directions_run

ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ”

อำเภอยะหริ่ง

หัวหน้าโครงการ
นายอาหามัด จาลงค์ และ นายธีรพจน์ บัวสุวรรณ

ชื่อโครงการ ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

ที่อยู่ อำเภอยะหริ่ง จังหวัด

รหัสโครงการ - เลขที่ข้อตกลง -

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอยะหริ่ง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี



บทคัดย่อ

โครงการ " ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอยะหริ่ง รหัสโครงการ - ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ธันวาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 180,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

พื้นที่อำเภอยะหริ่งมีประชากรทั้งสิ้น86,684 คน (HDC 1 มค.2560)ความหนาแน่นของประชากร 423 คน/ตารางกิโลเมตรร้อยละ 95.72 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 4.28 นับถือศาสนาพุทธและเป็นหนึ่งใน 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี ที่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งด้านภาษา (ภาษามลายูท้องถิ่น) และการดำเนินชีวิตที่บ่งบอกถึงความคิดความเชื่อ และพฤติกรรมที่เป็นไปตามหลักคิดของศาสนาอิสลามรวมถึงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือปฏิบัติสังคมที่ยังคงความเป็นเครือญาติค่อนข้างสูง การติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันใช้ภาษามลายูท้องถิ่น การยึดมั่นในหลักคำสอนอย่างเคร่งครัด จึงนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ด้านการจัดบริการผู้ป่วยการพัฒนาโรงพยาบาลให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ หรือการเป็นองค์การที่มีคุณภาพ หากวัดด้วยเครื่องมือมาตรฐานต่าง ๆ อาจไม่ได้เป็นคำตอบเดียวที่จะวัดได้ว่าโรงพยาบาลของประชาชน เว้นแต่การได้รับการยอมรับ ศรัทธาของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่พหุวัมนธรรมที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นเรื่องยากและท้าทายในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดบริการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนของผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญการมองผุ้ป่วยเป็นศูนย์กลาง รับรู้ความต้องกาที่แท้จริงของผู้รับบริการและสามารถตอบสนองความต้องการได้นั้น จะนำสู่โรงพยาบาลชุมชนอย่างแท้จริง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อกำหนดรูปแบบที่สอดคล้องกับพหุวัมนธรรม
  2. 2.เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. 1. ประชุมเตรียมงานจัดเวทีชุมชนรับฟังความคิดเห็นเรียบนรู้วิถีชุมชน

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปรายละเอียดกิจกรรมที่จะะดำเนินการจัดเวทีชุมชนรับฟังความคิดเห็นเรียบนรู้วิถีชุมชน - ประธานชมรมจริยธรรมกล่าวรายงานต่อท่านผู้อำนวยการรพ.ยะหริ่ง
    - การเสวนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ : 1. กำหนดรูปแบบการบริการว่าเป็นทางไหน 2. สร้างความพึงพอใจและทำคู่มือต่อไป - ท่านผู้อำนวยการรพ./สสอ.ยะหริ่งกล่าวเปิดประชุมและชี้แจงทิศทางการดำเนินงานด้านสุขภาพของอำเภอยะหริ่ง - แบ่งกลุ่มตั้งประเด็นคำถามเพื่อเสวนา/แลกเปลี่ยนความคิดเห็น "คุณอยากเห็น การจัดการของสานบริการสาธารณสุขอย่างไรบ้าง ? (โรงพยาบาลและรพ.สต.) 1. เจ้าหน้าที่ 2. การจัดสถานที่ 3. ด้านการจัดระบบบริการ - ตัวแทนนำเสนอความคิดเห็นแต่ละกลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อสรุปในการดำเนินงาน สรุปรายละเอียดกิจกรรมที่จะะดำเนินการจัดเวทีชุมชนรับฟังความคิดเห็นเรียบนรู้วิถีชุมชน - ประธานชมรมจริยธรรมกล่าวรายงานต่อท่านผู้อำนวยการรพ.ยะหริ่ง
    - การเสวนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ : 1. กำหนดรูปแบบการบริการว่าเป็นทางไหน 2. สร้างความพึงพอใจและทำคู่มือต่อไป - ท่านผู้อำนวยการรพ./สสอ.ยะหริ่งกล่าวเปิดประชุมและชี้แจงทิศทางการดำเนินงานด้านสุขภาพของอำเภอยะหริ่ง - แบ่งกลุ่มตั้งประเด็นคำถามเพื่อเสวนา/แลกเปลี่ยนความคิดเห็น "คุณอยากเห็น การจัดการของสานบริการสาธารณสุขอย่างไรบ้าง ? (โรงพยาบาลและรพ.สต.) 1. เจ้าหน้าที่ 2. การจัดสถานที่ 3. ด้านการจัดระบบบริการ - ตัวแทนนำเสนอความคิดเห็นแต่ละกลุ่ม

     

    10 10

    2. 2.ดำเนินการจัดเวทีชุมชนรับฟังความคิดเห็นเรียนรู้วิถีชุมชน

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับฟังข้อเสนอแนะ/แสดงความคิดเห็นเพื่อจัดระบบบริการแบบพหุวัฒนธรรม 4กลุ่ม กลุ่มมุสลิม 3 กลุ่ม และพุทธ 1 กลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อสรุป/ความต้องการจากผู้รับบริการต่อการจัดสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลที่เอื้อกับบริบทของชุม - มีการทำศาลาละหมาด มีการปรับเปลี่ยนประตูทางเข้าของผู้หญิง ให้ปกปิดและในศาลาละหมาดมีบอกทิศละหมาด
    - มีมุมอาซานในห้องคลอด - รถอาบน้ำละหมาดเคลื่อนที่ - ผู้ป่วยในมีการแยก หญิงเด็ก และชาย มีม่านกั้นในกรณีต้องเปิดเอารัต มีสถานที่ละหมาดภายในตึก -งานX-ray มีชุดสำหรับผู้หญิงมุสลิม -อาหารได้รับการรับรองฮาลาล -มีการเยี่ยมให้กำลังใจ ในกรณีทั้งเจ้าหน้าที่ที่สูญเสีย รวมถงในชุมชน -มีการจัดกิจกรรมเดือนรอมฎอน โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้และเติมพลัง การยิ้มแย้มของเจ้าหน้าที่ : การยิ้มคือการซอดาเกาะฮฺที่ไม่ต้องลงทุน -การลงเยี่ยม: เยี่ยมทั้งไทยพุทธและมุสลิม

     

    60 60

    3. -อบรมหลักธรรมทางศาสนากับบริการที่มีคุณภาพตามวิถีชุมชน

    วันที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.รวบรวมและวิเคราะห์ 2.ประชุมเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ 3.ดำเนินการตามโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ความสุขกับพหุวัฒนธรรม โจทย์สำคัญ จากเพลงเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมอย่างไร ? -การยอมรับและไม่ยึดติดกับสิ่งใด เช่น ผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้เราเข้าใจความคิด ความรู้สึก ถ้าเราไม่คาดหวังในตัวเขา เราก็จะมีความสุข (พี่สุกี้) -เครื่องดนตรี ศิลปิน หลายอย่างแต่ก็เข้ากันได้ โยงมาถึงโรงพยาบาลเราก็สามารถเชื่อมโยงคนไข้ไทยพุทธ มุสลิมก็สามารถเชื่อมโยงเข้ามาได้ อาจารย์เสริมเรื่องการรักษากระแสหลักและภูมิปัญญาความเชื่อ เป้าหมายเพื่อการดูแลผู้ป่วย องค์กรมีความสุขและตอบโจทย์คนในพื้นที่ (ก๊ะสุไบดะห์) -คุณค่าของความเป็นคนเท่ากันและความสุขอยู่ที่ใจ (กะดะห์) -การมีสติ ใจต้องนิ่ง ทำให้เรารับรู้สิ่งรอบข้างและไม่ยึดติด ทำให้เรามองสิ่งรอบข้างเป็นความสุข และความสุขอยู่ใกล้ๆในทุกเพศทุกวัย ค้นหาที่ใจเราก่อน แค่ใจเราไม่คิดว่าทุกข์ก็สุขแล้ว (พี่พร) อาจารย์เสริมเรื่องเด็ก คือการสร้างเมล็ดพันธุ์เหมือนกับในองค์กรให้เปิดโอกาสให้เด็กๆเข้ามามีส่วนร่วมในงานใหญ่ๆด้วย (เหมือนเพลงเพลงนี้อาจจะแค่ 5 นาที แต่การเดินทางของเพลงนี้ยาวนานเช่นเดียวกับการทำงานองค์กร) -การผสมผสานของเครื่องดนตรีในแต่ละภาคมาในเพลงๆเดียวกัน ทำให้ลงตัว อาจารย์เสริมเรื่องการรักษาแบบพหุวัฒนธรรม ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากัน (พี่เอียด) -การผสมผสานระหว่าเครื่องดนตรีของแต่ละภาค ที่สำคัญคือสามารถเอามารวมกันเป็นเพลงเดียวกัน นักร้องก็หลากหลายทำนองหลากหลายโทน แต่มารวมเป็นเพลงเดียวกัน มองกลับกันว่าความเชื่อต่างกัน วัฒนธรรมต่างกัน แต่ความหลากหลายสามารถนำมาอยู่ร่วมกันได้โดยมีความสุข (แบลีจิต) -วัฒนธรรมต่างถิ่น ต่างพื้นที่ก็ต่างกันแต่ความต่างไม่ได้ทำให้เกิดความแตกแยก เพราะความดีงามของวัฒนธรรมมีอยู่แล้ว ถ้าเรามองความดีงามก็จะมีความสุขและถ้าสิ่งที่ไม่ขัดกับหลักการศาสนาเราก็สามารถนำมาอยู่ร่วมกันได้ (แบเค) -ไทยพุทธและอิสลามก็อยู่ด้วยกันกลมกลืนกัน เหมือนกับเพลง จากเด็กสู่ผู้ใหญ่ ก็อยู่กันแบบญาติมิตร แต่ภาพสื่อที่ทำให้มองออกไปเป็นอีกแบบ (รพ.สต.) อาจารย์เสริมว่า “พหุวัฒนธรรม” จุดร่วมคือ “ความสุข” ใช้การสื่อสารที่ทำให้เข้าใจตรงกัน
    ให้เราเข้าใจแก่นของเรื่องแต่ไม่ต้องยึดที่รูปแบบ พหุวัฒนธรรมคือวิถีธรรมชาติและคือสิ่งที่เราเติบโตขึ้นมา ไม่มีอะไรเป็นเชิงเดี่ยว (คำพูดจากอ.อุษมาน) การให้บริการแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา  ภาพฝันแบบไหน? ที่จะเอาวิถีพหุวัฒนธรรมขึ้นมาและมีแผนที่(บันได)เพื่อให้เราไปถึง .. ภาพฝัน “ใจเขาใจเรา” การบริการที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรม ห้องคลอด ลักษณะการให้บริการ : สูติกรรม เจ้าหน้าที่ ญาติผู้ป่วย และสหวิชาชีพร่วมดูแล ผู้ให้บริการมีบทบาท : -เครื่องแบบเหมาะสม ปกปิดเอารัต มีผ้าคุลมให้ผู้รับบริการหลังคลอด -เจ้าหน้าที่มาทำงานตรงเวลา -กล่าวทักทายให้สลาม ให้ทำทุกเคส ทุกคน -ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้บริการดุจญาติมิตร -ไม่แสดงสีหน้าไม่พอใจ เป็นผู้ฟังที่ดี ตอบคำถามผู้รับบริการได้ -เป็นผู้ประสานงานที่ดี -สถานที่ให้บริการ ตาม 5 ส. -เริ่มต้นการให้บริการด้วยพระนามของอัลลอฮฺ “บิสมิลละฮฺ” -ส่งเสริมให้ผู้ป่วยปฏิบัติศาสนกิจ -มีการอ่านดุอาอฺให้ผู้ป่วยคลอด -มีผู้อาซานในเด็กแรกเกิด โดยญาติหรือเจ้าหน้าที่ชายของห้องคลอด -มีแนวทางการอ่านดุอาอฺตามจุดต่างๆ -คลินิกนมแม่ มีการแบ่งโซนเพื่อปกปิดเอารัตของผู้รับบริการ ผลลัพธ์
    ปัญหา/อุปสรรค -แรงจูงใจแรงผลักดันและแรงสนับสนุนทำให้ขาดความต่อเนื่อง -สถานที่คับแคบ มีการวางแนวทางแก้ไขปัญหา บันไดของผลลัพธ์
    “เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งรอยยิ้ม” COMMENTS : การปรับเปลี่ยนหรืออุปสรรคบางอย่างเกิดขึ้นจากโครงสร้าง
    -ต้องมีการสะท้อนคิดในเรื่อง สุขภาวะของผู้ให้บริการ เช่นเมื่อได้ปฏิบัติศาสนกิจ ไปพร้อมกับการให้บริการจะทำให้เรามีความรักในงานมากขึ้น “การบริการที่สอดคล้องกับวิถีพหุวัฒนธรรม” แพทย์แผนไทยและกายภาพบำบัด -เจ้าหน้าที่พูดเรื่องโรคแทรกกับหลักศาสนา -มีการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือกในการรับบริการเช่น ผู้ป่วยชายและเจ้าหน้าที่ชาย -มีการแบ่งโซนชาย-หญิง -มีมุมหนังสืออิสลามกับการดูแลสุขภาพ/หนังสือพระ -มีการใช้ดนตรีบำบัด บทบาทผู้ให้บริการ
    -การกล่าวทักทาย -การสื่อสารโดยมีการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้รับบริการ
    -ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปฏิบัติ ความเชื่อ
    -เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการและญาติสามารถบอกความต้องการได้ สุขภาวะของผู้ให้บริการ ถ้าเราทำแล้วมีความสุขก็จะทำให้เราอยากทำ ผู้รับบริการ พึงพอใจ ได้นำหลักศาสนาไปปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ
    ปัญหาและอุปสรรค -อาจจะไม่ได้ปฏิบัติในทางเดียวกัน -การสื่อสาร การใช้ภาษา ยังไม่เป็นแนวทางเดียวกัน อาจจะมีปัญหาในด้านการเข้าถึง -สถานที่ไม่มีห้องเฉพาะสำหรับให้คำปรึกษา -ภาวะทางใจส่งผลต่ออาการป่วยทางร่างกายได้ แนวทางการแก้ปัญหา -มีการจัดเวทีสนทนา พูดคุย ให้ความรู้เรื่องหลักปฏิบัติและแนวทางที่จะสื่อสารกับผู้ป่วยและมีการจัดทำ Work-in มีการวัดผลจากการสังเกตและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ
    -การสื่อสาร จะมีการจัดทำเล่มคู่มือ ภาษากับการให้บริการ โดยเป็นศัพท์ที่เกี่ยวกับงานที่เราต้องใช้ และจะมีการใช้วิธีแบบ “เพื่อนสอนเพื่อน” วัดผลจากผู้รับบริการเข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสาร -มีการแบ่งโซนเฉพาะในการให้คำปรึกษา
    แผนการปฏิบัติงาน -จัดทำ work-in -เจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติตามได้จาก work-in ร่วมกับมีการจัดทำคู่มือ -มีการทดลองใช้/ปรับแก้ภาษาถิ่น
    *มีการวางแผนและวางเป้าหมาย COMMENTS
    -ชื่นชมเจ้าหน้าที่ในด้านการทักทาย และคิดว่าจุดนี้น่าจะมีกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีกว่างานอื่น เนื่องจากการฟังเป็นการรักษาอย่างหนึ่ง
    -อาจารย์เสนอให้มีการผลิตสื่อการสื่อสาร โดยทีมงานโสตฯ :ซึ่งมีหน่วยงานวิทยุสามารถเป็นพี่เลี้ยงในการผลิตสื่อ
    -ต้องเพิ่มการอ่านคนไข้ให้แตกว่าสภาวะของผู้รับบริการเป็นอย่างไร ซึ่ง skill ของผู้ปฏิบัติงานก็ต้องมี ในทางกลับกัน ผู้ปฏิบัติงานต้องรับรู้เรื่องผู้รับบริการจะส่งผลให้เกิดความคิด ต้องมีการclear สนามพลังของเราเอง ผู้ที่เป็น Healer ออร่าต้องเบ่งบานเพื่อไปดูแลผู้อื่น
    -สำหรับการชาร์จสนามพลัง/การปฏิบัติศาสนกิจ สำหรับผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการเซ็ตระบบตัวเองใหม่ เช่นเรื่องความโกรธ/เครียดแค้น จะส่งผลให้เราเป็นโรคความดันได้ มีการใช้บทสวดมนต์ ขอดุอาอฺ เดินเหยียบหญ้า (ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อดูแลตนเอง) รพ.สต. ภาพฝันที่เป็นจริง
    -เจ้าหน้าที่ต้องทักทายผู้รับบริการซึ่งมีหลายศาสนา มีการให้บริการอย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มารับบริการกับเรา มีการทักทายด้วยรอยยิ้ม สัมผัสเบาๆด้วยความเป็นห่วง ถามไถ่ -เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยใจ ถ้าใจมามันก็จะออกมาทางดวงตา “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” -ไปเยี่ยมเยียนที่บ้านผู้ป่วย “รู้เมื่อไหร่ ไปเมื่อนั้น” -สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ต้องหัดภาษามลายูด้วย -มีใจให้บริการ ทำใจให้สงบ “ถ้าเรามีปัญหา ก็ให้เราวางภาระไว้ก่อน” -ฟังคนไข้อย่างตั้งใจ บางครั้งคนไข้ไม่ได้จะเอายาอย่างเดียว บางครั้งแค่อยากให้ฟัง
    ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น -ผู้ป่วยกลับมารับบริการอีก แสดงว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจ -ผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยยอมรับ
    -ผู้ป่วยไว้วางใจมารับคำปรึกษาสุขภาพ ปัญหาและอุปสรรค -เจ้าหน้าที่ไม่พร้อมหน้าพร้อมตา เนื่องจากมีประชุมเร่งด่วน มีแผนการปฏิบัติงานแต่ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
    บันได 5 ขั้น
    จุดร่วมคือการสร้างความสุขในองค์กร COMMENTS: -การทำงานบทบาทต้องเชื่อมไปกับเครือข่าย เช่นการเสริมละหมาดโดยผู้นำชุมชน -ทำอย่างไรให้เป็นพื้นที่พหุโดยอยู่ในโครงสร้างของ อบต. ถ้าทำได้จะทำให้ขยับแผนได้ดีขึ้น
    จากประสบการณ์การทำงานเป็นทีมยังไม่เข้มแข็ง ทำให้ทำงานคนเดียวและเหนื่อยคนเดียว การบริการด้านปฐมภูมิ การบริการ : องค์รวม กันเอง ญาติมีส่วนร่วม ผู้ให้บริการ :ทักทายภาษาท้องถิ่น ยิ้มแย้ม แต่งกายเหมาะสม การสื่อสาร : 2 ทางเน้นการรับฟังจากญาติและมาปรับใช้ในการให้บริการ สุขภาวะของผู้ให้บริการ : เป็นต้นแบบได้ ผลลัพธ์ ผู้รับบริการไว้วางใจ พึงพอใจ ไม่มีข้อร้องเรียน ปัญหาและอุปสรรค ผู้ให้บริการไม่สามารถพูดภาษาถิ่นได้ทุกคน ผู้ให้บริการไม่แยกเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวจากกัน ผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ไม่รับผิดชอบ แนวทางการแก้ไข -มีการปรับทัศนคติเชิงบวกในเจ้าหน้าที่ -ผู้ให้บริการมีความพร้อมให้บริการด้วยความเต็มใจ มีการฝึกสมาธิและสติให้กับผู้บริการ COMMENTS: -ความพึงพอใจ ถ้าเราใช้แนวคิดพหุวัฒนธรรม ลองดูว่าตัวไหนมีการเปลี่ยนแปลงเราอาจจะหยิบมาทำ CQI หรือ R2R -การสื่อสารเป็นหัวใจของงานพหุวัฒนธรรม อาจจะไม่จำเป็นว่าต้องพูดได้ทุกภาษา แต่ทำให้มีตัวเชื่อม เนื่องจากรพ.ต้องรองรับผู้ป่วยกลุ่มอื่นอีก เช่นแรงงานต่างด้าว ผู้อพยพ
    IPD
    บริการดุจญาติมิตร ใกล้ชิดชุมชน ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยทุกข์น้อยที่สุด ให้ผู้ป่วยเปิดเผยความทุกข์ในใจ
    -กล่าวทักทายทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย เพื่อสร้างสัมพันธภาพ -พยายามใช้ภาษาถิ่นกับผู้ป่วย สลามจับมือ ซึ่งสัมผัสทำให้ผ่อนคลายลงไปได้บ้าง
    -มีการให้ผ้าคลุม แต่งกายให้เหมาะสมไม่รัดรูปจนเกินไป ทางด้านเจ้าหน้าที่แต่งกายสะอาด มีการสร้างความเชื่อถือให้แก่ผู้ป่วย
    ส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยและญาติ -มีการออกกำลังกายยืดเหยียดทั้งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ -มีการกล่าวดุอาอฺ เหมือนก่อนเข้าโรงเรียน เพื่อเป็นการปลดทุกข์ก่อนให้การรักษา -มีบริการการปฏิบัติศาสนกิจ เช่นรถอาบน้ำละหมาด ทรายตะยะมุม สุขภาวะของผู้ให้บริการ -ผู้บริการมีความพร้อมให้บริการในด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม
    ปัญหาและอุปสรรค -ขาดผู้นำทางศาสนาที่ชัดเจน -ขาดการสนับสนุนและแรงจูงใจ -สถานที่ไม่เอื้ออำนวย การแก้ปัญหา -มีการจัดหาผู้นำทางศาสนาในหอผู้ป่วย โดยมีการคัดเลือกว่าท่านใดสามารถเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยได้ -มีการวางแนวทางปฏิบัติในเจ้าหน้าที่ -มีการเปิดเวทีให้สามารถพูดคุยเปิดเผยเรื่องที่คับข้องใจได้ *ยังมีภาพฝันในการดูแลผู้ป่วย Palliative care ซึ่งต้องการห้องที่มีความพร้อม ผู้ให้บริการศาสนาเดียวกัน เช่นกลุ่มผู้ป่วยทางเดินหายใจที่ยังต้องใช้เครื่อง Oxygen ได้ฟังกุรอ่าน ได้ละหมาด สำหรับผู้ป่วยไทยพุทธระยะสุดท้ายจะมีการนิมนต์พระมาที่เตียง (มีเจ้าหน้าที่ไทยพุทธประสานให้) COMMENTS: -พระอยากได้เข้ามามีส่วนร่วมมีบทบาทมาให้กำลังใจบุคลากรไทยพุทธ รวมทั้งผู้ป่วย (ต้องนิมนต์) ER การดูแลหัวใจด้วยหัวใจ การดูแลหัวใจคนไข้และญาติให้เหมือนหัวใจตัวเอง -ผู้ป่วย ญาติและทีมสหวิชาชีพ ผู้ให้บริการ : -แต่งกายเหมาะสม -มาทำงานตรงต่อเวลา -ปฏิบัติงานเต็มความสามารถ มีพฤติกรรมบริการที่เป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส -รวมเร็ว ถูกต้อง อ่อนโยน -รับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วยและญาติด้วยความใส่ใจ -ก่อนให้หัตถการ มีการกล่าวพระนาม -มีการขอดุอาอฺ สวดมนต์เมื่อผู้ป่วยอยู่ในอาการเจ็บป่วย -ผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้ญาติมีบทบาทในการดูแลเช่นการกล่าวชาฮาดะห์ / สวดมนต์ -มีการจัดทำแนวทางติดไว้เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติปฏิบัติได้ -ใช้ภาษาถิ่น สุขภาวะของผู้ให้บริการ -แข็งแรงทั้งร่างกาย จิตใจ ควบคุมอารมณ์ได้แม้อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ปัญหา -เป็นงานเร่งรีบ ความกดดัน -เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อภาระงาน ผลลัพธ์ ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีการทำงานเกี่ยวข้องกับสหวิชาชีพ สนับสนุนญาติให้อยู่ใกล้ชิด ได้ทำพิธีกรรม เจ้าหน้าที่ปลอบประโลมผู้ป่วย มีการอาบน้ำศพตามหลักการศาสนา COMMENTS: -พหุวัฒนธรรม: ความไม่เข้าใจนำมาซึ่งความขัดแย้งเสมอ การนำพหุมาใช้จะช่วยได้ ช่วยลดเรื่องการฟ้องร้อง พหุสามารถทำให้เหตุที่เกิดขึ้น soft ลงได้ -ต้องมีการใส่ใจที่จะสื่อสาร ทำอย่างไรให้งานสุขภาพจะเป็นการยกระดับจิตใจของคน ซึ่งความเจ็บป่วยจะทำให้เราศิโรราบกับทุกอย่าง ซึ่งเป็นการกระตุ้นเตือนเปรียบเสมือนผู้ให้สัจจะทางศาสนา -อาจารย์ถามว่าเจ้าหน้าที่ ER มี skill ในการเข้าหาผู้ป่วย โดยใช้ทักษะที่ลึกซึ้งในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรจะมีการทบทวนองค์ความรู้ สิ่งที่ฝาก ... มีการแบ่งปันสิ่งที่ดีงามโดยการออกรายการวิทยุออนไลน์ในแต่ละหน่วยงาน เราจะทำอย่างไร ให้คนต่างวัยในโรงพยาบาล ให้คนรุ่นต่อไปมองได้เหมือนคนรุ่นก่อน ? เราควรจะมีการวางแผนทำอย่างไรต่อ ..... เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านคนทำงาน ไม่มีการถ่ายทอดการทำงาน ไม่มี Road map ! ซึ่งรุ่นใหม่และเก่าต้องมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ฝากไปที่บริหารในการจัดเวทีเล็กๆ , การ Conference ควรมีการแนบเนียนในการสื่อสาร ,Best – Bad Practice ในพื้นที่ติดกันไม่เคยเรียนรู้กันทำให้ไม่มีการพัฒนา -ควรมีการนำแผนที่ผลลัพธ์และการเรียนรู้ร่วมกันมาขับเคลื่อน และติดตามผลว่าไปตอบโจทย์ผลลัพธ์หรือไม่ ?

     

    100 100

    4. -อบรมการดูแลเด็กยะหริ่ง Smart kid ด้วยวิถีชุมขน

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การดูแลเด็กยะหริ่ง ด้วยวิถีชุมขนเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานภายใต้ความเข้าใจในแนวทางตามวิถีชุมชน ณ ห้องประชุมใหญ่ รพ.ยะหริ่ง โดยมีกิจกรรมหลัก 1.เปิดพิธีโดย สสอ.ยะหริ่ง .บรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้การเลี้ยงดูเด็กตามวิถีชุมชน(อิสลาม) โดผู้นำศาสนาโต๊อีหม่ามมัสยิดตอหลัง (ร่วมในเครือข่ายชุมชน ตอหลังฟันดี ได้รับรางวัล lion award ระดับประเทศ ปี 2561  3.บรรยายแนวคิดและการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพเด็ก โดยผู้รับผิดชอบงานพัฒนางานและงานอนามัยแม่และเด็ก สสอ.ยะหริ่ง และ 4 แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งเป็นฐาน ดังนี้ ฐานที่1 เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การดูแลเด็กยะหริ่ง ด้วยวิถีชุมขนเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจและสามารถปฏิบัติงานภายใต้ความเข้าใจในแนวทางตามวิถีชุมชน -ก่อนอบรม : ร้อยละ 69 ของเจ้าหน้าที่เข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ภายใต้ความเข้าใจในแนวทางตามวิถีชุมชน ระดับพอใช้ -หลังอบรม : ร้อยละ 88 ของเจ้าหน้าที่เข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ภายใต้ความเข้าใจในแนวทางตามวิถีชุมชน ระดับดี

     

    120 120

    5. -ดำเนินการพัฒนาคุณภาพบริการตามวิถีชุมชน โดยกระบวนการ CQI R to R และนวัตกรรม

    วันที่ 1 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำแผน โรงเรียนพ่อแม่1 สัญจรในรพ.สต. 6 ครั้ง/ปี (นำร่อง) โดยทีมMCH Board                อ.ยะหริ่ง   2. เพิ่มการให้ความรู้ แก่พ่อแม่และผู้ปกครองเด็ก โรงเรียนพ่อแม่ 4   3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม เป็นประชุมเชิงปฏิบัติการ แบ่งกลุ่มเป็นฐานการเรียนรู้     - ฐานที่ 1 การนับลูกดิ้น
          - ฐานที่ 2 โภชนาการ และนมแม่     - ฐานที่ 3 การกินยาเสริมธาตุเหล็กและ       แคลเซียม

    - ฐานที่ 4 รู้จักความเสี่ยงของตนเอง(จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก)     - ฐานที่ 5 การเตรียมตัวคลอดและเยี่ยมชมห้องคลอด   4. มีวิทยากรร่วมในชุมชนที่เป็น ผดบ. ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิงพหุวัฒนธรรม   5. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ด้วยสื่อ แผ่นพับ คู่มือ ไวนิล ตามบริบท   6. ติดตามประเมินผลโดยทีมMCH Boardอ.ยะหริ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การพัฒนาคุณภาพ รูปแบบกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน
    โรงพยาบาลยะหริ่ง

    บริบท (ปัญหา)
    1. ในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กยังพบอุบัติการณ์ หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ส่งผลให้  เกิดความเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์และคลอด จนเกิดอันตรายทำให้มารดาตาย

    เป้าหมาย  1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แบบ           พหุวัฒนธรรม         2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเองและทารกในครรภ์ SMART
              MOM TO SMART KIDS ตามบริบทพหุวัฒนธรรม

    กระบวนการดำเนินงาน
    แบบเดิม แบบใหม่ (ที่เปลี่ยนแปลง) 1. ร่วมกันจัดทำเนื้อหา
    2. รูปแบบการให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ ใช้วิธีบรรยาย
    มีสไลด์ power point ประกอบการบรรยาย และนำเยี่ยมชมห้องคลอด 3. ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด โดย
      1) รพ.สต.ทุกแห่งในอำเภอยะหริ่ง เป็นผู้จัดกิจกรรมให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ – อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ (รร.พ่อแม่1)   2) โรงพยาบาลยะหริ่ง เป็นผู้จัดกิจกรรมให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป (รร.พ่อแม่2)
      1. จัดทำแผน โรงเรียนพ่อแม่1 สัญจรในรพ.สต. 6 ครั้ง/ปี (นำร่อง) โดยทีมMCH Board                อ.ยะหริ่ง   2. เพิ่มการให้ความรู้ แก่พ่อแม่และผู้ปกครองเด็ก โรงเรียนพ่อแม่ 4   3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม เป็นประชุมเชิงปฏิบัติการ แบ่งกลุ่มเป็นฐานการเรียนรู้     - ฐานที่ 1 การนับลูกดิ้น
        - ฐานที่ 2 โภชนาการ และนมแม่     - ฐานที่ 3 การกินยาเสริมธาตุเหล็กและ       แคลเซียม - ฐานที่ 4 รู้จักความเสี่ยงของตนเอง(จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก)     - ฐานที่ 5 การเตรียมตัวคลอดและเยี่ยมชมห้องคลอด   4. มีวิทยากรร่วมในชุมชนที่เป็น ผดบ. ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิงพหุวัฒนธรรม   5. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ด้วยสื่อ แผ่นพับ คู่มือ ไวนิล ตามบริบท   6. ติดตามประเมินผลโดยทีมMCH Boardอ.ยะหริ่ง


    ตัวชี้วัดที่สำคัญ

    ข้อมูล/ตัวชี้วัด เป้าหมาย (ร้อยละ) ปี2560 ปี2561 ปี2562 ตค-ธค. -อัตราทารกคลอดน้ำหนัก < 2500 กรัม < 7 4.91 6.90 6.86 -อัตราการคลอดในโรงพยาบาล 100 99.49 99.01 95.35 -จำนวนทารกตายในครรภ์(DFIU)    0 - - - -อัตราความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม >80


    ผลลัพธ์ 1. เกิดการทบทวนระบบงานและปรับรูปแบบการดำเนินงาน ได้แนวทางการปฏิบัติงาน

      ปัญหา/อุปสรรค       กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม รร.พ่อแม่ ค่อนข้างน้อยเนื่องจาก
        ด้านผู้รับบริการ
                  1) ไม่มาตามนัด บางคนทำงานต่างถิ่น ไม่อยู่ในพื้นที่               2) หญิงตั้งครรภ์คนเดิม ตั้งครรภ์ใหม่ไม่อยากฟังซ้ำรูปแบบเดิม               3) สามีเข้าร่วมกิจกรรมน้อย อายเนื่องจากอยู่รวมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์หลายคน                 ในสถานที่คับแคบ
        ด้านผู้ให้บริการ
                  1) ลืมนัด
                  2) ภาระงานมาก,วันที่นัดติดประชุมไม่ได้ดำเนินการ
                  3) ไม่มีเครื่องมือในการประเมินผลความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากกิจกรรม               4) รูปแบบการให้ความรู้ยังขาดการมีส่วนร่วมของสามี

    บทเรียนที่ได้รับ 1. การใส่ใจ(ปัญหา)และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของผู้ให้บริการจะทำให้การบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ภาคผนวก

    แบบประเมินผลการให้ความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนพ่อแม่ 1. แบบบันทึกลูกดิ้น 2. แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภค 3. แบบทดสอบความรู้การบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ 4 .สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 5. การประเมินเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหญิงตั้งครรภ์ 6. การดูแลสุขภาพแม่ลูกขณะตั้งครรภ์ 7. การใช้ยาขณะหญิงตั้งครรภ์ 8.การประเมินเรื่องทันตสุขภาพ...ในหญิงตั้งครรภ์ การประเมินเรื่องการนับลูกดิ้น 1. การนับลูกดิ้น ควรนับตั้งแต่อายุครรภ์เท่าไรและนับอย่างไร เพื่อลดโอกาสทารกเสียชีวิต ( ถ้ารวมกันทั้ง เช้า-เที่ยง-เย็น ลูกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง ให้รีบมาพบแพทย์)
                ได้    ไม่ได้ 2. ท่านได้นับลูกดิ้นอย่างไร
                ทุกวัน
                < 2 วัน/สัปดาห์
                > 3 วัน/สัปดาห์
                ไม่ได้นับเลย 1. ถ้าพบว่าลูกดิ้นน้อยท่านจะทําอย่างไร ระบุ..........................................................................


    การประเมินพฤติกรรมการกินอาหารหญิงตั้งครรภ์ พฤติกรรมการกินอาหาร ความถี่ในการรับประทานอาหาร 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ 1-2 ครั้ง/ สัปดาห์ ไม่เคยกิน หรือ 1-2 ครั้ง/ สัปดาห์ 1. กินอาหารเช้าที่มีกลุ่มอาหารอย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าว-แป้ง และเนื้อสัตว์
    2. กินอาหารหลัก วันละ 3 มื้อ โดยอาหารที่กินประกอบด้วย 2.1 อาหารกลุ่มข้าว – แป้ง
    2.2 อาหารกลุ่มผัก
    2.3 อาหารกลุ่มผัก ผลไม้ต่างๆ
    2.4 อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ ตับ เลือด ไขมัน
    2.5 ดื่มนมจืด
    2.6 อาหารที่มีน้ำมันและไขมัน เช่น ทอด/ผัด
    2.7 ดื่มน้ำอัดลม ดื่มสุรา เบียร์และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    2.8 กินขนมกรุบกรอบ ปลาเส้นปรุงรส ขนมปังเวเฟอร์เยลลี่ ลูกอม
    3. ใช้เกลือเสริมไอโอดีนหรือน้ำปลาเสริมไอโอดีนปรุงอาหารทุกครั้ง

    การทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ ชื่อ-สกุล................................................ HN…………………….ครรภ์ที่.............
    อายุ  ต่ำกว่า 20 ปี   20-30 ปี  31-40 ปี  41-50 ปี
    การศึกษาไม่ได้เรียน  ประถม  มัธยมปลาย   อนุปริญญาหรือเทียบเท่า / ปริญญาตรี
    อาชีพ แม่บ้าน ค้าขาย  ทำนา/ทำสวน รับจ้าง พนักงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ  ข้าราชการ  อื่นๆ

    .................... 1. หญิงตั้งครรภ์ควรกินอาหารให้ครบ 5 กลุ่มอาหารทุกวัน ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และกลุ่มนม
    .................... 2. อาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายคือ พวกเนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ................... 3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักมาก ไม่ควรทานเนื้อสัตว์และอาหารทะเลเพราะมีไขมันสูง .................... 4. หญิงตั้งครรภ์ควรดื่มนมจืดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 แก้ว .................... 5. คนที่ไม่ชอบดื่มนมวัว สามารถดื่มนมถั่วเหลืองและกินปลาเล็กปลาน้อยแทนได้ .................... 6. หญิงตั้งครรภ์มักจะท้องผูก ควรทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำให้มากๆ .................... 7. หญิงตั้งครรภ์ควรจะทานไข่ทุกวัน อย่างน้อยวันละ1 - 2 ฟอง .................... 8. หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผักทุกชนิด และผลไม้รสไม่หวานจัด .................... 9. เกลือไอโอดีนเป็นสารอาหารที่ช่วยป้องกันโรคคอพอก .................... 10. เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายและไขมันน้อย ได้แก่ เนื้อปลา .................... 11. คนที่ไม่ชอบกินผัก ควรกินผลไม้แทนเพราะได้วิตามินเหมือนกัน .................... 12. หญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ จะทำให้คลอดก่อนกำหนดและเด็กมีน้ำหนักน้อย


    การประเมินเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหญิงตั้งครรภ์

    1. ระหว่างการฝากครรภ์ เคยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลให้ข้อมูลเรื่องผลดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ (บอกผลดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2 ข้อ ..โภชนาการ ภูมิคุ้มกัน ความผูกพัน ประโยชน์ต่อสุขภาพแม่)     ได้  ไม่ได้
    2. เคยมีเจ้าหน้าที่พูดถึงเรื่องต่อไปนี้หรือไม่ ( บอกได้อย่างน้อย 2 หัวข้อ)

    - ความสําคัญของการให้ลูกดูดนมแม่โดยเร็วภายหลังคลอด            ได้  ไม่ได้ - ความสําคัญของการให้ลูกกับแม่อยู่ห้องหรือเตียงเดียวกัน          ได้  ไม่ได้ - ท่ากินนมของลูกและแม่ และการอมหัวนมของลูก                ได้  ไม่ได้ - ความสําคัญของการให้นมทุกครั้งเมื่อลูกต้องการ                ได้  ไม่ได้ - แม่ทําอย่างไรจึงจะมีน้ำนมพอ                            ได้  ไม่ได้ - ความสําคัญของการให้นมแม่เพียงอย่างเดียว                  ได้  ไม่ได้ 3. ปัจจุบันหัวนม /เต้านม ท่านเป็นอย่างไร     ปกติ  ผิดปกติ ระบุ........................................................................ 4. ท่านตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานเท่าไร ..................................เดือน


    การดูแลสุขภาพแม่ลูกขณะตั้งครรภ์ 1. ท่านได้ลูบท้อง/พูดคุยกับลูกในขณะตั้งครรภ์         ทุกวัน  < 2 วัน/สัปดาห์  > 3 วัน/สัปดาห์    ไม่เลย
    2. ท่านได้เปิดร้องเพลงเบาๆเย็นๆให้ลูกฟังในขณะตั้งครรภ์
            ทุกวัน  < 2 วัน/สัปดาห์  > 3 วัน/สัปดาห์    ไม่เลย 3. อาการหรือภาวะเสี่ยงที่ต้องไปพบแพทย์มีอะไรบ้าง (บอกได้อย่างน้อย 4 อาการ)   - แพ้ท้องมากกว่าปกติ            ใช่    ไม่ใช่   - ปวดท้อง/ท้องแข็ง              ใช่    ไม่ใช่   - ลูกดิ้นน้อย                  ใช่    ไม่ใช่
      - เหนื่อยมากกว่าปกติ ใจสั่น          ใช่    ไม่ใช่
      - บวม                      ใช่    ไม่ใช่   - มีน้ำเดิน/มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด  ใช่    ไม่ใช่
      - เกินกําหนดคลอดแต่ไม่มีอาการนําคลอด  ใช่    ไม่ใช่   - ไข้สูง                      ใช่    ไม่ใช่
      - ปวดศีรษะ ตาพร่า ชัก            ใช่    ไม่ใช่


    การใช้ยาขณะหญิงตั้งครรภ์

    1. บอกความสําคัญของการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก             ได้        ไม่ได้
    2. ท่านรับประทานยาบํารุงธาตุเหล็กอย่างไร             ทุกวัน      ลืม < 2 วัน/สัปดาห์    ลืม > 3 วัน/สัปดาห์
    3. ท่านรับประทานแคลเซียมอย่างไร             ทุกวัน      ลืม < 2 วัน/สัปดาห์    ลืม > 3 วัน/สัปดาห์
    4. การรับประทานยา( แคลเซียม,ยาบํารุงธาตุเหล็ก) ในระหว่างตั้งครรภ์ถูกวิธี             ถูกต้อง    ไม่ถูกต้องบางครั้ง    ไม่ถูกต้อง
    5. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหรือพยาบาลทุกครั้งที่ต้องใช้ยาอื่นๆ   ปรึกษา    ไม่ปรึกษาบางครั้ง    ไม่ปรึกษา

    แบบฝึกหัดการบันทึกลูกดิ้น

    นางสาววรนุช ตั้งครรภ์ได้ 33 สัปดาห์
    วันนี้นับลูกดิ้น ช่วง 7.45 – 8.45 น. นับได้ 5 ครั้ง


    นางสาวแมะเยาะ  สาแม ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์
    หลังกินข้าวเย็นช่วงเวลา 19.00 – 20.00 น. นับลูกดิ้นได้ 2 ครั้ง


    นางสาวดารีซะห์ ตั้งครรภ์ได้ 34 สัปดาห์ หลังกินข้าวเที่ยง นับลูกดิ้นได้ 6 ครั้ง ใน 1 ชม.

     

    5 5

    6. -ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ (บริการพหุวัฒนธรรม)

    วันที่ 13 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ส่งสื่อไปในทุกพื้นที่ในรพ.สต. ของอำเภอยะหริ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -กลุ่มเป้าหมายที่รับบริการและในชุมชนมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น และมีความพึงพอใจในสื่อที่ใช้

     

    21 21

    7. -สื่อสารทันตสุขภาพในงานอนามัยแม่และเด็ก

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผลิตสื่อไวนิลแปรงฟันถูกวิธี จำนวน 20 ผืน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายที่รับบริการและในชุมชนมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น และมีความพึงพอใจในสื่อที่ใช้

     

    20 20

    8. -จัดเวทีถอดบทเรียนการดำเนินการจัดบริการภายใต้พหุวัฒนธรรม

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยน ผลการดำเนินงานในแต่ละชุมชน ในอำเภอยะหริ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คู่มือฉบับใหม่ในงานอนามัยแม่และเด็ก จากการลงมือปฏิบัติของโรงพยาบาล
    การให้บริการตรวจครรภ์ในหญิงมีครรภ์ รพ.ยะหริ่ง 1. ผู้ให้บริการต้องเป็นเพศเดียวกันกับผู้รับบริการ ถ้าไม่สามารถเลี่ยงได้ ต้องไม่ปฏิบัติการพยาบาลสองต่อสอง ต้องมีญาติที่ใกล้ชิดอยู่ด้วยทุกครั้ง 2.ในกรณีที่ผู้รับบริการหญิงตั้งครรภ์ต้องการตรวจครรภ์กับผู้ให้บริการที่เป็นเพศเดียวกัน ทางรพ.ดำเนินการดังนี้     - เลื่อนนัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไปให้ตรงกับผู้ให้บริการที่เป็นแพทย์ผู้หญิงโดยคำนึงถึงความปลอดภัย
        - ประสานแพทย์ผู้หญิงมาตรวจแทนกรณีที่ไม่สามารถเลื่อนนัดได้
    ทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ 3. กระทำในสถานที่มิดชิด เช่น การปิดม่าน โดยต้องไม่เปิดเผยร่างกาย หรือ อวัยวะให้ผู้อื่น ที่ไม่ใช่ญาติใกล้ชิด
    1. ภายในอาคาร หรือ ห้องพักผู้ป่วยควรแสดงทิศของการละหมาด
    2. มีอาคาร/สถานที่ละหมาดที่สะอาด เงียบสงบ และกว้างขวางเพียงพอต่อจำนวนผู้มาใช้บริการ โดยแยกเป็นสัดส่วนระหว่างผู้ชายและผู้หญิง 3. ส่งเสริมการละหมาดบนเตียงในผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวอยู่บนเตียง เนื่องจากข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว เช่น การคาสายต่างๆ ตามร่างกาย 4. การจัดให้อุปกรณ์ช่วยด้านการส่งเสริมจิตวิญญาณ เช่น หนังสือดุอาอ์ บทซิกิรฺ คัมภีร์อัลกุรอ่าน หนังสือหรือบทความที่เกี่ยวข้องกับศาสนา บริการหนังสือตั้งชื่อตามหลักศาสนา ทั้งพุทธและอิสลาม รวมทั้งบทความที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา 5. จัดมุมอาซานสำหรับทารกแรกเกิด 6. จัดบริการจิตอาสาทำอาซานทารกแรกเกิดในครอบครัวที่ไม่พร้อม 7. รับบริการแจ้งเกิด โดยรับยื่นเอกสาร เพื่อนำส่งทะเบียนราษฎร์ และนัดวันรับสูติบัตรที่ห้อง UC

    1. เน้นอาหารฮาลาล ที่เตรียมจากครัวฮาลาล โรงพยาบาลยะหริ่ง ถูกหลักการทางศาสนาอิสลาม
      (ปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นข้อห้าม เช่น สุกร และ สิ่งที่มีส่วนผสมจากเหล้า)

    2. ส่งเสริมให้ทุกเทศกาล งานบุญ งานประเพณี ให้เป็นให้ปรับวิถีการดูแลตนเอง เช่น ในช่วงเทศกาลการถือศีลอด 2.ปรับวิธีการดูแลตนเอง เรื่องการกินยา ในช่วงเทศกาลการถือศีลอด(เดือนรอมฏอน) โดยปรับช่วงเวลา มื้อเช้า เปลี่ยนเป็นเวลา หัวรุ่ง=ซาโฮ (04.00 น.) มื้อเที่ยงเปลี่ยนเป็น เวลา เปิดปอซอ(18.30 น.) มื้อเย็นเปลี่ยนเป็นเวลา เที่ยงคืน
      3.การตรวจภายใน 45 วัน หลังคลอด ถ้าตรงช่วงเดือนเทศกาลการถือศีลอด(เดือนรอมฏอน) หากผู้รับบริการประสงค์ขอเลื่อนนัดได้ เพื่อให้ทำศาสนกิจได้โดยสมบูรณ์

    3. มีบริการอินทผาลัมแจกญาติที่มาเฝ้ามารดารอคลอดและหลังคลอดตลอดเดือนรอมฏอน จากชมรมมุสลิมโรงพยาบาลยะหริ่งและชุมชน

    การสร้างเสริมสุขภาพวิถีอิสลามในกลุ่มแม่และเด็ก 1.เปิดโอกาสให้ผู้นำศาสนาของทุกหมู่บ้านในตำบลมาเป็นเครือข่าย เป็นส่วนหนึ่งในงานอนามัยแม่และเด็ก โดยมีขั้นตอนตั้งแต่ [1] ก่อนที่ชายและหญิงจะแต่งงาน จะมีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านศาสนาและด้านสุขภาพ การใช้ชีวิตคู่ [2] ตอนทำพิธีแต่งงานจะมีการนาฮีฮัต(ตักเตือน) ให้โอวาทและความรู้ กำชับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก รวมไปถึงเน้นย้ำให้ฝากครรภ์กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ รพ.สต. หรือที่โรงพยาบาลเป็นต้น

    1. ร่วมมือเครือข่าย ได้แก่ โต๊ะบีแดหรือผดุงครรภ์โบราณ ผู้นำศาสนา และ อสม. มาเป็นเครือข่ายในการดูแลหญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอด โดยส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มาฝากครรภ์ก่อน 12ให้ความรู้ ปรับวิธีคิด ในความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับหลักการอิสลาม โดยให้ผู้นำศาสนาเป็นผู้สอน ผู้อธิบาย ด้วยวิธีการค่อยเป็นค่อยไป ค่อยปรับค่อยแก้ และให้ความรู้ด้านทางการแพทย์ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจแก่โต๊ะบีแดในการดูแลและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์มาที่โรงพยาบาลรวมถึงการนวดหลังคลอด

    2. สร้างวิถีอิสลามให้มีในตัวเจ้าหน้าที่และในโรงพยาบาล เช่น การแต่งกายที่เหมาะสมถูกต้องตามหลัก มีบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับอิสลาม เช่น การยิ้ม การทักทายด้วยการให้สลาม การขอพร(ดุอาร์) การปฏิบัติดูแลเสมือนญาติมิตร และการสร้างบรรยากาศในโรงพยาบาลให้เอื้อต่อการทำ  อิบาดะห์ (ประกอบศาสนากิจ)

    3. การจัดกิจกรรมให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์และสามี(โรงเรียนพ่อแม่ 1 และ พ่อแม่ 2 )เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ 5.เปิดให้บริการ Case Early ANC รายใหม่ทุกวัน เพื่อตอบสนองต่อผู้รับบริการที่มีปัญหาเช่น วันให้บริการไม่ตรงกับวันหยุดของผู้รับบริการ (ผู้รับบริการที่กลับจากทำงานต่างถิ่น ,ที่ทำงานมาเลย์)และในชุมชนมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
    4. กิจกรรมตำบลนมแม่ จนเกิดนโยบายสาธารณะในหมู่บ้านเช่นในตำบลตอหลัง ที่ขับเคลื่อนโดยโต๊ะอีหม่าม ผู้นำท้องถิ่น แลท้องที่ จนเกิดข้อตกลงเรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และไม่มีนมผสมสำหรับทารกจำหน่ายในชุมชน

     

    40 40

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อกำหนดรูปแบบที่สอดคล้องกับพหุวัมนธรรม
    ตัวชี้วัด : 1.รพ.มีคู่มือและแนวทางบบริการให้สอดคล้องกับวิถี มุสลิม และพุทธ

     

    2 2.เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ
    ตัวชี้วัด : 2.โรงพยาบาลได้รับความพึงพอใจต่อการจัดระบบบริการที่สอดคล้องกัวิถีชุมชน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อกำหนดรูปแบบที่สอดคล้องกับพหุวัมนธรรม (2) 2.เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี จังหวัด

    รหัสโครงการ -

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายอาหามัด จาลงค์ และ นายธีรพจน์ บัวสุวรรณ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด