directions_run

ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ”

ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

หัวหน้าโครงการ
ดร.อภิรมย์ พรหมจรรยา

ชื่อโครงการ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

ที่อยู่ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต

รหัสโครงการ เลขที่ 6 เลขที่ข้อตกลง เลขที่ 61-

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 15 มีนาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต



บทคัดย่อ

โครงการ " ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต รหัสโครงการ เลขที่ 6 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 มิถุนายน 2561 - 15 มีนาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 20 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมการบริการที่มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย หลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ในฐานะเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยเกื้อหนุนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหลายประเทศเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นได้ จากข้อมูลสถิติขององค์การการท่องเที่ยวโลกระบุว่า ในปี 2555 การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศมากถึง 1,035 ล้านคน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าการคาดการณ์แนวโน้มในระยะยาว 10 ปี (ปี 2553-2563) ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.8 สร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจถึง 1,075 ล้านเหรียญสหรัฐ และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งมากที่สุด (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2556 และ UNWTO, 2013) อย่างไรก็ดีการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นผลกำไรทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ยังคงเป็นการท่องเที่ยวในลักษณะของการท่องเที่ยวกระแสหลัก (Mass Tourism) ซึ่งมีอำนาจทางการตลาดเหนือกว่าการท่องเที่ยวในลักษณะอื่น (Mieczkhowski, 1995) เนื่องจากการท่องเที่ยวกระแสหลักเป็นการเดินทางท่องเที่ยวตามกระแสความนิยมของนักท่องเที่ยว โดยการให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เข้าถึงง่าย และมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นพื้นฐานไว้รองรับ การท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวเมื่อขาดการจัดการที่ดีจะ ส่งผลให้เกิดการไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะเดียวกันทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว หรือตัวแหล่งท่องเที่ยวมีความสามารถในการรองรับอยู่อย่างจำกัด ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในด้านการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น (ฉัตรเฉลิม องอาจธานศาล, 2551)
ปัจจุบันพลวัตรการพัฒนาทิศการท่องเที่ยวมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเสนอการท่องเที่ยวทางเลือก (Alternative tourism) ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะโดยมุ่งส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่ม Mass คือ เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดเล็ก ก่อให้เกิดผลกระทบในระดับต่ำ มีการกระจายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตามความสนใจเฉพาะ มุ่งเน้นการการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาเรียนรู้ มีความซาบซึ้งและตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจสูง (Mieczkhowski, 1995) คำนึงถึงความสามารถในการรองรับได้ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงขีดจำกัดทางด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และพยายามที่จะปกป้องรักษา เพิ่มพูนประสิทธิภาพฐานทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในแหล่งท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความเป็น อัตลักษณ์ท้องถิ่น (Wearing and Neil, 2009)

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
  2. เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน บ้านหัวหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening)

    วันที่ 4 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชน การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต โดยมีจุดม่งหมายเพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ด้านเศรษฐกิจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมการนำเอาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนมาพัฒนาให้เกิดเป็นรายได้จากพื้นฐานของวิถีชีวิตชุมชน ทีมีการดำรงชีพเป็นกิจวัตรประจำวัน ให้เกิดการถ่ายทอดสืบต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน และเมื่อนักท่องเที่ยวเกิดความชอบ สามารถนำมาประปรุงเพิ่มเติมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน การประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนช่วยกันในการส่งเสริมทางการตลาดให้เป็นที่รู้จัก รวมทั้งมีการส่งเสริม การฝึกอบรมเพิ่มเติมให้กับชุมชนเพื่อต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ
    2. ด้านสังคม  จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคม และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการสร้างเครือข่ายในการสร้างฐานความรู้สำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะการท่องเที่ยวชุมชน มีรากฐานจากชุมชนและต้องใช้ทุนทางสังคมต่างๆ เพื่อสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น ภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น การส่งเสริมให้คนในชุมชนท้องถิ่นได้มีการฝึกอบรมเป็นการสร้างความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวสามารถให้คนในชุมชนมีความรู้ มีอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและท้องถิ่น และสามารถสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนหวงแหนในมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง
    3. ด้านสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวชุมชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และยังใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนที่อยู่ในเขตอนุรักษ์และรักษาพันธุ์พืช

     

    20 20

    2. กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening)

    วันที่ 13 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การมีส่วนร่วมตำบลกมลา 1. การพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างแท้จริงในระดับนโยบาย รัฐควรให้ความสำคัญแก่ประชาชนในท้องถิ่นผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยรัฐจะต้องพยายามเชื่อมโยงประชาชนในท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการเปิดโอกาสมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการเสนอแนะปัญหา การวางแผน การดำเนินการ และการติดตามและประเมินผล ซึ่งถ้าหากรัฐได้เข้าใจถึงบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้วจะทำให้เกิดความสอดคล้องด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ทั้งนี้โดยความร่วมมืออันดีระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวฝ่ายการเมือง ราชการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวมีความยั่งยืนเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน 2. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องมีการจัดการและวางแผนอย่างเป็นระบบ สรรหาบุคลากรที่มีความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรการท่องเที่ยว เข้ามาพูดคุยกับผู้นำชุมชน ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องการตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ทุกคนในพื้นที่ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติที่มีต่อการท่องเที่ยว มีการออกแบบการใช้พลังงานทรัพยากรทางธรรมชาติให้น้อยลงหรือพัฒนาให้เป็นพลังงานสะอาด เพราะเป็นการสื่อถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จัดประชุมปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เพื่อหาวิธีป้องกันผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยว พร้อมทั้งมีการติดตาม ประเมินผลจากผลกระทบทางการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 3. จัดตั้งชมรมหรือสมาคมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นในชุมชน โดยมีประชาชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้นำท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สนใจร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยกันปกป้อง อนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรการท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กับมาเหมือนเดิม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนเกิดความตระหนักและหวงแหนทรัพยากรที่มีอยู่

     

    20 25

    3. นำคณะนักศึกษาเข้าร่วมฐานกิจกรรมเพื่อประเมินความพร้อมและการจัดการของชุมชน

    วันที่ 29 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำคณะนักศึกษาลงพื้นที่ เพื่อทดสอบกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้นักศึกษาได้ประสบการณ์และเสอนแนะให้กับชุมชนเพื่อปรับปรุงต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนได้เตรียมความพร้อมโดยใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

     

    80 80

    4. ติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม

    วันที่ 21 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อติดตามประเมินผลโครงการและกิจกรรมที่ทีมวิจัยได้พัฒนา ให้ความรู้กับกลุ่มชุมชนตลอดจนการพัฒนาความก้าวหน้าของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเส้นทางการท่องเที่ยว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและแนวคิดชัดเจน คือเป็นการท่องเที่ยวที่จัดการโดยชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน  จุดเด่นของการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ แต่ละชุมชนจะมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความเป็นท้องถิ่นดั้งเดิม  เป็นการท่องเที่ยวที่เห็นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน  นักท่องเที่ยวสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชุมชนมีการนำเสนอจุดขายที่เหมือน ๆ กัน กล่าวคือ ที่พักและอาหารท้องถิ่น กิจกรรมนำเที่ยวก็คล้าย ๆกันคล้าย ๆ กับการท่องเที่ยวโดยชุมชน  แต่สิ่งที่การท่องเที่ยวโดยชุมชนแตกต่างจากการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น คือ ระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน  ความรู้สึกเป็นเจ้าของ  และรูปธรรมที่จับต้องได้ว่าการท่องเที่ยวส่งผลประโยชน์ต่อชุมชนโดยภาพรวมอย่างไร  ทั้งเรื่องการพัฒนาชุมชนและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสถึงการต้อนรับที่อบอุ่น  มีอัธยาศัยไมตรี  มีโอกาสพบปะกับคนที่หลากหลายในชุมชน

     

    20 20

    5. รายงานผลการศึกษาให้ชุมชนผ่านกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม

    วันที่ 1 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายงานผลการศึกษาจากการศึกษา พบว่า แนวทางการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความเป็นอัตลักษณ์และวิถีวัฒนธรรม มีข้อจำกัดในการส่งเสริมและจัดรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวเเพื่อเรียนรู้วิถีชุมชน ได้แก่ 1. ด้านการพัฒนาพื้นที่ 1.1 ควรมีการป้ายเส้นทางและบอกสถานที่ท่องเที่ยวให้ชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อความสะดวกกับการเดินทาง เนื่องจากเส้นทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ บางแห่งเป็นเส้นทางที่อยู่ค่อนข้างอยู่ไกลและซับซ้อนกับการเดินทาง บางแห่งไม่มีป้ายบอกทางหรือบางแห่งป้ายขาดความต่อเนื่อง ทำให้เกิดหลงทางและหาแหล่งท่องเที่ยวไม่พบ 1.2 ควรมีการควบคุมและดูแลการใช้พื้นที่ของคนในชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนมีการบุกรุกพื้นที่ส่วนร่วม หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อใช้เป็นที่ออกกำลังกายหรือทำมาค้าขาย โดยทำให้เกิดความไม่สวยงามและทำให้แหล่งท่องเที่ยวขาดเสน่ห์ 1.3 ควรมีการดูแลถนนหนทางและผิวจราจรให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและจรจร ถนนบางแห่งค่อนข้างขรุขระและยังเป็นถนนลูกรัง ทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง 2. ด้านการพัฒนากิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ 2.1 ควรมีการจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวช้องกับการดูแลรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว 2.2 ควรมีหน่วยงานเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเนื่องจากคนในชุมชนมีความรู้เรื่องการท่องเที่ยววัฒนธรรมน้อย ทำให้ขาดความรู้ความเข้าในเกี่ยวกับความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยว 2.3 มีการจัดโปรแกรมท่องเที่ยว ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนให้มากขึ้น เช่น การลองนุ่งผ้าปาเต๊ะ หรือกิจกรรมท่องเที่ยวที่เน้นให้นักท่องเที่ยวพักร่วมกับชุมชนแบบธรรมชาติ เช่น โฮมสเตย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวมีความเช้าใจและสามารถดูแลรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป 2.4 ความมีการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวตามสถานที่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ควรมีการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว ที่จะเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทราบถึงระเบียบและข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในการเข้าชมและยังสามารถสอบถามข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ได้ทันที 2.5 ควรเพิ่มการจัดนิทรรศการหมุนเวียนให้มากขึ้นและประชาสัมพันธ์ให้คนสนใจ ระบุวันเวลาในการหมุนเวียนล่วงหน้าให้ทราบ 3. การจัดการด้านการท่องเที่ยว 3.1 หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยว มีการประชาสัมพันธ์น้อย 3.2 ควรมีศูนย์บริการนักท่องเทียวของภาครัฐกระจายตามจุดต่าง ๆ เนื่องจากศูนย์บริการท่องเที่ยวในจังหวัดมีแห่งเดียว ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อหรือสอบถามข้อมูล 3.3 ควรมีการบริการรถสาธารณะให้พอเพียงกับความต้องการ เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวบางแห่ง มีความซับซ้อนในการเดินทางและไม่มีรถโดยสารเข้าถึง ทำให้เดินทางลำบากและไม่ได้รับความสะดวก มีผู้เดินทางไปท่องเที่ยวน้อยมาก 4. การจัดการด้านอนุรักษ์ และจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 4.1 ส่งเสริมการแต่งกายสุภาพ เรียบร้อยในการไปเที่ยวยังสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา เพื่อแสดงในการเคารพสถานที่ ไม่ทำให้สิ่งที่ลบหลู่ศาสนาหรือประเพณี 4.2 เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น เพื่อให้คนไทยเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมวิถีวัฒนธรรมมลายู หวงแหนและรักษาความเป็นวิถีวัฒนธรรมมลายูอย่างแท้จริง 4.3 เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการเป็นมัคคุเทศก์อาสาพาเที่ยวชมท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้แก่ท้องถิ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนบ้านหัวควนมีการสืบทอดสู่คนรุ่นหลังได้อย่างต่อเนื่อง”การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการสร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวบ้านในการนำเสนอ“ของดี”ชุมชนให้คนภายนอกได้รับรู้ ทำให้เกิดการสืบค้น ถ่ายทอด และฟื้นฟูวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ชุมชนมีการบริหารจัดการและร่วมกันกำหนดว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอะไรบ้างที่ชุมชนพร้อมในการนำเสนอและสร้างการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน ตลอดจนมีแนวทางปฏิบัติตัวสำหรับนักท่องเที่ยวการที่มีนักท่องเที่ยวสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมคนท้องถิ่น เป็นตัวกระตุ้นอีกทางหนึ่งที่ทำให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจ และมีชีวิตชีวาในการนำเสนอข้อมูล สามารถสร้างการมีส่วนร่วมให้กับนักท่องเที่ยวในกิจกรรมทางวัฒนธรรมของตน สร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือน และทำให้เยาวชนคนรุ่นหลังเห็นคุณค่าของชุมชนตนเอง

     

    20 40

    6. รายงานความก้าวหน้า ณ สจรส. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วข.หาดใหญ่

    วันที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเสนอรายงาน และตอบข้อซักถามจากคณะกรรมการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานขั้นต่อไป

     

    15 15

    7. ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์โครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักศึกษา MBA และ ชุมชน นำเสนอโครงการที่ผู้วิจัยได้ลงพื้เนที่และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เสนอต่อคณะผู้บริหาร 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะผู้บริหารให้ความสนใจ สอบถามและให้คำแนะนำถึงกิจกรรมของโครงการ

     

    80 80

    8. รายงานผลแก่อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนและติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม

    วันที่ 13 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงพื้นที่ศึกษาดูงานในกิจกรรมต่างๆ ที่ โครงการรับผิดชอบเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มงานอาชีพต่างๆ ของบ้านหัวควน เช่น ผลิตภัณฑ์ส้มควาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับคำแนะนำจากท่านอธิบดีกรมพัฒนาชุมชนให้ต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวชุมชน นวัติวิถีให้แก่กลุ่มชาวบ้านตำบลกมลา

     

    50 60

    9. แลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านจากจังหวัดนราธิวาสผ่านโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านหัวควน

    วันที่ 25 เมษายน 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แนะนำกิจกรรมชุมชน  สาธิตทำขนมพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ส้มควาย ของบ้านหัวควร ตำบลกมลา  ซึ่งได้รับการคัดเลือกเพื่อดำเนินโครงการหมูบ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มสมาชิกมีส่วนร่วม โดยที่ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการด้านการท่องเที่ยว การบริการการท่องเที่ยว รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมการท่องเที่ยว และภูมิปัญญาท้องถิ่น

     

    45 0

    10. รายงานผลการประเมินและสรุปแผนงาน

    วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    2 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
    ตัวชี้วัด : คุณภาพชีวิต รายได้ เศรษฐกิจชุมชน การศึกษา อัตราการเจริญโตของธุกิจท่องเที่ยวในบริเวณชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา

     

    2 เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน บ้านหัวหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
    ตัวชี้วัด : เส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีความเชื่อมโยงภายในพื้นที่ใกล้เคียง (network) ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต (2) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน บ้านหัวหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต

    รหัสโครงการ เลขที่ 6

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ดร.อภิรมย์ พรหมจรรยา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด