directions_run

โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย โรงเรียนวัดทุ่งฆ้อโฆสิตาราม (โรงเรียนวัดทุ่งฆ้อโฆสตาราม)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย โรงเรียนวัดทุ่งฆ้อโฆสิตาราม (โรงเรียนวัดทุ่งฆ้อโฆสตาราม)
ภายใต้โครงการ แผนงานการบูรณาการระบบอาหารในสถานศึกษาของจังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดทุ่งฆ้อโฆสิตาราม ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปัทมา จันทมณี (0936589812)
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ วรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 2 ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9368095902177,100.54484973711place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กผอม
8.49
2 ร้อยละเด็กอ้วนและเริ่มอ้วน
14.15

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กที่มีภาวะอ้วนหรือผอม จะเกิดผลกระทบต่อร่างกายและการเจริญเติบโตของเด็ก จากการสำรวจพบว่ามีเด็กผอม จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 8.49 มีเด็กอ้วน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 14.15นักเรียนร้อยละ 20มีพฤติกรรมเลือกและไม่ชอบรับประทานผัก และผลไม้

stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

โรงเรียนจัดบริการอาหารกลางวันที่สะอาด ปลอดภัย โดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภขนาการเป็นสำคัญ สร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณค่าของอาหารที่มีประโยชน์อันส่งผลต่อภาวะการเจริญเติบโตนของตนเอง เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค และมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพตนเองอย่างยั่งยืน จึงควรส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตั้งแต่ต้นน้ำคือการผลิต เลือกวัถตถุดิบที่จะนำมาประกอบอาหาร กลางน้ำคือประกอบอาหาร และรู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จนถึงปลายน้ำคือมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ทั้งนี้โดยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และปลอดภัย โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรภายในโรงเรียนนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวัน

นักเรียนอ้วนและนักเรียนผอมมีภาวะเสี่ยงลดลงร้อยละ 5

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และรับประทานอาหารจำพวกผัก และผลไม้ มากขึ้น

นักเรียนร้อยละ 75 มีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะและปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอ

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการเกษตรในโรงเรียนเพื่อเพิ่มผลผลิตสำหรับเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน

โรงเรียนจัดกิจกรรมทางการเกษตรอย่างน้อย 2 กิจกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตสำหรับเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน

0.00
stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 161
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
นักเรียนชั้น ป.4 - ป.6 55 -
นักเรียนชั้น อนุบาล -ป.6 106 -
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,010.00 4 20,000.00
1 ต.ค. 61 - 29 ก.ค. 62 ปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน 0 5,000.00 0.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 เพาะเห็ดนางฟ้า 0 10.00 11,700.00
1 - 8 พ.ค. 62 เตรียมแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ 0 0.00 8,300.00
1 ก.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 เก็บเกี่ยวผลผลิตผักปลอดสารพิษ /เห็ดนางฟ้า ส่งต่อโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน 0 0.00 0.00

1.เตรียมพื้นที่และภาชนะในการปลูกผักปลอดสารพิษ

2.จัดหาพันธุ์ผักสำหรับนำมาปลูก

3.นักเรียนร่วมกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษโดยมอบหมายเป็นรายห้อง และชุมนุมเกษตรพอเพียง

4.ปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารพิษโดยเลือกผักที่นักเรียนชอบรับประทาน

5.จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า

6.จัดหาก้อนเห็ดนางฟ้าและดูแลรักษา

7.นำผลผลิตผักปลอดสารพิษและเห็ดนางฟ้าไปเป็นวัตถุดิบสำหรับทำอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.โรงเรียนมีผลผลิตผักปลอดสารพิษและเห็ดนางฟ้าเพื่อนำไปทำเป็นอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน

2.นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ประโชน์ สะอาดและปลอดภัยจากสารพิษ

3.นักเรียนเห็นคุณค่าของอาหารที่มีประโยชน์และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2561 14:33 น.