directions_run

การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ ”

สามจังหวัดชายแดนใต้

หัวหน้าโครงการ
ดร.ซอฟียะห์ นิมะ

ชื่อโครงการ การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้

ที่อยู่ สามจังหวัดชายแดนใต้ จังหวัด

รหัสโครงการ 66-00835 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568


กิตติกรรมประกาศ

"การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน สามจังหวัดชายแดนใต้

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้



บทคัดย่อ

โครงการ " การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ " ดำเนินการในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนใต้ รหัสโครงการ 66-00835 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2566 - 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 5,000,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

วัยรุ่นถือเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมแวดล้อม (bio-psycho-social-development) การตั้งครรภ์วัยรุ่นและการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอาจนำไปสู่การทำแท้งที่อันตรายได้ ซึ่งจากการเปรียบเทียบรายจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 12 พบว่า จังหวัดปัตตานี มีอัตราการคลอดซ้ำของวัยรุ่นสูงสุด ร้อยละ 19.83 รองลงมา จังหวัดสงขลา ร้อยละ 17.91 จังหวัดยะลา ร้อยละ 17.02 และจังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 13.15 โดยปรากฏการณ์ของการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้นั้น เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ด้านปัจเจกบุคคล (ตัวเด็กและวัยรุ่น) ค่านิยมหรือความต้องการของพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อส่วนบุคคล หรือ วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม (social norms) ที่อ้างการเชื่อมโยงไปยังหลักความเชื่อทางศาสนา รวมทั้ง การถูกล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลภายในและภายนอกครอบครัวที่เป็นคดีความและหลีกเลี่ยงการเป็นคดีความต่าง ๆ เป็นต้น ด้านกลไกการดำเนินงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทยมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับเขต และระดับจังหวัด ที่มีการดำเนินงาน การส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้าน อนามัยการเจริญพันธ์ุ การประเมินรับรองมาตรฐานสถานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน การรับรองตามเกณฑ์อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ งานวางแผนครอบครัวโดยเฉพาะ

จากการดำเนินงานของสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อประเด็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในสามจังหวัดชายแดนใต้โดยอาศัยกลไก พชอ. ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจาก สสส. ในระยะที่ 1 (ตุลาคม 2562-มีนาคม 2564) จำนวน 4 อำเภอ พบว่า สมรรถนะของ พชอ. ยังต้องการหนุนเสริมการพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน ในระยะที่ 2 (ตุลาคม 2564 - พฤษภาคม 2566) พบว่า เกิดผลผลิตด้านองค์ความรู้และการพัฒนาคู่มือที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของ พชอ. ทั้ง 19 อำเภอ ผ่านกระบวนการระดมสมอง สนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักคือ นายอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ปลัดอำเภออาวุโส พี่เลี้ยงระดับอำเภอ ผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่นระดับอำเภอ และ ภาคีเครือข่ายในระดับตำบล จำนวน 195 คน ที่ได้แสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น

ดังนั้น ในระยะที่ 3 ของการดำเนินงาน ทางสถาบันนโยบายสาธารณะ จึงได้ออกแบบโครงการร่วมกับผู้ว่าราชการประจำจังหวัดและตัวแทนผู้รับผิดชอบงานระดับจังหวัดอีกครั้งโดยใช้อำเภอเป็นฐาน (District-based design) เพื่อกำหนดยุทธวิธีการดำเนินงานผ่านทุนของพื้นที่เป็นรายอำเภอ ตั้งแต่ทุนทางสังคม (วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพื้นที่) ทุนการดำเนินงาน (งบประมาณและบุคลากรของพื้นที่) ทุนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์วัยรุ่น และทุนนโยบายโดยเฉพาะนโยบายสาธารณะต่อการขับเคลื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก คือ พชอ. สามารถปฏิบัติการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และการนํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2570 อย่างเป็นรูปธรรมโดยสามารถวัดได้และประเมินผลลัพธ์ การดำเนินงานได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของพชอ. 19 อำเภอ (เดิม) ต่อกระบวนการในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พัฒนา และค้นหาศักยภาพให้กับอำเภออื่น ๆ ในด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพพชอ. ในพื้นที่ขยายผล 14 อำเภอ (ใหม่) ให้มีแนวทางในการขับเคลื่อนจากการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติ ในจังหวัดชายแดนใต้
  3. เพื่อประเมินผลลัพธ์ ในการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ: กรณีศึกษา 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้
  4. เพื่อรณรงค์สื่อสารทางสังคม (Media Advocacy) ต่อการดำเนินงานประเด็นครรภ์วัยรุ่นของ พชอ. 33 อำเภอในจังหวัดชายแดนใต้
  5. เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ต่อการผลักดันนโยบาย (Policy advocacy) ในการขับเคลื่อนประเด็นครรภ์วัยรุ่นต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมทีมงานหลัก (Core Team)
  2. ประชุมติดตามผล MoU และ Policy Advocacy
  3. การรณรงค์สื่อสารทางสังคม
  4. ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน
  5. ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  6. เวทีนำเสนอแผน พชอ.
  7. District Policy Advocacy
  8. การติดตามเสริมพลัง
  9. การประเมินผลลัพธ์รวบยอด
  10. เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานของ พชอ. 33 อำเภอ
  11. เวทีข้อเสนอเชิงนโยบายในจังหวัดชายแดนใต้
  12. เวทีนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการอิสระระดับชาติ
  13. ประชุมทีมงานหลัก (Core Team) ครั้งที่ 1
  14. ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน ครั้งที่ 1
  15. ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน ครั้งที่ 2
  16. ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน ครั้งที่ 3

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ มีศักยภาพในการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติตามห่วงโซ่คุณค่า (Value chain)


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมทีมงานหลัก (Core Team) ครั้งที่ 1

วันที่ 12 กันยายน 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการการพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ เป็นโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 3 เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 (18 เดือน) โดยมี ดร. ซอฟียะห์ นิมะ ผู้รับผิดชอบโครงการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริม พชอ. โดยการนำ พรบ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติตามห่วงโซ่คุณค่า

สำหรับ ทีมงานหลัก (Core Team) มีแผนการประชุมร่วมกัน ดังนี้

  • ประชุม ทีมงานหลัก (Core Team) ทุกเดือน ตลอดโครงการ
  • ประชุม BAR-AAR เพิ่มเตรียมการและสรุปผลการจัดอบรม ตลอดโครงการ
  • ประขุมทีมที่ปรึกษาโครงการ (Board) 3 ครั้ง
  • ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2 ครั้ง

โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ พชอ. รวมทั้งสิ้น 33 อำเภอ (ทั้งนี้ เพิ่มขึ้น 14 อำเภอ รวมกับอำเภอเดิม 19 อำเภอ) และใช้การจัดโครงสร้างด้วย Buddy Model

สำหรับ โครงการ ระยะที่ 3 มีหน้าที่หลักในการจัดกระบวนการประเมินความพร้อมของ พชอ. 19 อำเภอต่การเพิ่มขีดความสามารถในการแนะนำให้คำปรึกษาแก่อำเภออื่นและประเมินแนวทางในการขยายผลในอำเภอใหม่ 14 อำเภอ เพื่อให้ พชอ. ได้วิเคราะห์ปัญหาและทุนของพื้นที่สู่การออกแบบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ตามยุทธศาสตร์ 5 ด้าน นำแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยเน้นการทำงานบูรณาการ 6 กระทรวงหลัก (ปัจจุบันพบว่างานจะเน้นหนักที่กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น) รวมทั้ง มีการประเมินผลลัพธ์และคืนข้อมูลให้ พชอ. ผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการจังหวัด

ข้อเสนอแนะ/ระดมสมอง

  • ควรกำหนดบทบาทของทีมทำงานส่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจน ทั้งแม่ข่ายและลูกข่าย ให้พื้นที่ได้รู้เพื่อทำงานได้ตรงตามเป้าหมายที่โครงการวางไว้ เมื่อกำหนดบทบาทได้ชัดเจนแล้วโครงการก็สามารถให้การสนับสนุนได้เต็มที่
  • ควรจัดระบบการประสานงานของสำนักงานกลาง (เจ้าหน้าที่ธุรการและประสานงาน) ให้ชัดเจน เพราะมีทีมทำงานหลากหลาย ทั้งทีมจังหวัดและทีมพื้นที่
  • การดำเนินโครงการที่ผ่านมา มีเอกสารที่เป็นเครื่องมือต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้ง 1) แนวทางปฏิบัติงานของวิทยากรรายจังหวัด และ 2) คู่มือหลักสูตรโมดูลต่าง ๆ ควรออกแบบเนื้อหาให้น่าสนใจ ใช้งานได้ง่ายขึ้น
  • ผลลัพธ์ของโครงการฯ ไม่เห็นด้วยที่ สสส. มองว่าศาสนาไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นครรภ์วัยรุ่น เพราะในกระบวนการขับเคลื่อนต้องมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • โครงสร้างการทำงาน ในส่วนทีมทำงานหลัก (Core team) 3 จังหวัด ต้องหาพี่เลี้ยงรายจังหวัดเพิ่มอีก 1 คน และทีมโค้ชชิ่งระดับอำเภอ ต้องหาให้ครบทั้ง 8 กลุ่มแม่ข่าย
  • การออกแบบเครื่องมือต่างๆ ที่โครงการฯ เคยทำไปแล้วนั้น เครื่องมือของ 19 อำเภอเดิม มีครบแล้ว ส่วน 14 อำเภอใหม่ ยังไม่มีเครื่องมือ ซึ่งอาจให้มีการสะท้อนการทำงานในเวที Assessment เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้า

แผนการทำงานต่อไป (ก.ย.-ต.ค. 2566)

  1. กำหนดวันลงพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อลงนามใน MOU ที่ยังขาดไปให้ครบถ้วน
  2. กำหนดวันพบผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการระดับจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด
  3. กำหนดปฏิทินกิจกรรมตลอดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ทีมทำงานหลัก (Core Team) จำนวน 10 คน ประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ

 

10 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของพชอ. 19 อำเภอ (เดิม) ต่อกระบวนการในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พัฒนา และค้นหาศักยภาพให้กับอำเภออื่น ๆ ในด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้
ตัวชี้วัด : 1. มีแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ 5 ด้านทั้ง 33 อำเภอ 2. มีกลไกความร่วมมือระหว่างภาคีจาก 6 กระทรวงหลักตาม พรบ. พ.ศ. 2559

 

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพพชอ. ในพื้นที่ขยายผล 14 อำเภอ (ใหม่) ให้มีแนวทางในการขับเคลื่อนจากการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติ ในจังหวัดชายแดนใต้
ตัวชี้วัด : 1. มีแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ 5 ด้านทั้ง 33 อำเภอ 2. มีกลไกความร่วมมือระหว่างภาคีจาก 6 กระทรวงหลักตาม พรบ. พ.ศ. 2559

 

3 เพื่อประเมินผลลัพธ์ ในการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ: กรณีศึกษา 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้
ตัวชี้วัด : 3. มีฐานข้อมูลการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายครรภ์วัยรุ่นโดยกลไก พชอ. และ ภาคีเครือข่าย

 

4 เพื่อรณรงค์สื่อสารทางสังคม (Media Advocacy) ต่อการดำเนินงานประเด็นครรภ์วัยรุ่นของ พชอ. 33 อำเภอในจังหวัดชายแดนใต้
ตัวชี้วัด : 4. มีการรณรงค์ขับเคลื่อนและสื่อสารสังคมประเด็นครรภ์วัยรุ่น

 

5 เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ต่อการผลักดันนโยบาย (Policy advocacy) ในการขับเคลื่อนประเด็นครรภ์วัยรุ่นต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด : 5. มีนวัตกรรมการบูรณาการทรัพยากรเพื่อการดูแลและให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายครรภ์วัยรุ่น

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของพชอ. 19 อำเภอ (เดิม) ต่อกระบวนการในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พัฒนา และค้นหาศักยภาพให้กับอำเภออื่น ๆ ในด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้ (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพพชอ. ในพื้นที่ขยายผล 14 อำเภอ (ใหม่) ให้มีแนวทางในการขับเคลื่อนจากการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติ ในจังหวัดชายแดนใต้ (3) เพื่อประเมินผลลัพธ์ ในการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ: กรณีศึกษา 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ (4) เพื่อรณรงค์สื่อสารทางสังคม (Media Advocacy) ต่อการดำเนินงานประเด็นครรภ์วัยรุ่นของ พชอ. 33 อำเภอในจังหวัดชายแดนใต้ (5) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ต่อการผลักดันนโยบาย (Policy advocacy) ในการขับเคลื่อนประเด็นครรภ์วัยรุ่นต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมทีมงานหลัก (Core Team) (2) ประชุมติดตามผล MoU และ Policy Advocacy (3) การรณรงค์สื่อสารทางสังคม (4) ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน (5) ประชุมเชิงปฏิบัติการ (6) เวทีนำเสนอแผน พชอ. (7) District Policy Advocacy (8) การติดตามเสริมพลัง (9) การประเมินผลลัพธ์รวบยอด (10) เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานของ พชอ. 33 อำเภอ (11) เวทีข้อเสนอเชิงนโยบายในจังหวัดชายแดนใต้ (12) เวทีนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการอิสระระดับชาติ (13) ประชุมทีมงานหลัก (Core Team) ครั้งที่ 1 (14) ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน ครั้งที่ 1 (15) ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน ครั้งที่ 2 (16) ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน ครั้งที่ 3

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ จังหวัด

รหัสโครงการ 66-00835

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ดร.ซอฟียะห์ นิมะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด