directions_run

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ) ”

อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ

หัวหน้าโครงการ
ดร.เพ็ญ สุขมาก

ชื่อโครงการ โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

ที่อยู่ อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ จังหวัด

รหัสโครงการ 66-P1-0249 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ) จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ) " ดำเนินการในพื้นที่ อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ รหัสโครงการ 66-P1-0249 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 สิงหาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,260,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน (ออกแบบพื้นที่ 4 พื้นที่, โครงการ 8 โครงการ)
  2. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่อง PA และนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  3. เครือข่ายสื่อท้องถิ่นเผยแพร่และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  4. สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA (20 กองทุน) และสนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากกองทุน หรือแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
  5. เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน (20 กองทุน) (ก่อน-หลัง)
  6. กระบวนการออกแบบพื้นที่ จำนวน 4 พื้นที่
  7. การออกแบบพื้นที่ จำนวน 4 พื้นที่
  8. กิจกรรมโครงการในชุมชน จำนวน 4 โครงการ
  9. กิจกรรมโครงการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 4 โครงการ
  10. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่อง PA และนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  11. เผยแพร่กิจกรรมโครงการ จังหวัดละ 3 ชิ้น
  12. ผลิตสื่อและเผยแพร่ จังหวัดละ 3 ชิ้น
  13. ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 12 อปท
  14. ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท.
  15. การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท.อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ
  16. การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง12 อปท.อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  17. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  18. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
  19. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  20. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
  21. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
  22. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน (20 แห่ง)
  2. อปท. มีแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย 10 แห่ง/จังหวัด (รวมภาคละ 20 แห่ง )
  3. มีเครือข่าย กกท. และ อปท. ที่มีศักยภาพในการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย 10 กลุ่มหรือชมรม/จังหวัด (รวมภาคละ 20 กลุ่มหรือชมรม)
  4. พื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายนำร่องในชุมชน 2 พื้นที่/จังหวัด (รวมภาคละ 4 พื้นที่)
  5. พื้นที่นำร่องปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชน 2 พื้นที่/จังหวัด
  6. พื้นที่นำร่องปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน) 2 พื้นที่/จังหวัด
  7. บทเรียน/องค์ความรู้ ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 เรื่อง
  8. เครือข่ายสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จังหวัดละ 3 ประเด็น (เช่น พื้นที่สุขภาวะ, ส่งเสริม PA ในเด็กและเยาวชน, แผนโครงการส่งเสริม PA ในกองทุนสุขภาพตำบล) (ภาคละ 6 ชิ้น)
  9. มีสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริม PA เผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้าง จากกิจกรรมโครงการ จังหวัดละ 3 ชิ้น (ภาคละ 6 ชิ้น)

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 12 อปท

วันที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ  โดย นายชูวิทย์  ธานี สาธารณสุขอำเภอ เขื่องใน
  • กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ โดย นายภัทรพล  สารการ นายอำเภอ เขื่องใน
  • ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบล และอำเภอ” โดย  ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ Road Map การดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นางเสาวนีย์  กิตติพิทยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วางแผนการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกองทุนเพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นายญัติพงศ์  แก้วทอง  สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วางแผนและจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์  วามะขัน นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะ
  • ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนายรพินทร์  ยืนยาว คณะทำงานสื่อ เขต 10

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัดท้องถิ่นทุกแห่ง ผอ.กองการสาธารณสุข ผอ.กองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด และประธาน อสม.ทุกตำบล 75 คน 2.ได้พื้นที่ดำเนินการในอำเภอเขื่องใน ได้ขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอำเภอทั้งหมด 12 ตำบล ได้แก่ ต.บ้านกอก, ต.ศรีสุข, ต.กลางใหญ่, ต.ค้อทอง, ต.ก่อเอ้, ต.ท่าไห, ต.นาคำใหญ่, ต.แดงหม้อ, ต.ธาตุน้อย, ต.หัวดอน, เทศบาลตำบลเขื่องใน และ เทศบาล ต.หัวเรือ 3.ได้พื้นที่นำร่องในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ใน 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลเขื่องใน และตำบลก่อเอ้
4.ได้แผนการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูล การพัฒนาศักยภาพในการเขียนแผน เขียนโครงการ
5.ได้แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อและผลิตสื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายเป็นแผนในระยะต่อไป เช่น การค้นหาที่ออกกำลังกาย การค้นหารูปแบบการออกกำลังกาย ค้นหาการกิน การอยู่ ค้นหาคนต้นแบบ การระดมทุนโดยการผลิตเสื้อ การให้ความรู้การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนในชุมชนมาถ่ายทอด การส่งหนังสือแจ้ง การติดแฮตแท็ก การสร้างกลุ่ม Line ในชุมชน การสร้างเพจในเฟสบุ๊ค เขื่องในมีแฮงเดย์
6.ได้ทีมสื่อสารสาธารณะในระดับพื้นที่หรือใน อปท. จำนวน 8 คน 7.ได้คณะทำงานของอปท.ที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่องดังนี้ 7.1.คณะทำงานจัดเก็บข้อมูล 2-3 คน/อปท 7.2.คณะทำงานจัดเก็บข้อมูล 2-3 คน/อปท. 7.3.คณะทำงานเขียนแผนและโครงการ 2-3 คน/อปท 7.4.คณะทำงานสื่อ 1-2 คน/อปท. 8.ได้ข้อตกลงร่วมทั้ง 8 อปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ/จังหวัดจะทำMOU ร่วมกัน  ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567

 

75 0

2. ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท.

วันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ  โดย นายอภิศักดิ์ อินทบุตร สาธารณสุขอำเภอ เขื่องใน
  • กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ โดย นายประหยัด คูณมี นายอำเภอหัวตะพาน
  • ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบล และอำเภอ” โดย  ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ Road Map การดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นางเสาวนีย์  กิตติพิทยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วางแผนการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกองทุนเพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นายญัติพงศ์  แก้วทอง  สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วางแผนและจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์  วามะขัน นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนายรพินทร์  ยืนยาว คณะทำงานสื่อ เขต 10

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัดท้องถิ่นทุกแห่ง ผอ.กองการสาธารณสุข ผอ.กองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด และประธาน อสม.ทุกตำบล จำนวนกว่า 65 คน 2.ได้พื้นที่ดำเนินการในอำเภอเขื่องใน ได้ขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอำเภอทั้งหมด 8 ตำบล ได้แก่ ต.หัวตะพาน, ต.คำพระ, ต.เค็งใหญ่, ต.หนองแก้ว, ต.โพนเมืองน้อย, ต.สร้างถ่อ, ต.จิกดู่ และต.รัตนวารี
3.ได้พื้นที่นำร่องในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ใน 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลหัวตะพาน และตำบลจิกดู่ก่อเอ้
4.ได้แผนการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูล การพัฒนาศักยภาพในการเขียนแผน เขียนโครงการ
5.ได้แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อและผลิตสื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายเป็นแผนในระยะต่อไป เช่น การสร้างเพจในเฟสบุ๊ค หัวตะพานมีแฮงเดย์ การสร้าง TiKTok การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาในชุมชน การถ่ายคลิปสั้น การทำ Line คณะทำงานสื่อ การสร้างเฟสบุ๊ค Reels
6.ได้ทีมสื่อสารสาธารณะในระดับพื้นที่หรือใน อปท. จำนวน 10 คน

 

65 0

3. การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท.อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ

วันที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1)เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอหัวตะพาน และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 8 แห่ง ของอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ พิจารณา และยินยอม ใน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย” และลงนามความร่วมมือกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2)เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดย คณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 8 อปท. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูล และสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อนำมาจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์เทพ  สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้นำเข้าเวทีโดยการกล่าวต้อนรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และได้มีการแนะนำตัว และองค์กร สสส. ถึงวิสัยทัศน์ รูปแบบการขับเคลื่อนงาน สุขภาวะ ที่ สสส. กำลังขับเคลื่อนอยู่ โดย หวังเห็นคนไทยมีสุขภาพดีครบทั้ง 4 มิติ (กาย จิต ปัญญา สังคม) โดยมี "ระบบสุขภาพ" ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมเป็นหลักประกันการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โยงเข้าสู่ประเด็น การขับเคลื่อน คือ กิจกรรมทางกาย (PA : Physical activity) ได้ยกเอาสถานการณ์ตัวอย่าง มาเล่าและอธิบายในที่ประชุม พร้อมทั้งหยิบยกเอาข้อมูลสถิติ การมีกิจกรรมทางกายของคนไทย แต่ละช่วงวัยมานำเสนอในเวที พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทาง การมีกิจกรรมทางกาย ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ของชีวิต คือ 1. กิจกรรมทางกายในสถานการณ์ ของการเดินทาง หรือสัญจร อาจจะส่งเสริมให้มีการ ใช้จักรยาน แทนรถยนต์ หรือ จักรยานยนต์ หรือ ถ้าหาก เดินทางใกล้ ๆ อาจใช้วิธี การเดิน การพัฒนาพื้นทีสาธารณะท่ส่งเสริมให้คนออกมาเดิน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ กิจกรรมการเรียนรู้
2. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ของการ เรียน การทำงาน การประกอบอาชีพ อาจส่งเสริม ให้ในโรงเรียน มีชั่วโมงเรียนที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหมร่างกาย เช่น กิจกรรมกลุ่ม  หรือ การเดินย้ายห้องเรียน ในชั่วโมงที่เปลี่ยนคาบ การส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมที่มีการรวมกลุ่ม กัน เช่น ออกมาทำบปุ๋ยหมัก การออกมารวมกลุ่มกันทำเครื่องจักรสาน ในส่วนของพนักงาน Office ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย มีแต่นั่งอยู่กับที่ ในสถานที่ทำงานเอง อาจมีการส่งเสริม ให้มีการใช้บันได แทนใช้ลิฟท์ หรือ กิจกรรม ภาระงานที่ส่งเสริมการออกแรง หรือ เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น 3. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ ของนันทนาการ หรือการเล่นกีฬา อาจส่งเสริม กิจกรรม หรือชมรม ได้ ออกมาเล่น ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การละเล่นไทย การรำมวยไทย เป็นต้น ส่วน ในวัยทำงาน อาจส่งเสริมให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน หรือ มี โซน fitness ให้ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ  อาจดึงเอากิจกรรมทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การออกมาเต้นมารำประกอบเพลง เป็นต้น

ขณะเดียวกัน นายประหยัด คุณมี นายอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย อำเภอหัวตะพาน เพื่อเป็นข้อเสนอนโยบายร่วมกันในการขับเคลื่อนงานครั้งนี้ นายอำเภอ ได้มองไปถึงอนาคต ความยั่งยืน ของการส่งเสริมของการมีกิจกรรมทางกาย หรือ การออกกำลังกายของประชาชน งบประมาณ จะมีความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหนในการขับเคลื่อน ฉะนั้นแล้ว ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย หรือ การออกกำลังกาย จะต้องส่งเสริมให้ประชาชน มีความตระหนัก และเข้าใจว่าเป็นเรื่องสำคัญ สื่อสารให้ประชาชน เข้าใจ และอยากที่จะออกมาขับเคลื่อนของตัวประชาชนเอง โดยทางหน่วยงานภาครัฐจะมีส่วนที่เอื้อ หรือส่งเสริม ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม ในเรื่องของการ จัดหางบประมาณมาขับเคลื่อน เป็นต้น ถ้าหากประชาชนขาดความเข้าใจ มันก็อาจจะไม่สามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้ อาจจะต้องมุ่งเน้นไปที่ การสื่อสาร ให้ความรู้ สร้างความตระหนักแก่ประชาชน อนึ่ง ในเรื่องการขับเคลื่อนนโยบายในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจที่ หน่วยของท้องถิ่น มีบทบาทที่จะต้องทำอยู่แล้ว ในเรื่องของการบริการสาธารณะ<br />

ในเวทีได้มีการแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุม จนทุกคนให้ความสนใจ และเข้าใจถึงแนวทางวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกัน จนนำไปสู่ การประกาศ ข้อตกลงร่วมกัน และได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ในข้อเสนอนโยบาย ดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำแผน จัดทำโครงการและการจัดทำพื้นที่สาธารณะในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัดอำนาจเจริญ หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง
ทั้งนี้ เพื่อให้การบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายในหน่วยงานและชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ลงนามไว้เป็นหลักฐาน” 2) ภายในเวทีคณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 8 อปท. ได้นำเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน ที่ได้มีการลงสำรวจ ใน 3 ส่วน คือ  บุคคลทั่วไป ครัวเรือน และชุมชน แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ในระบบเว็บไซต์ ได้มีการ พิจารณา และตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน ถึงความเป็นไปได้ความหน้าเชื่อถือ และได้มีการ Workshop กรอก แผนพัฒนาโครงการเพื่อจัดการกับปัญหาที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัญหาสุขภาพชุมชน ที่ได้มีการสำรวจ และวิเคราะห์ร่วมกัน คณะทำงาน เกิดความเข้าใจ ถึงการใช้เครื่องมือ ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ และท้องถิ่น ได้แผนโครงการเพื่อยื่นเสนอต่อ กองทุนตำบล (กปท.) ในรอบงบประมาณต่อไป

 

50 0

4. การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง12 อปท.อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1) เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเขื่องใน และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 12 แห่ง ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พิจารณา และยินยอม ใน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย” และลงนามความร่วมมือกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดย คณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 12 อปท. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูล และสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อนำมาจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์เทพ  สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้นำเข้าเวทีโดยการกล่าวต้อนรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และได้มีการแนะนำตัว และองค์กร สสส. ถึงวิสัยทัศน์ รูปแบบการขับเคลื่อนงาน สุขภาวะ ที่ สสส. กำลังขับเคลื่อนอยู่ โดย หวังเห็นคนไทยมีสุขภาพดีครบทั้ง 4 มิติ (กาย จิต ปัญญา สังคม) โดยมี "ระบบสุขภาพ" ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมเป็นหลักประกันการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โยงเข้าสู่ประเด็น การขับเคลื่อน คือ กิจกรรมทางกาย (PA : Physical activity) ได้ยกเอาสถานการณ์ตัวอย่าง มาเล่าและอธิบายในที่ประชุม พร้อมทั้งหยิบยกเอาข้อมูลสถิติ การมีกิจกรรมทางกายของคนไทย แต่ละช่วงวัยมานำเสนอในเวที พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทาง การมีกิจกรรมทางกาย ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ของชีวิต คือ 1. กิจกรรมทางกายในสถานการณ์ ของการเดินทาง หรือสัญจร อาจจะส่งเสริมให้มีการ ใช้จักรยาน แทนรถยนต์ หรือ จักรยานยนต์ หรือ ถ้าหาก เดินทางใกล้ ๆ อาจใช้วิธี การเดิน การพัฒนาพื้นทีสาธารณะที่ส่งเสริมให้คนออกมาเดิน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ กิจกรรมการเรียนรู้
2. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ของการ เรียน การทำงาน การประกอบอาชีพ อาจส่งเสริม ให้ในโรงเรียน มีชั่วโมงเรียนที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหมร่างกาย เช่น กิจกรรมกลุ่ม  หรือ การเดินย้ายห้องเรียน ในชั่วโมงที่เปลี่ยนคาบ การส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมที่มีการรวมกลุ่ม กัน เช่น ออกมาทำบปุ๋ยหมัก การออกมารวมกลุ่มกันทำเครื่องจักรสาน ในส่วนของพนักงาน Office ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย มีแต่นั่งอยู่กับที่ ในสถานที่ทำงานเอง อาจมีการส่งเสริม ให้มีการใช้บันได แทนใช้ลิฟท์ หรือ กิจกรรม ภาระงานที่ส่งเสริมการออกแรง หรือ เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น 3. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ ของนันทนาการ หรือการเล่นกีฬา อาจส่งเสริม กิจกรรม หรือชมรม ได้ ออกมาเล่น ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การละเล่นไทย การรำมวยไทย เป็นต้น ส่วน ในวัยทำงาน อาจส่งเสริมให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน หรือ มี โซน fitness ให้ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ  อาจดึงเอากิจกรรมทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การออกมาเต้นมารำประกอบเพลง เป็นต้น

ขณะเดียวกัน นายเกียรติศักดิ์ บาระมี&nbsp; ปลัดอาวุโส อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย อำเภอเขื่องใน เพื่อเป็นข้อเสนอนโยบายร่วมกันในการขับเคลื่อนงานครั้งนี้ อำเภอเขื่องในถือเป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีพื้นที่อยู่ 18 ตำบล 19 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จุดแข็งของผู้บริหารที่นี้ ส่วนใหญ่เป็นคนเขื่องใน ทำงานในพื้นที่ ทำให้มีเวลาที่จะดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างเต็มที่ ในภาพรวมวิสัยทัศน์ของอำเภอเขื่องใน โดยหลักส่วนใหญ่ก็จะถือนบายตสมกระทรวงมหาดไทย คือ การมีค่านิยมที่บำบัดทุกบำรุงสุข และสอดคล้องกับภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประชาชนทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น ซึ่งอำเภอเขื่องในยังคงยึดมั่นในเจตนารมณ์ นี้ในการดูแลประชาชนในพื้นที่ จุดแข็งที่สำคัญของอำเภอเขื่องใน คือ การฐรูณาการงานกันหลายส่วน ในวิสัยทัศน์ร่วม คือ “อำเภอเขื่องใน อำเภอแห่งความสุข” เป็นค่านิยม ที่ข้าราชการทุกคนมุ่งมั่นในเป้าหมายเดียวกัน เร็ว ๆ นี้เอง ทางอำเภอก็จะมีการเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนเขื่องในได้ออกมารวมกัน หรือ มีกิจจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกัน คือ ตลาดนัดสีเขียว โดยใช้สถานที่ ทีว่าการอำเภอเขื่องใน เปิดพื้นที่สาธารณะให้กับกลุ่มที่รักการออกกำลังกาย และนิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ได้มาร่วมจับจ่าย สินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปลอดสารพิษ อาจจะมีการเปิดพื้นที่ทุกวันพุธ เนื่องจาก เรามีนโยบาย ส่งเสริมการออกกำลังกายทุกวันพุธอยู่ด้วย อาจจะชวนผู้ที่มาจับจ่ายได้มาออกกำลังกาย และได้เดินชม และเลือกซื้อ สินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปลอดสารพิษ ในตลาดด้วย ในส่วนกิจกรรมทางกาย ทางอำเภอเองก็มีแนวนโยบายส่งเสริม ตั้งแต่ในวัยเด็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุ เช่น การส่งเสริมการแข่งขันเซปักตระกร้อ รวมทั้ง ส่งเสริมไปยังผู้สูงอายุ ให้มามีส่วนร่วมในการแข่งขันด้วย ทางอำเภอเองก็ได้มีความพยายามที่จะกระตุ้นให้ประชาชน ได้เห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย ในส่วนรับดับราชการ คนทำงาน ก็มีนโยบายให้ออกกำลังกายทุกวันพุธอยู่แล้ว ถือ เป็นวันกีฬา ขององค์กร นอกจากนี้สิ่งที่เรากำลังส่งเสริมนั้นก็สอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงมหาดไทย คือ ให้ข้าราชการ มีสุขภาวะทางกายที่ดี มีจิตใจที่ดี มีกำลังกายกำลังใจที่เข้มแข็ง และสามารถดูแลพี่น้องประชาชนได้ “ให้ข้าราชการทุกคน คึกคัก คึกครื้น และครื้นเครง”<br />

ในเวทีได้มีการแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุม จนทุกคนให้ความสนใจ และเข้าใจถึงแนวทางวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกัน จนนำไปสู่ การประกาศ ข้อตกลงร่วมกัน และได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ในข้อเสนอนโยบาย ดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำแผน จัดทำโครงการและการจัดทำพื้นที่สาธารณะในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง ทั้งนี้ เพื่อให้การบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายในหน่วยงานและชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ลงนามไว้เป็นหลักฐาน” 2) ภายในเวทีคณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 12 อปท. ได้นำเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน ที่ได้มีการลงสำรวจ ใน 3 ส่วน คือ  บุคคลทั่วไป ครัวเรือน และชุมชน แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ในระบบเว็บไซต์ ได้มีการ พิจารณา และตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน ถึงความเป็นไปได้ความหน้าเชื่อถือ และได้มีการ Workshop กรอก แผนพัฒนาโครงการเพื่อจัดการกับปัญหาที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัญหาสุขภาพชุมชน ที่ได้มีการสำรวจ และวิเคราะห์ร่วมกัน คณะทำงาน เกิดความเข้าใจ ถึงการใช้เครื่องมือ ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ และท้องถิ่น ได้แผนโครงการเพื่อยื่นเสนอต่อ กองทุนตำบล (กปท.) ในรอบงบประมาณต่อไป

 

50 0

5. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดยคณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ ได้เรียนรู้หลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) -เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เรื่องแนวคิดและหลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) โดย สร้างความเข้าใจ กับผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยน และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือ กิจกรรมทางกาย นั้น เป็นกุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายทุกประเภทที่ใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ การมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ  ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง  เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
วิทยากรได้พยามอธิบาย ความเข้าใจ ความต่างระหว่าง กิจกรรมทางกาย กับการออกกำลังกาย ที่หลายคนคิดว่ามันคือ สิ่งเดียวกัน คือ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ แง่มุม แม้ทั้งสองจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ความหมาย คือ กิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวและใช้พลังงาน ซึ่งรวมถึงทุกการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การทำงานบ้าน การเล่นกับลูก การ  ทำสวน หรือแม้แต่การยืนขึ้นจากการนั่ง เป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะไม่มีกฎเกณฑ์หรือรูปแบบเฉพาะ สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา มีประโยชน์ คือ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง รวมถึงช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกายตัวอย่าง คือ เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์, ทำความสะอาดบ้าน, เดินเล่นกับสัตว์เลี้ยง ในขณะเดียวกันการออกกำลังกาย (Exercise) คือ กิจกรรมทางกายที่มีการวางแผน มีโครงสร้าง และทำเป็นประจำเพื่อให้ได้ผลเฉพาะทาง เช่น การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การลดน้ำหนัก หรือการพัฒนาความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายนั้นมีลักษณะที่ มีความเข้มข้นและรูปแบบที่แน่นอน มีการตั้งเป้าหมายเฉพาะ เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก การฝึกโยคะ นอกจากประโยชน์ต่อสุขภาพทั่วไปแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ปรับปรุงสมดุลและการประสานงานของร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกระดูก เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง, การปั่นจักรยาน, การเล่นกีฬา, การฝึกเวทเทรนนิ่ง กล่าวคือ ทั้งกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพ แต่การออกกำลังกายมีลักษณะเฉพาะและเป็นกิจกรรมที่มีการวางแผนและเป้าหมายชัดเจน ขณะที่กิจกรรมทางกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของเรา

พร้อมกันนั้นวิทยากร ได้ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา การพัฒนากิจกรรมโครงการ ที่สอดคล้องกับแผนงานกิจกรรมทางกาย ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห้นภาพที่ชัดขึ้น เพื่อที่จะได้ออกแบบ หรือ พัฒนาโครงการ ในพื้นที่ของต้นเอง ได้อย่างมีคุณภาพ<br />

ผลที่เกิดขึ้น นายรพินทร์ ยืนยาว และนายอรรถพล ต่องสุพรรณ ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ ที่คณะทำงานกรอกในระบบเว็บไซต์ของโครงการ มาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ไปพร้อม ๆ กันในเวที คณะทำงานได้ทบทวน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และได้ร่วมกันสังเคราะห์อีกครั้ง ซึ่ง จากการเก็บข้อมูล ก็แสดงผลออกมาเป็น สถานการณ์ สุขภาพในแผนงานกิจกรรมทางกาย ออกมา 9 ตัวชี้วัด คือ 1. ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน) 2. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) 3. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 5. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 6. ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 7. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 8. ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)
9. ร้อยละของสำนักงานหรือหน่วยงานราชการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ทั้ง 9 ตัวชี้วัด วิทยากรได้พาผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดวัตถุประสงค์ ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้น โดย คณะทำงานกองทุนทุกกองทุนที่เข้าร่วมประชุม ได้ร่างแนวคิดการจัดทำโครงการ ทั้งหมด พื้นที่ ละ 9 โครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 9 ตัวชี้วัด และได้หยิบขึ้นมา 1 โครงการเพื่อพัฒนาโครงการ

 

50 0

6. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดยคณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ ได้เรียนรู้หลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) -เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกของการดำเนินกระบวนการเรียนรู้ หลังจากที่เปิดการประชุม นายรพินทร์ ยืนยาว ได้ทำหน้าที่แทน ผศ.ดร. พลากร  สืบสำราญ ได้บรรยายเรื่องแนวคิดและหลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) โดย สร้างความเข้าใจ กับผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยน และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือ กิจกรรมทางกาย นั้น เป็นกุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายทุกประเภทที่ใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ การมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ  ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง  เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
วิทยากรได้พยายามอธิบาย ความเข้าใจ ความต่างระหว่าง กิจกรรมทางกาย กับการออกกำลังกาย ที่หลายคนคิดว่ามันคือ สิ่งเดียวกัน คือ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ แง่มุม แม้ทั้งสองจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพ แต่การออกกำลังกายมีลักษณะเฉพาะและเป็นกิจกรรมที่มีการวางแผนและเป้าหมายชัดเจน ขณะที่กิจกรรมทางกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของเรา จากนั้นนายรพินทร์ ได้ให้แง่คิดกับผู้เข้าร่วมประชุม ได้เห็นถึงความสำคัญของแผนงาน ว่า การมีแผน นั้นเปรียบเสมือน การมีอำนาจต่อรองต่อผู้บริหาร หรือ แหล่งทุน ที่เรามีแผนในการพัฒนาอยู่ในมือ ทั้งแผนโครงการการ และแผนงบประมาณ คณะทำงานได้ให้ความสนใจ และร่วมแลกเปลี่ยน แผนการดำเนินงานที่ผ่านมา
ผลที่เกิดขึ้น นายรพินทร์ ยืนยาว และนายอรรถพล ต่องสุพรรณ ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ ที่คณะทำงานกรอกในระบบเว็บไซต์ของโครงการ มาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ไปพร้อม ๆ กันในเวที คณะทำงานได้ทบทวน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และได้ร่วมกันสังเคราะห์อีกครั้ง ซึ่ง จากการเก็บข้อมูล ก็แสดงผลออกมาเป็น สถานการณ์ สุขภาพในแผนงานกิจกรรมทางกาย ออกมา 9 ตัวชี้วัด คือ 1. ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน) 2. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) 3. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 5. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 6. ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 7. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 8. ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)
9. ร้อยละของสำนักงานหรือหน่วยงานราชการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ทั้ง 9 ตัวชี้วัด วิทยากรได้พาผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดวัตถุประสงค์ ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้น โดย คณะทำงานกองทุนทุกกองทุนที่เข้าร่วมประชุม ได้ร่างแนวคิดการจัดทำโครงการ ทั้งหมด พื้นที่ ละ 9 โครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 9 ตัวชี้วัด และได้หยิบขึ้นมา 1 โครงการเพื่อพัฒนาโครงการ

 

40 0

7. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 17 มิถุนายน 2567 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าสู่กระบวนการโดยการรับชมวิดีทัศน์ พื้นที่ตัวอย่างการดำเนินงาน คือ กรณี “หน้าบ้านน่ามอง” ที่มีการบูรณาการดำเนินงานที่มากกกว่าการออกกำลังกาย จากนั้น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ กล่าวต้อนรับ และมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นของ กิจกรรมทางกาย (PA) และจากนั้น นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานระดับเขต 10 ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวันนี้ และสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
หลังจากนั้นนำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการเปิดหน้าเว็บไซต์ข้อมูลโครงการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเห็นภาพร่วมกัน นำเสนอตั้งแต่บริบท สถานการณ์ในพื้นที่ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์โครงการ วิธีการและรูปแบบในการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยมีเวลาให้แต่ละตำบลๆละ 7 นาที ตามลำดับดังนี้ ทต.เขื่องใน, ทต.บ้านกอก, อบต.ค้อทอง, อบต.ท่าไห, อบต.หัวดอน, อบต.นาคำใหญ่, อบต.กลางใหญ่, อบต.ก่อเอ้, อบต.แดงหม้อ, ทต.ห้วยเรือ, อบต.ธาตุน้อย และอบต.ชีทวน โดยคณะทำงานเขียนแผนและโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางให้เกิดแผนและโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลังจากนั้น นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ สรุปผลการประชุม นัดหมายกิจกรรมต่อไป พื้นที่ ทต.บ้านกอก เป็นเจ้าภาพในการจัดเวที และปิดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

• คณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ ทั้ง 12 แห่ง ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ในพื้นที่มาวิเคราะห์ร่วมกัน • พื้นที่ทั้ง 12 แห่ง มีแนวทางในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  โดยได้รับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจาก ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

40 0

8. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ในวันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่  อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โดยมีนายสุธรรม ยืนสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมฯ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนั้นโดยแยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เด็กวัยเรียน-วัยรุ่น กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปโรงเรียน ถ้าเป็นการทำงานหรือการเรียน ควรมีการส่งเสริมกิจกรรม Active Play Active leaning เช่น กิจกรรมการทำเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการท่องเที่ยวเยี่ยมชุมชน เป็นต้น อีกส่วนการสันทนาการ การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา ควรมีกิจกรรมเล่นฟุตบอล ฟุตซอล เต้นแอร์โรบิก รำมวยไทย และการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน
กลุ่มที่ 2 วัยทำงาน กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปทำงาน ถ้าเป็นการทำงานควรมีกิจกรรมระหว่างการทำงานคือ การเดินขึ้นบันไดหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายหรือกีฬา ควรเป็นการเล่น Fitness
และกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุ กิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรมีการเดิน การปั่นจักรยานไปวัด ไปทำประโยชน์สาธารณะ ส่วนการทำงาน ควรมีการทำงานเกษตร การประกอบอาชีพเสริม การทำไม้ดอกไม้ประดับ การจัดการขยะ ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ควรมีการเล่นโยคะ การรำวง การฟ้อนรำมากขึ้น นี้ก็เป็นรูปแบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ ที่ต้องเน้นกิจกรรมที่เพียงพอในทุกกลุ่มวัย เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นต้น แต่ทุกอย่างเน้นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยของวัยตนเองด้วย นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 6 หัวข้อ ดังนี้ 1. สถานกาณณ์สุขภาพ/บริบทพื้นที่ 2. การกำหนดเป้าหมายในการจัดการปัญหา 3. วิธีการหรือกระบวนการจัดการปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  4. กลุ่มเป้าหมายที่เราจะไปจัดการ 5. พื้นที่การดำเนินการ จัดการที่ไหนบ้าง 6. ความคาดหวัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ทางอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลหัวตะพาน และ อบต.จิกดู่  ซึ่งเทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้ น้ำพุ สนามเด็กเล่น ลานหรือที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่หรือลานเต้นแอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย สวนน้ำ สวนสนุก ถนนเดินนวดเท้า ที่ออกกำลังกายคนพิการ แหล่งเรียนรู้ต้นไม้พืชพรรณ ลานกิจกรรม ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำผู้สูงอายุ สวนหย่อม สระว่ายน้ำเด็ก จุดเช็คอิน ร้านตัดผม และต้นไม้ใหญ่  และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ “ที่ทำการ อบต.จิกดู่” นั้น เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาวัฒนธรรม สวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน สานกีฬาเอนกประสงค์ เวทีแอโรบิก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของดีแต่ละหมู่บ้าน กิจกรรมคาราโอเกะ สวนสุขภาพมีฐานกิจกรรมแต่ละวัย การโชว์สินค้าของดีตำบล อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำปิดท้ายฝากให้คณะทำงานท้องถิ่นเรื่องการจัดทำแผนและโครงการ ด้วย 4 คำถาม คือ 1. อยู่ไหน ชุมชนรู้สถานการณ์สุขภาพตนเอง 2. จะไปไหน คือ การตั้งเป้าหมายที่จัดการปัญหาสุขภาพนั่นๆ 3. ไปอย่างไร เป็นวิธีการจัดการปัญหา 4. ไปถึงแล้วหรือยัง คือ การติดตามประเมินวัดผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อไป

นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขตได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งนี้ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่องโดยการออกแบบพื้นที่สาธารณะร่วมกัน การใช้พื้นที่สาธารณะของทุกกลุ่มวัย การเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 และสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลโครงการต่อไป การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 4 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี

 

40 0

9. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

10. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน (ออกแบบพื้นที่ 4 พื้นที่, โครงการ 8 โครงการ) (2) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่อง PA และนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (3) เครือข่ายสื่อท้องถิ่นเผยแพร่และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (4) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA (20 กองทุน) และสนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากกองทุน หรือแหล่งทุนในพื้นที่ฯ (5) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน (20 กองทุน) (ก่อน-หลัง) (6) กระบวนการออกแบบพื้นที่ จำนวน 4 พื้นที่ (7) การออกแบบพื้นที่ จำนวน 4 พื้นที่ (8) กิจกรรมโครงการในชุมชน จำนวน 4 โครงการ (9) กิจกรรมโครงการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 4 โครงการ (10) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่อง PA และนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (11) เผยแพร่กิจกรรมโครงการ จังหวัดละ 3 ชิ้น (12) ผลิตสื่อและเผยแพร่ จังหวัดละ 3 ชิ้น (13) ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 12 อปท (14) ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท. (15) การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU)  เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท.อำเภอหัวตะพาน  จังหวัด อำนาจเจริญ (16) การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU)  เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง12 อปท.อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี (17) การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ  เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี (18) การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ  เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ (19) การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี (20) การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ (21) การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ (22) การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ) จังหวัด

รหัสโครงการ 66-P1-0249

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ดร.เพ็ญ สุขมาก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด