โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
ชื่อโครงการ | โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้กลาง |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มิถุนายน 2561 - 14 มิถุนายน 2562 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 150,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสมนึก นุ่นด้วง |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 1 มิ.ย. 2561 | 30 มิ.ย. 2562 | 100,000.00 | |
2 | 1 ม.ค. 2562 | 30 เม.ย. 2562 | 1 ก.ค. 2562 | 31 ส.ค. 2562 | 40,000.00 | |
3 | 1 เม.ย. 2562 | 14 มิ.ย. 2562 | 10,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 150,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
- ความมั่นคงทางอาหาร ได้กลายเป็นปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่หลายพื้นที่เผชิญ และหลายพื้นที่ได้สร้างมาตรการรับมือกับความท้าทายดังกล่าวเพื่อให้อยู่รอดได้ในยามวิกฤติ แต่ปัญหาการสร้างความมั่นคงทางอาหารก็มีมากอาทิ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การสูญพันธุ์ของพืชอาหารท้องถิ่น ภาวะขาดแคลนแรงงาน นโยบายส่งเสริมการศึกษาขยายเวลาภาคบังคับ นโยบายส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม นโยบายการเพิ่มผลผลิต การใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ภาวะภัยพิบัติ เหล่านี้ทำให้กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ที่หมายถึง การมีอาหารเพียงพอ การมีอาหารปลอดภัย และสามารถเข้าถึงอาหารนั้นได้
ตำบลโคกม่วง เป็นพื้นที่ในเขตการปกครองท้องที่ของอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 15 หมู่บ้าน ทิศเหนือติดตำบลนาโหนด ทิศใต้ติดตำบลตะโหมด ทิศตะวันตกติดตำบลคลองเฉลิม ทิศตะวันออกติดตำบลเขาชัยสนและควนขนุน สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่เนินควนทางตะวันตก และลาดเอียงไปทางตะวันออก มีที่ราบลุ่มกระจายทั่วไปมีคลองท่าควาย คลองเคียน คลองพญา คลองวังครก และห้วยสังแก แต่บางสายน้ำจะมีน้ำไหลเฉพาะช่างหน้าฝน พื้นที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพด้านการทำสวนยางและปศุสัตว์ เนื้อที่ทั้งตำบล 67.994 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 42,500 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร ประมาณ 42,296 ไร่ ประชากร 9,762 คน เพศชาย 4,849 คน เพศหญิง 4,913 คน จำนวน 2,704 ครัวเรือน
- สภาพปัญหาของพื้นที่
นับตั้งแต่ปี 2520 รัฐมีนโยบายส่งเสริมการปลูกยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลโคกม่วง จึงเปลี่ยนจากการปลูกพืชอาหาร มาเป็นการปลูกพืชเพื่อส่งเข้าโรงงาน การปลูกยางพันธุ์ดีจึงรุกล้ำพื้นการทำนา พื้นที่ปลูกพืชอาหารอื่นๆอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงยิ่งขึ้นจนในที่สุดในบางหมู่บ้านไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวเหลืออีกเลย และการปลูกยางภายใต้เงื่อนไขของ กสย. ที่กำหนดพื้นขอรับทุนสงเคราะห์ปลูกยางได้เพียงอย่างเดียว ทำให้พืชอาหารอื่นๆ ที่เคยปลูก เคยมี หรือเคยหาได้ตามฤดูกาลก็หมดไป การปลูกยางพารา ต้องถางป่า ต้องเผาป่า ต้องไถปรับหน้าดิน เหล่านนี้ก่อให้เกิดการพังทลายของดิน ไหลลงสู่ลำห้วย จนตื้นเขิน แหล่งน้ำ แอ่งน้ำในลำห้วยก็หายไป ส่งผลให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์ไปด้วย ประกอบกับ กสย. สนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าหญ้า ไกลโฟเสต พาราควอต ยาฆ่าหญ้าคา ยาทาฆ่าตอต้นยางพารา สารเคมีเหล่านี้ตกค้างในดิน ไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำลายสัตว์น้ำอย่างรุนแรง เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายปัจจัยเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี - ปัจจุบัน ในสภาวะที่หลายพื้นที่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร แต่ตำบลโคกม่วงโดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว และหมู่ที่ 15 บ้านเกาะทองสมใหม่ ซึ่งมีการพัฒนาชุมชนสู่ความเข้มแข็ง มีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ มีการพัฒนาทักษะของบุคคล บุคคลแกนนำ ให้ตื่นตัวและได้สร้างมาตรการมารับมือเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนจนได้รับการยอมรับ และกลายเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการตนเองทั้ง 4 มิติ ทั้งมิติด้านสุขภาพ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชนที่มีการผลิตพืชผักผลไม้ปลอดสารเคมี การแปรรูปผลผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า การสร้างอาชีพ การกระจายรายได้ โดยใช้แผนพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือ ซึ่งเป็นประเด็นที่ท้าทายให้ศึกษาว่าจะพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อจัดทำแผนสู่การขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆหรือจะผลักดันสู่นโยบายสาธารณได้อย่างไร
- สภาพปัญหาของพื้นที่
ในการดำเนินการตามโครงการของตำบลโคกม่วงจะใช้กรอบแนวคิดตามข้อที่ 1-4 ที่กำหนดไว้เป็นทิศทางในการพัฒนาสุขภาพจากการประชุมนานาชาติที่ประเทศคานาดา ปี 2559 ได้กำหนดกฎบัตรไว้ 5 ข้อ (Ottawa Charter for Health Promotion) ดังนี้
การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุภาพ Build Healthy Public Policy
การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ Create Supportive Environments
การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน Strengthen Community Action
การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล Develop Personal Skills
การปรับระบบบริการสุขภาพ Reorient Health Services
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์และรูปแบบ (Model) การจัดการความมั่นคงทางอาหารในหมู่บ้านทุ่งยาว และบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ
1.2 มิติความปลอดภัย
1.3 มิติการเข้าถึงได้
1.4 กระบวนการมีส่วนร่้วมในชุมชน กลุ่ม เครือข่าย ในหมู่บ้านที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร 1.5 สังเคราะห์ข้อมุล จัดทำรูปแบบ Model ความมั่นคงทางอาหารของหมู่บ้านต้นแบบ |
||
2 | 2. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายพื้นที่ต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2561 11:09 น.