directions_run

การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
ภายใต้โครงการ แผนงานโซนใต้ล่าง
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ -
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 150,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณชพงศ จันจุฬา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ ซูวารี มอซู
พื้นที่ดำเนินการ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 31 ม.ค. 2562 1 มิ.ย. 2561 31 ม.ค. 2562 120,000.00
2 1 ก.พ. 2562 15 มี.ค. 2562 1 ก.พ. 2562 15 มี.ค. 2562 30,000.00
รวมงบประมาณ 150,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอดโดยมีการใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าหมื่นล้าน โดยในปี พ.ศ. 2559 มีการใช้งบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบสูงถึง 30,176.93 ล้านบาท (สำนักงบประมาณ, 2559) แต่การทุ่มเทงบประมาณไม่ได้ส่งผลให้เหตุการณ์ความรุนแรงลดลง โดยจากการสำรวจของ ศรีสมภพจิตร์ภิรมย์ศรี (2560) พบว่า ในปี พ.ศ. 2559 มีเหตุการณ์ความไม่สงบรวม 815 ครั้ง โดยเกิดที่จังหวัดปัตตานี 310 ครั้ง รองลงมาคือจังหวัดนราธิวาส 276 ครั้ง จังหวัดยะลา 176 ครั้ง และจังหวัดสงขลา 53 ครั้ง โดยมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์รวม 928 คน นอกจากนี้ อัฟฟาน ลาเต๊ะ (2559) ศึกษาความคาดหวังของประชาชนในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ พบว่า ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับความเป็นอยู่มากที่สุด รองลงมาคือ การแก้ไขปัญหายาเสพติด และการพัฒนาการศึกษา ตามลำดับ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง หนึ่งในยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่สำคัญของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) คือ โครงการจิตอาสา ญาลันนันบารู ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในชุมชนโดยคนในชุมชนที่เป็นจิตอาสาทำงานร่วมกับ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ในการร่วมกันคัดกรอง สร้างจิตสำนึก และปรับพฤติกรรม แก่ผู้ที่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด และมีส่วนร่วมในขบวนการก่อความไม่สงบ โครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤติความรุนแรง เป็นแผนงานที่ดำเนินการในพื้นที่พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยทุกอำเภอในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนที่กำลังประสบปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ ปัญหายาเสพติด และเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องโดยใช้งบประมาณมหาศาล แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.) ซึ่งเป็นความร่วมมือของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) จึงได้ดำเนินโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง โดยการพัฒนาศักยภาพหน่วยญาลันนันบารู จิตอาสาญาลันนันบารู แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา และตัวแทนชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องชุมชนสุขภาวะ ชุมชนเข้มเข็ง แก่ที่เข้าร่วมโครงการ โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการฐานข้อมูล กระบวนการทำแผนชุมชน และการเขียนโครงการแก้ปัญหาชุมชนเพื่อลดปัญหาปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่และยาเสพติดในพื้นที่ และขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล
ซึ่งการดำเนินโครงการ ฯ ดังกล่าว ทำให้เกิดทีมพี่เลี้ยงโครงการซึ่งเป็นคนในพื้นที่ มีมุมมองในเรื่องการจัดการสุขภาวะ และมีศักยภาพในการหนุนเสริมคนในชุมชนในการพัฒนาเป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้เกิดโครงการที่ผ่านการอนุมัติและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบลเพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ดังนั้นเพื่อศึกษาความสำเร็จของผลการดำเนินโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง ในครั้งนี้คณะผู้ประเมินจึงจำเป็นต้องกำหนดกรอบการประเมินโครงการ โดยประยุกต์แนวคิดของ CIPP Model เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการในมิติบริบทสภาพแวดล้อม (context) ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการทำงาน (process) ผลผลิต (product)ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact)

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ในการประเมินโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง ครั้งนี้ คณะผู้ประเมินได้ประยุกต์ กรอบแนวคิดการประเมินของ “CIPP Model” ของ สตัฟเฟิลบีม ( Stufflebeam )

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 การประเมินบริบทสภาพแวดล้อม (context) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง

ความต้องการของชุมชน นโยบาย

2 .การประเมินปัจจัยนำเข้า (input) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง

เพียงพอและเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินการ

3 การประเมินกระบวนการทำงาน (process) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
  • ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการต่างๆ
  • การประสานงาน
  • การดำเนินโครงการ
4 การประเมินผลผลิต (product)ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) ของโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง
  • สิ่งที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
  • ความต้องการของชุมชน เกณฑ์พิจารณาโครงการ คุณภาพโครงการ
  • ชุมชนเข้มแข็ง
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2561 10:33 น.