directions_run

โครงการเกษตรในโรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา 1 (โรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา ๑)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรในโรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา 1 (โรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา ๑)
ภายใต้โครงการ แผนงานการบูรณาการระบบอาหารในสถานศึกษาของจังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา ๑ ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนธรรมศาสตร์ - จุฬา 1 (0892996257 , 0895971252)
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ วรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ ม.3 ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และนโยบายการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฉบับดังกล่าวมุ่ง  สู่วิสัยทัศน์ที่ว่า  “ ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยังยืน ” ตามหลักการดังกล่าวโรงเรียนธรรมศาสตร์-จุฬา ๑ ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการจัดทำอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษาคือตั้งแต่ระดับดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนทุกคนได้รับรับประทานอาหารกลางวันทุกคน แต่นักเรียนบางส่วนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 45.89 และน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนตามเกณฑ์ 79 คน คิดเป็นร้อยละ 54.10 ของนักเรียนทั้งหมด ดังนั้นตามเกณฑ์ดังกล่าวทางโรงเรียนธรรมศาสตร์-จุฬา ๑ มีการจัดทำกิจกรรมเกี่ยวการเกษตรหรือการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ที่ดีขึ้น โดยกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เน้นนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการผลิตและใช้เป็นอาหารกลางวันที่ถูกต้องครบถ้วนหลักการทางด้านโภชนาการและปลอดสารพิษ
กิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรโดยเฉพาะกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลาดุก รวมไปถึงการปลูกพืชสวนครัวและเพาะเห็ดนางฟ้าเป็นกิจกรรมที่ควรพัฒนาต่อไปเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี รวมถึงการให้ความรู้และปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่นเพื่อที่จะนำไปพัฒนาตนเองในการประกอบอาชีพและใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

1.นักเรียนโรงเรียนธรรมศาสตร์จุฬา ๑ ได้รับประทานอาหารกลางวันทุกคน

2.กิจกรรมเลี้ยงสัตว์ คือ เลี้ยงไก่ไข่ และปลาดุก ( บ่อซีเมนต์ ) เพื่อสนับสนุนการประกอบอาหาร
กลางวัน 3.กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษและเพาะเห็ดนางฟ้าสนับสนุนอาหารกลางวัน

4.นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเลี้ยงสัตว์และปลูกผัก

5.นักเรียน ครู ผู้ปกครองได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้

stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  1. นักเรียนมีน้ำหนัก และส่วนสูงตามภาวะโภชนาการที่กำหนด
60.00
2 นักเรียนมีความรู้และเลี้ยงสัตว์ คือ ไก่ไข่ และปลาดุก (บ่อซีเมนต์) ได้ถูกต้อง

1.นักเรียนสามารถเลี้ยงปลา ไก่ ได้ถูกต้อง

2.นักเรียนมีเนื้อสัตว์เป็นอาหารกลางวัน เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต

60.00
3 นักเรียนทีความรู้และสามารถปลูกผักปลอดสารพิษและเพาะเห็ดนางฟ้าได้
  1. นักเรียนสามารถปลูกผักสวนครัวได้
  2. นักเรียนมีความรู้เรื่องประโยชน์ของผักปลอดสารพิษและนำความรู้ไปปฏิบัติ
  3. นักเรียนสามารถดูแลเห็ดนางฟ้า
60.00
4 นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ได้มีความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้ อย่างถูกต้อง
  1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติทั้งที่โรงเรียน บ้าน และชุมชน
70.00
stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 146
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
นักเรียน 146 -
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,500.00 4 20,000.00
20 พ.ย. 61 เลี้ยงไก่ไข่ 0 10,000.00 14,500.00
20 พ.ย. 61 เลี้งปลาดุก 0 2,500.00 2,500.00
20 พ.ย. 61 เพาะเห็ดนางฟ้า 0 2,000.00 2,000.00
20 พ.ย. 61 ปลูกผักสวนครัว 0 1,000.00 1,000.00
  1. กิจกรรมเลี้ยงสัตว์ คือ เลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 48 ตัว
  2. กิจกรรมเลี้ยงปลาดุก (บ่อซีเมนต์) จำนวน 500 ตัว
  3. กิจกรรมปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ (ผักกางมุ้ง) ขนาดพื้นที่กว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร
  4. กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า จำนวน 200 ก้อน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนได้รับประทาอาหารที่ปลอดภัยและถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  2. นักเรียนมีความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ คือ เลี้ยงไก่ไข่ และปลาดุก (บ่อซีเมนต์) และนำไปสู่ระบบอาหาร กลางวันในโรงเรียน
  3. นักเรียนมีความรู้และสามารถปลูกผักปลอดสารพิษและเพาะเห็ดนางฟ้าเพื่อนำไปสู่ระบบอาหาร กลางวันในโรงเรียน
  4. นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติใน ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561 14:55 น.