงทำให้มีประสบการณ์และความคล่องตัวในการใช้ระบบเว็บไซต์ได้ดี 4) ข้อเสนอแนะ - ควรบูรณาการระหว่างเว็บไซต์ ทปอ. และเว็บไซต์กองทุนตำบล ให้เป็น 1 ฐานข้อมูลและให้ สปสช.ทุกเขตประกาศใช้ร่วมกัน เพื่อลดความกังวลในด้านการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนตำบลต่อการพิจารณาโครงการ และลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน - ควรมีเวทีทำความเข้าใจอาสาสมัครเก็บข้อมูลในการใช้ระบบเว็บไซต์กองทุนในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ และใช้ในการดำเนินงานของกองทุนตำบลอย่างเป็นรูปธรรม - ควรมีมาตรการให้ทุกกองทุนมีการเก็บข้อมูลสถานการณ์เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ โดยมีแผนสนับสนุนการสำรวจข้อมูล หรือทบทวนข้อมูลสถานการณ์สุขภาพเป็นประจำทุกปี@18 ก.ค. 67 14:18
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 7

    ประชุมสรุปบทเรียน และประเมินคุณค่าโครงการในระบบเว็บไซต์กองทุนตำบล : 1.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 2.ระดมความคิดเห็นสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ 3.ระดมความคิดต่อข้อเสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อนและบูรณาการร่วมกับกลไก พชอ.@18 ก.ค. 67 13:56
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 7

    เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพกองทุนขยายผล : ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพทั้ง 5 แห่ง พบว่า สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลและกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ได้ทั้ง 5 แห่ง ที่กระจายครอบคลุมตามสัดส่วนกลุ่มอายุตามเป้าหมาย ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะจากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่ 1) ตัวแทนอาสาสมัครเก็บข้อมูลยังมีความเชี่ยวชาญในการใช้ระบบเว็บไซต์เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพค่อนข้างน้อย เนื่องจากข้อจำกัดด้านอุปกรณ์โทรศัพท์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้ทีมพี่เลี้ยงเขตต้องปรับเปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้รูปแบบเอกสาร 2) ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพกับอาสาสมัคร เนื่องจากอาสาสมัครที่มาร่วมประชุมอบรมการใช้ข้อมูลเป็นตัวแทนพื้นที่กองทุน เมื่อขยายผลไปยังอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านในระดับพื้นที่ทำให้ไม่กระจายสัดส่วนตามกลุ่มอายุ ทำให้ต้องมีการนำกลับไปแก้ไขข้อมูลใหม่ 3.ในกรณีของข้อมูล เช่น จุดความร้อน ค่าฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนของชุมชน เจ้าหน้าที่ข้อมูลตอบมาไม่ครบถ้วนทำให้ทีมพี่เลี้ยงเขตต้องให้ทีมผู้ช่วยมาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากระบบฐานข้อมูลที่โครงการแนะนำและกรอกข้อมูลเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์อีกครั้ง 4.พื้นที่กองทุนมีภารกิจงานในพื้นที่ค่อนข้างมาก ทำให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้ผู้ช่วยพี่เลี้ยงเขตต้องลงไปดำเนินการเก็บข้อมูลในบางพื้นที่@18 ก.ค. 67 12:57
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9

    เก็บข้อมูลเพื่อจัดทำแผนสุขภาพ รอบ 2 : ได้แผนการเก็บข้อมูลแผนสุขภาพและได้ดำเนินการเก็บข้อมูลตามแผนที่กำหนด   1.1 ให้นักศึกษาดำเนินการเก็บข้อมูลแผนสุขภาพ ตามเป้าหมาย 5 กองทุนๆ ละ 301 ชุด รวมเป็น 1,505 ชุด   1.2 เก็บข้อมูลเข้าใจกลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลในแบบแบบสอบถามแต่ละชุดมีรายละเอียด ดังนี้         1. แบบสอบถามสำหรับบุคคลเก็บข้อมูลรายบุคคลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 200 ชุดขึ้นไปโดยกำหนดจำนวนการเก็บข้อมูลจากประชาชนในแต่ละช่วงอายุดังนี้               ช่วงอายุ5-15 ปีจำนวน 50 ชุดขึ้นไป               ช่วงอายุ16-25 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป               ช่วงอายุ26-64 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป               อายุ65 ปีขึ้นไป จำนวน 50 ชุดขึ้นไป       2. แบบสอบถามสำหรับครัวเรือนเก็บข้อมูลจากหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนสมาชิกครัวเรือน(ครัวเรือนละ 1 ชุดเท่านั้น) จำนวน 100 ชุดขึ้นไป       3. แบบสอบถามสำหรับชุมชนเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จากผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาล (รพ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเกษตรอำเภอ) และฐานข้อมูลออนไลน์(เช่น คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข) ชุมชนละ 1 ชุดเท่านั้น ซึ่งได้วางแผนการเก็บข้อมูลแบบสอบถามให้กระจายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/พื้นที่ในชุมชน ตามสัดส่วนจำนวนครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้าน/พื้นที่     1.3 วิธีการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม โดยผู้เก็บข้อมูลใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามเอกสารและผ่าน App ในมือถือ แท๊ปเล็ต ผลการเก็บข้อมูลแบบสอบถามสถานการณ์สุขภาพชุมชนและบันทึกข้อมูลลงในระบบเว็บไซต์ ดังนี้     2.1 กองทุนฯ ทต.บึงเจริญ เก็บแบบสอบถาม บุคคล 218 ชุด ครัวเรือน 105 ชุด ชุมชน 1 ชุด รวมเป็น 324 ชุด     2.2 กองทุนฯ ทต.โนนเจริญ เก็บแบบสอบถาม บุคคล 222 ชุด ครัวเรือน 112 ชุด ชุมชน 1 ชุด รวมเป็น 335 ชุด     2.3 กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก เก็บแบบสอบถาม บุคคล 217 ชุด ครัวเรือน 103 ชุด ชุมชน 1 ชุด รวมเป็น 321 ชุด     2.4 กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด เก็บแบบสอบถาม บุคคล 215 ชุด ครัวเรือน 104 ชุด ชุมชน 1 ชุุด รวมเป็น 324 ชุด     2.5 กองทุนฯ อบต.โคกกลาง เก็บแบบสอบถาม บุคคล 212 ชุด ครัวเรือน 104 ชุด ชุมชน 1 ชุด รวมเป็น 317 ชุด คณะทำงานระดับกองทุนได้นำข้อมูลแผนสุขภาพตำบลเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา และจัดทำการพัฒนาข้อเสนอโครงการจากข้อมูลสถานการณ์ชุมชนที่มี@18 ก.ค. 67 12:56
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 7

    เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพกองทุนศูนย์เรียนรู้ : ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์สุขภาพทั้ง 22 แห่ง พบว่า สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลและกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ได้ทั้ง 22 แห่ง ที่กระจายครอบคลุมตามสัดส่วนกลุ่มอายุตามเป้าหมาย ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะจากการเก็บข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่ 1) ตัวแทนอาสาสมัครเก็บข้อมูลยังมีความเชี่ยวชาญในการใช้ระบบเว็บไซต์เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพค่อนข้างน้อย เนื่องจากข้อจำกัดด้านอุปกรณ์โทรศัพท์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้ทีมพี่เลี้ยงเขตต้องปรับเปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้รูปแบบเอกสาร 2) ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพกับอาสาสมัคร เนื่องจากอาสาสมัครที่มาร่วมประชุมอบรมการใช้ข้อมูลเป็นตัวแทนพื้นที่กองทุน เมื่อขยายผลไปยังอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านในระดับพื้นที่ทำให้ไม่กระจายสัดส่วนตามกลุ่มอายุ ทำให้ต้องมีการนำกลับไปแก้ไขข้อมูลใหม่ 3.ในกรณีของข้อมูล เช่น จุดความร้อน ค่าฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนของชุมชน เจ้าหน้าที่ข้อมูลตอบมาไม่ครบถ้วนทำให้ทีมพี่เลี้ยงเขตต้องให้ทีมผู้ช่วยมาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากระบบฐานข้อมูลที่โครงการแนะนำและกรอกข้อมูลเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์อีกครั้ง@18 ก.ค. 67 11:38
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    การประชุมเตรียมกระบวนการประชุมโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำร่องจังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ รวม 20 ท้องถิ่น : ปรับกำหนดการให้อาจารย์นำเสนอแบบสถาปัตยกรรมกับผู้เข้าร่วมประชุมก่อน ปรับกิจกรรมโครงการพื้นที่นำร่องให้สอดคล้องกับแบบสถาปัตยกรรม ปรับปรุงข้อเสนอโครงการ PA ให้สมบูรณ์ขึ้นและพร้อมที่จะรับทุนอนุมัติจากกองทุนสุขภาพตำบล และทุนของโครงการ ออกแบบกิจกรรม kickoff พื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำร่องจังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ@18 ก.ค. 67 10:46
  • การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

    ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านความรอบรู้การจัดการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน : ผู้เข้าร่วมอบรม จากรพ.สต.นาเกตุ รพ.สต.คลองใหม่ รพ.สต.สะดาวา รพสต.บางโกระ รพ.สต.ทุ่งพลา รพ.สต.ทรายขาว รพ.สต สุคิริน ครูโรงเรียนบ้านล้อแตก ,โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้,โรงเรียนวัดอรัญสิการาม เนื้อหาดังนี้ ทำอาหารธรรมดาธรรมดาให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพได้ไม่ใช่เรื่องยาก ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล หลักสูตรโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหารค ณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอ.ปัตตานี 1.ความคาดหวังของฉันที่มาเข้าอบรมนี้ -อ.ได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านคิดว่าในการมาอบรมครั้งนี้คาดหวังว่าจะได้อะไรกลับไปให้จดไว้กับที่ตัวเองเพื่อตอนสุดท้ายจะได้ตอบได้ว่าสิ่งที่ตัวเองได้รับสอดคล้องกับความคาดหวังของตัวเองหรือไม่ 2.อาหารสุขภาพคืออะไร -กินแล้วได้สุขภาพดีดูได้จาก ไม่อ้วนไม่ผอม สัดส่วนของร่างกายน้ำหนักส่วนสูงองค์ประกอบของร่างกายมวลกล้ามเนื้อมวลไขมันกระดูกน้ำ ระบบร่างกายทำงานปกติ การตรวจสุขภาพการเจ็บป่วย ปลอดภัย ไม่มีปัญหาที่เกิดจากการกินอาหารเช่นท้องเสียคลื่นไส้อาเจียนอาการแพ้อาหารต่างๆ 3.หลักการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ -การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ด้วยอาหารจะต้องสมดุลทั้งสารอาหารและโภชนาการ -ให้คิดเสมอว่าอาหารคือตัวเราเพราะฉะนั้นองค์ประกอบทั้งหมดในร่างกายของเรามาจากอาหารที่เรากินเข้าไปแต่ละคนอาจจะมีสัดส่วนในการต้องการอาหาร แร่ธาตุ,น้ำ,ไขมันคาร์โบไฮเดรต,โปรตีน,วิตามินที่แตกต่างกัน 4.เลือกอย่างไรที่เรียกว่าฉลาดเลือกบริโภคHow to -สารอาหารครบ,ปลอดภัย,ปริมาณพอเพียง 5.เลือกอาหารยังไงให้ได้สารอาหารครบ 1.ข้าวแป้งสิ่งที่ได้คาร์โบไฮเดรตธัญพืชที่ไม่ขัดสีใยอาหารวิตามินบีธาตุเหล็กสังกะสี ควรเป็นประเภทที่ไม่ขัดสีหลักหลายพืชตระกูลถั่วต่างๆผักที่มีแป้งเยอะพืชมีหัว 2.ผักผลไม้สิ่งที่ได้จากผักและผลไม้คือวิตามิน,เกลือแร่,ใยอาหาร,สารพฤกษเคมี,คาร์โบไฮเดรต สีในผักผลไม้มีสารสำคัญที่มีสรรพคุณแตกต่างกันดังนั้นจึงต้องกินผักผลไม้ที่สีสันหลากหลายเช่นสีขาวช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน สีเขียวกำจัดพิษ สีเหลืองความงาม สีส้มป้องกันมะเร็ง สีแดงดีต่อหัวใจ สีม่วงอายุยืน การฉลากเลือกอาหารชนิดผลไม้ให้น้ำตาลมากน้อยแตกต่างกันตามชนิดผลไม้ต้องจำกัดปริมาณผลไม้ 1 ส่วนมีน้ำตาลเทียบได้ปริมาณ 3 ช้อนชา 3.เนื้อสัตว์ไข่นมถั่วต่างๆ สิ่งที่ได้คือโปรตีนระวังไขมันอิ่มตัวคอเลสเตอรอล,วิตามิน,เกลือแร่,แคลเซียม,ธาตุเหล็ก,สังกะสีไอโอดีน,วิตามินบี 12 วิธีการเลือกหมวดเนื้อสัตว์นมไข่เนื้อไม่ติดมันนมพร่องมันเนยไข่สัปดาห์ละ 3 ฟอง,ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายมีกรดไขมันชนิดดีเลี่ยงอาหารแปรรูปซึ่งมีโซเดียมสูง 4.ไขมัน น้ำมัน ใช้น้ำมันพืชแทนการใช้น้ำมันสัตว์ใช้น้ำมันถูกประเภทสำหรับทอดสำหรับผัดใช้แต่พอประมาณ 5.ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว สรุปเลือกอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ 1.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวันให้หลากหลาย 2.ฉลาดเลือกอาหารในแต่ละหมู่ -ข้าวแป้งไม่ขัดสีถั่วต่างๆ -ผักผลไม้หลากหลายสีผลไม้ที่ไม่หวานจัด -เนื้อสัตว์ไม่ติดมันปลานมไข่ -ไขมันน้ำมันพืชตามสำหรับทอดน้ำมันถั่วเหลืองสำหรับผัดน้ำมันรำข้าว -ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 6.กินปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดี พลังงานที่แนะนำ 1,600 กิโลแคลอรี่สำหรับเด็ก 6-13 ปีและหญิงวัยทำงาน 2,000 แคลอรี่สำหรับวัยรุ่นและชายวัยทำงาน 2,400 แคลอรี่สำหรับนักกีฬาและผู้ใช้แรงงาน 1,400 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ปีที่มีกิจกรรมเบามากคือแทบไม่ได้ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมที่ใช้กำลังกายน้อยมาก 1,600 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ปีที่มีกิจกรรมเบาคือออกกำลังกาย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ 1,800 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ปีที่มีกิจกรรมปานกลางคือออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ 7.กินอย่างไรให้ปลอดภัย การปนเปื้อนสารพิษในอาหารเกิดขึ้นได้อย่างไร -ยาสารกระตุ้นการเจริญเติบโต -ปุ๋ย -สารอื่นๆที่อันตราย -เชื้อโรค -สารเติมแต่งอาหารสุขลักษณะการผลิตไม่ดี -สารเติมแต่งอาหารศุภลักษณะในการผลิตไม่ดีสารก่อมะเร็งจากการปรุง 8.แนวทางการป้องกัน 1.ปรุงอาหารกินเองโดยทำความสะอาดให้ทั่วถึงแยกเก็บอาหารสุกดิบให้ความร้อนอาหารสุกทั่วเก็บอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโอกาสสูงที่จะมีสารพิษเจือปน 3.เลือกร้านที่ถูกสุขลักษณะ 9.สรุปเลือกอย่างไรที่เรียกว่าฉลาดเลือก ปลอดภัยปริมาณพอเพียงสารอาหารครบถ้วน 10.เทคนิคการสร้างสรรค์ตำรับอาหารสุขภาพ ใช้หลักการจานอาหารสุขภาพ 2:1:1 -จานขนาด 9 นิ้ว -แบ่งพื้นที่บนจานเป็น 4 ส่วนจัดอาหารลงจานดังนี้ 2 ส่วนเป็นผัก 1 ส่วนเป็นข้าวกล้องอาหารทำจากแป้งที่ไม่ขัดสี 1 ส่วนเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันปลาเต้าหู้ -เลือกรายการอาหารที่ใช้น้ำมันน้อยๆในการปรุง -จัดผลไม้ในมื้ออาหาร -ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในรายการอาหารให้ได้เป็นตำรับอาหารสุขภาพ -ปรับเปลี่ยนวิธีปรุงอาหารให้ได้เป็นตำรับสุขภาพ 11.อาหารเป็น 1 ใน 5 ของปัจจัยพื้นฐานของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้าง 3 อ เลี่ยง 2 ส 3 อ อ่อนหวานอ่อนเค็มอ่อนมันปรุงน้อยๆก็อร่อยชัวร์เน้นผักผลไม้@15 ก.ค. 67 12:32
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 12

    กส.5/7 ประชุมสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการ จ.พัทลุง : พื้นที่ดำเนินการโครงการ 1. กองทุนศุนย์เรียนรุ้ 9 กองทุน 2. กองทุนทั่วไป 5 กองทุน กลไกพี่เลี้ยง 22 คน พี่เลี้ยงระดับจังหวัด  8 คน พี่เลี้ยงระดับกองทุน 14 คน พี่เลี้ยงกองทุน และภาคีผู้ขอรับทุน  ที่ได้รับการพัฒนาให้เขียนโครงการผ่านเว็บได้  83 คน กองทุนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 8 กองทุน (ยกเว้น กงหรา, สมหวัง, คลองเฉลิม, แพรกหา, นาขยาด, พนมวังก์) มีกิจกรรมที่ดำเนินการต่อเนื่องตามแผน  23 กิจกรรม ใช้งบประมาณ 585,194.00 บาท (ใช้เกินงบ 3994.00บาท) มีแผนงานครบ 10 แผน จำนวน 14 กองทุน มีโครงการที่พัฒนาขอรับผ่านเว็บ ปี 2566 จำนวน.    214.....โครงการ มีโครงการที่ได้รับงบ ปี 2566 จำนวน...296...โครงการเป็นเงิน...... 5,709,100.00 บาท มีโครงการที่พัฒนาขอรับผ่านเว็บ ปี 2567 จำนวน...273...โครงการ มีโครงการที่ได้รับงบ ปี 2567 จำนวน...232...โครงการ  เป็นเงิน..... 5,439,198.00 บาท กองทุนศูนย์เรียนรู้ต้นแบบผ่านตัวชี้วัด  6 กองทุน (มีแผนที่กำหนดครบ 10  มีโครงการได้รับอนุมัติอย่างน้อย 7 โครงการ) ได้แก่ 1. อำเภอศรีนครินทร์ 4 กองทุน ผ่านตัวชี้วัด    ชุมพล,อ่างทอง,ลำสินธุ์,บ้านนา 2. อำเภอกงหรา 5 กองทุน ผ่านตัวชี้วัด  ชะรัด,คลองทรายขาว,  (ไม่ผ่านตัวชี้วัด กงหรา, สมหวัง, คลองเฉลิม ) กองทุนทั่วไป จำนวน 5 กองทุน    ผ่านตัวชี้วัด 3 กองทุน คือ  พนมวังก์, ชะมวง,บ้านสวน (ไม่ผ่าน แพรกหา, นาขยาด,) รายละเอียดอื่นๆ ดูได้จากไฟล์เอกสารแนบมาด้วยแล้ว@14 ก.ค. 67 00:37
  • การดูแลรถออฟฟิศ สนส.

    เปลี่ยนแบตอีซูซูเดือนกรกฏาคม ปี 2567 (อยู่ในช่วงประกัน) : เปลี่ยนแบตอีซูซูรอบ ปี 2567 (อยู่ในช่วงประกัน)@12 ก.ค. 67 10:59
  • การดูแลรถออฟฟิศ สนส.

    H1 เข้าเช็คระยะ 160,000 KM : น้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ แหวนน็อตเติมน้ำมันเฟืองท้าย แหวนรองน็อตถ่ายน้ำมันเครื่อง/เกียร์ จุกระบายน้ำในหม้อน้ำ กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศ แหวนรองน็อคถ่ายน้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้ายเซลล์ API GL-5 น้ำมันเครื่องดีเซลสังเคาะห์เซลล์ 5W40@12 ก.ค. 67 10:51
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 2 : -@09 ก.ค. 67 11:47
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    การประชุมติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 2 : -@09 ก.ค. 67 11:08
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล จ.นครพนม : -@09 ก.ค. 67 10:56
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน มิถุนายน 2567 : -@09 ก.ค. 67 10:49
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ : ทั้งนี้ทางอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลหัวตะพาน และ อบต.จิกดู่  ซึ่งเทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้ น้ำพุ สนามเด็กเล่น ลานหรือที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่หรือลานเต้นแอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย สวนน้ำ สวนสนุก ถนนเดินนวดเท้า ที่ออกกำลังกายคนพิการ แหล่งเรียนรู้ต้นไม้พืชพรรณ ลานกิจกรรม ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำผู้สูงอายุ สวนหย่อม สระว่ายน้ำเด็ก จุดเช็คอิน ร้านตัดผม และต้นไม้ใหญ่  และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ “ที่ทำการ อบต.จิกดู่” นั้น เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาวัฒนธรรม สวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน สานกีฬาเอนกประสงค์ เวทีแอโรบิก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของดีแต่ละหมู่บ้าน กิจกรรมคาราโอเกะ สวนสุขภาพมีฐานกิจกรรมแต่ละวัย การโชว์สินค้าของดีตำบล อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำปิดท้ายฝากให้คณะทำงานท้องถิ่นเรื่องการจัดทำแผนและโครงการ ด้วย 4 คำถาม คือ 1. อยู่ไหน ชุมชนรู้สถานการณ์สุขภาพตนเอง 2. จะไปไหน คือ การตั้งเป้าหมายที่จัดการปัญหาสุขภาพนั่นๆ 3. ไปอย่างไร เป็นวิธีการจัดการปัญหา 4. ไปถึงแล้วหรือยัง คือ การติดตามประเมินวัดผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อไป นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขตได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งนี้ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่องโดยการออกแบบพื้นที่สาธารณะร่วมกัน การใช้พื้นที่สาธารณะของทุกกลุ่มวัย การเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 และสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลโครงการต่อไป การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 4 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี@06 ก.ค. 67 14:13
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี : • คณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ ทั้ง 12 แห่ง ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ในพื้นที่มาวิเคราะห์ร่วมกัน • พื้นที่ทั้ง 12 แห่ง มีแนวทางในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  โดยได้รับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจาก ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์@06 ก.ค. 67 13:59
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ : ผลที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกของการดำเนินกระบวนการเรียนรู้ หลังจากที่เปิดการประชุม นายรพินทร์ ยืนยาว ได้ทำหน้าที่แทน ผศ.ดร. พลากร  สืบสำราญ ได้บรรยายเรื่องแนวคิดและหลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) โดย สร้างความเข้าใจ กับผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยน และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือ กิจกรรมทางกาย นั้น เป็นกุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายทุกประเภทที่ใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ การมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ  ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง  เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร วิทยากรได้พยายามอธิบาย ความเข้าใจ ความต่างระหว่าง กิจกรรมทางกาย กับการออกกำลังกาย ที่หลายคนคิดว่ามันคือ สิ่งเดียวกัน คือ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ แง่มุม แม้ทั้งสองจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพ แต่การออกกำลังกายมีลักษณะเฉพาะและเป็นกิจกรรมที่มีการวางแผนและเป้าหมายชัดเจน ขณะที่กิจกรรมทางกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของเรา จากนั้นนายรพินทร์ ได้ให้แง่คิดกับผู้เข้าร่วมประชุม ได้เห็นถึงความสำคัญของแผนงาน ว่า การมีแผน นั้นเปรียบเสมือน การมีอำนาจต่อรองต่อผู้บริหาร หรือ แหล่งทุน ที่เรามีแผนในการพัฒนาอยู่ในมือ ทั้งแผนโครงการการ และแผนงบประมาณ คณะทำงานได้ให้ความสนใจ และร่วมแลกเปลี่ยน แผนการดำเนินงานที่ผ่านมา ผลที่เกิดขึ้น นายรพินทร์ ยืนยาว และนายอรรถพล ต่องสุพรรณ ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ ที่คณะทำงานกรอกในระบบเว็บไซต์ของโครงการ มาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ไปพร้อม ๆ กันในเวที คณะทำงานได้ทบทวน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และได้ร่วมกันสังเคราะห์อีกครั้ง ซึ่ง จากการเก็บข้อมูล ก็แสดงผลออกมาเป็น สถานการณ์ สุขภาพในแผนงานกิจกรรมทางกาย ออกมา 9 ตัวชี้วัด คือ 1. ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน) 2. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) 3. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 5. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 6. ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 7. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 8. ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) 9. ร้อยละของสำนักงานหรือหน่วยงานราชการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ทั้ง 9 ตัวชี้วัด วิทยากรได้พาผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดวัตถุประสงค์ ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้น โดย คณะทำงานกองทุนทุกกองทุนที่เข้าร่วมประชุม ได้ร่างแนวคิดการจัดทำโครงการ ทั้งหมด พื้นที่ ละ 9 โครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 9 ตัวชี้วัด และได้หยิบขึ้นมา 1 โครงการเพื่อพัฒนาโครงการ@06 ก.ค. 67 10:46
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

    การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี : เรื่องแนวคิดและหลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) โดย สร้างความเข้าใจ กับผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยน และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือ กิจกรรมทางกาย นั้น เป็นกุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายทุกประเภทที่ใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ การมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ  ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง  เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร วิทยากรได้พยามอธิบาย ความเข้าใจ ความต่างระหว่าง กิจกรรมทางกาย กับการออกกำลังกาย ที่หลายคนคิดว่ามันคือ สิ่งเดียวกัน คือ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ แง่มุม แม้ทั้งสองจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ความหมาย คือ กิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวและใช้พลังงาน ซึ่งรวมถึงทุกการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การทำงานบ้าน การเล่นกับลูก การ  ทำสวน หรือแม้แต่การยืนขึ้นจากการนั่ง เป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะไม่มีกฎเกณฑ์หรือรูปแบบเฉพาะ สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา มีประโยชน์ คือ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง รวมถึงช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกายตัวอย่าง คือ เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์, ทำความสะอาดบ้าน, เดินเล่นกับสัตว์เลี้ยง ในขณะเดียวกันการออกกำลังกาย (Exercise) คือ กิจกรรมทางกายที่มีการวางแผน มีโครงสร้าง และทำเป็นประจำเพื่อให้ได้ผลเฉพาะทาง เช่น การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การลดน้ำหนัก หรือการพัฒนาความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายนั้นมีลักษณะที่ มีความเข้มข้นและรูปแบบที่แน่นอน มีการตั้งเป้าหมายเฉพาะ เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก การฝึกโยคะ นอกจากประโยชน์ต่อสุขภาพทั่วไปแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ปรับปรุงสมดุลและการประสานงานของร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกระดูก เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง, การปั่นจักรยาน, การเล่นกีฬา, การฝึกเวทเทรนนิ่ง กล่าวคือ ทั้งกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพ แต่การออกกำลังกายมีลักษณะเฉพาะและเป็นกิจกรรมที่มีการวางแผนและเป้าหมายชัดเจน ขณะที่กิจกรรมทางกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของเรา พร้อมกันนั้นวิทยากร ได้ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา การพัฒนากิจกรรมโครงการ ที่สอดคล้องกับแผนงานกิจกรรมทางกาย ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห้นภาพที่ชัดขึ้น เพื่อที่จะได้ออกแบบ หรือ พัฒนาโครงการ ในพื้นที่ของต้นเอง ได้อย่างมีคุณภาพ<br /> ผลที่เกิดขึ้น นายรพินทร์ ยืนยาว และนายอรรถพล ต่องสุพรรณ ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ ที่คณะทำงานกรอกในระบบเว็บไซต์ของโครงการ มาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ไปพร้อม ๆ กันในเวที คณะทำงานได้ทบทวน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และได้ร่วมกันสังเคราะห์อีกครั้ง ซึ่ง จากการเก็บข้อมูล ก็แสดงผลออกมาเป็น สถานการณ์ สุขภาพในแผนงานกิจกรรมทางกาย ออกมา 9 ตัวชี้วัด คือ 1. ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน) 2. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) 3. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 5. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 6. ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 7. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 8. ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) 9. ร้อยละของสำนักงานหรือหน่วยงานราชการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ทั้ง 9 ตัวชี้วัด วิทยากรได้พาผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดวัตถุประสงค์ ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้น โดย คณะทำงานกองทุนทุกกองทุนที่เข้าร่วมประชุม ได้ร่างแนวคิดการจัดทำโครงการ ทั้งหมด พื้นที่ ละ 9 โครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 9 ตัวชี้วัด และได้หยิบขึ้นมา 1 โครงการเพื่อพัฒนาโครงการ@06 ก.ค. 67 10:40
  • มะรุ่ยแห่งความสุข จ.พังงา

    ประชุมวางแผนการขับเคลื่อนและการประเมินงานมะรุ่ยแห่งความสุข : *@28 มิ.ย. 67 10:10
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมวางแผนการดำเนินงาน core team สื่อสารสาธาณะ : มีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจและการเลือก/สกัด/วิเคราะห์ ข้อมูลจากผลการขับเคลื่อนงานใน 4 ประเด็นความมั่นคง (ทีมนักวิชาการ/ทีมขับเคลื่อน/กอง บก.สนส.ม.อ./กอง บ.ก. ประเด็น) ดำเนินการคัดเลือกประเด็นสำคัญจากงานขับเคลื่อนเพื่อนำมาเป็น Content สำคัญในการสื่อสาร Clip/infographic และการจัดเวที ดำเนินการนำชิ้นงานสื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้@27 มิ.ย. 67 16:01
  • กองทุนสุขภาพจังหวัดภูเก็ต

    ประชุมติดตามการดำเนินงาน กลไกจังหวัดภูเก็ต : โครงการปีนี้เน้นตอบโจทย์ความต้องการคนภูเก็ตอย่างแท้จริง@27 มิ.ย. 67 09:57
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (ภาคใต้ : ตรัง)

    การออกแบบพื้นที่ จำนวน 2 พื้นที่ งวดที่ 1 : -@26 มิ.ย. 67 13:09
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    ประชุมเตรียมลงพื้นที่จัดทำแผนและโครงการภาคีเครือข่ายจังหวัดนครพนม : กระบวนการ มีดังนี้ 1. ความรู้ความเข้าใจ 1) ความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2) หลักการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรือ “กองทุนสุขภาพตำบล” 2. หลักการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย คู่มือส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4 คำถาม 2.1) ขณะเราอยู่ที่ไหน: สถานการณ์สุขภาพ/สถานการณ์กิจกรรมทางกาย 2.2) เราต้องการไปที่ใด: กำหนดจุดหมาย/เป้าหมายร่วม 2.3) เราจะไปอย่างไร: ร่วมกันวางแผนและดำเนินงาน 2.4) เราไปถึงหรือยัง: ติดตามประเมินผลและสรุปบทเรียน 3. การทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านเว็บไซต์ระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org 4. สมาร์ท อสม. แอปพลิเคชันให้ความรู้และคำแนะนำสำหรับอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน 5. การจัดการระบบสุขภาพชุมชน 6. การปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และการกู้ชีพพื้นฐาน 7. แนวทางการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ปฏิบัติการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล@26 มิ.ย. 67 09:49
  • มะรุ่ยแห่งความสุข จ.พังงา

    ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานกลไกขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์จังหวัดภูเก็ตและกลไกขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพื้นที่มะรุ่ย : **@25 มิ.ย. 67 14:48
  • กองทุนสุขภาพจังหวัดภูเก็ต

    ประชุมติดตามการสรุปการเงินและติดตามความก้าวหน้าโครงการ : *@25 มิ.ย. 67 14:05
  • กองทุนสุขภาพจังหวัดภูเก็ต

    ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการและการเตรียมการพัฒนาโครงการ : *@25 มิ.ย. 67 14:05
  • กองทุนสุขภาพจังหวัดภูเก็ต

    ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการและเตรียมการถอดบทเรียนกลไกปี พ.ศ.2567 : *@25 มิ.ย. 67 14:04
  • กองทุนสุขภาพจังหวัดภูเก็ต

    ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ : *@25 มิ.ย. 67 14:03
  • กองทุนสุขภาพจังหวัดภูเก็ต

    ประชุมจัดทำแผนกองทุนเสมือนจริงภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต Phuket Health for Future of life : *@25 มิ.ย. 67 10:44
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพหลักสูตร Visual Note วิธีการเขียนโน๊ตด้วยภาพ : *@25 มิ.ย. 67 09:57
  • มะรุ่ยแห่งความสุข จ.พังงา

    ประชุมการทำแผนขับเคลื่อนบูรณาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม "มะรุ่ยแห่งความสุข" : *@24 มิ.ย. 67 14:14
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี : พัฒนาศักยภาพคณะทำงานกองทุนตำบล จัดทำแผนและเขียนโครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ เขตสุขภาพพื้นที่ 10 ในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลก่อเอ้  ตำบลก่อเอ้  อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุน การ สร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัด อุบลราชธานี  เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการและเพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดยมีนายสุวรรณ จานเขื่องใน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมในครั้งนี้ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1) ความหมายกิจกรรมทางกาย 2) ความสำคัญกิจกรรมทางกาย 3) ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 4) การตั้งเป้าหมายโครงการ 5) ตัวอย่างกิจกรรมโครงการ 6) ประเภทการออกแรง การสัญจร ทำงาน นันทนาการ 7) สถานการณ์กิจกรรมทางกายและภาวะเนือยนิ่งของคนไทย แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย  โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ ร่วมแลกเปลี่ยนชี้แจงวัตถุประสงค์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งการพัฒนาแผนและเขียนโครงการที่มีคุณภาพควรคำนึงถึงกิจกรรมที่จะส่งเสริมทุกกลุ่มวัยที่มีความเพียงพอของกลุ่มเป้าหมายของโครงการด้วย แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1. สร้างโปรแกรมเด็กในโรงเรีนย เกษตร ปลูกป่า 2. ปรับการเดินทาง 3. ออกแบบเมืองในกระฉับกระเฉง  4. บริการสุขภาพ 5. ให้ข้อมูล 6. กีฬานันทนาการ 7. สถานที่ทำงาน 8. สร้างโปรแกรมที่ครอบคลุมทั้งชุมชน ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต/จังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่  เทศบาลตำบลเขื่องใน เทศบาลตำบลห้วยเรือ เทศบาลตำบลบ้านกอก อบต.แดงหม้อ อบต.ท่าไห อบต.ธาตุน้อย อบต.หัวดอน อบต.นาคำใหญ่  อบต.กลางใหญ่  อบต.ค้อทอง  อบต.ชีทวน และอบต.ก่อเอ้ ประมาณกว่า 40 คน นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ซึ่งกระบวนการเป็นการแลกเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการที่มีการพัฒนาในเว็ปไซต์ของกองทุนตำบล จนได้กิจกรรมที่มีคุณภาพ เช่น โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกาย โครงการรณรงค์ 1 วันชวนกันขยับร่างกาย โครงการขยับกาย ขยับใจไทบ้านกอก โครงการปั่นชมชี เป็นการปั่นไปทำกิจกรรมปลูกป่า ปล่อยปลาในลำน้ำชี เป็นต้น ทั้งนี้ทางอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเขื่องใน และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ซึ่งเทศบาลตำบลเขื่องใน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ: “ย่านตลาดเก่า”ให้เป็นถนนคนเดิน สนามเด็กเล่น ที่พักผู้สูงอายุ พื้นที่กิจกรรมของเด็กวัยรุ่น ลานดนตรี ถนนศิลปะ ถนนอาหาร ร้านกาแฟ ที่ออกกำลังกาย ตลาดนัด และพื้นที่ขายสินค้า  และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ: สนามเด็กเล่น ที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานศิลปะ จุด Check In จัดทำลู่วิ่ง ศูนย์เรียนรู้อาชีพ  ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศาลานั่งเล่น ลานปั่นจักรยาน ห้องคาราโอเกะ ที่จอดรถ การแลกเปลี่ยนโครงการ ทต.เขื่องใน สนามเด็กเล่นสวนสาธารณะหนองเขื่อง เทศบาลตำบลเขื่องใน - บริบท: มีพื้นที่สาธารณะ 40 ไร่ - กระบวนการ: การประชุมชี้แจ้งเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อเกิดความเข้าใจตรงกัน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 60 คน กระบวนการ การประชุม 1.นำเสนอสถานการณ์ปัญหากิจกรรมทางกายของตำบลเขื่องใน 2.ระดมวางแผนกิจกรรมทางกายในตำบลเขื่องใน 3.นำเสนอโครงการกิจกรรมทางกาย4.จัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน(timeline) 5.สรุปและปิดการประชุม ข้อเสนอแนะแลกเปลี่ยน - เป็นพื้นที่นำร่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะ - เพิ่มกิจกรรมนันทนาการในพื้นที่สาธารณะ และสร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมร่วนกัน 2. ทต.บ้านกอกโครงการขยับกายขยับใจไทบ้านกอก กระบวนการ 1) จัดประชุมคณะทำงาน ร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงโครงการ และกิจกรรมที่จะร่วมกันดำเนินการ ในหน่วยงานราชการของ เทศบาลตำบลบ้านกอก 2) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยการบรรยาย และปฏิบัติ การมีกิจกรรมทางกาย ให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน 3) ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย คณะทำงานโครงการ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในโครงการถึง การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย 4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตระหนักในการออกกำลังกาย 5) สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ - ข้อเสนอแนะ : เพิ่มกิจกรรมทางกายในสำนักงานและสร้างกิจกรรมทางกายลดความเครียดในสำนักงาน อบต.แดงหม้อ โครงการบ้านสวยเมืองสุข กระบวนการ : 1.ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1-6 หมู่ละ 10 คน จำนวน60 คน เพื่อชี้แจงโครงการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันซึ่งประกอบด้วย 2.กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชน 3.กิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 4.กิจกรรมการคัดแยกขยะต้นทางให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 5.กิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ 6.กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน กิจกรรมทางกายเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ เช่น การจัดการขยะ การปลูกผักปลอดสารพิษ การแก้ปัญหาลูกน้ำยุงลาย อบต.ท่าไห โครงการรณรงค์ 1 วัน ชวนกันขยับร่างกาย - กระบวนการ 1) จัดประชุมชี้แจงการวิธีการทำงาน จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแผนการดำเนินการ 2) กำหนดวันออกกำลังกายในสถานที่ทำงานอาทิตย์ละ 1 วัน ครั้งละ 1-2 ชม. ผู้เข้าร่วม กลุ่มวัยทำงาน ได้แก่ พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห  เด็กวัยปฐมวัย และผู้สุงอายุ 3) สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปปัญหาอุปสรรค ประชุมชี้แจ้งให้คณะทำงานทราบ ข้อเสนอแนะ - ควรเพิ่มการออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ - ควรดึงกลุ่มคนทำงานนอกพื้นที่/พัฒนาศักยภาพแกนนำ อบต.หัวดอน พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกาย - อบต.หัวดอนมีประชากรประมาณ 6,500 คน - ผู้สูงอายุ 20% - เป้าหมาย เพิ่มกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ จากร้อยละ 97% เป็น 98% , ลดความเครียดผู้สูงอายุ จากร้อยละ 3 % เป็น 1 % , ลดภาวะซึมเศร้า จากร้อยละ 3.57% เป็น 1% - กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 70 คน - กระบวนการ 1) ชี้แจง/ประชุม กำหนดกติการ่วมกัน 2) ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ทุกวันพฤหัสบดี 3) กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ : ร้องรำไม้พลองฯลฯ 4) วัดประเมินผล ควรปรับกิจกรรมโครงการให้สอดรับกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ด้วย อบต.นาคำใหญ่ โครการปั่นชมชี บริบทพื้นที่ : มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม , ประชากรประมาณ 3,300 คน มี 8 หมู่บ้าน - กระบวนการ 1) ประชุมวางแผนวิธีการดำเนินโครงการร่วมกับผูนำชุมชนทั้งตำบลนาคำใหญ่(ผู้ใหญ่บ้าน,สมาชิกสภา,ผู้อำนวยการโรงเรียน,ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) 2) ดำเนินการอบรมตามโครงการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย 100 คน ชวนประชาชน/ผู้สูงอายุ ปั่นจักรยานไปปลูกป่า /ปล่อยปลา, ปั่นระยะทาง 10 กิโลเมตร 3) สรุปผลการดำเนินโครงการ ข้อเสนอแนะ - ชวนเด็กเยาวชนทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น จัดการขยะ - การออกแบบเส้นทางความปลอดภัยกับหน่วยงาน - ควรมีระยะทางตามกลุ่มเป้าหมาย - รณรงค์ปั่นจักรยานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม - ควรมีการปั่นซ้อมตามระยะทาง, ปั่นซ้อมรายวัน อบต.กลางใหญ่ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ร่วมกับชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่ - สถานการณ์ PA เด็ก 57.35% เพิ่มเป็น 59.35%, วัยทำงาน 55.42% เพิ่มเป็น 58.42% - กลุ่มเป้าหมาย: 140 คน : เด็ก 40 คน, วัยทำงาน 50 คน, ผู้สูงอายุ 50 คน - กระบวนการ 1) จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ ของคณะกรรมการดำเนินโครงการได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ กลุ่ม อสม.ในพื้นที่ และประธานชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่ 2) จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรวมกลุ่มคนรักสุขภาพในการออกกำลังกายช่วงเย็น บริเวณ ลานตลาดบ้านกลางใหญ่ ทุกวัน เวลา 16.30 – 18.00 น. ในห้วงระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กันยายน 2567 3) จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ในห้วง ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กันยายน 2567 4) สรุปผลโครงการ รายงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่ทราบ ข้อเสนอแนะ - ปรับกลุ่มเป้าหมายกับค่าเป้าหมายให้ตรงกัน - ควรคำนึงถึงความปลอดภัยการออกกำลังของผู้สูงอายุ - ควรมีการปลูกผักที่บ้าน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อบต.ก่อเอ้ กระบวนการ : - การประชุมชี้แจงโครงการผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคณะทำงานให้มีเป้าหมายที่ตรงกัน กระบวนการ เริ่มต้นด้วย 1. แต่งตั้งคณะทำงาน2. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ3. แหล่งงบประมาณ4.สรุปการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น อสม. ผู้นำชุมชน ครู ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 70 คน - คณะทำงานโครงการร่วมกันลงพื้นที่ออกแบบเพื่อปรับปรุงพื้นภูมิทัศน์ พื้นที่สาธารณะบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เช่น การปรับปรุงบริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น จุดเช็คอิน ลานศิลปะ ศูนย์เรียนรู้อาชีพ เป็นต้น ข้อเสนอแนะ - เป็นพื้นที่นำร่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะ และจัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมโครงการส่งเสริม PA และแนวทางจัดทำโครงการ PA ที่สามารถเชื่อมโยงประเด็นอื่นๆ ได้ รายละเอียด ดังนี้ แนวทางจัดทำโครงการ ทบทวนสถานการณ์ PA และสถานการณ์ปัญหาอื่นๆ ที่เชื่อมโยง เช่น ขยะ ไข้เลือดออก กับ PA โดยกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน วางวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย (กลุ่มเป้าหมาย และเป้าหมายเชิงปริมาณ) โดยให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนด วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ PA วัตถุประสงค์ที่บูรณาการกับปัญหาอื่นๆ เช่น ปริมาณขยะ/โรคไข้เลือดออก ออกแบบกิจกรรม / รูปธรรมที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่อง ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะและการเขียนโครงการให้มีการส่งเสริมกิจกรรมในการออกแบบพื้นที่สาธารณะ การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 5 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่ ณ ห้องประขุมรพ.สต.บ้านกอก เทศบาลตำบลบ้านกอก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี@24 มิ.ย. 67 12:29
  • ศาลาด่านโมเดล

    เข้าร่วมประชุมทิศทางแผนงานการขับเคลื่อนนโยบายการเข้าถึงระบบสุขภาพและประเมินผลกระทบกับสิทธิชุมชน เครือข่ายชาวเลและคนไทยพลัดถิ่น : *@24 มิ.ย. 67 10:49
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (ภาคใต้ : สุราษฎร์ธานี)

    ประชุมติดตามเขียนรายงานโครงการในระบบ : โครงการที่ดำเนินการแล้ว ดังนี้ 1. ตำบลชลคราม 2 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 2. ตำบลตะกุกเหนือ 1 โครงการ ดำเนินแล้ว 3. ตำบลนำพุ 1โครงการ ยังไม่ดำเนินการ 4. ตำบลป่าร่อน ไม่เข้าประชุม (คระทำงานดทรมาขอลา ผู้รับผิดชอบโครงการไม่อยู่) โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ได้รับอนุมัติจากกองทุน.........โครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ได้รับงบประมาณจาก Node flag Ship Suratthani ตำบลตะกุกเหนือ 1 โครงการ 60000 บาท ตำบลไชยคราม 1 โครงการ 60000 บาท@22 มิ.ย. 67 16:37
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมเพื่อเตรียมงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนขับเคลื่อนกิจกรรมดำเนินงานในโครงการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ : *@21 มิ.ย. 67 11:50
  • ศาลาด่านโมเดล

    เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน : *@21 มิ.ย. 67 10:55
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมหารือการพัฒนาเว็บไซต์สนับสนุนเครือข่ายในโครงการพัฒนาระบบกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ : *@21 มิ.ย. 67 10:33
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมเครือข่ายสุขภาพวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ : *@21 มิ.ย. 67 10:33
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.จิกดู่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี : การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพในพื้นที่อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง หรือ NCD ของประชาชน ในวันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีนายสุธรรม ยืนสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมฯ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนั้นโดยแยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เด็กวัยเรียน-วัยรุ่น กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปโรงเรียน ถ้าเป็นการทำงานหรือการเรียน ควรมีการส่งเสริมกิจกรรม Active Play Active leaning เช่น กิจกรรมการทำเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการท่องเที่ยวเยี่ยมชุมชน เป็นต้น อีกส่วนการสันทนาการ การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา ควรมีกิจกรรมเล่นฟุตบอล ฟุตซอล เต้นแอร์โรบิก รำมวยไทย และการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน กลุ่มที่ 2 วัยทำงาน กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปทำงาน ถ้าเป็นการทำงานควรมีกิจกรรมระหว่างการทำงานคือ การเดินขึ้นบันไดหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายหรือกีฬา ควรเป็นการเล่น Fitness และกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุ กิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรมีการเดิน การปั่นจักรยานไปวัด ไปทำประโยชน์สาธารณะ ส่วนการทำงาน ควรมีการทำงานเกษตร การประกอบอาชีพเสริม การทำไม้ดอกไม้ประดับ การจัดการขยะ ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ควรมีการเล่นโยคะ การรำวง การฟ้อนรำมากขึ้น นี้ก็เป็นรูปแบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ ที่ต้องเน้นกิจกรรมที่เพียงพอในทุกกลุ่มวัย เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นต้น แต่ทุกอย่างเน้นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยของวัยตนเองด้วย ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต ระดับจังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จากจำนวน 8 พื้นที่เป้าหมายเข้าร่วม 5 พื้นที่ ได้แก่ เทศบาลตำบลหัวตะพาน เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ อบต.สร้างถ่อน้อย อบต.จิกดู่และเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ ประมาณกว่า 40 คน นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 6 หัวข้อ ดังนี้ 1. สถานกาณณ์สุขภาพ/บริบทพื้นที่ 2. การกำหนดเป้าหมายในการจัดการปัญหา 3. วิธีการหรือกระบวนการจัดการปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 4. กลุ่มเป้าหมายที่เราจะไปจัดการ 5. พื้นที่การดำเนินการ จัดการที่ไหนบ้าง 6. ความคาดหวัง กระบวนการนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพโดยการพัฒนาในเว็ปไซต์ของกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org จนได้กิจกรรมที่มีคุณภาพ เช่น โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตาราง 9 ช่อง โครงการวัยใส Happy and Happy โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนผู้สูงอายุ โครงการเต้นแอร์โรบิก โครงการลดพุงขยับกาย ใส่ใจสุขภาพ และโครงการส่งเสริมสุขภาพหนูน้อยวัยใส เป็นต้น อบต.จิกดู่ โครงการวัยใส Happy&Happy - พื้นที่: โรงเรียน + ศพด.+อบต.+ชุมชน+โรงเรียนผู้สูงอายุ - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียน ครู กรรมการ 114 คน - กระบวนการ 1) สร้างความเข้าใจ Pa และการออกแบบพื้นที่สาธารณะ 2) การส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการปั่นจักรยาน 3) สร้างแกนนำนักเรียน และขยายผลโรงเรียนในพื้นที่ 4) ส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกับชุมชน (ทำความสะอาดหมู่บ้าน ตรวจสอบลูกน้ำยุงลาย) 5) การออกแบบ สร้างงานกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ : การใช้ภูมิปัญญาทำพานจากใบตอง 6) สรุปแลกเปลี่ยน การขยายผลโรงเรียนใกล้เคียง - กิจกรรมทางกายมีความหลากหลาย - ควรมีการส่งเสริมทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ฟ้อนรำพื้นบ้าน เกม์กีฬาการศึกษา กิจกรรมสันทนาการ - การกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกลุ่มเป้าหมาย ปรับทัศนคติให้มี PA เป็นนิสัยวิถีชีวิตประจำวัน - ใช้พื้นที่ดำเนินการให้รอบๆหมู่บ้าน, ชุมชน - ปรับปรุงข้อมูลสถานการณ์ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโรงเรียนผู้สูงอายุ - เป้าหมาย: การออกกำลังอย่างเหมาะสม - กระบวนการ 1) การออกกำลังตาราง 9 ช่อง 2) การเดินสำรวจชุมชน 3) พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม 2. เทศบาลตำบลหัวตะพาน โครงการเต้นแอโรบิด - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียนและวัยทำงาน รวม 40 คน - ระยะเวลา 6 เดือน - เป้า ลดความเสี่ยงโรค เพิ่ม PA - กระบวนการ 1) ประชาสัมพันธ์ 2) การออกแบบพื้นที่ 3) การเต้นแอโรบิก 4) การสอนการเต้นที่เหมาะสม 5) มีกิจกรรมทางกายที่ต่อเนื่อง มีการเต้นทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น 3. อบต.สร้างถ่อน้อย โครงการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ "ตาราง 9 ช่อง" - กลุ่มเป้าหมาย: ผู้สูงอายุ นักเรียน วัยทำงาน - กระบวนการ 1) ประชุมคณะผู้บริหาร พนักงาน แต่งตั้งคณะทำงาน ประชุมคณะทำงาน 2) ออกแบบกิจกรรม ตาราง 9 ช่อง และส่งเสริมประชาชนในชุมชนดำเนินกิจกรรม ตาราง 9 ช่อง 3) สรุปผลการจัดกิจกรรม/ประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ตาราง 9 ช่อง - ควรส่งเสริมภูมิปัญญา - เน้นความเข้าในเรื่อง PA เพียงพอ (สัญจร การทำงาน) 4. เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ โครงการส่งเสริมสุขภาพเพิ่มการเคลื่อนไหวของหนูน้อยวัยใส - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียน ศพด. - กระบวนการ: จัดกิจกรรมแข่งขันรถขาไถ 1.ประชุมคณะทำงาน 2.แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงาน 3.ดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยมีกิจกรรมดังนี้ 3.1 จัดกิจกรรมแข่งขันรถขาไถในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.2 มีการใช้รถขาไถในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4.ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน - เชื่อมโยงกับพ่อแม่ผู้ปกครอง - คำนึงถึงความปลอดภัย - ผลักดันเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ โครงการลดพุงขยับกายใส่ใจสุขภาพ - กลุ่มเป้าหมาย: พนักงานออฟฟิศ อบต. และนักกีฬา ผู้สนใจ - กระบวนการ 1) ประชุมชี้แจงโครงการ วางแผนร่วมกัน 2) ทำบันทึกข้อความประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคลากรแต่ละกองเข้าร่วมโครงการ 3) จัดหา ทดสอบเครื่องเสียง ทำหนังสือเชิญวิทยากร 4) ดำเนินการตามโครงการโดยจัดให้มีการออกกำลังกายประกองเพลงในรูปแบบแอโรบิคเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนเสร็จสิ้นโครงการ 5) รายงานผลผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย เสนอคณะผู้บริหาร จัดทำฐานข้อมูล PA พนักงาน การขยายหน่วยงานใกล้เคียง ทั้งนี้ทางอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลหัวตะพาน และ อบต.จิกดู่ ซึ่งเทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้ น้ำพุ สนามเด็กเล่น ลานหรือที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่หรือลานเต้นแอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย สวนน้ำ สวนสนุก ถนนเดินนวดเท้า ที่ออกกำลังกายคนพิการ แหล่งเรียนรู้ต้นไม้พืชพรรณ ลานกิจกรรม ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำผู้สูงอายุ สวนหย่อม สระว่ายน้ำเด็ก จุดเช็คอิน ร้านตัดผม และต้นไม้ใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ “ที่ทำการ อบต.จิกดู่” นั้น เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาวัฒนธรรม สวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน สานกีฬาเอนกประสงค์ เวทีแอโรบิก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของดีแต่ละหมู่บ้าน กิจกรรมคาราโอเกะ สวนสุขภาพมีฐานกิจกรรมแต่ละวัย การโชว์สินค้าของดีตำบล อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำปิดท้ายฝากให้คณะทำงานท้องถิ่นเรื่องการจัดทำแผนและโครงการ ด้วย 4 คำถาม คือ 1. อยู่ไหน ชุมชนรู้สถานการณ์สุขภาพตนเอง 2. จะไปไหน คือ การตั้งเป้าหมายที่จัดการปัญหาสุขภาพนั่นๆ 3. ไปอย่างไร เป็นวิธีการจัดการปัญหา 4. ไปถึงแล้วหรือยัง คือ การติดตามประเมินวัดผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อไป นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขตได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งนี้ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่องโดยการออกแบบพื้นที่สาธารณะร่วมกัน การใช้พื้นที่สาธารณะของทุกกลุ่มวัย การเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 และสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลโครงการต่อไป การนัดหมายคงถัดไปจะเป็น วันที่ 4 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี@21 มิ.ย. 67 10:32
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมออกแบบและพัฒนาสารสนเทศโครงการพัฒนาระบบกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ : *@21 มิ.ย. 67 10:32
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมพัฒนาระบบสารสนเทศโครงการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการกสร้างเสริมสุขภาพ : *@21 มิ.ย. 67 10:31
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบยกร่างหลักสูตร กระบวนการนโยบายสาธารณพแบบมีส่วนร่วมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ : *@21 มิ.ย. 67 10:30
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมวางแผนการขับเคลื่อนงานกลไกอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ : *@21 มิ.ย. 67 10:30
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมปรึกษาหารือกรอบการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ ร่วมกับสภส.สสส. : *@21 มิ.ย. 67 09:30
  • โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา

    ประชุมปฏิบัติการเชิงออกแบบจุดรวบรวมผลผลิตอาหารชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลปริก : กระบวนการการออกแบบจุดรวมผักตลาดเซฟสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมภายใต้การขับเคลื่อนและยกระดับโมเดลการเชื่อมโยงและการกระจายผลผลิตอาหารเพื่อสุขภาวะในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยให้กับประชาชน จากที่ทีมcrossสำรวจพื้นที่ที่จะที่เป็นจุดรวมผักเพื่อกระจายผักไปตามจุดต่างๆแล้วจึงได้มาทำกิจกรรมเพื่อเสนอภาพรวมและพื้นที่ใช้สอยตามโครงสร้างอาคารเดิมที่มี โดยแบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยได้ข้อสรุปดังนี้ 1.พื้นที่จัดการผัก -ปัญหาหลักของการรับผักมาแล้วคือการเอาผักมากกองไว้อยู่ทางด้านหน้าของอาคารทำให้ดูไม่ถูกสุขลักษณะและไม่สวยงามจึงเห็นว่าควรจะนำผักที่รับมามาวางไว้ด้านข้างของตัวอาคารและแยกผักเป็นแต่ละประเภทในแต่ละวันจะมีผักมากน้อยไม่เท่ากันจึงต้องเพิ่มชั้นมาวางผักทั้งที่เป็นผักหนักและผักเบา -อยากให้มีการเสริมโต๊ะเก้าอี้ที่เราสามารถนำมาเป็นชั้นวางผักได้เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่สมบูรณ์ -มีการออกแบเพิ่มรางเลื่อนขึ้นมาเพื่อช่วยในการขนย้ายผักที่เป็นผักหนักที่อยู่ในตะกร้าเพื่อความเปนระเบียนเรียบร้อย -อยากให้เพิ่มผู้ดูแลพื้นที่ที่อยู่ประจำจัดการในเรื่องมาตรฐานผักบัญชีและสถานที่พร้อมทั้งมีโต๊ะเพื่อให้สะดวกในการจัดเก็บเอกสารและจดรายการ -อยากให้เพิ่มตู้เย็นตู้แช่ถังน้ำแข็งสำหรับผักค้างคืน -เพิ่มระบบจัดการผักระหว่างขนส่งอาจมีการห่อหุ้มกระดาษหรือผ้าพรมน้ำในระหว่างการขนส่งเพื่อผักที่ไปถึงปลายทางจะได้คงสภาพที่สวยงามและสดชื่น 2.ห้องประชุม/ปฏิบัติการสาธิต ในส่วนของห้องประชุมจะมีการใช้อยู่ 1 ถึง 2 ครั้งต่อเดือนหรือ 2-3 เดือนครั้งเป็นอย่างน้อยจึงเห็นว่าน่าจะมีการนำนวัตกรรมโต๊ะที่พับเก็บได้มาใช้เป็นห้องประชุม -เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เก้าอี้ที่ใช้นั่งประชุมควรเป็นเก้าอี้ที่วางผักได้ด้วย -เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงการบริโภคจะกินผักสดก็อยากจะบริโภคเป็นผักที่สำเร็จหรือพร้อมใช้งานเช่นอยากได้ผักที่พร้อมปรุงชุดน้ำพริกกะปิชุดแกงจืดชุดแกงเลียงจึงเห็นว่าควรจะมีส่วนตรงนี้เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า -อยากให้เพิ่มจอมอนิเตอร์สำหรับผู้ที่มาดูงานจะได้เปิดใช้งานได้เลยรวมถึงไมโครโฟนลำโพงเครื่องเสียงเพราะจากเดิมคือขอความอนุเคราะห์จากทางอบต. 3.เนื้อหางานสื่อสาร content -จัดให้มีเอกสารเนื้อหาไว้แจกสำหรับผู้มาเยี่ยมชมและมีคนอธิบาย -ส่งเสริมการทำรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์เช่น facebook -จัดทำนิทรรศการเล่าเรื่องราวความเป็นมาของกลุ่มเอกลักษณ์และความโดดเด่นของกลุ่มอาทิเช่นการปลูกผักแบบปลอดภัยรวมถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่ม -รับสมัครสมาชิกกลุ่มให้ชัดเจนและมีรูปสมาชิก -จัดทำแผนผังคณะกรรมการที่มีส่วนร่วมพร้อมภาพสมาชิก -สร้างกลุ่มไลน์โดยมี admin เป็นตัวเชื่อมระหว่างกลางระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต -จัดบอร์ดนำเสนอข้อมูลสินค้าขายดี -จัดทำบอร์ดนิทรรศการแบบพับได้เพื่อลดการใช้พื้นที่ -จัดอบรมให้ความรู้เรื่องผักปลอดภัยต่อสมาชิกในกลุ่ม -จัดทำนิทรรศการที่สามารถเคลื่อนย้ายไปออกนอกสถานที่ได้ -จัดทำคนต้นแบบแปลงผักต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิก -ภาพตัวอย่างสินค้า -จัดทำข้อมูลนำเสนอสินค้าขายดีของสมาชิกแต่ละคนในแต่ละเดือน -ผลิตคลิปลง YouTube เพื่อกระจายความรู้ให้คนภายนอก -จัดทำข้อมูลรวบรวมผลผลิตของสมาชิกในแต่ละเดือน -จัดทำข้อมูลวิธีการปลูกผักที่ปลอดสารเคมี -จัดทำข้อมูลสรรพคุณของผักแต่ละชนิดที่นำไปปรุงอาหารว่าได้ประโยชน์อย่างไรหรือควรนำผักชนิดนั้นๆไปใช้ยังไงให้เกิดประโยชน์ด้านคุณค่าทางอาหารสูงสุด -จัดทำ story เชื่อมโยงระบบการขายจากชุมชนไปที่โรงงานเพื่อให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ -จัดบอร์ดที่มาของกลุ่มทีมงานและการบริหารกลุ่มโดยละเอียด -อยากให้มีการแนะนำชาวบ้านและคนในชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกผักทานเอง -อยากให้มีนิทรรศการที่อัพเดทข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา 4.อื่นๆ(จุดขายของ/ห้องน้ำ/เคาน์เตอร์) -จากโครงสร้างเดิมที่มามีอยู่อยากปรับปรุงตัวอาคารตัวหลังคาเพื่อให้มีความแข็งแรงและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น -อยากเพิ่มความเย็นให้กับตัวอาคารมีผู้เสนออยากให้มีสปริงเกอร์เพื่อที่จะเอาน้ำขึ้นไปข้างบนจะได้ลดความร้อนตรงจุดนี้ได้ -ที่สำคัญคือป้ายกลุ่มที่ใหญ่และเห็นชัดเจนติดไว้ด้านหน้า -อยากให้มีการแยกห้องน้ำหญิงชายและเปลี่ยนเป็นชักโครกเนื่องจากมีผู้สูงอายุมาใช้บริการอยู่บ่อยๆ -การดูแลสินค้าเนื่องจากผักผลไม้บางชนิดเป็นประเภทอ่อนไหวต่ออากาศและการขนส่งจึงอยากให้มีกล่องที่ปิดมิดชิดเพื่อความสะอาดและความปลอดภัยในระหว่างการขนส่งด้วย -อยากให้มี packaging ที่เป็นแบรนด์ของกลุ่มจะทำให้ดูน่าเชื่อถือและพัฒนาเป็นของฝากเป็นของที่ระลึกได้ -เรื่องการดูแลการบริหารจัดการ อยากให้เพิ่มจำนวนคนทำบัญชีที่มีระบบที่อยู่เป็นประจำโดยอาจจะมีค่าแรงมอบให้ มีพื้นที่ในการเก็บเงินที่ชัดเจน การทำบิลให้ดูมาตรฐาน เสนอให้มีการลงโปรแกรมดูความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งอาจจะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยจัดการในส่วนนี้ หลัวจากนั้นทางทีมCROSSจึงได้ออกแบบโครงสร้างตัวอาคารให้เข้ากับความต้องการของทางกลุ่มเพื่ินำเานอให้ทางกลุ่มคุยกับทางช่างอีกครั้งหนึ่ง@19 มิ.ย. 67 16:16
  • กองทุนสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี

    ประชุมหารือการขับเคลื่อนงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาวะ จังหวัสุราษฎร์ธานี : *@18 มิ.ย. 67 13:36
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมออกแบบเว็บไซต์ โครงการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ : ได้รูปแบบเว็บไซต์ที่จะทำเพื่อให้เครือข่ายสามารถเข้ามาติดตามข่าวสาร และการรายงานผลกิจกรรมการขับเคลื่อนงานของภาคีเครือข่ายสุขภาพภาคใต้@18 มิ.ย. 67 09:43
  • มะรุ่ยแห่งความสุข จ.พังงา

    ประชุมวางแผนการดำเนินงานกลไกขับเคลื่อนความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตำบลมะรุ่ย : *@14 มิ.ย. 67 15:41
  • มะรุ่ยแห่งความสุข จ.พังงา

    ประชุมการจัดทำข้อมูลภัยพิบัติในพื้นที่มะรุ่ย (รอยเลื่อนและแผ่นดินไหว) : *@14 มิ.ย. 67 15:02
  • เกษตรกรรมยั่งยืน

    ประชุมวางระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานประเด็นความมั่นคงทางอาหารภาคใต้ : *@14 มิ.ย. 67 14:32
  • มะรุ่ยแห่งความสุข จ.พังงา

    ประชุมทบทวนข้อมูลทรัพยากรของพื้นที่ตำบลมะรุ่ย : *@14 มิ.ย. 67 13:47
  • เกษตรกรรมยั่งยืน

    ประชุมวางแผนการบูรณาการแผนงานอาหาร ร่วมกับสำนัก5 และสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ : *@14 มิ.ย. 67 12:14
  • มะรุ่ยแห่งความสุข จ.พังงา

    ประชุมดูข้อมูลทรัพยากรในพื้นที่ตำบลมะรุ่ยและวางแผนเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน : ได้ทราบถึงข้อมูลทรัพยากรในพื้นที่ตำบลมะรุ่ย@14 มิ.ย. 67 11:52
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการสานพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะสู่ภาคใต้แห่งความสุข : สรุปแนวทางการดำเนินงานกัน และเป้าหมายร่วมของการสานพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่ดีและกินได้ สู่ภาคใต้แห่งความสุข ได้แก่ 1. คน ทีมคณะทำงาน : ต้องมีการเสริมพลังคนทำงาน สร้างคนรุ่นใหม่ 2. กระบวนการระดับจังหวัด : มีกระบวนการทำนโยบายสาธารณะที่หลากหลาย ยืดหยุ่น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ 3. ภาคีร่วม : มีการทำงานร่วมกันของภาคีต่างๆ ในพื้นที่กลางของจังหวัด 4. มีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ 5. มีระบบฐานข้อมูลกลาง ที่รวบรวมข้อมูลการทำงาน ข้อมูลภาคีเครือข่าย@14 มิ.ย. 67 11:30
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (ภาคใต้ : สุราษฎร์ธานี)

    จ่ายค่าออกแบบทางสถาปัตยกรรมงวด 2 : แบบทางสถาปัตย์ 3 แห่ง 1. ศพด.ท่านหญิง ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอท่านหญิงวิภาวดี 2. ศพด.ไชยคราม อบต ไชยคราม อำเภอดอนสัก 3. โรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ อบต.ปากแพรก อำเภอดอนสัก ที่ประกอบด้วย แบบ 3 มิติ แบบแปลน แบบระบุตำแน่ง Lay-out@12 มิ.ย. 67 21:27
  • โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 12

    อบรมการติดตามประเมินผล จังหวัดตรังและการเก็บข้อมุลครั้งที่ 2 : กองทุนทั้ง 5 กองทุนได้เข้าร่วมครบตามกำหนด  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น  มีการติดตามโครงการแต่ละพื้นที่ครบตามตัวชี้วัดที่ทางเขตกำหนดไว้  มีแผนครบตามที่กำหนดไว้  มีโครงการที่ได้รายงานติดตาม  ของแต่ละกองทุนตามที่กำหนดไว้ มีโครงการที่แต่ละกองทุนได้ประเมินคุณค่าไว้@12 มิ.ย. 67 16:21
  • ระบบสุขภาพพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ท่องเที่ยว

    พิธีส่งมอบหนังสือคู่มือและวิดีโดอฝึกสนทนางานบริการสปา 5 ภาษา : *@11 มิ.ย. 67 14:07
  • มะรุ่ยแห่งความสุข จ.พังงา

    ประชุมวางแผนการดำเนินงานกลไกขับเคลื่อนความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : *@11 มิ.ย. 67 13:54
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพและจัดทำแผนในพื้นที่นำร่อง จ.น่าน และจ.ลำพูน : -@10 มิ.ย. 67 15:32
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม จ.สุราษฎร์ธานี งวดที่ 2 : -@10 มิ.ย. 67 15:28
  • กองทุนสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี

    ประชุมวางแผนการทำงานและการวางโครงสร้างการทำงานโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด ระยะ2 : *@10 มิ.ย. 67 15:12
  • ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567

    ประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม : กระบวนการของวันที่ 1 การได้ความรู้จากการอบรม 4 หัวข้อจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ กระบวนการของวันที่ 2 ทำให้เกิดการอภิปรายและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีความสำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในประเทศไทย โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับการเข้าร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจทางนโยบายสาธารณะที่มีผลต่อสุขภาพของชุมชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยที่เข้าร่วมในการประชุมนี้มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น การก่อตัวของนโยบายสาธารณะ การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ การติดตามและประเมินผลนโยบายสาธารณะ รวมถึงความต่อเนื่อง การทดแทนและการสิ้นสุดนโยบายสาธารณะ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษาจริง ซึ่งมาจากสถานที่ที่แตกต่างกัน เช่น ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ และ SEA อำเภอจะนะ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความรู้ในการจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นในประเทศไทย กระบวนการของวันที่ 3 ทำให้การจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เน้นการสร้างการเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของประชากร โดยมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมในกระบวนการนโยบายที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาและดำเนินนโยบายอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด เป้าหมายคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความเข้าใจและการยอมรับต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญของสังคม และการพัฒนานโยบายที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมและมีผลสัมฤทธิ์ในการส่งเสริมสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้และเครื่องมือในการออกแบบนโยบาย การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการนโยบาย และการกำหนดวิสัยที่ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถมีส่วนร่วมและมีผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรในทุกๆ ระดับ กระบวนการของวันที่ 4 ลงเรียนรู้กระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่บ้านสวนกง จะนะ พื้นที่ที่เป็นแหล่งอาหารทะเลอันอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ที่ชาวบ้านออกมาต่อสู้ปกป้องทรัพยากรให้คงอยู่อย่างยั่งยืนชั่วรุ่นหลาน การต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในบ้านสวนกง ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน ท่าเทียบเรือ langbrige ฯลฯ แต่ด้วยความเข้มแข็งของชุมชนที่ยืนหยัดอย่างมั่นคงว่าเลจะนะ ต้องเป็นแหล่งอาหารเลี้ยงคนในจะนะได้ตลอดไป กระบวนการลงพื้นที่ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจแก่นแท้ของการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะได้มากยิ่งขึ้น@10 มิ.ย. 67 10:00
  • โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

    การประชุมรายงานผลการออกแบบพื้นที่สุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี : -@10 มิ.ย. 67 09:52

เอกสารประกอบการประชุม

หัวข้อทั้งหมด

file_copy เอกสารประกอบการประชุมทั้งหมด note_addเพิ่มเอกสารประกอบการประชุม