directions_run

แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ”



หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ,ดร.เพ็ญ สุขมาก

ชื่อโครงการ แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ 58-04288 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2397

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 31 มีนาคม 2560


กิตติกรรมประกาศ

"แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา



บทคัดย่อ

โครงการ " แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ 58-04288 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2558 - 31 มีนาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 400,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 7 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.การผลักดันให้ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาเป็นแผนปฏิบัติงานของจังหวัด อปท. และหน่วยอื่นๆ เกิดโครงการและกิจกรรมการจัดการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการที่สมวัย
  2. 2. จัดทำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดยใช้ข้อมูลข้าวทั้งระบบเป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานผลักดันยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
  3. 3. การขยายพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการของตำบลควนรู และตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา ไปสู่ 5 อปท.ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีที่ 1เป็นการจัดการระบบข้อมูลความมั่นคงอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
  4. 1. จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการ และติดตามประเมินผล อย่างน้อยจังหวัดละ2 ครั้ง 2. รวบรวมชุดความรู้เรื่องอาหาร ในพื้นที่ คัดเลือกที่มีรูปธรรมชัดเจน เพื่อผลักดันให้รัฐและท้องถิ่นนำไปใช้ในการวางแผนระดับจังหวัด และแผนระดับท้องถิ่น(โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากโครงการบูรณาการอาหารจังหวัดสงขลา ซึ่งสนับสนุนโดยสำนัก5)
  5. งานสร้างสุขภาคใต้ระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 นำเสนอประเด็นความมั่นคงทางอาหาร วันที่ 4 ตุลาคม 2559

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมระดมความคิดเห็นการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุง

    วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการศูนย์ประสานวิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้
    2. ชี้แจงเป้าหมายการพัฒนาโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และแนวทางการสนับสนุนทุนให้โครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดเครือข่ายนักวิชาการมาร่วมดำเนินโครงการผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดยให้มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นแกนนำในการดำเนินโครงการ

     

    30 25

    2. ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานพัฒนาแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 1 วันที่ 27 พ.ค. 2559 เวลา 09.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุม 1401 ชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เข้าร่วมประชุม 19 คน

    วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การรวมรวมเอกสารแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา ปี 2560 วิสัยทัศน์จังหวัดสงขลา
    แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา แผนยุทธศาสตร์ อบจ.
    และแผนยุทธศาสตร์เทศบาลนครหาดใหญ่ มาทบทวนประกอบเป็นแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการที่ได้รวบรวมแนวทางการพัฒนาจังหวัดสงขลาเพื่อจัดทำแผนงาน โครงการ ( 2560-2561) โดยมีคณะทำงานวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการ ประกอบด้วย สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ นักวิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้บริหารโรงเรียนศรีนคร ผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ หอการค้าจังหวัดสงขลา ผู้บริหารมูลนิธิชุมชนสงขลา และกองแผนงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันจัดทำโครงการทบทวน วิเคราะห์และจัดทำแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา โดยนำประเด็นแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารเป็นวาระหนึ่งที่บรรจุในแผนปฏิบัติการของจังหวัดสงขลา เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบความมั่นคงอาหาร ซึ่งที่ประชุมได้วางเป้าหมายการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  วิสัยทัศน์จังหวัดสงขลา วาระสงขลาเฉลิมพระเกียรติ ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัด แผนทรัพยากรมนุษย์ 15 ภาคีคนรักสงขลา แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาปี 2558 – 2562  แผนจัดการการท่องเที่ยว ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดสงขลา ผลการศึกษาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และแผนพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่
    ซึ่งที่ประชุมได้จัดกลุ่มยุทธศาสตร์ตามประเด็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสังคม และด้านสุขภาพ

     

    19 20

    3. ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานพัฒนาแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 2 วันที่ 3 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00-16:00 น. ณ ห้องประชุม 1401 ชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เข้าร่วมประชุม 12 คน

    วันที่ 3 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แบ่งความรับผิดชอบในการดำเนินการรวมรวบข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการประชุม คณะทำงานวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการฯ ได้สรุปวิสัยทัศน์จังหวัดสงขลา “สงขลาเมืองแห่งการเรียนรู้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สังคมเป็นสุขและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” และได้แบ่งยุทธศาสตร์ออกเป็น 5 ประเด็น คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษาและด้านสิ่งแวดล้อม  และมอบหมายให้คณะทำงานฯ รับผิดชอบการทบทวนเอกสาร 1) ด้านเศรษฐกิจ : รับผิดชอบโดยทีมหอการค้า/มูลนิธิชุมชนสงขลา/ภาคเอกชน 2) ด้านการศึกษา : อ.ศักดิ์ชัย/อ.วิวัฒน์/อ.ปราโมทย์ 3) ด้านสังคม : สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ. 4) ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม : สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ. 5) ด้านสุขภาพ : สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.อ.

     

    12 10

    4. ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานพัฒนาแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 3 วันที่ 14 มิถุนายน 2559 มีเวลา 13:00-16:00 น. ณ ห้องประชุม 1401 ชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เข้าร่วมประชุม 11 คน

    วันที่ 14 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมยุทธศาสตร์ ทบทวน Grouping ประเด็นสำคัญ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กำหนดเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์


    ด้านสังคม

    • การเพิ่มขีดความสามารถ / ศักยภาพของคนสงขลา

    • การสร้างชุมชนเข้มแข็ง

    ด้านสุขภาพ

    • การเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพของภาคใต้

    • การเป็นศูนย์กลางอาหาร เน้นความมั่นคงทางอาหารและวัฒนธรรมอาหาร

    สิ่งแวดล้อม

    • การจัดการน้ำ

    • การจัดการขยะ

    • การจัดการ

    การกำหนดกลุ่มเป้าหมายการทำแผน /โครงการทั้ง 3 ยุทธศาสตร์รวมหน่วยงาน ทั้งหมด 51 หน่วยงานประกอบด้วยหน่วยงานรัฐ อปท. มหาวิทยาลัย และเอกชน

     

    11 11

    5. ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานพัฒนาแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 4 วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00-12:00 น. ณ ห้องประชุม 1401 ชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เข้าร่วมประชุม 10 คน

    วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    Grouping ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจและด้านการศึกษา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


    1. ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ กำหนดประเด็นตั้งต้นในการอภิปราย เปิดเวทีให้ key stakeholders แสดงความคิดเห็น คือ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้านการเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยวชุมชนโดยเพิ่มมูลค่าในเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยการทำ Matching Model ระหว่างภาคเอกชน ชุมชน และวิชาการ,
    • ยกระดับผลผลิต OTOP โดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน
    1. ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา มีประเด็นตั้งต้นในการอภิปราย เปิดเวทีให้ key stakeholders แสดงความคิดเห็น คือ

    - คุณภาพการศึกษา เน้นให้คนสงขลามีความรู้ และมีคุณธรรม - ยกระดับการศึกษาของจังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาเมืองสงขลา
    - ยกระดับงานวิจัย หรือนวัตกรรม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมด้านการเกษตร เป็นต้น

     

    10 0

    6. ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานพัฒนาแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 5 วันที่ 24 มิถุนายน 2559 เวลา 10:00-12:00 น. มีผู้เข้าร่วมประชุม 7 คน ณ ห้องประชุม 1405 ชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เข้าร่วมประชุม 10 คน

    วันที่ 24 มิถุนายน 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วาระ ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการที่จะให้มีการดำเนินการในยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาและเศรษฐกิจ

    ประเด็นการศึกษา

    โครงการที่เสนอ

    • รู้รอดปลอดภัย : ให้ความรู้ และปลูกจิตสำนึกเรื่องกฎจราจรในโรงเรียนทุกโรงเรียนของจังหวัดสงขลา และผลักดันเป็นหลักสูตรท้องถิ่นพร้อมทั้งมีการจัดสอบให้ได้ใบรับรอง (certificate) โดยแบ่งเป็นระดับประถม มัธยมศึกษา เช่น มีระดับ 1-6 เมื่อนักเรียนมีอายุครบ 15 ปี สามารถนำใบรับรองไปสอบภาคปฏิบัติเพื่อขอรับใบขับขี่โดยไม่ต้องสอบภาคทฤษฎีอีก

    • เก่งใช้ภาษาและเทคโนโลยี : เปิดสอนภาษาจีนหรือภาษาอื่นๆ สำหรับบุคคลทั่วไป  โดยให้หน่วยงานที่มีความพร้อมของบประมาณจากจังหวัดเพื่อจัดการเรียนการสอน ซึ่งต้องเป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง  และมีการมอบใบรับรอง (certificate) ที่ออกโดยองค์กรที่เป็นที่ยอมรับให้กับผู้ที่เข้าเรียน

    • ปัญญาประเทือง : พัฒนาศูนย์เรียนรู้ หรือสร้างห้องเรียนแบบ delivery ใช้เป็นสื่อในการให้ความรู้แก่ชาวบ้านที่ยากแก่การเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์, มี open classroom ที่เข้าถึงง่าย  เน้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนได้ เมื่อต้องการความรู้ในเรื่องต่างๆ

     

    10 7

    7. ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ ห้องย่อยความมั่นคงทางอาหาร วันที่ 25 มิ.ย.2559 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 1405 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ผู้เข้าร่วมประชุม 18 คนการผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

    วันที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดการสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559 และการเตรียมประเด็นห้องย่อยความมั่นคงทางอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการฯ ได้หารือรายละเอียดการเตรียมข้อมูลห้องย่อยความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งในงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559 วันที่ 4 ตุลาคม 2559 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    1. การนำเสนอประเด็นความมั่นคงทางอาหารในห้องย่อยใช้เรื่องยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และตำบลบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการตำบลควนรู เป็นกรณีศึกษาให้กับผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความรู้

    2. เอกสารเรื่องเล่าเร้าพลัง โดยนำกรณีเรื่อง ตลาดเกษตร ม.อ., พืชร่วมยาง และการทำเกษตร 1 ไร่ 1 แสน

    3. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในห้องย่อย จำนวน 120 คน ประกอบด้วย อปท. หน่วยงานรัฐ เครือข่ายชาวนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา-เทพา ลุ่มน้ำปากพนัง หอการค้า สมาคมผู้ค้าข้าวจังหวัดพัทลุง กรมการข้าว และผู้ประกอบการตลาดเกษตร ม.อ.

    4. งบประมาณในการจัดการข้อมูลของกรณียุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง จำนวน 25,000 บาท ตำบลบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการตำบลควนรู จำนวน 25,000 บาท และงบประมาณในการจัดการห้องย่อยในวันที่ 4 ตุลาคม 2559 จำนวน 10,000 บาท

    5. การจัดบูธนิทรรศการ สนับสนุนให้พื้นที่ละ 3,000 บาท

     

    18 18

    8. ประชุมระดมความคิดเห็นต่อการทบทวนแผนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา (ประเด็นสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ) วันที่ 7-8 ก.ค.2559 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 58 คน

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการที่จะให้มีการดำเนินการในยุทธศาสตร์ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ คือ ประเด็นสังคม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานฯ ได้ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการที่จะให้มีการดำเนินการในยุทธศาสตร์ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ คือ ประเด็นสังคม (ประเด็นตั้งต้นคือ) การเพิ่มขีดความสามารถของคน และการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เด็ก เยาวชน ครอบครัว ได้แผนงาน/โครงการ คือ 1. การส่งเสริมหลักสูตรสมาธิในเด็ก/เยาวชน

    1. จัดกิจกรรมให้เด็กมีการผลิตสื่อส่งเสริมให้เกิดการสำนึก/รักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    2. โครงการโรงเรียนครอบครัว/โรงเรียนพ่อแม่ โดยให้ท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญ

    3. ปัญหาเด็กนอกระบบ/เด็กในชุมชนแออัด

    4. การแก้ปัญหายาเสพติด

    5. การมีศูนย์ OSCC one stop crisis center

    6. การจัดทำฐานข้อมูลสิทธิเด็กตั้งแต่เกิดในสถานสงเคราะห์/เด็กถูกทอดทิ้ง

    7. โครงการเลิกตีตราผู้เสพยา ให้กลับเข้าสู่สังคมได้

    8. โครงการบ้าน-วัด-โรงเรียน รื้อฟื้นความสัมพันธ์ทั้ง 3 สถาบัน

    9. โครงการอาหารของแม่

    การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว แรงงานเด็ก
    1. การสร้างเฝ้าระวังแรงงานเพื่อนบ้าน

    1. สร้างกระบวนการให้แรงงานเพื่อนบ้านเป็นสังคมเดียวกัน โดยเฉพาะพื้นที่สุ่มเสี่ยง/ชายแดน

    ผู้พิการให้ผู้สูงอายุ 1. ให้มีการเข้าถึงระบบการศึกษา

    1. การสร้างสัมมาอาชีพให้กับคนพิการ

    2. การเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐ เช่น รถสาธารณะ

    3. ส่งเสริมการกีฬาของคนพิการ : ตัวชี้วัดเป็นการสร้างนักกีฬาผู้พิการเพิ่มขึ้น

    4. การปรับโครงสร้างพื้นฐานที่เอต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุ เช่น ทางราบ ทางลาด ลิฟท์ เป็นต้น

    ประเด็นสิ่งแวดล้อม (ประเด็นตั้งต้น คือ การจัดการน้ำทั้งระบบ, การจัดการขยะ, การจัดการทรัพยากรทางทะเล (การกัดเซาะชายฝั่ง, ลุ่มน้ำทะเลสาบ) การจัดการป่าไม้, ภูเขาและผังเมือง

    ด้านการจัดการขยะ 1. สร้างระบบกลไกที่ปรึกษาด้านการจัดการขยะให้กับท้องถิ่น โดยมีสถาบันการศึกษาและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา เพื่อแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฎิบัติ

    1. มีพื้นที่/เวที เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และข้อมูลต่างๆ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      1. มีนโยบาย/มาตรการในท้องถิ่น ในการทำ 3R (คัดแยก การทำธนาคารขยะ/กองทุนขยะ และการปฏิเสธการใช้โฟม
        ด้านการจัดการน้ำ
      2. ปัญหาน้ำแล้งให้ชุมชนและท้องถิ่นมีการทำฝายมีชีวิต แก้ปัญหาน้ำแล้งบริเวณที่เป็นเขา ( มีโครงการนำร่องที่คลองหลา ใช้งบประมาณ 20,000-50,000 บาท)

      3. การจัดการน้ำสู่การทำนา (จากงานวิจัยคลองจำไหล)

      4. การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหรือป่าพรุ (wetland)

      5. การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ

      6. การจัดการน้ำเสีย

      7. ระบบน้ำประปา

      8. การมีกลไก/สร้างกติกา

    การจัดการผังเมือง 1. การจัดการผังเมือง โซนนิ่ง (ผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา) ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด (ผังเมือง รวมเมือง 16 ตำบล 5 อำเภอ) โดยให้ชุมชนรับรู้/และท้องถิ่นนำไปปฎิบัติอย่างเคร่งครัด

    ประเด็นเศรษฐกิจ(ประเด็นตั้งต้น การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้านการเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยวชุมชนโดยเพิ่มมูลค่าในเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยการทำ Matching Model ระหว่างภาคเอกชน ชุมชน และวิชาการ, ยกระดับผลผลิต OTOP โดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน)

    1. การส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมีการทำการเกษตรผสมผสาน เศรษฐกิจพอเพียง เช่น การแบ่งพื้นที่จัดการเกษตร สวนยาง สวนปาล์ม เลี้ยงสัตว์ และที่อยู่อาศัย

    2. สนับสนุนให้มีตลาดสีเขียวที่จำหน่ายผลผลิตที่ปลอดสารเคมี

    3. มีมาตรการเข้มงวดในการควบคุม ดูแลเกษตรกรที่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

    4. ส่งเสริมให้โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บริโภคผลผลิตจากเกษตรกรที่ปลูกในชุมชน

    5. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

    6. การแปรรูป และการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และให้เน้นคุณค่าด้านโภชนาการ

    7. การวิเคราะห์ความต้องการด้านตลาดเพื่อให้เกษตรกรผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการ

     

    19 58

    9. ประชุมคณะทำงานเพื่อพัฒนาระบบบูรณาการอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 11 ก.ค.2559 ณ ห้องประชุมนิโรบล โรงแรมทวินโลตัส มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 35 คน

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำความร่วมมือในการปฎิบัติงานด้านการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการระดับตำบล (ขยายผลจากจังหวัดสงขลาสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการฯ ประกอบไปด้วย ดร.เพ็ญ สุขมาก และทีมสื่อฯ โดยคุณอานนท์ มีศรี ได้นำประชุมโดยท้องถิ่นที่เข้าร่วมประชุม คือ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดี อำเภอลานสกา องค์การบริหารส่วนตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้วอำเภอลานสกา องค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง อำเภอชะอวด องค์การบริหารส่วนตำบลจันดี อำเภอฉวาง และผู้แทนสภาเกษตรกรในท้องที่ต่างๆ หลังจากทาง สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ได้เล่ารายละเอียดการดำเนินงานที่ผ่านมาของตำบลบูรณาการในจังหวัดสงขลา ทำให้ท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความสนใจในการขับเคลื่อนการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการในพื้นที่ของตัวเองแต่ต้องไปดูความพร้อมของพื้นที่พร้อมกับทำข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน

     

    35 0

    10. ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ ห้องย่อยความมั่นคงทางอาหาร วันที่ 15 ก.ค. 2559 ณ โรงแรมคริสตัล

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการดำเนินงานในการสร้างสุขภาคใต้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คุณวรรณา สุวรรณชาตรี และคุณพีรยา จินดามณี ผู้ประสานงานได้รับฟังและให้คำแนะนำต่อทีมองค์การบริหารส่วนตำบลควนรูและทีมยุทธศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุง ในการนำประเด็นเข้าสู่ห้องย่อย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ให้มีการนำเสนอ VTR เรื่องย่อประมาณ 5 นาทีและให้หยิบยกประเด็นสถานการณ์ของ รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องโภชนาการ โดย แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น นโยบายครัวรวม กลไกการทำงานร่วมกัน ระหว่างโรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และมีทีมเสวนา เพื่อนำผลจากการเสวนาไปนำเสนอเป็นนโยบายและขยายผลให้ท้องถิ่นอื่นทำ ทีมยุทธศาสตร์ข้าวจังหวัดพัทลุง จะนำเสนอในประเด็น ความมั่นคงทางอาหารภาคใต้ เน้นเรื่องข้าว โดยจำนำเสนอในรูปแบบ

    1. สถานการณ์ข้าวภาคใต้

    2. วงเสวนาว่าด้วยเรื่อง “ข้าวภาคใต้ ใครทำใครกิน"

    3. กลไกการเชื่อมต่อเรื่องข้าวในภาคใต้แต่ละจังหวัด

    4. ใช้ควนรูเป็นกรณีศึกษา

    ทั้งนี้ได้ให้แต่ละท้องถิ่นในกลับไปคิดรูปแบบที่สมบูรณ์และเตรียมงาน เพื่อมานำเสนอความก้าวหน้าอีกครั้งในลำดับถัดไป

     

    10 5

    11. การประชุมระดมความคิดเห็นต่อการทบทวนแผนวิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา (2560-2561)ประเด็นการศึกษา และประเด็นสุขภาพ

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. พัฒนาร่างยุทธศาสตร์ประเด็นการศึกษา
    2. พัฒนาร่างยุทธศาสตร์ประเด็นสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    60 0

    12. การสนับสนุนการปฏิบัติงานวิชาการโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำข้อตกลงในการดำเนินโครงการผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อตกลงปฏิบัติงานวิชาการ ประกอบด้วย

    1. การจัดการข้อมูลข้าวจังหวัดพัทลุง โดยการทำ Mapping

      • Mapping สถานการณ์ข้าวเคมี และข้าวอินทรีย์
      • Mapping กลุ่มเครือข่ายข้าว กลุ่มอาชีพ กลุ่มหน่วยงานที่ขับเคลื่อนเรื่องข้าวจังหวัดพัทลุง
      • Mapping พื้นที่การผลิตข้าวจังหวัดพัทลุง
      • Mapping ระบบการกระจายผลผลิตข้าวจังหวัดพัทลุง
      • Mapping ทุนทางสังคมของจังหวัดพัทลุงที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องข้าวจังหวัดพัทลุง
    2. กำหนดเป้าหมาย หรือ ภาพอนาคตในการจัดการเรื่องข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

    3. นำร่างยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงระดมความคิดเห็นกับกลุ่มเครือข่ายข้าว ภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    4. ปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงให้มีความสมบูรณ์

    5. นำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ฉบับสมบูรณ์เสนอต่อคณะอนุกรรมกรรมการข้าวจังหวัดพัทลุง

    6. ปรับปรุงยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

     

    0 0

    13. การประชุมยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของจังหวัดสงขลา

    วันที่ 4 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับทราบข้อมูลการทำยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    5 5

    14. ประชุมระดมความคิดเห็นต่อการทบทวนแผน วิเคราะห์ และจัดทำแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา (2560-2561)

    วันที่ 23 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09:00-09:30 น. ลงทะเบียน

    09:30-10:00 น. บรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา” โดย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

    10:00-10:30 น. ร่างแนวคิดและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนจังหวัดสงขลา - วิสัยทัศน์ - ภาพอนาคต - เป้าประสงค์ - ประเด็นยุทธศาสตร์พร้อมแนวทาง

    10:30-12:30 น. แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ ตามประเด็นดังนี้ - กลุ่มที่ 1 ประเด็นสังคม ห้อง 14 ผู้รับผิดชอบหลัก : ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร

    • กลุ่มที่ 2 ประเด็นสิ่งแวดล้อม
      ผู้รับผิดชอบหลัก : ผศ.ดร. เกื้ออนันต์ เตชะโต

    • กลุ่มที่ 3 ประเด็นเศรษฐกิจ ผู้รับผิดชอบหลัก : ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ และ คุณชิต สง่า กุลพงษ์

    • กลุ่มที่ 4 ประเด็นการศึกษา ผู้รับผิดชอบหลัก : ผศ.ดร. ศักดิ์ชัย ปรีชาวีรกุล และ อาจารย์วิวัฒน์ สุทธิวิภากร

    • กลุ่มที่ 5 ประเด็นสุขภาพ ผู้รับผิดชอบหลัก : ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และ รศ.ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร

    12:30-13:30 น. รับประทานอาหารกลางวัน

    13:30-15:30 น. นำเสนอประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละประเด็น

    15:30-16:00 น. สรุปแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการขับเคลื่อนจังหวัดสงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทุกหน่วยงานทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน และภาคประชาสังคม (stakeholders) ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่อประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
    • ได้แผนงาน/โครงการ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
    • สำนักงานจังหวัดสงขลาสามารถพิจารณาและเลือกโครงการเร่งด่วนที่ปฏิบัติได้จริงบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดสงขลาปี 2561

     

    120 100

    15. ประชุมทำความเข้าใจการจัดทำข้อตกลงการทำงานของตำบลบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ วันที่ 24 สิงหาคม 2559 ณ อบต.นางหลง จังหวัดนครศรีธรรมราช

    วันที่ 24 สิงหาคม 2559 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการจัดทำข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย 2.การบริหารจัดการโครงการ การเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การลงนามในข้อตกลงการปฏิบัติงานวิชาการโครงการการจัดการข้อมูลด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
    2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการระบบอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตำบลนางหลง

     

    30 30

    16. ประชุมขับเคลื่อนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง วันที่ 29 สิงหาคม 2559 ณ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน

    วันที่ 29 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ชี้แจงการขับเคลื่อนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงว่าในปัจจุบันได้ถูกบรรจุในแผนจังหวัดแล้วโดยมีโครงการจำนวน 6 โครงการที่ภาคประชาชนเสนอให้จังหวัดพัทลุงดำเนินการได้แก่

    1.1 โครงการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว

    1.2 โครงการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์

    1.3 โครงการปรับปรุงพื้นที่ทำนาให้เหมาะสมกับการทำนาอินทรีย์

    1.4 โครงการสนับสนุนปัจจัยการผลิต

    1.5 โครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์

    1.6 โครงการส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนชาวนา

    1. ความก้าวหน้าของการเตรียมงานสร้างสุข ห้องย่อยความมั่นคงทางอาหาร

    2.1 เอกสารวิชาการต้องดำเนินการให้เสร็จในวันที่ 15 กันยายน 2559

    2.2 หัวข้อเสวนา เรื่อง "แกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน"

    2.3 ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ดร.เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ เครือข่ายผู้ค้าข้าวจังหวัดพัทลุง

     

    20 10

    17. การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

    วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แลกเปลี่ยนรูปแบบการทำงานบูรณาการระบบอาหารของจังหวัดสงขลา
    2. แนวทางการพัฒนาโครงการการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    45 43

    18. การประชุมเตรียมข้อมูลการทบทวนแผน วิเคราะห์และจัดทำแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา (2560-2561)

    วันที่ 24 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เตรียมเอกสารแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    20 15

    19. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดนิทรรศการประเด็นความมั่นคงทางอาหาร

    2.จัดเสวนาความมั่นคงทางอาหาร แกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน

    3.หนังสือถอดบทเรียนความมั่นคงทางอาหาร กรณ๊ โครงกาผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และตำบลบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดงานสร้างสุขภาคใต้ 2559 ประเด็นความมั่นคงทางอาหารได้นำเสนอสถานการณ์ของข้าวของภาคใต้ โดยมีกรณีตัวอย่างของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และ การบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ อบต.ควนรู จังหวัดสงขลา ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่นำเสนอนิทรรศการ การสังเคราะห์เอกสารวิชาการเรื่องความมั่นคงทางอาหารแกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน และการเสวนาเรื่อง แลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ “แกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยคุณอนุรัฐ ไทยตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง คุณเกียรติศักดิ์ ยั่งยืน มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน คุณถั่น จุลนวล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู คุณชิต สง่ากุลพงษ์มูลนิธิชุมชนสงขลา คุณเทอดนมรักษ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และคุณนัด อ่อนแก้ว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง อ.ควนขนุน ซึ่งที่ประชุมได้สรุปข้อเสนอเชิงนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร ดังนี้

    1.ข้อเสนอต่อ สสส.

    ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่ทำงานด้านอาหาร เพื่อผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในทุกระดับ และผลักดันให้เกิดกองทุนความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัด เช่น ให้มีการจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยงเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

    2.ข้อเสนอต่อ สช. กำหนดให้ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นวาระหลักในกระบวนการสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัดเพื่อสร้างนโยบายสาธารณะทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร

    3.ข้อเสนอต่อ สปสช. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลต้องมีการจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยควรมีการจัดสรรงบประมาณของกองทุนไม่น้อยกว่า 10 % ในแต่ละปี

    4.ข้อเสนอต่อ กระทรวงสาธารณสุข ควรจะต้องบูรณาการเรื่องความมั่นคงทางอาหารกับเรื่องอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยโดยจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในทุกระดับ

    1. ข้อเสนอต่อสถานีโทรทัศน์ Thai PBS

      1.ควรมีรายการหลักที่มีการสื่อสารเรื่องวัฒนธรรมอาหาร ภูมิปัญญาด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร มิติทางวัฒนธรรมเพื่อการแบ่งปันด้านอาหาร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรมยั่งยืน

      2.ควรให้นักข่าวพลเมืองมีการนำเสนอเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นหลัก เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

      6.ข้อเสนอต่อองค์กรอื่นๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

      1.ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ของภาคใต้ ตลอดจนมาตรการและการจัดการข้าวของภาคใต้ เนื่องจากข้าวของภาคใต้มีความเฉพาะในเรื่องฤดูกาล พันธุ์ข้าวพื้นเมือง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวให้เป็นอาหาร หรือ เวชสำอาง

      2.ส่งเสริมการสร้างแปลงนารวมของชุมชน เพื่อให้คนที่ไร้ที่ดินทำกินได้มีส่วนร่วมในการผลิตอาหารด้วยตนเอง และสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย

      3.สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกองบุญข้าว (วันทำขวัญข้าว) ในระดับตำบล เพื่อกระจายอาหารให้กับผู้ด้อยโอกาสในชุมชน

      4.สนับสนุนให้มีการสร้างกลไกการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดให้เป็นกลไกที่ยั่งยืน โดยมีสำนักงานมาตรฐาน มกอช. เป็นหน่วยงานหลักในการทำงานและมีมาตรฐานรับรอง 3 ระดับ ได้แก่

    • ระดับตนเอง (GPS)

      -ระดับประเทศ (ออแกร์นิกไทยแลนด์)

      -ระดับต่างประเทศ (Ifoam) 5.สนับสนุนการจัดทำกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ ( เมล็ดพันธุ์)กลางน้ำ (โรงสีข้าว) และปลายน้ำ (การแปรรูปและการส่งออก) ให้ได้มาตรฐาน GMP. 6.กำหนดมาตรการส่งเสริมโครงการตลาดเกษตรอินทรีย์ในรูปองค์กร โดยเป็นโครงการนำร่องในระดับจังหวัด เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาล ให้รับซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ขององค์กรในชุมชน หรือเครือข่ายในระดับจังหวัด

      7.สนับสนุนให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ (Matching) ระหว่างชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในภาคการผลิตและภาคการตลาด เช่น การสั่งซื้ออาหารล่วงหน้าระหว่างชุมชนกับชุมชนหรือองค์กรกับองค์กร เพื่อสร้างระบบรับประกันการมีอาหารกินที่ยั่งยืน

      8.สนับสนุนและผลักดันระบบ Co - farming ระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค เพื่อประกันความเสี่ยงของเกษตรกร

     

    150 150

    20. ติดตามความก้าวหน้าการจัดทำกิจกรรม การตรวจเอกสารการเงิน

    วันที่ 20 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ เพื่อติดตามสนับสนุนการดำเนินโครงการการจัดการข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการ ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งการติดตามสนับสนุนจะเป็นลักษณะการให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำในการจัดทำรายงานบนเว็บไซต์ ซึ่งการจัดทำรายงานบนเว็บไซต์มีความสำคัญเพราะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ให้ทุนได้ทราบว่ามีการดำเนินกิจกรรมอยู่
    2. การตรวจรายงานการเงิน รวมทั้งเอกสารการเงิน เป็นไปเพื่อให้มีการบริหารจัดการด้านการเงินที่โปร่งใส
    3. การวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การลงข้อมูลบนเว็บไซต์ ของผู้รับทุนยังไม่เรียบร้อย เนื่องจากเพิ่งเริ่มทำกิจกรรม และบางตำบลยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำกิจกรรม จึงได้ให้คำแนะนำในการจัดทำรายงาน
    2. ให้คำแนะนำการจัดทำเอกสารการเงิน เพื่อให้มีการจัดทำเอกสารด้านการเงินที่ถูกต้องต่อไป
    3. วางแผนการดำเนินกิจกรรมในขั้นต่อไป โดยให้แต่ละตำบลจัดเก็บข้อมูลให้เสร็จภายใน 15 พฤศจิกายน 2559 จากนั้นจะมีการอบรมการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 จะออกแบบการคีย์ข้อมูลบนโปรแกรม Excelและช่วงที่ 2 จะนำข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม SPSS ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน อบต. เขาแก้ว เป็นแกนนำในการช่วยออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล

     

    25 28

    21. ประชุมเชิงปฏิบัติการ การบันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เรื่องความมั่นคงทางอาหาร

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันที่ 28 ก.พ.60 ได้สอนการบันทึกข้อมูลแบบสอบถามที่เก็บมาได้ลงใน Excel โดย อ.มุมตาส มีระมาน จากนั้นแบ่งกลุ่มปฏิบัติการคีย์ข้อมูลลงในโปรแกรม โดยมีเป้าหมายว่าต้องคีย์ให้เสร็จในวันนี้ เพราะต้องเอาข้อมูลไปวิเคราะห์เป็นแผนที่ในวันที่ 2 มีนาคม 60
    • วันที่ 2 มี.ค.60 ทบทวนผลการคีย์ข้อมูล ชี้แจงการจัดทำแผนที่ยุทธศาตร์ โดย อ.เพ็ญ สุขมาก เรื่องการบูรณาการระบบอาหารโดย อปท.มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และเป้าประสงค์ ส่วนการดำเนินงานตำบลบูรณาการใน อปท.มี 6 ขั้นตอน คือ 1) กระบวนการรวบรวมข้อมูล 2) การวิเคราะห์ข้อมูล 3) การคืนข้อมูล 4) กำหนดแผนงานกิจกรรม 5) ดำเนินงานตามแผน 6) ติดตามประเมินผล
    • จากนั้น อ.เพ็ญ สุขมาก และ อ.มุมตาส มีระมาน ได้สอนการวิเคราะห์ข้อมูล แต่เนื่องจากทุกพื้นที่ยังคีย์ข้อมูลไม่เสร็จ เพราะข้อมูลแบบสอบถามมีจำนวนมาก จึงยังไม่สามารถดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ให้ดูได้ ในวันนี้จึงให้คีย์ข้อมูลให้เสร็จต่อ และได้สอนการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่นา พื้นที่ผัก และอื่น ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเขียนเป็นแผนโครงการของแต่ละท้องถิ่น และนำเสนอข้อมูลจากแบบสอบถามที่คีย์ได้
    • วันที่ 3 มี.ค.60 แบ่งกลุ่มแต่ละพื้นที่ ระดมเขียนแผนโครงการความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสมวัย โดยอ้างอิงข้อมูลจากแบบสอบถามที่คีย์ และนำเสนอในที่ประชุมเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • แต่ละพื้นที่ได้นำเสนอแผนโครงการ เป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้เพื่อจัดทำแผนต่อไป
    1. ตำบลหูล่อง ทำเรื่องนาอินทรีย์ มีข้อแนะนำว่า ให้กลับไปศึกษาข้อมูลปัจจัยกำหนดสุขภาพ ด้านสภาพแวดล้อม กลไก และคน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่เิกิดขึ้น และต้องวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ในตำบลหูล่อง
    2. ตำบลไสหร้า ทำเรื่องตลาดสีเขียวในชุมชน มีข้อแนะนำว่า หากทำตลาดสีเขียวต้องสร้างกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค โดยประสานร่วมกับโรงพยาบาลให้ทำการสุ่มตรวจผักและให้ป้ายประกันอาหารปลอดภัย โดยอาจจะตรวจสามเดือนครั้ง และจัดเวทีแลกเปลี่ยนนวัตกรรมในการเพาะปลูก เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ
    3. ตำบลเขาแก้ว ทำเรื่องมังคุดและทุเรียน มีข้อแนะนำว่า ต้องศึกษาเรื่องดินและน้ำ การจัดการน้ำ ความพอเพียงของน้ำในการเกษตร หานักวิชาการที่เชี่ยวชาญมาช่วย เรื่อง ผู้ผลิตร่วมกันใช้เทคโนโลยี และวิเคราะห์ข้อมูลของตำบลส่งมาให้ สจรส.ม.อ.
    4. ตำบลจันดี ทำเรื่องอาหารเป็นยา มีข้อแนะนำว่า ทำ timeline ชนิดของผักที่มีในแต่ละช่วงเดือน เพื่อสื่อให้เห็นว่าพื้นที่นี้มีผักเด่น และมีทุกฤดูกาล เน้นการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ และค้นหาประโยชน์ สรรพคุณของผักแต่ละชนิด
    5. ตำบลนางหลง เด่นเรื่องมังคุด มีข้อแนะนำเหมือนกับตำบลเขาแก้ว
    • นัดครั้งต่อไป ทุกตำบลต้องส่งงานให้ สจรส.ม.อ.ภายในวันที่15 มีนาคม จำนวน 2 ชิ้น คือ ข้อมูลที่วิเคราะห์จากแบบสอบถาม และร่างแผนยุทธศาสตร์แต่ละตำบล และจะจัดเวทีระดมความคิดเห็นร่างแผนยุทธศาตร์ท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีในวันที่ 5 เมษายน 2560

     

    25 25

    22. การประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานแผนงานเพื่อการพัฒนาระบบบูรณาการอาหาร

    วันที่ 11 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้จัดการตลาดเกษตร ม.อ. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการทำงานของตลาดเกษตร ม.อ.
    2. แนวทางการทำงานความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยให้คุณธีรวัฒน์ แดงกะเปา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า เป็นผู้ประสานงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การพัฒนาโครงการบูรณาการระบบอาหารในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช
    2. การพัฒนาโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

     

    10 0

    23. ลงพื้นที่ติดตามรายงานในเว็บไซต์และตรวจเอกสารการเงิน ต.ไสหร้า

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 - 12.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทีม สจรส.ม.อ.ตรวจเอกสารการเงินและรายละเอียดการใช้เงินแต่ละกิจกรรม และตรวจการเขียนรายงานกิจกรรมในเว็บไซต์ พร้อมกับให้คำแนะนำต่อการจัดการเอกสารให้ถูกต้องตามระเบียบของ สสส.
    • พูดคุยหารือการทำโครงการ และวางแผนการจัดเวทีคืนข้อมูลเพื่อทำยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลการตรวจเอกสารการเงิน พบว่า ทางคณะทำงานยังขาดความเข้าใจต่อการเบิกจ่าย ทำให้หลักฐษนการเงินไม่เรียบร้อยทุกกิจกรรม ทาง สจรส.ม.อ.จึงให้คำแนะนำให้แยกเอกสารการเงินเป็นรายกิจกรรม และให้รายงานกิจกรรมบนเว็บไซต์ให้ตรงกับวันที่ลงในเอกสารการเงิน
    • ได้หารือวางแผนการจัดเวทีคืนข้อมูลเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารของ อบต.ไสหร้า ซึ่งยังขาดข้อมูลสถานการณ์ด้านอาหาร ทางคณะทำงานต้องมีข้อมูลนำเข้าเวที เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์จัดทำเป็นยุทธศาสตร์ระบบอาหารได้

     

    5 5

    24. ประชุมจัดทำยุทธศาสตร์ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยในระดับท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 เวลา 13.00 - 16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เปิดเวทีโดยรองนายกเทศบาลตำบลจันดี
    • ชี้แจงที่มาของการทำโครงการอาหารปลอดภัย โดยทีม สจรส.ม.อ. โดยเน้นการขยายผลรูปแบบการจัดการอาหารของ อบต.ควนรู และขยายผลมาสู่จังหวัดนครศรีฯ
    • นำเสนอผลการเก็บข้อมูลเรื่องอาหารเป็นยาของพื้นที่ตำบลจันดี
    • แลกเปลี่ยนการทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทางเทศบาลและคณะทำงานโครงการการจัดการข้อมูลอาหารพื้นที่จันดี ได้รับรู้ข้อมูลความมั่นคงทางอาหารจากการเก็บข้อมูล 5 หมู่บ้าน มีการเสนอโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในตำบลจันดี เข้าสู่ยุทธศาสตร์ระบบอาหารใน 3 ประเด็น
    • ผลการจัดประชุมในวันนี้ ทางคณะทำงานยังขาดข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ด้านอาหารในพื้นที่ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อมูลเฉพาะเรื่องของผักปลอดสารพิษ ยังไม่สามารถนำข้อมูลมาจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ได้ จึงให้คำแนะนำต่อคณะทำงานให้กลับไปทำข้อมูลสถานการณ์อาหารให้ครอบคลุมเรื่องสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร สถานการณ์ภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก และสถานการณ์อาหารปลอดภัยในพื้นที่ และอาจจะนำข้อมูลที่ได้มาจัดเวทีทำยุทธศาสตร์อีกครั้ง

     

    50 25

    25. ร่วมเวทีคืนข้อมูลและจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลหูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. กล่าวชี้แจงการขยายผลโมเดลควนรู (รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร) ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยคุณวรรณา สุวรรณชาตรี
    2. นำเสนอข้อมูลผลจากแบบสอบถาม เรื่อง ความมั่นคงทางอาหารของตำบลหูล่อง โดยคณะทำงาน
    3. ระดมความคิด และจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารของตำบลหูล่องร่วมกัน
    4. คณะทำงานสรุปผลการจัดเวทีร่วมกับ สจรส.ม.อ. และให้คำแนะนำการตรวจเอกสารการเงินและรายงานในเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลสถานการณ์ และแผนงานการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ดังนี้

    1.เรื่องความมั่นคงทางอาหาร

    1.1เรื่องข้าว มีสถานการณ์ ดังนี้

    • มีกลุ่มทำนาในหมู่ 4จำนวน 1 กลุ่ม และไม่เข้มแข็ง ทำนาขาดทุน เพราะมีต้นทุนสูง และมีปัญหาการปลูกปาล์ม ทำให้เกิดการแย่งน้ำ และข้าวมีราคาถูก
    • กลุ่มทำนาในหมู่ 6 ทำนาปีมีการทำนาเพื่อไว้กิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
    • ช่วงเก็บข้าว ใช้รถเกี่ยว ทำให้เมล็ดพันธุ์ที่ปลูกในครั้งต่อไปผสมกัน ไม่มีการคัดสรรเมล็ดพันธุ์ข้าว
    • พื้นที่นาเริ่มลดลง เพราะขาดทุน มีการปลูกปาล์ม สวนมะพร้าวแทน
    • มีปัญหาน้ำท่วมนาข้าว ค่าใช้จ่ายสูง นกและหนูมากินข้าวในนา และไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าว
    • ในกลุ่มทำนา มีกิจกรรมการออม ฝากเงิน มีกิจกรรมทำปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยลดต้นทุน

    ต้นทุนเรื่องนาข้าว

    • มีสำนักงานเกษตร เข้ามาสอนการวิเคราะห์ดิน สนับสนุนรถไถนาร้าง และสนับสนุนเมล็ดพันธุ

    แผนงาน/สิ่งที่อยากเห็น

    • มีเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นของพื้นที่
    • ต้นแบบนาอินทรีย์ 1 แปลง
    • พัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกร
    • การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว
    • มีตลาดจำหน่ายผลผลิตของชุมชน (ตลาดนัดหมู่ 5 / ตลาดกลางเทศบาล)
    • มีขนมลาเป็นอาหารขึ้นชื่อของหูล่อง ซึ่งทำมาจากข้าว

    1.2มะพร้าว มีสถานการณ์ คือมีศูนย์รวมรับซื้อมะพร้าวที่บ้านผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ในช่วงติดต่อให้ชาวบ้านเอามะพร้าวมาขาย และราคามะพร้าวมีราคาสูง

    1.3ขนมลา มีสถานการณ์ คือ มีการทำขนมลาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก มี ธกส.เข้ามาสนับสนุนเงินกู้ ต่างคนต่างทำขนมลาในหมู่บ้าน

    แผนงานเรื่องขนมลา

    • ผลิตอาหารพื้นบ้านของหูล่อง เช่น กะปิปลา ผักเสี้ยนดอง ปลาดี่แดดเดียว
    • นำผลิตภัณฑ์ที่มีในหมู่บ้านไปขายในอำเภอ

    1.4ฟักทอง มีสถานการณ์ คือ มีพ่อค้าคนกลางเข้ามาซื้อในสวนและกำหนดราคาเอง ทำให้ราคาตก ฟักทองมีปริมาณเยอะ ขายไม่ค่อยได้ ปลูกใช้ปุ๋ยเคมีในระยะปลอดภัย

    2.ประเด็นอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย

    2.1.เมนูอาหารกลางวัน (โรงเรียนประถม) มีสถานการณ์ คือ

    • ใช้โปรแกรมเมนูอาหารจาก สพฐ.
    • ซื้อวัตถุดิบจากชุมชน เป็นผักบ้าน ๆ และซื้อเนื้อสัตว์จากตลาด
    • เด็กในโรงเรียนยังชอบทานน้ำหวานและน้ำอัดลม โดยที่โรงเรียนไม่สามารถกำหนดร้านค้ารอบโรงเรียนได้
    • เด็กไม่ได้ทานข้าวเช้ามาจากบ้านส่วนหนึ่ง ทำให้มีเด็กขาดสารอาหาร

    แผนงาน/ที่อยากทำ

    • ทางโรงเรียนอยากมีนโยบายทำอาหารเช้าให้นักเรียนได้ทานซึ่งเป็นอาหารเช้าที่มีปะโยชน์
    • ทางโรงเรียนมีแนวทางการรับซื้อวัตถุดิบอาหารกลางวันที่ปลอดสารเคมีจากในหมู่บ้าน

    2.2.กองทุนหลักประกันตำบล (สปสช.) ทาง รพ.สต.มีโครงการที่ทำอยู่ คือ ทำโครงการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรปี 60

    2.3. รพ.สต. มีแผนงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน คือ

    • ตรวจสารตกค้างในหมู่ 4 และ 1
    • หมู่ 5 ส่งเสริมุขภาพผู้สูงอายุ
    • หมู่ 6 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เบาหวาน ความดัน
    • โครงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในโรงเรียนสองพี่น้อง
    • รพ.สต.เจอปัญหาเด็กอ้วนในศูนย์เด็กเล็ก มีแผนงานแก้ปัญหาเด็กอ้วน
    1. สรุปผลการจัดเวทีร่วมกัน พบปัญหาและอุปสรรค เรื่อง การให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการของ อบต.น้อยมาก จึงหารือร่วมกันว่าจะให้ทางโรงเรียนวัดสองพี่น้อง และ รพ.สต.บ้านน้ำน้อง เป็นผู้ขับเคลื่อนและหนุนเสริมในการทำโครงการ โดยในวันที่จัดประชุมเขียนแผนยุทธศาสตร์จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมเรียนรู้และหารือร่วมกัน
    • ผลการตรวจรายงานในเว็บไซต์และเอกสารการเงิน พบว่า ทางคณะทำงานยังไม่กล้าเบิกค่าใช้จ่ายเพราะกังวลว่าเวลาเบิกจ่ายกับ อบต.จะมีปัญหา จึงแนะนำให้ทำเอกสารแยกเป็นรายกิจกรรมให้ถูกต้อง และนำส่งให้ อบต.ทุกครั้ง ก่อนที่จะทำเรื่องเบิกเงินมาจัดกิจกรรม

     

    30 25

    26. ร่วมเวทีคืนข้อมูลและจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลเขาแก้ว อ.ลานสกา จ.สงขลา

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2560 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวลา  13.30 น. กล่าวเปิดการประชุมโดยนายดุสิต  วิชัยพล  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว
    • เวลา  14.00  น. บรรยายสภาพข้อมูลพื้นฐานข้อมูลทั่วไป ของอบต.เขาแก้ว
    • เวลา  14.30 น. บรรยายเกี่ยวกับสภาวะโภชนาการ/ระบบการจัดการอาหารในศพด./โรงเรียนในตำบลเขาแก้ว โดย นางเรวดี  เผื่อนนาค ผอ.กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
    • เวลา  15.00 น. แบ่งกลุ่มเพื่อร่วมนำเสนอแผนงาน  เป้าประสงค์  ยุทธศาสตร์  จกรรมความมั่นคงทางอาหาร
    • เวลา  16.00  น. นายกกล่าวปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการจัดเวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลเขาแก้ว ดังนี้

    1.ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางอาหาร

    เป้าประสงค์

    • 1.มีแหล่งเรียนรู้แปลงปลูกผักปลอดสารพิษ
    • 2.มีผักปลอดสารพิษบริโภคอย่างเพียงพอในชุมชน/โรงเรียน/โรงพยาบาล
    • 3.ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้จากการท่องเทียว
    • 4.เพื่อพัฒนาผลผลิต คุณภาพผลไม้ท้องถิ่น (มังคุด  ทุเรียน จำปาดะ ฯลฯ)

    ตัวชี้วัด

    • 1.คนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ
    • 2.ต.เขาแก้วเป็นต้นแบบของการท่องเที่ยว
    • 3.มีการแปรรูปผลผลิต มีตลาดรองรับ  มีรายได้เพิ่มขึ้น

    แผนงาน/โครงการ

    • 1.ส่งเสริมให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคและสร้างรายได้แก่เกษตรกร
    • 2.ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นประและฟื้นฟูระบบนิเวศ
    • 3.เพิ่มคุณภาพผลผลิตมังคุด
    • 4.พัฒนาบุคลากรกลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชน
    • 5.ปรับปรุงภูมิทัศน์เส้นทางการท่องเที่ยว
    • 6.ขับเคลื่อนชุมชน คุณธรรมด้วยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน)

    2.ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

    เป้าประสงค์

    • 1.ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย
    • 2.ส่งเสริมให้เด็กมีอาหารครบทั้ง 5 หมู่
    • 3.ส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหาร

    ตัวชี้วัด

    • 1.ร้อยละของเด็กมีภาวะผอม  เตี้ย ลดลง
    • 2.ครู  ผู้ปกครองและเด็กเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
    • 3.ศพด.และโรงเรียน จัดอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในมื้อกลางวันและส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการ

    แผนงาน/โครงการ

      1. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องภาวะโภชนาการ  งบประมาณ 50,000  บาท
      1. โครงการ Cooking for children -อาหารเพื่อสุขภาพ  งบประมาณ 50,000  บาท

     

    32 35

    27. ร่วมเวทีคืนข้อมูลและจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลไสหร้า อ.ฉวาง จ.สงขลา

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม โดยนายกิตติศักดิ์ หอมเหตุ หัวหน้าสำนักงานปลัด อบต.ไสหร้า
    • เล่าที่มาของการทำโครงการระบบอาหารในจังหวัดนครศร๊ โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี
    • นำเสนอผลการเก็บข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร โดย น.ส.ศุพิตรา ณ ลำปาง
    • แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นและจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย เกษตรกร กลุ่ม อสม. ครู กศน. และอีกกลุ่ม คือ กลุ่มอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย ประกอบด้วย อสม.ครูศูนย์เด็กเล็ก เจ้าหน้าโรงพยาบาลฉวาง และ รพ.สต.
    • นำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์
    • สรุป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลเวทีคืนข้อมูลและจัดทำยุทธศาสตร์

    1.ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ชุมชนและแหล่งผลิตการเกษตร

    สถานการณ์

    1.พื้นที่สวนยางพารา

    -  การใช้ปุ๋ยเคมี -  การใช้ยาฉีดสวน

    2.สวนผลไม้

    -  น้ำไม่เพียงพอในการเกษตร ทำให้มีผลผลิตน้อย และบางสวนทำให้ต้นไม้แห้งตาย - ราคาตกต่ำ / ล้นตลาด/ไม่มีตลาด - ต้นทุน (ปุ๋ยสารเคมี) ราคาสูง

    3.ผักสวนครัว

    -  คนปลูกผักน้อย / ซื้อผักในตลาด

    4.สัตว์เลี้ยง

    -  อาหารหมูมีราคาสูง

    แผนงาน/โครงการ

    • โครงการส่งเสริมปลูกผักในสวนยางพารา
    • ปลูกข้าวไร่ในสวนยางพาราที่อายุยางพาราไม่เกิน 3 ปี
    • โครงการเลี้ยงปลาในร่องยาง / ปลูกผักบุ้ง , ผักกะเฉด
    • เจาะบ่อน้ำบาดาลน้ำลึกเพื่อใช้ในการเกษตรในหมู่บ้าน / ชุมชน
    • จัดตั้งกลุ่มตลาดในชุมชนโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
    • ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักในชุมชนเพื่อลดต้นทุนในการผลิต / ค่าใช้จ่าย
    • ส่งเสริมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ทุกครอบครัว เพื่อลดรายจ่ายและได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
    • ส่งเสริม / ผลิตอาหาร(หมู)จากวัตถุดิบในชุมชน เช่นกล้วย , ต้นบอน

    2.ประเด็นโภชนาการสมวัยในเด็กเล็ก

    สถานการณ์

    • ปัญหาซีดของแม่ตั้งครรภ์(แม่และลูก,เด็กในวัยเรียน) -  โภชนาการในเด็ก -  เด็ดอ้วน  12 % -  เด็กเตี้ย    2 % -  น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์  1 %
    • ผู้สูงอายุ
    • โรคเรื้อรัง

    แผนงาน/โครงการ

    • ให้ความรู้ เรื่อง เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก อาหารให้หญิงตั้งครรภ์ และให้ อสม.รณรงค์
    • กิจกรรมยามเช้าในโรงเรียน ได้แก่ ออกกำลังกาย 10 นาที ให้ความรู้กับผู้ปกครอง และโครงการพัฒนา EQ , IQ
    • ปรับพฤติกรรมโภชนาการในเด็ก เรื่อง การบริโภคอาหาร กิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมลดน้ำหนัก โครงการปลอดขวดนม,ขนมกรุบกรอบ,อาหารลดเค็มโดยในโรงเรียนส่งเสริมให้ การออกกำลังกาย การกินผักผลไม้
    • ให้ผู้ปกครองส่งเสริมให้เด็ก ลดการดื่มนมเปรี้ยว น้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบ
    • ให้ความรู้ในเรื่องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
    • ให้ความรู้ในเรื่องอาหารลดหวาน,ลดเค็ม
    • ชมรมผู้สูงอายุ
    • เมนูอาหารสมุนไพร
    • ตรวจสุขภาพประจำปี
    • กิจกรรมแลกเปลี่ยน อาสาสมัคร ผู้สูงอายุ (อผส.)
    • คนไข้ติดเตียง


     

    30 35

    28. การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเอกสารยุทธศาสตร์ระบบอาหารประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในระดับตำบลของจังหวัดนครศรีธรรมราช

    วันที่ 1 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทบทวนเอกสารแผนพัฒนาตำบล ข้อมูลจากแบบสอบถามเรื่องสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย มาจัดทำเป็นยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับท้องถิ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    40 38

    29. การเข้าร่วมประชุมทบทวน Road Map เดินหน้าสงขลาเกษตรก้าวหน้า

    วันที่ 5 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเกษตรของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    3 3

    30. ค่าห้องประชุมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการอาหารกลางวันที่มีคุณภาพสำหรับโรงเรียน

    วันที่ 22 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมให้ความรู้ด้านการจัดการอาหารกลางวันให้ได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ และการใช้โปรแกรมกำหนดเมนูอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    320 400

    31. ประชุมระดมความคิดเห็นการวิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช

    วันที่ 22 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 08:30 - 09:00 น. ลงทะเบียน
    • 09:00 – 09.30 น. ชี้แจงเป้าหมายและแนวคิดในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • 09.30 – 10.00 น. บรรยายเรื่อง “ยุทธศาสตร์ด้านอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช”โดย คุณขจรเกียรติ รักพานิชมณี  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคุณอุษณีย์ อังศุวัฒนากุล              สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
    • 10.00 – 11.00 น. นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร 4 ตำบล โดย คุณคำพร เกตุแก้ว เทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง คุณกิตติศักดิ์ ทองเกตุ อบต.ไสหร้า อำเภอฉวาง คุณมานพ กาญจนรส            อบต.เขาแก้ว อำเภอลานสกา คุณวิลาวรรณ สุวรรณรัตน์ อบต.หูล่อง อำเภอปากพนัง
    • 11.00 – 12.00 น. วิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะต่อแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร 4 ตำบล โดย คุณอนันต์ ทองอุ่น        สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณอุษณีย์ อังศุวัฒนากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณสุรีภรณ์ สุทธิพันธ์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายแพทย์อนุสรณ์ ศิริโชติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 และคุณถั่น จุลนวล องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู
    • 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
    • 13.00 – 14.30 น. เสวนา เรื่อง แนวทาง บทบาท การดำเนินงานตำบลบูรณาการในหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย คุณอนันต์ ทองอุ่น สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณอุษณีย์ อังศุวัฒนากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณสุรีภรณ์ สุทธิพันธ์ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายแพทย์อนุสรณ์ ศิริโชติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 และ คุณถั่น จุลนวล องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ดำเนินการเสวนาโดย ดร.เพ็ญ สุขมาก
    • 14.30 – 15.30 น. สรุปแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการขับเคลื่อนใน 4 ตำบล


    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดการเชื่อมโยงแผนงานอาหารในระดับตำบลที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสอดคล้องกับ พรบ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ.2551 ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยคุณภาพอาหาร และอาหารศึกษา
    2. ข้อมูลสถานการณ์ด้านอาหารใน 4 พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำเกษตรโดยใช้สารเคมี และพบสารปนเปื้อนในผักผลไม้ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของจังหวัดเช่นกัน ซึ่งทางจังหวัดได้สุ่มตรวจสารอาหารและพบสารปนเปื้อนได้แก่ ผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ น้ำมันทอดอาหาร ตลาดสด แผงลอยจำหน่ายอาหาร และร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว
    3. ทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีฯ สสจ. สนง.เกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานท้องถิ่น รวมทั้ง อบต.ทั้ง 4 พื้นที่ มีแนวทางร่วมกันผลักดันระบบอาหารปลอดภัยให้เกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีฯ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ด้านอาหารของจังหวัดนครศรี คือ "นครแห่งอารยธรรม น่าอยู่น่าเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรมยั่งยืนโลก ครัวนครฯ สู่ครัวโลก" โดยมียุทธศาสตรที่สำคัญ ดังนี้

    ยุทธศาสตร์แห่งสายน้ำ โดยคณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช

    1.ยุทธศาสตร์ต้นน้ำ "บริหาาจัดการเกษตรและอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานครบวงจร"

    -พัฒนาสินค้าและบริการทางเกษตรที่ได้มาตรฐานตอบสนองตลาดสากล - พัฒนากระบวนการผลิต เก็บเกี่ยว รักษา แปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร - สร้างเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐ องค์กรชุมชน เกษตรกรผู้ประกอบการ - พัฒนาระบบโลจิสติกส์ รองรับการเป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคม กระจายสินค้าเกษตร

    2.ยุทธศาสตร์กลางน้ำ "บริหารจัดการแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานครบวงจร"

    • พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อสร้างโอกาสด้านการแข่งขัน
    • พัฒนากระบวนการผลิต แปรรูปอาหารให้ได้มาตรฐาน
    • เสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการผลิตในระดับชุมชน/เพิ่มมูลค่า
    • ยกระดับสินค้าประเภทอาหารนครฯ ให้มีมาตรฐานมีคุณค่าทางโภชนาการและมีอัตลักษณ์

    3.ยุทธศาสตร์ปลายน้ำ "บริหารจัดการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย"

    • ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ ให้มีแหล่งจำหน่ายอาหารที่มีมาตรฐานคุณภาพ (ตลาด, ร้านอาหาร, แผงลอยจำหน่ายอาหาร)
    • พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ
    • พัฒนาให้เกิดช่องทางส่งเสริมผู้ประกอบการ/สถานประกอบการที่มีมาตรฐาน

    ข้อเสนอแนะต่อการทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารใน 4 ตำบล

    1. ตำบลเขาแก้ว : เน้นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีทุนด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวและการทำเกษตรในพื้นที่ จึงควรเน้นโครงการส่งเสริมด้านเกษตรปลอดภัย และส่งเสริมการปลูกพืชร่วมยาง โดยต้องประสานหารือกับ สกย.เพื่อทำงานร่วมกัน
    2. ตำบลไสหร้า : มีจุดเด่นการทำงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมีหน่วยบริการของโรงพยาบาลที่สามารถเชื่อมโยงได้
    3. ตำบลหูล่อง : มีทุนและศักยภาพของพื้นที่ ที่มีนาข้าวเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบล แต่ส่วนใหญ่เป็นนาเคมี มีต้นทุนสูงในการทำนา การส่งเสริมการทำนาอินทรีย์ต้องผลักดันให้เข้าแผน อบต.เพื่อสร้างพื้นที่นาอินทรีย์ให้เกิดขึ้นในตำบล
    4. ตำบลจันดี : มีทุนเรื่องผักพื้นบ้าน และบูรณาการร่วมกับ รพ.สต.และโรงพยาบาลในพื้นที่

     

    70 60

    32. การประชุมระดมความคิดเห็นต่อแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

    วันที่ 30 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
    • 09.00 - 09.30 น. ชี้แจงเป้าหมาย และแนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
    • 09.30 - 10.00 น. บรรยายเรื่อง "ยุทธศาสตร์จังหวัดในการสนับสนุนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงฎ โดย รักษาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง
    • 10.00 - 11.00 น. นำเสนอแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และแผนปฏิบัติการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดย อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ และ อ.เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
    • 11.00 - 12.00 น. สรุปแนวทางขับเคลื่อนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และแผนปฏิบัติการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. แผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดในการสนับสนุนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ซึ่งมี 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจที่มั่นคงทางด้านเกษตรและด้านอาหาร มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ มีศักยภาพด้านภูมิปัญญา และมีพื้นที่สีเขียว โดยจังหวัดพัทลุง มีจุดเด่น คือ เป็นเมืองเกษตร แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา แหลางท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร และมีเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์ในปี 2561 - 2564 จำนวน 1 ล้านไร่ โดยมีคำสั่งจากทางผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และได้มีการคัดเลือกให้จังหวัดพัทลุงเป้นจังหวัดนำร่องด้านการผลิตข้าว โดยทั้งหมดจะเชื่อมโยงการทำแผนแม่บทข้าวอินทรีย์พัทลุงได้
    2. ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันปรับเพิ่มแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์อินทรีย์จังหวัดพัทลุง ดังนี้

    ยุทธศาสตร์ที่ 1

    • 1.โครงการพัฒนาแปลงพันธุ์ข้าวอินทรีย์ชุมชน (ศูนย์พันธฺุ์ข้าวชุมชน)
    • 2.แบ่งโซนในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว/โครงการสร้างอัตลักษณ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเหนียวดำหมอ (เขาอ้อ)
    • 3.โครงการโคกหนองนาโมเดลเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
    • 4.ห่วงโซ่อุทานเวชสำอางค์จากข้าวอินทรีย์ (การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์)

    ยุทธศาสตร์ที่ 2

    • 5.พัฒนาคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินสำหรับการทำนาข้าวอินทรีย์
    • 6.โครงการพัฒนาจุลินทรีย์วัตถุดิบจากนาข้าวอินทรีย์
    • 7.ศูนย์พัฒนาพันธุ์ข้าวชุมชน (เพื่อการพัฒนาจุลินทรีย์แต่ละพื้นที่)
    • 8.โครงการสร้างนักวิจัยชาวนาของชุมชน (โครงการผลิตนักรบชีวภาพ)
    • 9.โครงการวิจัยส่งเสริมการปลูกหญ้าลิเปียร์ (โครงการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์)
    • 10.โครงการสร้างตลาดข้าวอินทรีย์ (ตลาดเกษตรอินทรีย์) / ประกันราคาในมาตรฐานเดียวกัน
    • 11.โซนโรงสีข้าว GMP
    • 12.โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรอินทรีย์ (สวนยาง/ผลไม้นา)
    • 13.โครงการเรียนรู้การใช้โปรแกรม Google earth
    • 14.การพัฒนาผลิตภัณฑ์

     

    50 40

    33. การประชุมทบทวน วิเคราะห์ และจัดทำแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 08:30 - 09:00 น. ลงทะเบียน
    • 09:00 – 10.00 น. นำเสนอแผนแม่บท และแผนปฏิบัติการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดย อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ และอาจารย์เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ดำเนินการประชุม โดย  ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และ ดร.เพ็ญ สุขมาก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • 10.00 – 11.30 น. ทบทวน วิเคราะห์ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ในแต่ละหน่วยงาน
    • 11.30 – 12.00 น. สรุปทิศทางการดำเนินงานยุทธศาสตร์ข้าวในปี 2561 - 2564

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดความร่วมมือและข้อแนะนำต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ในหน่วยราชการที่เข้าร่วมประชุม โดยทาง สจรส.ม.อ.จะเข้ามาหนุนเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนต่อ และร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง โดยจะศึกษาว่าแต่ละหน่วยงานมีแผนงานหนุนเสริมเรื่องข้าวอินทรีย์ อย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาทำ mapping ที่จะได้นำเรื่องข้าวบรรจุลงในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     

    50 35

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.การผลักดันให้ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาเป็นแผนปฏิบัติงานของจังหวัด อปท. และหน่วยอื่นๆ เกิดโครงการและกิจกรรมการจัดการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการที่สมวัย
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดละ1 เครือข่ายประกอบด้วย ภาควิชาการภาครัฐ ชุมชน และเอกชน

     

    2 2. จัดทำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดยใช้ข้อมูลข้าวทั้งระบบเป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานผลักดันยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
    ตัวชี้วัด : 2. เกิดการจัดการข้อมูลข้าวนำไปสู่ยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

     

    3 3. การขยายพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการของตำบลควนรู และตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา ไปสู่ 5 อปท.ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีที่ 1เป็นการจัดการระบบข้อมูลความมั่นคงอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
    ตัวชี้วัด : 3. เกิดการทำงานประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในแผนระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง

     

    4 1. จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการ และติดตามประเมินผล อย่างน้อยจังหวัดละ2 ครั้ง 2. รวบรวมชุดความรู้เรื่องอาหาร ในพื้นที่ คัดเลือกที่มีรูปธรรมชัดเจน เพื่อผลักดันให้รัฐและท้องถิ่นนำไปใช้ในการวางแผนระดับจังหวัด และแผนระดับท้องถิ่น(โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากโครงการบูรณาการอาหารจังหวัดสงขลา ซึ่งสนับสนุนโดยสำนัก5)
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการ และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

     

    5 งานสร้างสุขภาคใต้ระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 นำเสนอประเด็นความมั่นคงทางอาหาร วันที่ 4 ตุลาคม 2559
    ตัวชี้วัด : 1.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นแกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน 2.เอกสารประกอบการเสวนา แกะรอยข้าใต้ ใครทำใครกิน 3.นิทรรศการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร นำเสนอโดย ม.ทักษิณ และ อบต.ควนรู

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.การผลักดันให้ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาเป็นแผนปฏิบัติงานของจังหวัด อปท. และหน่วยอื่นๆ เกิดโครงการและกิจกรรมการจัดการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการที่สมวัย (2) 2. จัดทำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง โดยใช้ข้อมูลข้าวทั้งระบบเป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานผลักดันยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง (3) 3. การขยายพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการของตำบลควนรู และตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา ไปสู่ 5 อปท.ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีที่ 1เป็นการจัดการระบบข้อมูลความมั่นคงอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย (4) 1. จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการ และติดตามประเมินผล อย่างน้อยจังหวัดละ2 ครั้ง 2. รวบรวมชุดความรู้เรื่องอาหาร ในพื้นที่ คัดเลือกที่มีรูปธรรมชัดเจน เพื่อผลักดันให้รัฐและท้องถิ่นนำไปใช้ในการวางแผนระดับจังหวัด และแผนระดับท้องถิ่น(โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากโครงการบูรณาการอาหารจังหวัดสงขลา ซึ่งสนับสนุนโดยสำนัก5) (5) งานสร้างสุขภาคใต้ระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 นำเสนอประเด็นความมั่นคงทางอาหาร วันที่ 4 ตุลาคม 2559

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

    รหัสโครงการ 58-04288 รหัสสัญญา 58-00-2397 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2558 - 31 มีนาคม 2560

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    จัดทำโครงการทบทวนวิเคราะห์ และ จัดทำแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา มีคณะทำงานวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หอการค้าจังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา ฯลฯ ร่วมวิเคราะห์เอกสาร ดังนี้

    1.วิสัยทัศน์จังหวัดสงขลา

    2.วาระสงขลาเฉลิมพระเกียรติ

    3.ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัด

    4.แผนทรัพยากรมนุษย์ 15 ภาคีคนรักสงขลา

    5.แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา

    6.แผนจัดการท่องเที่ยว

    7.ผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดสงขลา

    8.ผลการศึกษาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

    9.องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

    10.เทศบาลนครหาดใหญ่

    เอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 เรื่องนำมาวิเคราะห์ใช้ประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    การทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา มีหลักการดำเนินงาน ดังนี้

    1.ยุทธศาสตร์ประเทศไทย

    2.ยุทธศาสตร์จังหวัด

    3.แผนพัฒนาหมู่บ้าน / แผนพัฒนา/ตำบลแผนพัฒนาอำเภอ /แผนพัฒนากลุ่มอำเภอ

    4.ผู้ว่าราชการจังหวัดและฝ่ายปกครองลงพื้นที่รับฟังปัญหา/ความต้องการจากพื้นที่

    5.ทบทวนโดยทีมนักวิชาการ

    ุ6.เครือข่าย ได้แก่ เกษตร 46 ด้าน / ประมงพื้นบ้าน /กลุ่มเครื่องแกง

    7.ภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ 15 ภาคี /หอการค้า / สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว /สภาอุตสาหกรรม

    เอกสารนโยบายระดับประเทศ ข้อมูลของพื้นที่ ข้อมูลของเครือข่าย นำมาวิเคราะห์ใช้ประกอบการทำยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจังหวัดสงขลา ปี 2561-2565 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน

    ส่วนที่ 1แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคต 1.สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ณ ปี 2574

    2.ทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

    3.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564)

    4.ยุทธศาสตร์ชาติไทย 20 ปี พ.ศ.2560-2579

    5.Thailand 4.0

    ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจังหวัดสงขลาระยะยาว พ.ศ. 2561-2565

    1.ภาพอนาคตจังหวัดสงขลา

    2.วิสัยทัศน์จังหวัดสงขลา

    3.ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ

    4.ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา

    5.ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านสังคม

    6.ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    7.ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ

    เอกสารยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจังหวัดสงขลาระยะเวลา ปี 2561-2565 โครงการทบทวน วิเคราะห์และจัดทำแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจังหวัดสงขลาระยะยาว พ.ศ. 2561-2565 ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ได้รับการอุดหนุนงบประมาณปี 2560 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

    1.โครงการอาหารกลางวันคุณภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสงขลา ดำเนินงานโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

    2.โครงการ บ้านเอื้อบุญ-อุ่นรัก อ.บางกล่ำ ดำเนินงานโดยโรงพยาบาลหาดใหญ่

    รายละเอียดโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    คณะทำงานวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการ ประกอบด้วย

    1.นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แก่ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ กองแผนงาน และคณะวิศวกรรมศาสตร์

    2.โรงเรียนศรีนคร

    3.สำนักงานจังหวัดสงขลา

    4.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

    5.ผู้แทน 15 ภาคีบริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติเพื่อการพัฒนาจังหวัดสงขลา

    6.ภาคเอกชน

    คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    สร้างความร่วมมือการทำงานระหว่างสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา ในการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    กรอบความร่วมมือการทำงานพัฒนารูปแบบบูรณาการระบบอาหารในกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา จังหวัด

    รหัสโครงการ 58-04288

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ,ดร.เพ็ญ สุขมาก )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด