แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
“ โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9 ”
จังหวัดบุรีรัมย์
หัวหน้าโครงการ
รองศาสตร์จารย์อุทิศ ทาหอม ,ดร.สำราญ ธุระตา,นายสงกา สามารถ
ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9
ที่อยู่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2567
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9 จังหวัดบุรีรัมย์" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9
บทคัดย่อ
โครงการ " โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9 " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ระดับตำบล ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผล โครงการ ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
- เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- แผนสนับสนุนการดำเนินงานของกลไกคณะทำงาน/ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต
- แผนการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่กองทุนฯ และผู้เสนอโครงการ
- แผนการติดตามสนับสนุนการจัดทำข้อมูลแผนงาน และพัฒนาโครงการ
- แผนการสรุปบทเรียนการดำเนินงานและพัฒนากองทุนตำบล
- ประชุมคณะทำงาน/พี่เลี้ยงเขต เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตาม ความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 (ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานกับผู้บริหารท้องถิ่นและคณะกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพท้องถิ่นกองทุนฯ เป้าหมาย 5 กองทุนในพื้นที่เ
- ประชุมชี้แจงเป้าหมายและแผนการดำเนินงาน และการเก็บข้อมูลสุขภาวะ
- การติดตามสนับสนุนการเก็บข้อมูล การจัดทำแผนงาน
- เวทีพัฒนาศักยภาพ Admin เพื่อบันทึกข้อมูลแผนงาน โครงการในระบบเว็บไซต์
- ประชุมคณะทำงาน พี่เลี้ยงกองทุน ครั้งที่ 2 เพื่อวางแผนการสนับสนุนการจัดทำข้อมูลแผนงานของกองทุนฯ 5 ตำบล จ.บุรีรัมย์
- ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
- ติดตามสนับสนุนการจัดทำโครงการ การพัฒนาโครงการเพื่อของบประมาณกองทุนตำบล
- เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงการ การติดตามประเมินผลโครงการ ในระบบเว็บไซต์
- ประชุมคณะทำงาน/พี่เลี้ยงเขต เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตาม ความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 3
- เก็บข้อมูลเพื่อจัดทำแผนสุขภาพ รอบ 2
- ประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานและทิศทางการพัฒนากองทุนตำบล
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
คณะทำงานระดับเขต
5
ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์จากก
500
ผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
50
ผู้อำนวยการ รพ.สต. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ในเขตตำบลทั้
15
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- กองทุนเป้าหมายมีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานในประเด็นยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้แก่ อาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต ซึ่งจะต้องมีการจัดทำให้ได้แผนงานอย่างน้อย 2 แผนงาน
- กองทุนเป้าหมายจัดทำการพัฒนาโครงการสร้างเสริมสุขภาวะที่สอดคล้องแผนงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ อาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต และเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ อย่างน้อยกองทุนฯ ละ 2 โครงการ
- พี่เลี้ยงที่มีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการของ กองทุนฯ ละ 2 คน
- กองทุนเป้าหมายมีการใช้ website ระบบการจัดการบริหารกองทุนฯ ที่ใช้ในการพัฒนาแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพ อุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต
- เกิดการการบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการยกระดับศักยภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. ประชุมคณะทำงาน/พี่เลี้ยงเขต เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตาม ความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 (ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานกับผู้บริหารท้องถิ่นและคณะกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพท้องถิ่นกองทุนฯ เป้าหมาย 5 กองทุนในพื้นที่เ
วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
แผนปฎิบัติการเข้าพบชี้แจงโครงการกับผู้บริหารกองทุนฯ เป้าหมาย
วันที่ 6 ธันวาคม 65
09.00 – 11.00 น. อบต.ถลุงเหล็ก อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
13.00 – 15.00 น. อบต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
15.00 – 16.30 น. อบต.โคกสะอาด อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
วันที่ 7 ธันวาคม 65
09.00 – 12.00 น. เทศบาลตำบลโนนเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์
13.00 – 15.00 น. เทศบาลตำบลบึงเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. แนะนำคณะทำงานและชี้แจงวัตถุประสงค์การเข้าพบปะพูดคุยชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ
2. ชี้แจงรายละเอียดโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะฯ
3. นำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการยกระดับยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ระดับตำบล พื้นที่เขต 9
4. สรุปการพูดคุยและนัดหมายการประสานงาน ส่งข้อมูล
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลงานที่เกิดขึ้น
1. คณะกรรมการกองทุนฯ เป้าหมายทั้ง 5 กองทุน เกิดความเข้าใจต่อเป้าหมายและแผนการดำเนินงานโครงการยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบล โดยยินดีเข้าร่วมดำเนินการ 3 กองทุน (อบต.ถลุงเหล็ก อบต.โคกกลาง อบต.โคกสะอาด) ส่วนอีก 2 กองทุน จะนำเรื่องเข้าหารือกับคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อหามติที่ประชุมอีกครั้ง
2. กองทุนฯ เป้าหมายได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่/บุคลากรของท้องถิ่นเป็นผู้ประสานงานเบื้องต้น ดังนี้
1. นางอริสรา เภสัชชา ผอ.กกองสวัสดิการ อบต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
2. นางสุกัญญา อภัยจิตต์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ อบต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
3. นายณัฐพัฒน์ นันใจยะ รองปลัด อบต.โคกสะอาด อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
4. นายเกษมสันติ ลุนสืบ ผอ.กองสวัสดิการ อบต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
5. นายชิตธ์ โพธิ์นุสนธ์ ผอ.กองการเกษตร อบต.โคกละอาด อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
6. นางฉัตรชญา คำยา ผอ.กองสาธารณสุข เทศบาลตำบลบึงเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์
7. นายสมยศ ลอยประโคน นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ เทศบาลตำบลโนนเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์
5
0
2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและการใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลสุขภาวะชุมชน
วันที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ชี้แจงรายละเอียดโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน
- แลกเปลี่ยนให้ข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566
- ชี้แจงและวางแผนการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน 8 ประเด็น
- สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนปฏิบัติการครั้งต่อไป
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ชี้แจงและทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน และสถานการณ์-ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน ในประเด็น ดังนี้
1.1 ทำความเข้าใจกับคำว่า สุขภาพ คือ สุข+ภาวะ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุข สถานการณ์สุขภาพชุมชนและปัญหาสุขภาพในชุมชนมาจากปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ สารเสพติด/อุบัติเหตุ/มลพิษสิ่งแวดล้อม/โรคอุบัติใหม่/สุขภาพจิต) และโรคเรื้อรัง (อาหาร/กิจกรรมทางกาย) และยกตัวอย่างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ระดับความรุนแรงของสารเสพติดที่สร้างอันตรายและเสียหายต่อคน พบว่า เหล้ามีคะแนนความรุนแรงสูงที่สุด มากกว่ายาเสพติด
1.2 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้แก่ ส่งเสริมให้กรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในระบบสุขภาพชุมชน ทำให้กองทุนฯ มีแผนการดำเนินงาน รู้สถานการณ์และวางเป้าหมายได้ มีโครงการที่มีคุณภาพสอดคล้องกับแผน มีการติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงแผน
- แลกเปลี่ยนและสอบถามเป้าหมายการดำเนินโครงการกับการหนุนเสริมการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566 ทั้ง 5 กองทุนเป้าหมาย
2.1 ให้ข้อมูลการดำเนินงานของกองทุนฯ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของ สปสช.เขต ให้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัด 2 กลุ่ม รพ.สต.ที่ถ่ายโอน ยังได้รับงบประมาณสมทบจาก สปสช.เหมือนเดิม โครงการ สสส.จะเข้ามาหนุนเสริมพัฒนางานกองทุน ให้เกิดโครงการที่มีคุณภาพและพัฒนานวัตกรรมของงานกองทุนได้มากขึ้น ระเบียบเกี่ยวกับกองทุนฯที่ปรับใหม่
- ต้องมีการขออนุมัติแผนการใช้จ่ายงบกองทุน เมื่อ สปสช.อนุมัติแผนแล้วจึงจะโอนงบสมทบ
- แผนกองทุน ต้องเอาปัญหาพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยต้องมีความเชื่อมโยงกับปัญหาของชุมชน(ใช้ข้อมูลจากหน่วยบริการ รพ.สต. และใช้กระบวนการประชาคม นำข้อมูลปัญหาสุขภาพ มาเรียงลำดับความสำคัญ) เพื่อมุ่งให้เกิดการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนได้จริง
- ไม่ให้มีเงินค้างเกิน 2 เท่า
- เพิ่มหมวดที่ 6 ให้จัดสรรงบในการซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ได้ (ผู้ป่วยเฉพาะราย)
- หลังเดือนมีนาคมของทุกปี กองทุนสามารถของบสมทบจาก สปสช.เพิ่มได้ โดยกองทุนต้องสมทบเพิ่ม 100%
2.2 เป้าหมายและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการเข้าร่วมโครงการ คือ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พัฒนาศักยภาพตนเอง และการเก็บข้อมูลท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนา ได้นำข้อมูลไปพัฒนาเขียนโครงการ เพื่อตอบสนองท้องถิ่น ตอบโจทย์ตัวชี้วัด สอดคล้องกับความต้องการของแหล่งทุน (ภายใน ภายนอก) เกิดการบริหารจัดการกองทุนที่มีประสิทธิภาพ (ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน/วางรากฐานการพัฒนา เกิดการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ) เกิดโครงการที่มีประสิทธิภาพ “พร้อมยื่นของบประมาณ 2567 จากแหล่งทุนภายในและแหล่งทุนภายนอก”
3. วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการกลไกสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ โดยมีแนวทางการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน ดังนี้
3.1 กองทุนฯ คัดเลือกทีมพี่เลี้ยง/คณะทำงานหลักจาก 2 ส่วน ได้แก่ อปท.+รพ.สต. (อย่างน้อย 5 คนต่อกองทุน)
3.2 คัดเลือกทีมเก็บข้อมูล (อย่างน้อย 5 คนต่อกองทุน)
3.3 กำหนดเก็บข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ก.พ.2566
3.4 นัดหมายกรอกข้อมูลในระบบออนไลน์และการสร้างแผนงาน วันที่ 24 ก.พ.2566
4. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเก็บข้อมูล ดังนี้
- ผู้ให้ข้อมูลเป็นตัวแทน 1 คน/ครัวเรือน
- ประเด็นคำถามเกี่ยวกับจำนวนผู้เสพยาเสพติด ซึ่งต้องประสานขอข้อมูลกับสถานีตำรวจหรือ รพ.สต. ในพื้นที่
- ประเด็นข้อมูล PM2.5 ให้สืบค้นข้อมูลจาก สนง.สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด หรือเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ
20
0
3. การติดตามสนับสนุนการเก็บข้อมูล การจัดทำแผนงาน
วันที่ 28 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- กองทุนฯ เป้าหมาย ประชุมคณะทำงานและทีมเก็บข้อมูลเพื่อออกแบบและวางแผนการเก็บข้อมูล
- กำหนดกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล ตามเกณฑ์ช่วงอายุ ดังนี้ 5-17 ปี 50 ชุด 18-64 ปี 100 ชุด และ 65 ปีขึ้นไป 50 ชุด
- ลงพื้นที่เก้บข้อมูล
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- กองทุนฯ เทศบาลตำบลบึงเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์ ดำเนินงานเก็บข้อมูล ดังนี้ 1) ประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย นายก อบต. ปลัด อบต. ผอ.รพ.สต. 2 แห่ง และทีมเลขานุการ เพื่อออกแบบและวางแผนการเก็บข้อมูล กำหนดกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูลตามช่วงอายุและเขตรับผิดชอบ โดยข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนจะเก็บข้อมูล ดังนี้ ช่วงอายุ 18 – 64 ปี และ 65 ปีขึ้นไปเฉลี่ยหมู่บ้านละ 12 ชุด (13 หมู่บ้าน) ส่วนช่วงอายุ 5 – 17 ปี เก็บกับเด็กนักเรียนมีอยู่ 4 โรงเรียนเฉลี่ยโรงเรียนละ 13 ชุด โดยให้ ผอ.โรงเรียนเป็นหลักดำเนินการเก็บข้อมูล ส่วนข้อมูลระดับชุมชนคณะทำงานจำนวน 5 คนเป็นทีมรวบรวมข้อมูล 2) คณะทำงานรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามและกรอกบันทึกข้อมูลในระบบเว็บไซต์
- กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ แบ่งการเก็บข้อมูลระดับบุคคลช่วงอายุ 5 – 17 ปี เก็บข้อมูลช่วงที่มีการอบรมสภาเด็กและเยาวชน จำนวน 50 คน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ช่วงอายุ 65 ปีขึ้น เก็บกับผู้สูงอายุที่เข้ามาร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ส่วนช่วงอายุ 18 – 64 ปี เฉลี่ยเก็บหมู่บ้าน 7 ชุด (16 หมู่บ้าน) โดยมอบให้ประธานชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านเป็นคนดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและเก็บข้อมูล
- กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบและวางแผนการเก็บข้อมูล โดยตำบลโคกสะอาดมี 16 หมู่บ้าน จึงให้เจ้าหน้าที่ใน อบต. รับผิดชอบการเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 1 คน เฉลี่ยหมู่บ้านละ 18 – 20 ชุด แบ่งตามเกณฑ์ช่วงอายุ ดังนี้ 5 – 17 ปี หมู่บ้านละ 4 ชุด 18 – 64 ปี หมู่บ้านละ 13 ชุด และ 65 ปีขึ้นไป หมู่บ้านละ 8 ชุด ส่วนข้อมูลระดับชุมชน ทีมคณะทำงานจะเป็นหลักในการเก็บข้อมูล
- กองทุนฯ อบต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมทีมคณะทำงานและทีมเก็บข้อมูล เพื่อออกแบบวางแผนการเก็บข้อมูลและชี้แจงทำความเข้าใจแบบเก็บข้อมูลให้กับประธาน อสม.ประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นหลักการเก็บข้อมูลประจำหมู่บ้าน เฉลี่ยชุดเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 13 ชุด (16 หมู่บ้าน) เฉลี่ยตามเกณฑ์อายุที่กำหนด ในส่วนข้อมูลระดับชุมชนมีทีมเจ้าหน้าที่ของ อบต.ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล
- กองทุนฯ เทศบาลตำบลโนนเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ตำบลโนนเจริญมี 11 หมู่บ้าน มีทีมเก็บข้อมูลเป็น อสม. หมู่บ้านละ 1 คน เป็นผู้เก็บข้อมูล โดยได้เฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลตามเกณฑ์หมู่บ้านละ 19 ชุด ตามช่วงอายุ ดังนี้
หมู่ 1 – 6 ช่วงอายุ 5-17 ปี 5 ชุด 18 – 64 ปี 14 ชุด 65 ปีขึ้นไป 4 ชุด
หมู่ 7 – 11 ช่วงอายุ 5-17 ปี 4 ชุด 18 – 64 ปี 14 ชุด 65 ปีขึ้นไป 5 ชุด
100
0
4. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเก็บข้อมูลและจัดทำแผนงานสุขภาวะชุมชน กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 4 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- กล่าวต้อนรับและแนวทางการสนับสนุนบริการวิชาการมหาวิทยาลัยกับชุมชน
- ชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานและทบทวนแผนการดำเนินงานที่ผ่านมา
- กองทุนสรุปผลการดำเนินงานเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน
- ดำเนินการบันทึกข้อมูลแผนงานสถานการณ์สุขภาพชุมชนและโครงการที่ควรดำเนินการ ในระบบเว็บไซต์
- สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนปฏิบัติการกิจกรรมครั้งต่อไป
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลที่เกิดขึ้น
1. สรุปผลการดำเนินการเก็บข้อมูลของกองทุนตำบลทั้ง 8 กองทุน ดังนี้
1. กองทุนฯ เทศบาลตำบลบึงเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์ ดำเนินงานเก็บข้อมูล ดังนี้ 1) ประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย นายก อบต. ปลัด อบต. ผอ.รพ.สต. 2 แห่ง และทีมเลขานุการ เพื่อออกแบบและวางแผนการเก็บข้อมูล กำหนดกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูลตามช่วงอายุและเขตรับผิดชอบ โดยข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนจะเก็บข้อมูล ดังนี้ ช่วงอายุ 18 – 64 ปี และ 65 ปีขึ้นไปเฉลี่ยหมู่บ้านละ 12 ชุด (13 หมู่บ้าน) ส่วนช่วงอายุ 5 – 17 ปี เก็บกับเด็กนักเรียนมีอยู่ 4 โรงเรียนเฉลี่ยโรงเรียนละ 13 ชุด โดยให้ ผอ.โรงเรียนเป็นหลักดำเนินการเก็บข้อมูล ส่วนข้อมูลระดับชุมชนคณะทำงานจำนวน 5 คนเป็นทีมรวบรวมข้อมูล 2) คณะทำงานรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามและกรอกบันทึกข้อมูลในระบบเว็บไซต์
2. กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ แบ่งการเก็บข้อมูลระดับบุคคลช่วงอายุ 5 – 17 ปี เก็บข้อมูลช่วงที่มีการอบรมสภาเด็กและเยาวชน จำนวน 50 คน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ช่วงอายุ 65 ปีขึ้น เก็บกับผู้สูงอายุที่เข้ามาร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ส่วนช่วงอายุ 18 – 64 ปี เฉลี่ยเก็บหมู่บ้าน 7 ชุด (16 หมู่บ้าน) โดยมอบให้ประธานชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านเป็นคนดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและเก็บข้อมูล
3. กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบและวางแผนการเก็บข้อมูล โดยตำบลโคกสะอาดมี 16 หมู่บ้าน จึงให้เจ้าหน้าที่ใน อบต. รับผิดชอบการเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 1 คน เฉลี่ยหมู่บ้านละ 18 – 20 ชุด แบ่งตามเกณฑ์ช่วงอายุ ดังนี้ 5 – 17 ปี หมู่บ้านละ 4 ชุด 18 – 64 ปี หมู่บ้านละ 13 ชุด และ 65 ปีขึ้นไป หมู่บ้านละ 8 ชุด ส่วนข้อมูลระดับชุมชน ทีมคณะทำงานจะเป็นหลักในการเก็บข้อมูล
4. กองทุนฯ อบต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ประชุมทีมคณะทำงานและทีมเก็บข้อมูล เพื่อออกแบบวางแผนการเก็บข้อมูลและชี้แจงทำความเข้าใจแบบเก็บข้อมูลให้กับประธาน อสม.ประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นหลักการเก็บข้อมูลประจำหมู่บ้าน เฉลี่ยชุดเก็บข้อมูลหมู่บ้านละ 13 ชุด (16 หมู่บ้าน) เฉลี่ยตามเกณฑ์อายุที่กำหนด ในส่วนข้อมูลระดับชุมชนมีทีมเจ้าหน้าที่ของ อบต.ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล
5. กองทุนฯ เทศบาลตำบลโนนเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์ ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ ตำบลโนนเจริญมี 11 หมู่บ้าน มีทีมเก็บข้อมูลเป็น อสม. หมู่บ้านละ 1 คน เป็นผู้เก็บข้อมูล โดยได้เฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลตามเกณฑ์หมู่บ้านละ 19 ชุด ตามช่วงอายุ ดังนี้
หมู่ 1 – 6 ช่วงอายุ 5-17 ปี 5 ชุด 18 – 64 ปี 14 ชุด 65 ปีขึ้นไป 4 ชุด
หมู่ 7 – 11 ช่วงอายุ 5-17 ปี 4 ชุด 18 – 64 ปี 14 ชุด 65 ปีขึ้นไป 5 ชุด
2. คณะทำงานกองทุนฯ ได้บันทึกข้อมูลแบบสอบถามเข้าในระบบเว็บไซต์ ซึ่งสามารถดูผลความก้าวหน้าการบันทึกข้อมูล ดังนี้
ชื่อกองทุน จำนวนการกรอกข้อมูล (ชุด)
กองทุนฯ ทต.บึงเจริญ บุคคล 204 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุด
กองทุนฯ ทต.โนนเจริญ บุคคล 203 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุด
กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก บุคคล 200 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน - ชุด
กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด บุคคล 200 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุด
กองทุนฯ อบต.โคกกลาง บุคคล 202 ชุด ครัวเรือน 192 ชุด ชุมชน 1 ชุด
3. คณะทำงานกองทุนฯ เข้าไปจัดทำโครงการที่ควรจะดำเนินการในแผนงานสุขภาพปี 2566 ในระบบเว็บไซต์ กองทุนละไม่น้อยกว่า 3 แผนงาน และได้วิเคราะห์ข้อมูลโครงการที่ควรจะดำเนินงานในแต่ละแผนงาน อย่างน้อย 5 โครงการ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาโครงการต่อไป
4. นัดหมายจัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อจัดดทำแผนงานและโครงการสุขภาวะ วันที่ 1 เมษายน 2566
20
0
5. ประชุมคณะทำงาน พี่เลี้ยงกองทุน ครั้งที่ 2 เพื่อวางแผนการสนับสนุนการจัดทำข้อมูลแผนงานของกองทุนฯ 5 ตำบล จ.บุรีรัมย์
วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- กล่าวทักทาย ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม และสรุปผลการดำเนินงานจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
- ชี้แจงวิธีการเข้าระบบเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบการบันทึกข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของกองทุนฯ และการจัดทำแผนงาน
- นำเสนอผลการประชุมการจัดทำข้อมูลและแผนงาน และภาพร่วมการดำเนินเก็บข้อมูลของกองทุนตำบลเป้าหมาย (5 กองทุน)
- ตรวจสอบการจัดบันทึกข้อมูลแผนงาน ในระบบเว็บไซต์
- วางแผนปฏิบัติการและการเข้าร่วมประชุมการบันทึกข้อมูลแผนงาน พัฒนาโครงการ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.สรุปกิจกรรมและผลลัพธ์ ผลผลิต ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้
1.1. ประชุมคณะทำงานเขตและพี่เลี้ยงกองทุน ครั้งที่ 1 เป็นกิจกรรมเข้าพบผู้บริหารท้องถิ่น ปลัด อปท. และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานกองทุนฯ เพื่อชี้แจ้งทำความเข้าใจแนวทางการร่วมดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ และเชิญชวนร่วมเป็นกองทุนฯเป้าหมายร่วมดำเนินงาน
ผลที่เกิดขึ้น 1) กองทุนฯ เป้าหมาย 5 กองทุน ได้แก่ อบต.โคกกลาง อบต.โคกสะอาด อบต.ถลุงเหล็ก ทต.โนนเจริญ ทต.บึงเจริญ 2) ผู้บริหารท้องถิ่นได้มอหมายให้เจ้าหน้าที่ของ อปท.ร่วมเป็นคณะทำงานตัวแทนกองทุนละ 1 คน
1.2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและชี้แจงการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน เพื่อให้คณะทำงานกองทุนฯ เป้าหมายทั้ง 5 กองทุน เข้าใจแนวทางการดำเนินงาน และร่วมวางแผนการเก็บข้อมูลแบบสอบถามสถานการณ์สุขภาพชุมชน
ผลที่เกิดขึ้น 1) กองทุนฯ เป้าหมายได้มอบหมายบุคลากรร่วมเป็นคณะทำงานโครงการร่วมจำนวน 11 คน และได้คัดเลือกทีมเก็บข้อมูลกองทุนฯ ละ 10 คน เพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถามสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อให้ครอบคลุมทุกชุมชนและกลุ่มตัวอย่างที่หลากหลายช่วงวัย 2) แผนการเก็บข้อมูลแต่ละกองทุนฯ
1.3 การเก็บข้อมูลแบบสอบถามสถานการณ์สุขภาพชุมชนและบันทึกข้อมูลลงในระบบเว็บไซต์ เพื่อให้กองทุนมีฐานข้อมูลสุขภาวะชุมชนในการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการที่จะแก้ไขปัญหาสุขภาพ คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้ตรงความเป็นจริง
ผลที่เกิดขึ้น 1) กองทุนฯ ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลแบบสอบถามสถานการณ์สุขภาพชุมชนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและสามารถเก็บข้อมูลได้ ดังนี้ กองทุนฯ ทต.บึงเจริญ บุคคล 204 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุด กองทุนฯ ทต.โนนเจริญ บุคคล 203 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุด กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก บุคคล 200 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุด กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด บุคคล 200 ชุด ครัวเรือน 100 ชุด ชุมชน 1 ชุุด กองทุนฯ อบต.โคกกลาง บุคคล 202 ชุด ครัวเรือน 192 ชุด ชุมชน 1 ชุด ซึ่งทุกกองทุนฯ ได้นำข้อมูลจากแบบสอบถามบันทึกลงในระบบเว็บไซต์เพื่อจะได้ประมวลผลและวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการต่อไป
2. แผนการดำเนินงานระยะต่อไป
2.1 อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการให้ได้งบประมาณ
2.2 การติดตามจัดทำข้อมูลแผนงานให้สมบูรณ์และการจัดทำโครงการ
2.3 การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3
3. การมอบหมายบทบาทหน้าที่การติดตามและสนับสนุนการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการในระบบ
10
0
6. ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
วันที่ 29 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุ เป้าหมายการดำเนินงาน โดย รศ.อุทิศ ทาหอม อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- สรุปผลการเก็บข้อมูลและจัดทำการบันทึกข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนลงในระบบเว็บไซต์เพื่อจัดทำแผนงาน โดย นายสงกา สามารถ ผู้ประสานงานและพี่เลี้ยงระดับเขต
- ชี้แจงขั้นตอนการเติมเต็มข้อมูลแผนงานในระบบเว็บไซต์ให้สมบูรณ์ และแบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำข้อมูลแผนงานในระบบเว็บไซต์ให้สมบูรณ์ โดย ดร.สำราญ ธุระตา อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- บรรยาย หลักการเขียนโครงการ “เขียนโครงการอย่างไรถูกใจแหล่งทุน” โดย รศ.อุทิศ ทาหอม อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนปฏิบัติการกิจกรรมครั้งต่อไป
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเป้าหมายทั้ง 5 กองทุน ได้คัดเลือกที่จัดทำข้อมูลแผนงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ กองทุนละ 3 แผน และจะพัฒนาโครงการภายใต้แผนงานละ 2 โครงการ ดังนี้
1.1 กองทุนฯ เทศบาลตำบลบึงเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์ จัดทำแผนงานผู้สูงอายุ แผนงานโรคเรื้อรัง และแผนงานขยะ
1.2 กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จัดทำแผนงานผู้สูงอายุ แผนงานกิจกรรมทางกาย และแผนงานขยะ
1.3 กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ จัดทำแผนงานความปลอดภัยทางถนน แผนงานขยะ และแผนงานกิจกรรมทางกาย
1.4 กองทุนฯ อบต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ จัดทำแผนงานความปลอดภัยทางถนน แผนงานขยะ และแผนงานกิจกรรมทางกาย
1.5 กองทุนฯ เทศบาลตำบลโนนเจริญ อ.บ้านกวาด จ.บุรีรัมย์ จัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย แผนงานขยะ และแผนงานอาหารและโภชนาการ
- คณะทำงานที่รับมอบหมายเป็นแอดมินดูแลระบบกองทุนๆ ละ 2 คน สามารถบันทึกข้อมูลและจัดทำแผนงานในระบบได้ครบถ้วนสมบูรณ์ และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพจากข้อมูลในแผนงานเพื่อมาจัดทำการพัฒนาโครงการได้
- คณะทำงานแต่ละกองทุนได้ช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำโครงการที่ควรจะดำเนินการได้อย่างน้อย 5 โครงการต่อแผนงาน และจะได้นำโครงการที่ควรจะดำเนินการไปพัฒนาเป้นโครงการต่อไป
- คณะทำงานทุกคนมีความรู้ความเข้าใจหลักการเขียนโครงการให้ถูกใจแหล่งทุน หรือเขียนโครงการให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งสามารถนำความรู้มาพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพในระบบเว็บไซต์ได้
20
0
7. ติดตามสนับสนุนการจัดทำโครงการ การพัฒนาโครงการเพื่อของบประมาณกองทุนตำบล
วันที่ 30 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
การติดตามเข้าพบปะพูดคุยกับคณะทำงานกองทุนและกรรมการกองทุน
1. ชี้แจงทำความเข้าใจและนำเสนอสรุปผลการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
2. ร่วมกันตรวจดูข้อมูลแผนงานในระบบเว็บไซต์ และกรอกข้อมูลแผนงานให้ครบถ้วน
3. การกรอกข้อมูลพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพในระบบเว็บไซต์
4. พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นต่อวิธีการกรอกข้อมูล บันทึกข้อมูลแผนงานและโครงการในระบบเว็บไซต์
การติดตามผ่านออนไลน์
1. ชี้แจงทำความเข้าใจและนำเสนอสรุปผลการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
2. ร่วมกันตรวจดูข้อมูลแผนงานในระบบเว็บไซต์ และกรอกข้อมูลแผนงานให้ครบถ้วน
3. การกรอกข้อมูลพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพในระบบเว็บไซต์
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ข้อมูลสรุปผลการจัดทำแผนงาน โครงการที่ควรดำเนินงาน และโครงการที่ควรจะพัฒนาโครงการ เพื่อใช้ในการติดตามสนับสนุนการจัดทำข้อมูลแผนงาน โครงการให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
กองทุน
แผนงาน การจัดทำข้อมูลแผนงาน
สถานการณ์ปัญหา วัตถุประสงค์/เป้าหมาย โครงการที่ควรดำเนินการ
เทศบาลตำบลโนนเจริญ แผนงานกิจกรรมทางกาย ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 6 โครงการ
แผนงานขยะ ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 5 โครงการ
แผนงานอาหารและโภชนาการ - - -
แผนงานคนพิการ - - -
แผนงานโรคเรื้อรัง - - -
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ -
แผนงานยาสูบ ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 6 โครงการ
อบต.โคกสะอาด แผนงานกิจกรรมทางกาย ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 5 โครงการ
แผนงานขยะ ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 5 โครงการ
แผนงานความปลอดภัยทางถนน ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 5 โครงการ
อบต.โคกกลาง แผนงานกิจกรรมทางกาย ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 5 โครงการ
แผนงานขยะ ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 5 โครงการ
แผนงานความปลอดภัยทางถนน ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 5 โครงการ
อบต.ถลุงเหล็ก แผนงานกิจกรรมทางกาย ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 5 โครงการ
แผนงานผู้สูงอายุ - - -
แผนงานขยะ ครบทุกข้อ ครบทุกข้อ 5 โครงการ
ทต.บึงเจริญ -
-
-
- คณะทำงานกองทุนได้ดำเนินการเติมข้อมูลแผนงานและโครงการได้ตามตัวชี้วัดที่กำหนด คือทุกกองทุนฯ สามารถจัดทำข้อมูลแผนงานได้ถูกต้อง ครบถ้วนทุกสถานการณ์ตามตัวชี้วัดและวัตถุประสงค์ทุกข้อมูลในแต่ละแผนงาน โดยกำหนดให้แต่ละกองทุนฯ ให้บันทึกข้อมูลแผนงานในระบบเว็บไซต์อย่างน้อย 3 แผนงาน และทำการโครงการภายใต้แผนงานอย่างน้อย 5 โครงการ พร้อมคัดเลือกโครงการที่จะพัฒนาโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนฯ อย่างน้อยกองทุนฯ ละ 2 โครงการ
- คณะทำงานกองทุน โดยเฉพาะคนที่ทำหน้าที่แอดมินกองทุนๆ ละ 2 คน สามารถกรอกข้อมูลแผนงาน โครงการ ในระบบเว็บไซต์ได้
- ข้อมูลพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นต่อการจัดทำแผนงานและโครงการในระบบเว็บไซต์ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานให้สามารถจัดทำโครงงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
4.1 การเก็บข้อมูลและจัดทำข้อมูลแผนงานไม่สามารถทำได้ครบทุกสถานการณ์ของแผนงาน เพราะบางตัวชี้วัดไม่สามารถเปิดเผยหรือหาข้อมูลได้ หรือไม่มีการเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลไว้ เช่น ข้อมูลด้านยาเสพติด ข้อมูลกลุ่มวัยที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งการจัดทำแผนงานอาจจะจัดทำข้อมูลได้ไม่ครบทุกสถานการณ์
4.2 คณะทำงานกองทุนฯ ที่ทำหน้าที่เป็นแอดมินจัดทำข้อมูลในระบบเว็บไซต์อาจจะไม่ได้เป็นผู้เสนโครงการของบประมาณกองทุนฯ ซึ่งผู้เสนอโครงการกับกองทุนจะเป็นหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ กลุ่มชมรมในพื้นที่ ดังนั้น จึงอยากให้คณะกรรมการกองทุน ผู้เสนอโครงการขอรับงบประมาณจากกองทุนฯ เข้ามาเรียนรู้ด้วย
4.3 องค์ประกอบการพัฒนาโครงการไม่เหมือนกับการเขียนโครงการทั่วไป คนกรอกข้อมูลมีความสับสนกับการวิเคราะห์สถานการณ์ใดมีความสอดคล้องกับโครงการที่จะดำเนินการ และการออกแบบกำหนดกิจกรรมที่มีหลายรูปแบบกว่าการเขียนโครงการทั่วไป ซึ่งต้องทำความเข้าใจการจัดทำโครงการในระบบด้วย
4.4 กระบวนการและขั้นตอนการจัดทำข้อมูลแผนงาน โครงการไม่สอดคล้องกับระยะเวลาการบริหารจัดการของกองทุนฯ การเสนอแผน การเสนอโครงการ
50
0
8. เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงการ การติดตามประเมินผลโครงการ ในระบบเว็บไซต์
วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมายการดำเนินงาน
- สรุปผลการติดตามสนับสนุนการจัดทำแผนงานในเว็บไซต์และโครงการที่ควรดำเนินการ พร้อมยกตัวอย่างแผนงานและโครงการที่บันทึกข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ประกอบ
- บรรยายหลักการเขียนและพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพและการติดตามประเมินผลโครงการ
- บรรยายการพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ และฝึกปฏิบัติการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์
- สรุปผลการดำเนินงาน นัดหมายการติดตามผลการดำเนินงาน
- ทบทวนภารกิจเมื่อวันวานและเข้าไปตรวจสอบการพัฒนาโครงการในระบบ พร้อมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์
- บรรยายประกอบตัวอย่าง การติดตามโครงการและการประเมินคุณค่าของโครงการในระบบเว็บไซต์
- ดำเนินการพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพและการพัฒนาโครงการ การติดตามโครงการ และการประเมินคุณค่าของโครงการในระบบเว็บไซต์
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นนำร่องทั้ง 5 กองทุน ได้คัดเลือกที่จัดทำข้อมูลแผนงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ อย่างน้อยกองทุนละ 3 แผน และทดลองปฏิบัติในการพัฒนาโครงการแผนงานละ 2 โครงการ ดังนี้
ชื่อกองทุนฯ แผนงาน ชื่อพัฒนาโครงการ
เทศบาลตำบลบึงเจริญ แผนงานผู้สูงอายุ
แผนงานโรคเรื้อรัง การแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด
แผนงานขยะ โรงเรียนปลอดขยะ ปีงบประมาณ 2566
อบรมให้ความรู้ประชาชนเพื่อป้องกันกำจัดขยะติดเชื้อในครัวเรือน ประจำปี 2566
แผนงานสิ่งวดล้อม
อบต.ถลุงเหล็ก แผนงานผู้สูงอายุ ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า
แผนงานกิจกรรมทางกาย
แผนงานขยะ จัดการขยะขากของเหลือใช้ให้เกิดมูลค่า
แผนงานอุบัติเหตุ
อบต.โคกสะอาด แผนงานความปลอดภัยทางถนน ลดอุบัติเหตุ ลดความเสี่ยงในชุมชน
แผนงานกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกายสบายชีวี ด้วยวิธีเต้นแอโรบิค
แผนงานขยะ บริหารจัดการขยะในชุมชน
แผนงานสิ่งแวดล้อม สร้างป่า สร้างคน ชุมชนสีเขียว ต.โคกสะอาด
อบต.โคกกลาง แผนงานความปลอดภัยทางถนน
แผนงานขยะ สร้างจุดเรียนรู้การจัดการขยะหมู่บ้านต้นแบบ
แผนงานกิจกรรมทางกาย ให้ความรู้กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพดี
แผนงานบุหรี่ ส่งเสริมการลดสูบบุหรี่ในโรงเรียน
เทศบาลตำบลโนนเจริญ แผนงานกิจกรรมทางกาย fun run หลวงปู่ซาน ไปเตาสวาย
แผนงานขยะ ลดสูบ รักษ์สุขภาพ
แผนงานอาหารและโภชนาการ
แผนงานคนพิการ
แผนงานโรคเรื้อรัง
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม สร้างป่า สร้างคน ชุมชนสีเขียว
แผนงานยาสูบ
- คณะทำงานกองทุน 5 กองทุน สามารถจัดทำข้อมูลการพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพได้ถูกต้องครบตามองค์ประกอบของโครงการได้อย่างน้อยกองทุนละ 2 โครงการ และสามารถจัดทำเป็นโครงการติดตามประเมินผลเพื่อเสนอโครงการกับกองทุนฯ ได้
- คณะทำงานกองทุน 5 กองทุน สามารถที่จะเข้าไปจัดทำการประเมินผลการติดตามโครงการได้ เมื่อโครงการได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนและได้มีการดำเนินงานเสร็จสิ้น ก็สามารถนำรายงานการดำเนินงานมาบันทึกการประเมินผลคุณค่าโครงการในระบบได้
- คณะทำงานกองทุนทั้ง 5 กองทุน มีความประสงค์ที่จะพัฒนาโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก โดยมี อปท. ที่เคยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสวัสดิการสังคมของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่เสนอผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ อบต.ถลุงเหล็ก และ อบต.โคกกลาง จะเป็นต้นแบบในการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุนดังกล่าว
20
0
9. ประชุมคณะทำงาน/พี่เลี้ยงเขต เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตาม ความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 3
วันที่ 11 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการประชุมคณะทำงาน พี่เลี้ยงกองทุน
- คณะทำงาน พี่เลี้ยงกองทุน รายงานสรุปผลการติดตามการจัดทำแผนงานและการพัฒนาโครงการของกองทุนฯ และในระบบเว็บไซต์ มีประเด็นการพูดคุย ดังนี้
a. วิธีการติดตามสนับสนุนการจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการของกองทุน
b. ผลการติดตามการจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการ
c. ปัญหาและอุปสรรคและแนวทางการดำเนินงาน
d. แผนการดำเนินงานสนับสนุนการพัฒนาโครงการและการเสนอโครงการของกองทุน นำเสนอผลการประชุมการจัดทำข้อมูลและแผนงาน และภาพร่วมการดำเนินเก็บข้อมูลของกองทุนตำบลเป้าหมาย (5 กองทุน)
- วางแผนการติดตามสนับสนุนการพัฒนาโครงการระบบเว็บไซต์ของกองทุนฯ นำร่อง ปีงบประมาณ 2566 และ 2567
- วางแผนการจัดสรุปบทเรียนการดำเนินงาน และสรุปผลการประชุมและนัดหมายกิจกรรมครั้งต่อไป
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- สรุปกิจกรรมและผลลัพธ์ ผลผลิต ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้
1.1. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงานและโครงการ เพื่อให้คณะทำงานกองทุนสามารถจัดทำข้อมูลแผนงานและโครงการในระบบได้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะชุมชนเพื่อเป็นฐานข้อมูลการจัดทำแผนงานและโครงการในการแก้ไขปัญหาสุขภาวะชุมชนได้ตรงจุด
ผลที่เกิดขึ้น 1) กองทุนฯ เป้าหมาย 5 กองทุนได้จัดทำแผนงานในระบบเว็บไซต์อย่างน้อยกองทุนฯ ละ 3 แผนงาน เช่น แผนงานกิจกรรมทางกาย แผนงานขยะ แผนงานอุบัติเหตุทางถนน แผนงานสิ่งแวดล้อม 2) จัดทำรายชื่อโครงการที่ควรจะดำเนินงาน ซึ่งเป็นแผนที่จะดำเนินงานในแต่ละด้านโดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะชุมชนประกอบในการพิจารณาจัดทำพัฒนาโครงการ
1.2 การติดตามสนับสนุนการจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการ เพื่อให้การจัดทำข้อมูลแผนงานและโครงการที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ คณะทำงานเขตและทีมวิชาการจึงได้วางแผนการสนับสนุนการติดตามสนับสนุน 2 รูปแบบ คือ การพบปะกลุ่มย่อยที่ทำการ อปท. เพื่อตรวจสอบและร่วมจัดทำข้อมูลแผนงานและโครงการ และการติดตามผ่านระบบออนไลน์ Meeting เพื่อให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำแผนงานและโครงการในระบบเว็บไซต์ และมีการแลกเปลี่ยนรูปแบบการสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนฯ ด้วย
ผลที่เกิดขึ้น 1) คณะทำงานกองทุนสามารถจัดทำงานข้อมูลแผนงานได้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ได้ไม่น้อยกว่า 3 แผนงาน/กองทุน และเป็นแผนงานที่จะมีความสำคัญที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาสถานการณ์สุขภาวะชุมชน 2) คณะทำงานกองทุนสามารถกำหนดและคัดเลือกที่จะพัฒนาโครงการไม่น้อยกว่ากองทุนละ 2 โครงการ
1.3 อบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ การติดตามและประเมินผลโครงการ เพื่อให้คณะทำงานกองทุนสามารถบันทึกและจัดทำข้อมูลการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ได้ และสามารถที่จะจัดทำโครงการติดตามเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุน และสามารถประเมินคุณค่าโครงการได้หลังจากโครงการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
ผลที่เกิดขึ้น 1) กองทุนฯ ทั้ง 5 กองทุน ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการไม่น้อยกว่ากองทุนละ 2 โครงการ ประมาณ 15 โครงการ และสามารถทำเป็นติดตามโครงการทุกโครงการ 2) คณะทำงานกองทุนสามารถทำการติดตามและประเมินผลโครงการในระบบได้
- แผนการดำเนินงานระยะต่อไป
2.1 การสรุปบทเรียนการดำเนินงาน
2.2 การติดตามสนับสนุนการติดตามโครงการที่เสนอของบประมาณ ปี 2567
- มอบหมายบทบาทหน้าที่การติดตามและสนับสนุนการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการในระบบ ปีงบประมาณ 2567
10
0
10. เก็บข้อมูลเพื่อจัดทำแผนสุขภาพ รอบ 2
วันที่ 4 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ประชุมชี้แจงการเก็บข้อมูลทำแผนสุขภาพ รอบ 2 วันที่ 4 พ.ค.67
- ทำความเข้าใจเครื่องมือการเก็บข้อมูล
- วิธีการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างสำหรับสัมภาษณ์ และการบันทึกข้อมูลในระบบ
- วางแผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม
- ดำเนินการเก็บข้อมูลแบบสอบถามกองทุนสุขภาพตำบล 5 กองทุน ได้แก่ อบต.ถลุงเหล็ก อบต.โคกกลาง อบต.โคกสะอาด ทต.โนนเจริญ ทต.บึงเจริญ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 6 - 17 พ.ค.67
- บันทึกข้อมูลแผนสุขภาพในระบบ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 6 - 17 พ.ค.67
- สรุปผลการเก็บข้อมูล วันที่ 18 พ.ค.67
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ได้แผนการเก็บข้อมูลแผนสุขภาพและได้ดำเนินการเก็บข้อมูลตามแผนที่กำหนด
1.1 ให้นักศึกษาดำเนินการเก็บข้อมูลแผนสุขภาพ ตามเป้าหมาย 5 กองทุนๆ ละ 301 ชุด รวมเป็น 1,505 ชุด
1.2 เก็บข้อมูลเข้าใจกลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลในแบบแบบสอบถามแต่ละชุดมีรายละเอียด ดังนี้
1. แบบสอบถามสำหรับบุคคลเก็บข้อมูลรายบุคคลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 200 ชุดขึ้นไปโดยกำหนดจำนวนการเก็บข้อมูลจากประชาชนในแต่ละช่วงอายุดังนี้
ช่วงอายุ5-15 ปีจำนวน 50 ชุดขึ้นไป
ช่วงอายุ16-25 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป
ช่วงอายุ26-64 ปี จำนวน 50 ชุดขึ้นไป
อายุ65 ปีขึ้นไป จำนวน 50 ชุดขึ้นไป
2. แบบสอบถามสำหรับครัวเรือนเก็บข้อมูลจากหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนสมาชิกครัวเรือน(ครัวเรือนละ 1 ชุดเท่านั้น) จำนวน 100 ชุดขึ้นไป
3. แบบสอบถามสำหรับชุมชนเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จากผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาล (รพ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเกษตรอำเภอ) และฐานข้อมูลออนไลน์(เช่น คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข) ชุมชนละ 1 ชุดเท่านั้น
ซึ่งได้วางแผนการเก็บข้อมูลแบบสอบถามให้กระจายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/พื้นที่ในชุมชน ตามสัดส่วนจำนวนครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้าน/พื้นที่
1.3 วิธีการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม โดยผู้เก็บข้อมูลใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามเอกสารและผ่าน App ในมือถือ แท๊ปเล็ต
- ผลการเก็บข้อมูลแบบสอบถามสถานการณ์สุขภาพชุมชนและบันทึกข้อมูลลงในระบบเว็บไซต์ ดังนี้
2.1 กองทุนฯ ทต.บึงเจริญ เก็บแบบสอบถาม บุคคล 218 ชุด ครัวเรือน 105 ชุด ชุมชน 1 ชุด รวมเป็น 324 ชุด
2.2 กองทุนฯ ทต.โนนเจริญ เก็บแบบสอบถาม บุคคล 222 ชุด ครัวเรือน 112 ชุด ชุมชน 1 ชุด รวมเป็น 335 ชุด
2.3 กองทุนฯ อบต.ถลุงเหล็ก เก็บแบบสอบถาม บุคคล 217 ชุด ครัวเรือน 103 ชุด ชุมชน 1 ชุด รวมเป็น 321 ชุด
2.4 กองทุนฯ อบต.โคกสะอาด เก็บแบบสอบถาม บุคคล 215 ชุด ครัวเรือน 104 ชุด ชุมชน 1 ชุุด รวมเป็น 324 ชุด
2.5 กองทุนฯ อบต.โคกกลาง เก็บแบบสอบถาม บุคคล 212 ชุด ครัวเรือน 104 ชุด ชุมชน 1 ชุด รวมเป็น 317 ชุด
- คณะทำงานระดับกองทุนได้นำข้อมูลแผนสุขภาพตำบลเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา และจัดทำการพัฒนาข้อเสนอโครงการจากข้อมูลสถานการณ์ชุมชนที่มี
18
0
11. ประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานและทิศทางการพัฒนากองทุนตำบล
วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ชี้แจงวัตถุประสงค์การสรุปบทเรียน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการเกิดผลตามเป้าหมายโครงการมากน้อยเพียงใด ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจะที่สามารถพัฒนาเป็นกองทุนต้นแบบ และข้อเสนอแนะในการทำงานหนุนเสริมพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผลของกองทุนสุขภาพตำบล
- กระบวนการสรุปบทเรียน สนทนากลุ่มย่อย
- สรุปผลการสรุปบทเรียน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
บทเรียนการพัฒนาขีดความสามารถคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
1. การประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการกองทุน และสถานการณ์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน ในประเด็น ดังนี้
1.1 ความเข้าใจกับคำว่า สุขภาพ คือ สุข+ภาวะ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุข สถานการณ์สุขภาพชุมชนและปัญหาสุขภาพในชุมชนมาจากปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ สารเสพติด/อุบัติเหตุ/มลพิษสิ่งแวดล้อม/โรคอุบัติใหม่/สุขภาพจิต) และโรคเรื้อรัง (อาหาร/กิจกรรมทางกาย)
1.2 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้แก่ ส่งเสริมให้กรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในระบบสุขภาพชุมชน ทำให้กองทุนฯ มีแผนการดำเนินงาน รู้สถานการณ์และวางเป้าหมายได้ มีโครงการที่มีคุณภาพสอดคล้องกับแผน มีการติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงแผน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนและสอบถามเป้าหมายการดำเนินโครงการกับการหนุนเสริมการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566
1.3 ให้ข้อมูลการดำเนินงานของกองทุนฯ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของ สปสช.เขต ให้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัด 2 กลุ่ม รพ.สต.ที่ถ่ายโอน ยังได้รับงบประมาณสมทบจาก สปสช.เหมือนเดิม โครงการ สสส.จะเข้ามาหนุนเสริมพัฒนางานกองทุน ให้เกิดโครงการที่มีคุณภาพและพัฒนานวัตกรรมของงานกองทุนได้มากขึ้น ระเบียบเกี่ยวกับกองทุนฯที่ปรับใหม่
1.4 ทั้ง 5 กองทุนต้องมีการขออนุมัติแผนการใช้จ่ายงบกองทุน เมื่อ สปสช.อนุมัติแผนแล้วจึงจะโอนงบสมทบและแผนกองทุนต้องเอาปัญหาพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยต้องมีความเชื่อมโยงกับปัญหาของชุมชน(ใช้ข้อมูลจากหน่วยบริการ รพ.สต. และใช้กระบวนการประชาคม นำข้อมูลปัญหาสุขภาพ มาเรียงลำดับความสำคัญ) เพื่อมุ่งให้เกิดการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนได้จริง ที่สำคัญกองทุนต้องไม่ให้มีเงินค้างเกิน 2 เท่า โดยเพิ่มหมวดที่ 6 ให้จัดสรรงบในการซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ได้ (ผู้ป่วยเฉพาะราย) หลังเดือนมีนาคมของทุกปี กองทุนสามารถของบสมทบจาก สปสช.เพิ่มได้ โดยกองทุนต้องสมทบเพิ่ม 100%
1.5 เป้าหมายและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการเข้าร่วมโครงการ คือ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พัฒนาศักยภาพตนเอง และการเก็บข้อมูลท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนา ได้นำข้อมูลไปพัฒนาเขียนโครงการ เพื่อตอบสนองท้องถิ่น ตอบโจทย์ตัวชี้วัด สอดคล้องกับความต้องการของแหล่งทุน
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะทำงานได้วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการกลไกสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ
3. ฝึกปฏิบัติการเขียน คณะผู้ดำเนินโครงการได้ฝึกอบรมปฏิบัติการให้คณะกรรมการทั้ง 5 กองทุน
3.1 ผู้เขียนโครงการจำเป็นต้องฟังเสียงสะท้อนจากกลุ่มผู้ส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวกับประเด็นการโครงว่า "มีมุมมองอย่างไร มีศักยภาพอะไร มีปัญหาข้อจำกัดอะไร" ที่ต้องใช้การโครงการเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
3.2 จัดทำข้อเสนอโครงการต่อแหล่งทุน โดยทบทวนแผนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง (ฉบับปัจจุบัน)
3.3 เขียนวัตถุประสงค์ โดยนำชื่อโครงการมาแยกย่อยเป็นข้อ ๆ เช่น เพื่อวิเคราะห์ เพื่อพัฒนา เพื่อสร้าง เพื่อเพิ่ม เป็นต้น เพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมระหว่างวัตถุประสงค์ กับ ชื่อโครงการ
3.4 วิธีการดำเนินงาน ผู้จะทำโครงการ ต้องเข้าใจว่า จะใช้การพัฒนาอะไร รูปแบบใด ใช้เครื่องมืออะไร พัฒนาอะไรบ้าง มีกลุ่มเป้าหมายใครบ้าง มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร เกิดผลอย่างไร ผู้เขียนโครงการ
3.5 กิจกรรมโครงการต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ โดยผู้จัดทำโครงการอาจจะนำ วัตถุประสงค์มาตั้ง จำแนก แยกย่อยออกมาเป็นกิจกรรม หนึ่งวัตถุประสงค์ อาจจะมี 3-4 กิจกรรม เพื่อให้ผู้ประเมิน หรือ ทรงคุณวุฒิ หรือ ผู้พิจารณาทุนได้มองเห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างวัตถุประสงค์กับกิจกรรมโครงการ
3.6 กำหนดผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ ผู้เขียนโครงการควรเขียนออกเป็น 5 ประการ 1. ด้านวิชาการได้อะไร (ตีพิมพ์ หนังสือ ตำรา หลักสูตร) 2. ด้านสังคม ชุมชน ได้อะไร (ความสัมพันธ์ คุณภาพชีวิต แหล่งอาหาร รายได้เพิ่ม) 3. ด้านสิ่งแวดล้อมได้อะไร (สิ่งแวดล้อมดีขึ้น การลดการใช้เคมี ปรับตัวเข้ากับปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม) 4. ด้านพาณิชย์ได้อะไร (เกิดการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เกิดผลิตภัณฑ์ที่ขายได้) 5. ด้านนโยบายได้อะไร (ถูกบรรจุไว้ในแผนงบประมาณประจำปีหน่วยงานภาคีภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม)
3.7 ตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย คือ สุดท้ายปลายโครงการที่ดำเนินการนั้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะกลับไปตอบกลุ่มผู้ส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทั้งด้านวิชาการ ด้านสังคมชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพาณิชย์ ด้านนโยบาย เป็นต้น
4. ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการพัฒนากองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพในชุมชน โดยเฉพาะในการทำให้บริการสุขภาพเข้าถึงได้ง่ายและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด คณะทำงานข้อเสนอมุมมองต่อการพัฒนากองทุนในอนาคต
4.1 การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน ควรมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้คณะทำงานกองทุนเข้าใจปัญหาของชุมชนทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพผ่านการจัดเวทีระดับตำบล
4.2 การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมายังขาดมิติการสานสัมพันธ์เชิงลึก พร้อมทั้งการทำงานที่ลงไปคลุกคลี่กับพื้นที่อย่างจริงจัง
4.3 การจัดการทุนด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม กองทุนบางก็ทุนมักเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนที่คุ้นเลย ทำประเด็นเดิม ๆ ไม่ได้สร้างความแตกต่างที่เกิดขึ้น การแก้ไขปัญหาจึงไม่ได้สร้างมิติใหม่ให้เกิดความแตกต่างจากเดิม
4.4 การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรสุขภาพให้การสนับสนุนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพในท้องถิ่น เพื่อให้มีความสามารถในการให้บริการที่ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการของประชาชน
20
0
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ระดับตำบล ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผล โครงการ ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
ตัวชี้วัด :
2
เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
ตัวชี้วัด :
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
570
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานระดับเขต
5
ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์จากก
500
ผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
50
ผู้อำนวยการ รพ.สต. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ในเขตตำบลทั้
15
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9 จังหวัด บุรีรัมย์
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( รองศาสตร์จารย์อุทิศ ทาหอม ,ดร.สำราญ ธุระตา,นายสงกา สามารถ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
“ โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9 ”
จังหวัดบุรีรัมย์หัวหน้าโครงการ
รองศาสตร์จารย์อุทิศ ทาหอม ,ดร.สำราญ ธุระตา,นายสงกา สามารถ
ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9
ที่อยู่ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2567
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9 จังหวัดบุรีรัมย์" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9
บทคัดย่อ
โครงการ " โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9 " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ระดับตำบล ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผล โครงการ ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
- เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- แผนสนับสนุนการดำเนินงานของกลไกคณะทำงาน/ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต
- แผนการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่กองทุนฯ และผู้เสนอโครงการ
- แผนการติดตามสนับสนุนการจัดทำข้อมูลแผนงาน และพัฒนาโครงการ
- แผนการสรุปบทเรียนการดำเนินงานและพัฒนากองทุนตำบล
- ประชุมคณะทำงาน/พี่เลี้ยงเขต เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตาม ความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 (ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานกับผู้บริหารท้องถิ่นและคณะกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพท้องถิ่นกองทุนฯ เป้าหมาย 5 กองทุนในพื้นที่เ
- ประชุมชี้แจงเป้าหมายและแผนการดำเนินงาน และการเก็บข้อมูลสุขภาวะ
- การติดตามสนับสนุนการเก็บข้อมูล การจัดทำแผนงาน
- เวทีพัฒนาศักยภาพ Admin เพื่อบันทึกข้อมูลแผนงาน โครงการในระบบเว็บไซต์
- ประชุมคณะทำงาน พี่เลี้ยงกองทุน ครั้งที่ 2 เพื่อวางแผนการสนับสนุนการจัดทำข้อมูลแผนงานของกองทุนฯ 5 ตำบล จ.บุรีรัมย์
- ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
- ติดตามสนับสนุนการจัดทำโครงการ การพัฒนาโครงการเพื่อของบประมาณกองทุนตำบล
- เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงการ การติดตามประเมินผลโครงการ ในระบบเว็บไซต์
- ประชุมคณะทำงาน/พี่เลี้ยงเขต เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตาม ความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 3
- เก็บข้อมูลเพื่อจัดทำแผนสุขภาพ รอบ 2
- ประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานและทิศทางการพัฒนากองทุนตำบล
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ | |
---|---|---|
คณะทำงานระดับเขต | 5 | |
ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์จากก | 500 | |
ผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ | 50 | |
ผู้อำนวยการ รพ.สต. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ในเขตตำบลทั้ | 15 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- กองทุนเป้าหมายมีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานในประเด็นยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้แก่ อาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต ซึ่งจะต้องมีการจัดทำให้ได้แผนงานอย่างน้อย 2 แผนงาน
- กองทุนเป้าหมายจัดทำการพัฒนาโครงการสร้างเสริมสุขภาวะที่สอดคล้องแผนงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ อาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต และเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ อย่างน้อยกองทุนฯ ละ 2 โครงการ
- พี่เลี้ยงที่มีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการของ กองทุนฯ ละ 2 คน
- กองทุนเป้าหมายมีการใช้ website ระบบการจัดการบริหารกองทุนฯ ที่ใช้ในการพัฒนาแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตาม ประเมินผลโครงการ ประเด็นอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพ อุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต
- เกิดการการบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการยกระดับศักยภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. ประชุมคณะทำงาน/พี่เลี้ยงเขต เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตาม ความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 (ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานกับผู้บริหารท้องถิ่นและคณะกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพท้องถิ่นกองทุนฯ เป้าหมาย 5 กองทุนในพื้นที่เ |
||
วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำแผนปฎิบัติการเข้าพบชี้แจงโครงการกับผู้บริหารกองทุนฯ เป้าหมาย
วันที่ 6 ธันวาคม 65 ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลงานที่เกิดขึ้น
1. คณะกรรมการกองทุนฯ เป้าหมายทั้ง 5 กองทุน เกิดความเข้าใจต่อเป้าหมายและแผนการดำเนินงานโครงการยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบล โดยยินดีเข้าร่วมดำเนินการ 3 กองทุน (อบต.ถลุงเหล็ก อบต.โคกกลาง อบต.โคกสะอาด) ส่วนอีก 2 กองทุน จะนำเรื่องเข้าหารือกับคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อหามติที่ประชุมอีกครั้ง
|
5 | 0 |
2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและการใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลสุขภาวะชุมชน |
||
วันที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
2.2 เป้าหมายและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการเข้าร่วมโครงการ คือ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พัฒนาศักยภาพตนเอง และการเก็บข้อมูลท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนา ได้นำข้อมูลไปพัฒนาเขียนโครงการ เพื่อตอบสนองท้องถิ่น ตอบโจทย์ตัวชี้วัด สอดคล้องกับความต้องการของแหล่งทุน (ภายใน ภายนอก) เกิดการบริหารจัดการกองทุนที่มีประสิทธิภาพ (ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน/วางรากฐานการพัฒนา เกิดการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ) เกิดโครงการที่มีประสิทธิภาพ “พร้อมยื่นของบประมาณ 2567 จากแหล่งทุนภายในและแหล่งทุนภายนอก”
|
20 | 0 |
3. การติดตามสนับสนุนการเก็บข้อมูล การจัดทำแผนงาน |
||
วันที่ 28 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
100 | 0 |
4. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเก็บข้อมูลและจัดทำแผนงานสุขภาวะชุมชน กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ |
||
วันที่ 4 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
|
20 | 0 |
5. ประชุมคณะทำงาน พี่เลี้ยงกองทุน ครั้งที่ 2 เพื่อวางแผนการสนับสนุนการจัดทำข้อมูลแผนงานของกองทุนฯ 5 ตำบล จ.บุรีรัมย์ |
||
วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.สรุปกิจกรรมและผลลัพธ์ ผลผลิต ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้
|
10 | 0 |
6. ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น |
||
วันที่ 29 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
20 | 0 |
7. ติดตามสนับสนุนการจัดทำโครงการ การพัฒนาโครงการเพื่อของบประมาณกองทุนตำบล |
||
วันที่ 30 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำการติดตามเข้าพบปะพูดคุยกับคณะทำงานกองทุนและกรรมการกองทุน ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
กองทุน
|
50 | 0 |
8. เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงการ การติดตามประเมินผลโครงการ ในระบบเว็บไซต์ |
||
วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
20 | 0 |
9. ประชุมคณะทำงาน/พี่เลี้ยงเขต เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตาม ความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 3 |
||
วันที่ 11 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
10 | 0 |
10. เก็บข้อมูลเพื่อจัดทำแผนสุขภาพ รอบ 2 |
||
วันที่ 4 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
18 | 0 |
11. ประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานและทิศทางการพัฒนากองทุนตำบล |
||
วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นบทเรียนการพัฒนาขีดความสามารถคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
1. การประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการกองทุน และสถานการณ์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน ในประเด็น ดังนี้
1.1 ความเข้าใจกับคำว่า สุขภาพ คือ สุข+ภาวะ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุข สถานการณ์สุขภาพชุมชนและปัญหาสุขภาพในชุมชนมาจากปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ สารเสพติด/อุบัติเหตุ/มลพิษสิ่งแวดล้อม/โรคอุบัติใหม่/สุขภาพจิต) และโรคเรื้อรัง (อาหาร/กิจกรรมทางกาย)
|
20 | 0 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | เพื่อยกระดับศักยภาพกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ระดับตำบล ในการขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ผ่านการยกระดับคุณภาพของแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตาม ประเมินผล โครงการ ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ตัวชี้วัด : |
||||
2 | เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ตัวชี้วัด : |
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 570 | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
คณะทำงานระดับเขต | 5 | ||
ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์จากก | 500 | ||
ผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ | 50 | ||
ผู้อำนวยการ รพ.สต. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ในเขตตำบลทั้ | 15 |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9 จังหวัด บุรีรัมย์
รหัสโครงการ
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( รองศาสตร์จารย์อุทิศ ทาหอม ,ดร.สำราญ ธุระตา,นายสงกา สามารถ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......