directions_run

การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง ”

สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

หัวหน้าโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณชพงศ จันจุฬา

ชื่อโครงการ การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง

ที่อยู่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัด

รหัสโครงการ - เลขที่ข้อตกลง 61-ข-063

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง



บทคัดย่อ

โครงการ " การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง " ดำเนินการในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รหัสโครงการ - ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 มิถุนายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 150,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 4 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอดโดยมีการใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าหมื่นล้าน โดยในปี พ.ศ. 2559 มีการใช้งบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบสูงถึง 30,176.93 ล้านบาท (สำนักงบประมาณ, 2559) แต่การทุ่มเทงบประมาณไม่ได้ส่งผลให้เหตุการณ์ความรุนแรงลดลง โดยจากการสำรวจของ ศรีสมภพจิตร์ภิรมย์ศรี (2560) พบว่า ในปี พ.ศ. 2559 มีเหตุการณ์ความไม่สงบรวม 815 ครั้ง โดยเกิดที่จังหวัดปัตตานี 310 ครั้ง รองลงมาคือจังหวัดนราธิวาส 276 ครั้ง จังหวัดยะลา 176 ครั้ง และจังหวัดสงขลา 53 ครั้ง โดยมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์รวม 928 คน นอกจากนี้ อัฟฟาน ลาเต๊ะ (2559) ศึกษาความคาดหวังของประชาชนในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ พบว่า ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับความเป็นอยู่มากที่สุด รองลงมาคือ การแก้ไขปัญหายาเสพติด และการพัฒนาการศึกษา ตามลำดับ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง หนึ่งในยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่สำคัญของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) คือ โครงการจิตอาสา ญาลันนันบารู ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในชุมชนโดยคนในชุมชนที่เป็นจิตอาสาทำงานร่วมกับ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ในการร่วมกันคัดกรอง สร้างจิตสำนึก และปรับพฤติกรรม แก่ผู้ที่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด และมีส่วนร่วมในขบวนการก่อความไม่สงบ โครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤติความรุนแรง เป็นแผนงานที่ดำเนินการในพื้นที่พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยทุกอำเภอในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนที่กำลังประสบปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ ปัญหายาเสพติด และเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องโดยใช้งบประมาณมหาศาล แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.) ซึ่งเป็นความร่วมมือของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) จึงได้ดำเนินโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง โดยการพัฒนาศักยภาพหน่วยญาลันนันบารู จิตอาสาญาลันนันบารู แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา และตัวแทนชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องชุมชนสุขภาวะ ชุมชนเข้มเข็ง แก่ที่เข้าร่วมโครงการ โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการฐานข้อมูล กระบวนการทำแผนชุมชน และการเขียนโครงการแก้ปัญหาชุมชนเพื่อลดปัญหาปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่และยาเสพติดในพื้นที่ และขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล
ซึ่งการดำเนินโครงการ ฯ ดังกล่าว ทำให้เกิดทีมพี่เลี้ยงโครงการซึ่งเป็นคนในพื้นที่ มีมุมมองในเรื่องการจัดการสุขภาวะ และมีศักยภาพในการหนุนเสริมคนในชุมชนในการพัฒนาเป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้เกิดโครงการที่ผ่านการอนุมัติและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบลเพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ดังนั้นเพื่อศึกษาความสำเร็จของผลการดำเนินโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง ในครั้งนี้คณะผู้ประเมินจึงจำเป็นต้องกำหนดกรอบการประเมินโครงการ โดยประยุกต์แนวคิดของ CIPP Model เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการในมิติบริบทสภาพแวดล้อม (context) ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการทำงาน (process) ผลผลิต (product)ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact)

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. การประเมินบริบทสภาพแวดล้อม (context) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
  2. .การประเมินปัจจัยนำเข้า (input) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
  3. การประเมินกระบวนการทำงาน (process) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
  4. การประเมินผลผลิต (product)ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อศึกษารายละเอียดของโครงการและวางกรอบงานอย่างคร่าวๆ

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2561

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทีมงาน อธิบายโครงการ และเป้าหมายการดำเนินการ แต่งตั้งบทบาทและหน้าที่ สรุปประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการประชุมชี้แจง โครงการดังกล่าวเป็นโครงการประเมิน โดยมีกลุ่มที่เกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มญาลันนันบารู กลุ่มจิตอาสา ภาคีเครือข่าย และสสปช. คณะของเราเป็นผู้ที่ต้องเข้าไปประเมินกลุ่มตั้งกล่าว โดยจัดทำเครื่องมือการประเมินให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ระยะการดำเนินต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ปี ในงบประมาณ 150,000 บาท บทบาทในโครงการ 1.ผศ.ณชพงศ จันจุฬา หัวหน้าโครงการ มีหน้าที่บริหารจัดการโครงการและควบคุมงบประมาณตามที่กำหนดในแต่ละงวด และออกแบบเครื่องมือประเมินผล 2.ดร.ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ เป็นผู้ร่วมโครงการ มีหน้าที่ในการตรวจสอบผลการปประเมินและความคลาดเคลื่อนของข้อมูล ออกแบบเครื่องมือตามโมเดลการประเมินผลโครงการ 3.ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก เป็นผู้ร่วมโครงการ มีหน้าที่ทบทวนวรรณกรรม และศึกษารูปแบบการเก็บข้อมูล รวมถึงการออกแบบเครื่องมือ 4.น.ส.แสงอรุณ นกแอนหมาน เป็นผู้ร่วมโครงการ (ผู้ช่วยนักวิจัย) มีหน้าที่ติดต่อประสานงานคณะทีมงาน และผู้เกี่ยวข้องในโครงการ บันทึกและสรุปผลการประชุม รายงานความก้าวหน้าโครงการ และดูแลเอกสารการเงินโครงการ 5.น.ส.รัฐติกาล มะประสิทธิ์ ผู้เข้าร่วมประชุม มีหน้าทีสังเกตการณ์ประชุม และบันทึกภาพ 6.นายธีรวัฒน์ เกตุวิสิทธิ์ ผู้เข้าร่วมประชุม มีหน้าที่อำนวยความสะดวกขณะประชุมงาน

     

    6 6

    2. ประชุมคณะทำงานทบทวนโครงการและกำหนดกรอบแผนงานอย่างชัดเจน

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2561

    กิจกรรมที่ทำ

    16.00-16.15 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมคณะทำงาน 16.16-17.00 น. ทบทวนแผนงานการประชุมครั้งเดิมเพื่อต่อยอดในครั้งนี้ 17.00-17.45 น. ประชุมออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่ม 17.46-18.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง 18.01-18.30 น. สรุปผลการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    16.00-16.15 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมคณะทำงาน 16.16-17.00 น. ทบทวนแผนงานการประชุมครั้งเดิมเพื่อต่อยอดในครั้งนี้ 17.00-17.45 น. ประชุมออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่ม 1. ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้มีผู้เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีบทบาทแตกต่างกันออกไป ดังนี้ - ภาคีเครือข่าย เป็นผู้ร่วมกำหนดแนวทางและดำเนินโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างสุขภาวะและการดูแลตนเองได้ ในการตั้งคำถามเพื่อสร้างเครื่องมือในครั้งนี้ คือ 1.ผู้จัดมีหลักสูตรการจัดอบรมให้กับกลุ่มพี่เลี้ยงอย่างไร และมีกระบวนการแบบใดบ้าง การเก็บข้อมูลที่เหมาะสมจึงควรจะเป็นการใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ -กลุ่มญาลันนันบารู ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมอบรมกับกลุ่มภาคีเครือข่าย คำถามที่ต้องตั้งไว้เป็นอย่างแรก คือ การหาคำตอบว่า กลุ่มนี้ทำงานอะไร ในการประเมิน คือมุ่งไปประเมินเกี่ยวกับความพึงพอใจของกลุ่มผู้เข้าร่วมว่าพอใจกับการจัดอบรมของกลุ่มภาคีเครือข่ายหรือไม่
    2.จากนั้นประเมินความสามารถของกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมว่าสามารถดำเนินการตามที่เข้าอบรมได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด และควรจะมีการประเมินก่อนหลัง การนำความรู้จากการอบรมไปใช้ต่อว่าใช้อย่างไร โดยการเก็บข้อมูลเครื่องมือที่เหมาะสม ในที่ประชุมยังคงยืนยันเครื่องมือการสนทนากลุ่มไว้เช่นการประชุมครั้งที่ 1 - กลุ่มจิตอาสา ในกลุ่มนี้จะถูกแบ่งออกอีกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกและไม่ผ่านการคัดเลือก โดยรวมจะเก็บข้อมูลกับทุกคน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม แล้วค่อยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างมาสนทนากลุ่มในลำดับถัดไป แต่กับกลุ่มที่ไม่ผ่านการคัดเลือกจะดำเนินการค้นหาสาเหตุต่อว่าเหตุใดถึงไม่ผ่านการคัดเลือก แล้วจะแก้ไขปัญหาโดยวิธีการใดต่อไป - กลุ่มกองทุน กลุ่มนี้ต้องศึกษาถึงเหตุผลการตัดสินใจว่าเหตุใดถึงสนับทุนกับกลุ่มจิตอาสาที่คัดเลือกมา การเก็บข้อมูลควรใช้เครื่องมือแบบสอบถามแบบ Checklist นอกจากนี้จะสนทนากลุ่มอีกครั้งในเรื่องการให้ผ่านโครงการและไม่ให้ผ่านโครงการกับกลุ่มผู้ขอสนับสนุนทุนทำโครงการ       จากการประชุมครั้งนี้ คณะทำงานยังคงยึดแนวทางที่วางแผนไว้ในการประชุมในครั้งแรก แต่ได้ความชัดเจนด้านเครื่องมือและกระบวนการดำเนินการมากขึ้น คือสามารถแยกย่อกลุ่มจากกลุ่มใหญ่ให้เป็นกลุ่มย่อย เพื่อการเก็บข้อมูลจะได้มีความละเอียดและครอบคลุมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้ติดต่อประสานงานกับกะยะห์ เพื่อเข้าร่วมประชุมและทบทวนแนวคิด กระบวนการทำงานอีกครั้ง เพื่อจัดทำเครื่องมือประเมินได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ โดยกะยะห์ได้ตกลงเข้าร่วมประชุมงานในครั้งถัดไปในวันที่ 24 กรกฎาคม 2561
    17.46-18.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง 18.01-18.30 น. สรุปผลการประชุม ในการประชุมครั้งนี้สรุปได้ว่า รูปแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลในการประเมินโครงการมีความชัดเจนและเป็นไปได้มากขึ้น นั่นคือ       กลุ่มภาคีเครือข่ายจะใช้เครื่องมือแบบสอบถามและการประเมินผลการอบรมโดยใช้โมเดลการประเมินผล CIPP       กลุ่มญาลันนันบารูใช้แบบสอบถามแบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมินก่อนหลัง     กลุ่มจิตอาสา ใช้เครื่องมือประเมินโดยแบบสอบถามและสนทนากลุ่ม       กลุ่มผู้ให้ทุน ใช้เครื่องมือแบบสอบถามแบบ Checklist และสนทนากลุ่ม โดยการดำเนินการจะแบ่งการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1.ประชุมกำหนดกรอบแผนงาน 2.สร้างเครื่องมือการประเมิน 3.ดำเนินการเก็บข้อมูลและประเมินผล 4.ประชุมวิเคราะห์และสรุปผลการประเมิน

     

    6 0

    3. ประชุมเพื่อศึกษารายละเอียดกลุ่มเป้าหมายจากผู้เกี่ยวข้อง

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 13:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง

    13.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 13.05 น. เริ่มการประชุมระยะแรก 14.50 น. พักตามอัธยาศัย 15.00 น. เริ่มประชุมช่วงที่ 2 15.30 น. สรุปการประชุม 15.35-16.00 รับประทานอาหารร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    13.05 น. เริ่มการประชุมระยะแรก       ผู้เกี่ยวข้อง (กะยะห์) ได้เล่าถึงความเป็นมาของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มญาลันนันบารู กลุ่มจิตอาสา กลุ่มภาคีผู้จัด (ศอ.บต., สจรส., แนวร่วมอื่นๆ) และกลุ่มผู้ให้ทุน สปปช. โดยความแตกต่างแต่ละกลุ่มมีรายละเอียดย่อย ดังนี้ - กลุ่ม ญาลันนันบารู เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานรัฐในขณะนั้น ที่มองถึงปัญหาการติดยาเสพติดของเยาวชน จึงได้เข้ามาอบรมและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ในโครงการคืนลูกให้พ่อแม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้ผลในการลดจำนวนเยาวชนที่ติดยาเสพติด แต่ทั้งนี้แล้ว กลุ่มของเยาวชนที่เคยติดยาเสพติดไม่ได้ให้การยอมรับมากนัก กลุ่มญาลันนันบารู จึงเริ่มที่จะขยายกลุ่มการอบรมให้แก่พ่อแม่ของเยาวชนกลุ่มดังกล่าวจนมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก - กลุ่มจิตอาสา เป็นกลุ่มของพ่อแม่ผู้ปกครองของกลุ่มเยาวชนที่เข้าอบรมกับกลุ่มญาลันนันบารู มีจำนวนมาก ซึ่งความแตกต่างของกลุ่มจิตอาสาคือ เป็นผู้ร่วมกิจกรรมและโครงการของกลุ่มญาลันนัน อยู่เฉพาะในหมู่บ้าน แต่กลุ่มญาลันนันเป็นตัวแทนของกลุ่มจิตอาสาระดับแกนนำทีเครือข่ายระดับตำบล สามารถเข้าทำงานในพื้นที่ทุกชุมชน - กลุ่มภาคีเครือข่าย ณ ที่นี้ เครือข่ายที่เกี่ยวข้องจะเป็นหน่วยงานที่ผสมผสานในส่วนของ ศอ.บต. อบต. กองทัพ ภาครัฐ ซึ่งกลุ่มญาลันนันบารูเป็นกลุ่มที่เคยก่อตั้งเฉพาะขนาดเล็ก แต่เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว จึงได้รับความสนใจจากรัฐและหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระเทพฯ แต่ในการจัดกิจกรรม กลุ่มภาคีเครือข่ายร่วมมือกัน ซึ่งญาลันนันได้อบรมแกนนำเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง จึงได้อบรมการเขียนโครงการเพื่อขอทุนสนับสนุนทำโครงการกับแหล่งทุน คือ อบต.ในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสจรส.เข้าไปดูแลและติดตามกระบวนการทำงานของโครงการ แต่สสปช. เป็นผู้สนับสนุนอีกทางหนึ่ง จึงได้ร่วมกันดำเนินการ ซึ่งสจรส.จะเข้ามาทำการสอนและอบรมการเขียนข้อเสนอโครงการจนจิตอาสาทำได้ กลุ่มสสปช เป็นผู้ให้และสนับสนุนงบประมาณทำโครงการสุขภาวะกับกลุ่มจิตอาสา       ลักษณะเด่นของกลุ่มจิตอาสา คือ เสื้อสีม่วง อาจกล่าวได้ว่า จิตอาสาเป็นแกนการประสานงานระหว่างทหารและประชาชนในพื้นที่ให้มีความเข้าใจกัน การนัดพบของกลุ่มจิตอาสาและแกนนำญาลันนันจะไม่มีหลักแหล่งแล้วแต่ความสะดวกในการรับช่วงของกลุ่มภาคีภายใน 15.00 น. เริ่มประชุมช่วงที่ 2       ในการลงพื้นที่เพื่อพบเจอกับกลุ่มเป้าหมาย ในกลุ่มญาลันนันและกลุ่มจิตอาสา กะยะห์จะช่วยในการประสานงานเท่าที่สามารถจะประสานงานได้       คณะทำงานได้ข้อมูล และเข้าใจตรงกันกับผู้ให้ข้อมูลว่า กลุ่มญาลันนันกับกลุ่มจิตอาสาคือคนกลุ่มเดียวกันเพียงแต่มีบทบาทที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการเก็บข้อมูล สามารถที่จะรวบขั้นการเก็บข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน จะทำให้ได้ข้อมูลง่ายและรวดเร็ว

     

     

    9 9

    4. ออกแบบเครื่องมือ/ข้อคำถาม

    วันที่ 14 สิงหาคม 2561 เวลา 16:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดหมายคณะทีมงานเพื่อเข้าร่วมประชุม
    2. เริ่มประชุม โดยทบทวนข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
    3. ออกแบบเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย
    4. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด
    5. วาระอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นัดหมายคณะทีมงานเพื่อเข้าร่วมประชุม ...ผลลัพธ์ คณะทำงานได้มาร่วมประชุมตรงตามกำหนดเวลานัดหมาย
    2. เริ่มประชุม โดยทบทวนข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ (จากการสังเกตการณ์) คณะประชุมได้เริ่มทบทวนความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม โดยเริ่มจากกลุ่มภาคีเครือข่าย คือ
      -กอรม.กับสจรส. เป็นกลุ่มภาคีหลัก กลุ่มนี้อยู่ในกลุ่มของผู้จัดโครงการโดยการอำนวยความสะดวกและสนับสนุนโครงการ ข้อมูลที่ได้จากส่วนนี้ต้องจะต้องสอบถามถึงกระบวนการดำเนินการในภาพใหญ่ ต้องใช้การเก็บข้อมูลในหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องสืบแบบการ Snow ball ไปเรื่อยๆ

    - กลุ่มจิตอาสาญาลันนัน เป็นกลุ่มที่ 2 กลุ่มนี้มีจำนวน 208 คน โดยมี 56 คนเป็นแกนนำจากทั้งหมด ซึ่ง 56 คนนี้จะมาเข้าร่วมอบรมการเขียนโครงการ เพื่อที่จะไปขยายผลในกลุ่มประชากรที่เหลือ เพื่อเขียนโครงการของบประมาณไปพัฒนาชุมชนตนเอง แต่ทั้งนี้กะยะห์จะย้ำว่า ต้องให้มีความแน่ชัด เพราะหน่วยญาลันนันจะเป็นหน่วยของเจ้าหน้าที่ที่ผสมผสานหลายหน่วยงาน แต่หากต้องการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลจะต้อง เน้นไปที่กลุ่มจิตอาสาเท่านั้น - กองทุนตำบล เป็นผู้ที่จะสนับสนุนทุนจัดทำโครงการ โดย คัดเลือกร่วมกับ สปสช. - ชุมชน คือพื้นที่ของกลุ่มจิตอาสาที่จะนำโครงการไปพัฒนาต่อกับคนในชุมชนซึ่งไม่ใช่จิตอาสา เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการที่จิตอาสานำงบประมาณมาจัดทำโครงการในพื้นที่ 3. ออกแบบเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย ...ผลลัพธ์ คณะทำงานได้เลือกเครื่องมือในแต่ละกลุ่มดังนี้ - กอรม.กับสจรส. เป็นกลุ่มภาคีหลัก กลุ่มที่ 1 กลุ่มนี้จะใช้การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลโดยใช้เครื่องมือแบบสนทนากลุ่ม (Focus group) - กลุ่มจิตอาสาญาลันนัน เป็นกลุ่มที่ 2 กลุ่มนี้จะใช้การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม Checklist และการสนทนากลุ่ม - กองทุนตำบล กลุ่มนี้จะใช้การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลโดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก Depth Interview และการสังเกตการอย่างไม่มีส่วนร่วม
    - ชุมชน กลุ่มนี้จะใช้การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลโดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก Depth Interview และการสังเกตการอย่างไม่มีส่วนร่วม 4. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด ...ผลลัพธ์ เนื่องจากการเก็บข้อมูลนั้น หากเป็นกลุ่มที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลประเมินผล คือกลุ่มจิตอาสาญาลันนัน เพราะมีจำนวนมากและซับซ้อนสำหรับการเก็บข้อมูล คณะทำงานจึงได้เลือกเริ่มเก็บข้อมูลกับกลุ่มจิตอาสาญาลันนันก่อน ซึ่งจะกำหนดให้มีการเชิญจิตอาสามาร่วมประชุมในวันที่ 30 สิงหาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 ณ ห้องมะเดื่อ ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี ทั้งนี้คณะทำงานได้คัดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 208 คน ทั้ง 4 พื้นที่จังหวัด โดยแบ่งเป็นตัวแทนจากจังหวัดทั้งหมด เป็นจังหวัดละ 3 คน รวมแล้วเป็น 15 คน ซึ่งผู้ที่จะสามารถให้ความชัดเจนและนำกลุ่มตัวอย่างมาเข้าร่วมประชุมได้นั้น คณะทำงานได้เลือกกะยะห์ เป็นผู้ประสานงานและเชิญกลุ่มตัวอย่าง
    5. วาระอื่นๆ ...ผลลัพธ์ คณะทำงานได้กำหนดบทบาทในแต่ละบุคคล ดังนี้ 1.ผศ.ณชพงศ จันจุฬา เป็นผู้ดำเนินการประสานงานกับกะยะห์ โดยลงพื้นที่ไปยังจ.ยะลา ณ สำงานของกะยะห์
    2.ดร.ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ เป็นผู้จัดทำเครื่องมือแบบสอบถาม 3.ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก เป็นผู้ช่วยตรวจสอบเครื่องมือและติดตามการประสานงานกับ ผศ.ณชพงศ
    4.น.ส.แสงอรุณ นกแอนหมาน เป็นผู้ประสานงานและนัดหมายระหว่างคณะทำงานกับกะยะห์ และบันทึกการประชุม

     

    6 6

    5. ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

    วันที่ 18 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานงานและนัดหมายติดต่อกับผู้เกี่ยวข้อง
    2. คุยงานโดยชี้แจงรายละเอียดการประชุมในวันที่ 14 ส.ค. 2561 กับ ผู้ร่วมประชุม
    3. สรุปผลการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ะห์จะช่วยประสานงานกับกลุ่มตัวอย่าง1.ประสานงานและนัดหมายติดต่อกับผู้เกี่ยวข้อง ...ผลลัพธ์ ผู้เกี่ยวข้องได้ให้กำหนดการนัดหมายคุยงานในวันเสาร์ที่ 18 ส.ค. 2561 เวลา 09.30 น. ณ โรงแรมยะลาแกรด์พาเลซ จ.ยะลา โดยคณะทีมงานได้เดินทางไปยังสถานที่ก่อนเวลา และได้พบกับผู้เกี่ยวข้องในเวลา 09.45น. 2.เริ่มคุยงานโดยชี้แจงรายละเอียดการประชุมในวันที่ 14 ส.ค. 2561 กับ ผู้ร่วมประชุม
    ...ผลลัพธ์ สมาชิกในวงประชุมรับทราบรายละเอียดพร้อมกัน กะยะห์เป็นผู้เลือกพื้นที่ของกลุ่มจิตอาสาทุกพื้นที่ โดยกะยะห์ย้ำว่า จะเลือกเฉพาะกลุ่มที่สามารถติดต่อได้ง่าย มีความสนิทสนม เป็นเครือข่ายเท่านั้น ซึ่งกะยะห์ได้เลือกพื้นที่ในแต่ละจังหวัด ดังนี้ 1.จ.ปัตตานี เป็นตัวแทนจาก ต.ควนโนรี อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี 1 พื้นที่ 2.จ.ยะลา ได้แก่ ทต.ปะแด จ.ยะลา, ต.ตอกอดือเระ จ.ยะลา, ต.บือมัง อ.รามัน, ต.เนินงาม อ.รามัน, ต.ตาชี อ.ยะหา 3.จ.นราธิวาส ได้แก่ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง, ต.เกียร์ อ.สุคิริน, และต.มาโมง อ.สุคิริน 4.จ.สงขลา ได้แก่ อบต.หน้าหว้า ม.1และม.9 และอบต.ธารคีรี
    แต่ทั้งนี้แล้ว จำนวนกลุ่มตัวอย่างยังไม่ชัดเจน กะยะห์จะคัดเลือกและประสานกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่จะยืนยันการเข้าร่วมประชุม โดยจะส่งข้อมูลการเข้าร่วมให้กับ น.ส.แสงอรุณ นกแอนหมาน ซึ่งเป็นทีมงานชั่วคราวในการดำเนินงานแก่คณะทำงาน ในส่วนที่กะยะห์ไม่สามารถติดต่อได้เองนั้น ทางคณะทำงานจะมอบหมายให้น.ส.แสงอรุณ ติดต่อประสานงานและจัดทำใบบันทึกข้อความเชิญกลุ่มตัวอย่างให้เข้าร่วมประชุม ซึ่งหลังการประชุมครั้งนี้นั้น คณะทำงานจะรอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง (กะยะห์) โดยใช้ระยะเวลาจำนวน 2-3 วัน 5.สรุปการประชุม
    ...ผลลัพธ์ กะยะห์รับประสานงานและจะจัดส่งรายละเอียดกลุ่มตัวอย่างกลับมายังคณะทำงานภายใน 2-5 วัน และในส่วนที่กะยะห์สะดวกนั้น กะยะห์จะเชิญมาร่วมงานเอง ส่วนที่ไม่สะดวกในการติดต่อนั้นจะเป็นหน้าที่ของคณะทีมงาน ทั้งนี้คณะทำงานได้ขอข้อมูลพื้นที่ตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ขอทุนสนุนผ่านได้ทำโครงการ และกลุ่มที่ไม่ผ่านการขอทุนทำโครงการ โดยกะยะห์ได้แนะนำพื้นที่อ.รามัน และอบต.ตาชี

     

    7 0

    6. ประชุมงานเพื่อออกแบบการจัดประชุม

    วันที่ 28 สิงหาคม 2561 เวลา 16:30 - 19.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. วางแผนงานโดยกำหนดกรอบการจัดประชุมเพื่อเก็บข้อมูลสู่การประเมินผลการดำเนินโครงการจากกลุ่มจิตอาสาญาลันนันบารู โดยผศ.ณชพงศ จันจุฬา
    2. ทบทวนแบบร่างเครื่องมือและกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ต้องการ
    3. การประสานงานกับผู้เข้าร่วมประชุม
    4. จัดวางรายละเอียดการจัดประชุม เช่นเรื่องเวลา งบประมาณ อาหารและเครื่องดื่ม  เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. วางแผนงานโดยกำหนดกรอบการจัดประชุมเพื่อเก็บข้อมูลสู่การประเมินผลการดำเนินโครงการจากกลุ่มจิตอาสาญาลันนันบารู โดยผศ.ณชพงศ จันจุฬา *****จากการประชุมวาระที่ 1 โดยผศ.ณชพงศ จันจุฬา สรุปได้ว่าในการจัดการประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการคือกลุ่มจิตอาสาญาลันนันทุกพื้นที่ ประกอบไปด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางอำเภอของจ.สงขลา คือเทพา นาทวี  จากกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนทั้งสิ้น 217 คน เราจะทำการเก็บข้อมูลเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มใหญ่ และแยกเป็นกลุ่มย่อย โดยกลุ่มย่อยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มของจิตอาสาที่เป็นแกนนำ และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มสมาชิกจิตอาสาที่มาเพิ่มขึ้นจากการขยายผลโครงการ โดยการประสานงานจากการลงพื้นที่ประสานงานกับผู้ประสานงานกลาง(กะยะห์) ที่ทำการเลือกพื้นที่ผู้ให้ข้อมูลแล้วนั้น ผู้ประสานงานกลางจะทำการประสานงานเองได้บางส่วนและบางส่วนได้ให้ทางคณะทำงานประสานซ้ำอีกครั้งหนึ่งสำหรับพื้นที่ที่ยังได้กลุ่มเป้าหมายไม่ครบถ้วน
    2. ทบทวนแบบร่างเครื่องมือและกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ต้องการ *****จากการประชุมในวาระที่ 2 ดร.ณรงค์ศักดิ์ได้ทำการหาค่าของตัวแทนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ จำนวน 2 คน จากกลุ่มพื้นที่ที่ถูกคัดเลือก จะได้ผู้เข้าร่วมจำนวน 36 คน โดยในผู้เข้า่วมอาจจะได้แกนนำที่ไปขยายผลต่อกับสมาชิกร่วมด้วย หรืออาจจะมาทั้ง 2 ส่วน ในแต่ละพื้นที่ โดยแบบสอบถามที่่างขึ้นนั้นจะไปสอบถามถึงข้อมูลทั่วไป ความพึงพอใจในกระบวนการจัดโครงการ ความรู้ก่อนหลัง และส่วนที่เป็นข้อเสนอแนะ โดยแบบสอบถามนี้จะใช้ในช่วงประชุมกลุ่มใหญ่ คะผู้นำกระบวนอาจจะใช้วิธีการอธิบาย และให้ผู้เข้า่วมตอบคำถามลงในแบบสอบถามพร้อมกัน ในช่วงการแยกกลุ่มวงสนทนาออกเป็น 2 กลุ่ม จะใช้เป็นคำถามเดียวกันทั้งสองห้อง เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เสนอข้อคิดเห็นและคำตอบได้มากและครอบคลุมที่สุด
    3. การประสานงานกับผู้เข้าร่วมประชุม *****จากการประชุมวาระที่ 3 น.ส.แสงอรุณ ได้รายงานการประสานงานกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลว่าจากการดำเนินการประสานงานนั้น ผู้ประสานงานได้ทำการประสานไปแล้วในบางพื้นที่และมีการตอบรับการเข้าร่วมประชุม โดยผู้ประสานงานกลางได้ทำการส่งรายชื่อผู้เข้าร่วมมาในช่วงค่ำของวันนี้ เพื่อให้ทางจัดประชุมได้บันทึกลงในใบลงทะเบียนงาน  ส่วนที่ผู้ประสานงานกลางประสบปัญหากาติดต่อ คณะผู้จัดงานกำลังช่วยติดตามและประสานอีกทางหนึ่ง และกำลังรอกาตอบรับการเข้าร่วมประชุมอยู่
    4. จัดวางรายละเอียดการจัดประชุม เช่นเรื่องเวลา งบประมาณ อาหารและเครื่องดื่ม  เป็นต้น ***** ในรายละเอียดการจัดประชุมนั้น ผู้ช่วยงานได้จัดหาคณะทำงานมาเพิ่มเติม 4 คน เพื่อช่วยดำเนินการและบันทึกข้อมูล ในส่วนงบประมาณมีการจัดเตรียมไว้แล้วจากการเบิกจ่ายเงินสดจากบัญชีจำนวน 30,000.- แบ่งเป็นค่าบริหารจัดการ ค่าอาหา ค่าตอบแทนและค่าเดินทางผู้เข้าร่วมประชุม และค่าตอบแทนวิทยากรและคณะทำงาน

     

    6 6

    7. ประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงานจัดประชุมและตรวจสอบเครื่องมือเก็บข้อมูล

    วันที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา 16:30 - 19.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เตรียมการประชุม โดยกำหนดนัดหมายทีมคณะทำงานโดยพ้อมเพรียงกัน เวลา 16.30 น. 2.เริ่มการประชุมโดยผศ.ณชพงศ จันจุฬา ได้ชี้แจงวาระการประชุมกับผู้เข้าร่วมประชุม โดยอธิบายเป้าหมายการจัดประชุม ผู้เข้าร่วมงานหรือกลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนของจิตอาสาญาลันนันที่ประสานงานไว้ทั้ง 3 จังหวัด 4 อำเภอของสงขลา 3. นางสาวแสงอรุณ นกแอนหมาน ผู้ช่วยงานด้านการประสานงาน นำเสนอเกี่ยวกับการประสานงานกับกะยะห์ (ผู้ประสานงานกลางระหว่างทีมคณะทำงานกับทีมตัวแทนจิตอาสา) และผลการตอบรับการเข้าร่วมประชุมของทีมจิตอาสาทุกพื้นที่ 4. นางสาวแสงอรุณ นกแอนหมาน ได้เข้าวาระการวางแผนงาน และนำเสนอผู้ช่วยจัดงานเพิ่มเติมในแต่ละฝ่ายงานกับคณะทำงาน 5.ดร.ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ ได้นำเสนอเครื่องมือการเก็บข้อมูลต่อผู้เข้าร่วมประชุมและร่วมตรวจสอบเครื่องมือเพื่อความถูกต้องของเนื้อหาและครอบคลุมประเด็นงาน 6.ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก ได้เสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการจัดประชุม และส่วนเพิ่มเติมในเครื่องมือเก็บข้อมูล 7.สรุปการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เตรียมการประชุม โดยกำหนดนัดหมายทีมคณะทำงานโดยพ้อมเพรียงกัน เวลา 16.30 น. - ผู้เข้าร่วมประชุมมีความพร้อมที่จะประชุมเพื่อวางแผนการการจัดประชุมในครั้งนี้ โดยการนำเสนอได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนของคณะทำงานในกระบวนการเก็บข้อมูลจากการประชุม และส่วนการจัดประชุมจากผู้ช่วยงาน 2.เริ่มการประชุมโดยผศ.ณชพงศ จันจุฬา ได้ชี้แจงวาระการประชุมกับผู้เข้าร่วมประชุม โดยอธิบายเป้าหมายการจัดประชุม ผู้เข้าร่วมงานหรือกลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนของจิตอาสาญาลันนันที่ประสานงานไว้ทั้ง 3 จังหวัด 4 อำเภอของสงขลา -ผศ.ณชพงศ : การประชุมในวันนี้จะมีด้วย 2 วาระ คือ วาระของคณะทีมงานเก็บข้อมูล และวากาจัดเตรียมงานประชุม เริ่มแกคือเรื่องของเครื่องมือเก็บข้อมูล ซึ่งดร.ณรงค์ศักดิ์ ได้มีการออกแบบและกำหนดข้อคำถามมาแล้ว ซึ่งจะให้ให้ดร.ณรงค์ศักดิ์ได้นำเสนอต่อไป และส่วนที่สองจะให้น.ส.แสงอรุณ ได้นำเสนอการจัดเตรียมงานในวันที่ 30 สิงหาคม เพื่อที่คณะทำงานจะได้ดูความสอดคล้องของกระบวนการทั้ง 2 ส่วน ทั้งนี้จะให้อธิบายส่วนงานที่ออกแบบไว้คือ การประชุมนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนการประชุมกลุ่มใหญ่และแยกออกเป็นกลุ่มย่อยจำนวน 2 กลุ่ม โดยในกลุ่มใหญ่นี้ ผมจะเป็นผู้นำกระบวนการเก็บข้อมูลร่วมกับ ดร.ทั้งสองท่าน ซึ่งใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่คณะทีมงานออกแบบไว้แจกจ่ายกับผู้เข้าร่วมและเก็บข้อมูลพร้อมๆกัน โดยที่คณะทั้งสามคนจะช่วยกันอธิบายในแต่ละข้อคำถามให้กับผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจมากที่สุด และตอบคำถามได้ตรองที่สุด ส่วนที่สองคือ ส่วนของกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม ที่นำโดยผมและดร.จิรัชยา และมอบหมายให้ดร.ณรงค์ศักดิ์ เป็นผู้สังเกตการณ์ประชุม โดยกระบวนการทั้งหมดจะให้ทีมผู้ช่วยอธิบายรายละเอียดแผนงานการประชุมต่อไป 3. นางสาวแสงอรุณ นกแอนหมาน ผู้ช่วยงานด้านการประสานงาน นำเสนอเกี่ยวกับการประสานงานกับกะยะห์ (ผู้ประสานงานกลางระหว่างทีมคณะทำงานกับทีมตัวแทนจิตอาสา) และผลการตอบรับการเข้าร่วมประชุมของทีมจิตอาสาทุกพื้นที่ - ส่วนวาระการดำเนินการประสานงานเพื่อตอบรับการเข้าประชุมครั้งนี้ ผู้ประสานงานกลาง (กะยะห์) ได้ยืนยันว่าทุกพื้นที่จะมาร่วมประชุมโดยได้ทำการส่งรายชื่อมาแล้ว เป็นพื้นที่ละ 3 คน เพิ่มมา 1 คนจากที่คณะทำงานได้กำหนดไว้ มีบางพื้นที่ เช่นในส่วนของ บางอำเภอของสงขลาที่ต้องให้ทางคณะทำงานติดต่อ โดยได้ประสานงานแล้ว แต่ขณะนี้ยังรอการยืนยัน เนื่องจากรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมยังอยู่ในการเสนอจากพื้นที่ แต่จะเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลอย่างแน่นอน ส่วนจำนวนผู้เข้าร่วมนั้นมีทั้งสิ้น 35 คนจากทุกพื้นที่
    4. นางสาวแสงอรุณ นกแอนหมาน ได้เข้าวาระการวางแผนงาน และนำเสนอผู้ช่วยจัดงานเพิ่มเติมในแต่ละฝ่ายงานกับคณะทำงาน - ในแผนงานการจัดประชุมนั้น เราจากระยะเวลาจำนวนครึ่งวัน เริ่มตั้งแต่ 09.00-12.30 น. นั้น ทางคณะทีมงานได้ออกกำหนดการจัดประชุมไว้เป็นเอกสารชี้แจงเวลาแก่ผู้ประชุมแล้ว - คณะทีมงานที่จะ่วมดำเนินกาจัดประชุมมีด้วยกัน 5 คน แบ่งบทบาทการทำงานดังนี้ 4.1 น.ส.แสงอรุณ นกแอนหมาน เป็นผู้บริหารจัดการประชุม/บันทึกปะเด็นหลักกลุ่มย่อยของผศ.ณชพงศ 4.2 น.ส.รัฐติกาล มะประสิทธิ์ เป็นผู้ช่วยจดบันทึกรายละเอียดย่อยของกลุ่มผศ.ณชพงศ 4.3 นายธีรวัฒน์ เกตวิสิทธิ์ เป็นผู้บันทึกการประชุมทั้งในส่วนของเสียงและภาพนิ่ง 4.4นายอัสซูวรรณ เปาะหะ เป็นผู้บันทึกรายละเอียดกลุ่มย่อยของกลุ่ม ดร.จิรัชยา 4.5 น.ส.มูซีร่า หลีอาดั้ม เป็นผู้บันทึกประเด็นหลักกลุ่มย่อยของดร.จิรัชยา 5.ดร.ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ ได้นำเสนอเครื่องมือการเก็บข้อมูลต่อผู้เข้าร่วมประชุมและร่วมตรวจสอบเครื่องมือเพื่อความถูกต้องของเนื้อหาและครอบคลุมประเด็นงาน - สำหรับเครื่องมือที่ใช้เก็บในครั้งนี้จะมีด้วยกัน 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นแบบสอบถาม Checklist ซึ่งใช้ในห้องประชุมกลุ่มใหญ่ ตอนนี้เครื่องมือเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อได้ทำการทดลอง ผมว่าจะเพิ่มในส่วนของข้อมูลทั่วไปให้มีความหลากหลายกว่านี้ เช่นในส่วนของระยะเวลากาเป็นจิตอาสา และส่วนของภูมิลำเนา ส่วนที่ 2 นี้คงจะดูคำผิดที่ยังคงมีตกหล่นไป และส่วนของการสนทนากลุ่มในประเด็นย่อย เตรียมตั้งไว้ 5 คำถามอย่างกว้าง เพื่อที่จะให้ได้รายเอียดใหญ่และผู้สอบถามแต่ละห้องค่อยเพิ่มเติมตามประเด็นที่ผู้ตอบคำถามบอกไว้
    6.ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก ได้เสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการจัดประชุม และส่วนเพิ่มเติมในเครื่องมือเก็บข้อมูล -เพิ่มเติมในส่วนกระบวนการจัดประชุม เสนอให้มีเครื่องบันทึกเสียงเพิ่มเติมในแต่ละห้องพร้อมการจดบันทึกควรวางตารางไว้ตามประเด็นในแบบสอบถามเพื่อง่ายต่อการบันทึกข้อมูล และรวดเร็วในการทำงานของผู้บันทึก และต้องเตรียมไว้ทั้งในไฟล์คอมพิวเตอร์และกระดาษฟริบชาร์ต หรืออาจออกแบบการบันทึกที่ผู้บันทึกถนัด ทั้งนี้การบันทึกต้องมีสมาธิให้มากที่สุด 7.สรุปการประชุม - จากการประชุมครั้งนี้สรุปได้ว่า คณะทำงานเพื่อเก็บข้อมูลการประเมินกับส่วนงานผู้รับจัดประชุมมีการร่วมวางแผนกัน ช่วยให้การดำเนินการมีความสอดคล้องกัน โดยผู้จัดประชุมมีแนวทางในการในการดำเนินการให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี โดยอาจปรับเปลี่ยนและโยกย้ายเวลาบางส่วนให้กระชับกับกระบวนการทำงานของคณะวิทยากร คณะทำงานรับทราบถึงข้อจำกัดและปัญหาของผู้เข้าร่วมงานบางส่วน และเกิดการทบทวนเครื่องมือการเก็บข้อมูลก่อนนำไปใช้จริง 

     

    5 5

    8. จัดประชุมเพื่อเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์/โฟกัสกรุ๊ป

    วันที่ 30 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น. - 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เปิดลงทะเบียน
    2. เปิดพิธีและกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโดย ผศ.ณชพงศ จันจุฬา
    3. เริ่มทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามให้กลับผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 35 ชุด และผศ.ณชพงศ จันจุฬา ได้ทำการอธิบายข้อคำถามในแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ตอบคำถามได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
    4. ทำการแยกกลุ่มสนทนาออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มของพี่เลี้ยงหรือแกนนำกลุ่มจิตอาสา และกลุ่มสมาชิกจิตอาสา
    5. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    6. สรุปกิจกรรม เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เปิดลงทะเบียน ....... มีผู้เข้าร่วมโครงการเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 34 คน เป็นผู้ประเมิน 3 คน ผู้ช่วยงาน 5 คน  ผู้ประสานงานกลาง 2 คน และกลุ่มเป้าหมาย 25 คน
    2. เปิดพิธีและกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโดย ผศ.ณชพงศ จันจุฬา ....... ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในวันนี้ และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ สังเกตได้จากการรับฟังอย่างตั้งใจ และการสนทนาแสดงความคิดเห็นในข้อสงสัยได้อย่างเต็มที่
    3. เริ่มทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามให้กลับผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 27 ชุด และผศ.ณชพงศ จันจุฬา ได้ทำการอธิบายข้อคำถามในแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ตอบคำถามได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ....... ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ับแบบสอบถามคนละ 1 ชุด และเข้าใจตัวคำถามและวิธีการทำแบบสอบถามจากการอธิบายของคณะผู้ประเมิน และร่วมกันทำแบบสอบถามในแต่ละข้อพร้อมๆกัน หลังจากนั้นจึงได้ทำการคัดแยกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มของแกนนำกลุ่มจิตอาสา และรับผิดชอบการดำเนินการเก็บข้อมูลโดย ผศ.ณชพงศ จันจุฬา ดร.ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ และนางสาวรัฐติกาล มะประสิทธิ์ และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มสมาชิกจิตอาสา รับผิดชอบการดำเนินการเก็บข้อมูลโดย ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก นางสาวมูซีร่า หลีอาดั้ม และนายอัสซูวรรณ เปาะหะ
    4. ทำการแยกกลุ่มสนทนาออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มของพี่เลี้ยงหรือแกนนำกลุ่มจิตอาสา และกลุ่มสมาชิกจิตอาสา ....... หลังจากได้ทำการแยกออกเป็น 2 กลุ่มแล้ว คณะผู้ประเมินจึงได้ทำการสนทนากลุ่มโดยใช้แบบสัมภาษณ์ชุดเดียวกัน ทั้งนี้การแยกออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อให้เกิดการได้รับข้อมูลที่หลากหลายจากกลุ่มเป้าหมายในประเด็นเดียวกัน
    5. พักรับประทานอาหารกลางวัน ...... คณะผู้ช่วยงานได้ทำการจัดเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ผู้เข้าร่วมและคณะทำงาน โดยจัดอาหารกลางวันเป็น ขนมจีนน้ำยา ไก่ทอด และไข่ต้ม โดยให้ผู้เข้าร่วมนั้นบริการตนเอง หลังจากนั้น นางสาวแสงอรุณ นกแอนหมาน และนายธีรวัฒน์ เกตุวิสิทธิ์ ได้ทำการจ่ายค่าตอบแทนและค่าเดินทางแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน

     

    40 34

    9. ประชุมเพื่อวิเคราะห์ผลการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์/โฟกัสกรุ๊ป

    วันที่ 1 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น. - 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล

    2.ทบทวนการกรอกข้อมูลผ่านโปรแกรม SPSS.

    3.ทดลองกรอกข้อมูล และประมวลผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล ...... ข้อมูลที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมในกิจกรรมสนทนากลุ่มมีทั้งสิ้น 37 ชุด ทุกชุดมีการให้คำตอบที่ครบถ้วนทุกข้อคำถาม ข้อมูลดิบจึงมีความครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมสำหรับการหาค่าในโปรแกรมการประมวลผลข้อมูลเชิงสถิติ

    2.ทบทวนการกรอกข้อมูลผ่านโปรแกรม SPSS. ..... ผู้ช่วยงานมีประสบการณ์ในการเปิดใช้โปรแกรมเพื่อการประเมินผลข้อมูลเชิงสถิติ แต่ด้วยไม่ค่อยได้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง จึงไม่สามารถใช้โปรแกรมได้อย่างคล่องมือ ดร.รรงคืศักดิ์ จึงได้ทำการอธิบายองค์ประกอบงาน และวิธีการคำนวณข้อมูล ประเภทการตั้งค่าหน่วยข้อมูลอีกครั้ง ขณะที่ดร.จิรัชยา ได้ทำการทบทวนเกี่ยวกับการคำนวณผลข้อมูลปริมาณแบบพื้นฐานอย่างง่ายแก่ผู้ช่วยงาน ซึ่งผู้ช่วยงานได้ลงมือปฏิบัติดดยใช้ข้อมูลสมมติก่อนนำข้อมูลจริงไปทดลอง

    3.ทดลองกรอกข้อมูล และประมวลผล ....... คณะผู้ประเมินและผู้ช่วยงานได้ทำการทดลองนำข้อมูลที่ได้จากการจัดกิจกรรมมาป้อนลงในระบบโปรแกรม SPSS และประมวลผลข้อมูล ประมาณ 50% ก่อนจะทำการเพิ่มเติมข้อมูลอีก 50 %

     

    4 4

    10. ประชุมเพื่อรายงานผลการกรอกข้อมูลและสรุปข้อมูลการประชุมภาพรวม

    วันที่ 3 กันยายน 2561 เวลา 16:30 -19.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดหมายคณะทำงานและผู้ช่วยงานเพื่อทำการประชุม
    2. ให้ผู้ช่วยงานได้ทำนำเสนอผลจากการประมวลข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุภาพที่ผ่านการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่คำตอบแก่ผู้ประเมิน
    3. ผู้ประเมินทำการวิเคราะห์ผล และร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการเพิ่มเติมข้อมูลจากแห่งอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นัดหมายคณะทำงานและผู้ช่วยงานเพื่อทำการประชุม ....... คณะทำงานทุกคนรับทราบการนัดหมายในการประชุม และมาเข้าร่วมประชุมพร้อมกันเวลา 16.30 น. โดยผู้ช่วยงานได้นำข้อมูลมาเพื่อนำเสนอความก้าวหน้างาน และผลจากการประมูลข้อมูลเชิงปริมาณแก่คณะผู้ประเมิน
    2. ให้ผู้ช่วยงานได้ทำนำเสนอผลจากการประมวลข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุภาพที่ผ่านการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่คำตอบแก่ผู้ประเมิน ....... ผู้ช่วยงานมี 2 คน ประกอบไปด้วย น.ส.แสงอรุณ นกแอนหมาน และ น.ส.มูซีร่า หลีอาดั้ม ซึ่ง น.ส.แสงอรุณ รับผิดชอบในข้อมูลเชิงคุภาพ โดยผลข้อมูลมาจากการวิเคราะห์ คำตอบจากการสนทนากลุ่มในประเด็นต่างๆ ทั้ง สองกลุ่ม และการสังเกตการณ์กิจกรรมในช่วงสนทนากลุ่ม และน.ส.มูซีร่ารับผิดชอบในข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งได้จากการประมวลผลป่านโปรแกม SPSS. น.ส.แสงอรุณ ได้นำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพว่า "กลุ่มป้าหมายที่ได้เข้าร่วมโครงการการอบรมจากทางสจรส.นั้น ส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นกว่าตอนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอบรม เนื่องจากทำให้กลุ่มจิตอาสามีความรู้ความเข้าใจในการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณ ตั้งแต่การจัดทำแผนข้อมูล การเขียนโครงการ การดำเนินงาน และการติดตามประเมินผล รวมถึงการได้เครือข่ายจากหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับจากชุมชน" ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับการประมวลผลข้อมูลของน.ส.มูซีร่า ว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น จากการเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการจัดอบรม เนื่องจากสถิติหลังการอบรมสูงขึ้นจากก่อนการอบรมเป็นอย่างมาก
    3. ผู้ประเมินทำการวิเคราะห์ผล และร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการเพิ่มเติมข้อมูลจากแห่งอื่นๆ ....... จากการรับฟังข้อมูลจากผู้ช่วยงานทั้งสองคนนั้น ทางผู้ประเมินจึงได้ทำการคัดเลือกพื้นที่เพื่อลงไปสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลเพิ่มเติม คือ ต.เนินงาม ต.ตาชี และ ต.ควนโนรี ต่อไปเพื่อให้เกิดการเก็บข้อมูลภาคสนามมาสนับสนุนข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม

     

    4 4

    11. ประชุมชี้แจงการลงพื้นที่เก็บข้อมูลร่วมกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

    วันที่ 5 กันยายน 2561 เวลา 16.30 - 19.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประสานงานเพื่อรับทราบการประชุม
    2. ร่วมประชุมเพื่อรับทราบการดำเนินงาน
    3. สรุปการประชุมงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ประสานงานเพื่อรับทราบการประชุม ... ผู้ช่วยงานได้ทำการประสานงานไปยังคณะทำงาน และนักวิชาการท้องถิ่น เพื่อรับทราบการจัดประชุมในวันนี้ 2.ร่วมประชุมเพื่อรับทราบการดำเนินงาน ... คณะทีมงานได้ทำการเริ่มประชุมชี้แจงกระบวนการประเมินโครงการ โดย ดร.ณรงค์ศักดิ์ ได้อธิบายกรอบการประเมินงาน และกลุ่มเป้าหมายการประเมิน และขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้ดำเนินการแล้ว ผศ.ณชพงศ ได้ชี้แจงการดำเนินงานต่อจากดร.ณรงค์ศักดิ์ เกี่ยวกับการดำเนินงานอนาคตที่ต้องดำเนินการต่อหลังจากนี้ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยุ่ในเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งดร.ชัยวัฒน์ โยธี เป็นอาจารย์และนักวิชาการในพื้นที่ซึ่งมีความชำนาญพื้นที่ ดร.ชัยวัฒน์จึงได้ให้ข้อเสนอและกรอบการดำเนินงานระดับพื้นที่ ซึ่งดร.ชัยวัฒน์จะร่วมดำเนินการลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์ในการเก็บข้อมูลร่วมกับคณะทำงาน และสนับสนุนข้อมูลวิชาการในพื้นที่เพื่อให้การประเมินมีข้อมูลเพิ่มเติมยิ่งขึ้น 3.สรุปการประชุมงาน ในการปะชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 5 ท่าน ซึ่งรายละเอียดการประชุมเพื่อทำการชี้แจงการประเมินโครงการและกลุ่มเป้าหมายกับอาจารย์และนักวิชาการในพื้นที่ ซึ่งดร.ชัยวัฒน์ได้รับข้อเสนอในการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 2 มหาวิทยาลัย คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยาชภัฏยะลา จนเกิดการดำเนินงานแบบภาคีเครือข่ายขึ้นในการประเมิน

     

    5 5

    12. กิจกรมลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับผู้จัดโครงการ

    วันที่ 10 กันยายน 2561 เวลา 13.30-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยสงขลานคินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สู่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
    2. เข้าพบตัวแทนผู้จัดโครงการฯ
    3. เก็บข้อมูลโครงการ
    4. พักรับประทานอาหารร่วมกัน
    5. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สู่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ....... คณะผู้ประเมินและผู้ช่วยได้เดินทางไปยังสจรส. จำนวน 4 คน
    2. เข้าพบตัวแทนผู้จัดโครงการฯ ...... ผศ.ณชพงศ ได้ทำการชี้แจงการเดินทางเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลสัมภาษณ์ผู้จัดโครงการ เพื่อรับทราบการดำเนินงานและขอความร่วมมือในการให้การสัมภาษณ์
    3. เก็บข้อมูลโครงการ ....... ดร.จิรัชยา และดร.ณรงค์ศักดิ์ ได้เริ่มทำการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ผู้จัดโครงการ เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง ซึ่งผศ.ณชพงศ เป็นผู้สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์ข้อคำถามเพิ่มเติม
    4. พักรับประทานอาหารร่วมกัน ...... คณะผู้ประเมิน และผู้จัดโครงการได้ร่วมกันรับประทานอาหารภายหลังจากเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
    5. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ....... คณะผู้ประเมินเดินทางกลับ วิทยาเขตปัตตานีโดยสวัสดิภาพ

     

    3 1

    13. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลกับกลุ่มจิตอาสา

    วันที่ 17 กันยายน 2561 เวลา 07.30 น. - 17.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา                                                                 กิจกรรม 07.30 น.                 นัดหมายเตรียมพร้อมเพื่อออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 08.30 น.                 เดินทางถึง ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.หวัดปัตตานี 08.30 น. – 10.00 น. พบปะผู้นำและจิตอาสาญาลันนันบารู เพื่อศึกษาดูงานในพื้นที่ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.หวัดปัตตานี
    10.00 น. -11.00 น. ออกเดินทางจาก ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี สู่ อบต.เนินงาม อ.รามัน จ.ยะลา 11.30 น. – 12.30 น. คณะทำงาน พักรับประทานอาหารกลางวัน ณ ตัวเมืองจังหวัดยะลา 13.00 น. – 14.30 น. พบปะผู้นำและจิตอาสาญาลันนันบารู เพื่อศึกษาดูงานในพื้นที่อบต.เนินงาม อ.รามัน จ.ยะลา 14.35 น. -15.30 น. ออกเดินทางจากอบต.เนินงาม อ.รามัน จ.ยะลา สู่ อบต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา 15.35 น. – 16.30 น. พบปะผู้นำและจิตอาสาญาลันนันบารู เพื่อศึกษาดูงานในพื้นที่อบต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา 16.35 น. – 18.30 น. คณะทำงานเดินทางกลับยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นัดหมายเตรียมพร้อมเพื่อออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ...... คณะผู้ประเมินได้พ้อมกันยังที่นัดหมายเพื่อเดินทางลงพื้นที่
    2. เดินทางถึง ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.หวัดปัตตานี ...... คณะทำงานได้เข้าพบผู้นำชุมชน และหน่วยปกครอง เพื่อชี้แจงและแนะนำตัวแก่ชุมชนเพื่อขอเก็บข้อมูลการดำเนินงานของกลุ่มจิตอาสา และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง
    3. พบปะผู้นำและจิตอาสาญาลันนันบารู เพื่อศึกษาดูงานในพื้นที่ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.หวัดปัตตานี
    4. ออกเดินทางจาก ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี สู่ อบต.เนินงาม อ.รามัน จ.ยะลา
    5. คณะทำงาน พักรับประทานอาหารกลางวัน ณ ตัวเมืองจังหวัดยะลา
    6. พบปะผู้นำและจิตอาสาญาลันนันบารู เพื่อศึกษาดูงานในพื้นที่อบต.เนินงาม อ.รามัน จ.ยะลา ...... คณะทำงานได้เข้าพบผู้นำชุมชน และหน่วยปกครอง เพื่อชี้แจงและแนะนำตัวแก่ชุมชนเพื่อขอเก็บข้อมูลการดำเนินงานของกลุ่มจิตอาสา และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง
    7. ออกเดินทางจากอบต.เนินงาม อ.รามัน จ.ยะลา สู่ อบต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา
    8. พบปะผู้นำและจิตอาสาญาลันนันบารู เพื่อศึกษาดูงานในพื้นที่อบต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา ...... คณะทำงานได้เข้าพบผู้นำชุมชน และหน่วยปกครอง เพื่อชี้แจงและแนะนำตัวแก่ชุมชนเพื่อขอเก็บข้อมูลการดำเนินงานของกลุ่มจิตอาสา และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง
    9. คณะทำงานเดินทางกลับยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยสวัสดิภาพ

     

    40 39

    14. เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์/โฟกัสกรุ๊ป

    วันที่ 22 กันยายน 2561 เวลา 19:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะผู้ประเมินและผู้ช่วย พร้อมกันตามเวลานัดหมาย ..... คณะผู้ประเมินได้เดินทางมายังสถานที่นัดหมายเพื่อการประชุม โดยมีผู้สังเกตการณ์มาเพิ่ม 1 คน
    2. เริ่มทำการประชุมงาน ..... คณะทำงานได้เริ่มการประชุม โดยนำข้อมูลของทีมผู้จัดมาบอกเล่าในที่ประชุม เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของกลุ่มเป้าหมาย (สจรส.) ในการจัดโครงการ ภายหลังจากนั้นจึงได้ให้ผู้ช่วยงานนำข้อมูลของกลุ่มจิตอาสาฯ ที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์แล้ว มาบอกเล่า เพื่อหาความสอดคล้องและลำดับเหตุการณ์ และประมวลผลร่วมกัน ........ซึ่งผลการประชุมในครั้งนี้ ช่วยให้ผู้ประเมินสามารถนำข้อมูลจากทั้ง2 กลุ่มเป้าหมาย มาร้อยเรียงและหาความสัมพันธ์ของเวลาและกระบวนการดำเนินงานของโครงการ 3.รับประทานอาหารร่วมกัน
    3. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะผู้ประเมินและผู้ช่วย พร้อมกันตามเวลานัดหมาย
    2. เริ่มทำการประชุมงาน ...... คณะปะเมินได้ร่วมกันกำหนด วันและเวลาในการเข้าสัมภาษณ์
    3. รับประทานอาหารร่วมกัน
    4. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

     

    5 6

    15. กิจกรรมประชุมเพื่อสรุปข้อมูลจากผู้จัดกิจกรรม (สจรส.)

    วันที่ 26 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. หัวหน้าโครงการได้ทำการเปิดประชุม
    2. คณะทำงานนำผลการประมินมาทำการอธิบายและบอกเล่างานของแต่ละบุคคล เพื่อทราบความก้าวหน้าของงาน
    3. สรุปการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. หัวหน้าโครงการได้ทำการเปิดประชุม ..... หัวหน้าโครงการได้ชี้แจงกรอบการประชุมในวันนี้ คือการนำข้อมูลที่ได้จากกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม มาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล และเรียงโครงร่างเล่มงาน
    2. คณะทำงานนำผลการประมินมาทำการอธิบายและบอกเล่างานของแต่ละบุคคล เพื่อทราบความก้าวหน้าของงาน
    3. สรุปการประชุม .... การประชุมวันนี้ทำให้ผู้ประเมินได้รับทราบข้อมูลที่ได้จากการเก็บในช่วงภาคสนาม และข้อมูลอื่นๆ ร่วมกัน รวมถึงทุกคนได้ทราบความก้าวหน้างานของแต่ละบุคคล

     

    4 4

    16. ประชุมออกแบบกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลชุมชน

    วันที่ 2 ตุลาคม 2561 เวลา 11:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.คณะทำงานพร้อมกัน ณ ที่ประชุม 2.หัวหน้าโครงการได้ทำการชี้แจงมติที่ประชุม 3.ทำการประชุม 4.สรุปผลการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คณะทำงานพร้อมกัน ณ ที่ประชุม ......คณะทำงานพร้อมกัน ณที่ประชุมครบทุกท่าน 2.หัวหน้าโครงการได้ทำการชี้แจงมติที่ประชุม ..... มติในที่ประชุมวันนี้ คือ 1) การออกแบบการจัดเวทีคืนข้อมูลในพื้นที่ชุมชนของกลุ่มจิตอาสา
    2) การคัดเลือกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม 3) การแบ่งภาระงานเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมการดำเนินงานกับเครือข่าย 3.ทำการประชุม ..... รายละเอียดแต่ละประเด็นในที่ประชุมวันนี้ คือ 1) การออกแบบการจัดเวทีคืนข้อมูลในพื้นที่ชุมชนของกลุ่มจิตอาสา ...... ในการจัดเวทีคืนข้อมูลครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ตรวจสอบและยืนยันผลที่ได้จากการประเมิน และให้คณะประเมินได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มจิตอาสาในประเด็นที่ขาดหายไป ก่อนที่จะนำมาเขียนใส่ในรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ 2) การคัดเลือกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม ...... การจัดประชุมครั้งนี้ ควรมีผู้เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลเข้าร่วมเพื่อยืนยันข้อมูลทุกส่วน ประกอบด้วย กลุ่มจิตอาสา กลุ่มสจรส. กลุ่มผู้ก่อตั้งกลุ่มญาลันนัน หน่วยงานรัฐเช่น องค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆ และ กองทุนตำบล สปสช. เขต 12 3) การแบ่งภาระงานเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมการดำเนินงานกับเครือข่าย ...... การจัดเวทีคืนข้อมูลนี้ คณะประเมินจะดำเนินการประสานงานกับสจรส. เพื่อร่วมดำเนินการจัดเวที โดยให้สจรส. ช่วยประสานกลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆ เช่น สปสช. เขต 12 กอร.มน.ภส. ในขณะที่ทางคณะประเมินจะทำการรับผิดชอบในส่วนของพื้นที่และสถานที่จัดงาน รวมถึงรายละเอียดยิบย่อยต่างๆ ภายในงาน 4.สรุปผลการประชุม

     

    8 4

    17. ประชุมเตรียมลงพื้นที่คืนข้อมูล

    วันที่ 4 ตุลาคม 2561 เวลา 12:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะประเมินพร้อมเพรียงกัน ณ ที่ประชุมตามเวลานัดหมาย
    2. ประชุม เสนอข้อคิดเห็น
    3. สรุปการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คณะประเมินพร้อมเพรียงกัน ณ ที่ประชุมตามเวลานัดหมาย
    2. ประชุม เสนอข้อคิดเห็น .... ในการประชุมครั้งนี้ ผู้ประเมินได้มอบหมายหน้าที่เพื่อดำเนินงาน คือ 1) ดร.ณรงค์ศักดิ์ รับผิดชอบในส่วนการแสดงผลข้อมูลในการนำเสนองาน 2) ดร.จิรัชยา เป็นผู้ออกแบบข้อคำถามและกระบวนการในเวทีคืนข้อมูล 3) ผศ.ณชพงศ และนส.แสงอรุณ เป็นผู้ประสานพื้นที่ .....สำหรับพื้นที่ใช้ดำเนินการจัดเวทีคืนข้อมูลคือ ต.เนินงาม อ.รามัน จ.ยะลา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่โครงการดำเนินการได้สำเร็จและเห็นผลเร็ว มีเครือข่ายที่ดี พร้อมในการจัดกิจกรรม กำหนดการในการติดต่อประสานงานคือ วันที่ 16 ตุลาคม 2561 โดยจะให้ผู้ประสานงานกลางเป็นผู้ติดต่อประสานงาน 3.สรุปการประชุม

     

    4 4

    18. ประชุมวางแผนงานจัดทำรูปเล่มรายงาน

    วันที่ 14 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น. - 18.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดหมายเพื่อรับทราบการประชุม
    2. ชี้แจงการประชุม
    3. ทำการประชุม
    4. ออกแบบร่างรายงาน 5.สรุปงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นัดหมายเพื่อรับทราบการประชุม ...... คณะทำงานพ้อมเพรียงกัน ณ ที่ประชุม
    2. ชี้แจงการประชุม .... การประชุมครั้งนี้เพื่อให้เกิดโครงเรื่องในบทรายงานแต่ละบท
    3. ทำการประชุม ..... ร่างเล่มรายงานนี้ จะมีด้วยกัน 4 บท และภาคผนวก โดยใช้แบบรายงานคล้ายกับรายงานวิจัย
    4. ออกแบบร่างรายงาน ..... การใช้คำ ระยะขอบ การจัดหน้า ายละเอียดและส่วนประกอบอื่นๆ 5.สรุปงาน

     

    6 4

    19. ประชุมออกแบบรูปเล่มรายงาน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2561 เวลา 13.30-20.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงานนัดหมายคณะทำงานเพื่อร่วมกันเขียนเนื้อหารายงาน ทบทวนเนื้อหารายงาน เริ่มการเขียนเนื้อหารายงาน พักรับประทานอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประสานงานนัดหมายคณะทำงานเพื่อร่วมกันเขียนเนื้อหารายงาน ......คณะทำงานได้มายังสถานที่นัดหมายเขียนงานในเวลา 16.30 น. ทบทวนเนื้อหารายงาน ...... คณะทำงานได้มีกาอ่าน ทบทวน เนื้อหาายงานที่เขียนไว้ในครั้งที่แล้ว และได้นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ จัดหมวดหมู่คำตอบ และแลกเปลี่ยนความเห็นต่อกัน เริ่มการเขียนเนื้อหารายงาน ..... คณะทำงานได้เริ่มทำการเขียนเนื้อหาายงานต่อจากคั้งที่แล้วซึ่งใช้เวลาปประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งทำให้การเขียนงานในครั้งนี้ได้บทที่ 1 และบทที่ 2 เกิดขึ้น พักรับประทานอาหาร

     

    4 4

    20. ติดต่อประสานงานการคืนข้อมูล

    วันที่ 16 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 - 12.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา                                           รายละเอียดกิจกรรม 08.00 น.                 คณะทำงานพร้อมกัน ณ จุดนัดหมาย (หน้าศูนย์วิชาการเพื่อการพัฒนาสุขภาวะชุมชน ภาคใต้ตอนล่าง ม.อ.ปัตตานี) 08.10 – 09.00 น. ออกเดินทางไปยังตัวเมืองจังหวัดยะลา 09.00 – 09.30 น. รับประทานอาหารเช้า 09.30 – 10.00 น. นัดหมายกับผู้ประสานงานกลาง และเดินทางไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 10.00 – 10.30 น. ถึงที่หมาย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 10.00 – 11.30 น. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา                                 ในประเด็นดังนี้                                     1.การขอใช้และจัดเตรียมสถานที่คืนข้อมูล ในวันที่ 31 ตุลาคม 2561                                     2.การจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงกับผู้เข้าร่วมประชุม ประสานงานกับผู้ประสานงานกลาง ในประเด็น ดังนี้                                   1.การเชิญภาคีเครือข่าย                                   2.จำนวนตัวแทนจิตอาสาและผู้เข้าร่วม จำนวน 50 ท่านจากทุกพื้นที่ 11.30 – 12.00 น. เดินทางกลับสู่ตัวเมืองจังหวัดยะลา 12.30 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 14.00 น. ออกเดินทางกลับสู่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1) ประสานงานกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลาในประเด็นดังนี้   1.1) การขอใช้และจัดเตรียมสถานที่คืนข้อมูล ในวันที่ 31 ตุลาคม 2561 ....... ทางอบต.เนินงาม ได้เสนอสถานที่จัดงานเป็น ศูนย์เรียนรู้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ โดยสถานที่ดังกล่าวไม่มีค่าใช้จ่ายและมีความพร้อมในการจัดงานมากที่สุด โดยทางอบต.จะสนับสนุนคนช่วยงานและประสานชุมชนเพิ่มเติมคือ นักพัฒนาชุมชนประจำตำบล เป็นผู้ดูแลสถานที่จัดงานหลัก   1.2) การจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงกับผู้เข้าร่วมประชุม ...... ในด้านอาหารและเครื่องดื่มนั้น ทางกลุ่มจิตอาสาญาลันนันในพื้นที่ นำโดย กะอะห์ จะเป็นผู้ดูแลทั้งหมด ทั้งอาหารว่างและอาหารกลางวัน 2) ประสานงานกับผู้ประสานงานกลาง ในประเด็น ดังนี้ 2.1) การเชิญภาคีเครือข่าย ........ ภาคีเครือข่ายที่ผู้ประสานงานกลางจะประสานเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ 1) พักเอกสุวรรณ เชิดฉาย กอรมน.ภส. 2) สปสช. เขต 12 3) สจรส. 2.2) จำนวนตัวแทนจิตอาสาและผู้เข้าร่วม จำนวน 50 ท่านจากทุกพื้นที่ ......ผู้ประสานงานกลางจะทำการประสานกับกลุ่มจิตอาสาทุกพื้นที่ให้มาเข้าร่วมในกิจกรรมเวทีคืนข้อมูล โดยคัดตัวแทนชุมชน

     

    20 16

    21. เขียนรูปเล่มรายงาน

    วันที่ 16 ตุลาคม 2561 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดหมายทีมงาน ออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูล และเขียนเนื้อหารายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกรอบแนวคิดการเขียนงานที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านการจัดหมวดหมู่ข้อมูล และสามารถที่จะจัดการข้อมูลลงในเนื้อหาเล่มรายงานได้

     

    4 3

    22. เขียนรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 20 ตุลาคม 2561 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1) นัดหมายคณะทำงานเพื่อร่วมกันเขียนรูปเล่มรายงาน 2) เขียนรูปเล่มรายงาน 3) ตรวจสอบ ประเมินเนื้อหารายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เนื้อหาภายในรูปเล่มรายงานมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นด้วยข้อมูลที่ถูกเพิ่มจากการเขียนงานของคณะทำงานในส่วนที่ 3 - 4 ทำให้คณะทำงานได้แนวทางการสรุปผลการประเมินได้ง่ายขึ้น

     

    4 6

    23. เขียนรูปเล่มรายงาน

    วันที่ 21 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น. - 18.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดหมายคณะทำงานเพื่อเขียนรูปเล่มายงานให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ......คณะทำงานได้มีการเขียนเนื้อหารายงานลงในรูปเล่มต่อจากวันที่ 20 ตุลาคม 2561 โดยมีการทบทวนเนื้อหาที่ผ่านมา ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาที่เขียนไปแล้วก่อนหน้านี้ .....มีการกระจายและมอบหมายงาน โดยคณะทำงานได้แบ่งส่วนงานเป็น 3 ส่วน คือ ผู้ตรวจสอบตารางข้อมูล ผู้ตรวจสอบเนื้อหาตามข้อมูล และผู้ตรวจสอบภาพและการอ้างอิง โดยมีผู้ช่วยงานเป็นผู้เขียนเนื้อหาเพิ่มเติม โดยผลที่ได้จากการเขียนรายงานวันนี้คือ เล่มายงานมีความก้าวหน้าในส่วนของบทนำจนถึงบทที่ 4 มีูปภาพ ตัวแบบ แหล่งอ้างอิงจากการเก็บข้อมูล สามารถที่จะใช้เป็นแบบร่างการคืนข้อมูลในวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ได้

     

    5 4

    24. ติดต่อประสานสจรส.เพื่อแจ้งการลงพื้นที่

    วันที่ 22 ตุลาคม 2561 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงาน วางแผน เพื่อเตรียมการจัดเวทีคืนข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดแนวทางการจัดเวทีคืนข้อมูล ทั้งคณะทำงานและสจรส. มีบทบาทในการดำเนินงานในเวทีคืนข้อมูล ฝ่ายสื่อ ได้รับทราบพล็อตเรื่องการถ่ายทำรายการเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลของคณะประเมิน

     

    6 6

    25. เขียนรูปเล่มรายงาน

    วันที่ 27 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1) คณะทำงานและผู้ช่วยงาน ทำการทบทวนข้อมูล และตรวจสอบเนื้อหาที่ได้ดำเนินการไว้ในครั้งก่อน 2) คณะทำงานได้ร่วมกันเขียนข้อมูล เรียบเรียงเนื้อหา ในแต่ละส่วนของเล่มรายงาน 3) รวบรวมเนื้อหาจากแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน และถกประเด็นข้อมูลที่พบจากการเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในที่ประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1) คณะทำงานและผู้ช่วยงาน ทำการทบทวนข้อมูล และตรวจสอบเนื้อหาที่ได้ดำเนินการไว้ในครั้งก่อน ............. เนื้อหาในครั้งก่อนนั้นคณะทำงานได้ร่วมกันเขียนเนื้อหาในส่วนคุณภาพซึ่งเป็นส่วนที่ได้มาจากกลุ่มผู้จัดโครงการว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้าง 2) คณะทำงานได้ร่วมกันเขียนข้อมูล เรียบเรียงเนื้อหา ในแต่ละส่วนของเล่มรายงาน ............. สำหรับการประชุมเพื่อเขียนรูปเล่มในครั้งนี้ คณะทำงานจะทำการเขียนข้อมุลเนื้อหาในส่วนที่ได้จากกาลงพื้นที่ภาคสนามจากกลุ่มจิตอาสาว่ามีกาดำเนินโครงการภายหลังจากได้รับอนุมัติงบประมาณอย่างไร มีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างไรบ้าง 3) รวบรวมเนื้อหาจากแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน และถกประเด็นข้อมูลที่พบจากการเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในที่ประชุม ............ หลังจากที่คณะทำงานได้นำเนื้อหาในแต่ละส่วนมารวมกัน คณะทำงานแต่ละคนก็จะสรุปสิ่งที่ตนเองได้เขียนเนื้อหาลงในรูปเล่มว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีสิ่งไหนที่ต้องปรับแก้เพิ่มเติมจากคณะทำงานอื่นๆ 

     

    5 5

    26. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 28 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1) คณะทำงานและผู้ช่วยงาน ทำการทบทวนข้อมูล และตรวจสอบเนื้อหาที่ได้ดำเนินการไว้ในครั้งก่อน 2) คณะทำงานได้ร่วมกันเขียนข้อมูล เรียบเรียงเนื้อหา ในแต่ละส่วนของเล่มรายงาน 3) รวบรวมเนื้อหาจากแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน และถกประเด็นข้อมูลที่พบจากการเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในที่ประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1) คณะทำงานและผู้ช่วยงาน ทำการทบทวนข้อมูล และตรวจสอบเนื้อหาที่ได้ดำเนินการไว้ในครั้งก่อน ......... การจัดทำรูปเล่มในครั้งก่อนนั้น คณะทำงานได้ดำเนินการเขียนข้อมูลเนื้อหาของกลุ่มจิตอาสา หลังจากการลงภาคสนามติดตามกาดำเนินงานหลังที่กลุ่มจิตอาสาได้รับอนุมัติงบประมาณ โดยครั้งนี้ทางคณะทำงานและผู้ช่วยงาน จะทำการร่วมกันตรวจสอบเนื้อหา และจัดทำส่วนประกอบอย่างค่าวๆ ลงในรูปเล่มรายงานเพื่อนำเสนอในเวทีคืนข้อมูล 2) คณะทำงานได้ร่วมกันเขียนข้อมูล เรียบเรียงเนื้อหา ในแต่ละส่วนของเล่มรายงาน ........... คณะทำงานได้แบ่งส่วนงานที่เป็นส่วนประกอบของเล่มรายงาน และร่วมกันจัดทำส่วนประกอบ ได้ แก่ ออกแบบปกรายงาน สารบัญเนื้อหา ตาราง และรูปภาพ ภาคผนวกส่วนเครื่องมือ และส่วนรูปภาพขณะดำเนินการ และบรรณานุกรม แหล่งอ้างอิงต่างๆ 3) รวบรวมเนื้อหาจากแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน และถกประเด็นข้อมูลที่พบจากการเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในที่ประชุม

     

    5 4

    27. จัดเวทีคืนข้อมูล

    วันที่ 31 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดการ เวทีคืนข้อมูลการประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง วันที่ 31 ตุลาคม 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตทางการเกษตร ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เวลา รายละเอียดกิจกรรม 09.00 – 10.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน 10.05 – 10.10 น. กล่าวต้อนรับโดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม นายสาการียา เด็งตา
    10.10 – 10.20 น. กล่าวเปิดงานโดย พันเอกสุวรรณ เชิดฉาย หัวหน้าศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 10.20 – 11.30 น. คณะผู้ประเมินนำเสนอผลประเมินผลการจัดโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง 11.30 – 11.50 น. เปิดประเด็นแลกเปลี่ยนจากข้อมูลผลการประเมิน และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 11.50 – 11.55 น. กล่าวสรุปภาพรวมและปิดโครงการโดยตัวแทนจากสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 11.55 – 12.30 น. ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน 12.30 น. ออกเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1) คณะผู้ประเมินได้ทำการนำเสนอผลการประเมินแก่ผู้เข้าร่วมเวที 2) ตัวแทนผู้ประเมิน ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก ได้เป็นผู้ดำเนินรายการและเปิดเวทีให้ประชาชนและผู้เข้าร่วมงานได้เสนอความคิดเห็นและสะท้อนผลข้อมูลที่ได้จากการประเมิน 3) ผู้เข้าร่วมได้มีการเสนอความเห็นและบอกเล่าปะสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเพิ่มเติม 4) คณประเมินได้ร่วมรับประทานอาหารกับผู้เข้าร่วมเวทีคืนข้อมูล 5) ผู้ประเมินได้ให้สัมภาษณ์กับทีมสื่อมวลชนเพื่อบันทึกรายการนำเสนอแก่ผู้ให้ทุน

     

    60 60

    28. ประชุมวางแผนเตรียมข้อมูลสรุปเวทีคืนข้อมูล

    วันที่ 23 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1) คณะทำงานและผู้ช่วยงาน ทำการทบทวนข้อมูล และตรวจสอบเนื้อหาที่ได้ดำเนินการไว้ในครั้งก่อน 2) คณะทำงานได้ร่วมกันเขียนข้อมูล เรียบเรียงเนื้อหา ในแต่ละส่วนของเล่มรายงาน 3) รวบรวมเนื้อหาจากแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน และถกประเด็นข้อมูลที่พบจากการเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในที่ประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมสรุปผลข้อมูลที่ได้จากการจัดเวทีคืนข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลสะท้อนหลังจากที่กิจกรรมการประเมินเสร็จสิ้น คณะทำงานมองว่า ข้อมูลดังกล่าวยังมีความสำคัญที่จะนำมาเติมเต็มข้อมูลในบางส่วนได้อีก จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลจากเวทีคืนข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการบันทึกการสนทนาโดยผู้ช่วยงาน และเครื่องบันทึกเสียง บางช่วงบางตอนของข้อมูลได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดยผู้ประเมิน และเรียบเรียงใส่ลงในรูปเล่มรายงาน

     

    4 4

    29. จัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 23 ธันวาคม 2561 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1) ตรวจสอบ ข้อมูล เนื้อหา ความถูกต้องสมบูรณ์ในรูปเล่มรายงาน 2) นำรายงานไปจัดทำรูปเล่ม ฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ..... หลังจากข้อมูลที่ความเรียบร้อย สมบูรณ์ คณะผู้ประเมินได้ทำการตวจสอบ ความสมบูรณ์ของเนื้อหา และได้มอบหมายให้ผู้ช่วยงานนำรายงานไปจัดทำรูปเล่ม จำนวน 3 เล่ม เพื่อเสนอต่อผู้ให้ทุน

     

    4 4

    30. ตรวจสอบเอกสารการเงิน

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เดินทางจาก ม.อ.ปัตตานี - สจรส. 2.นัดหมายจนท.สจรส. 3.ตรวจสอบเอกสาร 4.เดินทางกลับจาก สจรส. - ม.อ.ปัตตานี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการตรวจสอบเอกสารการเงินกับจนท.สจรส. พบว่า ในโครงการมีเอกสารการเงินหลายฉบับต้องมีการแก้ไขให้ถูกต้องตามระเบียบการเงินของผู้ให้ทุน ซึ่ง ทางจนท.สจรส. ให้ ผู้ช่วยงานโครงการนำเอกสารการเงินทั้งหมดมาแก้ไขและติดตามเอกสารการใช้จ่ายให้ครบถ้วน โดยจะนัดหมายการตรวจสอบเอกสารการเงินอีกครั้งในวันที่ 19 มีนาคม 2562

     

    4 3

    31. ติดตามเอกสารเอกสารการเงิน

    วันที่ 8 มีนาคม 2562 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานงาน นัดหมาย กลุ่มจิตอาสา เพื่อปรับแก้เอกสาร 2.เดินทางลงพื้นที่เพื่อพบกับจิตอาสาจาก ม.อ.ปัตานี - พื้นที่ทำงานของจิตอาสา 3.ชี้แจงรายละเอียดการแก้ไขเอกสาร 4.เดินทางกลับจาก พื้นที่ทำงานของจิตอาสา - ม.อ.ปัตตานี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จิตอาสาแจ้งวันเวลาที่สะดวกในการแก้ไขเอกสาร โดยผู้ช่วยงานโครงการได้ลงพื้นที่ไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อพบกับจิตอาสา ได้แก่ ค่ายสิรินธร จ.ยะลา ต.สุคิริน อ.สุคิริน จ.นาธิวาส และ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส 

     

    10 10

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 การประเมินบริบทสภาพแวดล้อม (context) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
    ตัวชี้วัด : ความต้องการของชุมชน นโยบาย

     

    2 .การประเมินปัจจัยนำเข้า (input) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
    ตัวชี้วัด : เพียงพอและเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินการ

     

    3 การประเมินกระบวนการทำงาน (process) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
    ตัวชี้วัด : - ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการต่างๆ - การประสานงาน - การดำเนินโครงการ

     

    4 การประเมินผลผลิต (product)ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
    ตัวชี้วัด : - สิ่งที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ - ความต้องการของชุมชน เกณฑ์พิจารณาโครงการ คุณภาพโครงการ - ชุมชนเข้มแข็ง

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การประเมินบริบทสภาพแวดล้อม (context) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง (2) .การประเมินปัจจัยนำเข้า (input) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง (3) การประเมินกระบวนการทำงาน (process) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง (4) การประเมินผลผลิต (product)ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง จังหวัด

    รหัสโครงการ -

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณชพงศ จันจุฬา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด