directions_run

โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ”

ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายสมนึก นุ่นด้วง

ชื่อโครงการ โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

ที่อยู่ ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 61-ข-066

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 14 มิถุนายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง " ดำเนินการในพื้นที่ ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 มิถุนายน 2561 - 14 มิถุนายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 150,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 45 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

  • ความมั่นคงทางอาหาร ได้กลายเป็นปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่หลายพื้นที่เผชิญ และหลายพื้นที่ได้สร้างมาตรการรับมือกับความท้าทายดังกล่าวเพื่อให้อยู่รอดได้ในยามวิกฤติ แต่ปัญหาการสร้างความมั่นคงทางอาหารก็มีมากอาทิ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การสูญพันธุ์ของพืชอาหารท้องถิ่น ภาวะขาดแคลนแรงงาน นโยบายส่งเสริมการศึกษาขยายเวลาภาคบังคับ นโยบายส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม นโยบายการเพิ่มผลผลิต การใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ภาวะภัยพิบัติ เหล่านี้ทำให้กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ที่หมายถึง การมีอาหารเพียงพอ การมีอาหารปลอดภัย และสามารถเข้าถึงอาหารนั้นได้ ตำบลโคกม่วง เป็นพื้นที่ในเขตการปกครองท้องที่ของอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 15 หมู่บ้าน ทิศเหนือติดตำบลนาโหนด ทิศใต้ติดตำบลตะโหมด ทิศตะวันตกติดตำบลคลองเฉลิม ทิศตะวันออกติดตำบลเขาชัยสนและควนขนุน สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่เนินควนทางตะวันตก และลาดเอียงไปทางตะวันออก มีที่ราบลุ่มกระจายทั่วไปมีคลองท่าควาย คลองเคียน คลองพญา คลองวังครก และห้วยสังแก แต่บางสายน้ำจะมีน้ำไหลเฉพาะช่างหน้าฝน พื้นที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพด้านการทำสวนยางและปศุสัตว์ เนื้อที่ทั้งตำบล 67.994 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 42,500 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร ประมาณ 42,296 ไร่ ประชากร 9,762 คน เพศชาย 4,849 คน เพศหญิง 4,913 คน จำนวน 2,704 ครัวเรือน
    • สภาพปัญหาของพื้นที่
      นับตั้งแต่ปี 2520 รัฐมีนโยบายส่งเสริมการปลูกยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลโคกม่วง จึงเปลี่ยนจากการปลูกพืชอาหาร มาเป็นการปลูกพืชเพื่อส่งเข้าโรงงาน การปลูกยางพันธุ์ดีจึงรุกล้ำพื้นการทำนา พื้นที่ปลูกพืชอาหารอื่นๆอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงยิ่งขึ้นจนในที่สุดในบางหมู่บ้านไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวเหลืออีกเลย และการปลูกยางภายใต้เงื่อนไขของ กสย. ที่กำหนดพื้นขอรับทุนสงเคราะห์ปลูกยางได้เพียงอย่างเดียว ทำให้พืชอาหารอื่นๆ ที่เคยปลูก เคยมี หรือเคยหาได้ตามฤดูกาลก็หมดไป การปลูกยางพารา ต้องถางป่า ต้องเผาป่า ต้องไถปรับหน้าดิน เหล่านนี้ก่อให้เกิดการพังทลายของดิน ไหลลงสู่ลำห้วย จนตื้นเขิน แหล่งน้ำ แอ่งน้ำในลำห้วยก็หายไป ส่งผลให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์ไปด้วย ประกอบกับ กสย. สนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าหญ้า ไกลโฟเสต พาราควอต ยาฆ่าหญ้าคา ยาทาฆ่าตอต้นยางพารา สารเคมีเหล่านี้ตกค้างในดิน ไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำลายสัตว์น้ำอย่างรุนแรง เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายปัจจัยเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
    • ปัจจุบัน ในสภาวะที่หลายพื้นที่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร แต่ตำบลโคกม่วงโดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว และหมู่ที่ 15 บ้านเกาะทองสมใหม่ ซึ่งมีการพัฒนาชุมชนสู่ความเข้มแข็ง มีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ มีการพัฒนาทักษะของบุคคล บุคคลแกนนำ ให้ตื่นตัวและได้สร้างมาตรการมารับมือเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนจนได้รับการยอมรับ และกลายเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการตนเองทั้ง 4 มิติ ทั้งมิติด้านสุขภาพ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชนที่มีการผลิตพืชผักผลไม้ปลอดสารเคมี การแปรรูปผลผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า การสร้างอาชีพ การกระจายรายได้ โดยใช้แผนพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือ ซึ่งเป็นประเด็นที่ท้าทายให้ศึกษาว่าจะพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อจัดทำแผนสู่การขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆหรือจะผลักดันสู่นโยบายสาธารณได้อย่างไร

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์และรูปแบบ (Model) การจัดการความมั่นคงทางอาหารในหมู่บ้านทุ่งยาว และบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ
  2. 2. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายพื้นที่ต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

    วันที่ 26 สิงหาคม 2561 เวลา 10:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายางานการประชุมคณะทำงาน วันที่ 26 สิงหาคม 2561
    ณ ศูนย์เรียนรู้หมู่ที่ 11 ตำบลโคกม่วง ผู้มาประชุม 1. นายมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านทุ่งยาว คณะทำงาน 2. นายวิโรจน์ เหตุทอง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านเกาะทองสมใหม่ คณะทำงาน 3. นางปิยนารถ หนูพลับ นักพัฒนาชุมชน ทต.โคกม่วง  คณะทำงาน 4. นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยงาน คณะทำงาน 5. นายถาวร คงศรี  นักวิชาการพัฒนาติดตามประเมินผลโครงการ คณะทำงาน 6. นายสมมิตร ปานเพชร แกนนำจิตอาสา  ผช.เลขานุการ/คณะทำงาน 7. นายสมนึก นุ่นด้วง นักวิชาการฯ            เลขานุการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ไม่มาประชุม
    1. นายเจริญศักดิ์ ชูสง (ป่วย) 2. นางอารีย์ เกื้อคลัง
    คณะทำงานมาพร้อมกัน ครบองค์ประชุม ที่ประชุมเลือกนายสมนึก นุ่นด้วงเป็นประธานเปิดประชุมเวลา 10.00 น ตามวาระดังนี้ วาระที่ 1  ชี้แจงสร้างความเข้าใจแผนงานโครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ซึ่งมี 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารในหมู่บ้านต้นแบบ (บ้านทุ่งยาวและบ้านเกาะทองสมใหม่) ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง  มีข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่บ้านโคกม่วงและบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ (พอเพียง ปลอดภัย เข้าถึงได้ และการมีส่วนร่วม) 1.2 เพื่อพัฒนาและขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุม 15 หมู่บ้านในตำบลโคกม่วง  อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง 2.ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ 2.1 ข้อมูลรูปแบบ Model การจัดการด้านความมั่นคงทางอาหารในตำบลโคกม่วง 2.2 ข้อมูลการประเมินผลจากการดำเนินงานขยายผลพื้นที่ต้นแบบให้ครอบคลุม 15 หมู่บ้าน 2.3 ข้อมูลการถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านความมั่นคงทางอาหาร 3. แผนงานกิจกรรมที่จะตอบตัวชี้วัดทั้ง 11 กิจกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสามารถ เพิ่มลด ได้ตามความเหมาะสม
    3.1 ที่ประชุมเสนอให้เชิญผู้เกี่ยวข้องที่สนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารเข้าร่วมรับรู้และออกแบบ วางแผนดำเนินงานความมั่นคงด้านอาหารในทุกหมู่บ้านตั้งแต่ต้นกระบวนการ ทั้งนี้เพื่อให้ภาคีเหล่านี้ได้สนับสนุน พื้นที่ขยายผลในโอกาสต่อไป ซึ่งผู้ใหญ่บ้านมนูญ และผู้ใหญ่วิโรจน์ ได้เสนอภาคี เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่กระบวนการศึกษาพื้นที่ต้นแบบ
    4. ระยะเวลาดำเนินงาน ที่คณะทำงานจะต้องผลักดันจัดให้มีกิจกรรมเพื่อตอบตัวชี้วัดนั้นๆ ตามลำดับ 5. งบประมาณที่สนับสนุนกิจกรรมตามโครงการ ซึ่งมีรายละเอียดแล้วตามรายละเอียดกิจกรรมและรายจ่าย

    สรุป ที่ประชุมสอบถาม แลกเปลี่ยนจนเป็นที่เข้าใจตรงกันในเรื่องเป้าหมาย กิจกรรม ค่าใช่จ่าย และผลลัพธ์ ที่จะต้องมี Model ของหมู่บ้านต้นแบบ 2 หมู่ แลทำแผนขยายผลสู่ ทุกหมู่บ้านในตำบล

    วาระที่ 2 ออกแบบกิจกรรมประชุมแกนนำชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลศึกษาพื้นที่ต้นแบบ 2 หมู่บ้าน ๆละ 20 คน ในวันที่ 12และ 13 สิงหาคม 2561 พร้อมด้วยภาคีที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. พัฒนาชุมชนตำบล
    2. เกษตรตำบล 3. การศึกษานอกระบบ (กศน.) 4. ปศุสัตว์อำเภอ 5. ปลัดเทศบาลตำบลโคกม่วง 6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) 7. สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สปก.)
    ที่ประชุมมอบหมาย
    1. นางปิยนารถ หนูพลับ ประสานงานด้านสถานที่ อาหารว่าง อาหารกลางวัน 2. นายมนูญ และนายสมมิตร คัดเลือกแกนนำ หมู่ที่ 11 เข้าร่วมประชุม 3. นายวิโรจน์ และนางสาวสายพิณ คัดเลือกแกนนำ หมู่ที่ 15 เข้าร่วมประชุม 4. นายสมนึก ประสานงานเชิญภาคีที่เกี่ยวข้อง และวิทยากรดำเนินการ 5. นางสาวไพลินจัดเตรียมเอกสารลงทะเบียน เอการการเงิน และรับผิดชอบการต้อนรับ การลงทะเบียน 6. นายถาวร บันทึกรายงานการประชุม สรุปประเด็นงานด้านต่างๆ

    ปิดประชุมเวลา 15.30 น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานเข้าประชุม 7 คน
    คณะทำงานเข้าใจภาระกิจร่วมกัน  เข้าบทบาทหน้าที่ที่มีต่อโครงการ รับรู้การมอบหมายงานในกิจกรรมต่อไป 13 กันยายน 2561 1. นางปิยนารถ  หนูพลับ ประสานงานด้านสถานที่ อาหารว่าง อาหารกลางวัน 2. นายมนูญ และนายสมมิตร คัดเลือกแกนนำ หมู่ที่ 11 เข้าร่วมประชุม 3. นายวิโรจน์ และนางสาวสายพิณ  คัดเลือกแกนนำ หมู่ที่ 15 เข้าร่วมประชุม 4. นายสมนึก  ประสานงานเชิญภาคีที่เกี่ยวข้อง และวิทยากรดำเนินการ 5. นางสาวไพลินจัดเตรียมเอกสารลงทะเบียน เอการการเงิน และรับผิดชอบการต้อนรับ การลงทะเบียน 6. นายถาวร บันทึกรายงานการประชุม สรุปประเด็นงานด้านต่างๆ

     

    9 9

    2. เก็บข้อมูลบ้านทุ่งยาว และ บ้านเกาะทองสม ให้ครอบคลุม 4 มิติ

    วันที่ 13 กันยายน 2561 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงสรา้งความเข้าใจกระบวนการกับแกนนำชุมนที่เข้าร่วมให้ข้อมูล โดยแบ่งกระบวนการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ขั้นตอน
    ขั้นตอนที่ 1 แกนนำแต่ละหมู่บ้านร่วมทำ Mapping ครอบครัวที่มีการผลิตอาหารปลูกพืชผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์ในชุมชน ใช้เวลา 90 นาที เบรค 15 นาที แล้วต่อด้วยการนำเสนอให้โอกาสกลุ่มได้ช่วยเสริมเติมเต็มรายละเอียด รายละเอียด (ตามเอกสารแนบไฟล์)

    ขั้นตอนที่ 2 แกนนำแต่ละหมู่บ้านร่วมทำ Mapping หน่วยงานองค์กรที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร และชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการความมั่นคงทางอาหารอย่างไร มีช่องทางใดที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ (ตามเอกสารแนบไฟล์)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ Mapping ครอบครัวที่ผลิดอาหารปลอดภัยในชุมชน จำแนกรายพื้นที่ดังนี้

    หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว
    ครอบครัวที่ปลูกพืชผักปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 29 ครอบครัว ระดับพืชผักอินทรย์มาตรฐาน Organic Thailand Certificate 2 ครอบครัว

    ครอบครัวที่ปลูกไม้ผล ผลิตผลไม้ปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 4 ครอบครัว

    ครอบครัวที่เลี้ยงสัตว์เป้นอาหารปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 24 ครอบครัว

    หมู่ที่ 15 บ้านเกาะทองสมใหม่

    ครอบครัวที่ปลูกพืชผักปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 33 ครอบครัว

    ครอบครัวที่ปลูกไม้ผล ผลิตผลไม้ปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 6 ครอบครัว

    ครอบครัวที่ทำนาปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 18 ครอบครัว

    ครอบครัวที่เลี้ยงสัตว์เป้นอาหารปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 16 ครอบครัว

     

    40 36

    3. ประชุประชุมคณะทำงาน สร้าางความเข้าใจกับภาคีที่เกี่ยวข้อง

    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงานขอความร่วมมือจากนายอำเภอเขาชัยสน เพื่ออนุญาตให้เข้าร่วมประชุม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานตามแผนงาน และขอความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้โอกาสการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือนพฤศจิกายน 2561  มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย แพทย์ สารวัตร และหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมการประชุม ประมาณ 200 คน (ตามรูป) 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้นำท้องที่ทั้ง 15 หมู่บ้านได้รับทราบรายละเอียดการดำเนินการแผนงาน วัตถุประสงค์ กิจกรรม
    ผู้นำท้องที่ตำบลอื่นๆ  หัวหน้าส่วนราชการ ได้รับทราบด้วย นายอำเภอได้ฝากให้ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนให้ความร่วมมือการการศึกษาเพื่อพัฒนาของแผนงานนี้

     

    60 60

    4. บริหารจัดการ นำเสนอความก้าวหน้าและตรวจเอกสารการเงิน

    วันที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายงานความก้าวหน้าโครงการครั้งที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับคำแนะนำในการสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลจาก อ.เพ็ญ สุขมาก

     

    1 1

    5. เวทีประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจระดับตำบล

    วันที่ 27 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำหมู่บ้าน และบุคคลที่มีการปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารของในแต่ละหมู่บ้าน คัดเลือกมาหมู่บ้านละ 3 คน ร่วมกับภาคีเทศบาลตำบล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อค้นหาบุคคล ครัวเรือนที่ดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรม.42..คน

    แกนนำได้เรียนรู้กระบวนการจัดการอาหารปลอดภัย

    แกนนำได้เรียนรุ้รูปแบบการจัดการอาหารปลอดภัย

    รายละเอียดตามไฟล์เอกสารแนบ

     

    50 0

    6. เก็บ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลความมั่นคงทางอาหารของหมู่บ้านต้นแบบ (ม.11,15)

    วันที่ 10 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จ้างเก็บข้อมูล 220 ชุด รวบรวมข้อมูลมือสอง จาก รพสต. 3 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูล นักวิชาการ 3 คน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. บ้านทุ่งยาว 1.1 ข้อมูลการปลูก การบริโภคอาหารประเภทผัก ปลูกผักกินเองร้อยละ 45 พื้นที่ปลูกผักปลอดสารเคมีร้อยละ 87.34    เนื้อสัตว์ ครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหารในครัวเรือนร้อยละ 45  ข้าว การบริโภคข้าวของประชาชนบ้านทุ่งยาวเฉลี่ย 25.12 กิโลกรัม/ครัวเรือน/เดือน

    2. บ้านเกาะทองสมใหม่ 2.1 ข้อมูลการปลูก การบริโภคอาหารประเภทผัก ปลูกผักกินเองร้อยละ 59 พื้นที่ปลูกผักปลอดสารเคมีร้อยละ 99.77    เนื้อสัตว์ ครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหารในครัวเรือนร้อยละ 43  ข้าว การบริโภคข้าวของประชาชนบ้านเกาะทองสมใหม่เฉลี่ย 22.98 กิโลกรัม/ครัวเรือน/เดือน

    3. แหล่งผลิตปลอดภัย แหล่งจำหน่าย
    4. รายละเอียดตามไฟล์ที่แนบด้วยแล้ว

     

    3 3

    7. บริหารจัดการ นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ

    วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน
    2. ร่วมเรียนรู้การนำเสนอผลการดำเนินงานกับพื้นที่อื่นๆ
    3. นำเสนอผลการดำเนินงานของตำบลโคกม่วง
    4. รับการตรวจเอกสารการจ่ายเงิน
    5. ส่งมอบเอกสารการเงินที่ตรวจแล้วให้ สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ สรุป กระบวนการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน  ปัจจัยเอื้อ ปัญหาอุปสรรค
    เสนอรูปแบบการดำเนินงานความมั่นคงทางอาหาร

     

    1 1

    8. เเวทีสร้างความเข้าใจและทำ Mapping ระดับตำบล

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชุมเวลา 09.00 น ลงทะเบียน

    เวลา 09.30 น ปลัดเทศบาลตำบลโคกม่วงกล่าวต้อนรับ แนะนำสถานที่

    เวลา 10.00 น นายสมนึก นุ่นด้วง สร้างความเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ และให้แต่ละหมู่บ้านระดมความเห็นเพื่อให้ได้ข้อมุูลบุคคล ครอบครัวที่ดำเนินการปลูกผัก เสี้ยงสัตว์ เพื่อความมั่นคงทางอาหารของครอบครัว และชุมชน (เสริฟอาหารว่างในที่ประชุม)

    เวลา 12.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา 13.00 น แต่ละหมู่บ้านนำเสนอรูปแบบที่แต่ละบุคคล ครัวเรือนการดำเนินการ (เสริฟอาหารว่างในที่ประชุม)

    เวลา 15.30 น เลิกประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากเวทีประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจ และทำ Mapping ระดับตำบล (15หมู่บ้าน+ท้องถิ่น+ภาคี) ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกม่วง ซึ่งเป็นการประชุมผู้นำหมู่บ้านแกนนำชุมชน เพื่อเก็บรวมข้อมูลบุคคล ครัวเรือนปฏิบัติการอาหารปลอดภัย การเกษตรปลอดสารเคมี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 15 หมู่บ้าน 45 คน ครูโรงเรียน 1 คน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 คน เจ้าหน้าที่เทศบาล 3 คน ผลการประชุมได้ข้อมูลบุคคล ครัวเรือนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารของ 15 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 จำนวน 10 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 2 จำนวน 4 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 3 จำนวน 8 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 4 จำนวน 6 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 5 จำนวน 3 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 6 จำนวน 12 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 7 จำนวน 5 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 8 จำนวน 13 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 9 จำนวน 17 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 10 จำนวน 4 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 11 จำนวน 45 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 12 จำนวน 14 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 13 จำนวน 5 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 14 จำนวน 6 ครัวเรือน

    หมู่ที่ 15 จำนวน 49 ครัวเรือน

     

    50 15,000

    9. ติดตามประเมินผลพื้นที่การขยายผล 13 หมู่ไบ้าน 1ครั้ง

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การติดตามประเมินพื้นที่ขยายผลความมั่นคงทางอาหาร โดยคณะทำงานและภาคีดังนี้ 10 คน
    1. นายมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 คณะทำงาน 2. นางสาวอุบลรัตน์ เมืองสง นักวิชาการสาธารณสุข เทศบาลตำบลโคกม่วง คณะทำงาน /ภาคท้องถิ่น 3. นางสาวสายพิณ โปชะดา นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.บ้านเกาะทองสม คณะทำงาน /ภาครัฐ 4. นายถาวร คงศรี คณะทำงาน
    5. นายณัฐพงค์ คงสง คณะทำงาน 6. นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ คณะทำงาน 7. นายวิโรจน์ เกตุทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 คณะทำงาน 8. นายสมมิตร ปานเพชร  คณะทำงาน 9. นายชำนาญ สงชู ผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ SDGs PGS พัทลุง/ภาคประชาสังคม 10. นายสมนึก นุ่นด้วง คณะทำงาน /ผู้รับผิดชอบโครงการ

    คณะทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานและภาคีร่วมพร้อมกันที่เทศบาลตำบลโคกม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการได้รสร้างความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของทีมติดตามประเมินผล โดยให้ใช้กลยุทธ์การเสริมพลังการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับตำบล ให้เสนอแนะและสร้างความเข้าใจแผนงานโครงการ ตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง สอบถามปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการความมั่นคงทางอาหารในทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน และระดับตำบล รายละเอียดดังนี้

    • สิ่งที่พบเห็น : โดยรวมครอบครัวต้นแบบ มีการปลูกผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน เลี้ยงสัตว์เพื่อขาย เลี้ยวสัตว์เป็นอาหาร เลี้ยงปลา ทำน้ำหมัก ทำปุ๋ยหมัก เป็นคนขยัน ทำงานประณีต เป็นที่ยอมรับของชุมชน และมีครอบครัวเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์แบบแปรผันตาม ซึ่งจะเป็นโอกาสของกายขยายผลตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในโอกาสต่อไป
    • ปัญหาอุปสรรค : พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดการจัดการน้ำ จะมีเพียงแต่บ้านต้นแบบที่มีการจัดการน้ำในครอบครัว แต่โดยรวมของชุมชนยังไม่มีการจัดการน้ำที่ดีพอ เพื่อให้สามารถมีน้ำเพื่อการเกษตร เช่นเดียวกับหมู่ที่ 11 มีความขัดแย้งที่เกิดจากการไม่จัดการนี้ที่ดีเช่นการเจาะท้ายฝายเก็บน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้คนเดียว การสูบน้ำออกจากอ่าง/บ่อ เพื่อจับปลาในหน้าแล้ง เป็นเหตุให้น้ำขุ่นข้นใช้ไม่ได้ และหรือน้ำแห้ง
    • ข้อเสนอแนะ : 1. การจัดการแหล่งน้ำชุมชนโดยใช้กติกา และใช้มาตรการทางสังคมกับผู้ละเมิดกติกา เช่นการจัดการแนวป้องกันน้ำบ่าท่วมพื้นที่การเกษตร การขุดบ่อ ขุดสระสาธารณะ ให้ชุมชนใช้ร่วมกัน
          : 2. การมีแหล่งน้ำเฉพาะครัวเรือน ด้วยการแบ่งพื้นที่การเกษตรส่วนหนึ่งขุดเป็นแหล่งน้ำเป็นการลงทุนครั้งเดียวที่ช่วยให้ครอบครัวมีน้ำใช้ตลอดไป
            : 3. ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการกักเก็บน้ำในพื้นที่สวนยาง เช่นการสร้างฝายชะลอน้ำตามแบบอย่างของบ้านทุ่งยาว ซึ่งชุมชนสามารถเรียนรู้ได้จากในตำบล และสร้างได้ด้วยต้นทุนในชุมชน แรงงานในชุมชน ฝายชะลอน้ำจะช่วยให้ผืนดินดูดซึมซับน้ำไว้ในหน้าฝน และค่อยๆ ปลอดปล่อยน้ำออกมาในหน้าแล้ง จากความสำเร็จของหมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว
          : 4 ตำบลโคกม่วงต้องสร้างเมนูอาหารจากภูมิปัญญาชมชน และสร้างชื่อเสียง สร้างค่านิยม เพื่อส่งเสริมกระแสความมั่นคงทางอาหารของตำบล ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยเทศบาลร่วมกับชุมชน /ศูนย์เรียนรู้/วิสาหกิจ /กลุ่ม /หรือครัวเรือนต้นแบบ เช่น หมู่ที่ 4 บ้านไร่ลุ่มประกาศเมนูแกงแพะเป็นเมนูเด็ดของชุมชน และเปิดบริการเชือดชำแหละแพะ “คิดถึงแพะ คิดถึงบ้านไร่ลุ่ม”     : 5. การกำหนดนโยบายความมั่นคงทางอาหาร และผลักดันแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วงไปสู่หน่วยงาน องค์กร ชุมชน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างพื้นที่ปฏิบัติการให้เห็นรูปธรรมความสำเร็จ

     

    39 10

    10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

    วันที่ 10 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 9.30น ลงทะเบียน
    • 10.00 น รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการ รายงานผลการวิเคราะห์ขอ้มูลตำบลโคกม่วง ข้อมุลพื้นที่ต้นแบบ 2 หมู่บ้าน (รับประทานอาหารว่าง)
    • 12.00 รับประทานอาหารกลางวัน
    • 13.00 ร่วมกันยกร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง จากข้อมุลที่มี (รับประทานอาหารว่าง)
    • 15.30 เลิกประชุมรับเงินค่าเดินทาง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง
    • การมีส่วนร่วมจากภาคีที่เกี่ยวข้องในการทำแผนฯ (ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน/ รพสต/ท้องถิ่นงานเกษตร/งานสาธารณสุข / งานพัฒนาชุมชน ) รายละเอียดตามเอกสารแนบ

     

    10 10

    11. แกนนำปฏิบัติการดูงานหมู่บ้านต้นแบบ

    วันที่ 16 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 10.00 น แกนนำของแต่ละหมู่บ้านมาถึงพร้อมกันที่ศูนย์เรียนรู้หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ดูงาน รับประทานแอาหารว่าง
    • 10.30 น ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์
    • 10.45 น ประธานศูนย์เรียนรู และคณะ แนะนำการจัดการเพื่อความมั่นคงทางอาหารของบ้านทุ่งยาว ด้วยการสร้างศูนย์เรียนรู้ การสร้างต้นแบบ การรวมกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ร่วมกันของสมาชิก
    1. คุณณรงค์ ปิ่นมณี แนะนำการปลูกพืชผักสวนครัว และการเลี้ยงปลาไว้กินในครัวเรือน ที่ฐานเรียนรู้ของตนเอง มีการปลูกพืชผัก ผลไม้หลากหลายชนิด ร่วมกับการเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ และปลากินพืชอีก 1 บ่อ ในครอบครัวไม่ต้องซื้อผัก ปลา ตลอดมา (แกนนำเยี่ยมชมแปลง)
    2. คุณทวี จันทร์ขาว แกนนำการปลูกผักอินทรีย์เสริมพลังด้านการทำปุ๋ยอินทรีย์ด้วยเชื้อราท้องถิ่น เพื่อการปลูกผักอินทรีย์ ตนเองได้รับความรู้ทางวิชาการ และได้รับการสนีับสนุนจาก ICOFIS มหาวิทยาลัยทักษิณ จนสามารถทำปุ๋ย ปลูกผักอินทรีย์เป็นมีรายได้เป็นอาชีพหลัก และเปลี่ยนรการทำสวนยางเป็นอาชีพเสริม ลูกสาว อัญญมณี จันทร์ขาว ได้ลาออกจากพนักงานบริษัท CP ALL มาทำงานกับครอบครัวปลูกผักอินทรีย์ มีรายได้เฉลี่ย 26,000 บาท/เดือน ทำได้ตลอดปี ทั้งมีความอบอุ่นในครอบครัวเพิ่มขึ้น (แกนนำเยี่ยมชมแปลง)

    - 12.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน - 13.00 น  คุณสมมิตร ปานเพชร ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านทุุ่งยาวพัฒนา ได้เสริมพลังแกนนำให้เห็นว่าการทำเกษตรจะต้องคำนึงถึง สภาพแวดล้อมที่เอื้อเป็นสำคัญ ที่นี่เคยขาดแคลนน้ำ เราจึงจัดการเรื่องน้ำก่อนเมื่อปี 2557 มีน้ำแล้วจึงได้สร้างอาชีพเสริม ทำการเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน เบื้องต้นตันทุนการเกษตรอินทรีย์จะสูง กำไรน้อย แต่ตนทำมี 4 ปี ตอนนี้รายได้จากแปลงเกษตรอินทรีย์ 46000บาท ที่ตันทุน 7500 บาท ค่าแรงไม่คิดเพราะทำหลังการกรีตยางเสร็จ การทำการเกษตรอินทรีย์ ต้องใช้เวลากว่าจะได้การรับรองมาตรฐาน ตนทำมา 4 ปี ปัจจุบันได้รับมาตรฐาน Organic Thailand การร่วมกลุ่มกำทำจึงมีความจำเป็น เพราะการเรียนรู้รร่วมกันนั้นสำคัญต่อการพัฒนา จนที่สุดกลุ่มของตนจึงตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน - 14.30 น รับประทานอาหารว่าง ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านเกาะทองสมใหม่ 1. คุณวิโรจน์ เหตุทอง ประธานศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านเกาะทองสมใหม่ แนะนำเรื่องการประสานงบประมาณ และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ โดยใช้แผนพัฒนาหมู่บ้านเป้นเครื่องมือ ปัจจัยสำคัญในทำแผนพัฒนาให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณคือ

    1.1 ข้อมูลถูกต้อง วิเคราะห์ชัดเจน กำหนดทิศทางร่วมกับหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ 1.2 ต้องเชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการทำแผนตั้งแต่ต้นทาง
    1.3 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต้องมีการร่วมกลุ่ม 1.4 โครงการที่เสนอต้องมีหลักฐาน หรือข้อมุลการทำงานของกลุ่มชัดเจน ต้องเข้าหลักเกฯฑ์ท่ีหน่วยงานจะสนับสนุน ต้องมีความเป้นไปได้ว่าจะทำได้จริงบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ทำโครงการแล้วจะต้องเป็นตัวคูณให้ประชาชนทั่วไปได้รับประโยชน์ด้วยอย่างเสมอภาค

    • 16.00 น เสร็จสิ้นการดูงาน แกนนำรับค่าเดินทางแยกย้ายกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมายร่วมดูงานครบ 15 หมุ่บ้าน
    2. แกนนำได้เรียนรู้จากผู้ปฏิบัติการจริง และมีความสำเร็จ
    3. แกนนำได้เรียนรู้ทั้งวิธีคิด และวิธีปฏิบัติ เพื่อนำไปจัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วงต่อไป

     

    45 0

    12. เวทีพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง

    วันที่ 19 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา 09.30 น แกนนำหมู่บ้านละ 3 คนมาพร้อมกันที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกม่วง ลงทะเบียน • เวลา 10.00 น นายกเทศมนตรีกล่าวต้อนรับ แจ้งวัตถุประสงค์การพัฒนาแผนยุทศาสตร์อาหารตำบลโคกม่วง • เวลา 10.20 น พักรับประทานอาหารว่าง • เวลา 10.30 น ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวิธี และกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง ตามด้วยการนำเสนอข้อมูลระดับตำบล และรูปแบบการดำเนินการของหมู่บ้านต้นแบบ • เวลา 12.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน • เวลา 13.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง ตามด้วยผู้ใหญ่วิโรจน์ เหตุทอง เน้นย้ำวิธีการทำแผนงาน/โครงการ แล้วให้ทุกคนช่วยกันเสนอความเห็น เสนอโครงการ • เวลา 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง • เวลา 14.45 น ดำเนินการเสนอความเห็นเสนอโครงการต่อจนครอบคลุมทุกประเด็นยุทธศาสตร์ • เวลา 16.00 น ผู้เข้าร่วมประชุมรับเงินค่าเดินทางแยกย้ายกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. แกนนำที่ปฏิบัติการปลูกพืช/เลี้ยงสัตวปลอดสารเคมีเป็นต้นแบบครัวเรือนเข้าร่วมประชุมทั้ง 15 หมู่บ้าน ร่วมกับ 3 ภาคี รพสต. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกตร นักพัฒนาชุมชน
    2. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง ที่ประกอบด้วย   2.1 ทิศทางการพัฒนาของแผนยุทธศาสตร์   2.2 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง   2.3    วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายสูงสุดของแผนยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์   2.4    กลยุทธ์และโครงการ   2.5    การเชื่อมโยงการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ(โครงการ...)

     

    20 20

    13. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานมาพร้อมกัน ผู้รับผิดชอบโครงการในฐานะเลขานุการคณะทำงานดำเนินการประชุม
    1. ทบทวนผลการดำเนินงานตามโครงการ การเรียนรู้ดูงานที่บ้านทุ่งยาวของแกนนำทุกหมู่บ้านขยายผล 13 หมู่บ้าน และการยกร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง / พักกลางวัน 2. กำหนดแผนการติดตามประเมินผลรายหมู่บ้านครั้งที่ 2 ที่ประชุมกำหนดลงเยี่ยมติดตามแกนนำปฏิบัติการในระดับหมู่บ้านขยายผล ในวันที่ 19-22 และได้มอบหมายให้คณะทำงานแต่ละคนเป็นผู้ประสานงานกับแกนนำ 3. กำหนดแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงาน และเชื่อมร้อยเครือข่ายที่ดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดพัทลุง ที่ประชุมตกลงร่วมกันให้แกนนำชุมชนไปดูงานสร้างสัมพันธ์กับเครือข่าย 3 แห่ง คือ
      3.1 กองทุนยาไส้ยาใจ ณ ศูนย์การเรียนรู้พันธุกรรมพืชตำบลลำสินธุ์ นายสหจร ชุมคช เลขที่ 212 หมู่ที่ 7 ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง โทร.0918479299
      3.2 ตลาดใต้โหนดตลาดชุมชน วิถีชุมชน จำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ผลผลิตจากชุมชนปลอดสารเคมี ซึ่งเป้นตลาดที่ไม่มีแนวคิดเชิงธุรกิจ เกิดขึ้น คงอยู่เพื่อเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม
      3.3 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง "ตามรอยพ่อ" ไร่มังกรทอง หมู่ที่ 5 ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
      3.4 การเดินทาง กำหนดดูงานวันที่ 28 กรกฎาคม 2562 นัดขึ้นรถพร้อมกันที่ เทศบาลโคกม่วง เวลา 8.30 น โดยใช้รถตู้ 2 คัน ได้ติดต่อทีมงานคุณเชาวลิตร นุ่นด้วง แล้ว
    4. เรื่องการติดตามแลกเปลี่ยนของ กรรมการบอร์ด สสส /สจรส.มอ./ และภาคีเครือข่ายในวันที่ 22 สิงหาคม 2562 ได้แจ้งเพื่อทราบ และจะได้ประสานงานรายละเอียดภายหลัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ทบทวนงานที่ดำเนินการแล้ว 2 เรื่อง การเรียนรู้ดูงานที่บ้านทุ่งยาวของแกนนำทุกหมู่บ้านขยายผล 13 หมู่บ้าน  และการยกร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง
    2. ได้ร่วมวางแผนงานใหม่  2 เรื่อง  ติดตามประเมินผลรายหมู่บ้านครั้งที่ 2  และแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงาน และเชื่อมร้อยเครือข่ายที่ดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดพัทลุง
    3. แจ้งเพื่อทราบ  1 เรื่อง  ติดตามแลกเปลี่ยนของ กรรมการบอร์ด สสส /สจรส.มอ./ และภาคีเครือข่ายในวันที่ 22 สิงหาคม 2562
      คณะทำงานได้ร่วมวางแผน และรับรู้การแบางงานการประสานงานตามแผน

     

    10 9

    14. ติดตามประเมินผลพื้นที่การขยายผล 13 หมู่ไบ้าน 2 ครั้ง

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สร้างความเข้าใจกับคณะผุู้ติดตาม ออกติตตามทุกหมู่บ้าน  ยกเว้น หมู่ 11,15 สรุปผลการติดตาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานและภาคีร่วมพร้อมกันที่เทศบาลตำบลโคกม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการได้รสร้างความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของทีมติดตามประเมินผล โดยให้ใช้กลยุทธ์การเสริมพลังการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับตำบล ให้เสนอแนะและสร้างความเข้าใจแผนงานโครงการ ตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง สอบถามปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการความมั่นคงทางอาหารในทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน และระดับตำบล รายละเอียดดังนี้

    • สิ่งที่พบเห็น : โดยรวมครอบครัวต้นแบบ มีการปลูกผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน เลี้ยงสัตว์เพื่อขาย เลี้ยวสัตว์เป็นอาหาร เลี้ยงปลา ทำน้ำหมัก ทำปุ๋ยหมัก เป็นคนขยัน ทำงานประณีต เป็นที่ยอมรับของชุมชน และมีครอบครัวเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์แบบแปรผันตาม ซึ่งจะเป็นโอกาสของกายขยายผลตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในโอกาสต่อไป
    • ปัญหาอุปสรรค : พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดการจัดการน้ำ จะมีเพียงแต่บ้านต้นแบบที่มีการจัดการน้ำในครอบครัว แต่โดยรวมของชุมชนยังไม่มีการจัดการน้ำที่ดีพอ เพื่อให้สามารถมีน้ำเพื่อการเกษตร เช่นเดียวกับหมู่ที่ 11 มีความขัดแย้งที่เกิดจากการไม่จัดการนี้ที่ดีเช่นการเจาะท้ายฝายเก็บน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้คนเดียว การสูบน้ำออกจากอ่าง/บ่อ เพื่อจับปลาในหน้าแล้ง เป็นเหตุให้น้ำขุ่นข้นใช้ไม่ได้ และหรือน้ำแห้ง
    • ข้อเสนอแนะ :
    1. การจัดการแหล่งน้ำชุมชนโดยใช้กติกา และใช้มาตรการทางสังคมกับผู้ละเมิดกติกา เช่นการจัดการแนวป้องกันน้ำบ่าท่วมพื้นที่การเกษตร การขุดบ่อ ขุดสระสาธารณะ ให้ชุมชนใช้ร่วมกัน
    2. การมีแหล่งน้ำเฉพาะครัวเรือน ด้วยการแบ่งพื้นที่การเกษตรส่วนหนึ่งขุดเป็นแหล่งน้ำเป็นการลงทุนครั้งเดียวที่ช่วยให้ครอบครัวมีน้ำใช้ตลอดไป
    3. ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการกักเก็บน้ำในพื้นที่สวนยาง เช่นการสร้างฝายชะลอน้ำตามแบบอย่างของบ้านทุ่งยาว ซึ่งชุมชนสามารถเรียนรู้ได้จากในตำบล และสร้างได้ด้วยต้นทุนในชุมชน แรงงานในชุมชน ฝายชะลอน้ำจะช่วยให้ผืนดินดูดซึมซับน้ำไว้ในหน้าฝน และค่อยๆ ปลอดปล่อยน้ำออกมาในหน้าแล้ง จากความสำเร็จของหมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว
    4. ตำบลโคกม่วงต้องสร้างเมนูอาหารจากภูมิปัญญาชมชน และสร้างชื่อเสียง สร้างค่านิยม เพื่อส่งเสริมกระแสความมั่นคงทางอาหารของตำบล ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยเทศบาลร่วมกับชุมชน /ศูนย์เรียนรู้/วิสาหกิจ /กลุ่ม /หรือครัวเรือนต้นแบบ เช่น หมู่ที่ 4 บ้านไร่ลุ่มประกาศเมนูแกงแพะเป็นเมนูเด็ดของชุมชน และเปิดบริการเชือดชำแหละแพะ “คิดถึงแพะ คิดถึงบ้านไร่ลุ่ม”
    5. การกำหนดนโยบายความมั่นคงทางอาหาร และผลักดันแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วงไปสู่หน่วยงาน องค์กร ชุมชน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างพื้นที่ปฏิบัติการให้เห็นรูปธรรมความสำเร็จ

     

    10 10

    15. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานและเชื่อยร้อยเครือข่ายในจังหวัดของแกนนำเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วงและคณะทำงาน

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะทำงาน แกนนำ ภาคีที่เกี่ยวข้อง  20 คน ออกเดินทางโดนรถตู้ 2 คัน จากเทศบาลตำบลโคกม่วง  เวลา 09.00 น  ถึงศูนย์เรียนรู้กองทุนยาไส้ยาใจ สวนเรียนรู้พัธุกรรมพืชตำบลลำสินธ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีนายสหจร  ชุมคช เป็นวิทยากร  ให้ข้อคิดเรื่องการใช้พื้นที่สวนยางเป้นแหล่งอาหารของชุมชน ที่สามารถสร้างรายได้เสริมเศรษฐกิจครัวเรื่อนได้         : ป่ายางสร้างความสมบูรณ์  นายสหจร  ชุมคช ได้บอกถึงการสร้างความมั่นคงในสวนยางสรุปได้ว่า  "จากการได้ท่องเที่ยวไปหาประสบการณ์ชีวิตอยู่ภายนอกหลายปี ก่อนที่จะกลับมาทำสวนยางอย่างจริงจัง ด้วยหลักคิดว่าสวนยางต้องมีทุกอย่างที่เราต้องกินต้องใช้ สวนยางจึงต้องเป็นป่ายาง รอบสวนยางผมปลูกกระพ้อ เป็นแนวกันลม ป่ายางมีพืชใต้ดิน พืชคลุมดิน พืชชั้นกลาง พืชชั้นเรือนยอด ซึ่งประกอบด้วยพืชอาหาร  พืชสมุนไพร และพืชเศรษฐกิจ ผมทำป่ายางมา 12 ปี ดินดีขึ้น ความชื้นเพิ่มขึ้น ความหลากหลายทางพันธุกรรมมากขึ้น มีพืชอาหารมากมาย ราคายางจะถูก จะแพง ผมก็มีรายได้ตลอด" รับประทานอาหารว่าง แล้วลงเยี่ยมชมป่ายาง  กลับมารับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์ฯ
      2.  เดินทางถึงตลาดใต้โหนด ตลาดชุมชนอนุรักษ์วิถีชุมชน ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง  เป็นแหล่งซื้อขายผลิต อาหารปลอดภัยจากชุมชนใกล้เคียง ดำเนินการโดยการมุ่งเน้นที่เศรษฐกิจชุมชน สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม  ไม่หวังผลในเชิงธุรกิจ ซึ่งชุมชนใดๆ มีความพร้อมก็สมารถจำลองแบบมาดำเนินการเพื่อการซื้อขาย แลกเปลี่ยนผลิตอาหารปลอดภัยจากชุมชนได้ 3.  เดินทางถึงศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง "ตามรอยพ่อ" ไร่มังกรทอง หมู่ที่ 5 ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เรียนรู้เรื่องการเกษตรธรรมชาติผลิตอาหารปลอดสารเคมี โดยมีนายเริงโรจน์  ปานภักดี  ผู้ช่วยปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง เป็นวิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง "ตามรอยพ่อ" ไร่มังกรทอง ร่วมเรียนรู้การขยายพันธุ์จุลินทรีย์เพื่อการย่อยสลายเพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืชและสัตว์  เพื่อเป้นสารทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีอื่นๆ ในการทำการเกษตรปลอดสารเคมี  เกษตรธรรมชาติ เกษตรผลมผสาน เกษตรอินทรีย์ เพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนต่อไป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าเรียนรู้ได้เห็น ได้รู้ ได้ทดลอง ได้ลงมือทำ การเก็บจุลินทรีย์  การขยายพันธุ์จุลินทรีย์ เพื่อการย่อยสลายเพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืชและสัตว์
    ได้เห็น ได้เรียนรู้ การหมักปุ๋ยจากวัสดุอินทรีย์ ซากพืช ซากสัตว์ โดยไม่มีกลิ่นรบกวน
    ได้เห็น ได้เรียนรู้ การผลิตปุ๋ยน้ำหมักสูตรต่างๆ เพื่อการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ได้เรียนรู้ การเลี้ยงสัตว์ ด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติ พึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยไม่มีสิ่งใดที่เหลือจากกระบวนการเลย  ทุกผลผลิตจะเชื่อร้อยกันเป็นห่วงโซ่ ช่วยให้ลดต้นทุน และเป็นแรงจูงใจเสริมพลังสู่การดำเนินการ 

     

    20 20

    16. ประชุมประเมินผลโครงการโดยคณะทำงานผู้แทนหมู่บ้าน พชต. /พชอ. และจ้างทำสื่อวีดีโอ

    วันที่ 22 สิงหาคม 2562 เวลา 13.00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะทำงาน แกนนำชุมชน ได้รอต้อนรับคณะติดตาม กรรมการ สสส . สจรส.มอ. และภาคีที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เวลา 13.00 น
    2. คณะติดตามมาถึง ผู้รับผิดชอบกล่าวต้อนรับ แนะนำทีมงานจากชุมชนที่เข้าร่วม ภาคีในตำบล ในอำเภอที่รอต้อนรับ
    3. ดร.เพ็ญ สุขมาก สจรส.มอ. แนะนำทีมงานผู้ติดตาม และภาคีที่เดินทางมาพร้อมกัน ตามด้วยการแจ้งวัตถุประสงค์ เป้าหมายการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามโครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดทำแผนสู่การขยายผล
    4. นำเสนอผลการดำเนินงานโดยผู้รับผิดชอบโครงการผ่านสื่อวีดีโอ ความยาว 10.12 นาที
    5. การตั้งวงชวนคุยเสนอผลลัพธ์โดยแกนนำหมู่บ้าน(ผญ วิโรจน์ เหตุทอง, ผญ มนูญ สุขรัตน์) โดยครูชุมชนคนต้นแบบ ,นายรณงค์ ปิ่นมณี ,นายวิชัย นุ่นสง) และร่วมแลกเปลี่ยนโดย นักวิชาการจากสำนักงาน สสส กับแกนนำชุมชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากชุมชน และภาคีร่วม
    6. การให้ความเห็น การนำไปสู่การขายผลโดยภาคีภาครัฐ
    7. การเยี่ยมพื้นที่ปฏิบัติการ ปลูก ผลิต เพื่อความมั่นคงทางอาหารของหมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว
    8. หมายเหตุ กิจกรรมเสริมที่เกิดขึ้นคือ

      8.1 การนำเสนอด้วยสื่อวีดีโอ ที่ได้มีการถ่ายทำวีดีโอไว้ก่อนล่วงหน้าในวันที่ 10-11 สิงหาคม 2562 ซึ่งมีรายละเอียด คือ คณะถ่ายทำวีดีโอ เดินทางเข้ามาถ่ายทำตามสคริป ในวันที่ 10 และ 11 สิงหาคม โดยมีผู้ใหญ่บ้าน แกนนำ และผู้รับผิดชอบโครงการเป้นผู้ให้ข้อมูล รายละเอียดปรากฏตาม วีดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=2knmq22Xosc&t=344s

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การติดตามได้สร้างการเชื่อมร้อยเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ ที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ตั้งแต่การปลูก การผลิต การแปรรูป เพื่อความพอเพียง ปลอดภัย เข้าถึงได้ และการสร้างความมีส่วนร่วม
    2. มีการนำเสนอรูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารที่เกิดจากการร่วมกันศึกษา และสังเคราะห์เป็น Concertual Model พร้อมชี้ให้เก็นปัจจัยหรือกลไกสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง อันจะนำไปสู่การขยายผลในหมู่บ้านอื่นๆ รวมถึงการยกระดับสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับอำเภอต่อไป
    3. จากการสอบถาม แลกเปลี่ยนกัน ช่วยให้ชุมชน และภาคีได้มองเห็นความสันมพันธ์กันในเชิงผู้ผลิต กับผู้บริโภค ผู้สนับสนุน และผู้ควบคุมคุณภาพ
    4. สร้างความชื่นชม เสริมพลังใจให้กับผู้ผลิต ในทิศทางการปลูก การผลิต อาหารปลอดภัย เพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และความมั่นคงด้านเศราฐกิจครัวเรือน
    5. สื่อวีดีโอ ความยาว 10.12 นาที "ความมั่นคงทางอาหารบ้านทุ่งยาว"

     

    30 50

    17. ถอนเงินค่าปิดบัญชี

    วันที่ 29 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    1 1

    18. เขียนเอกสารการศึกษา

    วันที่ 31 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เขียนบทความกึ่งวิชาการนำเสนอในงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 5 - 7 สิงหาคม 62 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เอกสารบทความกึ่งวิชาการนำเสนอในงานสร้างสุขภาคใต้ และรายงานฉบับสมบูรณ์

     

    1 1

    19. ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ ที่ สจรส.ม.อ.

    วันที่ 31 สิงหาคม 2562 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รายงานฉบับสมบูรณ์จำนวน 5 เล่ม

     

    1 1

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์และรูปแบบ (Model) การจัดการความมั่นคงทางอาหารในหมู่บ้านทุ่งยาว และบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ
    ตัวชี้วัด : 1. มีข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่บ้านโคกม่วงและบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ 1.1 มิติความพอเพียง 1. พื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผักพื้นบ้าน ปศุสัตว์ ประมง ผลไม้) 2. ปัจจัยสาเหตุของการลดลงของพื้นที่ผลิตอาหาร 1.2 มิติความปลอดภัย 1. การตรวจอาหารที่ปนเปื้อนสารตกค้าง 6 ชนิด และน้ำมันทอดซ้ำ 2. พื้นที่ทำการเกษตรอินทรียื และพื้นที่ทำการเกษตรเคมี 3. เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด 4. กลไก มาตรการในพื้นที่ ต่อการสร้างให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร 1.3 มิติการเข้าถึงได้ 1. การเข้าถึงอาหารที่มั่นคงในพื้นที่ เช่นแหล่งจำหน่าย การส่งเสิมการปลูกผักริมรั้ว หรือบริเวณบ้าน การปลูกพืชร่วมยาง 2. ความพอเพียงในการบริโภคอาหาร และการกระจายผลผลิตในชุมชนสู่ครัวเรือน 1.4 กระบวนการมีส่วนร่้วมในชุมชน กลุ่ม เครือข่าย ในหมู่บ้านที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร 1.5 สังเคราะห์ข้อมุล จัดทำรูปแบบ Model ความมั่นคงทางอาหารของหมู่บ้านต้นแบบ

     

    2 2. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายพื้นที่ต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
    ตัวชี้วัด : 2. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายพื้นที่ต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบล 2.1 ยกร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร 2.2 พัฒนายุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร 2.3 ภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับรองแผน และนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์และรูปแบบ (Model) การจัดการความมั่นคงทางอาหารในหมู่บ้านทุ่งยาว และบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ (2) 2. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายพื้นที่ต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสมนึก นุ่นด้วง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด