แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ งานประเมินกองทุนจังหวัดภูเก็ต ”

จังหวัดภูเก็ต

หัวหน้าโครงการ
ดร.ขวัญณพัทสร ชาญทะเล

ชื่อโครงการ งานประเมินกองทุนจังหวัดภูเก็ต

ที่อยู่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต

รหัสโครงการ 65-00336 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"งานประเมินกองทุนจังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดภูเก็ต

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
งานประเมินกองทุนจังหวัดภูเก็ต



บทคัดย่อ

โครงการ " งานประเมินกองทุนจังหวัดภูเก็ต " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต รหัสโครงการ 65-00336 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2565 - 31 ตุลาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 0.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1 เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานร่วมทุนสำหรับการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของประชาชนใน พื้นที่จังหวัดภูเก็ต 2 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคน กลุ่มคน เครือข่าย ให้มีความรู้ ทักษะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4 เพื่อสร้างระบบ กระบวนการ และกลไกการดำเนินงานสุขภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมวางแผนการจัดกระบวนการประเมินงานบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภูเก็ต
  2. สรุปข้อมูลกิจกรรมแถลงข่าวและ Kick off “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต "Phuket: Health for Future of Life"
  3. ประชุมติดตามความก้าวหน้า
  4. สังเกตการณ์ประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการบูรณากลไกความร่วมมือ
  5. สรุปรายงานประเมินความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ งวดที่ 1
  6. สังเกตการณ์ประชุมเตรียมการขับเคลื่อนงาน
  7. สังเกตการณ์การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  8. ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด "ภูเก็ต : สุขภาวะแห่งอนาคต"
  9. สังเกตุการณ์และให้ข้อเสนอแนะประชุมคณะอนุกรรมการ
  10. ประชุมติดตามความก้าวหน้า
  11. สังเกตการณ์การประชุมคณะอนุกรรมการ
  12. สรุปการประชุมคณะอนุกรรมการฯ
  13. รายงานสรุปกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของผู้นำ 3 ชุมชน
  14. สรปรายงานความก้าวหน้าประเมินผลการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 2
  15. ร่วมสังเกตการณ์และวิเคราะห์บทบาทของคณะทำงานโครงการฯ ในงาน NODE
  16. สรุปผลการติดตามการดำเนินงานกลไกจังหวัดภูเก็ต
  17. ถอดบทเรียนการดำเนินงานประเด็นสื่อสารสาธารณะ ประเด็นกลไกระดับจังหวัดภูเก็ต
  18. ประชุมสรุปผลการจัดงาน ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life” และวางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป
  19. สังเกตการณ์ประชุมคณะอนุกรรมการครั้งที่ 6
  20. ถอดบทเรียนการประชุมเชิงปฏิบัติการการเขียนโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุน จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
  21. ประชุมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน”
  22. สังเกตการณ์ประชุมภาคีเครือข่ายโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life”
  23. เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่่อดำเนินกิจกรรมในโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “ Phuket : Health for Future of Life
  24. จัดทำรายงานประเมินความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ งวดที่ 3
  25. ร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมพิจารณาโครงการ
  26. ประชุมทีมสื่อ
  27. ประชุมติดตามความก้าวหน้าทีมสื่อ
  28. ประชุมเตรียมงานถอดบทเรียนกลไกภูเก็ต
  29. ถอดบทเรียน
  30. เข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบ "ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี " จังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ 2566
  31. ประชุมถอดบทเรียน​กิจกรรมที่ขอรับทุนสนับสนุน
  32. ประชุมเตรียมงานการเพิ่มเครื่อข่ายเอกชน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดทำรายงานประเมินความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ งวดที่ 3

วันที่ 5 มิถุนายน 2544 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การทบทวนวรรณกรรม การไปสังกตุการณ์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานความก้าวหน้าของโครงการ ฯ ตามรายงานที่แนบ

 

0 0

2. ประชุมวางแผนการจัดกระบวนการประเมินงานบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภูเก็ต

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แนวทางและเครืองมือการประเมิน

 

4 2

3. สรุปข้อมูลกิจกรรมแถลงข่าวและ Kick off “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต "Phuket: Health for Future of Life"

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมสังเกตการณ์ และประเมินการจัดงานแถลงข่าวและซักถามรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิจกรรมแถลงข่าวเป็นสร้างการรับรู้และ Kick Off โครงการ ซึ่งมีผู้ข้าร่วมงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมและภาควิชาการ รวมทั้งสื่อมวลชนจากภายในและภายนอกจังหวัด จำนวน 400 คน ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จในการสร้างการรับรู้ที่มาของโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตรวมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ตและค้นหาภาคีเครือข่ายที่สนใจในเรื่องที่ขับเคลื่อนโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด“ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต "Phuket: Health for Future of Life"
    1. ผู้ประเมินได้รับฟังและเสวนาเกี่ยวกับโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket : Health for Future of Life” ซึ่งพอสรุปรายละเอียดวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อสานพลัง สร้างความร่วมมือไปสู่การสร้างสุขภาวะของ จ.ภูเก็ต ในอนาคต โดยบูรณาการทุกภาคส่วนในการส่งเสริมสุขภาพ สร้างเป้าหมายการเป็นภาคใต้แห่งความสุขเป็นต้นแบบการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคเอกชน วิชาการ ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เขตสุขภาพ ส่งเสริมออกกำลังกาย การกินอาหารที่ดี สร้างอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างสุขภาวะในกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเปราะบาง เพื่อสร้างสุขภาวะแห่งอนาคตของคนภูเก็ต ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ มุ่งสู่การเป็น Medical & Wellness Hub วางรากฐานระบบสุขภาพอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพควบคู่กันไปด้วย ภายใต้แนวคิด “เมืองแห่งความผูกพันผู้คนสู่สุขภาพโลก” สร้างสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม เป็นต้นแบบระบบสุขภาพชุมชนเมือง และยกระดับสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
        3. รูปแบบการจัดงานน่าสนใจ มีการเชิญภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และภาคีเครือข่ายสนใจงานกองทุนและอยกร่วมงานแต่ยังไม่ทราบลายละเอียดขั้นตอนการขอเข้าร่วมโครงการและเงื่อนไขต่าง ๆ จำนวนข่าวและภาพข่าวที่สื่อมวลชนนำไปเผยแพร่มีทั้งในท้องถิ่น ภูมิภาคและสื่อส่วนกลางทั้ง Online และ offline
    2. ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดแถลงข่าว พบว่า การประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สมบูรณ์ เช่น การเก็บข้อมูลหรือสร้างฐานข้อมูลผู้ที่ลงทะเบียนเพื่อเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายในระบบออนไลน์ เช่น Line หรือการให้ผู้เข้าร่วมกดไลค์เพจของโครงการ เป็นต้น แนะนำทบทวนการดำเนินงาน / สรุปปัญหาและอุปสรรคในการแถลงข่าวเป็นรายงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไป

 

0 400

4. ประชุมสรุปผลการจัดงาน ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life” และวางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมรับฟังการประชุมผ่านระบบ Zoom เพื่อวางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป โดยมีการหยิบยกสถานการณ์ของจังหวัดภูเก็ตและยุทธศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งเป้าหมายของการทำโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แนวทางการขับเคลื่อนกองทุนโดยเตรียมจัดทำข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลสำคัญต่างๆ และต้นทุนการดำเนินงานในประเด็นปัญหา สุขภาวะ มีการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน

 

0 12

5. ประชุมติดตามความก้าวหน้า

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

สังเกตการณ์ สอบถามพูดคุยกับคณะอนุกรรการฯ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์รายงานการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการคัดเลือก เสนอรายชื่อคณะทำงาน แนวทางการกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด

 

0 10

6. สังเกตการณ์ประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการบูรณากลไกความร่วมมือ

วันที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 18:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สอบถามพูดคุยและศึกษาเอกสารรายงานการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ได้แนวทางในการบริหารจัดการเครือข่ายและการจัดทำแผนโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life”

 

0 25

7. สรุปรายงานประเมินความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ งวดที่ 1

วันที่ 30 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สังเกต สอบถามพูดคุยและศึกษารายกงานการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 เกิดกลไกการดำเนินงานร่วมทุนในการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 2. มีแผนการดำเนินโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life” 3.มีหน่วยงานและภาคีเครือข่ายในการสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของคนภูเก็ตในระดับพื้นที่ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน สมาคม ชมรม และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง

 

0 6

8. สังเกตการณ์ประชุมเตรียมการขับเคลื่อนงาน

วันที่ 4 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สังเกตการณ์และศึกษาเอกสารการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ประชุมเตรียมการจัดงานในวันที่ 13-14 มกราคม  โดยทีมขับเคลื่อนได้วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ปัจจัย และการขับเคลื่อนในการพัฒนากองทุนเสมือนจริงจากภาคีเครือข่ายร่วม วิเคราะห์สถานการณ์ทางด้านสุขภาวะของคนภูเก็ต พร้อมทั้งทิศทางและแนวโน้มในการสอดรับของการการพัฒนาเมืองสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ ทำให้ทราบสภาพปัญหา ศักยภาพและขีดความสามารถของภาคีเครือข่าย

 

0 10

9. สังเกตการณ์การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 13 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมสังเกตุการณ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แนวทางในการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรมย่อย คณะทำงานมีความเข้าใจในกลไกการทำงาน

 

0 50

10. ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด "ภูเก็ต : สุขภาวะแห่งอนาคต"

วันที่ 21 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมสังเกตการณ์ ซักถามและศึกษาจากเอกสารรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ทีมขับเคลื่อนและทีมสนับสนุนมีการทบทวนประเด็นการขับเคลื่อน และรายงานแนวทางการขับเคลื่อนรวมทั้งการปรับปรุง Time line ให้เหมาะสม
-จากการสังเกตุพบว่าทีมภาคีเครือข่ายภาควิชาการมีอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณจากโครงสร้างขององค์กร -คณะอนุกรรมการฯ มี นพ.บัญชา ค้าของ ที่ปรึกษาพิเศษนายก อบจ.ภูเก็ต เป็นบุคคลที่คอยเป็นคลังสมอง ได้เสนอแนวคิดใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการกองทุน

 

0 10

11. สังเกตุการณ์และให้ข้อเสนอแนะประชุมคณะอนุกรรมการ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สังเกตการณ์ พูดคุยซักถามให้ข้อเสนอแนะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-โครงการมีการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้

 

0 25

12. ประชุมติดตามความก้าวหน้า

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทบทวนเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการติดตามและร่วมเข้าสังเกตการณ์กับทีมขับเคลื่อนในการดำเนินงาน ระยะที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม  โครงการนี้มีความก้าวหน้าดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ แต่ก็ยังสามารดำเนินการได้เพียง 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกลั่นกรอง แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening)และ 2) การกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping) ซึ่งทีมประเมินเข้าสังเกตการณ์และทบทวนจากเอกสารรายละเอียดโครงการร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานโครงการและผู้รับผิดชอบในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต พบว่า คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ยังขาดข้อมูลและความชัดเจนในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้ เช่น
- โครงสร้างองค์กร กฎระเบียบ ภาระหน้าที่ของหน่วยงานหรือกลไกที่เกี่ยวข้องมีความแตกต่างกัน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายให้ทีมขับเคลื่อนต้องกลับมาทบทวนและประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนกลไกและได้เข้าร่วมสังเกตการณ์เวทีอบรมการพัฒนาพี่เลี้ยงและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมสุราฏร์ธานี เพื่อเติมข้อมูล แล้วมีการนำมาวางแผนปรับแนวทางการทำงาน
- ยังขาดข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงต่อประเด็นการขับเคลื่อน NCD อันประกอบด้วย เหล้าและยาเสพติด บุหรี่ อาหาร กิจกรรมการออกกำลังกาย โรคอุบัติใหม่ ความปลอดภัยทางถนน สุขภาพจิต มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งควรรวบรวมไว้เป็น Data base ซึ่งเปิดให้เครื่อข่ายและคณะทำงานเข้าถึงได้ง่าย - ทีมประเมินได้ทำการวิเคราะห์ภาคีที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ (Stakeholder analysis) พบว่า ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก คนพิการ หรือภาคสื่อสารมวลชนยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนหรือขับเคลื่อน

 

0 0

13. สังเกตการณ์การประชุมคณะอนุกรรมการ

วันที่ 8 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สังเกตการณ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีแผนงานและการทำงานตามแผนงาน

 

0 0

14. สรุปการประชุมคณะอนุกรรมการฯ

วันที่ 15 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สังเกตการณ์และศึกษาจากรายงานเอกสาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนงานต่าง ๆ ได้ดำเนินตามแผนงาน การสื่อสารในองค์กรยังไม่ชัดเจน ไม่มีแผนงานการสื่อสารภายนอกองค์กรทำให้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่าง ๆไม่ค่อยมีความก้าวหน้า

 

0 19

15. รายงานสรุปกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของผู้นำ 3 ชุมชน

วันที่ 15 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สังเกตการณ์และสัมภาษณ์ วิเคราะห์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนทั้ง 3 อำเภอ ทำให้ผู้นำชุมชนมีความเข้าใจนโยบายสาธารณะและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโครงการเสนอขอรับงบประมาณที่สอดค่ล้องกับ”สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต” อีกทั้งมีการบูรณาการการใช้งบประมาณในการฝึกอบรมจากศูนย์พัฒนาการเมืองสถาบันการเมืองพระปกเกล้าจังหวัดภูเก็ต  โดยใช้ความสามารถของอนุกรรมการในการประสานเครือข่าย ซึ่งนับว่าเป็นจุดแข็งของคณะอนุกรรมการชุดนี้

 

0 0

16. สรปรายงานความก้าวหน้าประเมินผลการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 2

วันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารและมีการสัมภาษณ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตามรายงานการประเมินที่แนบ

 

0 0

17. ร่วมสังเกตการณ์และวิเคราะห์บทบาทของคณะทำงานโครงการฯ ในงาน NODE

วันที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สังเกตการณ์และวิเคราะห์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการไปร่วมกิจกรรมกับ NODE คณะทำงานได้ทำกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการโดยการไปออกบูธเพื่่อหาเครือข่ายและให้ข้อมูลโครงการ ฯ แก่ผู้ที่สนใจ จากผลของการทำกิจกรรมดั่งกล่าวผู้ประเมินวิเคราะห์ว่าคณะทำงานได้ใช้ศักยภาพจาการที่มีบทบาทในหลายภาคีในการประสานงานและแสวงหาโอกาสเชื่อมเครือข่ายที่มีเป้าหมายใกล้เคียงกันให้มาบูรณางานร่วมกัน ซึ่งจากการวิเคราะห์ทีมขับเคลื่อนพบว่า ผู้นำทีม ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วน คือภาครัฐ โดยนางปิยะพร โยธี ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ภาควิชาการ โดย ดร.จตุรงค์ คงแก้ว และนายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว ซึ่งสวมบทบาท 3 สถานะ เป็นตัวแทนภาคประชาชน ประชาสังคมและภาคเอกชน ทั้ง 3 คน เป็นผู้นำทีมที่มีความเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการขับเคลื่อนตรงกัน และมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ทำให้มีการดำเนินงานหรือปรับเปลี่ยนแผนงาน แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี ทำให้การดำเนินงานของโครงการฯ ยังคงอยู่ในกรอืบแผนระยะเวลา จากกิจกรรมที่ไปร่วมกับ NODE ก็มิได้อยู่ในแผนปฏิบัติงาน แต่เพราะผู้นำมองเห็นโอกาสและการเชื่อมเครื่อข่าย จึงสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมเข้าร่วมงานกับ NODE ซึ่งทำให้ทีมขับเคลื่อนได้ค้นพบเครื่อข่ายที่มีศักยภาพและต้องการเข้ามาร่วมทำโครงการ

 

0 0

18. สรุปผลการติดตามการดำเนินงานกลไกจังหวัดภูเก็ต

วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.สังเกตการณ์ รับฟังรายงานความก้าวหน้าและปัญหาที่เกิดขึ้น 2.สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นและความต้องการของพื้นที่ในการเข้ามาเสริมพลัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะทำงานรายงานการดำเนินงานของกลไกจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ภูเก็ต
2.เกิดการเรียนรู้ในการปรับแผนงานให้เหมาะสมตามเงื่อนไขของแหล่งทุน 3.เกิดการปรับตัวเรื่องการสื่อสาร การสื่อสารที่ดีจะทำให้การทำงานระบบทีมราบรื่น และทำให้องค์กรก้าวหน้าได้ไว การสื่อสารกับคนในทีมที่ดีนั้นย่อมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจได้ดีด้วย ขณะเดียวกันผู้นำก็ต้องรู้จักการเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดเห็นของแหล่งทุนอื่น เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด

 

0 0

19. ถอดบทเรียนการดำเนินงานประเด็นสื่อสารสาธารณะ ประเด็นกลไกระดับจังหวัดภูเก็ต

วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วิเคราะห์การดำเนินงานประเด็นสื่อสารสาธารณะ ประเด็นกลไกระดับจังหวัดภูเก็ตและผู้รับผิดชอบดูแล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เกิดการเรียนรู้ในการจัดตั้งเพจที่ใช้ประชาสัมพันธ์ ควรเกิดจากทาง สนส.มอ. เพื่อสะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลเวลาเปลี่ยนทีมทำงาน 2.มีการปรับแผนการทำงานสื่อสารและวางแผนของปี 2567 3.มีทีมรับผิดชอบในพื้นที่ ชัดเจน

 

0 4

20. สังเกตการณ์ประชุมคณะอนุกรรมการครั้งที่ 6

วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม ทบทวนและติดตามการดำเนินงานกองทุนของจังหวัดภูเก็ต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ข้อสรุปในการเข้าร่วมโครงการของเครือข่ายโดยการขอทุนสนับสนุนตรงกับ อบจ. ในปีแรก และเตรียมจัดกิจกรรมกลไกพี่เลี้ยงในการเขียนเสนอโครงการในวันที่ 21 พค.2566 ซึ่งนับว่าเป็นการแก้ปัญหาของทีมขับเคลื่อนที่เจอความท้าทายจากการปรับโครงสร้างทีมงาน

 

0 16

21. ถอดบทเรียนการประชุมเชิงปฏิบัติการการเขียนโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุน จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปฏิบัติการการเขียนโครงการสำหรับภาคีเครือข่ายที่สนใจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.โครงการที่ส่งขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 5 โครงการ ดังนี้   1.1 คก.ยกระดับมาตรฐานการจัดการอนามัยสิ่งแวเล้อมความปลอดภัยทางอากาศภายในอาคารของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย-สสจ.ภก.   1.2 คก.พัฒนาเครือข่ายการป้องกันโรคลีเจียนแนร์-สสจ.ภก.   1.3 คก.พัฒนาต้นแบบ ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี-สสจ.ภก.   1.4 คก.ครอบครัวสัมพันธ์ ร่วมสร้างสุขภาวะจังหวัดภูเก็ต-สาขาสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯประจำจังหวัดภูเก็ต   1.5 คก.สูงวัยสุขภาพดี บนวิถีออนไลน์ -สมัชชาสุขภาพจ.ภูเก็ต
2. เกิดกลไกพี่เลี้ยงสนับสนุน โดยคณะอนุกรรมการ+ทีมประเมิน เข้ามาร่วมพัฒนาภาคีในการจัดทำข้อเสนอโครงการ 3. เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม

 

0 14

22. ประชุมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน”

วันที่ 11 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ให้ความรู้ความหมายความสำคัญ หลักการและรูปแบบการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน 2.การฝึกปฏิบัติ (Workshop) หัวข้อ “เทคนิคการเขียนรายงานผลดำเนินการผลการดำเนินงาน” 3.เวทีแห่งการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการประชุมปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน” ผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจในการเขียนรายงานและสามารถเขียนรายงานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเป้าประสงค์ที่ต้องการ อีกทั้งทำให้มีการปรับความเข้าใจในทิศทางการทำงานรวมทั้งเสริมกำลังใจในทีมคณะทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานในปีต่อไป

 

10 10

23. สังเกตการณ์ประชุมภาคีเครือข่ายโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life”

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สังเกตการณ์ สอบถาม พูดคุยกับเครือข่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เกิดกระบวนการทำงานที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้าของทีมได้ตรงตามวัตถุประสงค์ มีผู้เข้าร่วมงานเกินจากเป้าที่กำหนด
  • การลำดับขั้นตอนในการชี้แจ้งรายละเอียดให้กับภาคีเครือข่ายมีรายละเอียดชัดเจนทำให้ได้รับความสนใจ

 

80 70

24. เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่่อดำเนินกิจกรรมในโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “ Phuket : Health for Future of Life

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ทีมงานชี้แจงรายละเอียดการเขียนเสนอกิจกรรมเพื่อร่วมดำเนินการขับเคลื่อนโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ ภูเก็ต :  สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “ Phuket : Health for Future of Life ” ประจำปีงบประมาณ2567
2. ให้หน่วยงานต่างๆ สอบถามและนำเสนอกิจกรรม  ประกอบด้วย แนวคิด ความเป็นมา เนื้อหา รายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 (1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567)

  1. ทีมขับเคลื่อนเป็นพี่เลี้ยงในการเขียนโครงการ

  2. สรุปและรวบรวมกิจกรรมทั้งหมดที่ได้รับการเสนอจากภาคีเครือข่ายทั่วจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการพิจารณาโครงการฯต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เกิดกลไกพี่เลี้ยง/กลไกคณะทำงาน คณะทำงานมีความรู้ที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในเรื่องของการเขียนเสนอโครงการและสามารถบริหารจัดการการทำงานภายใต้ข้อจำกัดของบุคคลากร 2.กลไกการสื่อสารมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมประชุมและยื่นเสนอโครงการไม่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ 3.มีการเสนอโครงการ 20 โครงการ

 

0 60

25. ร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมพิจารณาโครงการ

วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมสังเกตการณ์การพิจารณาคัดเลือกโครงการที่ภาคเครือข่ายส่งมาร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีเครือข่ายเสนอโครงการ มา 21 โครงการ คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณารับเลือกโครงการ 16 โครงการ และนำเสนอต่อจังหวัด 1 โครงการเพราะเป็นปัญหาที่พื้นที่ควรมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน และมีการควบรวมโครงการโดยไปขยายจำนวน เพราะกิจกรรมคล้ายกัน โครงการที่ไม่ผ่านการเห็นชอบ เป็นโครงการที่เป็นงานตามฟีงชั่นของหน่วยงานตนเอง

 

0 12

26. ประชุมทีมสื่อ

วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 10:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม แลกเปลี่ยนความคิด ตามรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตามรายงาน

 

2 2

27. ประชุมติดตามความก้าวหน้าทีมสื่อ

วันที่ 16 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

พูดคุยแลกเปลี่ยนการปรับแผนการทำงาน ปี 2567

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ทีมสื่อมีความเข้าใจวัตถุประสงค์การทำงาน
  2. ทีมสื่อมีแผนการดำเนินงานและทามไลน์การทำงานปี 2567

 

0 2

28. ประชุมเตรียมงานถอดบทเรียนกลไกภูเก็ต

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 เวลา 12:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การเตรียมงานเพื่อการถอดบทเรียน โดยการทบทวนวัตถุประสงค์เพื่อความชัดเจนในเรื่องที่ต้องการเรียนรู้จากกลไกกองทุนภูเก็ต การจัดเตรียมพื้นที่ การรวบรวมข้อมูลที่ช่วยในกระบวนการเรียนรู้ การทบทวนเรื่องการจัดเวลาสำหรับการถอดบทเรียน รวมถึงรายละเอียดโครงสร้างการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีการปรับเปลี่ยนเรื่องการจัดเวลา เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น 2.เตรียมข้อมูลเป็นเอกสารนำเข้าและข้อมูลเพิ่มเติม เช่น รายละเอียดการรับทุน แผนการดำเนินงาน เป็นต้น 3.กำหนดประเด็นคำถามที่มีความชัดเจน กระชับ
4.ทบทวนการกำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมงาน

 

2 2

29. ถอดบทเรียน

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การถอดบทเรียนและวางแผนการดำเนินงานบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์ และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต - Phuket: Health for Future of Life” ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมบูกิตอันดา โรงแรมบูกิตตา บูทีค โฮเทล
08.40 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.15 น. กรอบการดำเนินงานบูรณาการกลไกฯ โดย นางสาวซูวารี มอซู
09.15 – 10.00 น. ผลการดำเนินงานบูรณาการกลไกฯ โดย ดร.ขวัญณภัสสร ชาญทะเล
10.00 – 15.00 น. แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม ทีมขับเคลื่อน ทีมขอรับทุน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
15.00 – 15.30 น. สะท้อนผลการถอดบทเรียน (รายกลุ่ม) วันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 09.00 – 09.30 น. ทิศทางบูรณาการกลไกฯ โดย นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว 09.30 – 12.00 น. แนวทางการดำเนินงานบูรณาการกลไกฯ โดย ดร.ขวัญณภัสสร ชาญทะเล สรุปเติมเต็มข้อมูลรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.การก่อตัวของกลไก:เริ่มต้นด้วยความตระหนักต่อปัญหาในพื้นที่ เริ่มการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ การชักชวนบุคคล ชุมชน หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับประเด็นที่กำลังขับเคลื่อน ประกอบด้วยคนที่ได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ บุคคลหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงกับประเด็น นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่สนใจ โดยอาศัยหลักคิดของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีโครงสร้างกองทุนฯ คณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการฯ **ทีมประเมิน ทีมสื่อ ทำหน้าที่เพื่อสนับสนุน กำกับดูแล ประเมินผล 2.การบริหารจัดการกองทุน
    2.1 การสื่อสาร กองทุนมีการจัดตั้ง Line ชื่อว่า Phuket HFS เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารกับคณะอนุกรรมการ และ Line ชื่อว่า งานกลไกจังหวัดภูเก็ตร่วมกับ อบจ.ภูเก็ต เพื่อความรวดเร็วและความคล่องตัวใน การติดต่อสื่อสาร แจ้งข้อมูลข่าวสารแก่เครือข่าย และยึดหลักการบริหารกองทุนฯ ด้วย POSDCROB PDCA และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2.2 แผนการทำงาน : กำหนดการกำหนดการประชุม คณะอนุกรรมการ 2 ครั้งต่อ 1 เดือนเพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ กำหนดการประชุมคณะกรรมการนโยบาย 2 เดือนต่อครั้ง มีกลไกพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือเครือข่ายในการเขีบยโครงการ มีทีมติดตามงานเข้าร่วมติดตามความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่าย 3 คน/โครงการ 2.3 การพิจารณางบประมาณ : ประเด็นเชื่อมโยงกับ NCDs ภาคีเครือข่ายสุขภาวะภูเก็ต วงเกินไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี ผู้รับทุนต้องร่วมสมทบโครงการ ต้องมีภาคีร่วมดำเนินโครงการ อนุมัติโครงการเดือนละ 2 ครั้ง ทีมติดตามประเมินผลทีมละ 3 คน/โครงการ 3.ผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการ 3.1 จำนวนโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น มีโครงการยื่นเสนอ 5 โครงการได้รับงบประมาณ 3 โครงการและถูกเสนอไประดับจังหวัด 1 โครงการ รวมทั้งมีโครงการรออณุมัติ 14 โครงการ ในปีงบประมาณ 2567 3.2 ขยายเครือข่าย การขยายขอบเขตของโครงการ ฯ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น เด็กและเยาวชน และกลุ่มเปราะบาง ทำให้โครงการมีผลกระทบที่มากกว่าและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น 3.3 เกิดกลไกการทำงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพทำให้โครงการ ฯ มีความสำเร็จและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ 3.4 การบูรณาการงบประมาณร่วมกัน: โครงการนี้ได้สร้างกลไกการบูรณาการงบประมาณร่วมกัน ที่ช่วยให้หลายหน่วยงานและเครือข่ายที่เข้มแข็งร่วมทำงานร่วมกัน แบ่งปันทรัพยากร และสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4.ปัจจัยความสำเร็จ/ไม่สำเร็จในการดำเนินงานโครงการ ปัจจัยความสำเร็จ:     1. เครือข่ายที่เข้มแข็ง     2. การบูรณาการงบประมาณ     3. คณะกรรมการและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจและควบคุมการดำเนินงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ     4. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยความไม่สำเร็จ:     1. การวางแผนและการบริหารเวลาที่ไม่เหมาะสม     2. ครือข่ายที่เข้มแข็งอาจมีสมาชิกที่มีความเหมือนซ้ำกันในเรื่องความรู้และความเชี่ยวชาญ ทำให้เกิดความขาดความหลากหลายในการดำเนินงาน     3. การเปลี่ยนแปลงในนโยบายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอาจส่งผลให้โครงการต้องปรับปรุงแผนการดำเนินงานและทรัพยากรในขณะที่การประยุกต์ใช้นโยบายหรือกฎหมายใหม่อาจเพิ่มความซับซ้อนในการดำเนินงาน     4. สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เสถียรหรือการเปลี่ยนแปลงในตลาดอาจส่งผลให้โครงการไม่สามารถใช้ทรัพยากร

 

50 45

30. เข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบ "ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี " จังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ 2566

วันที่ 11 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สัเกตุการณ์ สอบถาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการบูรณาการหลายหน่วยงานเข้าไปวางแผน ช่วยเหลือครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย 20 ครอบครัว

 

0 20

31. ประชุมถอดบทเรียน​กิจกรรมที่ขอรับทุนสนับสนุน

วันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

*

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

*

 

0 30

32. ประชุมเตรียมงานการเพิ่มเครื่อข่ายเอกชน

วันที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

วางแผน เลือกกลุ่มเป้าหมาย ติดต่อและทำหนังสือเชิญประชุมรวมทั้งทำหมายกำหนดการในการประชุมชี้แจ้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รายชื่อกลุ่มเอกชนที่มีกิจกรรมคล้ายคลึงกับเป้าหมายของโครงการ มีรายชื่อดั่งต่อไปนี้ 1. สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต 2. สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ 3. มูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืนภูเก็ต
4. สมาคมอสังหาริมทรัพย์ 5 สภาอุตสาหกรรมอันดามัน 6. หอการค้าภูเก็ต 7. ชมรมบริหารงานบุคคลภูเก็ต 8.สโมสร​ไลออนไลน์​ภูเก็ต​เพิร์ล​ ภาค​310​B 9.ผู้อำนวยการฝ่ายรับผิดต่อสังคมขององค์กร 10.Director of CSR สโมสรไลออนส์ภูเก็ต

ติดต่อประสานงานด้วยวาจาเพื่อเชิญประชุมในวันที่ 30 กันยายน ร่างกำหนดการประชุม

 

0 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1 เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานร่วมทุนสำหรับการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของประชาชนใน พื้นที่จังหวัดภูเก็ต 2 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคน กลุ่มคน เครือข่าย ให้มีความรู้ ทักษะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4 เพื่อสร้างระบบ กระบวนการ และกลไกการดำเนินงานสุขภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด : 1 เกิดกลไกการดำเนินงานร่วมทุนในการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 2 เกิดการกระจายโอกาสการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยสนับสนุนโครงการที่มุ่งผลลัพธ์การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยสภาพแวดล้อม/ปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 20 โครงการ 3 มีหน่วยงานและภาคีเครือข่ายในการสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของคนภูเก็ตในระดับพื้นที่ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน สมาคม ชมรม และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง 4 ประเด็นการขับเคลื่อน ประกอบด้วย อาหาร สุขภาพจิต บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด โรคอุบัติใหม่ กิจกรรมทางกาย ความปลอดภัยทางถนน มลพิษทางสิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มเปราะบาง การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น ฯลฯ มีสถานการณ์แน้วโน้มลดลง

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1 เพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงานร่วมทุนสำหรับการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของประชาชนใน พื้นที่จังหวัดภูเก็ต 2 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคน  กลุ่มคน  เครือข่าย ให้มีความรู้  ทักษะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4 เพื่อสร้างระบบ  กระบวนการ และกลไกการดำเนินงานสุขภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมวางแผนการจัดกระบวนการประเมินงานบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภูเก็ต (2) สรุปข้อมูลกิจกรรมแถลงข่าวและ Kick off “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต "Phuket: Health for Future of Life" (3) ประชุมติดตามความก้าวหน้า (4) สังเกตการณ์ประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการบูรณากลไกความร่วมมือ (5) สรุปรายงานประเมินความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ งวดที่ 1 (6) สังเกตการณ์ประชุมเตรียมการขับเคลื่อนงาน (7) สังเกตการณ์การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (8) ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด "ภูเก็ต : สุขภาวะแห่งอนาคต" (9) สังเกตุการณ์และให้ข้อเสนอแนะประชุมคณะอนุกรรมการ (10) ประชุมติดตามความก้าวหน้า (11) สังเกตการณ์การประชุมคณะอนุกรรมการ (12) สรุปการประชุมคณะอนุกรรมการฯ (13) รายงานสรุปกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของผู้นำ 3 ชุมชน (14) สรปรายงานความก้าวหน้าประเมินผลการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 2 (15) ร่วมสังเกตการณ์และวิเคราะห์บทบาทของคณะทำงานโครงการฯ ในงาน NODE (16) สรุปผลการติดตามการดำเนินงานกลไกจังหวัดภูเก็ต (17) ถอดบทเรียนการดำเนินงานประเด็นสื่อสารสาธารณะ ประเด็นกลไกระดับจังหวัดภูเก็ต (18) ประชุมสรุปผลการจัดงาน ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life” และวางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป (19) สังเกตการณ์ประชุมคณะอนุกรรมการครั้งที่ 6 (20) ถอดบทเรียนการประชุมเชิงปฏิบัติการการเขียนโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุน จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (21) ประชุมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน” (22) สังเกตการณ์ประชุมภาคีเครือข่ายโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life” (23) เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่่อดำเนินกิจกรรมในโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “ Phuket : Health for Future of Life (24) จัดทำรายงานประเมินความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ งวดที่ 3 (25) ร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมพิจารณาโครงการ (26) ประชุมทีมสื่อ (27) ประชุมติดตามความก้าวหน้าทีมสื่อ (28) ประชุมเตรียมงานถอดบทเรียนกลไกภูเก็ต (29) ถอดบทเรียน (30) เข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบ "ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี " จังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ 2566 (31) ประชุมถอดบทเรียน​กิจกรรมที่ขอรับทุนสนับสนุน (32) ประชุมเตรียมงานการเพิ่มเครื่อข่ายเอกชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


งานประเมินกองทุนจังหวัดภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต

รหัสโครงการ 65-00336

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ดร.ขวัญณพัทสร ชาญทะเล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด