directions_run

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ”

4 ภาค (เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้)

หัวหน้าโครงการ
ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ และนายญัตติพงศ์ แก้วทอง

ชื่อโครงการ โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ที่อยู่ 4 ภาค (เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้) จังหวัด

รหัสโครงการ 66-00191 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 3 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 4 ภาค (เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้)

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย " ดำเนินการในพื้นที่ 4 ภาค (เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้) รหัสโครงการ 66-00191 ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,000,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ความเป็นมา/ หลักการและเหตุผล/ ความสำคัญของปัญหา

กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยกล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscles) ที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานที่ส่งผลต่อสุขภาพ แบ่งเป็น 3 ระดับตามการใช้แรงกาย ได้แก่ ระดับต่ำ ระดับปานกลาง และระดับหนัก (Mild–Moderate-Vigorous) ซึ่งรวมอยู่ในรูปแบบกิจกรรม 3 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมทางกายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การเดินทาง และนันทนาการและกีฬา (Work-Transport-Recreation)
จากการติิดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์์กิจกรรมทางกายระดับประเทศ โดยสถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้้เห็นว่าทิศทางการมีีกิจกรรมทางกายของประชากรไทยมีีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.03 ต่อปี จากร้อยละ 66.3 ในปีี 2555 (ปีีฐานของการสำรวจ) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.6 ในปีี 2562 (ก่อนสถานการณ์์โควิด-19) อย่างไรก็็ตาม ในช่วงการแพร่่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 ด้วยข้อจำกัดในการใช้ชีวิตดังที่่เคยเป็นตามปกติิ ส่งผลให้้ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่่เพียงพอของคนไทยในภาพรวมลดลงเหลือเพียงร้อยละ 55.5 (ข้อมูล เดือนมีีนาคม 2563) และอยู่ที่่ร้อยละ 65.3 (ข้อมูลเดือนธันวาคม ปี 2563) (แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส., 2565) และกิจกรรมทางกายจะลดลงในกลุ่มวัยเด็กและผู้ที่มีอายุมากขึ้น ขณะที่ในกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงสุด (ทิศทางและเป้าหมายระยะ 10 ปี (พ.ศ.2565-2574) สสส.) การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างมากและเป็นหนึ่งใน 5 ปัจจัยเสี่ยงหลักด้านสุขภาพ ในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable Diseases: NCDs) ของทุกประเทศทั่วโลก
แนวทางการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของประเทศไทยตามยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ในระยะ 10 ปีข้างหน้า พ.ศ.2565-2574 ให้ความสำคัญกับการ “สานสามพลัง” ประกอบด้วย พลังปัญญา พลังทางสังคม และพลังนโยบาย รวมทั้งแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.มีบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งในระดับชาติได้พัฒนาแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2561– 2573) ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรชุมชน เพื่อเป็นกลไกผลักดันพื้นที่สุขภาวะในระดับนโยบายสาธารณะ นำสู่การปฏิบัติและขยายผล โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” ในสมัชชาชาติครั้งที่ 10
ในระดับสากล สสส.ได้รับเลือกจาก International Society for Physical Activity and Public Health (ISPAH) ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติด้านการมีกิจกรรมทางกาย “ISPAH 2016” ผลจากการประชุมทำให้ได้ข้อตกลงร่วมกันของนานาชาติประกาศเป็น Bangkok Declaration on Physical Activity
ที่ผ่านมาแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ดำเนินโครงการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยใน    ปี 2560-2561 ดำเนินงานที่สำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2) การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและพัฒนาคุณภาพโครงการโดยร่วมพัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับกลุ่มเครือข่าย สสส. และกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 3) การวางระบบการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผล ปี 2562-2563 ดำเนินงานที่สำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส.และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 2) ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติผลการดำเนินงาน ปี 2564-2565 ดำเนินงานที่สำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่
1.ความร่วมมือคณะปฏิรูปประเทศด้านลานกีฬาสาธารณะในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
2. การขยายและยกระดับการดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
3. การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ปี 2560-2565 สามารถแบ่งได้ 4 ด้าน ได้ดังนี้ 1. การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ได้พัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถจัดการตนเองในการเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย เห็นสถานการณ์ปัญหาและการเก็บข้อมูล และมีทักษะในการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) การเขียนโครงการ PA และการติดตามประเมินผล PA 1.1 กองทุนสุขภาพตำบล - ปี 2560-2561: แผน 270 กองทุน, พัฒนาโครงการ 577 โครงการ และติดตามโครงการที่ได้รับทุน 1,068 โครงการ - ปี 2562-2563: แผน 519 กองทุน, พัฒนาโครงการ 1,206 โครงการ และติดตามโครงการที่ได้รับทุน 824 โครงการ - ปี 2564-2565: แผน 231 กองทุน, พัฒนาโครงการ 1,234 โครงการ และติดตามโครงการที่ได้รับทุน 1,622 โครงการ
1.2 โครงการเปิดรับทั่วไปกิจกรรมทางกาย สสส. - ปี 2562-2563: พัฒนาโครงการ 308 โครงการ และติดตามโครงการที่ได้รับทุน 60 โครงการ
1.3 ความร่วมมือลานกีฬาสาธารณะ กกท. - ปี 2564-2565: แผน 152 แผนงาน และพัฒนาโครงการ 115 โครงการ 2. การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะส่วนบุคคล และการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การทำแผนสุขภาพ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำโครงการที่มีคุณภาพ และการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ 2.1 ได้พี่เลี้ยงเขตและจังหวัดที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 142 คน 2.2 ได้พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 2,040 คน
2.3 พี่เลี้ยงโครงการเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมกิจกรรมทางกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ (ประเภทเปิดรับทั่วไป) ที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 22 คน และครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 616 คน รวม ทั้งหมด 638 คน 2.4 ได้พี่เลี้ยงลานกีฬาสาธารณะที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 313 คน
2.5 ได้นักวิชาการที่มีศักยภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 27 คน 3. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3.1 พัฒนาข้อเสนอมติสมัชชาชาติ ครั้งที่ 10 วาระการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เกิดการสื่อสาร pa ผ่านเครือข่ายสมัชชาจังหวัด 77 จังหวัด จำนวน 5,000 คน และมีองค์กรชาติขับเคลื่อนมติการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 18 องค์กร
3.2 ขับเคลื่อนมติสมัชชากับหน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน นำร่อง 2 พื้นที่ 3.3 ขับเคลื่อนมติสมัชชากับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยจะนำคู่มือแนะนำแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น ประยุกต์ใช้กับพื้นที่นำร่อง
3.4 สร้างความร่วมมือคณะปฏิรูปประเทศด้านลานกีฬาสาธารณะฯ นำร่อง ตรัง ราชบุรี 4. การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน กลไกการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
4.1 กลไกพี่เลี้ยงเขตและจังหวัด ขับเคลื่อนการทำแผน โครงการและติดตามประเมินผล 12 เขต
4.2 กลไกพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล ทำแผน โครงการและติดตามประเมินผลในพื้นที่กองทุน 4.3 กลไกพี่เลี้ยงลานกีฬาสาธารณะการกีฬาแห่งประเทศไทย นำร่องตรังและราชบุรี ทำแผนและโครงการ
4.4 กลไกวิชาการการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาคู่มือ ระบบ ฐานข้อมูลวิชาการการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย กลไกระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4.5 เกิดกองทุนสุขภาพตำบลฯศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 120 แห่ง เป็นศูนย์ถ่ายทอดการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ 4.6 เกิดการยกระดับกองทุนสุขภาพตำบลฯ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับตำบล สู่การส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับอำเภอ โดยผ่านกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน 8 พื้นที่

นอกจากนี้มีระบบสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ ได้แก่ คู่มือทำแผนและการเขียนโครงการในกองทุนสุขภาพตำบล คู่มือแนะนำแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น ข้อมูลถอดบทเรียนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สื่อวิดีทัศน์ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่กองทุนสุขภาพตำบล และระบบฐานข้อมูลออนไลน์ทำแผน โครงการและติดตามประเมินผล

การวิเคราะห์การดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ผ่านมา Strengths จุดแข็ง - สสส. มีทุนองค์ความรู้การออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อ pa เช่น องค์ความรู้จากสถาบันอาศรมศิลป์ , ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) , คู่มือการออกแบบพื้นที่สาธารณะในท้องถิ่นขนาดเล็ก (สนส.ม.อ. ร่วมกับ ศูนย์วิจัยบูรณาการภาพพื้นที่และสังคม) และการจัดการความปลอดภัยในกีฬามวลชน - มติสมัชชาที่เกี่ยวข้องกับ PA วัยเด็กใน มติที่ 5 จัดให้มีหลักสูตรและสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ PA ร่วมกับ ศธ. กระทรวงมหาดไทยฯ
- กลไกพี่เลี้ยงส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- ฐานข้อมูล PA /องค์ความรู้ PA Weaknesses จุดอ่อน - ประชาชน ยังคงขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการมีกิจกรรมทางกาย
- ประชาชนในทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะวัยเด็ก มีกิจกรรมทางกายเพียงพอลดน้อยลง - พื้นที่สาธารณะสำหรับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในท้องถิ่น - ชุมชนขาดการเข้าถึงพื้นที่สุขภาวะใกล้บ้านในท้องถิ่นต่างๆ เนื่องจากขาดพื้นที่ที่เป็นรูปธรรมต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ยังน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับท้องถิ่นทั้งหมดที่มีอยู่
Opportunities โอกาส - เครือข่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) อาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย (อสก.) - ความร่วมมือกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายสถาปนิก - กระแสความนิยมของคนในสังคมที่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย เช่น การจัดงานวิ่ง ปั่นจักรยาน
- นโยบายที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย - แนวโน้มการจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อกำหนดนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย Threats อุปสรรค ข้อจำกัด - สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการทำมาหากิน - สภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเกิดปัญหาฝุ่นละออง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดภัยธรรมชาติ การระบาดของโควิดที่มีอย่างต่อเนื่อง
- ข้อเสนอนโยบายพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่การก่อสร้างจริงในพื้นที่เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นความท้าทายในการดำเนินงาน

  โอกาสการพัฒนา 1.ขับเคลื่อนให้เกิดพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในระดับท้องถิ่น 2. ขยายการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายไปยังภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน 4. สื่อสารสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

เพื่อทำให้การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นบรรลุเป้าหมาย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายจึงได้ร่วมมือกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันจัดทำ “โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” โดยการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย รวมทั้งยกระดับและพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ/สื่อสารสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

นิยามเชิงปฏิบัติการของโครงการ
การขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย คือ การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการกำหนดทางเลือกและตัดสินใจนโยบาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอในกลุ่มเด็ก เยาวชน โดยใช้กลไกนโยบายและทุนองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายของ สสส. ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้กำหนดนโยบาย (พรรคการเมือง) สู่ผลลัพธ์ได้ข้อเสนอนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมคิดร่วมออกแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมและคำนึงถึงความปลอดภัย โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ถึงสถานการณ์กิจกรรมทางกาย การทำแผน การออกแบบพื้นที่เชิงกายภาพในพื้นที่สาธารณะ และออกแบบกิจกรรมที่เหมาะกับพื้นที่และกลุ่มวัยเพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกาย
การยกระดับและพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย คือ การยกระดับภาคีเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย เครือข่าย อปท. (เครือข่ายสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย) และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนและสามารถเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพของบประมาณในพื้นที่ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการออกกำลังกาย
สื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย คือ การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่องนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และมีแผนขั้นตอนการดำเนินการ (Road map) นำไปสู่การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเด็นต่างๆ เช่น การขับเคลื่อนนโยบายประเด็นพื้นที่สุขภาวะ ประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมในเด็ก และประเด็นการทำแผนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล

เป้าประสงค์ของโครงการ (Goal) 1. เพิ่มการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเด็กและเยาวชน ในศูนย์พัฒนาเด็ก โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน 2. เพิ่มการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ในชุมชนเพื่อลด NCDs

วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินการ การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ หน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การกีฬาแห่งประเทศไทย เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สื่อท้องถิ่น สื่อภาคใต้ สื่อภาคเหนือ สื่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลักเกณฑ์ในการเลือกพื้นที่ดำเนินงาน - พื้นที่ที่มีศักยภาพและมีความพร้อม/สมัครใจให้ความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำไปสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบและสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อได้
- พื้นที่ที่มีกลไกการทำงานในพื้นที่เข้มแข็ง และแกนนำกลไกมีศักยภาพในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- พื้นที่ที่มีผู้บริหาร/ผู้ขับเคลื่อนสนับสนุนในเชิงนโยบายของการพัฒนาพื้นที่

ภาคีความร่วมมือ - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) - กระทรวงมหาดไทย (มท.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย (อสก.) - สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  2. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. (P001001) 1.1.1 รวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรม
  2. (P002001) 1.1.2 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านพื้นที่สุขภาวะ และการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยใช้การทำงานด้านวิชาการในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเสนอนโยบาย
  3. (P003001) 1.1.3 พิจารณาร่างข้อเสนอ ร่วมกับหน่วยงานกำหนดนโยบายโดยภาครัฐและพรรคการเมือง กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ
  4. (P004001) 1.1.4 เวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร่วมกับพรรคการเมืองและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ
  5. (P005001) 1.1.5 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  6. (P007001) 1.2.2 เครือข่ายสื่อท้องถิ่นเผยแพร่และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
  7. (P013001) 2.2.1.2 ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาพในพื้นที่นำร่อง และจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  8. (P022001) ค่าวัสดุสำนักงาน/ วัสดุสิ้นเปลือง
  9. (P023001) ค่าตรวจบัญชี
  10. (P024001) ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ
  11. (MNT000001) ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
  12. (P021001) 3.4 การติดตามประเมินผล - การติดตามประเมินผลได้วิเคราะห์แนวทางการขยายผลจากกลุ่มพื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่ต้นแบบ โดยพื้นที่ต้นแบบได้ประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ/ความสำเร็จของการขยายผล/ต่อยอด (ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ)/ปัจจัยความสำเร็จฯ
  13. (P006001) 1.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  14. (P008001) 2.1.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสามารถเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบกองทุนสุขภาพตำบลและงบอื่นๆ ในพื้นที่ (กกท.)
  15. (P009001) 2.1.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการออกกำลังกายในลานกีฬาสาธารณะ
  16. (P010001) 2.1.3 กระบวนการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ลานกีฬาสาธารณะให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่องพื้นที่ของ กกท.ระดับจังหวัด รวมทั้งสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ จำนวน 5 พื้นที่ มีขั้นตอนดังนี้
  17. (P011001) 2.1.4 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานกับเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย
  18. (P012001) 2.2.1.1 ทำความร่วมมือกับสมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. เพื่อหาพื้นที่นำร่องการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยจำนวน 10 พื้นที่ (พื้นที่สาธารณะ ลานเด็กเล่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนสังกัด อปท.)
  19. (P014001) 2.2.1.3 ติดตามประเมินผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แผนและปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่อง
  20. (P015001) 2.2.1.4 ผลักดันนโยบายมาตรฐานการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ไปสู่หน่วยงานระดับนโยบาย
  21. (P016001) 2.2.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่าย ให้จัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบประมาณในพื้นที่ ประกอบด้วย สมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัด อปท. (อปท.)
  22. (P017001) 2.2.2.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการมีกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ และลานเด็กเล่น
  23. (P018001) 3.1 ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (พื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น, ลานกีฬาสาธารณะ, พื้นที่ PA ในสถานศึกษา)
  24. (P019001) 3.2 ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  25. (P020001) 3.3 ปรับปรุงฐานระบบติตดามประเมินผล
  26. ประชุมวางแผนถอดบทเรียนในรูปแบบบทความ จำนวน 40 ประเด็น (คุณถนอม)
  27. (Plan) ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 40 เรื่อง
  28. (Plan) ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคเหนือ
  29. (Plan) ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  30. (Plan) ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคใต้
  31. (Plan) การประเมิน SROI 3 ภาค
  32. สนับสนุน PA ภาคเหนือ จำนวน 8 โครงการ
  33. (Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 โครงการ
  34. (Plan) ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ
  35. (Plan) ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการ
  36. (Plan) ปรับปรุงเว็บ Pathailand
  37. (plan) ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
  38. (Plan) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกรกฏาคม 2567
  39. ประชุมวางแผนงานและทบทวนreview PAวัยเด็กและพื้นที่สุขภาวะ
  40. ประชุมหารือติดตามมติ PA และแผนเวทีสาธารณะ
  41. ประชุมพัฒนาข้อเสนอนโยบายกับ สช.และเครือข่าย 4 มติ หารือการจัดทำข้อมูลมติกิจกรรมทางกาย, มติพื้นที่สาธารณะ, มติการเดินและการใช้จักรยาน, มติพื้นที่เล่นเด็ก
  42. นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จ.สงขลา
  43. นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จังหวัดปัตตานี
  44. หารือทีมสื่อ เรื่องนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  45. จัดทำสื่อนโยบายสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  46. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 (3 เดือน)
  47. ประชุมรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน
  48. นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในงาน Southern Research Expo and Innovation Showcaase 2023
  49. ประชุมเอกสารนำเข้า PA และกำหนดตัวชี้วัดและแผนติดตามขับเคลื่อนต่อหลังงานสร้างสุข PA
  50. การประชุมออกแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรม
  51. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน สิงหาคม 2566
  52. ทีมงานติดตามงานและวางแผนการดำเนินโครงการ
  53. ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 1
  54. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน กันยายน 2566
  55. ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ระบบออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  56. วางแผนการทำงานการขับเคลื่อนงาน PA กับ กกท.และ อปท. 16/10/66
  57. หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง
  58. ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ Pathailand
  59. ประชุมปรึกษาหารือเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
  60. การประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  61. หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ตรัง จ.ศรีสะเกษ และจ.น่าน
  62. หารือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล จ.สุราษฎร์ธานี
  63. ประชุมวางแผนทำแผนโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
  64. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนตุลาคม 2566
  65. ประชุมติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  66. ค่าจัดจ้างการทำตรายางหมึกในตัวชื่อโครงการและรหัสโครงการ
  67. ประชุมรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรมเรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย
  68. การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 1
  69. ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 1
  70. การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่องของการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง
  71. การประชุมติดตามความก้าวหน้าการทบทวนเอกสาร (Progress report)
  72. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  73. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566
  74. ทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับเครือข่ายอีสาน (จ.อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ)
  75. ประชุมหารือการจัดโมดูลพัฒนาศักยภาพสื่อฯ PA
  76. รายงานความก้าวหน้าการทบทวนเอกสารพื้นที่สาธารณะ
  77. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  78. จัดการประชุมเวทีฟอรั่มการจัดการความรู้ ครั้งที่ 2 ภาคใต้ “ร่วมเปลี่ยนการศึกษา เพื่อเด็กทุกคน”
  79. การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  80. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนธันวาคม 2566
  81. ประชุมการสื่อสารสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน
  82. ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2567
  83. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  84. ประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  85. ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนกับภาคเครือข่ายในการพัฒนาแผนกิจกรรมทางกายและตำบลบูรณาการอาหารของท้องถิ่น
  86. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมกราคม 2567
  87. ประชุมคณะทำงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่
  88. ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ ร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
  89. คณะทำงานสำรวจสถานที่ เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน
  90. การประชุมหารือวางแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาะารณะ การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง
  91. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน
  92. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดลำพูน
  93. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1
  94. การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1
  95. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดตรัง งวดที่ 1
  96. ประชุมทำแผนสุขภาพ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่/ประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ฯพื้นที่สุราษฎ์ธานี
  97. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการ จ.สุราษฎร์ธานี
  98. การประชุมติดตามการดำเนินงานของพื้นที่โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่านและลำพูน
  99. กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลตะกุกเหนือ จ.สุราษฎร์ธานี
  100. ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง
  101. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567
  102. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม
  103. กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลไชยคราม ตำบลปากแพรก จ.สุราษฎร์ธานี
  104. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ
  105. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ
  106. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1
  107. การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1
  108. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง อบต.ก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  109. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  110. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  111. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง
  112. ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 2
  113. การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดน่านและจังหวัดลำพูน งวดที่ 1
  114. ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  115. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
  116. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
  117. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี โดย นางดวงรัตน์ คงขาว
  118. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ต.น้ำพุ อ.บ้านนาสารจ.สุราษฎร์ธานี โดย นางกฤติยาภรณ์ ไทยเสน
  119. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ป่าร่อน อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดย นางประภา สุขแสน
  120. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี โดย นายวิโรจน์ รักช่วย
  121. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด ็กเล็กบ้านคราม ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี โดย นางปราณี จิ๋วประดิษฐกุล
  122. การประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/)
  123. ประชุมวางแผนการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลง
  124. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมีนาคม 2567
  125. คณะทำงานเข้าร่วมประชุมการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี
  126. ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการดำเนินงานของ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ปี 2564 -2567
  127. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่าน งวดที่ 1
  128. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดลำพูน งวดที่ 1
  129. การประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่จังหวัดตรัง
  130. การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 2
  131. ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ
  132. การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี
  133. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพและจัดทำแผนในพื้นที่นำร่อง จ.น่าน และจ.ลำพูน
  134. ประชุมการทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง
  135. ค่าจ้างเจ้าหน้าที่โครงการ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567
  136. โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกาย สบายชีวี ปี 2567
  137. โครงการหนูน้อย พัฒนาการสมวัยด้วยการออกกำลังกาย (ต.ปะเหลียน)
  138. โครงการอนุรักษ์ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า (ต.ปากคม)
  139. โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองเพื่อสุขภาพ (ต.โคกหล่อ)
  140. โครงการส่งเสริมการเดิน วิ่ง และใช้จักรยานในชุมชน (ต.บ้านโพธิ์)
  141. โครงการกิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี (ต.น้ำผุด)
  142. โครงการเด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนราห์ ต.หาดสำราญ
  143. โครงการส่งเสริมเด็กเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นด้วยการเล่นฟุตบอล ต.นาโยงเหนือ
  144. โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพในเด็กวัยรุ่น ต.ย่านตาขาว
  145. การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง
  146. การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง
  147. การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพทีมสื่อสุขภาพ เรื่อง การสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
  148. การประชุมรายงานผลการออกแบบพื้นที่สุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  149. การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ
  150. ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 2
  151. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้างานของภาคเหนือ จ.ลำพูน และ จ.น่าน
  152. กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม จ.สุราษฎร์ธานี งวดที่ 2
  153. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
  154. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.จิกดู่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
  155. ประชุมเตรียมลงพื้นที่จัดทำแผนและโครงการภาคีเครือข่ายจังหวัดนครพนม
  156. การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล จ.นครพนม
  157. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน มิถุนายน 2567
  158. ประขุมเตรียมเวทีออกแบบกิจกรรมโครงการที่สอดรับกับแบบสถาปนิก จ.อุบลราชธานี และ จ.อำนาจเจริญ
  159. การประชุมติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 2
  160. ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ตำบล ปี 2567 ของอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี และ link: https://zoom.us/j/9019029104
  161. ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและส่งต่อหน่วยงานกำหนดนโยบาย
  2. เครือข่ายสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ อย่างน้อยจำนวน 3 ประเด็น (เช่น พื้นที่สุขภาวะ,ส่งเสริม PA ในเด็กและเยาวชน, แผนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล)
  3. มีสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่เผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างที่ได้มาจากกิจกรรมโครงการ จำนวน 10 ชิ้น

  4. อปท.มีแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 50 แห่ง

  5. มีเครือข่าย กกท.และ อปท. ที่มีศักยภาพในการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 50 เครือข่าย
  6. พื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่อง กกท.และ อปท. 10 พื้นที่
  7. พื้นที่นำร่องขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา/ชุมชน 10 พื้นที่
  8. บทเรียน/องค์ความรู้ ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 เรื่อง
  9. คู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ
  10. คู่มือทำแผนและโครงการ pa
  11. ฐานข้อมูล PA ระบบเว็บออนไลน์
  12. ข้อมูลติดตามประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ
  13. ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment (SROI))

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมวางแผนงานและทบทวนreview PAวัยเด็กและพื้นที่สุขภาวะ

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนงานและทบทวนreview PAวัยเด็กและพื้นที่สุขภาวะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้แผนทบทวนเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

- ข้อมูล PA ในเด็กและเยาวชน (รวมปฐมวัย)
- พื้นที่สุขภาวะ 3. ภาพรวม PA ทั้งหมด
-  ทบทวนมติสมัชชชา PA
- ข้อมูลจากงานประชุมวิชาการ PA
2. คณะทำงานได้แบ่งกันทบทวนข้อมูล ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลนำเข้าในการขับเคลื่อนนโยบายต่อไป โดยผ่านขั้นตอน ดังนี้ - ขั้นที่ 1 ทบทวนเอกสารทุติยภูมิ - ขั้นที่ 2 Focus group จากองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ขั้นที่ 3 พัฒนาร่างข้อเสนอ / ประชุมกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ขั้นที่ 4 จัดเวทีสาธารณะ
3. ผลลัพธ์ - ได้องค์ความรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน
- ได้ข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและส่งต่อหน่วยงานกำหนดนโยบาย

 

0 0

2. ประชุมหารือติดตามมติ PA และแผนเวทีสาธารณะ

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

หารือกับ สช.ติดตามมติ PA และแผนเวทีสาธารณะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย PA

  1. การขับเคลื่อนนโยบาย PA ร่วมกับเวทีฟังเสียงประชาชน
  2. รวมมติที่เกี่ยวข้องกับ PA มาร่วมกันจัดข้อเสนอ ได้แก่ มติพื้นที่เล่นฯ มติการเดินและจักรยานฯ มติพื้นที่สาธารณะฯ
  3. จัดทำ policy brief หัวข้อได้แก่ 1) สถานการณ์/ความสำคัญ (สถานการณ์เชิงตัวเลขสถิติ,ทำไมต้องทำเรื่องนี้) 2) แนวทาง (หลักการแก้ไขปัญหา) 3) ข้อเสนอเชิงนโยบาย (ใครควรทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหา/พัฒนาให้ดีขึ้น)

 

0 0

3. ประชุมพัฒนาข้อเสนอนโยบายกับ สช.และเครือข่าย 4 มติ หารือการจัดทำข้อมูลมติกิจกรรมทางกาย, มติพื้นที่สาธารณะ, มติการเดินและการใช้จักรยาน, มติพื้นที่เล่นเด็ก

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมพัฒนาข้อเสนอนโยบายกับ สช.และเครือข่าย 4 มติ หารือการจัดทำข้อมูลมติกิจกรรมทางกาย+พื้นที่สาธารณะ+การเดินและการใช้จักรยาน+พื้นที่เล่นเด็ก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ข้อเสนอนโยบาย ดังนี้

  1. “ACTIVE PEOPLE; ACTIVE ENVIRONMENT สร้างคนไทยให้กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา”
  2. “พื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา”
  3. “สนับสนุนการเดินและการใช้จักรยาน ให้เป็นการสัญจรทางเลือกสำคัญของเมือง”
  4. “แนวทางการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 1 เขต 1 สวน”
  5. “ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน เป็น Active people”
    “Active children, Active people”

 

0 0

4. นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จ.สงขลา

วันที่ 10 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมเวที Workshop  Scenario Thailand จ.สงขลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดร.กุลทัต ผู้รับผิดชอบโครงการได้เข้าร่วมเวที Scenario Thailand จ.สงขลา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นสุขภาพ

 

0 0

5. นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จังหวัดปัตตานี

วันที่ 1 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เสียงประชาชน “ชายแดนใต้” เลือกอนาคตประเทศไทย ณ วันเสาร์ ที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ณ ร้านมิตรไมตรี Dinning Café เทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดร.กุลทัต ดร.เพ็ญ และคณะทำงาน ได้เข้าร่วมเวที เสียงประชาชน “ชายแดนใต้” เลือกอนาคตประเทศไทย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นสุขภาพ ได้แก่ ประเด็นการพัมนาเด็กปฐมวัย การพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย อาหารปลอดภัย
และได้แลกเปลี่ยนแนวทางในประเด็นอื่นๆ

 

0 0

6. หารือทีมสื่อ เรื่องนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

วันที่ 24 เมษายน 2566 เวลา 12:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

หารือทีมสื่อ เรื่องนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แลกเปลี่ยนหารือข้อมูลนโยบาย ดังนี้
1. นโยบาย “1 ตำบล 1 สวนสุขภาพ” เพื่อให้ชุมชนมีพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะ กระจายในทุกพื้นที่ ทุกกลุ่มวัย ทุกกลุ่มเศรษฐานะเข้าถึงได้
2. นโยบาย “เดิน ปั่น เป็นวิถีชีวิตประจำวัน” เพื่อแก้ปัญหาเมือง/ประกาศนโยบายสนับสนุนการเดินและการใช้จักรยาน ให้เป็นการสัญจรทางเลือกสำหรับทุกเมืองใหญ่ของประเทศ
3. นโยบายและสนับสนุนงบประมาณให้สถานพัฒนาเด็ก สถานศึกษาทุกระดับ ทั้งของรัฐและเอกชน เพื่อจัดให้มีหลักสูตร กิจกรรม และการสร้างสภาพแวดล้อมและการดูแลความปลอดภัยที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของบุคลากร เด็กเล็ก นักเรียน นักศึกษาและชุมชน 4. นโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการ จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย พร้อมทั้งส่งเสริมบุคลากรในองค์กร ให้มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 5. การใช้มาตรการทางภาษี มาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ในการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

แนวทางดำเนินการต่อ
1. จัดทำคลิปนโยบายส่งเสริมสุขภาพ นโยบายส่งเสริมกิจกรรมกิจกรรม โดยสัมภาษณ์กลุ่มนักการเมืองพรรคต่างๆ จำนวน 5 ชิ้น 2. เผยแพร่ในสื่อโซเชียลต่างๆ เช่น tiktok facebook Youtube ฯลฯ

 

0 0

7. จัดทำสื่อนโยบายสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

วันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำสื่อนโยบายสาธารณะ "ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการผลักดันนโยบายรัฐ ให้สร้างเสริมสุขภาพประชาชน คนไทย มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น กับคำถามสัมภาษณ์ พรรคการเมือง  “ACTIVE PEOPLE; ACTIVE ENVIRONMENT ในการสร้าง คนไทยให้กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา”

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดทำคลิป คำถาม-ข้อมูลนโยบาย 1) 1 ตำบล 1 สวนสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทย 2) เห็นด้วยหรือไม่ที่ การเดินเท้า และ ปั่นจักรยาน จะเป็นวิถีชีวิตปกติประจำวัน 3) ทำให้เด็กติดกีฬาดีกว่าบ้าเกมหรือมือถือ 4) สถานประกอบควรจัดพื้นที่สันทนาการหรือกีฬาให้กับคนทำงาน 5) ออกมาตรการหรือให้สิทธิประโยชน์จูงใจคนไทยหันมาออกกำลังกาย


  • ได้คลิปสื่อแนวคิดนโยบาย จำนวน 4 คลิป ดังนี้
    1.https://www.tiktok.com/@publicpolicyinstitute/video/7232126694646238465?isfromwebapp=1&senderdevice=pc&webid=7231768213134198273 2.https://www.tiktok.com/@publicpolicyinstitute/video/7232127489470958849?isfromwebapp=1&senderdevice=pc&webid=7231768213134198273 3.https://www.tiktok.com/@publicpolicyinstitute/video/7232127756279057666?isfromwebapp=1&senderdevice=pc&webid=7231768213134198273 4.https://www.tiktok.com/@publicpolicyinstitute/video/7232236986231311617?isfromwebapp=1&senderdevice=pc&webid=7231768213134198273

 

0 0

8. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 (3 เดือน)

วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

9. ประชุมรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน

วันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ภาพรวมสถานการณ์ของการมีกิจกรรมทางกายของคนไทย จากการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์์กิจกรรมทางกายระดับประเทศ โดยสถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สสส. และกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้้เห็นว่าทิศทางการมีีกิจกรรมทางกายของประชากรไทยมีีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 66.3 ในปีี พ.ศ. 2555 (ปีีฐานของการสำรวจ) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.6 ในปีี พ.ศ. 2562 (ก่อนสถานการณ์์โควิด-19) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชากรไทยมีกิจกรรมทางกายสูงที่สุดในรอบ 10 ปี
ในปี พ.ศ. 2563-2564 ช่วงการแพร่่ระบาดของโควิด-19 ด้วยข้อจำกัดในการใช้ชีวิตดังที่่เคยเป็นตามปกติิ ส่งผลให้้ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่่เพียงพอของคนไทยในภาพรวมลดลง โดยการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 54.3 ในปี พ.ศ. 2563 และปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 63.0 ในปี 2564 และร้อยละ 62.0 ในปี พ.ศ. 2565

เมื่อพิจารณาการมีกิจกรรมทางกายตามพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2564  พบว่า จังหวัดที่ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงสุด 5 จังหวัด คือ สงขลา มหาสารคาม มุกดาหาร กระบี่ และราชบุรี ส่วนจังหวัดประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำสุด 5 จังหวัด คือ ปัตตานี ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สมุทรสาคร และบึงกาฬ โดยพบความแตกต่างระหว่างจังหวัดที่มีกิจกรรมที่เพียงพอสูง มีสัดส่วนประชากรที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงกว่าจังหวัดที่มีกิจกรรมเพียงพอต่ำมากกว่า 3 เท่า ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น โครงสร้างอายุของประชากรในพื้นที่ ลักษณะอาชีพ โครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย และลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมในเรื่องการมีกิจกรรมทางกาย เมื่อพิจารณาในพื้นที่ภาคใต้ พบว่า จังหวัดที่ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอสูงสุด 3 จังหวัดแรก คือ สงขลา (91.6%) กระบี่ (83.5%) และชุมพร (80.4%) ขณะที่ จังหวัดที่ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำสุด 3 จังหวัด คือ ปัตตานี (31.9%) นราธิวาส (36.8%) และพัทลุง (36.8%)

เมื่อพิจารณาเป็นช่วงอายุและเพศ ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดสำคัญในการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ พบว่ากลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน และผูู้หญิง (ภาพที่ 3 และ 4) โดยทุกกลุ่มอายุมีสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่ำกว่าเป้าหมายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561–2573 ที่ตั้งตัวชี้วัดประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอที่ร้อยละ 75 กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 6–17 ปี เป็นกลุ่มที่ต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ เพราะมีสัดส่วนกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำที่สุดในทุกกลุ่มอายุ ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีมาตรการของโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ พบว่ากิจกรรมทางกายเพียงพอลดลงในทุกกลุ่มอายุ เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับเพศ พบว่า ผู้หญิงมีกิจกรรมทางกายเพียงพอต่ำกว่าผู้ชายในทุกกลุ่มอายุ

พบว่า ในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 60.6 (จากเดิมร้อยละ 58.6) ขณะที่กลุ่มวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี และกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอลดลง เหลือร้อยละ 65.8 (จากเดิมร้อยละ 66.8 ) และร้อยละ 16.1 (จากเดิมร้อยละ 24.2) ตามลำดับ

สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกาย จำแนกตามสภาพแวดล้อม
การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของประชากรไทย จำแนกตามสภาพแวดล้อม ครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน และชุมชน สรุปได้ดังนี้ 1. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมครอบครัว ลักษณะครอบครัวมีส่วนสำคัญกับการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งพบว่าการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในแต่ละลักษณะครอบครัวมีสัดส่วนการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่ำกว่าค่าเป้าหมายของประเทศ จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2564 พบว่า ลักษณะครอบครัวที่อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสูงสุด ร้อยละ 62.4 ซึ่งสูงกว่าครอบครัวในลักษณะอื่น ในขณะที่ ผู้ที่อยู่คนเดียวมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอที่ร้อยละ 53.7
2. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมโรงเรียน โรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน เช่น โครงการโรงเรียนฉลาดเล่น ที่ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งวัน สามารถเพิ่มสัดส่วนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายได้เพียงพอ จากการศึกษานักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น ปี พ.ศ. 2562 พบว่านักเรียนในโรงเรียนที่ร่วมโครงการ มีสัดส่วนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอที่ร้อยละ 15.9 ขณะที่ โรงเรียนทั่วไปที่ไม่ร่วมโครงการ มีสัดส่วนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอที่ร้อยละ 0.6
3. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน การมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน พบว่า กลุ่มลูกจ้าง ทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีสัดส่วนของผู้ที่มีกิจกรรมทางกายโดยเฉลี่ยในแต่ละวันที่ไม่เพียงพอสูงกว่ากลุ่มอื่น คิดเป็นร้อยละ 41.7 39.4 และ 39.5 ตามลำดับ ดังนั้น องค์กรที่ทำงานจึงควรมีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านอาหารในที่ทำงานหรือบริเวณโดยรอบที่ทำงานที่เอื้อต่อการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนทำงาน รวมถึงมีนโยบายหรือมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างหรือคนทำงานได้มีการเคลื่อนไหว มีกิจกรรมทางกายในระหว่างการทำงานและการออกกำลังกายอย่างเพียงพอเพิ่มขึ้น 4. กิจกรรมทางกายในสภาพแวดล้อมชุมชน ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนในชุมชน คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ชุมชนที่มีโครงสร้างพื้นฐานให้เดินหรือปั่นจักรยาน มีการบริหารจัดการพื้นที่และกิจกรรมของชุมชน ทั้งการส่งเสริมให้มีการเล่นกีฬา กิจกรรมนันทนาการ การจัดแข่งกีฬาหรือกิจกรรมทางกาย จะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสูงกว่าชุมชนที่ไม่ได้มีการสร้างเสริมสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการมีกิจกรรมทางกาย

กิจกรรมทางกายและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประชากรที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ สามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCD) ได้ จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชากรปี พ.ศ. 2564 พบว่า กลุ่มประชากรที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอตรวจพบโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่ากลุ่มประชากรที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ผู้มีกิจกรรมทางกายเพียงพอตรวจพบการเป็นความดันโลหิตสูงที่ร้อยละ 18.4 โรคเบาหวานที่ร้อยละ 8.9 ขณะที่ผู้มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอพบการเป็นความดันโลหิตสูงที่ร้อยละ 23.4 โรคเบาหวานที่ร้อยละ 11.8 ดังนั้น การส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้เพียงพอในทุกเพศและทุกวัย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในระยะยาว

 

0 0

10. นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในงาน Southern Research Expo and Innovation Showcaase 2023

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในงาน “Innovation for Society and Future” จัดโดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 23-24 มิ.ย.66 ณ หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล หาดใหญ่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ดังนี้
กิจกรรมทางกาย (Physical Activity : PA) เป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงาน/งานบ้าน 2) การเดินทาง 3) การมีกิจกรรมนันทนา การกีฬา และการออกกำลังกาย  การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเป็นหนึ่งในปัจจัยสาเหตุหลักนำไปสู่การโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases : NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง ทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรั้ง และโรคมะเร็ง คนไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังปีละเกือบ 400,000 คน คิดเป็น 76% ของการเสียชีวิตทั้งหมด และ 50% เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพื่อการจัดการปัญหาสุขภาพโดยการส่งเสริมป้องกันให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีนั้น วิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และกระบวนการนโยบายสาธารณะ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับชาติผ่านเครื่องมือสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พัฒนากลไกกองทุนสุขภาพตำบลที่มีแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับตำบล รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ต้นแบบด้านการปรับสภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรมให้เอื้อและจูงใจต่อการมีกิจกรรมทางกายในชุมชนท้องถิ่นและเอกชน ผลลัพธ์ 1) ได้มติการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น จำนวน 9 มติ 2) เกิดการขับเคลื่อนกลไกกองทุนสุขภาพตำบล 12 เขตสุขภาพ มีแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3,068 แผน และมีโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายปฏิบัติการในระดับตำบลจำนวน 8,205 โครงการ 3) เกิดพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในทางสถาปัตยกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4 พื้นที่

 

0 0

11. ประชุมเอกสารนำเข้า PA และกำหนดตัวชี้วัดและแผนติดตามขับเคลื่อนต่อหลังงานสร้างสุข PA

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเอกสารนำเข้า PA และกำหนดตัวชี้วัดและแผนติดตามขับเคลื่อนต่อหลังงานสร้างสุข PA

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้เอกสารนำเข้า PA
  • ได้กำหนดการ/กระบวนการทำแผน
  • เตรียมวิทยากร

 

0 0

12. การประชุมออกแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรม

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 20:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ออกแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้กระบวนการกลุ่มย่อย ทำแผน 3 ปี เรียงตามมติสมัชชา PA
  2. จัดลำดับ PA ตามแนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Determinant of Health) คือ 1) Active People  2) Active Environment 3) Active Society 4) Active system

 

0 0

13. ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 1

วันที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

14. ทีมงานติดตามงานและวางแผนการดำเนินโครงการ

วันที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทีมงานติดตามงานและวางแผนการดำเนินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนดำเนินงาน PA ปี 66
- การพัฒนาศักยภาพ 1. แผนการพัฒนาเครือข่ายสื่อ 3 ภาค
2. แผนพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กกท./อปท.
3. แผนส่งเสริมกิจกรรม PA ในพื้นที่ต้นแบบ

  • การพัฒนาระดับพื้นที่
  1. คัดเลือกพื้นที่/ยกระดับพื้นที่ ภาคละ 2 จังหวัด รวม 60 ท้องถิ่น
  2. แผนพัฒนาพื้นที่ต้บแบบ PA 12 แห่ง
  • การพัฒนาระดับนโยบายชาติ/ท้องถิ่น
  1. แผนขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติ ท้องถิ่น
  2. แผนขับเคลื่อนกับ กกท.และอปท. (สมาคมฯ อบจ./สันนิบาตเทศบาล/อบต.)
  • DATA ฐานข้อมูลสนับสนุน
  1. ทบทวนข้อมูล PA เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอนโยบาย
  2. ปรับปรุงคู่มือพื้นที่สาธารณะและคำนึงความปลอดภัย ซึ่งคู่มือพื้นที่สุขภาวะที่ตอบโจทย์พื้นที่ ดังนี้ 1. พื้นที่ลานกีฬา กกท. 2. พื้นที่สาธารณะท้องถิ่น 3. พื้นที่ PA ในโรงเรียน/ศูนยืเด็กเล็ก
  3. ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายโครงการ
  4. ปรับปรุงเว็บ Pathail.com เป็นสื่อสาธารณะ PA /เป็นฐานข้อมูล PA สนส.ม.อ. /เชื่อมโยงเว็บกองทุนสุขภาพตำบล
  • ระบบกลไกสนับสนุน / ติดตามประเมินผล
  1. แต่งตั้งคณะทำงานวิชาการ PA
  2. สร้างทีมกลไกสื่อ PA 3 ภาค
  3. ยกระดับ/ขยายกลไกพี่เลี้ยง PA
  4. แผนประเมิน CIPP และ SROI

 

0 0

15. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน สิงหาคม 2566

วันที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

16. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน กันยายน 2566

วันที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

17. ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ระบบออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

วันที่ 14 ตุลาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ระบบออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ระบบออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

0 0

18. วางแผนการทำงานการขับเคลื่อนงาน PA กับ กกท.และ อปท. 16/10/66

วันที่ 16 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนการทำงานการขับเคลื่อนงาน PA กับ กกท.และ อปท.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กำหนดพื้นที่ให้ กกท.และ อปท.คัดเลือกพื้นที่ ภาคละ 2 จังหวัด รวมทั้งหมด 6 จังหวัด / 60 ท้องถิ่น
  2. ได้แผนปฏิบัติการโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ปี 2566-2567
  3. แผนปฏิบัติการดำเนินการตาม CoO4 แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำไปสู่ผลลัพธ์สุขภาพ คือ ลดผลกระทบสุขภาพจากโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากการขาดกิจกรรมทางกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

 

0 0

19. ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ Pathailand

วันที่ 17 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ Pathailand

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการ PA สนส.ม.อ. นำโดย ดร.สุวภาคย์ นายญัตติพงศ์ น.ส.ฐิติชญา และนายภวินท์ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์) ได้ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ Pathailand เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร บทความ งานวิชาการที่เกี่ยวช้องกับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้สังคมต่อไป

 

0 0

20. หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง

วันที่ 17 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปรึกษาหารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 17 ตุลาคม 2566 ณ สนามกีฬาเมืองหลักภาคใต้ (พรุค้างคาว) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา คณะทำงานโครงกายกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำโดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ หัวหน้าโครงการ นายญัตติพงศ์ แก้วทอง เจ้าหน้าที่วิจัย นางสาวฐิติชญา หนูสอน และมนชนก แก้วชูเชิด ผู้ช่วยวิจัยและผู้ประสานงานโครงการ  เข้าหารือกับนายณรงค์ โสภารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดตรัง เรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น นำร่องจังหวัดตรัง จำนวน 10 ท้องถิ่น และยกระดับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 พื้นที่ รวมทั้งได้รับคำแนะนำจากท่าน ผอ.ณรงค์ โสภารัตน์ เรื่องการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของคนในพื้นที่ และการคัดเลือกพื้นที่นำร่องในภาคเหนือกับตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่านและจังหวัดศรีสะเกษ

 

0 0

21. ประชุมปรึกษาหารือเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปรึกษาหารือเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 ณ อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าหารือปรึกษากับ ดร. สินธพ อินทรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม เรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น และได้รับคำแนะนำจากท่าน ดร. สินธพ อินทรัตน์ เรื่องการขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

 

0 0

22. การประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00-11.00 น. ณ ชั้น 10 สนส.ม.อ. และ zoom ออนไลน์
ประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปประชุม วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00-11.00 น. ณ ชั้น 10 สนส.ม.อ. และ zoom ออนไลน์ 1. ชื่อกิจกรรม การประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อได้ข้อมูลข้อเสนอเชิงนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยเสนอต่อหน่วยงานที่กำหนด 3. ตัวชี้วัด ได้องค์ความรู้การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1. การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน
3. ความปลอดภัยในพื้นที่สวนสาธารณะ

  1. จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ
    จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน
    หน่วยงาน/รายชื่อ
    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    1. ดร.ภก. ธนเทพ วณิชยากร

    สถาบันนโยบายสาธารณะ

  2. ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
  3. นายญัตติพงศ์ แก้วทอง
  4. นางสาวฐิติชญา หนูสอน
  5. นางสาวมนชนก แก้วชูเชิด

  6. รายละเอียดการจัดกิจกรรม

    1. สร้างความเข้าใจภาพรวมโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    2. Mapping ข้อมูลการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน และความปลอดภัยในพื้นที่สวนสาธารณะ
    3. กำหนดหัวข้อทบทวนเอกสาร
  7. ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ)

    1. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    2. ได้หัวข้อทบทวนเอกสาร ได้แก่ 1) การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2) การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน 3) ความปลอดภัยในพื้นที่สวนสาธารณะ
    3. ได้แนวทางการนำข้อมูลต่อหน่วยงานที่กำหนดนโยบาย ผ่านรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ
    4. ข้อมูลการออกแบบพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทบทวนเอกสารจะได้ 2 แนวทาง คือ 1. การวัดผลเกณฑ์มาตรฐานการใช้พื้นที่สาธารณะ และ 2. การออกแบบพื้นที่สาธารณะ/ตัวอย่างพื้นที่ออกแบบ
  8. แผนการดำเนินการต่อ

    1. กำหนดวันสุดท้ายการทบทวนเอกสารช่วงเดือนมกราคม 2567
    2. รายงานความก้าวหน้าการทวนเอกสารเดือนละ 2 ครั้ง
    • พฤศจิกายน 2566 จำนวน 2 ครั้ง
    • ธันวาคม 2566 จำนวน 2 ครั้ง
    1. ช่วงเดือนมกราคม 2567 นำข้อมูลจัดเวทีแลกเปลี่ยนและนำข้อเสนอสู่ผู้กำหนดนโยบาย

 

0 0

23. หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ตรัง จ.ศรีสะเกษ และจ.น่าน

วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กิจกรรม
    หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ตรัง จ.ศรีสะเกษ และจ.น่าน
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อเชื่อมประสานการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ การทำแผนและโครงการกับกับหน่วยงานการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ตัวชี้วัด ได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • หน่วยงานเข้าร่วมประชุม การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง น่าน ศรีสะเกษ และสถาบันนโยบาบสาธารณะ ม.อ.
  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น นำร่องจังหวัดตรัง น่าน และศรีสะเกษ จำนวน 30 ท้องถิ่น และยกระดับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 6 พื้นที่ และได้แผนการพัฒนาศักยภาพภาคีการกีฬาแห่งประเทศความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะการทำแผนและโครงการ แผนการดำเนินการต่อ: ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะการทำแผนและโครงการ ในจังหวัดนำร่อง ตรัง น่าน และศรีสะเกษ

 

0 0

24. หารือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล จ.สุราษฎร์ธานี

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กิจกรรม หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.สุราษฎร์ธานี
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อเชื่อมประสานการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ การทำแผนและโครงการกับกับหน่วยงานการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ตัวชี้วัด ได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ
  • จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน
  • หน่วยงาน เลขาธิการนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น นำร่องจังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 10 ท้องถิ่น และยกระดับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 พื้นที่
แผนการดำเนินการต่อ: ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะการทำแผนและโครงการ ในจังหวัดนำร่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี และขยายผลการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

 

0 0

25. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนตุลาคม 2566

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

26. ประชุมวางแผนทำแผนโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กิจกรรม หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับพี่เลี้ยงโครงการ 3 ภาค (เหนือ อีสาน ใต้)
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อเชื่อมประสานการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ การทำแผนและโครงการในพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และใต้
  • ตัวชี้วัด ได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ / หน่วยงาน
    จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 8 คน
    หน่วยงาน/รายชื่อ
    คณะทำงานภาคเหนือ อีสาน และใต้
    1.นายสุวิทย์ สมบัติ คณะทำงานภาคเหนือ
    1. นางสาวเพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์ คณะทำงานภาคเหนือ
    2. นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานภาคอีสาน
    3. ภก.สมชาย ละอองพันธ์ คณะทำงานภาคใต้
      สถาบันนโยบายสาธารณะ
  1. ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
  2. นายญัตติพงศ์ แก้วทอง
  3. นางสาวฐิติชญา หนูสอน
  4. นางสาวมนชนก แก้วชูเชิด
  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น นำร่องจังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 10 ท้องถิ่น และยกระดับการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 พื้นที่

  • แผนการดำเนินการต่อ: ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะการทำแผนและโครงการ ในจังหวัดนำร่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี และขยายผลการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

 

0 0

27. ค่าจัดจ้างการทำตรายางหมึกในตัวชื่อโครงการและรหัสโครงการ

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

28. ประชุมติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

29. ประชุมรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรมเรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

30. การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 1

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

31. ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 1

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

32. การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่องของการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่นำร่องของการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
    1) พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตัวชี้วัด
    1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
    2) ได้แผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดตรัง
    3) ได้พื้นที่ดำเนินการจำนวน 10 แห่ง และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 2 พื้นที่

  • จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / หน่วยงาน
    ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 66 คน

  • คณะทำงานสนส.มอ. จำนวน 5 คน
  • การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง จำนวน 9 คน
  • เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย(อสก.) และชมรมในพื้นที่ จำนวน 25 คน
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 17 คน
  • เครือข่ายสื่อ จำนวน 5 คน
  • พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพจังหวัดตรัง จำนวน 5 คน

รายละเอียดการจัดกิจกรรม
เวลา รายละเอียด วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.10 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย นายณรงค์ โสภารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง 09.10 - 09.40 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.40 - 12.00 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ RoadMap ดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
ผู้ดำเนินรายการโดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ และพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพจังหวัดตรัง 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ 15.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ 16.00 – 16.30 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 66 คน
    2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.ตรัง จำนวน 10 ท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลตำบลย่านตาขาว เทศบาลนครตรัง เทศบาลตำบลวังวิเศษ อบต.เขาไม้แก้ว อบต.ปะเหลียน อบต.หาดสำราญ อบต.หนองปรือ อบต.ปากคม ทต.นาโยงเหนือ และ อบต.คลองลุ 3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 10 แห่ง
    4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลย่านตาขาว และชุมชนน้ำผุด เทศบาลนครตรัง

  • แผนการดำเนินการต่อ
    1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
    3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
    4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน

 

0 0

33. การประชุมติดตามความก้าวหน้าการทบทวนเอกสาร (Progress report)

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

34. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดน่านและลำพูน
    วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
    1) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
  1. ตัวชี้วัด 1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรม ทางกายในพื้นที่
    2) ได้แผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดตรัง
    3) ได้พื้นที่ดำเนินการจำนวน 10 แห่ง และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 2 พื้นที่

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ / หน่วยงาน
ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 82 คน - คณะทำงานสนส.มอ. จำนวน 5 คน - การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดน่าน จำนวน 28 คน - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 39 คน - เครือข่ายสื่อ จำนวน 4 คน - พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพ จำนวน 6 คน

  • รายละเอียดการจัดกิจกรรม
    เวลา รายละเอียด วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.30 - 10.30 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 - 12.00 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ RoadMap ดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
    ผู้ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
    โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 15.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 16.00 – 16.30 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
    โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 82 คน
    2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.ลำพูนและน่าน จำนวน 20 ท้องถิ่น ดังนี้
  • จ.ลำพูน ได้แก่ เทศบาลตำบลริมปิง เทศบาลตำบลบ้านแป้น เทศบาลเมืองลำพูน เทศบาลตำบลอุโมงค์ เทศบาลตำบลมะเขือแจ้ เทศบาลตำบลป่าสัก เทศบาลตำบลศรีบัวบาน เทศบาลตำบลบ้านกลาง เทศบาลตำบลเหมืองง่า เทศบาลตำบลเวียงยอง
  • จ.น่าน ได้แก่ เทศบาลเมืองน่าน เทศบาลตำบลดู๋ใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาคร องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ เทศบาลตำบลพระพุทธบาทเชียงคาน องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงติ๊ด

    3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 20 แห่ง
    4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลริมปิง เทศบาลตำบลบ้านแป้น เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู๋ใต้

  • แผนการดำเนินการต่อ
    1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
    3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
    4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน

 

0 0

35. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

36. ทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับเครือข่ายอีสาน (จ.อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ)

วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม: การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
1) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
ตัวชี้วัด 1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
2) ได้แผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในจังหวัดตรัง
3) ได้พื้นที่ดำเนินการจำนวน 10 แห่ง และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน 2 พื้นที่

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม / รายชื่อ / หน่วยงาน
ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 74 คน - คณะทำงานสนส.มอ. จำนวน 5 คน - การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 7 คน - เครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย(อสก.) และชมรมในพื้นที่ จำนวน - คน - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 55 คน - เครือข่ายสื่อ จำนวน 3 คน - พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพ จำนวน 4 คน

รายละเอียดการจัดกิจกรรม
เวลา รายละเอียด วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ       รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.30 - 10.30 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 - 12.00 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ RoadMap ดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
ผู้ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 15.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 16.00 – 16.30 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 74 คน
2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.อุบลราชธานี จำนวน 20 ท้องถิ่น ดังนี้
- จ.อุบลราชธานี
- จ.ศรีสะเกษ
องค์การบริหารส่วนตำบลตระกาจ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดเสลา เทศบาลตำบลขุนหาญ เทศบาลตำบลโพธิ์กระสังข์ เทศบาลตำบลยางชุมน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลกุง  องค์การบริหารส่วนตำบลเสียว องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว และองค์การบริหารส่วนตำบลดองกำเม็ด 3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 20 แห่ง
4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 4 แห่ง

แผนการดำเนินการต่อ
1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน

 

0 0

37. ประชุมหารือการจัดโมดูลพัฒนาศักยภาพสื่อฯ PA

วันที่ 14 ธันวาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหารือการจัดโมดูลพัฒนาศักยภาพสื่อฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้กำหนดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสื่อสารสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ” ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 1-2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ ชั้น 14 สนส.ม.อ.
    และทางออนไลน์ระบบ Zoom ลิงก์ https://zoom.us/j/9019029105
  2. กลุ่มเป้าหมาย: สื่อภาคเหนือ ใต้ อีสาน, พี่เลี้ยงทำงาน, นักศึกษา ป.โท และ ผู้สนใจทั่วไป

 

0 0

38. รายงานความก้าวหน้าการทบทวนเอกสารพื้นที่สาธารณะ

วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายงานความก้าวหน้าการทบทวนเอกสารพื้นที่สาธารณะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้ข้อมูลเอกสารทุติยภูมิและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพื้นที่สาธารณะ
  2. ข้อมูลถูกนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาข้อเสนอนโยบาย

แนวทางการดำเนินการต่อ 1. พัฒนาข้อเสนอนโยบายพื้นที่สาธารณะ 2. ข้อเสนอฯผ่านการแลกเปลี่ยนผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันและนอกสถาบัน 3. ข้อมูลผ่านเวทีสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนนโยบายฯต่อไป

 

0 0

39. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 เวลา 8.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมบรรจงบุรี
ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

………………………………………………………………………….

  1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 1.2 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย

  2. ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 73 คน

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง จำนวน 20 คน - โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท้องถิ่น จำนวน 10 คน - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 10 คน - ชมรมออกกำลังกายในพื้นที่ จำนวน 20 คน - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 11 สุราษฎร์ธานี จำนวน 2 คน - กลไกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกลไกสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในพื้นที่ (กองทุน อบจ./สสส., โหนดจังหวัด สสส.) จำนวน 4 คน - เครือข่ายสื่อ จำนวน 2 คน

กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.10 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.10 – 09.20 กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
โดย นายปราโมทย์ เพชรรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขาธิการนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย 09.20 - 09.50 น. แนะนำโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.50 – 10.10 น. - แนะนำกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขต 11
- แนะนำกลไกสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในพื้นที่ (กองทุน อบจ./สสส., โหนดจังหวัด สสส.) 10.10 - 12.00 น. แบ่งกลุ่ม จำนวน 10 กลุ่ม (10 ท้องถิ่น) และกลุ่มสื่อ 1 กลุ่ม ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 1. วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกิจกรรมทางกายของแต่ละกลุ่ม 2. วางเป้าหมายร่วมกัน 3. เสนอแนวทางเพื่อจัดทำเป็นโครงการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
ผู้ดำเนินรายการโดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.30 น. นำเสนอ กลุ่มละ 10 นาที /แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่
โดย ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ผู้ดำเนินการประชุม: ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 15.30 – 16.15 น. สรุปผลการประชุมและชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อ
โดย ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์
16.15 – 16.30 น. กล่าวปิดการประชุม
โดย นายปราโมทย์ เพชรรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขาธิการนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) 1) ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ จำนวน 73 คน
    2) ได้พื้นที่นำร่อง จ.สุราษฏร์ธานี จำนวน 9 ท้องถิ่น ดังนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก องค์การบริหารส่วนตำบลชลคราม องค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง องค์การบริหารส่วนตำบลป่าร่อน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพุ องค์การบริหารส่วนตำบลตะกุกเหนือ องค์การบริหารส่วนตำบลอิปัน 3) ได้แผนปฏิบัติการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 9 แห่ง
    4) ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จำนวน 3 แห่ง

  • แผนการดำเนินการต่อ
    1) เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ ของแต่ละกองทุน 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบล/ท้องถิ่น มีแผนการเพิ่ม PA
    3) สนับสนุน ส่งเสริมให้ เครือข่าย/กลุ่ม/ชุมชน สามารถเขียนโครงการ PA เพื่อของบประมาณจากแหล่งทุนในพื้นที่ฯ
    4) สนับสนุนให้ท้องถิ่นออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมี PA และสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน

 

0 0

40. จัดการประชุมเวทีฟอรั่มการจัดการความรู้ ครั้งที่ 2 ภาคใต้ “ร่วมเปลี่ยนการศึกษา เพื่อเด็กทุกคน”

วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

41. การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

วันที่ 26 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

42. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนธันวาคม 2566

วันที่ 29 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

43. ประชุมการสื่อสารสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน

วันที่ 13 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

44. ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2567

วันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

45. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ 08.00-08.30 ลงทะเบียน 08.30-10.30 ทำความเข้าใจกับแผนการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน (คณะวิทยากร)
10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 แนะนำการใช้เว็บการพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายผ่านเว็บLocalfund (คณะวิทยากร) 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.30 การสร้างความเข้าใจการเก็บข้อมูลผ่านมือถือ และการเชื่อโยงกับ เว็บ Localfund การสรรหาผู้เก็บข้อมูลตำบลละ 4 คน(คณะวิทยากร) 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง 14.45-16.00 การเข้าถึงแหล่งทุนในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานรู้ และเข้าใจรายละเอียดโครงการและแผนงานกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการสู่ผลลัพธ์
  2. คณะทำงานรับทราบและรับรองแผนกิจกรรม
  3. ได้ผู้ประสานงาน/คณะกลไกขับเคลื่อนโครงการ 8 คน จาก 8 ตำบล
  4. ได้พื้นที่เป้าหมายออกแบบทางสถาปัตย์เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สุขภาวะ   4.1 โรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ ตำบลปากแพรก   4.2 ศพด. ไชยคราม ตำบลไชยคราม
  5. ได้พื้นที่โครงการในชุมชน และในสถานศึกษา โครงการละ 35,000 บาท   5.1 พื้นที่โครงการในชุมชนตำบลน้ำพุ   5.2 พื้นที่โครงการในชุมชนตำบลป่าร่อน   5.3 พื้นที่โครงการในสถานศึกษา ศพด. บ้านคราม ตำบลชลคราม   5.4 พื้นที่โครงการในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ตำบลตะกุกเหนือ
  6. ได้คนเก็บข้อมูลจากทั้ง 8 ตำบลๆละ 3-4 คน
  7. ได้รู้จักแหล่งทุนที่จะเสนอของบประมาณ จากหน่วยจัดการ สสส จ.สุราษฎร์ธานี   7.1 โครงการขนาดย่อม 60,000 บาท/โครงการ เข้าได้กับประเด็นลดพติกรรมเสี่ยงของโรค NCDs ด้วยหลัก 2อ. (อาหารและการออกกำลังกาย)   7.2 โครงการทั่วไป 100,000 บาท/โครงการ

 

0 0

46. ประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

วันที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

47. ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนกับภาคเครือข่ายในการพัฒนาแผนกิจกรรมทางกายและตำบลบูรณาการอาหารของท้องถิ่น

วันที่ 26 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

48. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมกราคม 2567

วันที่ 31 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

49. ประชุมคณะทำงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง ประชุมสร้างความเข้าใจ เพื่อการเข้าถึงแหล่งทุน การวิเคราะห์ปัญหาชุมชน และการเขียนข้อเสนอโครงการ ผู้เข้าประชุม คณะทำงาน/ผู้ประสาน/ผู้สนใจจากชุมชน 5 คนจาก 8 ตำบล 1. นายคมพจน์ พิกุลทอง    อบต.ตะกุกเหนือ 2. นางสาวทัศณี มนต์แก้ว  อบต.ชลคราม 3. นางสาวศรีสุดา มุสิก    อบต.ชลคราม 4. นางกฤติยาภรณ์ ไทยเสน  อบต.น้ำพุ 5 นางสาวกานต์รวี ศิริทอง  อบต.น้ำพุ 6. นายสมนึก นุ่นด้วง คณะทำงาน/ผู้ประสานงานโครงการฯ กำหนดการ 08.00-08.30 ลงทะเบียน 08.30-10.30 ชี้แจงรายละเอียด/กรอบการสนับสนุนโครงการขนาดย่อม 60,000 บาท และโครงการทั่วไป 100,000 บาท โดย ดร.ดุริยางค์ วาสนา 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 ชี้แจงเงื่อนไข และคุณสมบัติผู้ขอรับทุน โดย ดร.ดุริยางค์ วาสนา 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.30 การสร้างความเข้าใจวิเคราะห์ปัญหาชุมชนด้วยตัวแบบต้นไม้ปัญหา โดย ดร.ดุริยางค์ วาสนา 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง 14.45-16.00 การเขียนใบเสนอขอรับทุน โดย ดร.ดุริยางค์ วาสนา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าประชุมเข้าใจรายละเอียด วิธีการ เงื่อนไข การเขียนข้อเสนอโครงการขอรับทุน
  2. เขียนใบเสนอขอรับทุน 3 พื้นที่
    2.1 ตำบลตะกุกเหนือ โครงการเพื่อผลิตและบริโภคผักปลอดภัย
    2.2 ตำบลชลคราม โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สุงอายุในชุมชน
    2.3 ตำบลน้ำพุ โครงการลดละเลิกบุหรี่โดยชุมชนเป็นฐาน

 

0 0

50. ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ ร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมอัปเดทความก้าวหน้างาน PA และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงาน วันอังคารที่ 6 ก.พ.67 เวลา 13.30-15.00 น. ทาง ZOOM 4 https://zoom.us/j/9019029104#success

ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน
- สนส.ม.อ. 2 คน - พี่เลี้ยงภาคเหนือ 5 คน - สถาปนิกภาคเหนือ 1 คน
- พี่เลี้ยงภาคใต้ 1 คน - พี่เลี้ยงภาคอีสาน 1 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ความก้าวหน้า
ภาคเหนือ:
- ได้พื้นที่ส่งเสริมการทำแผนและโครงการ น่าน 11 แห่ง และลำพูน 10 แห่ง
- ได้คัดเลือกพื้นที่ต้นแบบ PA 4 แห่ง (ริมปิง, บ้านแป้น, น่านอีก 2 แห่ง) และได้ลงสำรวจศักยภาพของพื้นที่สำรวจพื้นที่ คุยกับท่านนายกฯ กองช่างและกองสาธารณสุขแล้ว แผนต่อไปคือ สร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่โดยมีอาจารย์สถาปัตยกรรมมาช่วยกระบวนการออกแบบกับชุมชน
- แผนปฏิบัติงานถัดไป: วันที่ 12 และ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จะมีการจัดประชุมทำแผนและโครงการในจังหวัดลำพูนและน่าน และลงสำรวจข้อมูลสถานการณ์กิจกรรมทางกายและประเด็นสุขภาพอื่นๆ

ภาคใต้: สุราษฯ
- ได้สำรวจสถานการณ์ PA และประเด็นสุขภาพอื่นๆ แล้ว
- ได้ทำแผนและโครงการของจังหวัดสุราษฯในกองทุนสุขภาพตำบล 10 แห่ง
- ได้พื้นที่ต้นแบบ PA 4 แห่ง
- ได้ออกแบบโครงการสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชนและโรงเรียน
- ได้ผลักดันชุมชนขอทุนโครงการระดับจังหวัด
- แผนปฏิบัติงานถัดไป: ประชุมทำแผนและโครงการ PA วันที่ 21-22 ก.พ. 67 และสถาปนิกลงพื้นที่สร้างกระบวนการออกแบบเรียนรู้ และสนับสนุนกิจกรรมโครงการ

ภาคอีสาน:
- เปลี่ยนพื้นที่ดำเนินงานศรีสะเกษ โดยคุยกับ กกท.ศรีสะเกษ เนื่องจากแต่ละอำเภอพื้นที่ห่างไกล โดยเปลี่ยนเป็น อำเภอเมือง 5 แห่ง และอำเภอกันทลักษณ์ 5 แห่ง และอุบลฯ มีอำเภอเมืองและอำเภอวารินฯ 10 แห่ง
- แผนปฏิบัติงานถัดไป: สรุปพื้นที่และทำแผนและโครงการในกิจกรรมถัดไป


แลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ขั้นตอนกระบวนการทางสถาปัตยกรรม
1. ได้แบบไกด์ไลน์
2. เอาไกด์ไลน์ไปคุยกับ Stakeholder
3. ได้แบบร่าง 3 แบบ เป็นมาสเตอร์แพลน 3 แบบ ในรูปแบบ 3D และ layout 4. รายงานเชิงโครงสร้าง 5. สถาปัตย์กับทางวิศวกรรม
6. การก่อสร้างจริง
- งาน สนส.ม.อ.ได้กำหนดขอบเขตส่งผลลงานถึงขั้นตอนที่ 3 คือ การออกแบบสถาปัตยกรรมในรูปแบบ 3D และ layout

แนวทางการดำเนินงานถัดไปของ สนส.ม.อ. 1. สนส.ม.อ.จัดประชุมหลักสูตรสื่อ เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมงานสื่อ
2. ดูระบบการจัดการเงินสนับสนุนกิจกรรมในพื้นที่
3. ทำแบบเช็คลิสสถาปนิก เวลาสำรวจพื้นที่และการจัดกระบวนการ 4. พี่เลี้ยงส่งแผนปฏิบัติการในไฟล์ excel
5. กำหนดขอบเขตส่งผลงานทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบ 3D และ layout 6. จัดทำแบบฟอร์มการสนับสนุนกิจกรรม PA ในพื้นที่

 

0 0

51. การประชุมหารือวางแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาะารณะ การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานวางแผนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพในจังหวัดตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้พื้นที่ท้องถิ่นนำร่องดำเนินการ 10 แห่ง
    1. ได้แผนปฏิบัติการ ดังนี้
      2.1 การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการทำแผนและโครงการ PA โดยตั้งเป้าหมายไว้ คือ กองทุนฯ มีแผนการส่งเสริม PA 10 แห่ง และเครือข่าย/กลุ่ม/ชมรม สามารถจัดทำโครงการส่งเสริม PA ที่คำนึงถึงความปลอดภัย 10 แห่ง 2.2 การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริม PA โดยตั้งเป้าหมายไว้ คือ การออกแบบพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริม PA 2 พื้นที่ , สนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม PA ในชุมชน 2 โครงการ และในสถานศึกษา 2 โครงการ
  2. ถอดบทเรียน/องค์ความรู้ในการพัฒนาพื้นที่ 1-2 เรื่อง 2.3 การพัฒนาสื่อสาธารณะ โดยตั้งเป้าหมายไว้ คือ อบรมเรื่อง PA และการสื่อสารสุขภาวะ จัดทำชิ้นงานจากกิจกรรมโครงการเผยแพร่สู่สาธารณะ 3 ชิ้น ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ PA และจัดทำชิ้นงาน 3 ประเด็น

 

0 0

52. คณะทำงานสำรวจสถานที่ เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ (เพื่อชี้แจงรายละเอียดการจัดเก็บข้อมูลและการรวิเคราะห์ข้อมูลและเพื่อปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำแผนของกองทุนในพื้นที่จังหวัดลำพูน) แนวทาง การจัดสรรงบประมาณ และขั้นตอนและแผนการหนุนเสริม
  2. แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  3. การจัดทำแผนสุขภาพชุมชนการจัดทำข้อมูลระบบสุขภาพชุมชน
  4. การออกแบบสภาพแวดล้อมให้เอื้อกับการส่งเสริมกิจกรรมทางการในชุมชน
  5. แนวทางการสื่อสารในพื้นที่
  6. สรุปผลและปิดการประชุม มีทีมประสานเขต พี่เลี้ยงจากการท่องเที่ยวและกีฬาน่าน ทีมสื่อ สถาปนิก และ แกนนำในเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่เป้าหมาย 11 แห่ง เข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • 9 กุมภาพันธ์ 2567 ประชุมประสานงาน ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการและสำรวจสถานที่ 2 พื้นที่ อำเภอเมืองน่าน มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมคือทีมผู้ประสานเขต ผู้บริหารและคณะทำงานเทศบาลน่าน และเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เข้าเยี่ยมสำรวจสถานที่ 2 พื้นที่ อำเภอเมืองน่าน คือ เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
  • 19 กุมภาพันธ์ 2567 ประชุมประสานงาน ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการและสำรวจสถานที่ 2 พื้นที่ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมคือทีมผู้ประสานเขต ผู้บริหารและคณะทำงานเทศบาลริมปิงและเทศบาลตำบลบ้านแป้น อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เข้าเยี่ยมสำรวจสถานที่ 2 พื้นที่ อำเภอเมืองเทศบาลริมปิงและเทศบาลตำบลบ้านแป้น อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

 

0 0

53. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แนวทาง การจัดสรรงบประมาณ และขั้นตอนและแผนการหนุนเสริ,
  2. การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  3. ชี้แจงแนวทาง การจัดเก็บ และรายละเอียดในการจัดเก็บข้อมูล สถานการณ์สุขภาพ โดยการจัดเก็บรายบุคคล รายครอบครัว และชุมชน ใน 10 ประเด็น 1. ประเด็นกิจกรรมทางกาย 2. ประเด็นขยะ 3. ประเด็นมลพิษทางอากาศ PM2.5 4. ประเด็นยาสูบ 5. ประเด็นสุรา 6.ประเด็นสารเสพติด 7. ประเด็นอาหาร 8. ประเด็นสุขภาพจิต 9. ประเด็นโรคอุบัติใหม่และ 10. ประเด็นความปลอดภัยทางถนน  4. ฝึกปฏิบัติการการจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บรายบุคคล รายครอบครัว และชุมชน แกนนำพื้นที่ดำเนินการบันทึกในโปรแกรม  5. แนะนำการเพิ่มสมาชิกและการตั้ง USER และ PASSWORD สำหรับผู้จัดเก็บข้อมูล  6.แกนนำพื้นที่ทำแผนเตรียมการจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่  7.การจัดทำแผนสุขภาพชุมชนการจัดทำข้อมูลระบบสุขภาพชุมชน  8.สรุปผลตรวจทานการบันทึกข้อมูลในแต่ละกองทุน สาธิตการวิเคราะห์ข้อมูล  9. ซักถาม ข้อเสนอ สรุปผล นัดหมายประชุมครั้งต่อไป ในการการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนการจัดทำข้อมูลระบบสุขภาพชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 31 คน ประกอบด้วย ผู้ประสานงานเขต พี่เลี้ยงพื้นที่จังหวัด ทีมสถาปนิก ผู้รับผิดชอบงานกองทุนตำบลของเทศบาลตำบล/ องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้แทนการท่องเที่ยวจังหวัดน่านและทีมสื่อสาร 2.ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใน 11กองทุนดังนี้ 1. เทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน 2. องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน 3. เทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน 4. องค์การบริหารส่วนตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน 5. เทศบาลตำบลเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน 6. องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน 7. องค์การบริหารส่วนตำบลชนแดน อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 8. องค์การบริหารส่วนตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน 9. เทศบาลตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน 10. องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน=9.6 11. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฟ้า อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน

 

0 0

54. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดลำพูน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

55. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

56. การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

57. ประชุมทำแผนสุขภาพ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่/ประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ฯพื้นที่สุราษฎ์ธานี

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง 8.00-08.30 ลงทะเบียน คณะทำงาน 08.30-10.30 ตรวจสอบข้อมูลประเด็นกิจกรรมทางกาย และประเด็นที่เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ ตามแบบเก็บข้อมูล คณะวิทยากร 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 10.45-12.00 หลักการบริหารแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อการพัฒนาศักยภาพกลไกส่งเสริมสุขภาพ คณะวิทยากร 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน คณะทำงาน 13.00-16.00 ทำแผนสุขภาพตำบลให้ครอบคลุมรายละเอียดสถานการณ์ปัญหา/เป้าหมาย/วัตถุประสงค์-ตัวชี้วัด /แนวทางสู่เป้าหมาย/งบประมาณ /โครงการที่ควรทำ มีผู้เข้าประชุมจำนวน 21 คน ดังนี้ - คณะทำงานระดับพื้นที่ 8 คน - เจ้าหน้าที่กองทุน 7 คน - เจ้าหน้าที่ทีมสื่อ 2 คน - คณะวิทยากร 4 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีแผนกิจกรรมทางกาย 8 ตำบล (ประกอบด้วยสถานการณ์/เป้าหมาย/งบประมาณ/โครงการที่ควรดำเนินการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ) มีแผนงานประเด็นอื่นๆ

 

0 0

58. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดตรัง งวดที่ 1

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

59. การประชุมติดตามการดำเนินงานของพื้นที่โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่านและลำพูน

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

• ชี้แจงเป้าหมายโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย นายญัตติพงศ์ แก้วทอง
• นำเสนอความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) จังหวัดลำพูนและน่าน
โดย นายสุวิทย์ สมบัติ แลกเปลี่ยนทบทวนแผนและปรับกิจกรรมที่สำคัญให้สมบูรณ์ ดังนี้
• แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล จ.ลำพูนและน่าน
• การออกแบบพื้นที่ จำนวน 4 พื้นที่ (ลำพูน 2 พื้นที่, น่าน 2 พื้นที่) • พัฒนาโครงการ PA ในชุมชน จำนวน 4 โครงการ (ลำพูน 2 โครงการ, น่าน 2 โครงการ) • พัฒนาโครงการ PA ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 4 โครงการ (ลำพูน 2 โครงการ, น่าน 2 โครงการ) โดย นายสุวิทย์ สมบัติ และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน • สรุปแผนและกำหนด Time line กิจกรรมที่สำคัญ โดย นายสุวิทย์ สมบัติ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

• ได้แผนปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล จ.ลำพูนและน่าน
• ได้แผนการออกแบบพื้นที่ จำนวน 4 พื้นที่ (ลำพูน 2 พื้นที่, น่าน 2 พื้นที่) • ได้แผนการพัฒนาโครงการ PA ในชุมชน จำนวน 4 โครงการ (ลำพูน 2 โครงการ, น่าน 2 โครงการ) • ได้แผนพัฒนาโครงการ PA ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 4 โครงการ (ลำพูน 2 โครงการ, น่าน 2 โครงการ) • ได้แผนสื่อสาธารณะในพื้นที่

 

0 0

60. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการ จ.สุราษฎร์ธานี

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

08.00-08.30 ลงทะเบียน คณะทำงาน 08.30-10.30 สร้างความข้าใจกระบวนการพัฒนาแผนงาน/โครงการส่งเสริม กิจกรรมทางกาย และความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 10.45-12.00 ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ ที่เชื่อมโยงกับแผนงานโดยใช้เครื่องมือเว็บ Localfund  คณะวิทยากร 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน คณะทำงาน 13.00-14.30 ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ และการออกแบบกิจกรรมสู่ผลลัพธ์ โดยใช้เครื่อมือเว็บ Localfund คณะวิทยากร 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 14.45-16.00 นำเสนอโครงการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน คณะวิทยากร

ผู้เข้าร่วมประชุมพัฒนาโครงการ 46 คน ดังนี้ - คณะทำงานระดับพื้นที่  8 คน - เจ้าหน้าที่กองทุน 8 คน - ผู้เขียนฏโครงการขอรับทุน 24 คน สื่อมวลชน  2 คน คณะวิทยากร  4 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนงานที่สมบูรณ์ / โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ....15....  โครงการ ดังนี้ ตำบลปากแพรก 10 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลชลคราม.10 แผนงานที่สมบูรณ์  3 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลไชยคราม..8 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลป่าร่อน...9 แผนงานที่สมบูรณ์  1 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลตะเคียนทอง..8 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลน้ำพุ..9 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลตะกุกเหนือ..10 แผนงานที่สมบูรณ์  2 โครงการกิจกรรมทางกาย ตำบลอิปัน...10 แผนงานที่สมบูรณ์  1 โครงการกิจกรรมทางกาย

 

0 0

61. กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลตะกุกเหนือ จ.สุราษฎร์ธานี

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • วันที่ 23 ก.พ. 2567 เวลา 09.30-15.30 น. ณ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่านหญิงวิภา  ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.มอ.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  นายสมนึก  นุ่นด้วง  คณะทำงานและผู้ประสานโครงการ ประชุมปฏิบัติการสำรวจ/ให้ความเห็นเพื่อการออกแบบพื้นที่สุขภาวะของพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่านหญิงวิภา
  • การสร้างความเข้าใจกระบวนการเพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดยมี นางสาวสุธิรา  มุขตา  สถาปนิก และผู้ช่วย สำรวจพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงรายละเอียดและข้อจำกัดการออกแบบ ปฏิบัติการรังวัดพื้นที่เพื่อการออกแบบ โดยชี้แนะของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • หลังจากนั้นได้สรุปผลการสำรวจ รูปแบบและข้อจำกัดแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย คณะทำงาน,ผู้ประสานงานโครงการ, นายกอบต.ตะกุกเหนือและผู้บริหาร,นายช่างโยธา อบต.ตะกุกเหนือ, กำนันตำบลตะกุกเหนือ, ผู้ใหญ่บ้าน,หัวหน้าศพด.บ้านท่านหญิงวิภา,ประธานกรรมการ ศพด.บ้านท่านหญิงวิภา ผู้แทนผู้ปกครอง และสื่อมวลชน เข้าร่วมด้วย จำนวน 19 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ความเห็นและความต้องการของผู้เกี่ยวข้องเพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ในอาคาร ในรั้วรอบบริเวณ และหลังอาคาร พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ “เป็นลานเด็กเล่นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่านหญิงวิภา ให้ครอบครัวพ่อแม่ผู้ปกครองมีกิจกรรมนันทนาการและสนุกสนาน” สรุปความต้องการดังนี้ ภายในอาคาร: กระดานลื่น (Slider) 1 ชุด นอกอาคาร: ทางเดิน คสล ทำรูปรอยเท้าน่านเดิน ลาน/หลุมทรายใต้หลังคา ชิงช้า วงล้อปีนป่าย กระดานลื่น(Slider) สนามหญ้า ซุ้มนั่งพักมีหลังคา หลังอาคาร (ประมาณ 1 ไร่ ) ลานเอนกประสงค์ คสล ทางเดิน-วิ่ง ศาลาพัก ห้องน้ำ เครื่องออกกำลังกาย/ สวนสนุก ไฟส่งสว่าง

 

0 0

62. ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจแผนการดำเนินงาน และกิจกรรมโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จังหวัดตรัง วันพุธ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ 2. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
กำหนดการ เวลา กิจกรรม 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 10.30 น. ทำความเข้าใจกับแผนการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน กำหนดโครงการ และพื้นที่สุขภาวะ 10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.00 น. แนะนำการใช้เว็บการพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายและการเก็บข้อมูลผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 14.30 น. การสร้างความเข้าใจการเก็บข้อมูลผ่านมือถือ และการเชื่อโยงกับเว็บhttps://localfund.happynetwork.org การสรรหาผู้เก็บข้อมูลตำบลละ 4 คน 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 - 16.30 น. การกำหนดพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลจาก HDC on Cloud

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจกับแผนการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน กำหนดโครงการและพื้นที่สุขภาวะได้
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้ระบบพัฒนาโครงการผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org ได้
  3. ออกแบบการเก็บข้อมูล 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลชุมชน 1 ชุด 2) ข้อมูลครัวเรือน 100 ชุด 3) ข้อมูลบุคคล 200 ชุด
  4. ข้อมูลครัวเรือนจำนวน 200 ชุด แบ่งสัดส่วนตามกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

- กลุ่มอายุ 5-15 ปี จำนวน 50 คน - กลุ่มอายุ 16-25 ปี จำนวน 50 คน - กลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวน 50 คน

 

0 0

63. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

64. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม

วันที่ 4 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

65. กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลไชยคราม ตำบลปากแพรก จ.สุราษฎร์ธานี

วันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 6 มีนาคม 2567  ณ อบต.ปากแพรก อ.ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี
09.00-09.30 ลงทะเบียน 09.30-10.30 สร้างความข้าใจกระบวนการเพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย การสำรวจพื้นที่ รับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ชี้แจงรายละเอียด และข้อจำกัดการออกแบบ แก่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม ตำบลไชยคราม 1 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม 2 ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม 3 นายช่างโยธาองค์การบริหารส่วนตำบลไชยคราม 4 หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 5 ผู้แทนครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 6 ประธานกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 7 ผู้แทนกรรมการกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 8 ผู้แทนผู้ปกครองเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 9 กำนันตำบลไชยคราม 10 ผู้ใหญ่บ้านพื้นที่ที่ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม 11    คณะทำงาน/ประสานงานโครงการฯตำบลไชยคราม(นางสาวภัททิยา  โพธิ์ขวาง)

โรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ตำบลปากแพรก 1 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก 2 ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก 3 นายช่างโยธาองค์การบริหารส่วนตำบลปากแพรก 4 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 5 ผู้แทนครูโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 6 ประธานกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 7 ผู้แทนกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 8 ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 9 กำนันตำบลปากแพรก 10 ผู้ใหญ่บ้านพื้นที่ที่ตั้งโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์ 11.  คณะทำงาน/ประสานงานโครงการฯตำบลปากแพรก(นางสาวณัฐญา  ศรีไสยเพชร)

คณะทำงาน 1. นางสาวไพลิน  ทิพย์สังข์ คณะทำงาน 2. นายสมนึก  นุ่นด้วง คณะทำงาน/ผู้ประสานงานโครงการ 3. นางสาวธีระนุช  มุขตา  สถาปนิกส์ 4. นายเศกศิลป์  ชูศรีอ่อน ผู้ช่วยสถาปนิก 5. นางปุญญิสา  สุวรรณ    สื่อสารมวลชน 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 ปฏิบัติการ รังวัด พื้นที่เพื่อการออกแบบ 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.30 ปฏิบัติการ รังวัด พื้นที่เพื่อการออกแบบ โดยการชี้แนะของผู้เกี่ยวข้อง 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง 14.45-16.00 สรุปผลการสำรวจ รูปแบบ และข้อจำกัด แก่ผู้เข้าร่วมประชุม /ถาม-ตอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมตามเป้าหมาย สถาปนิกได้รับข้อมูลเพื่อการออกแบบ “ลานเด็กเล่นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม” ดังนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไชยคราม ตำบลไชยคราม
ภายนอกอาคาร     1. ลาน คสล+หญ้าเทียมหน้าผา แทมโพลีน หลุมทราย (หน้า 176 ตรม.)     2 ลานกีฬา คสล+หญ้าเทียม แป้นบาส ปต. บอล (หลัง 330 ตรม.)     3 ในโดม(ทางเดิน จราจร ลู่หญ้าเทียม 480 ตรม. ภายในอาคาร     4 โรงอาหาร 70 ตรม.  เครื่องเล่น     5 ในห้องครัว (อ่างล้างจาน)

รร บ้านเขาพระอินทร์  ตำบลปากแพรก ได้ออกแบบ “ลานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะโรงเรียนบ้านเขาพระอินทร์” 1. ลานออกกำลังกายหลังอาคาร 640 ตรม. (ลานหิน-สนามเปตอง- ทางเดิน PA) 2  หน้าโรงอาหาร  สวนเด็ก หลุมทราย 220 ตรม. 3. ลาน BBL ระหว่างอาคาร 6.5x14 m 90 ตรม. 4. ข้างโรงอาหาร 150 ตรม.  ทางเดินต่างระดับ

 

0 0

66. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 11 อปท. อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

1) วัตถุประสงค์   1.1) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ   1.2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึง       ความปลอดภัย 2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 73 คน   2.1) นายกเทศมนตรี/นายกอบต. 12 แห่งๆละ 1 คน      จำนวน 12 คน   2.2) ปลัดเทศบาล/ปลัดอบต.  12 แห่งๆละ 1 คน      จำนวน 12 คน   2.3) ผอ.กองสาธารณสุข/ผอ.กองการศึกษา 12 แห่งๆละ2 คน จำนวน 24 คน   2.4) หัวหน้าสำนักปลัด 12 แห่งๆละ 1 คน            จำนวน 12 คน 3) ภาคีเครือข่าย   3.1) สาธารณสุขอำเภอ/จนท.ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2คน   3.2) ท้องถิ่นอำเภอ  จำนวน 1 คน   3.3) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 7 คน   3.4) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3 คน



กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร 09.00 – 09.30 น. กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ
โดย นายชูวิทย์ ธานี สาธารณสุขอำเภอ เขื่องใน กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ
โดย นายภัทรพล สารการ นายอำเภอ เขื่องใน 09.30 – 10.30 น. แนวทางการจัดทำแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะและ
ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบล และอำเภอ” โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 – 11.30 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ Road Map การดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นางเสาวนีย์ กิตติพิทยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 11.30 – 12.00 น. แนวทางการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกองทุนเพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นายญัตติพงศ์ แก้วทอง  สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. วางแผนและจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์ วามะขัน
นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 14.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย และนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานสื่อ เขต 10

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี นายภัทรพล สารการ นายอำเภอเขื่องใน เป็นประธานในการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะหรือพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัดท้องถิ่นทุกแห่ง ผอ.กองการสาธารณสุข ผอ.กองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด และประธาน อสม.ทุกตำบล จำนวนกว่า 60 คน เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาทั่วประเทศมีภาวะโรค NCD เพิ่มมากขึ้น ด้วยสภาวการณ์ที่คนไทยมีความเนื่องนิ่งไม่ขยับกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) ได้ร่วมมือกับมูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 อุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ให้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการเก็บข้อมูล การจัดทำแผน การจัดทำโครงการ การค้นหาและพัฒนาพื้นที่สาธารณะ การพัฒนานโยบายสาธารณะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย หรือ PA (Physical Activity) ในชุมชนให้มากขึ้น ชุมชนมีการรับรู้ เข้าใจ และตระหนักในการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวที่เพียงพอ
ทั้งนี้พื้นที่อำเภอเขื่องใน ได้ขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอำเภอทั้งหมด 12 ตำบล ได้แก่ ต.บ้านกอก, ต.ศรีสุข, ต.กลางใหญ่, ต.ค้อทอง, ต.ก่อเอ้, ต.ท่าไห, ต.นาคำใหญ่, ต.แดงหม้อ, ต.ธาตุน้อย, ต.หัวดอน, เทศบาลตำบลเขื่องใน และ เทศบาล ต.หัวเรือ ขณะนี้ได้พื้นที่นำร่องในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ใน 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลเขื่องในห และตำบลก่อเอ้ และจะมีการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูล การพัฒนาศักยภาพในการเขียนแผน เขียนโครงการ และพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อ ลำดับต่อไป

 

0 0

67. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง 8 อปท. อำเภอหัวตะพาน จังหวัด อำนาจเจริญ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

1) วัตถุประสงค์   1.1) เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ   1.2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึง       ความปลอดภัย 2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 62 คน   2.1) นายกเทศมนตรี/นายกอบต. 8 แห่งๆละ 1 คน      จำนวน 8 คน   2.2) ปลัดเทศบาล/ปลัดอบต.  8 แห่งๆละ 1 คน      จำนวน 8 คน   2.3) ผอ.กองสาธารณสุข/ผอ.กองการศึกษา 8 แห่งๆละ2 คน จำนวน 16 คน   2.4) หัวหน้าสำนักปลัด 8 แห่งๆละ 1 คน            จำนวน 8 คน   2.5) ประธานอสม.8 ตำบลๆละ 1คน                จำนวน 8 คน 3) ภาคีเครือข่าย   3.1) สาธารณสุขอำเภอ/จนท.ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน   3.2) ท้องถิ่นอำเภอ  จำนวน 1 คน   3.3) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 7 คน   3.4) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3 คน   3.5) โหนดจังหวัด (สสส.)  จำนวน 1 คน


กำหนดการ เวลา รายละเอียด วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2567 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร 09.00 – 09.30 น. กล่าวรายงานความเป็นมาการดำเนินงานประชุมชี้แจงโครงการ
โดย สาธารณสุขอำเภอ หัวตะพาน กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(PA) และการสื่อสารสาธารณะ ระดับตำบล และอำเภอ
โดย นายประหยัด คุณมี นายอำเภอ หัวตะพาน 09.30 – 10.30 น. ชี้แจงรายละเอียดโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการสื่อสารสาธารณะระดับตำบล และอำเภอ” โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 – 11.30 น. ระดมความคิดเห็นและวางแผนเชิงปฏิบัติการจัดทำ Road Map การดำเนินงานในการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นางเสาวนีย์ กิตติพิทยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 11.30 – 12.00 น. วางแผนการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกองทุนเพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดย นายญัตติพงศ์ แก้วทอง  สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. วางแผนและจัดทำ Road Map การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดย ผศ.กตัญญู หอสูติสิมา คณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนายชุนันทร์ วามะขัน
นักวิจัย/สถาปนิกศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 14.00 – 16.00 น. วางแผนและจัดทำ RoadMap พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย และนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานสื่อ เขต 10

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 13 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลหัวตะพาน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ
นายประหยัด คูณมี นายอำเภอหัวตะพาน เป็นประธานในการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะหรือพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย สาธารณสุขอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายก อบต. ปลัดท้องถิ่นทุกแห่ง ผอ.กองการสาธารณสุข ผอ.กองการศึกษา หัวหน้าสำนักปลัด และประธาน อสม.ทุกตำบล จำนวนกว่า 60 คน เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาทั่วประเทศมีภาวะโรค NCD เพิ่มมากขึ้น ด้วยสภาวการณ์ที่คนไทยมีความเนื่องนิ่งไม่ขยับกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) ได้ร่วมมือกับมูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 อุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหัวตะพาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ให้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการเก็บข้อมูล การจัดทำแผน การจัดทำโครงการ การค้นหาและพัฒนาพื้นที่สาธารณะ การพัฒนานโยบายสาธารณะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย หรือ PA (Physical Activity) ในชุมชนให้มากขึ้น ชุมชนมีการรับรู้ เข้าใจ และตระหนักในการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวที่เพียงพอ
ทั้งนี้พื้นที่อำเภอหัวตะพาน ได้ขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอำเภอทั้งหมด 8 ตำบล ได้แก่ ต.หัวตะพาน, ต.คำพระ, ต.เค็งใหญ่, ต.หนองแก้ว, ต.โพนเมืองน้อย, ต.สร้างถ่อ, ต.จิกดู่ และต.รัตนวารี
ขณะนี้ได้พื้นที่นำร่องในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ใน 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลหัวตะพาน และตำบลจิกดู่ และจะมีการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูล การพัฒนาศักยภาพในการเขียนแผน เขียนโครงการ และพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อ

 

0 0

68. การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1

วันที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

69. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1

วันที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

70. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

08.30-10.30 ทบทวนกระบวนการพัฒนาโครงการที่เชื่อมโยงกับแผน และการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 ตรวจเอกสารทำข้อตกลง 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.30 เรียนรู้การเขียนรายงานกิจกรรมผ่าน เว็บ 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง 14.45-16.00 เรียนรู้การจัดทำเอกสารการเงิน และการทำรายงานผ่านเว็บ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมตามแผน 18 คน
  2. โครงการได้รับการทำข้อตกลง 5 โครงการ (ในชุมชน 3 โครงการ /ในสถานศึกษา 2 โครงการ)
    2.1 โครงการเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาและสันทนาการอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา
    2.2 โครงการส่งเสริมการการออกกำลังกาย ในกลุ่มเสี่ยง NCDs
    2.3 โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยง NCDs ในตำบลป่าร่อน
    2.4 โครงการพิชิตกายแข็งแรงด้วยกิจกรรมทางกาย
    2.5 โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุตำบลชลคราม

 

0 0

71. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง อบต.ก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 20 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม อบต.ก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  นายสุริยา บุญประภาร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด การประชุมออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายตำบลก่อเอ้ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กตัญญู หอสูติสิมา ทีมออกแบบสถาปนิกโครงการฯ หรือ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี ตามที่สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่อง แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความ ปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี ไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ทาง ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบพื้นที่นำร่อง โดยมีตำบลก่อเอ้ เป็นหนึ่งพื้นที่นำร่อง เพื่อให้การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น นายก อบต.ก่อเอ้ ปลัด อบต.ก่อเอ้ ผู้นำชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ สถานศึกษา นักเรียน อสม. เป็นต้น
  • เสนอพื้นที่ในดวงใจหลายพื้นที่ ได้แก่ ตลาด แก่งอีติ้ง สวนสิริกิตต์ อนามัย(รพ.สต.) ถนนในชุมชน สวนพระใหญ่ และอบต.
  • ตามมติในที่ประชุมเห็นควรสถานที่ องค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เป็นพื้นที่สาธารณะในการออกแบบส่งเสริมกิจกรรมทางกายของตำบลก่อเอ้
  • ได้ออกแบบสิ่งที่อยากให้มีในพื้นที่สาธารณะ เช่น ให้เป็นสนามเด็กเล่น ที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานศิลปะ จุด Check In จัดทำลู่วิ่ง และศูนย์เรียนรู้อาชีพ มีตู้ ATM ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศาลานั่งเล่น ลานปั่นจักรยาน ห้องคาราโอเกะ ที่จอดรถ
  • หลังจากนี้ทีมออกแบบจะมีการดำเนินการออกแบบเพื่อจัดทำเป็นร่างแบบมาเสนอและจัดทำประชาคมแก่คนในชุมชนอีกครั้ง

 

0 0

72. ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 2

วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

73. การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง

วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจังหวัดตรัง ประชุมการทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
การพบปะแลกเปลี่ยนกันวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมาท้องถิ่นทั้ง 10 แห่ง ได้ร่วมเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน 10 ประเด็น เป็นที่เรียบร้อย ครั้งนี้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชนมาร่วมวิเคราะห์จัดทำแผนและโครงการที่จะดำเนินการ ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรคุณสมนึก นุ่นด้วง คุณวาลัยพร ด้วงคง และคณะพี่เลี้ยงจังหวัดตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้เรื่องการจัดทำแผนกิจกรรมทางกายและสุขภาพอื่นๆ ในท้องถิ่น

  1. กิจกรรมทางกาย คือ การเคลื่อนไหวหรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) การทำงาน/งานบ้าน 2) การเดินทาง (เดิน/ปั่นจักรยานไปที่ต่างๆ ในชุมชน ) 3) การมีกิจกรรมนันทนาการ การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย
    “กิจกรรมทางกายจึงมีความหมายมากกว่าการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย”

  2. วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ร่วมกับท้องถิ่น 10 แห่งในจังหวัดตรัง

  3. ท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลย่านตาขาว 2) องค์การบริหารส่วนตำบลหาดสำราญ 3) ทต.นาโยงเหนือ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ 5) องค์การบริหารส่วนตำบลปากคม 6) เทศบาลตำบลโคกหล่อ 7) องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด 8) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ 9) องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน 10) องค์การบริหารส่วนตำบลคลองลุ

  4. ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ โดยเน้นแผนงานกิจกรรมทางกายเป็นหลักในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีประเด็นอื่นๆ ร่วม 10 ประเด็น เพื่อการออกแบบโครงการสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ไปสู่การแก้ปัญหาอื่นๆ แบบบูรณาการได้ โดย 10 ประเด็นมี คือ 1) แผนงานกิจกรรมทางกาย 2) แผนงานขยะ 3) แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม 4) แผนงานยาสูบ 5) แผนงานสุรา 6) แผนงานสิ่งเสพติด 7) แผนงานอาหารและโภชนการ 8) แผนงานสุขภาพจิต 9) แผนงานความปลอดภัยทางถนน 10) แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

  5. หลักการทำแผน มี 4 คำ (อยู่ไหน, จะไปไหน,ไปอย่างไร, ไปถึงแล้วยัง) คือ 1) อยู่ไหน : สถานการณ์ 2) จะไปไหน : เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ 4) ไปถึงแล้วยัง : ประเมินผลลัพธ์ (คู่มือการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย: https://localfund.happynetwork.org/upload/forum/plandoc_pa.pdf)

  6. กระบวนการการจัดประชุม: 1) สร้างความเข้าใจกระบวนการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน 2) ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับแผนงาน โดยใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้เว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org 3) แลกเปลี่ยนนำเสนอโครงการเพื่อสร้างการเรียนรู่ร่วมกัน

  7. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ได้แผนสุขภาพตำบล 10 ประเด็น จำนวน 10 ท้องถิ่นนำร่องในจังหวัดตรัง และได้โครงการที่จะดำเนินการในพื้นที่ ในครั้งถัดไป คือ “ขั้นตอนที่ 3) ไปอย่างไร : แนวทาง วิธีการดำเนินการ โครงการ” เป็นการเขียนโครงการที่ดีเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเพิ่มกิจกรรมทางกายในท้องถิ่น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และสร้างกลไกความร่วมมือสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในท้องถิ่นต่อไป

 

0 0

74. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 21 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
นายไพฑูรย์ จิตทวี นายกเทศมนตรีตำบลเขื่องใน เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด การประชุมออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายตำบลเขื่องใน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กตัญญู หอสูติสิมา ทีมออกแบบสถาปนิกโครงการฯ หรือ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี ตามที่สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่อง แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความ ปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี ไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ทาง ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบพื้นที่นำร่อง โดยมีตำบลเขื่องใน เป็นหนึ่งพื้นที่นำร่อง ของอำเภอเขื่องในนั้น เพื่อให้การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรีตำบลเขื่องใน ปลัด หัวหน้าสำนัก ผู้นำชุมชน สมาชิกเทศบาลตำบลเขื่องใน ผู้แทน อสม. ผู้นำชุมชน เป็นต้น
  • เสนอพื้นที่ในดวงใจหลายพื้นที่ ได้แก่ เส้นหน้าถนนเสรีภาพ ข้างสภ.เขื่องใน ตลาดเก่า หน้าบ้านนายอำเภอ สนามกีฬาหลัง รพ. ข้างกำแพงวัดบ้านสว่าง ดอนปู่ตา ทางคู่ขนานแถวสะพาน ข้างวัดเขื่องกลาง ตามมติในที่ประชุมเห็นควรสถานที่ที่เหมาะสมเป็นพื้นที่สาธารณะในการออกแบบส่งเสริมกิจกรรมทางกายของตำบลเขื่องใน คือ บริเวณเส้นหน้าเสรีภาพ ข้างสภ.เขื่องใน ย่านตลาดเก่า และข้างบ้านนายอำเภอ โดยได้ออกแบบสิ่งที่อยากให้มีและอยากจะเห็นในพื้นที่สาธารณะ “ย่านตลาดเก่า” นั้น เช่น ให้เป็นถนนคนเดิน สนามเด็กเล่น ที่พักผู้สูงอายุ พื้นที่กิจกรรมของเด็กวัยรุ่น ลานดนตรี ถนนศิลปะ ถนนอาหาร ร้านกาแฟ ที่ออกกำลังกาย ตลาดนัด และพื้นที่ขายสินค้า
  • หลังจากนี้ทีมออกแบบจะมีการดำเนินการออกแบบเพื่อจัดทำเป็นร่างแบบมาเสนอและจัดทำประชาคมแก่คนในชุมชนอีกครั้ง

 

0 0

75. การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดน่านและจังหวัดลำพูน งวดที่ 1

วันที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

76. ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 โดยการประชุมผ่านระบบออนไลน์ https://zoom.us/j/9019029104

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สถาบันนโยบายสาธารณะ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (สนส.ม.อ.)  ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี และภาคีเครือข่ายท้องถิ่นอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีและอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ รวม 20 แห่ง ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 โดยการประชุมผ่านระบบออนไลน์ https://zoom.us/j/9019029104

วัตถุประสงค์การประชุมวันนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชน ผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ได้แก่ ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ภ.ก.สมชาย  ละอองพันธ์  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา (สปสช.) คุณจงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี คุณธนพนธ์ จรสุวรรณ คณะทำงานพี่เลี้ยง และคณะทำงานเก็บข้อมูลจากท้องถิ่น 20 แห่ง

 

0 0

77. การประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/)

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

78. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 25 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
นายธนิต ชาววัง นายกเทศมนตรีตำบลหัวตะพาน เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด การประชุมออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายตำบลหัวตะพาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กตัญญู หอสูติสิมา ทีมออกแบบสถาปนิกโครงการฯ หรือ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ ตามที่สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่อง แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความ ปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ ไปเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ทาง ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบพื้นที่นำร่อง โดยมีตำบลหัวตะพานและตำบลจิกดู่ เป็นสองพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ นั้น เพื่อให้การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น นายกเทศมนตรี ปลัด หัวหน้าสำนัก ผู้นำชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ สถานศึกษา ศพด. นักเรียน อสม. เป็นต้น
  • เสนอพื้นที่ในดวงใจหลายพื้นที่เป็นพื้นที่นำร่องในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย คือ สวนเฉลิมพระเกียรติ ตามมติในที่ประชุมเห็นควรได้เลือกเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว เป็นพื้นที่สาธารณะในการออกแบบส่งเสริมกิจกรรมทางกายของตำบลหัวตะพาน โดยได้ออกแบบสิ่งที่อยากให้มีในพื้นที่สาธารณะ เช่น น้ำพุ สนามเด็กเล่น ลานหรือที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่หรือลานเต้นแอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย สวนน้ำ สวนสนุก ถนนเดินนวดเท้า ที่ออกกำลังกายคนพิการ แหล่งเรียนรู้ต้นไม้พืชพรรณ ลานกิจกรรม ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำผู้สูงอายุ สวนหย่อม สระว่ายน้ำเด็ก จุดเช็คอิน ร้านตัดผม และต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น
    หลังจากนี้ทีมออกแบบจะมีการดำเนินการออกแบบเพื่อจัดทำเป็นร่างแบบมาเสนอและจัดทำประชาคมแก่คนในชุมชนอีกครั้ง

 

0 0

79. การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • วันที่ 25 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ นายสุธรรม ยืนสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เป็นประธานกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด การประชุมออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายตำบลจิกดู่ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กตัญญู หอสูติสิมา ทีมออกแบบสถาปนิกโครงการฯ หรือ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่ตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ ตามที่สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่อง แผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความ ปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอำนาจเจริญ ไปเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ทาง ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบพื้นที่นำร่องอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีตำบลหัวตะพานและตำบลจิกดู่ เป็นหนึ่งพื้นที่นำร่องของอำเภอหัวตะพานนั้น เพื่อให้การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จากการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น นายก อบต.จิกดู่ ปลัด หัวหน้าสำนัก ผู้นำชุมชน สมาชิกอบต.จิกดู่ ผู้แทน อสม. ผู้นำชุมชน ผู้แทนเด็กเยาวชน สภาเด็กเยาวชนตำบลจิกดู่ เป็นต้น
  • เสนอพื้นที่ในดวงใจหลายพื้นที่ คือ ที่ทำการ อบต.จิกดู่ และหนองน้ำสาธารณะ “บ่อบะฮุก” ตามมติในที่ประชุมเห็นควรสถานที่ที่เหมาะสมเป็นพื้นที่สาธารณะในการออกแบบส่งเสริมกิจกรรมทางกายของตำบลหัวตะพาน คือ ที่ทำการ อบต.จิกดู่ โดยได้ออกแบบสิ่งที่อยากให้มีและอยากจะเห็นในพื้นที่สาธารณะ “ที่ทำการ อบต.จิกดู่” นั้น เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาวัฒนธรรม สวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน สานกีฬาเอนกประสงค์ เวทีแอโรบิก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของดีแต่ละหมู่บ้าน กิจกรรมคาราโอเกะ สวนสุขภาพมีฐานกิจกรรมแต่ละวัย การโชว์สินค้าของดีตำบล เป็นต้น
  • หลังจากนี้ทีมออกแบบจะมีการดำเนินการออกแบบเพื่อจัดทำเป็นร่างแบบมาเสนอและจัดทำประชาคมแก่คนในชุมชนอีกครั้ง

 

0 0

80. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี โดย นางดวงรัตน์ คงขาว

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

81. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ต.น้ำพุ อ.บ้านนาสารจ.สุราษฎร์ธานี โดย นางกฤติยาภรณ์ ไทยเสน

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

82. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ป่าร่อน อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดย นางประภา สุขแสน

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

83. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี โดย นายวิโรจน์ รักช่วย

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

84. การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด ็กเล็กบ้านคราม ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี โดย นางปราณี จิ๋วประดิษฐกุล

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

85. ประชุมวางแผนการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 27 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อเพื่อการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ปรับกำหนดการใหม่
  2. ได้แผนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ
  3. ให้เครือข่ายสื่อทำคอนเทนต์ (Content) มาก่อนถึงวันประชุม

 

0 0

86. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมีนาคม 2567

วันที่ 29 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

87. คณะทำงานเข้าร่วมประชุมการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี

วันที่ 1 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้แนวทางและความร่วมมือในการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี

 

0 0

88. ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการดำเนินงานของ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ปี 2564 -2567

วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการดำเนินงานของ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ปี 2564 -2567 วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้อง Executive 1+2, Below Lobby Floor โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเสนอผลการดำเนินงานของ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ปี 2564 -2567

 

0 0

89. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่าน งวดที่ 1

วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

90. ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดลำพูน งวดที่ 1

วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

91. การประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่จังหวัดตรัง

วันที่ 10 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันที่ 10 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

เวลา กิจกรรม ผู้ดำเนินการ 08.00-08.30 ลงทะเบียน คณะทำงาน 08.30-10.30 ทบทวนแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและความเชื่อมโยงของโครงการกับแผนงาน คณะวิทยากร 10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 10.45-12.00 ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ ที่เชื่อมโยงกับแผนงาน โดยใช้เครื่องมือเว็บ Localfund คณะวิทยากร 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน คณะทำงาน 13.00-14.30 ปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ และการออกแบบกิจกรรมสู่ผลลัพธ์
โดยใช้เครื่องมือเว็บ Localfund คณะวิทยากร 14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง คณะทำงาน 14.45-16.30 นำเสนอโครงการ เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน คณะวิทยากร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้ทบทวนข้อมูลสถานการณ์สุขภาพและเป้าหมายแผน 1 ปี ของท้องถิ่น จำนวน 10 แห่ง
    • ได้แผนส่งเสริมกิจกรรมจำนวน 10 แผน
    • ได้โครงการสนับสนุนปฏิบัติการจำนวน 9 โครงการ

 

0 0

92. การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 2

วันที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

93. ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.หัวตะพาน    จ.อำนาจเจริญ  วันพุธที่ 24 เมษายน 2567 ณ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ กำหนดการ
เวลา รายละเอียด 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.30 - 10.00 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.00 - 10.30 น. กล่าววิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย โดย นายอำเภอ 10.30 - 12.00 น. การบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย นายอำเภอ นายกเทศมนตรีตำบล/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 8 แห่ง
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.30 น. การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.หัวตะพาน
จ.อำนาจเจริญ โดย คณะทำงานแผน/โครงการ คณะทำงานเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน และคณะทำงานสื่อ จำนวน 8 ท้องถิ่น
ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงานพี่เลี้ยง
จ.อำนาจเจริญ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอหัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ จัดทำบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอหัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอหัวตะพาน นายประหยัด คุณมี นายอำเภอหัวตะพาน เป็นประธานกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสรมิกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย และมี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 ท่าน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท้องถิ่นอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อำเภอหัวตะพานนำร่อง 8 แห่ง ในการจัดทำบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) , ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเขื่องใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 8 แห่ง ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นองค์กรสนับสนุน
ในการจัดทำข้อตกลงครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาข้องตกลงร่วมกันดังนี้ 1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง

 

0 0

94. การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 ณ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

กำหนดการ
เวลา รายละเอียด 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 09.30 - 10.00 น. กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
      รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.00 - 10.30 น. กล่าววิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย
โดย นายอำเภอ 10.30 - 12.00 น. การบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย นายอำเภอ นายกเทศมนตรีตำบล/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 12 แห่ง

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.30 น. การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โดย คณะทำงานแผน/โครงการ คณะทำงานเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน และคณะทำงานสื่อ จำนวน 12 ท้องถิ่น
ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะทำงานพี่เลี้ยง จ.อุบลราชธานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จัดทำบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเขื่องใน
นายเกียรติศักดิ์ บารมี ปลัดอาวุโสอำเภอเขื่องใน เป็นประธานกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสรมิกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย
และมี ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และนำเสนอโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 ท่าน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท้องถิ่นอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อำเภอเขื่องในนำร่อง 12 แห่ง
ในการจัดทำบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) , ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเขื่องใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 12 แห่ง ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นองค์กรสนับสนุน
ในการจัดทำข้อตกลงครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาข้องตกลงร่วมกันดังนี้ 1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง

 

0 0

95. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพและจัดทำแผนในพื้นที่นำร่อง จ.น่าน และจ.ลำพูน

วันที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

96. ประชุมการทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง

วันที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 29 เม.ย.2567 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อ.เมือง จ.ตรัง สนส.ม.อ.และคณะทำงานพี่เลี้ยงได้จัดประชุมการทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จังหวัดตรังมีกองทุนท้องถิ่นนำเข้าร่วมนำร่อง 10 แห่ง
  2. ทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมามีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้
        1) ชี้แจงทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ
        2) ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย /เข้าใจหลักการทำงานแผน 4 คำถาม อยุ่ไหน จะไปไหน ไปอย่างไร ไปถึงแล้วยัง     3) อยู่ไหน: คือ การเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพตำบล ได้เก็บข้อมูลครบถ้วน     4) จะไปไหน: การทำแผน ตั้งเป้าหมาย และกำหนดโครงการที่ควรดำเนินการ     5) ไปอย่างไร: การเขียนโครงการ
    จากเวทีที่ผ่านมาได้ดำเนินการถึงขั้นตอนการเขียนโครงการ วันนี้จะทบทวนความสมบูรณ์ของโครงการ และทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง
  3. การออกแบบโครงการ คือ 1) ทำอย่างไรให้คนรับรู้ความตระหนักต่อเรื่องกิจกรรมทางกาย 2) การปรับสภาพแวดล้อม 3) ระบบกลไก

  4. ได้โครงการดำเนินกิจกรรมจำนวน 9 โครงการ ดังนี้
    1) โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกาย สบายชีวา ปี 2567 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง 2) โครงการเด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนรา ตำบลหาดสำราญ จังหวัดตรัง 3) โครงการกิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี ตำบลน้ำผุด จังหวัดตรัง 4) โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพในเด็กวัยเรียน เทศบาลตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง 5) โครงการส่งเสริมเด็กเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นด้วยการเล่นฟุตบอล เทศบาลตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง 6) โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองเพื่อสุขภาพ เทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 7) โครงการหนูน้อย พัฒนาการสมวัยด้วยการออกกำลังกาย อบต.ปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง" 8) โครงการอนุรักษ์ความเป็นไทยออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าของผู้สูงอายุ อบต.ปากคม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 9) โครงการส่งเสริมการเดิน วิ่งและใช้จักรยานในชุมชน อบต.บ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

 

0 0

97. ค่าจ้างเจ้าหน้าที่โครงการ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

วันที่ 30 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

98. โครงการอนุรักษ์ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า (ต.ปากคม)

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

99. โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกาย สบายชีวี ปี 2567 (ตำบลหนองปรือ)

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

100. โครงการหนูน้อย พัฒนาการสมวัยด้วยการออกกำลังกาย (ต.ปะเหลียน)

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

101. โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองเพื่อสุขภาพ (ต.โคกหล่อ)

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

102. โครงการส่งเสริมการเดิน วิ่ง และใช้จักรยานในชุมชน (ต.บ้านโพธิ์)

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

103. โครงการกิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี (ต.น้ำผุด)

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

104. โครงการเด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนราห์ ต.หาดสำราญ

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

105. โครงการส่งเสริมเด็กเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นด้วยการเล่นฟุตบอล ต.นาโยงเหนือ

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

106. โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพในเด็กวัยรุ่น ต.ย่านตาขาว

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

107. การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดตรัง ภายใต้โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

  • กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน
  • ทางแนะนำโครงการและวัตถุประสงค์ของการประชุม
  • การจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการเลือกพื้นที่และกำหนด โปรแกรมในการออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำร่อง
  • สรุปผลและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผู้เข้าร่วมประชุมได้ลงมติเลือกพื้นที่บริเวณด้านหน้า อบต.ปะเหลียนเป็นพื้นที่สุขภาวะ เนื้อที่ประมาณ 2,000 ตร.ม. เป็นพื้นที่คนในชุมชนสามารถเข้าถึงได้สะดวก
  • การออกแบบเป็นพื้นที่สุขภาวะ ใช้สำหรับการมีกิจกรรมทางกาย และสามารถออกกำลังกายได้ในระดับตั้งแต่ปานกลางถึงหนักได้ เป็นสวนหย่อมพักผ่อนหย่อนใจมีลานศาลาเพื่อรองรับให้ผู้สูงอายุออกจากบ้านมาเพื่อมีกิจกรรมทางกาย สามารถเดินวิ่งได้รอบพื้นที่ และมีลานเต้นบาสโลบ เต้นแอโรบิก
  • การมีส่วนร่วมในการออกแบบตรงกับความต้องการผู้ใช้ประโยชน์ นำไปสู่ความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันเกิดความต่อเนื่องต่อการมีกิจกรรมทางกาย และร่วมกันดูแลรักษาให้พื้นที่สุขภาวะคงอยู่กับพื้นที่ต่อไปอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตสุขภาพมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น นำไปสู่การลดโรคเรื้อรังและสร้างชุมชนเข้มแข็งต่อไป
  • ร่างแบบครั้งนี้ จะถูกนำไปสู่กระบวนการทางสถาปัตย์ออกแบบภาพ 3 มิติ แล้วนำร่างแบบดังกล่าวมาคืนข้อมูลให้ชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนสรุปผลการออกแบบครั้งถัดไป และนำสู่กระบวนการจัดทำแผนของตำบลต่อไป

 

0 0

108. การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง

วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดตรัง ภายใต้โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง
กิจกรรม
- กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด
- แนะนำโครงการและวัตถุประสงค์ของการประชุม
- การจัดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการเลือกพื้นที่และกำหนด โปรแกรมในการออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- สรุปผลและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้เข้าร่วมประชุมได้ลงมติเลือกพื้นที่บริเวณด้านหน้า อบต.นำผุดเป็นพื้นที่สุขภาวะ เนื้อที่ประมาณ  4 ไร่  เป็นพื้นที่คนในชุมชนสามารถเข้าถึงได้สะดวก
  • การออกแบบเป็นพื้นที่สุขภาวะ ใช้สำหรับการมีกิจกรรมทางกาย และสามารถออกกำลังกายได้ในระดับตั้งแต่ปานกลางถึงหนักได้ เป็นสวนหย่อมพักผ่อนหย่อนใจมีเส้นทางลู่เดินวิ่งรอบสระน้ำ ซึ่งสระน้ำมีจุดเด่นเป็นรูปหัวใจ ทุกช่วงวัยสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ มีศาลาพักผ่อนกลางสระน้ำสามารถเดินไปให้อาหารปลาได้ มีลานกิจกรรมสำหรับเสวนาของคนในชุมชน แรงจูงใจสร้างเป็นจุดเช็คอินในชุมชน พื้นที่ตำบลน้ำผุดเป็นพื้นที่ที่มีเส้นทางการใช้จักรยาน บุคคลภายนอกจะเข้ามาปั่นจักรยานในพื้นที่นี้ พื้นที่สุขภาวะตรงนี้จะสร้างจุดจอดจักรยานและมีพื้นที่ยืดเหยียดให้นักปั่นจักรยานและคนในชุมชน นอกจากนี้สามารถเชื่อมไปพื้นที่หมู่ที่ 9 จะมีแอ่งน้ำ สามารถออกแบบเป็นเส้นทางปั่นจักรยานและเดินวิ่งออกกำลังกายแบบหนักได้
  • การมีส่วนร่วมในการออกแบบตรงกับความต้องการผู้ใช้ประโยชน์ นำไปสู่ความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันเกิดความต่อเนื่องต่อการมีกิจกรรมทางกาย และร่วมกันดูแลรักษาให้พื้นที่สุขภาวะคงอยู่กับพื้นที่ต่อไปอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตสุขภาพมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น นำไปสู่การลดโรคเรื้อรังและสร้างชุมชนเข้มแข็งต่อไป
  • ร่างแบบครั้งนี้ จะถูกนำไปสู่กระบวนการทางสถาปัตย์ออกแบบภาพ 3 มิติ แล้วนำร่างแบบดังกล่าวมาคืนข้อมูลให้ชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนสรุปผลการออกแบบครั้งถัดไป และนำสู่กระบวนการจัดทำแผนของตำบลต่อไป
  • นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความสนใจในการเขียนโครงการเพื่อของบกองทุนสุขภาพตำบล ทางคณะทำงานได้แนะนำการจัดทำแผน การเขียนโครงการ และการติดตามประเมินผลให้กับผุ้เข้าร่วม ซึ่งทางท้องถิ่นยินดีให้การสนับสนุนกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมเขียนโครงการเข้ามา พร้อมกันที่ทางคณะทำงานยินดีที่จะมาเสริมศักยภาพในการเขียนโครงการในพื้นที่ต่อไป
  • จะเห็นได้ว่าทางโครงการยกระดับการขับเคลื่อนฯ ได้ ดำเนินการ 1) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ และ 2) สร้างกระบวนจัดทำแผนและโครงการ ซึ่งผลลัพธ์จากพื้นที่ออกแบบจะถูกเข้าแผนท้องถิ่นนำไปสู่การทำให้เกิดขึ้นจริงต่อไป และมีกิจกรรมโครงการกองทุนสุขภาพตำบลรองรับสอดรับกับพื้นที่ออกแบบได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องยั่งยืนต่อไป เพื่อนำไปสู่ชุมชนมีสุขภาวะที่ดีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสุขต่อไป

 

0 0

109. การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพทีมสื่อสุขภาพ เรื่อง การสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย

วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

110. การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

111. การประชุมรายงานผลการออกแบบพื้นที่สุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

112. ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 2

วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

113. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้างานของภาคเหนือ จ.ลำพูน และ จ.น่าน

วันที่ 5 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 5 มิ.ย.2567 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้างานภาคเหนือ จ.ลำพูน จ.น่าน ของโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) • ชี้แจงผลลัพธ์ตัวชี้วัดของโครงการ • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้างาน
1. ข้อมูลสถานการณ์ แผน PA และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล
2. ความคืบหน้าการออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. การสนับสนุนโครงการ PA ในชุมชน จำนวน 4 โครงการ (จังหวัดละ 2 โครงการ) 4. การสนับสนุนโครงการ PA ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จำนวน 4 โครงการ (จังหวัดละ 2 โครงการ) 5. การสื่อสารสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
• สรุปแผนและกำหนด Time line กิจกรรมที่สำคัญ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์
1. แผนงาน/โครงการ ได้ข้อมูลสถาณการณ์สุขภาพ เกิดแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และโครงการอยู่ระหว่างเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ และทวนสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลอีกครั้ง
2. ได้เชิญสื่อเข้าร่วมเวที การสื่อสารอย่างไร เรื่องของวิดีทัศน์ คลิป /พื้นที่และกองทุน ทีมสื่อได้นัดหมาย คุยโจทย์ทีมสื่อ โดยขอให้สื่อสารสาธารณะกองทุนฯ ละ 1 เรื่อง ให้พื้นที่ใช้การสื่อสารเพิ่มเติม 3. ความคืบหน้าของสถาปัตยกรรม อาจารย์สถาปนิกได้ลงไปในพื้นที่แล้วทั้งสองจังหวัด ความคืบหน้า ในพื้นที่ของลำพูน ประชุมร่วมกับผู้บริหารท้องถิ่น ได้เริ่มเขียนแบบทางเทศบาลกำหนดให้อาจารย์ได้ออกแบบ อยู่ในขั้นตอนการปรับแบบจะส่งให้ทางเทศบาล ในส่วนของ จ.น่าน ทางอาจารย์สถาปนิกลงไปสำรวจ อยู่ในขั้นตอนของผู้บริหารท้องถิ่นจะเลือกตรงไหนอย่างไร จะเข้าไปเขียนแบบ มีการนัดหมายหลังวันที่ 10 มิถุนายน 67 และชี้พื้นที่
รอทางเทศบาลและชุมชนตัดสินใจ ทางอาจารย์จะประชุมร่วมกันสอง - เดือนมิถุนายน 67 จะได้ (ร่าง) แรก 2 จังหวัด ส่งมอบเทศบาลทั้ง 4 แห่ง ดำเนินการนำเข้าแบบสถาปัตกรรมเข้าแผนขับเคลื่อนต่อไป

  1. การจัดทำโครงการ
    จ.ลำพูน : พื้นที่โรงเรียนอนุบาลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 แห่ง
    : ชุมชน ทางพื้นที่ ลำพูน ลงหมดแล้ว 2 พื้นที่เรียนรู้จะเอาโครงการใส่ จะส่งวิธีการบันทึกในพื้นที่
    จ.น่าน จะเทรนให้พื้นที่เขียนโครงการ
    เทศบาลน่าน รอเลือกพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง จะเอาในส่วนพื้นที่ไหน

- ทางทีมคณะทำงานได้ลงไปเก็บข้อมูล และข้อมูลและแผน โดยใช้โปรแกรมเป็นตัวชี้วัดในการตรวจสอบความคืบหน้า และ ภายในเดือนมิถุนายน 67 มุ่งเน้นแผนกิจกรรมทางกายเป็นหลักให้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย
- การพัฒนาโครงการจะดำเนินการออกแบบตอบความคุ้มทุน SROI มากที่สุด เน้นผลลัพธ์ส่งเสริมสุขภาพให้เกิดกับชุมชนและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายสุขภาพ รวมทั้งมีความร่วมมือนำข้อเสนอเชิงนโยบายในพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน

 

0 0

114. กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม จ.สุราษฎร์ธานี งวดที่ 2

วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

115. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

วันที่ 17 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2567 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

1) วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ
1.2. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คน
2.1) คณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ 8 แห่งๆ ละ 2-3 คน จำนวน 30 คน
3) ภาคีเครือข่าย
3.1) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 5 คน 3.2) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 5

กำหนดการ เวลา รายละเอียด 08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
08.30 - 09.00 น. กล่าวต้อนรับ และมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นของกิจกรรมทางกาย (PA)
โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 09.00 - 09.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวันนี้ และ สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
โดยนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานระดับเขต 10
09.30 - 12.00 น. นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แต่ละตำบลๆ ละ 7 นาที
ทต.เขื่องใน/ ทต.ห้วยเรือ/ทต.บ้านกอก/อบต.แดงหม้อ/อบต.ท่าไห/อบต.ธาตุน้อย/อบต.หัวดอน/อบต.นาคำใหญ่/อบต.กลางใหญ่/อบต.ค้อทอง/อบต.ชีทวน/อบต.ก่อเอ้ โดย คณะทำงานเขียนแผนและโครงการ ร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางให้เกิดแผนและโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์/นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต
16.00-16.30 น. สรุปผลการประชุมนัดหมายกิจกรรมต่อไปและปิดประชุม
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • พัฒนาศักยภาพคณะทำงานกองทุนตำบล จัดทำแผนและเขียนโครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ เขตสุขภาพพื้นที่ 10 ในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลก่อเอ้  ตำบลก่อเอ้  อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุน การ สร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอเขื่องใน จังหวัด อุบลราชธานี  เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการและเพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
    โดยมีนายสุวรรณ จานเขื่องใน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมในครั้งนี้ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

  • พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1) ความหมายกิจกรรมทางกาย 2) ความสำคัญกิจกรรมทางกาย 3) ระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 4) การตั้งเป้าหมายโครงการ 5) ตัวอย่างกิจกรรมโครงการ 6) ประเภทการออกแรง การสัญจร ทำงาน นันทนาการ 7) สถานการณ์กิจกรรมทางกายและภาวะเนือยนิ่งของคนไทย 8) แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย  โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ ร่วมแลกเปลี่ยนชี้แจงวัตถุประสงค์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งการพัฒนาแผนและเขียนโครงการที่มีคุณภาพควรคำนึงถึงกิจกรรมที่จะส่งเสริมทุกกลุ่มวัยที่มีความเพียงพอของกลุ่มเป้าหมายของโครงการด้วย แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1. สร้างโปรแกรมเด็กในโรงเรีนย เกษตร ปลูกป่า 2. ปรับการเดินทาง 3. ออกแบบเมืองในกระฉับกระเฉง  4. บริการสุขภาพ 5. ให้ข้อมูล 6. กีฬานันทนาการ 7. สถานที่ทำงาน 8. สร้างโปรแกรมที่ครอบคลุมทั้งชุมชน

  • ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต/จังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่  เทศบาลตำบลเขื่องใน เทศบาลตำบลห้วยเรือ เทศบาลตำบลบ้านกอก อบต.แดงหม้อ อบต.ท่าไห อบต.ธาตุน้อย อบต.หัวดอน อบต.นาคำใหญ่  อบต.กลางใหญ่  อบต.ค้อทอง  อบต.ชีทวน และอบต.ก่อเอ้ ประมาณกว่า 40 คน

  • นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ซึ่งกระบวนการเป็นการแลกเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการที่มีการพัฒนาในเว็ปไซต์ของกองทุนตำบล จนได้กิจกรรมที่มีคุณภาพ เช่น โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกาย โครงการรณรงค์ 1 วันชวนกันขยับร่างกาย โครงการขยับกาย ขยับใจไทบ้านกอก โครงการปั่นชมชี เป็นการปั่นไปทำกิจกรรมปลูกป่า ปล่อยปลาในลำน้ำชี เป็นต้น
    ทั้งนี้ทางอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเขื่องใน และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ซึ่งเทศบาลตำบลเขื่องใน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ: “ย่านตลาดเก่า”ให้เป็นถนนคนเดิน สนามเด็กเล่น ที่พักผู้สูงอายุ พื้นที่กิจกรรมของเด็กวัยรุ่น ลานดนตรี ถนนศิลปะ ถนนอาหาร ร้านกาแฟ ที่ออกกำลังกาย ตลาดนัด และพื้นที่ขายสินค้า  และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ: สนามเด็กเล่น ที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานศิลปะ จุด Check In จัดทำลู่วิ่ง ศูนย์เรียนรู้อาชีพ  ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศาลานั่งเล่น ลานปั่นจักรยาน ห้องคาราโอเกะ ที่จอดรถ

  • การแลกเปลี่ยนโครงการ

  1. ทต.เขื่องใน สนามเด็กเล่นสวนสาธารณะหนองเขื่อง เทศบาลตำบลเขื่องใน - บริบท: มีพื้นที่สาธารณะ 40 ไร่

- กระบวนการ:
การประชุมชี้แจ้งเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อเกิดความเข้าใจตรงกัน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 60 คน กระบวนการ การประชุม 1.นำเสนอสถานการณ์ปัญหากิจกรรมทางกายของตำบลเขื่องใน 2.ระดมวางแผนกิจกรรมทางกายในตำบลเขื่องใน 3.นำเสนอโครงการกิจกรรมทางกาย4.จัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน(timeline) 5.สรุปและปิดการประชุม
ข้อเสนอแนะแลกเปลี่ยน
- เป็นพื้นที่นำร่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
- เพิ่มกิจกรรมนันทนาการในพื้นที่สาธารณะ และสร้างการมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมร่วนกัน
2. ทต.บ้านกอกโครงการขยับกายขยับใจไทบ้านกอก
กระบวนการ 1) จัดประชุมคณะทำงาน ร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงโครงการ และกิจกรรมที่จะร่วมกันดำเนินการ ในหน่วยงานราชการของ เทศบาลตำบลบ้านกอก 2) จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยการบรรยาย และปฏิบัติ การมีกิจกรรมทางกาย ให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน 3) ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย คณะทำงานโครงการ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในโครงการถึง การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตระหนักในการออกกำลังกาย 5) สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
- ข้อเสนอแนะ : เพิ่มกิจกรรมทางกายในสำนักงานและสร้างกิจกรรมทางกายลดความเครียดในสำนักงาน

  1. อบต.แดงหม้อ โครงการบ้านสวยเมืองสุข
    กระบวนการ : 1.ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1-6 หมู่ละ 10 คน จำนวน60 คน เพื่อชี้แจงโครงการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันซึ่งประกอบด้วย 2.กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชน 3.กิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 4.กิจกรรมการคัดแยกขยะต้นทางให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 5.กิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ 6.กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน กิจกรรมทางกายเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ เช่น การจัดการขยะ การปลูกผักปลอดสารพิษ การแก้ปัญหาลูกน้ำยุงลาย

  2. อบต.ท่าไห โครงการรณรงค์ 1 วัน ชวนกันขยับร่างกาย - กระบวนการ
    1) จัดประชุมชี้แจงการวิธีการทำงาน จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแผนการดำเนินการ 2) กำหนดวันออกกำลังกายในสถานที่ทำงานอาทิตย์ละ 1 วัน ครั้งละ 1-2 ชม. ผู้เข้าร่วม กลุ่มวัยทำงาน ได้แก่ พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห  เด็กวัยปฐมวัย และผู้สุงอายุ 3) สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปปัญหาอุปสรรค ประชุมชี้แจ้งให้คณะทำงานทราบ ข้อเสนอแนะ

- ควรเพิ่มการออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์
- ควรดึงกลุ่มคนทำงานนอกพื้นที่/พัฒนาศักยภาพแกนนำ

  1. อบต.หัวดอน พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการออกกำลังกาย - อบต.หัวดอนมีประชากรประมาณ 6,500 คน

- ผู้สูงอายุ 20% - เป้าหมาย เพิ่มกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ จากร้อยละ 97% เป็น 98% , ลดความเครียดผู้สูงอายุ จากร้อยละ 3 % เป็น 1 % , ลดภาวะซึมเศร้า จากร้อยละ 3.57% เป็น 1%
- กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 70 คน
- กระบวนการ 1) ชี้แจง/ประชุม กำหนดกติการ่วมกัน 2) ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ทุกวันพฤหัสบดี
3) กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ : ร้องรำไม้พลองฯลฯ 4) วัดประเมินผล ควรปรับกิจกรรมโครงการให้สอดรับกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ด้วย

  1. อบต.นาคำใหญ่ โครการปั่นชมชี บริบทพื้นที่ : มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม , ประชากรประมาณ 3,300 คน มี 8 หมู่บ้าน

- กระบวนการ
1) ประชุมวางแผนวิธีการดำเนินโครงการร่วมกับผูนำชุมชนทั้งตำบลนาคำใหญ่(ผู้ใหญ่บ้าน,สมาชิกสภา,ผู้อำนวยการโรงเรียน,ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) 2) ดำเนินการอบรมตามโครงการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย 100 คน ชวนประชาชน/ผู้สูงอายุ ปั่นจักรยานไปปลูกป่า /ปล่อยปลา, ปั่นระยะทาง 10 กิโลเมตร
3) สรุปผลการดำเนินโครงการ
ข้อเสนอแนะ
- ชวนเด็กเยาวชนทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น จัดการขยะ - การออกแบบเส้นทางความปลอดภัยกับหน่วยงาน - ควรมีระยะทางตามกลุ่มเป้าหมาย
- รณรงค์ปั่นจักรยานเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
- ควรมีการปั่นซ้อมตามระยะทาง, ปั่นซ้อมรายวัน

  1. อบต.กลางใหญ่ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ร่วมกับชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่ - สถานการณ์ PA เด็ก 57.35% เพิ่มเป็น 59.35%, วัยทำงาน 55.42% เพิ่มเป็น 58.42%

- กลุ่มเป้าหมาย: 140 คน : เด็ก 40 คน, วัยทำงาน 50 คน, ผู้สูงอายุ 50 คน
- กระบวนการ 1) จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ ของคณะกรรมการดำเนินโครงการได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ กลุ่ม อสม.ในพื้นที่ และประธานชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่ 2) จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรวมกลุ่มคนรักสุขภาพในการออกกำลังกายช่วงเย็น บริเวณ ลานตลาดบ้านกลางใหญ่ ทุกวัน เวลา 16.30 – 18.00 น. ในห้วงระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กันยายน 2567 3) จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ในห้วง ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กันยายน 2567 4) สรุปผลโครงการ รายงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่ทราบ
ข้อเสนอแนะ - ปรับกลุ่มเป้าหมายกับค่าเป้าหมายให้ตรงกัน
- ควรคำนึงถึงความปลอดภัยการออกกำลังของผู้สูงอายุ - ควรมีการปลูกผักที่บ้าน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  1. อบต.ก่อเอ้
    กระบวนการ :

- การประชุมชี้แจงโครงการผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคณะทำงานให้มีเป้าหมายที่ตรงกัน กระบวนการ เริ่มต้นด้วย 1. แต่งตั้งคณะทำงาน2. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ3. แหล่งงบประมาณ4.สรุปการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น อสม. ผู้นำชุมชน ครู ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 70 คน - คณะทำงานโครงการร่วมกันลงพื้นที่ออกแบบเพื่อปรับปรุงพื้นภูมิทัศน์ พื้นที่สาธารณะบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ เช่น การปรับปรุงบริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น จุดเช็คอิน ลานศิลปะ ศูนย์เรียนรู้อาชีพ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
- เป็นพื้นที่นำร่องการออกแบบพื้นที่สาธารณะ และจัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  • อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมโครงการส่งเสริม PA และแนวทางจัดทำโครงการ PA ที่สามารถเชื่อมโยงประเด็นอื่นๆ ได้ รายละเอียด ดังนี้
    แนวทางจัดทำโครงการ
    1. ทบทวนสถานการณ์ PA และสถานการณ์ปัญหาอื่นๆ ที่เชื่อมโยง เช่น ขยะ ไข้เลือดออก กับ PA โดยกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
    2. วางวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย (กลุ่มเป้าหมาย และเป้าหมายเชิงปริมาณ) โดยให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนด
    • วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ PA
    • วัตถุประสงค์ที่บูรณาการกับปัญหาอื่นๆ เช่น ปริมาณขยะ/โรคไข้เลือดออก
    1. ออกแบบกิจกรรม / รูปธรรมที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้

ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่อง ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะและการเขียนโครงการให้มีการส่งเสริมกิจกรรมในการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 5 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่ ณ ห้องประขุมรพ.สต.บ้านกอก เทศบาลตำบลบ้านกอก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

 

0 0

116. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.จิกดู่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

วันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2567 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ (อบต.จิกดู่) อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
กล่าวต้อนรับ และมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นของกิจกรรมทางกาย (PA)
โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมวันนี้ และ สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
โดยนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานระดับเขต 10
นำเสนอแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แต่ละตำบลๆ ละ 7 นาที
โดย คณะทำงานเขียนแผนและโครงการ ร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางให้เกิดแผนและโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รับประทานอาหารกลางวัน
แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์/นายรพินทร์ ยืนยาว สรุปผลการประชุมนัดหมายกิจกรรมต่อไปและปิดประชุม
โดย นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขต

1) วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ
1.2. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
2) ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คน
2.1) คณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ 8 แห่งๆ ละ 2-3 คน จำนวน 30 คน
3) ภาคีเครือข่าย
3.1) คณะทำงานเขต/จังหวัด จำนวน 5 คน 3.2) คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 5 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพในพื้นที่อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง หรือ NCD ของประชาชน
ในวันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โดยมีนายสุธรรม ยืนสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุมฯ และนางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

พร้อมกันนั้น ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอนั้นโดยแยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เด็กวัยเรียน-วัยรุ่น กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปโรงเรียน ถ้าเป็นการทำงานหรือการเรียน ควรมีการส่งเสริมกิจกรรม Active Play Active leaning เช่น กิจกรรมการทำเกษตรในโรงเรียน กิจกรรมการท่องเที่ยวเยี่ยมชุมชน เป็นต้น อีกส่วนการสันทนาการ การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา ควรมีกิจกรรมเล่นฟุตบอล ฟุตซอล เต้นแอร์โรบิก รำมวยไทย และการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน
กลุ่มที่ 2 วัยทำงาน กิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรเป็นการเดินหรือการปั่นจักรยานไปทำงาน ถ้าเป็นการทำงานควรมีกิจกรรมระหว่างการทำงานคือ การเดินขึ้นบันไดหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายหรือกีฬา ควรเป็นการเล่น Fitness
และกลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุ กิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ระดับปานกลาง-หนัก 30 นาทีต่อวัน โดยการสัญจรหรือเดินทาง ควรมีการเดิน การปั่นจักรยานไปวัด ไปทำประโยชน์สาธารณะ ส่วนการทำงาน ควรมีการทำงานเกษตร การประกอบอาชีพเสริม การทำไม้ดอกไม้ประดับ การจัดการขยะ ส่วนกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ควรมีการเล่นโยคะ การรำวง การฟ้อนรำมากขึ้น นี้ก็เป็นรูปแบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยต่างๆ ที่ต้องเน้นกิจกรรมที่เพียงพอในทุกกลุ่มวัย เช่น กลุ่มวัยเด็ก เยาวชน ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 180 นาที่ต่อสัปดาห์ วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นต้น แต่ทุกอย่างเน้นกิจกรรมที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยของวัยตนเองด้วย
ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย คณะทำงานเขต ระดับจังหวัด, คณะทำงานจากสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทำงานระดับตำบล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ จากจำนวน 8 พื้นที่เป้าหมายเข้าร่วม 5 พื้นที่ ได้แก่ เทศบาลตำบลหัวตะพาน เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ อบต.สร้างถ่อน้อย อบต.จิกดู่และเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ ประมาณกว่า 40 คน

นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 6 หัวข้อ ดังนี้ 1. สถานกาณณ์สุขภาพ/บริบทพื้นที่ 2. การกำหนดเป้าหมายในการจัดการปัญหา 3. วิธีการหรือกระบวนการจัดการปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 4. กลุ่มเป้าหมายที่เราจะไปจัดการ 5. พื้นที่การดำเนินการ จัดการที่ไหนบ้าง 6. ความคาดหวัง

กระบวนการนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพโดยการพัฒนาในเว็ปไซต์ของกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org จนได้กิจกรรมที่มีคุณภาพ เช่น โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตาราง 9 ช่อง โครงการวัยใส Happy and Happy โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนผู้สูงอายุ โครงการเต้นแอร์โรบิก โครงการลดพุงขยับกาย ใส่ใจสุขภาพ และโครงการส่งเสริมสุขภาพหนูน้อยวัยใส เป็นต้น

  1. อบต.จิกดู่ โครงการวัยใส Happy&Happy - พื้นที่: โรงเรียน + ศพด.+อบต.+ชุมชน+โรงเรียนผู้สูงอายุ

- กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียน ครู กรรมการ 114 คน
- กระบวนการ 1) สร้างความเข้าใจ Pa และการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
2) การส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการปั่นจักรยาน 3) สร้างแกนนำนักเรียน และขยายผลโรงเรียนในพื้นที่ 4) ส่งเสริมกิจกรรมทางกายร่วมกับชุมชน (ทำความสะอาดหมู่บ้าน ตรวจสอบลูกน้ำยุงลาย) 5) การออกแบบ สร้างงานกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์ : การใช้ภูมิปัญญาทำพานจากใบตอง 6) สรุปแลกเปลี่ยน การขยายผลโรงเรียนใกล้เคียง - กิจกรรมทางกายมีความหลากหลาย - ควรมีการส่งเสริมทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ฟ้อนรำพื้นบ้าน เกม์กีฬาการศึกษา กิจกรรมสันทนาการ
- การกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกลุ่มเป้าหมาย ปรับทัศนคติให้มี PA เป็นนิสัยวิถีชีวิตประจำวัน
- ใช้พื้นที่ดำเนินการให้รอบๆหมู่บ้าน, ชุมชน
- ปรับปรุงข้อมูลสถานการณ์ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโรงเรียนผู้สูงอายุ - เป้าหมาย: การออกกำลังอย่างเหมาะสม
- กระบวนการ 1) การออกกำลังตาราง 9 ช่อง
2) การเดินสำรวจชุมชน 3) พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
2. เทศบาลตำบลหัวตะพาน โครงการเต้นแอโรบิด - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียนและวัยทำงาน รวม 40 คน
- ระยะเวลา 6 เดือน
- เป้า ลดความเสี่ยงโรค เพิ่ม PA - กระบวนการ
1) ประชาสัมพันธ์
2) การออกแบบพื้นที่ 3) การเต้นแอโรบิก 4) การสอนการเต้นที่เหมาะสม 5) มีกิจกรรมทางกายที่ต่อเนื่อง มีการเต้นทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น 3. อบต.สร้างถ่อน้อย โครงการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ "ตาราง 9 ช่อง" - กลุ่มเป้าหมาย: ผู้สูงอายุ นักเรียน วัยทำงาน - กระบวนการ 1) ประชุมคณะผู้บริหาร พนักงาน แต่งตั้งคณะทำงาน ประชุมคณะทำงาน 2) ออกแบบกิจกรรม ตาราง 9 ช่อง และส่งเสริมประชาชนในชุมชนดำเนินกิจกรรม ตาราง 9 ช่อง 3) สรุปผลการจัดกิจกรรม/ประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ตาราง 9 ช่อง - ควรส่งเสริมภูมิปัญญา - เน้นความเข้าในเรื่อง PA เพียงพอ (สัญจร การทำงาน) 4. เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ โครงการส่งเสริมสุขภาพเพิ่มการเคลื่อนไหวของหนูน้อยวัยใส - กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียน ศพด.
- กระบวนการ: จัดกิจกรรมแข่งขันรถขาไถ
1.ประชุมคณะทำงาน
2.แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงาน 3.ดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยมีกิจกรรมดังนี้ 3.1 จัดกิจกรรมแข่งขันรถขาไถในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.2 มีการใช้รถขาไถในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
4.ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน - เชื่อมโยงกับพ่อแม่ผู้ปกครอง - คำนึงถึงความปลอดภัย - ผลักดันเป็นหลักสูตรท้องถิ่น

  1. เทศบาลตำบลเค็งใหญ่ โครงการลดพุงขยับกายใส่ใจสุขภาพ - กลุ่มเป้าหมาย: พนักงานออฟฟิศ อบต. และนักกีฬา ผู้สนใจ

- กระบวนการ 1) ประชุมชี้แจงโครงการ วางแผนร่วมกัน 2) ทำบันทึกข้อความประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคลากรแต่ละกองเข้าร่วมโครงการ 3) จัดหา ทดสอบเครื่องเสียง ทำหนังสือเชิญวิทยากร 4) ดำเนินการตามโครงการโดยจัดให้มีการออกกำลังกายประกองเพลงในรูปแบบแอโรบิคเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนเสร็จสิ้นโครงการ 5) รายงานผลผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย เสนอคณะผู้บริหาร

  • จัดทำฐานข้อมูล PA พนักงาน
  • การขยายหน่วยงานใกล้เคียง


    ทั้งนี้ทางอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ได้พัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่องใน 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลหัวตะพาน และ อบต.จิกดู่ ซึ่งเทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ ดังนี้ น้ำพุ สนามเด็กเล่น ลานหรือที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่หรือลานเต้นแอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย สวนน้ำ สวนสนุก ถนนเดินนวดเท้า ที่ออกกำลังกายคนพิการ แหล่งเรียนรู้ต้นไม้พืชพรรณ ลานกิจกรรม ศาลาพักผ่อน ห้องน้ำผู้สูงอายุ สวนหย่อม สระว่ายน้ำเด็ก จุดเช็คอิน ร้านตัดผม และต้นไม้ใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ ได้ออกแบบพื้นที่สาธารณะ “ที่ทำการ อบต.จิกดู่” นั้น เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาวัฒนธรรม สวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน สานกีฬาเอนกประสงค์ เวทีแอโรบิก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมของดีแต่ละหมู่บ้าน กิจกรรมคาราโอเกะ สวนสุขภาพมีฐานกิจกรรมแต่ละวัย การโชว์สินค้าของดีตำบล

อาจารย์พงค์เทพ ได้แนะนำปิดท้ายฝากให้คณะทำงานท้องถิ่นเรื่องการจัดทำแผนและโครงการ ด้วย 4 คำถาม คือ 1. อยู่ไหน ชุมชนรู้สถานการณ์สุขภาพตนเอง 2. จะไปไหน คือ การตั้งเป้าหมายที่จัดการปัญหาสุขภาพนั่นๆ 3. ไปอย่างไร เป็นวิธีการจัดการปัญหา 4. ไปถึงแล้วหรือยัง คือ การติดตามประเมินวัดผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อไป

นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ คณะทำงานพี่เลี้ยงเขตได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งนี้ในระยะต่อไปจะเป็นการนำรายละเอียดโครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนตำบลพิจารณาอนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบหรือนำร่องโดยการออกแบบพื้นที่สาธารณะร่วมกัน การใช้พื้นที่สาธารณะของทุกกลุ่มวัย การเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 และสรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายผลโครงการต่อไป การนัดหมายคงถัดไปจะเป็น วันที่ 4 กรกฎาคม2567 เวลา 08.30-16.00 น. ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามการจัดทำแผนและเขียนโครงการในพื้นที่เทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี

 

0 0

117. การประชุมติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 2

วันที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

118. ประชุมเตรียมลงพื้นที่จัดทำแผนและโครงการภาคีเครือข่ายจังหวัดนครพนม

วันที่ 25 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเตรียมลงพื้นที่จัดทำแผนและโครงการภาคีเครือข่ายจังหวัดนครพนม - เตรียมกระบวนการจัดทำแผน - กระบวนการเขียนโครงการ - ออกแบบติดตามประเมินผล - การเสริมทักษะด้านที่จำเป็นในชุมชน เช่น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน , ระบบสุขภาพชุมชน , การเก็บข้อมูลสุขภาพในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กระบวนการ มีดังนี้
1. ความรู้ความเข้าใจ
1) ความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
2) หลักการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
หรือ “กองทุนสุขภาพตำบล” 2. หลักการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
คู่มือส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 4 คำถาม 2.1) ขณะเราอยู่ที่ไหน: สถานการณ์สุขภาพ/สถานการณ์กิจกรรมทางกาย 2.2) เราต้องการไปที่ใด: กำหนดจุดหมาย/เป้าหมายร่วม
2.3) เราจะไปอย่างไร: ร่วมกันวางแผนและดำเนินงาน
2.4) เราไปถึงหรือยัง: ติดตามประเมินผลและสรุปบทเรียน
3. การทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านเว็บไซต์ระบบกองทุนสุขภาพตำบล https://localfund.happynetwork.org 4. สมาร์ท อสม. แอปพลิเคชันให้ความรู้และคำแนะนำสำหรับอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน 5. การจัดการระบบสุขภาพชุมชน 6. การปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และการกู้ชีพพื้นฐาน 7. แนวทางการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ปฏิบัติการเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ผ่านระบบเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล

 

0 0

119. การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล จ.นครพนม

วันที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

120. เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน มิถุนายน 2567

วันที่ 30 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

121. การประชุมเตรียมกระบวนการประชุมโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำร่องจังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ รวม 20 ท้องถิ่น

วันที่ 3 กรกฎาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 3 กรกฎาคม 2567  ณ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
การประชุมเตรียมกระบวนการประชุมโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำร่องจังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ รวม 20 ท้องถิ่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ปรับกำหนดการให้อาจารย์นำเสนอแบบสถาปัตยกรรมกับผู้เข้าร่วมประชุมก่อน
  2. ปรับกิจกรรมโครงการพื้นที่นำร่องให้สอดคล้องกับแบบสถาปัตยกรรม
  3. ปรับปรุงข้อเสนอโครงการ PA ให้สมบูรณ์ขึ้นและพร้อมที่จะรับทุนอนุมัติจากกองทุนสุขภาพตำบล และทุนของโครงการ
  4. ออกแบบกิจกรรม kickoff พื้นที่สุขภาวะต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำร่องจังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ

 

0 0

122. ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ตำบล ปี 2567 ของอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี และ link: https://zoom.us/j/9019029104

วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ประชุมวางแผนติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ตำบล ปี 2567 ของอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี
  • ผู้เข้าร่วมประชุมอำเภอหัวตะพาน ได้แก่ คณะทำงานเขียนแผนและโครงการกิจกรรมทางกายอำเภอหัวตะพาน 6 ตำบล ได้แก่ 1.คำพระ 2.หนองแก้ว 3.รัตนวารี 4.สร้างถ่อน้อย 5.เค็งใหญ่ 6.โพนเมืองน้อย
  • ผู้เข้าร่วมประชุมอำเภอเขื่องใน 10 ตำบล ได้แก่ 1.ธาตุน้อย 2.แดงหม้อ 3.นาคำใหญ่ 4.กลางใหญ่ 5.ศรีสุข 6.หัวดอน 7.บ้านกอก 8.ห้วยเรือ 9.คัอทอง 10.ท่าไห

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ปรับแก้เพิ่มเติมโครงการให้สมบูรณ์ที่จะขอรับงบประมาณสนับสนุนไปดำเนินกิจกรรม ให้แล้วเสร็จพร้อมทั้งกรอกลงในระบบเว็บให้เรียบร้อยภายในวันที 29กค67 คณะทีมงานจากม.สงขลาให้ข้อเสนอแนะแก้ไข วันที่ 30 กค67
  2. ทางคณะทำงานเขตจะนำข้อเสนอแนะมาช่วยปรับแก้ร่วมกับพื้นที่ให้สมบูรณ์ ในวันที่ 30 ก.ค.67 อ.หัวตะพาน และ อ.เขื่องใน วันที่ 1 ส.ค. 67
  3. วันที่ 31 ก.ค. 67 คณะทำงานเขตจะลงพื้นที่อำเภอเขื่องในเพื่อช่วยปรับแก้โครงการให้สมบูรณ์ตามกรรมการให้ข้อเสนอแนะ
  4. วันที่ 1 ส.ค. 67 คณะทำงานเขตจะลงพื้นที่อำเภอเขื่องในเพื่อช่วยปรับแก้โครงการให้สมบูรณ์ตามกรรมการให้ข้อเสนอแนะ
  5. ติดตามโครงการในเว็บ

 

0 0

123. ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3

วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
ตัวชี้วัด : 1. ได้ข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและส่งต่อหน่วยงานกำหนดนโยบาย 2. เครือข่ายสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ อย่างน้อยจำนวน 3 ประเด็น (เช่น พื้นที่สุขภาวะ,ส่งเสริม PA ในเด็กและเยาวชน, แผนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกองทุนสุขภาพตำบล) 3. มีสื่อสารสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่เผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างที่ได้มาจากกิจกรรมโครงการ จำนวน 10 ชิ้น

 

2 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ
ตัวชี้วัด : 1. อปท.มีแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 50 แห่ง 2. มีเครือข่าย กกท.และ อปท. ที่มีศักยภาพในการพัฒนาแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย จำนวน 50 เครือข่าย 3. พื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่อง กกท.และ อปท. 10 พื้นที่ 4. พื้นที่นำร่องขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา/ชุมชน 10 พื้นที่ 5. บทเรียน/องค์ความรู้ ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2 เรื่อง 1. คู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ 2. คู่มือทำแผนและโครงการ pa 3. ฐานข้อมูล PA ระบบเว็บออนไลน์ 4. ข้อมูลติดตามประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ 5. ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment (SROI))

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) (P001001) 1.1.1 รวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรม (2) (P002001) 1.1.2 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านพื้นที่สุขภาวะ และการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยใช้การทำงานด้านวิชาการในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเสนอนโยบาย (3) (P003001) 1.1.3 พิจารณาร่างข้อเสนอ ร่วมกับหน่วยงานกำหนดนโยบายโดยภาครัฐและพรรคการเมือง กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ (4) (P004001) 1.1.4 เวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร่วมกับพรรคการเมืองและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะ (5) (P005001) 1.1.5 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (6) (P007001) 1.2.2 เครือข่ายสื่อท้องถิ่นเผยแพร่และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ (7) (P013001) 2.2.1.2 ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาพในพื้นที่นำร่อง และจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (8) (P022001) ค่าวัสดุสำนักงาน/ วัสดุสิ้นเปลือง (9) (P023001) ค่าตรวจบัญชี (10) (P024001) ค่าจ้างผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ (11) (MNT000001) ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย (12) (P021001) 3.4 การติดตามประเมินผล - การติดตามประเมินผลได้วิเคราะห์แนวทางการขยายผลจากกลุ่มพื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่ต้นแบบ โดยพื้นที่ต้นแบบได้ประเมินผลถอดบทเรียน/โมเดล/กระบวนการ/ความสำเร็จของการขยายผล/ต่อยอด (ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ)/ปัจจัยความสำเร็จฯ (13) (P006001) 1.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อให้มีความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (14) (P008001) 2.1.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสามารถเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบกองทุนสุขภาพตำบลและงบอื่นๆ ในพื้นที่ (กกท.) (15) (P009001) 2.1.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการออกกำลังกายในลานกีฬาสาธารณะ (16) (P010001) 2.1.3 กระบวนการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ลานกีฬาสาธารณะให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย นำร่องพื้นที่ของ กกท.ระดับจังหวัด รวมทั้งสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ จำนวน 5 พื้นที่ มีขั้นตอนดังนี้ (17) (P011001) 2.1.4 การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานกับเครือข่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย (18) (P012001) 2.2.1.1 ทำความร่วมมือกับสมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. เพื่อหาพื้นที่นำร่องการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยจำนวน 10 พื้นที่ (พื้นที่สาธารณะ ลานเด็กเล่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนสังกัด อปท.) (19) (P014001) 2.2.1.3 ติดตามประเมินผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แผนและปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่อง (20) (P015001) 2.2.1.4 ผลักดันนโยบายมาตรฐานการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ไปสู่หน่วยงานระดับนโยบาย (21) (P016001) 2.2.2.1 พัฒนาศักยภาพเครือข่าย ให้จัดทำแผนและเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพเพื่อของบประมาณในพื้นที่ ประกอบด้วย สมาคมสันนิบาต สมาคม อบต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัด อปท. (อปท.) (22) (P017001) 2.2.2.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการความปลอดภัยจากการมีกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ และลานเด็กเล่น (23) (P018001) 3.1 ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (พื้นที่สาธารณะในท้องถิ่น, ลานกีฬาสาธารณะ, พื้นที่ PA ในสถานศึกษา) (24) (P019001) 3.2 ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (25) (P020001) 3.3 ปรับปรุงฐานระบบติตดามประเมินผล (26) ประชุมวางแผนถอดบทเรียนในรูปแบบบทความ จำนวน 40 ประเด็น (คุณถนอม) (27) (Plan) ถอดบทเรียนประเด็น PA จำนวน 40 เรื่อง (28) (Plan)  ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคเหนือ (29) (Plan)  ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (30) (Plan)  ติตดามประเมินผล HIA PA ภาคใต้ (31) (Plan)  การประเมิน SROI 3 ภาค (32) สนับสนุน PA ภาคเหนือ จำนวน  8 โครงการ (33) (Plan) สนับสนุนโครงการ PA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน  8 โครงการ (34) (Plan) ปรับปรุงคู่มือออกแบบพื้นที่สาธารณะ (35) (Plan) ปรับปรุงคู่มือทำแผนและโครงการ (36) (Plan)  ปรับปรุงเว็บ Pathailand (37) (plan) ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ (38) (Plan) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือนกรกฏาคม 2567 (39) ประชุมวางแผนงานและทบทวนreview PAวัยเด็กและพื้นที่สุขภาวะ (40) ประชุมหารือติดตามมติ PA และแผนเวทีสาธารณะ (41) ประชุมพัฒนาข้อเสนอนโยบายกับ สช.และเครือข่าย 4 มติ หารือการจัดทำข้อมูลมติกิจกรรมทางกาย, มติพื้นที่สาธารณะ, มติการเดินและการใช้จักรยาน, มติพื้นที่เล่นเด็ก (42) นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จ.สงขลา (43) นำเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวทีฟังเสียงประชาชน Scenario Thailand จังหวัดปัตตานี (44) หารือทีมสื่อ เรื่องนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (45) จัดทำสื่อนโยบายสาธารณะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (46) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 (3 เดือน) (47) ประชุมรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน (48) นำเสนอผลข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในงาน Southern Research Expo and Innovation Showcaase 2023 (49) ประชุมเอกสารนำเข้า PA และกำหนดตัวชี้วัดและแผนติดตามขับเคลื่อนต่อหลังงานสร้างสุข PA (50) การประชุมออกแบบกระบวนการนโยบายสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรม (51) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน สิงหาคม 2566 (52) ทีมงานติดตามงานและวางแผนการดำเนินโครงการ (53) ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 1 (54) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน กันยายน 2566 (55) ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ระบบออนไลน์  การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (56) วางแผนการทำงานการขับเคลื่อนงาน PA กับ กกท.และ อปท. 16/10/66 (57) หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จ.ตรัง (58) ประชุมปรับปรุงเว็บไซต์ Pathailand (59) ประชุมปรึกษาหารือเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (60) การประชุมเพื่อรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้นวัตกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (61) หารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่และการทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับการกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ตรัง จ.ศรีสะเกษ และจ.น่าน (62) หารือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล จ.สุราษฎร์ธานี (63) ประชุมวางแผนทำแผนโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ (64) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนตุลาคม 2566 (65) ประชุมติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (66) ค่าจัดจ้างการทำตรายางหมึกในตัวชื่อโครงการและรหัสโครงการ (67) ประชุมรวบรวมองค์ความรู้/ชุดความรู้ นวัตกรรมเรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย (68) การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 1 (69) ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 1 (70) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่นำร่องของการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง (71) การประชุมติดตามความก้าวหน้าการทบทวนเอกสาร (Progress report) (72) การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (73) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 (74) ทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายกับเครือข่ายอีสาน (จ.อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ) (75) ประชุมหารือการจัดโมดูลพัฒนาศักยภาพสื่อฯ PA (76) รายงานความก้าวหน้าการทบทวนเอกสารพื้นที่สาธารณะ (77) การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี (78) จัดการประชุมเวทีฟอรั่มการจัดการความรู้ ครั้งที่ 2 ภาคใต้ “ร่วมเปลี่ยนการศึกษา เพื่อเด็กทุกคน” (79) การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (80) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนธันวาคม 2566 (81) ประชุมการสื่อสารสาธารณะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน (82) ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2567 (83) การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (84) ประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (85) ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนกับภาคเครือข่ายในการพัฒนาแผนกิจกรรมทางกายและตำบลบูรณาการอาหารของท้องถิ่น (86) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมกราคม 2567 (87) ประชุมคณะทำงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ (88) ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ ร่วมกับพี่เลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ (89) คณะทำงานสำรวจสถานที่ เทศบาลเมืองน่าน และเทศบาลตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน (90) การประชุมหารือวางแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาะารณะ การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง (91) การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน (92) การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดลำพูน (93) ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1 (94) การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี งวดที่ 1 (95) ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดตรัง งวดที่ 1 (96) ประชุมทำแผนสุขภาพ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่/ประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ฯพื้นที่สุราษฎ์ธานี (97) ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการ จ.สุราษฎร์ธานี (98) การประชุมติดตามการดำเนินงานของพื้นที่โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่านและลำพูน (99) กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลตะกุกเหนือ จ.สุราษฎร์ธานี (100) ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง (101) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 (102) การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการสุขภาวะด้วยกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม (103) กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตำบลไชยคราม ตำบลปากแพรก จ.สุราษฎร์ธานี (104) การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ (105) การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ (106) ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1 (107) การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ งวดที่ 1 (108) การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง อบต.ก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี (109) การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (110) การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี (111) การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง (112) ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย งวดที่ 2 (113) การจัดจ้างกระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่องของจังหวัดน่านและจังหวัดลำพูน งวดที่ 1 (114) ประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (115) การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง เทศบาลตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ (116) การออกแบบพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายนำร่อง องค์การบริหารส่วนตำบลจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ (117) การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี โดย นางดวงรัตน์ คงขาว (118) การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ต.น้ำพุ อ.บ้านนาสารจ.สุราษฎร์ธานี โดย นางกฤติยาภรณ์ ไทยเสน (119) การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ป่าร่อน อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดย นางประภา สุขแสน (120) การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี โดย นายวิโรจน์ รักช่วย (121) การสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒฬฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเะสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด ็กเล็กบ้านคราม ต.ชลคราม อ.ดอนสักจ.สุราษฎร์ธานี โดย นางปราณี จิ๋วประดิษฐกุล (122) การประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและข้อมูลสุขภาพชุมชนผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล (https://localfund.happynetwork.org/) (123) ประชุมวางแผนการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลง (124) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ประจำเดือนมีนาคม 2567 (125) คณะทำงานเข้าร่วมประชุมการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สุขภาพดี (126) ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการดำเนินงานของ “แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” ปี 2564 -2567 (127) ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดน่าน งวดที่ 1 (128) ค่าจ้างการสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดลำพูน งวดที่ 1 (129) การประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่จังหวัดตรัง (130) การรวบรวมองค์ความรู้-ชุดความรู้ นวัตกรรม เรื่องพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัยด้านกิจกรรมทางกายในพื้นที่สาธารณะ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคนไทย งวดที่ 2 (131) ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ (132) การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี (133) พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพและจัดทำแผนในพื้นที่นำร่อง จ.น่าน และจ.ลำพูน (134) ประชุมการทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง (135) ค่าจ้างเจ้าหน้าที่โครงการ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 (136) โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกาย สบายชีวี ปี 2567 (137) โครงการหนูน้อย พัฒนาการสมวัยด้วยการออกกำลังกาย (ต.ปะเหลียน) (138) โครงการอนุรักษ์ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า (ต.ปากคม) (139) โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองเพื่อสุขภาพ (ต.โคกหล่อ) (140) โครงการส่งเสริมการเดิน วิ่ง และใช้จักรยานในชุมชน (ต.บ้านโพธิ์) (141) โครงการกิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี (ต.น้ำผุด) (142) โครงการเด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนราห์ ต.หาดสำราญ (143) โครงการส่งเสริมเด็กเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นด้วยการเล่นฟุตบอล ต.นาโยงเหนือ (144) โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพในเด็กวัยรุ่น ต.ย่านตาขาว (145) การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง (146) การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ในพื้นที่นำร่อง อบต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง (147) การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพทีมสื่อสุขภาพ เรื่อง การสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย (148) การประชุมรายงานผลการออกแบบพื้นที่สุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (149) การประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายจัดทำแผนในพื้นที่นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ (150) ตรวจสอบบัญชีโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย งวดที่ 2 (151) ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้างานของภาคเหนือ จ.ลำพูน และ จ.น่าน (152) กระบวนการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม จ.สุราษฎร์ธานี งวดที่ 2 (153) การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี (154) การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง ณ อบต.จิกดู่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี (155) ประชุมเตรียมลงพื้นที่จัดทำแผนและโครงการภาคีเครือข่ายจังหวัดนครพนม (156) การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านระบบกองทุนสุขภาพตำบล จ.นครพนม (157) เงินเดือนผู้ช่วยวิจัยและการเงินโครงการ เดือน มิถุนายน 2567 (158) ประขุมเตรียมเวทีออกแบบกิจกรรมโครงการที่สอดรับกับแบบสถาปนิก จ.อุบลราชธานี และ จ.อำนาจเจริญ (159) การประชุมติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 2 (160) ประชุมติดตามแผนและโครงการกิจกรรมทางกาย เพื่อดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ตำบล ปี 2567 ของอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ  และอำเภอเขื่องใน จ.อุบลราชธานี  และ link: https://zoom.us/j/9019029104 (161) ค่าตอบแทนคู่สัญญา งวด 3

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จังหวัด

รหัสโครงการ 66-00191

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ และนายญัตติพงศ์ แก้วทอง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด