directions_run

ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดกระบี่
ภายใต้โครงการ แผนงานโซนใต้อันดามัน
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฐิติชญาน์ บุญโสม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ ดร.เพ็ญ สุขมาก นางสาวซูวารี มอซู
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านนาตีน ต.อ่าวนาง อ.เมือง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2561 31 ธ.ค. 2561 30 มิ.ย. 2561 17 พ.ค. 2562 35,000.00
2 1 ม.ค. 2562 31 พ.ค. 2562 15,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพการท่องเที่ยวระดับประเทศ และระดับนานาชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ปัจจุบันมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับที่ 2 ของภาคใต้รองจากจังหวัดภูเก็ต (จังหวัดกระบี่, 2561) กรอบแนวทางในการบูรณาการการพัฒนามีวิสัยทัศน์คือ เมืองท่องเที่ยวคุณภาพระดับนานาชาติ แหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน สังคมน่าอยู่ ตามแนวคิด New Growth Model และการพัฒนาการท่องเที่ยวคู่กับการอนุรักษ์ภาคใต้แนวคิด Krabi Goes Green โดยมีปฏิญญาการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ สู่ความยั่งยืน ภายใต้การกำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่สู่ความยั่งยืน คือ เมืองท่องเที่ยวคุณภาพระดับนานาชาติ เชิงอนุรักษ์ ที่มีความยั่งยืนภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของชาวกระบี่ทุกภาคส่วน     การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่ มีพัฒนาการตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เริ่มต้น ณ ชุมชนบ้านนาตีน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นชุมชนที่อยู่ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยวกระแสหลัก ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่มีการรวบรวมเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวกระแสหลัก และการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในชุมชนได้หรือไม่ ดังนัั้นการวิจัยเพื่อการประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงเกิดขึ้น โดยใช้เครื่องมือการประเมินผล กระทบทางสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือหลักในการวิจัย มีขั้นตอนการดำเนินการหลักของการประเมินผลกระทบ โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเข้าไปไว้ในทุกกระบวนการ คือ การกลั่นกรอง (Screening) การกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบโดยสาธารณะ (Public Scoping) การประเมินผลและจัดทำร่างรายงาน (Assessment and Reporting) การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public Review) โดยมีขอบเขตการวิจัยคือ การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน อ.เมือง จ.กระบี่ ผลการวิจัยจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถเป็นข้อมูลเพื่อให้ทางจังหวัดกระบี่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะในการจัดการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืนได้ต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน 5 จังหวัด (กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล และพังงา) จังหวัดกระบี่ การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาตีน อ. เมือง จ.กระบี่
  1. กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening )
    • เพื่อทบทวนสถานการณ์ (ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน)
    • เพื่อจัดทำรายละเอียดความเชื่อมโยงของ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ/ระดับภาคใต้/ระดับโซนอันดามัน/ระดับจังหวัด/ระดับชุมชน • เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด และระดับชุมชน
    • เพื่อใช้ผลการประเมินในการปรับยุทธศาสตร์โซนอันดามันให้เหมาะสมมากขึ้น
    • เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ/ระดับภาค/ระดับโซน/ระดับจังหวัด/ระดับชุมชนและผลการคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นที่เกิดจากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน

  2. กำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน (Scoping)
    • เพื่อกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับโซนอันดามัน
    • เพื่อให้ได้รายละเอียดตัวชี้วัด และเครื่องมือ ในการประเมินทั้งเครื่องมือเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล

  3. ประเมิน (Appraisal)
    • เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน ตามแนวทาง ตัวชี้วัด และเครื่องมือ ที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการกำหนดขอบเขต (ขั้นตอนที่ 2)
    • เพื่อให้ได้ร่างรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน (ร่างปรับปรุงครั้งที่ 1 )

  4. ทบทวนร่างรายงานการศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Review)
    • เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน • เพื่อให้ได้รายงานรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามันและข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2561 10:38 น.