directions_run

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

assignment
บันทึกกิจกรรม
การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดเขื่องใน5 กรกฎาคม 2567
5
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ในวันศุกร์ดี ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี  สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และปรับปรุงกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่นำร่อง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
โดยมี น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานโครงการเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และได้รับการต้อนรับผู้แทนจากสำนักงานสาธารสุขอำเภอเขื่องในโดย นายศรีไพร ปัญญาวิชัย สสอ.เขื่องใน ร่วมแลกเปลี่ยน พร้อมกันนั้น ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อาจารย์ชุนันทร์ วามะขัน ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำผลการออกแบบของ เทศบาลตำบลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี พื้นที่สาธารณะ: “ย่านตลาดเก่า”ให้เป็นถนนคนเดิน สนามเด็กเล่น ที่พักผู้สูงอายุ พื้นที่กิจกรรมของเด็กวัยรุ่น ลานดนตรี ถนนศิลปะ ถนนอาหาร ร้านกาแฟ ที่ออกกำลังกาย ตลาดนัด และพื้นที่ขายสินค้า และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี พื้นที่สาธารณะ: สนามเด็กเล่น ที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานศิลปะ จุด Check In จัดทำลู่วิ่ง ศูนย์เรียนรู้อาชีพ  ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศาลานั่งเล่น ลานปั่นจักรยาน ห้องคาราโอเกะ ที่จอดรถ นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการปรับโครงการให้สมบูรณ์ มีดังนี้ เทศบาลตำบลเขื่องใน
- โครงการสวนฉำฉาพาสุขสันต์ - วัตถุประสงค์:  เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในวันเด็กและวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ - กิจกรรม/ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. สนับสนุนเอกลักษณ์วัฒนธรรมการละเล่นท้องถิ่น ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในเขตพื้นที่ได้มีลานกิจกรรม แสดงศิลปะได้หลากหลายมากขึ้น 2. จัดกิจกรรมลานถนนดนตรี ให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรรค์ในด้านศิลปะดนตรีเพิ่มมากยิ่งขึ้น 3. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในเด็ก เยาวชน ประชนในเขตพื้นที่ ได้มีแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น

  • โครงการสานฝันปันรัก
  • วัตถุประสงค์ : เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในวันเด็กและวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ
  • กิจกรรม/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาหาร ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ในพื้นที่มีศิลปะการแสดง ด้านอาหาร ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพิ่มขึ้น
  2. การดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ ด้านอาชีพ เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์เป็นเอกลักษณ์ของทุกกลุ่มวัย
  3. พัฒนาลานสาธิตกิจกรรมที่แปลกใหม่เพื่อพัฒนาทางด้านจิตใจ ร่างกาย สมอง

องค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้
- โครงการหนูน้อยเคลื่อนไหวใส่ใจสุขภาพ
- วัตถุประสงค์ : เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย  เด็กและวัยรุ่น  ผู้ใหญ่
- กิจกรรม
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายพื้นถิ่น 3 ครั้ง ส่งผลให้เด็กและผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการของเด็ก ได้บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ 2.  ระดมปัญญาสร้างสนามเด็กเล็กเพื่อพัฒนาการ ส่งผลให้เกิดลานปัญญาสร้างสนามเด็กเล็กเพื่อพัฒนาการ 3. สวนสายใยรัก ปลูกผักพืชสมุนไพร ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายโครงการได้ผักพืชสมุนไพร ได้อาหารสุขภาพรับประทานที่บ้าน 4. กิจกรรมขันหมากเบ็ง ส่งผลให้เยาวชนสืบสานวัฒนธรรมกิจกรรมขันหมากเบ็ง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ช่วงวัย (วัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ) เพิ่มขึ้น

องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข
- โครงการออกกำลังกายปั่นจักรยานปลูกป่า - กิจกรรม: ปั่นจักรยานออกกำลังกายปลูกป่า มีตารางการนัดหมาย ทุกวันพฤหัสบดี เริ่มวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567  จำนวน 5 ครั้ง ในการดำเนินกิจกรรม เริ่มเวลา 14.00 น-16.00 น. จำนวน ผู้เข้าร่วม 80 ท่าน - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  เป็นการได้มีความรู้ ความเข้าใจการพัฒนากิจกรรมทางร่างกาย และจิตใจการเสริมสร้างกล้ามเนื้อในการปั่นจักรยาน การหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำใหญ่ - โครงการปั่นสร้างสุข
- วัตถุประสงค์: เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ - กิจกรรม : ปั่นรักษ์โลก(กลุ่ม อถล.ปั่นเก็บขยะตามถนนในชุมชน)  ปั่นรณรงค์ต่างๆ เช่น ปั่นต่อต้านยาเสพติด ป้องรณรงค์ป้องกันโรค ปั่นปันสุข (ปั่นออกเยี่ยม,ให้กำลังใจ กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติในพื้นที่ตำบลนาคำใหญ่) ชวนน้องปั่นไปวัด (ทำกิจกรรมต่างๆเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา เช่น ทำบุญ สวดมนต์ เวียนเทียน ทำความสะอาด) -ปั่นปลูกป่า ปล่อยปลา (อถล.ปั่นไปทำกิจกกรรมปลูกป่า ปล่อยปลา เนื่องในวันสำคัญต่างๆ)
- ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1.ประชาชนในตำบลนาคำใหญ่ได้เพิ่มกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 2.ประชาชนได้ผ่อนคลายหลังจากการทำงาน 3.ประชาชนมีความตระหนักถึงการมีสุขภาพที่ดี 4. ประชาชนในชุมชนมีความสามัคคี และสัมพันธ์อันดีภายในชุมชน 5.ประชาชนมีความตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ 6.การปั่นจักยานเป็นการประยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห
- โครงการ ท่าไห workout on workday - วัตถุประสงค์ : เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย  ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ
- กิจกรรม:
1. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ พร้อมวางแผนงาน -จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการโครงการ โดยแกนหลักคือข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของอบต. และพิจารณาเชิญชวนตัวแทนหมู่บ้านทั้ง 13 หมู่บ้านๆละ 1 คน ที่เป็นที่ยอมรับนับถือของคนในชุมชนร่วมเป็นคณะทำงาน -คณะทำงานประชุมวางแผน กำหนดกิจกรรมทางกายที่จะดำเนินการโดยเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่คนทุกวัยสามารถทำได้ เช่น การเต้นแอโรบิค .การออกกำลังด้วยเครื่องออกกำลังกายต่างๆ, การออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ฯลฯ กำหนดวันและเวลาการทำกิจกรรม อาทิตย์ละ 3 วันๆละ 1-2 ชั่วโมง -วางแผนประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย โดยผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้าน และตัวแทนหมู่บ้านที่เชิญชวนเข้ามา เพื่อสร้างความรับรู้ของชุมชน 2. การดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ -จัดทำหนังสือ/บันทึกแจ้งเวียนถึงกลุ่มเป้าหมายของโครงการ เพื่อให้ทราบและเข้าร่วมกิจกรรม -ดำเนินการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 วัน ดังนี้ กำหนดวันดำเนินกิจกรรม คือ วันจันทร์,พุธ,ศุกร์ ช่วงเวลาเวลาทำกิจกรรม 15.30 - 16.30 น. ลักษณะกิจกรรม -การออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายที่ อบต.จัดหาไว้ สำหรับกลุ่มวัยทำงาน และตัวแทนชุมชน ช่วงอายุ 18-64 ปี -กิจกรรมเต้นแอโรบิค สำหรับกลุ่มวัยทำงาน และเด็ก -กิจกรรมออกกำลังกายด้วยไม้พลอง, การใช้อุปกรณ์ยางยืด สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ -การออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์กีฬาต่างๆ เช่นลูกบอล,แบตมินตัน ฯลฯ สำหรับกลุ่มเด็กและวัยทำงาน -จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการลงในช่องทางประชาสัมพันธ์ของ อบต. ในทุกสัปดาห์ เพื่อเพิ่มการรับรู้ของชุมชน -ประชาสัมพันธ์ผ่านตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ 3. สรุปประเมินรายงานผลตามโครงการ -ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมด้วยการประเมินผลทางด้านร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการ ว่ามีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การประเมินระดับน้ำตาลในเลือด ฯลฯ -ประเมินผลความพึงพอใจ ปัญหา อุปสรรค ด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ -คณะทำงานรวบรวมข้อมูล สรุปผลการดำเนินโครงการ เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค -ประชุมคณะทำงานเพื่อรับทราบผลสรุป และร่วมกันวางแผนและปรับปรุงโครงการในปีต่อๆไป -จัดทำผลการดำเนินโครงการและประชาสัมพันธ์ในประชาชนทราบ

องค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่
- โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ร่วมกับชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่
- วัตถุประสงค์: เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่  และผู้สูงอายุ
- กิจกรรม 1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรวมกลุ่มคนรักสุขภาพในการออกกำลังกายช่วงเย็น บริเวณ ลานตลาดบ้านกลางใหญ่ ทุกวัน เวลา 16.30 – 18.00 น 2. จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่
ส่งผลให้ประชาชนกินผักปลอดสารพิษและเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่  และผู้สูงอายุ

องค์การบริหารส่วนตำบลแดงหม้อ
- โครงการบ้านสวยเมืองสุข - วัตถุประสงค์:เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่ และเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน
- กิจกรรม: 1.ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1-6 หมู่ละ 10 คน จำนวน 60 คน เพื่อชี้แจงโครงการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันซึ่งประกอบด้วย 1.กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชน 2. กิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 3. กิจกรรมการคัดแยกขยะต้นทางให้ถูกต้อง 4. กิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1.คนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 2.ชุมชนมีความปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก 3.ลดการตกค้างขยะภายในชุมชน 4.คนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี 5.ชุมชนมีสภาพแวดล้อมภายในที่ชุมชนที่น่าอยู่

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน - โครงการบ้านน่าอยู่หมู่บ้านสะอาดลดขยะในชุมชน - วัตถุประสงค์:เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้สะอาด สวยงาม, เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรค ป้องกันการเกิดโรคติดต่อในหมู่บ้าน, เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน - กิจกรรม:รณรงค์ทำความสะอาดพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน พร้อมทั้งดูแลบ้านเรือนให้สะอาด สวยงาม น่าอยู่ อสม. ดูแลควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1.สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านสะอาด สวยงาม 2.ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรค 3.ปริมาณขยะในชุมชนลดลง


เทศบาลตำบลบ้านกอก
- โครงการขยับกายขยับใจไทบ้านกอก วัตถุประสงค์:เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน, เพื่อลดความเครียดในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก - กิจกรรม: กิจกรรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม(PA) และปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ, รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตระหนักในการออกกำลังกาย, คณะทำงานโครงการ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในโครงการถึง การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1.บุคลากรในหน่วยงานราชการตระหนักในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรค 2.บุคคลากรในหน่วยงานมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุน้อย
- โครงการธาตุน้อยขยับตัว ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม - วัตถุประสงค์:เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่, เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน - กิจกรรม: 1.ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายเข้าใจโครงการมากขึ้น โดยการจัดทำป้ายรายละเอียดโครงการ วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และสื่อสารทางช่องทางกลุ่มไลน์ 2. กลุ่มเป้าหมายทำแบบประเมินโอกาสเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม  3. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคออฟฟิศชินโดรม และให้ความรู้เรื่องออกกำลังกายที่เหมาะสมกับกลุ่มวัย โดยวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย 4. อบรมฝึกปฏิบัติท่ากายบริหารออกกำลังกายป้องกันออฟฟิศซินโดรม โดยวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย 5. ออกกำลังกายโดยท่าบริหารยึด-เหยียด กล้ามเนื้อ สัปดาห์ล่ะ 3 วัน ๆ ละ 1 ชั่วโมง หลังเลิกงาน (วันจันทร์,วันพุธ,วันศุกร์ ) อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม - ส่งผลกับชุมชนดังนี้  1. มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับกลุ่มเป้าหมาย 2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์ได้ด้วยตนเอง
3. กลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมลดลง นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งนี้ในระยะต่อไป คือ การทำข้อตกลงโครงการและตำบลดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ ร่วมทั้งนัดหมายมานำเสนอผลงานในวัน kickoff PA อ.หัวตะพาน ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567
การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ว่าการอำเภอหัวตะพาน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ4 กรกฎาคม 2567
4
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ในวันพฤหัสบดี ที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.)  ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และปรับปรุงกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โดยมี นายอำคา สายสมุทร นายกเทศมนตรีรัตนวารีศรีเจริญ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมฯ “การเพิ่มกิจกรรมทางกายเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีทำให้สบาย ทำให้ลักษณะอาชีพ พฤติกรรมทำงานเปลี่ยนไป ทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆ ลดลง จากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปนี้ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs ซึ่งการป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ให้ได้ผล คือ การเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง การทำกิจกรรมทางกาย  การออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวออกกำลังกายเป็นประจำ ในส่วนของตำบลรัตวลีฯ มีที่สาธารณะ เนื้อที่ 17 ไร่ สามารถที่จะทำสถานที่ออกกำลังกายให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย” และนายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
พร้อมกันนั้น ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ “การประชุมครั้งนี้มาให้กำลังใจ Empower  ทางสถาบันจะช่วยให้ข้อเสนอแนะในกิจกรรมที่เป็นไปได้และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับกลุ่มเป้าหมาย ข้อเสนอกิจกรรมที่แลกเปลี่ยนเป็นกิจกรรมที่ทำได้จริงมีการถอดบทเรียนแล้ว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญ การทำกิจกรรมทางกายเรื่องความรู้ยังไม่พอ เพราะเรารู้ทุกอย่างแล้ว ต้องกินอย่างไร ออกกำลังกายอย่างไร เรารู้ทุกอย่างแล้วแต่เราไม่ได้ทำ เพราะฉะนั้นกิจกรรมที่เราทำ คือ ไปทำสภาพแวดล้อมให้เอื้อให้คนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ทางทีมในตำบลไปเก็บข้อมูลมาแล้ว จะพบว่ามีสถานการณ์ที่เห็นได้ว่าควรทำกิจกรรมกับกลุ่มนั้นๆ กิจกรรมที่ออกแบบในอนาคต เห็นความยั่งยืนของคน คือ อาจารย์สถาปนิกช่วยออกแบบ แล้วทางท้องถิ่นไปปรับปรุงพื้นที่ คนมาทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ถึงแม้โครงการปิดไปแล้ว แต่ประชาชนยังมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง จากแบบสถาปัตยกรรม จากร่างแผนผังจะมีกิจกรรมอย่างไรบ้าง เช่น ส่งเสริมกิจกรรมเดิน ส่งเสริมสนามเด็กเล่น การไปเชื่อมกับตลาดถนนคนเดิน เชื่อมการท่องเที่ยว”

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อาจารย์ชุนันทร์ วามะขัน ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำผลการออกแบบของ เทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้
พื้นที่ที่ 1 บริเวณใต้ต้นจามจุรี
1. หัวตะพาน ได้พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติ เดิมพื้นที่เดิมมีทางวิ่งพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ จากที่สำรวจพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ที่เกิดขึ้นของสวน ระหว่างวันสวนไม่ได้ถูกใช้งาน จะมีน้อยมากในการใช้งาน
2 บริเวณต้นจามจุรี ตรงนนี้จะมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างวันจุดเดียว คือ คุณครูจะพาเด็กๆ ทำกิจกรรมภายนอกศูนย์ระหว่างวัน และมีลานเดิมที่ผู้สูงอายุใช้ออกกำลังกาย
3. ถัดมาจะเป็นศูนย์เด็กและอาคารผู้สูงอายุ ตรงอาคารอาจจะเป็นกิจกรรมใหม่ เป็นการ link ให้กับตัวต้นจามจุรี และมีอุปกรณ์เครื่องเล่นธรรมชาติให้เด็กๆ ได้เล่น เครื่องเล่นธรรมชาติจะใช้งบประมาณไม่มากและเป็นวัสดุที่ชุมชนช่วยกันทำร่วมกันทำสร้างการมีส่วนร่วมของพื้นที่  และการดูแลรักษาระยะยาวได้มากกว่า 4. ทางเดินจากศูนย์เด็กเข้ามาในพื้นที่ได้ อาจจะมีเครื่องเล่นสำหรับเด็กที่เป็นวัสดุธรรมชาติ
พื้นที่ที่ 2 สวนเดิมสวนมีเครื่องออกกำลังกายเดิม แต่มีการเข้าถึงการใช้น้อย อาจจะเป็นเรื่องภูมิทัศน์ที่ปิดกั้นมากเกินไปจากการปลูกต้นไม้ปิดปังมากเกินไป ทำให้ประชาชนคนภายนอกไม่เห็นการเปิดรับการเข้าไป ตรงนี้จะออกแบบปรับปรุงเคลียร์พื้นที่ตรงนี้ให้โล่งมากขึ้น พื้นที่ 3  ทางวิ่งจะอยู่ในสภาพใช้งานได้ อาจจะปรับเพิ่มเรื่องสีสันให้เชื้อเชิญต่อการใช้งาน เช่น ทาสีใหม่ลงพื้นผิวใหม่ สีน้ำเงิน สีเขียว แถบของจักรยาน พื้นที่ที่ 4 พื้นที่ตรงกลางสนาม เป็นพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ ตรงนี้ถ้าหากจัดกิจกรรมเปลี่ยนจากตลาดชุมชนตลาดพื้นแข็ง เปลี่ยนเป็นตลาดกิจกรรมกลางแจ้งเป็นร่มผ้าใบสีขาว จัดเป็นหัตถกรรม ในระหว่างสัปดาห์ก็จะเปิดให้พื้นที่ในสวนมีชีวิตมากขึ้น จะมีการปรับแต่งภูมิทัศน์ใหม่   และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ
อาคารกำลังดำเนินการก่อสร้างจะเปิดการใช้งานแล้ว ตัวผังจากกองช่าง จะมีทางเข้ามาที่อาคารและมีพื้นที่เปิดโล่งข้างหน้า พื้นที่ตรงสวน จะเป็นพื้นที่เปิดโล่งปรับแต่งภูมิทัศน์ จะมีส่วนสำนักงานกองช่าง และศูนย์ประชุมเดิม และโดมจอดรถ ในส่วนอาคารอื่นๆจะถูกรื้อถอนออก
พื้นที่ที่ 1 พื้นที่สวนเล็กๆ หรือสวนสาธารณะที่ให้ชุมชนและเด็กเข้ามาใช้ประโยชน์ทำกิจกรรมได้ เดิมเป็นที่จอดรถเอาหัวเสียเข้าไป พื้นที่เดิมกองดินหน้าเทศบาล พื้นที่ใต้ร่มค่อนข้างเหมาะ สามารถออกแบบเรื่องเครื่องเล่น และรูปแบบทำกิจกรรม ของสวนผู้สูงอายุและเด็ก ให้เป็นอาคารสินค้าหัตถกรรมชุมชนจะปรับเป็นพื้นที่สาธารณะเล็กๆ ตัวอย่างเครื่องเล่น ตาข่ายให้เด็กปีนป่ายได้ ลักษณะแนวตาข่าย  วัสดุธรรมชาติพวกงานไม้
พื้นที่ที่ 2 ด้านหน้าเทศบาล รพสต.และโรงเรียน
ด้านซ้ายมือเป็นศูนย์เด็กเล็ก ด้านขวามือเป็น สำนักงาน รพสต. และตรงข้ามเป็น เทศบาล ถ้าการทำกิจกรรมสามารถเชื่อมโยงไปยัง รพสต.และโรงเรียนได้ ช่วยให้พื้นที่ใช้งานได้อย่าต่อเนื่อง
ถนนเส้นนี้สามารถทำแทร็กบางอย่างได้ ทำแทร็กจากโรงเรียนผ่าน รพสต.ผ่านสำนักงานได้ป ปรับปรุงพื้นที่ทางเท้าให้เกิดการสัญจรได้ง่าย ให้ดูปลอดภัยและมีการเชื่อมโยงกับพื้นที่ได้ - นักเรียน: ถ้าทางเทศบาลและโรงเรียนมีความต่อเนื่อง จะมีบางวิชาของมัธยม มีการทำกิจกรรม เช่น เรื่องหัตกรรม การละเล่นต่างๆ ดึงมาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้
- ผู้สูงอายุ: กิจกรรมของผู้สูงอายุเอง หรือ รพสต. ที่มีชมรมผู้สูงอายุ หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ เข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้  แนวทางการออกแบบของผู้สูงอายุ จะมีสวนหินสำหรับผู้สูงอายุ การเดินบำบัดต่างๆ
- เครื่องเล่นเด็กที่เป็นวัสดุธรรมชาติ - รวมถึงกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ตลาดนัด ตลาดชุมชน ทางจิกดู่มีผลิตภัณฑ์ชุมชนค่อนข้างมาก พื้นที่ที่ 3 อาคาร สามารถรีโนเวทได้ เป็นอาคารแสดงสินค้าชุมชนได้เพื่อให้เกิดการใช้งานต่อเนื่อง กิจกรรมที่จะเกิดขึ้น
- ส่วนแสดงสินค้าหัตถกรรม
- ปรับภูมิทัศน์สวนให้เด็กๆและผู้สูงอายุได้มาใช้งาน
นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการปรับโครงการให้สมบูรณ์ มีดังนี้ 1 เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ ดำเนินโครงการ 2 ล้อ 2 น่อง ท่องวัดบูรพา
วัตถุประสงค์เพิ่มกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ กิจกรรม "1. สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหนองเดิ่นและบ้านโต่งโต้น 2. เขียนโครงการเสนอ เพื่อขออนุมัติ 3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สูงอายุให้เข้าร่วมโครงการ 4. เชิญชวนผู้สูงอายุเข้าวัดทำบุญและร่วมทำกิจกรรมทางกายที่วัดบูรพา บ้านหนองเดิ่น หมู่ที่ 5 5. ให้ผู้สูงอายุปั่นจักรยานหรือเดินเท้าไปยังวัดบูรพา เพื่อร่วมกันทำบุญและทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน ในทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ 5.1 ผู้สูงอายุปั่นจักรยานหรือเดินเท้าไปยังวัดบูรพา(ไป-กลับ) ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที 5.2 ผู้สูงอายุร่วมกันทำบุญ ฟังธรรม และรับประทานอาหารร่วมกัน 5.3 ผู้สูงอายุพักผ่อนตามอัธยาศัย 5.4 ผู้สูงอายุทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน ประมาณ 40-60 นาที เช่น การเดินจงกรม การกวาดลานวัด การตัดแต่งกิ่งไม้ การรำไม้พลอง การละเล่นพื้นบ้านที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เป็นต้น 6. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ" 2. เทศบาลตำบลหัวตะพาน
ดำเนินโครงการสวน 3 วัยใส่ใจ 3 อ (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) วัตถุประสงค์เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มสามวัย วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ กิจกรรม:  1. จัดตลาดจำหน่ายผักปลอดสารอาหารปลอดภัย 2. ส่งเสริมลานปัญญาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตสุขภาพใจในสวน 3 วัย ส่งเสริมการปั่นจักรยานในวิถีชีวิตประจำวัน และเต้นแอโรบิคส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 3. องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่
จิกดู่ ดำเนินโครงการ PA จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1 โครงการวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่ตำบลจิกดู่ พื้นที่ดำเนินการโรงเรียนชุมชนบ้านจิกดู่
โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุตำบลจิกดู่ "เพื่อนชวนเพื่อน เพิ่ม PA สัญจร" 1 โครงการวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในพื้นที่ตำบลจิกดู่ พื้นที่ดำเนินการโรงเรียนชุมชนบ้านจิกดู่
วัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและเพียงพอ และพัฒนาศักยภาพครูให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย และใช้เครื่องมือมาช่วยหนุนเสริมการออกแบบและวางแผนกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับผลการเรียนแบบ Active play Active learning และบูรณาการร่วมกับชุมชน สถานศึกษาใกล้เคียง อปท.และเครื่อข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่มาร่วมกันออกแบบกิจกรรม และขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายในโรงเรียนและเป็นโรงเรียนต้นแบบ  Active play Active learning และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้สถานศึกษาในพื้นที่ได้
กิจกรรม
1. การประชุมชี้แจ้งคืนข้อมูลสถานการณ์ 2. ประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่คณะครูเรื่องการเรียนการสอน Active play Active learning 3. การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กเล็ก และจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบ Active Classrooms 4. พัฒนาศักยภาพวัยเรียนวัยใส Happy and Healthy ฉลาดเล่น สนุกเรียน และบันทึกสมุดสุุขภาพกิจกรรมเพิ่ม PA 5. วัยเรียน วัยใส Happy and Healthy รณรงค์ออกกำลังกายสร้างสุขภาพ เดิน - วิ่ง - ปั่น เช็คอินแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บ่อบักฮุก แลนด์มาร์คตำบลจิกดู่

2 โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุตำบลจิกดู่ "เพื่อนชวนเพื่อน เพิ่ม PA สัญจร"
วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
กิจกรรม<br />
1. ประชุมชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน
2. การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ การติดตาม และประเมินผลโครงการ
3. เพื่อนชวนเพื่อนเพิ่ม PA สัญจร การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เรื่อง ความสำคัญของกิจกรรมทางกาย PA ในผู้สูงอายุ กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นักเรียนผู้สูงอายุ ชวน เพื่อนผู้สูงอายุ (ผู้เข้าอบรม) เดิน - ปั่นจักรยาน ไปวัดใกล้บ้านทำบุญในวันพระเทศกาลเข้าพรรษา กิจกรรมเชิงปฏิบัติการออกกำลังกายเพิ่ม PA วิถีไทย ด้วยไม้พลอง/ยางยืด /ผ้าขาวม้า กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 - 12 (ที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ)
4. ผู้สูงอายุสุขภาพดี ออกกำลังกายเพิ่ม PA ตามวิถี แบบมีส่วนร่วม ด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน จัดกิจกรรมออกกำลังกายสร้างสุขภาพตามวิถี เพิ่ม PA แบบมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มวัย ณ พื้นที่สาธารณะส่วนรวม องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ โดยใช้ดนตรีประกอบเพลงและท่ารำ ร่วมกับอุปกรณ์ออกกำลังกาย เช่น ไม้พลอง ยางยืด หรือผ้าขาวม้า ณ พื้นที่สาธารณะองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน<br />
5. การประเมินผลโครงการ ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานความสำเร็จของโครงการ

4. เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ ดำเนินโครงการปั่นจักรยานแรลลี่รอบบึง พื้นที่ดำเนินการ  ลานหน้าเทศบาล ปั่นไปยังวัดป่าโนนบึงศิลาราม ประมาณ 5 กิโลเมตร สถานการณ์ กลุ่มวัยผู้ใหญ่ 22.52 % ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 27.00 % กลุ่มผู้สูงอายุ 57.69 % เป้าหมาย คือ 60 % เป้าหมาย ผู้เข้าร่วม 50 คน บ้านเค็งใหญ่ บ้านดู่และบ้านชาติ นำร่อง วิธีการดำเนินงาน 1. ประชุมชีแจ้งโครงการวางแผนการทำงานร่วมกัน ประชาสัมพันธ์โครงการ ทำหนังสือไปยังกำนันผู้ใหญ่บ้าน Facebook line เว็บไซต์ 2 ผู้เข้าร่วมรวมกลุ่มกันที่เทศบาลแล้วปั่นไปยังวัดป่า 5 กิโลเมตร 3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าฐานศึกษาต่างๆ
ฐาน 1 แหล่งโบราณสถานใบเสมา 1,000 ปี มีวิทยากรผู้นำชุมชนได้พูดเกี่ยวกับประวัติใบเสมา
ฐาน 2 วัดป่า จะประกอบด้วยป่า บึงน้ำ ก่อนเข้าสู่วัด ให้ศึกษาเรื่องสมุนไพร ต้นไม้ที่อนุรักษ์ไว้ คือ ยางป่า มีวิทยากรปราญช์ชาวบ้าน เชื่อมโยงไปยังโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ฐาน 3 มีโบส์วัดเก่าแก่ นิมนต์เข้าอาวาสเป็นวิทยากร 4. สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม ผู้บริหารได้รับทราบย
แลกเปลี่ยน
1 การปั่นจักรยานไปเป็นเป็นฐานน่าสนใจ อาจจะเชื่อมไปยังการท่องเที่ยวชุมชน การเชื่อมอาจทำโปสเตอร์แผ่นพับประชาสัมพันธ์ก่อน 2 ปรับชื่อโครงการ "ปั่นสองน่อง ท่องวัดโนนบึง" 3 ปื่นโตสุขภาพ ถวายวัด
4 เชื่อมการท่องเที่ยว ปั่นไปเก็บผัก ถวายวัดได้บุญด้วย

โครงการ ลดพุงขยับกาย ได้รับคำแนะนำให้ขยายไปยังหน่วยงานอื่นด้วย นอกจากเทศบาลเค็งใหญ่แล้ว ยังมีกศน. ศูนย์พัฒนาเด็กเล้กทั้ง 3 ศูนย์ นำร่อง เนื่องจากยังไม่มีการขยับตัวและดื่มน้ำหวาน ปัจจุบันได้ทำเทศบัญญัติเริ่มปีงบประมาณ ปี 2568 มีแผนท้องถิ่นรองรับ กลุ่มเป้าหมายเริ่มจากพนักงงานก่อน ได้แก่ เจ้าหน้าที่เทศบาล คุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เจ้าหน้าที่ภาคสนามมีนักกีฬา นักฟุตบอลของเทศบาลเค็งใหญ่
กิจกรรมทำวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 1 ชั่วโมง
แลกเปลี่ยน 1 โครงการสนับสนุนให้เข้าแผนท้องถิ่น 2 จากการขยายอาจจะมีการแข่งร่วมกัน
3 ปกติจะมีการแข่งขันกีฬาประชาชนในตำบล มาทุกหมู่เตะฟุตบอลแข่งให้โครงการมีโค้ชจากพนักงานเทศบาล เป็นโค้ชให้ชุมชน ใช้แกนนำ อสม.เป็นโค้ช กลไกผู้ใหญ่บ้าน
4 กีฬาประจำปีของ อบต. แข่งเต้นแอโรบิคประจำปี 5. องค์การบริหารส่วนตำบลคำพระ ดำเนินโครงการจักยานขาไถ Balance Bike วัตถุประสงค์ เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย กิจกรรม 1 อบรมให้ความรู้พื้นฐานวินัยจราจรให้ครูและนักเรียน 2 กิจกรรมการแข่งขันจักรยานขาไถ Balance Bike แลกเปลี่ยน: เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้วินัยจราจรร่วมกันกับเด็กและผู้ใหญ่ 6. องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย ที่มาและความสำคัญ ผู้สูงอายุและคนออกกำลังกาย ยังน้อยอยู่ ได้กำหนดการออกกำลังกายแก้ปัญหาผู้สุงอายุออกกำลังกายน้อยด้วยตาราง 9 ช่อง หลักสูตรตาราง 9 ช่อง
กิจกรรมสัปดาห์ละ 1 วัน ทำต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ จำนวน 60 คนต่อรุ่น รวม 200 คน / 3 เดือนต่อรุ่น
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : 1 สถานการณ์ ผู้สูงอายุ 66 เปอร์เซ็น เป้าหมายโครงการ 77 เปอร์เซ็น
2. เพิ่มการเรียนรู้ตารางเก้าช่องที่ถูกต้อง ผ่านสื่อต่างๆ เช่น คลิปวิดีโอ 3. เพิ่มความปลอดภัยในสภาพแวดล้อม 4. เพิ่มความน่าสนใจโครงการ ประกวดแข่งขัน / ประกวดนวัตกรรมตาราง 9 ช่อง ในรูปแบบที่หลากหลาย 5. ลูกหลานช่วยดูแลผู้สูงอายุ ช่วยแนะนำช่วยดูแลความปลอดภัย 6. กลไกโรงเรียนผู้สูงอายุ อาจจะทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นตารางเก้าช่อง 7. สื่อถ่ายทอดเผยแพร่กิจกรรมดีๆในชุมชน  8. เพิ่มวัยทำงาน เช่น คุณครู อสม. 9. พัฒนายกระดับ (เลเวล) 1 ขั้นพื้นฐาน 2. การเต้นประกอบดนตรี 3. หลักสูตร10. ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุฝึกที่บ้าน 11. จัดประกวด 7. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว จัดเก็บข้อมูลสถานการณ์และพัฒนาข้อเสนอโครงการ เช่น การฟื้นฟูการละเล่นไทยให้กลับคืนมา

นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งนี้ในระยะต่อไป คือ การทำข้อตกลงโครงการและตำบลดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ ร่วมทั้งนัดหมายมานำเสนอผลงานในวัน kickoff PA อ.หัวตะพาน ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567
การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ว่าการอำเภอหัวตะพาน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ19 มิถุนายน 2567
19
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ในวันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่  อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โดยมีนายสุธรรม ยืนสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมฯ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนั้นโดยแยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เด็กวัยเรียน-วัยรุ่น กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปโรงเรียน ถ้าเป็นการทำงานหรือการเรียน ควรมีการส่งเสริมกิจกรรม Active Play Active leaning เช่น กิจกรรมการทำเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการท่องเที่ยวเยี่ยมชุมชน เป็นต้น อีกส่วนการสันทนาการ การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา ควรมีกิจกรรมเล่นฟุตบอล ฟุตซอล เต้นแอร์โรบิก รำมวยไทย และการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน
กลุ่มที่ 2 วัยทำงาน กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปทำงาน ถ้าเป็นการทำงานควรมีกิจกรรมระหว่างการทำงานคือ การเดินขึ้นบันไดหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายหรือกีฬา ควรเป็นการเล่น Fitness
และกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุ กิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรมีการเดิน การปั่นจักรยานไปวัด ไปทำประโยชน์สาธารณะ ส่วนการทำงาน ควรมีการทำงานเกษตร การประกอบอาชีพเสริม การทำไม้ดอกไม้ประดับ การจัดการขยะ ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ควรมีการเล่นโยคะ การรำวง การฟ้อนรำมากขึ้น นี้ก็เป็นรูปแบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ ที่ต้องเน้นกิจกรรมที่เพียงพอในทุกกลุ่มวัย เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นต้น แต่ทุกอย่างเน้นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยของวัยตนเองด้วย นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 6 หัวข้อ ดังนี้ 1. สถานกาณณ์สุขภาพ/บริบทพื้นที่ 2. การกำหนดเป้าหมายในการจัดการปัญหา 3. วิธีการหรือกระบวนการจัดการปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  4. กลุ่มเป้าหมายที่เราจะไปจัดการ 5. พื้นที่การดำเนินการ จัดการที่ไหนบ้าง 6. ความคาดหวัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทั้งนี้ทางอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลหัวตะพาน และ อบต.จิกดู่  ซึ่งเทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้ น้ำพุ สนามเด็กเล่น ลานหรือที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่หรือลานเต้นแอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย สวนน้ำ สวนสนุก ถนนเดินนวดเท้า ที่ออกกำลังกายคนพิการ แหล่งเรียนรู้ต้นไม้พืชพรรณ ลานกิจกรรม ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำผู้สูงอายุ สวนหย่อม สระว่ายน้ำเด็ก จุดเช็คอิน ร้านตัดผม และต้นไม้ใหญ่  และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ “ที่ทำการ อบต.จิกดู่” นั้น เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาวัฒนธรรม สวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน สานกีฬาเอนกประสงค์ เวทีแอโรบิก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของดีแต่ละหมู่บ้าน กิจกรรมคาราโอเกะ สวนสุขภาพมีฐานกิจกรรมแต่ละวัย การโชว์สินค้าของดีตำบล อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำปิดท้ายฝากให้คณะทำงานท้องถิ่นเรื่องการจัดทำแผนและโครงการ ด้วย 4 คำถาม คือ 1. อยู่ไหน ชุมชนรู้สถานการณ์สุขภาพตนเอง 2. จะไปไหน คือ การตั้งเป้าหมายที่จัดการปัญหาสุขภาพนั่นๆ 3. ไปอย่างไร เป็นวิธีการจัดการปัญหา 4. ไปถึงแล้วหรือยัง คือ การติดตามประเมินวัดผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อไป

นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขตได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งนี้ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่องโดยการออกแบบพื้นที่สาธารณะร่วมกัน การใช้พื้นที่สาธารณะของทุกกลุ่มวัย การเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 และสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลโครงการต่อไป การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 4 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี17 มิถุนายน 2567
17
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เข้าสู่กระบวนการโดยการรับชมวิดีทัศน์ พื้นที่ตัวอย่างการดำเนินงาน คือ กรณี “หน้าบ้านน่ามอง” ที่มีการบูรณาการดำเนินงานที่มากกกว่าการออกกำลังกาย จากนั้น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ กล่าวต้อนรับ และมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นของ กิจกรรมทางกาย (PA) และจากนั้น นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานระดับเขต 10 ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวันนี้ และสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
หลังจากนั้นนำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการเปิดหน้าเว็บไซต์ข้อมูลโครงการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเห็นภาพร่วมกัน นำเสนอตั้งแต่บริบท สถานการณ์ในพื้นที่ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์โครงการ วิธีการและรูปแบบในการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยมีเวลาให้แต่ละตำบลๆละ 7 นาที ตามลำดับดังนี้ ทต.เขื่องใน, ทต.บ้านกอก, อบต.ค้อทอง, อบต.ท่าไห, อบต.หัวดอน, อบต.นาคำใหญ่, อบต.กลางใหญ่, อบต.ก่อเอ้, อบต.แดงหม้อ, ทต.ห้วยเรือ, อบต.ธาตุน้อย และอบต.ชีทวน โดยคณะทำงานเขียนแผนและโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางให้เกิดแผนและโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หลังจากนั้น นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ สรุปผลการประชุม นัดหมายกิจกรรมต่อไป พื้นที่ ทต.บ้านกอก เป็นเจ้าภาพในการจัดเวที และปิดประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• คณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ ทั้ง 12 แห่ง ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ในพื้นที่มาวิเคราะห์ร่วมกัน • พื้นที่ทั้ง 12 แห่ง มีแนวทางในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  โดยได้รับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจาก ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ28 พฤษภาคม 2567
28
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดยคณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ ได้เรียนรู้หลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) -เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกของการดำเนินกระบวนการเรียนรู้ หลังจากที่เปิดการประชุม นายรพินทร์ ยืนยาว ได้ทำหน้าที่แทน ผศ.ดร. พลากร  สืบสำราญ ได้บรรยายเรื่องแนวคิดและหลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) โดย สร้างความเข้าใจ กับผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยน และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือ กิจกรรมทางกาย นั้น เป็นกุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายทุกประเภทที่ใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ การมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ  ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง  เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
วิทยากรได้พยายามอธิบาย ความเข้าใจ ความต่างระหว่าง กิจกรรมทางกาย กับการออกกำลังกาย ที่หลายคนคิดว่ามันคือ สิ่งเดียวกัน คือ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ แง่มุม แม้ทั้งสองจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพ แต่การออกกำลังกายมีลักษณะเฉพาะและเป็นกิจกรรมที่มีการวางแผนและเป้าหมายชัดเจน ขณะที่กิจกรรมทางกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของเรา จากนั้นนายรพินทร์ ได้ให้แง่คิดกับผู้เข้าร่วมประชุม ได้เห็นถึงความสำคัญของแผนงาน ว่า การมีแผน นั้นเปรียบเสมือน การมีอำนาจต่อรองต่อผู้บริหาร หรือ แหล่งทุน ที่เรามีแผนในการพัฒนาอยู่ในมือ ทั้งแผนโครงการการ และแผนงบประมาณ คณะทำงานได้ให้ความสนใจ และร่วมแลกเปลี่ยน แผนการดำเนินงานที่ผ่านมา
ผลที่เกิดขึ้น นายรพินทร์ ยืนยาว และนายอรรถพล ต่องสุพรรณ ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ ที่คณะทำงานกรอกในระบบเว็บไซต์ของโครงการ มาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ไปพร้อม ๆ กันในเวที คณะทำงานได้ทบทวน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และได้ร่วมกันสังเคราะห์อีกครั้ง ซึ่ง จากการเก็บข้อมูล ก็แสดงผลออกมาเป็น สถานการณ์ สุขภาพในแผนงานกิจกรรมทางกาย ออกมา 9 ตัวชี้วัด คือ 1. ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน) 2. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) 3. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 5. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 6. ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 7. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 8. ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)
9. ร้อยละของสำนักงานหรือหน่วยงานราชการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ทั้ง 9 ตัวชี้วัด วิทยากรได้พาผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดวัตถุประสงค์ ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้น โดย คณะทำงานกองทุนทุกกองทุนที่เข้าร่วมประชุม ได้ร่างแนวคิดการจัดทำโครงการ ทั้งหมด พื้นที่ ละ 9 โครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 9 ตัวชี้วัด และได้หยิบขึ้นมา 1 โครงการเพื่อพัฒนาโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี27 พฤษภาคม 2567
27
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดยคณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ ได้เรียนรู้หลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) -เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เรื่องแนวคิดและหลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) โดย สร้างความเข้าใจ กับผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยน และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือ กิจกรรมทางกาย นั้น เป็นกุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายทุกประเภทที่ใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ การมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ  ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง  เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
วิทยากรได้พยามอธิบาย ความเข้าใจ ความต่างระหว่าง กิจกรรมทางกาย กับการออกกำลังกาย ที่หลายคนคิดว่ามันคือ สิ่งเดียวกัน คือ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ แง่มุม แม้ทั้งสองจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ความหมาย คือ กิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวและใช้พลังงาน ซึ่งรวมถึงทุกการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การทำงานบ้าน การเล่นกับลูก การ  ทำสวน หรือแม้แต่การยืนขึ้นจากการนั่ง เป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะไม่มีกฎเกณฑ์หรือรูปแบบเฉพาะ สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา มีประโยชน์ คือ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง รวมถึงช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกายตัวอย่าง คือ เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์, ทำความสะอาดบ้าน, เดินเล่นกับสัตว์เลี้ยง ในขณะเดียวกันการออกกำลังกาย (Exercise) คือ กิจกรรมทางกายที่มีการวางแผน มีโครงสร้าง และทำเป็นประจำเพื่อให้ได้ผลเฉพาะทาง เช่น การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การลดน้ำหนัก หรือการพัฒนาความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายนั้นมีลักษณะที่ มีความเข้มข้นและรูปแบบที่แน่นอน มีการตั้งเป้าหมายเฉพาะ เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก การฝึกโยคะ นอกจากประโยชน์ต่อสุขภาพทั่วไปแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ปรับปรุงสมดุลและการประสานงานของร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกระดูก เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง, การปั่นจักรยาน, การเล่นกีฬา, การฝึกเวทเทรนนิ่ง กล่าวคือ ทั้งกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพ แต่การออกกำลังกายมีลักษณะเฉพาะและเป็นกิจกรรมที่มีการวางแผนและเป้าหมายชัดเจน ขณะที่กิจกรรมทางกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของเรา

พร้อมกันนั้นวิทยากร ได้ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา การพัฒนากิจกรรมโครงการ ที่สอดคล้องกับแผนงานกิจกรรมทางกาย ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห้นภาพที่ชัดขึ้น เพื่อที่จะได้ออกแบบ หรือ พัฒนาโครงการ ในพื้นที่ของต้นเอง ได้อย่างมีคุณภาพ<br />

ผลที่เกิดขึ้น นายรพินทร์ ยืนยาว และนายอรรถพล ต่องสุพรรณ ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ ที่คณะทำงานกรอกในระบบเว็บไซต์ของโครงการ มาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ไปพร้อม ๆ กันในเวที คณะทำงานได้ทบทวน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และได้ร่วมกันสังเคราะห์อีกครั้ง ซึ่ง จากการเก็บข้อมูล ก็แสดงผลออกมาเป็น สถานการณ์ สุขภาพในแผนงานกิจกรรมทางกาย ออกมา 9 ตัวชี้วัด คือ 1. ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน) 2. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) 3. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 5. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 6. ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 7. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 8. ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)
9. ร้อยละของสำนักงานหรือหน่วยงานราชการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ทั้ง 9 ตัวชี้วัด วิทยากรได้พาผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดวัตถุประสงค์ ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้น โดย คณะทำงานกองทุนทุกกองทุนที่เข้าร่วมประชุม ได้ร่างแนวคิดการจัดทำโครงการ ทั้งหมด พื้นที่ ละ 9 โครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 9 ตัวชี้วัด และได้หยิบขึ้นมา 1 โครงการเพื่อพัฒนาโครงการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง12 อปท.อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี25 เมษายน 2567
25
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเขื่องใน และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 12 แห่ง ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พิจารณา และยินยอม ใน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย” และลงนามความร่วมมือกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดย คณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 12 อปท. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูล และสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อนำมาจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์เทพ  สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้นำเข้าเวทีโดยการกล่าวต้อนรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และได้มีการแนะนำตัว และองค์กร สสส. ถึงวิสัยทัศน์ รูปแบบการขับเคลื่อนงาน สุขภาวะ ที่ สสส. กำลังขับเคลื่อนอยู่ โดย หวังเห็นคนไทยมีสุขภาพดีครบทั้ง 4 มิติ (กาย จิต ปัญญา สังคม) โดยมี "ระบบสุขภาพ" ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมเป็นหลักประกันการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โยงเข้าสู่ประเด็น การขับเคลื่อน คือ กิจกรรมทางกาย (PA : Physical activity) ได้ยกเอาสถานการณ์ตัวอย่าง มาเล่าและอธิบายในที่ประชุม พร้อมทั้งหยิบยกเอาข้อมูลสถิติ การมีกิจกรรมทางกายของคนไทย แต่ละช่วงวัยมานำเสนอในเวที พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทาง การมีกิจกรรมทางกาย ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ของชีวิต คือ 1. กิจกรรมทางกายในสถานการณ์ ของการเดินทาง หรือสัญจร อาจจะส่งเสริมให้มีการ ใช้จักรยาน แทนรถยนต์ หรือ จักรยานยนต์ หรือ ถ้าหาก เดินทางใกล้ ๆ อาจใช้วิธี การเดิน การพัฒนาพื้นทีสาธารณะที่ส่งเสริมให้คนออกมาเดิน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ กิจกรรมการเรียนรู้
2. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ของการ เรียน การทำงาน การประกอบอาชีพ อาจส่งเสริม ให้ในโรงเรียน มีชั่วโมงเรียนที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหมร่างกาย เช่น กิจกรรมกลุ่ม  หรือ การเดินย้ายห้องเรียน ในชั่วโมงที่เปลี่ยนคาบ การส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมที่มีการรวมกลุ่ม กัน เช่น ออกมาทำบปุ๋ยหมัก การออกมารวมกลุ่มกันทำเครื่องจักรสาน ในส่วนของพนักงาน Office ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย มีแต่นั่งอยู่กับที่ ในสถานที่ทำงานเอง อาจมีการส่งเสริม ให้มีการใช้บันได แทนใช้ลิฟท์ หรือ กิจกรรม ภาระงานที่ส่งเสริมการออกแรง หรือ เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น 3. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ ของนันทนาการ หรือการเล่นกีฬา อาจส่งเสริม กิจกรรม หรือชมรม ได้ ออกมาเล่น ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การละเล่นไทย การรำมวยไทย เป็นต้น ส่วน ในวัยทำงาน อาจส่งเสริมให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน หรือ มี โซน fitness ให้ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ  อาจดึงเอากิจกรรมทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การออกมาเต้นมารำประกอบเพลง เป็นต้น

ขณะเดียวกัน นายเกียรติศักดิ์ บาระมี&nbsp; ปลัดอาวุโส อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย อำเภอเขื่องใน เพื่อเป็นข้อเสนอนโยบายร่วมกันในการขับเคลื่อนงานครั้งนี้ อำเภอเขื่องในถือเป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีพื้นที่อยู่ 18 ตำบล 19 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จุดแข็งของผู้บริหารที่นี้ ส่วนใหญ่เป็นคนเขื่องใน ทำงานในพื้นที่ ทำให้มีเวลาที่จะดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างเต็มที่ ในภาพรวมวิสัยทัศน์ของอำเภอเขื่องใน โดยหลักส่วนใหญ่ก็จะถือนบายตสมกระทรวงมหาดไทย คือ การมีค่านิยมที่บำบัดทุกบำรุงสุข และสอดคล้องกับภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประชาชนทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น ซึ่งอำเภอเขื่องในยังคงยึดมั่นในเจตนารมณ์ นี้ในการดูแลประชาชนในพื้นที่ จุดแข็งที่สำคัญของอำเภอเขื่องใน คือ การฐรูณาการงานกันหลายส่วน ในวิสัยทัศน์ร่วม คือ “อำเภอเขื่องใน อำเภอแห่งความสุข” เป็นค่านิยม ที่ข้าราชการทุกคนมุ่งมั่นในเป้าหมายเดียวกัน เร็ว ๆ นี้เอง ทางอำเภอก็จะมีการเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนเขื่องในได้ออกมารวมกัน หรือ มีกิจจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกัน คือ ตลาดนัดสีเขียว โดยใช้สถานที่ ทีว่าการอำเภอเขื่องใน เปิดพื้นที่สาธารณะให้กับกลุ่มที่รักการออกกำลังกาย และนิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ได้มาร่วมจับจ่าย สินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปลอดสารพิษ อาจจะมีการเปิดพื้นที่ทุกวันพุธ เนื่องจาก เรามีนโยบาย ส่งเสริมการออกกำลังกายทุกวันพุธอยู่ด้วย อาจจะชวนผู้ที่มาจับจ่ายได้มาออกกำลังกาย และได้เดินชม และเลือกซื้อ สินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปลอดสารพิษ ในตลาดด้วย ในส่วนกิจกรรมทางกาย ทางอำเภอเองก็มีแนวนโยบายส่งเสริม ตั้งแต่ในวัยเด็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุ เช่น การส่งเสริมการแข่งขันเซปักตระกร้อ รวมทั้ง ส่งเสริมไปยังผู้สูงอายุ ให้มามีส่วนร่วมในการแข่งขันด้วย ทางอำเภอเองก็ได้มีความพยายามที่จะกระตุ้นให้ประชาชน ได้เห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย ในส่วนรับดับราชการ คนทำงาน ก็มีนโยบายให้ออกกำลังกายทุกวันพุธอยู่แล้ว ถือ เป็นวันกีฬา ขององค์กร นอกจากนี้สิ่งที่เรากำลังส่งเสริมนั้นก็สอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงมหาดไทย คือ ให้ข้าราชการ มีสุขภาวะทางกายที่ดี มีจิตใจที่ดี มีกำลังกายกำลังใจที่เข้มแข็ง และสามารถดูแลพี่น้องประชาชนได้ “ให้ข้าราชการทุกคน คึกคัก คึกครื้น และครื้นเครง”<br />

ในเวทีได้มีการแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุม จนทุกคนให้ความสนใจ และเข้าใจถึงแนวทางวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกัน จนนำไปสู่ การประกาศ ข้อตกลงร่วมกัน และได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ในข้อเสนอนโยบาย ดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำแผน จัดทำโครงการและการจัดทำพื้นที่สาธารณะในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง ทั้งนี้ เพื่อให้การบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายในหน่วยงานและชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ลงนามไว้เป็นหลักฐาน” 2) ภายในเวทีคณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 12 อปท. ได้นำเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน ที่ได้มีการลงสำรวจ ใน 3 ส่วน คือ  บุคคลทั่วไป ครัวเรือน และชุมชน แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ในระบบเว็บไซต์ ได้มีการ พิจารณา และตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน ถึงความเป็นไปได้ความหน้าเชื่อถือ และได้มีการ Workshop กรอก แผนพัฒนาโครงการเพื่อจัดการกับปัญหาที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัญหาสุขภาพชุมชน ที่ได้มีการสำรวจ และวิเคราะห์ร่วมกัน คณะทำงาน เกิดความเข้าใจ ถึงการใช้เครื่องมือ ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ และท้องถิ่น ได้แผนโครงการเพื่อยื่นเสนอต่อ กองทุนตำบล (กปท.) ในรอบงบประมาณต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท.อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ24 เมษายน 2567
24
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1)เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอหัวตะพาน และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 8 แห่ง ของอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ พิจารณา และยินยอม ใน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย” และลงนามความร่วมมือกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2)เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดย คณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 8 อปท. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูล และสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อนำมาจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์เทพ  สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้นำเข้าเวทีโดยการกล่าวต้อนรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และได้มีการแนะนำตัว และองค์กร สสส. ถึงวิสัยทัศน์ รูปแบบการขับเคลื่อนงาน สุขภาวะ ที่ สสส. กำลังขับเคลื่อนอยู่ โดย หวังเห็นคนไทยมีสุขภาพดีครบทั้ง 4 มิติ (กาย จิต ปัญญา สังคม) โดยมี "ระบบสุขภาพ" ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมเป็นหลักประกันการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โยงเข้าสู่ประเด็น การขับเคลื่อน คือ กิจกรรมทางกาย (PA : Physical activity) ได้ยกเอาสถานการณ์ตัวอย่าง มาเล่าและอธิบายในที่ประชุม พร้อมทั้งหยิบยกเอาข้อมูลสถิติ การมีกิจกรรมทางกายของคนไทย แต่ละช่วงวัยมานำเสนอในเวที พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทาง การมีกิจกรรมทางกาย ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ของชีวิต คือ 1. กิจกรรมทางกายในสถานการณ์ ของการเดินทาง หรือสัญจร อาจจะส่งเสริมให้มีการ ใช้จักรยาน แทนรถยนต์ หรือ จักรยานยนต์ หรือ ถ้าหาก เดินทางใกล้ ๆ อาจใช้วิธี การเดิน การพัฒนาพื้นทีสาธารณะท่ส่งเสริมให้คนออกมาเดิน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ กิจกรรมการเรียนรู้
2. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ของการ เรียน การทำงาน การประกอบอาชีพ อาจส่งเสริม ให้ในโรงเรียน มีชั่วโมงเรียนที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหมร่างกาย เช่น กิจกรรมกลุ่ม  หรือ การเดินย้ายห้องเรียน ในชั่วโมงที่เปลี่ยนคาบ การส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมที่มีการรวมกลุ่ม กัน เช่น ออกมาทำบปุ๋ยหมัก การออกมารวมกลุ่มกันทำเครื่องจักรสาน ในส่วนของพนักงาน Office ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย มีแต่นั่งอยู่กับที่ ในสถานที่ทำงานเอง อาจมีการส่งเสริม ให้มีการใช้บันได แทนใช้ลิฟท์ หรือ กิจกรรม ภาระงานที่ส่งเสริมการออกแรง หรือ เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น 3. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ ของนันทนาการ หรือการเล่นกีฬา อาจส่งเสริม กิจกรรม หรือชมรม ได้ ออกมาเล่น ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การละเล่นไทย การรำมวยไทย เป็นต้น ส่วน ในวัยทำงาน อาจส่งเสริมให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน หรือ มี โซน fitness ให้ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ  อาจดึงเอากิจกรรมทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การออกมาเต้นมารำประกอบเพลง เป็นต้น

ขณะเดียวกัน นายประหยัด คุณมี นายอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย อำเภอหัวตะพาน เพื่อเป็นข้อเสนอนโยบายร่วมกันในการขับเคลื่อนงานครั้งนี้ นายอำเภอ ได้มองไปถึงอนาคต ความยั่งยืน ของการส่งเสริมของการมีกิจกรรมทางกาย หรือ การออกกำลังกายของประชาชน งบประมาณ จะมีความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหนในการขับเคลื่อน ฉะนั้นแล้ว ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย หรือ การออกกำลังกาย จะต้องส่งเสริมให้ประชาชน มีความตระหนัก และเข้าใจว่าเป็นเรื่องสำคัญ สื่อสารให้ประชาชน เข้าใจ และอยากที่จะออกมาขับเคลื่อนของตัวประชาชนเอง โดยทางหน่วยงานภาครัฐจะมีส่วนที่เอื้อ หรือส่งเสริม ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม ในเรื่องของการ จัดหางบประมาณมาขับเคลื่อน เป็นต้น ถ้าหากประชาชนขาดความเข้าใจ มันก็อาจจะไม่สามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้ อาจจะต้องมุ่งเน้นไปที่ การสื่อสาร ให้ความรู้ สร้างความตระหนักแก่ประชาชน อนึ่ง ในเรื่องการขับเคลื่อนนโยบายในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจที่ หน่วยของท้องถิ่น มีบทบาทที่จะต้องทำอยู่แล้ว ในเรื่องของการบริการสาธารณะ<br />

ในเวทีได้มีการแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุม จนทุกคนให้ความสนใจ และเข้าใจถึงแนวทางวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกัน จนนำไปสู่ การประกาศ ข้อตกลงร่วมกัน และได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ในข้อเสนอนโยบาย ดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำแผน จัดทำโครงการและการจัดทำพื้นที่สาธารณะในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัดอำนาจเจริญ หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง
ทั้งนี้ เพื่อให้การบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายในหน่วยงานและชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ลงนามไว้เป็นหลักฐาน” 2) ภายในเวทีคณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 8 อปท. ได้นำเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน ที่ได้มีการลงสำรวจ ใน 3 ส่วน คือ  บุคคลทั่วไป ครัวเรือน และชุมชน แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ในระบบเว็บไซต์ ได้มีการ พิจารณา และตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน ถึงความเป็นไปได้ความหน้าเชื่อถือ และได้มีการ Workshop กรอก แผนพัฒนาโครงการเพื่อจัดการกับปัญหาที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัญหาสุขภาพชุมชน ที่ได้มีการสำรวจ และวิเคราะห์ร่วมกัน คณะทำงาน เกิดความเข้าใจ ถึงการใช้เครื่องมือ ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ และท้องถิ่น ได้แผนโครงการเพื่อยื่นเสนอต่อ กองทุนตำบล (กปท.) ในรอบงบประมาณต่อไป

ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท.13 มีนาคม 2567
13
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ  โดย นายอภิศักดิ์ อินทบุตร สาธารณสุขอำเภอ เขื่องใน
  • กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ โดย นายประหยัด คูณมี นายอำเภอหัวตะพาน
  • ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบล และอำเภอ” โดย  ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ Road Map การดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นางเสาวนีย์  กิตติพิทยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วางแผนการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกองทุนเพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นายญัติพงศ์  แก้วทอง  สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วางแผนและจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์  วามะขัน นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนายรพินทร์  ยืนยาว คณะทำงานสื่อ เขต 10
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัดท้องถิ่นทุกแห่ง ผอ.กองการสาธารณสุข ผอ.กองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด และประธาน อสม.ทุกตำบล จำนวนกว่า 65 คน 2.ได้พื้นที่ดำเนินการในอำเภอเขื่องใน ได้ขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอำเภอทั้งหมด 8 ตำบล ได้แก่ ต.หัวตะพาน, ต.คำพระ, ต.เค็งใหญ่, ต.หนองแก้ว, ต.โพนเมืองน้อย, ต.สร้างถ่อ, ต.จิกดู่ และต.รัตนวารี
3.ได้พื้นที่นำร่องในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ใน 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลหัวตะพาน และตำบลจิกดู่ก่อเอ้
4.ได้แผนการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูล การพัฒนาศักยภาพในการเขียนแผน เขียนโครงการ
5.ได้แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อและผลิตสื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายเป็นแผนในระยะต่อไป เช่น การสร้างเพจในเฟสบุ๊ค หัวตะพานมีแฮงเดย์ การสร้าง TiKTok การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาในชุมชน การถ่ายคลิปสั้น การทำ Line คณะทำงานสื่อ การสร้างเฟสบุ๊ค Reels
6.ได้ทีมสื่อสารสาธารณะในระดับพื้นที่หรือใน อปท. จำนวน 10 คน

ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 12 อปท12 มีนาคม 2567
12
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ  โดย นายชูวิทย์  ธานี สาธารณสุขอำเภอ เขื่องใน
  • กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ โดย นายภัทรพล  สารการ นายอำเภอ เขื่องใน
  • ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบล และอำเภอ” โดย  ดร.เพ็ญ สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ Road Map การดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นางเสาวนีย์  กิตติพิทยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วางแผนการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกองทุนเพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นายญัติพงศ์  แก้วทอง  สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วางแผนและจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์  วามะขัน นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะ
  • ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนายรพินทร์  ยืนยาว คณะทำงานสื่อ เขต 10
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัดท้องถิ่นทุกแห่ง ผอ.กองการสาธารณสุข ผอ.กองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด และประธาน อสม.ทุกตำบล 75 คน 2.ได้พื้นที่ดำเนินการในอำเภอเขื่องใน ได้ขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอำเภอทั้งหมด 12 ตำบล ได้แก่ ต.บ้านกอก, ต.ศรีสุข, ต.กลางใหญ่, ต.ค้อทอง, ต.ก่อเอ้, ต.ท่าไห, ต.นาคำใหญ่, ต.แดงหม้อ, ต.ธาตุน้อย, ต.หัวดอน, เทศบาลตำบลเขื่องใน และ เทศบาล ต.หัวเรือ 3.ได้พื้นที่นำร่องในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ใน 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลเขื่องใน และตำบลก่อเอ้
4.ได้แผนการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูล การพัฒนาศักยภาพในการเขียนแผน เขียนโครงการ
5.ได้แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อและผลิตสื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายเป็นแผนในระยะต่อไป เช่น การค้นหาที่ออกกำลังกาย การค้นหารูปแบบการออกกำลังกาย ค้นหาการกิน การอยู่ ค้นหาคนต้นแบบ การระดมทุนโดยการผลิตเสื้อ การให้ความรู้การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนในชุมชนมาถ่ายทอด การส่งหนังสือแจ้ง การติดแฮตแท็ก การสร้างกลุ่ม Line ในชุมชน การสร้างเพจในเฟสบุ๊ค เขื่องในมีแฮงเดย์
6.ได้ทีมสื่อสารสาธารณะในระดับพื้นที่หรือใน อปท. จำนวน 8 คน 7.ได้คณะทำงานของอปท.ที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่องดังนี้ 7.1.คณะทำงานจัดเก็บข้อมูล 2-3 คน/อปท 7.2.คณะทำงานจัดเก็บข้อมูล 2-3 คน/อปท. 7.3.คณะทำงานเขียนแผนและโครงการ 2-3 คน/อปท 7.4.คณะทำงานสื่อ 1-2 คน/อปท. 8.ได้ข้อตกลงร่วมทั้ง 8 อปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ/จังหวัดจะทำMOU ร่วมกัน  ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567