กองทุนสุขภาพจังหวัดภูเก็ต

ประชุมทีมวิชาการจัดทำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะ จังหวัดภูเก็ต12 ตุลาคม 2567
12
ตุลาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Sutthisapan
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของจังหวัดภูเก็ต

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรายงานข้อมูลสถานการณ์ และรายงานผลการจัดกิจกรรมในงบกลไกกองทุนจังหวัดภูเก็ต

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากสถานการณ์ความเจ็บป่วยของจังหวัดภูเก็ตในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งโรคที่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ ได้แก่ โรคมะเร็ง ปอดบวม โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และติดเชื้อในกระแสเลือด ตามลำดับ รวมถึงปัญหาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วนลงพุง และโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง เป็นต้น ในขณะที่อัตราการเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วย/เสียชีวิตจากอุบัติก็ยังอยู่ในระดับสูง ในขณะเดียวกันจากสถานการณ์ล่าสุดในช่วงปี พ.ศ. 2563-2567 ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตยังต้องเผชิญสถานการณ์ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วมและดินถล่ม ตลอดจนปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ และปัญหาขยะ จึงนับว่าคนภูเก็ตกำลังอยู่ในสภาวะที่ “หันไปทางไหนก็มีแต่ความเสี่ยง ขยับไปทางไหนก็เจอแต่ปัญหา” ซึ่งในที่สุดก็ทำให้ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตมีปัญหาทางสุขภาพจิตเพิ่มไปด้วย
  • จากข้อมูลและปัญหาข้างต้น ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้พยายามเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อเสนอนโยบายขององค์กรเครือข่ายที่ขับเคลื่อนสุขภาพทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน จาการจัดงานสมัชชาชาสร้างสุข และงานสร้างสุขภาคใต้ ที่มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญที่จะทำให้คนใต้มีความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพ โดยมีข้อเสนอไปยังที่ประชุมของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและมีมติที่สำคัญ คือ การผลักดันให้เกิด “คณะกรรมการสุขภาวะระดับจังหวัด” และ ผลักดันให้เกิด “กองทุนส่งเสริมสุขภาวะระดับจังหวัด” ที่เป็นการกลไกความร่วมมือระหว่างภาคีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในกรณีของจังหวัดภูเก็ตภาคีที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และสมัชชาสุขภาพภูเก็ต ได้ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะระดับจังหวัดภูเก็ต ในการผลักดันกลไก บูรณาการกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้ชื่อ “กองทุนเสมือนจริงเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ “ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต (Phuket : Health for Future of Life) ” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดการและขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็น บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย ความปลอดภัยทางถนน สุขภาพจิต โรคอุบัติใหม่ และมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่