diversity_2

โครงการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

stars
1. รายละเอียดชุดโครงการ
ชื่อชุดโครงการ โครงการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ภายใต้แผนงาน/ชุดโครงการ แผนงาน สนส.
รหัสชุดโครงการ
ปีงบประมาณ 2563 (เฉพาะแอดมิน)
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2564 - 15 พฤษภาคม 2565
งบประมาณ 10,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถาบันโยบายสาธารณะ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.เพ็ญ สุขมาก
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด 15.292822,100.85327place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (10,000,000.00 บาท)

stars
3. สถานการณ์/ปัญหา
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์ประกอบในการดําเนินงานระบบอาหารประกอบด้วย 3 ประเด็นสําคัญคือ ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ความมั่นคงทางอาหารหมายถึงการมีอาหารบริโภคที่เกิดจากการผลิตเอง และสามารถเข้าถึงอาหารจากแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติ หรือมีรายได้เพียงพอเพื่อซื้ออาหารสําหรับบริโภคในปริมาณที่เพียงพอทั้งในภาวะปกติและในภาวะวิกฤติ โดยอาหารที่นํามาบริโภคควรเป็นอาหารที่ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายตามช่วงวัย อาหารปลอดภัย หมายถึงอาหารที่ปราศจากสารปนเปื่อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตั้งแต่ตอนทางการผลิตที่ไม่ใช่สารเคมี การเตรียมอาหาร การปรุง ตาม หลักสุขาภิบาลอาหารกระทั่งการกระจาย อาหาร การตลาด การแปรรูป ต้องมีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร ส่วนโภชนาการสมวัย หมายถึงการมีภาวะโภชนาการปกติตามวัย ไม่มีภาวะเตี้ยแคระเกร็น ภาวะผอมแห้ง นํ้าหนักเกิน นํ้าหนักตํ่ากว่าเกณฑ์ รวมถึงปัญหา โภชนาการที่เกี่ยวกับเรื่องโรคไม่ติดต่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหาร ซี่งในประเด็นโภชนาการตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ทาง โภชนาการ 2025 ยังได้กําหนดเป้าหมายเพิ่มเรื่องภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ และการดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนไว้อีกกด้วย ดังนั้น การดําเนินงานระบบอาหารจึงจําเป็นต้องดําเนินการให้ครอบคลุมทั้ง 3 ประเด็น คือความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย 1. สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางอาหารในที่นี้ หมายถึงการมีอาหารกินที่เพียงพอ ไม่ว่าจะผลิตเอง มีรายได้ที่เพียงพอต่อการซื้ออาหารมาบริโภค หาจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ป่าเขา ทะเล อาหารที่มีกินต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และกินถูกหลักโภชนาการและมีกิน อย่างเพียงพอทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ หากพิจารณาตามนิยามข้างต้น จะเห็นว่าห่วงโซ่ของความมั่นคงทางอาหาร จะประกอบ ด้วยต้นนํ้าคือการผลิต การหาอาหารตามแหล่งอาหารตามธรรมชาติ กลางนํ้า การมีรายได้ที่เพียงพอต่อการซื้อ ขายอาหาร และปลาย นํ้าคือการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการเหมาะสมกับวัย สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารภาคใต้ สะท้อนจากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการเกษตร

สถานการณ์การผลิตอาหารของภาคใต้ พบว่า ภาคใต้มีพื้นที่เกษตรร้อยละ 47.12 เป็นพื้นที่เกือบครึ่งนึงของ พื้นที่ทั้งหมด แต่กลับพบว่ามีการใช้พื้นที่เพื่อทําการเกษตรเชิงเดี่ยว ยางและปาล์มนํ้ามัน จํานวนถึง 18,691,482 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.94 มีพื้นที่อาหารปลูกข้าวนาปี และนาปรังเพียง 883,326 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.06 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ส่วนสถานการณ์ การผลิตอาหารของกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) แนวโน้มการใช้พื้นที่ก็ไม่แตกต่างจากสถานการณ์ภาคใต้ กล่าวคือในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนทั้งสามจังหวัดพื้นที่ทั้งหมด 6,835,525 ไร่ มีพื้นที่เกษตรจํานวน 3,444,250 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.39 ในพื้นที่เกษตรทั้งหมดของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนพบว่า เป็นการทําเกษตรเชิงเดี่ยว สวนยางพาราจํานวน 2,603,166 ไร่ และปาล์มนํ้ามันจํานวน 91,435 ไร่ หากรวมพื้นที่การทําเกษตรเชิงเดี่ยวยางพาราและปาล์ม มีสัดส่วนพื้นที่ เท่ากับร้อยละ 78.23 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด

ข้อมูลสถานการณ์ด้านการผลิตอาหารแยกรายจังหวัด 1)ด้านการเกษตร จังหวัดสงขลา จากข้อมูลปี 2562 จังหวัดสงขลา มีพื้นที่เกษตร จํานวน 2,923,261 ไร่ คิดเป็น 63.26 % ของพื้นที่ทั้งหมด จํานวน 4,621,180 ไร่ สําหรับการใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรมหลักของจังหวัดสงขลา อันดับ 1 คือ ยางพารามีสัดส่วนการใช้พื้นที่ ร้อย ละ 67.21 (1,964,795 ไร่) ของพื้นที่เกษตรกรรม อันดับ 2 คือ นาข้าว 307,626 ไร่ อันดับ 3 ไม้ผล 88,401 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.66 และร้อยละ 1.90 ตามลําดับ (ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา 2561-2565 ฉบับทบทวน 2564)

จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 570,677 ไร่ มีพืชเศรษฐกิจที่สําคัญประกอบด้วยยางพารา ข้าว มะพร้าว ลองกอง ทุเรียน เงาะ และปาล์มนํ้ามัน ข้อมูลปี 2560 ยางพารามีพื้นที่เพาะปลูกจํานวน 369,956 ไร่ ข้าวจํานวน 97,648 ไร่ มะพร้าว 52,456 ไร่ ลองกอง 15,704 ไร่ ทุเรียน 9,576 ไร่ เงาะ 1,709 ไร่ ปาล์มนํ้ามัน 23,628 ไร่ แนวโน้มการ เพาะปลูกของ ยางพารา ข้าว ลองกอง มะพร้าวลดลง จากข้อมูลปี 2559 ยางพารา จํานวน 372,117 ไร่ ข้าว 99,237 ไร่ ลองกอง 16,714 ไร่ มะพร้าวจํานวน 17,254 ไร่ แต่ทุเรียน เงาะ และปาล์มนํ้ามัน มีแนวโน้มพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ทุเรียน จํานวน 8,390 ไร่ เงาะ 1,667 ไร่ ปาล์มนํ้ามัน 18,292 ไร่ (แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี 2561-2565 ฉบับทบทวน)

จังหวัดยะลา มีพืชเศรษฐกิจสําคัญคือ ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน ทุเรียน ลองกอง มังคุค เงาะ ส้มโชกุน กล้วยหิน และข้าว พื้นที่ ปลูกยางพารามากเป็นอันดับ 5 ของภาคใต้รองจากสุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช และตรัง ข้อมูลปี 2561 พื้นที่ปลูกยางพารา 1,293,277 ไร่ ปาล์มนํ้ามัน 7,303 ไร่ ทุเรียน 54,242 ไร่ ลองกอง 33,968 ไร่ มังคุด 7,399 ไร่ เงาะ 3,288 ไร่ ส้มโชกุน 591 ไร่ กล้วยหินเป็นพืช GI ของยะลา เกษตรกรจะปลูกแซมในสวนยางพารา ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรสูงขึ้นในแต่ละปี และข้าว 17,326 ไร่ เปรียบเทียบข้อมูลกับปี 2559 พบว่ายางพารา ทุเรียน มีแนวโน้มการปลูกเพิ่มขึ้น จากข้อมูลปี 2559 ยางพารามีพื้นที่ เพาะปลูก 1,254,917 ไร่ ทุเรียน 50,313 ไร่ สําหรับข้าวมีพื้นที่เพาะปลูกที่ไม่เหมาะสมมากกว่า 30,000 ไร่ที่ถูกทิ้งร้าง (แผนพัฒนา จังหวัดยะลา 2561-2565 ฉบับทบทวน)

จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร 1,408,097 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.34 ของเนื้อที่ทั้งหมด พืชเศรษฐกิจที่สําคัญ ได้แก่ ยางพารา พื้นที่ 996,583 ไร่ รองลงมาคือ ปาล์มนํ้ามัน 58,306 ไร่ ลองกอง 43,396 ข้าว 42,010 ไร่ ทุเรียน 30,803 และ มะพร้าว 29,636 ไร่ ตามลําดับ โดยพื้นที่การทําเกษตรเชิงเดี่ยว ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน คิดเป็นประมาณร้อยละ 74 ของพื้นที่เกษตร ทั้งหมด พื้นที่ปลูกยางพาราลดลงเล็กน้อย แต่พื้นที่ปลูกปาล์มนํ้ามันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่พื้นที่เกษตรที่เป็นพืชอาหาร ประเภทผัก ผลไม้ ข้าว มีประมาณ ร้อยละ 20 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน พบว่าพื้นที่เกษตรกรรมมีจํานวนพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง (3 ปี) คือ ปาล์มนํ้ามัน ทุเรียน มังคุด และมะพร้าว ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวลดลงจากปี 2560 จํานวน 5,927 ไร่ พื้นที่ปลูกลองกองลดลงจาก ปี 2559 จํานวน 17,459 ไร่และลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึง 2562 เศรษฐกิจโดยรวมของเกษตรกรส่วนใหญ่ในจังหวัดนราธิวาสขึ้นอยู่กับ ราคายางพารา ไม้ผล และปาล์มนํ้ามัน เป็นหลัก
(ที่มา:รายงานการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส, 2563)

จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าความมั่นคงทางอาหารของคนภาคใต้ ด้านการผลิตอาหารหลักที่คนไทยบริโภคคือข้าว ยังต้อง พึ่งพาการนําเข้าข้าวจากภาคอื่น ๆ เนื่องจากการผลิตข้าวในพื้นที่น้อย พื้นที่ส่วนใหญ่เน้นการทําพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะ ยางพารา และปาล์มนํ้ามัน การทําเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นการทําเกษตรที่ไม่ยั่งยืน เมื่อราคาผลผลิตตกตํ่า ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือน ตามมา ดังนั้นการทําเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ที่มุ่งทําการเกษตรที่ครอบคลุมวิถีชีวิต กระบวนการผลิต การจัดการฟาร์มทุกรูปแบบตั้งแต่ การผลิต การกระจายผลผลิต และการบริโภค เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม นําไปสู่การพึ่งตนเองและการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค แนวทางการส่งเสริมการเกษตรผสมผสาน วนเกษตร การทําเกษตรแบบปลอดภัย เกษตร อินทรีย์ การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่สวนยางพารา สวนปาล์มนํ้ามัน จะนําไปสู่การแก้ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร ของภาคใต้ โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนใต้มีลักษณะปลูกพืชเชิงเดี่ยว การทําเกษตรยั่งยืนยังมีน้อย ข้อมูลจากเครือข่ายอาหารพื้นที่ ภาคใต้พบว่ามีสัดส่วนการทําเกษตรอินทรีย์ เพียง 1.1 แสนไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด การทําเกษตรแบบยั่งยืนใน พื้นที่ภาคใต้ไม่ถึงร้อยละ 1 (ข้อมูลจากเครือข่ายอาหารระดับพื้นที่ภาคใต้, 2562) และการทําเกษตรส่วนใหญ่ยังเป็นการผลิตแบบดั้งเดิม ทําให้ผลผลิตต่อไร่ตํ่า การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ายังมีน้อย ทําให้มีความเสี่ยงด้านราคา อีกทั้งเกษตรกรยังขาดความรู้การบริหารจัดการ ต้นทุนการผลิต การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการผลิตและการแปรรูป การพัฒนาการตลาด ตลอดจนการบริหารจัดการตลาดสมัย ใหม่ รวมทั้งขาดการรวมกลุ่มการเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ยังมีผลกระทบอื่นๆ เช่น โรคระบาดในสวนยางพารา เช่น โรคใบร่วง ภาวะภัยแล้งและนํ้าท่วม ส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนของคนภาคใต้ข้อมูลสถานการณ์ด้านรายได้ครัวเรือน

รายได้ครัวเรือนเป็นข้อมูลที่สะท้อน เรื่องความสามารถในการซื้อหาอาหารเพื่อบริโภคของครัวเรือน จากข้อมูลจังหวัดสงขลา และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า ตั้งแต้ปี 2558–2562 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนมีแนว โน้มเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศและของภาคใต้ โดยในปี 2562 พบว่า จังหวัดปัตตานีมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัว เรือนสูงที่สุด คือ 22,903.84 บาท/ครัวเรือน รองลงมา คือ จังหวัดนราธิวาส 17,716.50 บาท/ครัวเรือน และจังหวัดยะลา คือ 16,588.15 บาท/ครัวเรือน และจังหวัดสงขลา คือ 26,703 บาท/ครัวเรือน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศและภาคใต้ (ค่าเฉลี่ยประเทศ เท่ากับ 26,018.42 บาทต่อครัวเรือน และภาคใต้เท่ากับ 25,647.47 บาท/ครัวเรือน) ครัวเรือนยากจนเป็นปัจจัยสําคัญในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพเพื่อบริโภคในครัวเรืออน จากข้อมูลของสํานักงานสภาพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ผลการพัฒนาด้านสังคมของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ในมิติของความยากจน ประชากรที่อยู่ใต้ เส้นความยากจนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศประมาณ 3 เท่า โดยในปี 2562 ประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนร้อยละ 24.05 ค่าเฉลี่ย ประเทศเท่ากับ 7.73 สอดคล้องกับผลการประเมินของสถาบันวิจัยพัฒนาประเทศไทย (TDRI) รายงานว่า ผลกระทบจากการระบาด ของโควิด 19 ทําให้รายได้ครัวเรือนลดลง โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีเด็กเล็ก ปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงอาหารของ สมาชิกในครัวเรือนมากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีความยากจนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว สอดคล้องกับผลการศึกษาของสถานวิจัยความขัด แย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สํารวจความคิดเห็นของประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา (โควิด-19) พบว่าประชาชน ในสามจังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 83.6 มีรายได้ลดลง และร้อยละ 75 ได้รับผลกระทบด้านการประกอบอาชีพ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 47.8 เห็นว่า ระยะเวลาที่ เหมาะสมที่พอจะรับสถานการณ์ได้ คือประมาณ 1-4 สัปดาห์ (อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564 )

ข้อมูลสถานการณ์ด้านการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย การรับรองมาตรฐาน GAP ของจังหวัดสงขลา และสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้พบว่า มีเกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตอาหาร 2. ความปลอดภัยด้านอาหาร 1) ความปลอดภัยด้านอาหารประเภทผักและผลไม้จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ปี 2561 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สุ่มตรวจสารเคมีที่ตกค้างในผักสดและผลไม้สด โดยเก็บตัวอย่างจากตลาดขนาดใหญ่ และตลาดค่าส่งจาก 5 ภาคของประเทศไทย เก็บตัวอย่างผักสดและผลไม้สดจํานวน 240 ตัวอย่าง โดยภาคใต้เก็บตัวอย่างจากจังหวัด สงขลาในตลาดพลาซ่า จํานวน 24 ตัวอย่าง ผลการตรวจพบว่า ผักสดและผลไม้สดจํานวน 240 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบการตกค้างร้อย ละ 21.7 ตรวจพบการตกค้างแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 20.4 และตรวจพบสารตกค้างไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 57.9 เมื่อแบ่งผักสดและผลไม้สดออกเป็น 3 กลุ่ม พบว่า 1) กลุ่มผักสดที่นิยมบริโภคจํานวน 60 ตัวอย่าง พบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 66.7 ผักในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ คะน้า มะเขือยาว ถั่วฝักยาว และมะเขือเปราะ ชนิดสารตกค้างที่มีอัตราการตรวจพบในผักสดสูง คือ cypermethrin chlorpyrifos และ acetramiprid 2) กลุ่มผลไม้สดจํานวน 80 ตัวอย่าง พบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 48.8 ผลไม้สดในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ชมพู่ ส้ม และลําไย ชนิดสารตกค้างที่มีอันตรายตรวจพบในผลไม้สดสูงคือ cypermethrin azoxystrobin และ cypermethrin 3) กลุ่มผักสมุนไพรและผักพื้นบ้าน จํานวน 100 ตัวอย่าง พบไม้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 60.0 ผักสมุนไพรและผักพืนบ้านที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กะเพรา ใบแมงลัก โหระพา สะระแหน่ ผักแพว ใบบัวบก และ ผักชีฝรั่ง ชนิดสารตกค้างที่ตรวจพบในผักสมุนไพรและผักพื้นบ้านสูง คือ acetamiprid cypermethrin และ chlorpyrifos และตรวจ พบสาร methamidophos ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ในกะเพรา 1 ตัวอย่าง นอกจากนี้รายงานตรวจติดตามสารพิษตกค้างผลผลิตทางการเกษตรในแปลงผลิตที่ผ่านการรับรองระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ในเขตภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง สตูล และพัทลุง ของสาวิตรี เขมวงศ์ และอนนท์ สุขสวัสดิ์ (2558) โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตการเกษตรจํานวน 1,148 ตัวอย่าง จากพืช 33 ชนิด เป็นตัวอย่างจากแปลงผลิต 673 ตัวอย่าง จุดรวบรวม 200 ตัวอย่าง และจุดจําหน่าย 275 ตัวอย่าง พบการตกค้างของสารพิษจากแปลงผลิตจํานวน 64 ตัวอย่าง คิดร้อยละ 9.51 จุดรวบรวมจํานวน 44 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 22.0 และจุดจําหน่ายจํานวน 49 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 17.82 ชนิดของสารพิษที่พบสูงสุด 3 อันดับ คือ Chlorpyrifos ร้อยละ 6.36 Cypermethrin ร้อยละ 5.66 และ Ethion ร้อย ละ 1.31 ส่วนใหญ่พบในตัวอย่างพริก เมื่อนําข้อมูลชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างที่ตรวจพบมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน หรือ ค่า MRL.s โดยใช้เกณฑ์ Thai MRL.s, Codex MRL.s, และประเทศคู่ค้า ได้แก่ EU MRL.s, Japan MRL.s พบตัวอย่างที่มีการตกค้าง เกินค่า MRL.s ในแปลงผลิต 1 ชนิดพืช ได้แก่ ฝรั่ง จุดรวบรวมพบ 5 ชนิดพืช ได้แก่ กวางตุ้ง แตงกวา ผักกาดขาว พริก และฝรั่ง และ จุดจําหน่ายพบ 5 ชนิดพืช ได้แก่ กวางตุ้ง คะน้า แตงกวา มะเขือ และพริก 2) สถานการณ์สารปนเปื้อนในอาหารจังหวัดสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส จังหวัดสงขลา ผลการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารโดยหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ ปี 2560-2562 พบว่า สารโพลาร์ในนํ้ามันทอดซํ้าที่ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมีแนวโน้มลดลง โดยปี 2560 ร้อยละ 13.65 ปี 2561 ร้อยละ 8.85 และปี 2562 ร้อยละ 1.54 จังหวัดปัตตานี กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองปัตตานี ได้เก็บตัวอย่างอาหารวิเคราะห์สารปนเปื้อนในอาหารด้าน เคมีและจุลินทรีย์ ผลการวิเคราะห์พบสีสังเคราะห์ในอาหารแปรรูป ประเภท กุ้งฝอย กุ้งแห้งใหญ่ กุ้งฝอยใหญ่ และนํ้าชาเย็น ร้อยละ 29.41 และสารฟอร์มาลีนในนํ้าแช่ปลาหมึก ร้อยละ 11.76 (รายงานผลตรวจวิเคราะห์ทางด้านเคมี, 2561) การปนเปื้อนโลหะหนัก ในอาหารทะเลจากสะพานปลาท่าเทียบเรืออาหารทะเล กลุ่มหมึกมีค่าการปนเปื้อนโลหะแคดเมียมและพบว่ามีโลหะหนักมีแนวโน้มที่จะ เกินมาตรฐานโดยเฉพาะเนื้อของหมึก นอกจากนี้พบสารหนู และสารตะกั่วในกุ้งแห้ง ที่จําหน่ายในตลาดสดเทศบาลเมืองปัตตานี (สํานักงานเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ, 2563) และปี 2563 สถาบันนโยบายสาธารณะ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สํารวจแหล่งผลิตกุ้งแห้งในจังหวัดปัตตานี พื้นที่อําเภอเมือง หนองจิก และยะหริ่ง ซึ่งเป็น แหล่งผลิตระดับครัวเรือนจํานวน 14 แห่ง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจํานวน 1 แห่ง โดยพบข้อบกพร่องที่รุนแรงคือการใช้สีสังเคราะห์ใน กุ้งแห้งที่ผลิตในระดับครัวเรือนทั้งหมด โดยมีปริมาณของสีปองโช 4 อาร์ ในกุ้งฝอยแห้งสีชมพู 421.90 มิลลิกรัม กุ้งแห้งสีใหญ่ชมพู 110.83 มิลลิกรัม นอกจากยังพบสีเอโซรูบีน และซัลเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (สถาบันนโยบายสาธารณะ,2563) จังหวัดนราธิวาส ข้อมูลปี 2563 ผลการสุ่มตรวจความปลอดภัยด้านอาหารจังหวัดนราธิวาส พบ E.coli ในนํ้าบริโภค จํานวน 1 ตัวอย่าง จาก 57 ตัวอย่าง (ร้อยละ 1.8) การใช้วัตถุกันเสีย Benzoic Acid เกินมาตรฐานในขนมจีน 1 ตัวอย่าง จาก จํานวน 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 16.7) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนพบเชื้อ จุลินทรีย์ Saureus ในนํ้าพริก 1 ตัวอย่าง จากจํานวน 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 25) และตลาดนัด ตลาดชุมชน ไม่ได้มาตรฐานด้าน สุขาภิบาลอาหาร และการรับรองมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐาน GAP, PGS, COC, GFM, Organic Thailand หรืออื่นๆ ของแหล่งผลิต ทั้งประเภทผัก ผลไม้ปศุสัตว์และประมง ยังมีน้อย และไม่เพียงพอ กับความต้องการในพื้นที่ โดยเฉพาะประเภทผัก นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมีความเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารที่อาจไม่ ปลอดภัยซึ่งนําเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีส่วนผสมของยาซิลเดนาฟิล

  1. สถานการณ์ด้านโภชนาการจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ปี 2562 ภาคใต้ชายแดนมีประชากร 2.07 ล้านคน หรือร้อยละ 3.1 ของประเทศ เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มีจํานวน 2.01 ล้านคนและมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ในช่วงปี 2559 - 2562 โดยเฉลี่ยร้อยละ 0.9 สูงกว่าระดับประเทศที่มีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 0.3 โดยจังหวัดนราธิวาสมีประชากรมากที่สุด คือ 0.81 ล้านคน รองลงมา คือ จังหวัดปัตตานี มีประชากร 0.73 ล้านคน และจังหวัดยะลามี ประชากรน้อยที่สุด คือ 0.54 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 39.1, 35.0 และ 25.9 ของประชากรภาค ตามลําดับ ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 80 นับถือศาสนาอิสลาม (ที่มา ร่างกรอบแผนพัฒนาภาคใต้ 2566-2570) ผลสํารวจสถานการณ์สุขภาพเด็กไทยระหว่างปี 2558 - 2559 โดยองค์กรยูนิเซฟและสํานักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กในพื้นที่ ชายแดนภาคใต้ประสบปัญหาขาดสารอาหาร มีนํ้าหนักตํ่ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมีภาวะเตี้ยในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น ๆ โดยเด็กอายุ ตํ่ากว่า 5 ปี ในจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น อยู่ที่ ร้อยละ 29, 21 และ 19 ตามลําดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ ประเทศ นอกจากนี้ในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสยังพบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันของเด็กกลุ่มนี้ ที่ร้อยละ13 และ 11 ซึ่ง สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5 เท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงการที่เด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพออย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน เกิดภาวะขาดสารอาหารที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของเด็ก สอดคล้องกับผลสํารวจ สถานการณ์ระดับสติปัญญา (ไอคิว) ประจําปี 2559 ของกรมสุขภาพจิต พบว่าเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส และยะลา มีค่าเฉลี่ยไอคิว อยู่ที่ 88.32 จุด 92.46 จุด และ 93.51 จุด ตามลําดับ ขณะที่ค่าเฉลี่ยไอคิวของทั่วประเทศอยู่ที่ 98.23 จุด (เกณฑ์มาตรฐานไอคิว100 จุด) และรายงานผลการศึกษา “โครงการวิจัยการปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็กที่มีภาวะ ขาดแคลนโภชนาการในสามจังหวัด พบว่า ในสถานการณ์โรค Covid-19 ครอบครัวส่วนใหญ่มีความเดือดร้อนเรื่องอาหาร โดยได้รับ ปริมาณและคุณภาพของอาหารลดลง เด็กบางคนได้รับอาหารไม่ครบมื้อในระหว่างวัน (https://workpointtoday.com/unicef- ramadan2020-covid-19/) 1) สถานการณ์โภชนาการเด็ก 0-5 ปี จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส (ที่มาฐานข้อมูล HDC) จังหวัดสงขลา ภาวะเด็กเตี้ย (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10) ในปี 2561 อําเภอที่มีอัตราร้อยละภาวะเด็กเตี้ยสูงสุด 3 อําเภอ คือ อําเภอสะบ้าย้อย กระแสสินธุ์ และระโนด ร้อยละ 22.06,14.85 และ 13.04 ตามลําดับ สําหรับปี 2562 พบในอําเภอสะบ้าย้อย กระ แสสินธุ์ และคลองหอยโข่ง ร้อยละ 18.94,17.47 และ15.72 ตามลําดับ ภาวะเด็กผอม (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 5) ในปีงบประมาณ 2561อําเภอที่มีอัตราร้อยละภาวะเด็กผอมสูงสุด 3 อําเภอคือ อําเภอรัตภูมิ กระแสสินธุ์ และอําเภอสะเดา ร้อยละ 7.86,6.76 และ 6.26 ตามลําดับ สําหรับปี 2562 อัตราร้อยละภาวะเด็กผอมสูงสุด 3 อันดับคือ อําเภอสะบ้าย้อย รัตภูมิ และนาหม่อม ร้อยละ 9.24,7.79 และ 7.75 ตามลําดับ และภาวะเด็กอ้วน (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10) ปีงบประมาณ 2561 จังหวัดสงขลาไม่พบเด็กที่มีภาวะอ้วนแต่ในปี 2562 พบเด็กที่มีภาวะอ้วนในอําเภอระโนด ร้อยละ 10.09 และบางกลํ่า ร้อยละ 10.86 จังหวัดปัตตานี ภาวะเด็กเตี้ย (ไม่เกินร้อยละ 10) ในปี 2561 อําเภอที่มีอัตราร้อยละภาวะเด็กเตี้ยสูงสุด 3 อําเภอคือ อําเภอ ทุ่งยางแดง ไม้แก่น และสายบุรี ร้อยละ 17.31,13.87,และ13.79 ตามลําดับ สําหรับปี 2562 พบเด็กเตี้ยในอัตราร้อยละที่สูงในอําเภอ กะพ้อ ไม้แก่น มายอ และแม่ลาน ร้อยละ 32.21,30.09,28.25และ27.08 ตามลําดับ ภาวะเด็กผอม (ไม่เกินร้อยละ 5) ในปี 2561 อําเภอ ที่มีอัตราร้อยละเด็กผอมสูงสุด 3 อําเภอคือ อําเภอโคกโพธิ์ แม่ลาน และปานาแระ ร้อยละ9.05,8.46และ7.86 ตามลําดับ สําหรับปี 2562 พบเด็กผอมในอัตราร้อยละที่สูง 3 อําเภอ คือ สายบุรี ไม้แก่น และยะหริ่งร้อยละ 9.84,9.16 และ7.65 ภาวะเด็กอ้วน (ไม่เกิน 10%) ปี 2561 ไม่พบอัตราร้อยละเด็กอ้วนเกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข แต่ในปี 2562 พบเด็กที่มีภาวะอ้วน ใน 2 อําเภอ คืออําเภอกะพ้อและแม่ลาน ร้อยละ 14.38,10.13 ตามลําดับ จังหวัดยะลา ภาวะเด็กเตี้ย (ไม่เกินร้อยละ 10) ในปี 2561 อําเภอที่มีอัตราร้อยละภาวะเด็กเตี้ยสูงสุด 3 อําเภอคือ อําเภอกาบัง ธารโต และเบตง ร้อยละ 21.00,19.79 และ 16.37 ตามลําดับ สําหรับปี 2562 พบอําเภอที่มีภาวะเด็กเตี้ยในอัตราร้อยละที่สูงจํานวน 4 อําเภอ คือ อําเภอกรงปีนัง ธารโต กาบังและรามัน ร้อยละ 30.45,30.05,27.69และ 22.87 ตามลําดับ ภาวะเด็กผอม (ไม่เกิน ร้อยละ 5) ในปี 2561 อําเภอที่มีอัตราร้อยละเด็กผอมสูงสุด 3 อําเภอคือ อําเภอรามัน กาบังและเมืองยะลา ร้อยละ 11.67,9.81และ8.87 ตามลําดับ สําหรับปี 2562 พบเด็กผอมในอัตราร้อยละที่สูง 3 อําเภอคือ อําเภอรามัน กาบัง และกรงปีนัง ร้อย ละ 10.86,10.68แล9.72 ตามลําดับ ภาวะเด็กอ้วน (ไม่เกิน 10%) ในปี 2561 ทุกอําเภอไม่พบภาวะเด็กอ้วน ส่วนในปี 2562 พบ 2 อําเภอคือ อําเภอธารโต และกรงปีนัง ร้อยละ 10.73 และ12.36 ตามลําดับ จังหวัดนราธิวาส ภาวะเด็กเตี้ย (ไม่เกิน 10%) ในปี พ.ศ.2562 เด็ก 0-5 ปี ในเกือบทุกอําเภอของจังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอําเภอ แว้งมี ภาวะเตี้ย เกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข โดยอําเภอศรีสาคร อําเภอบาเจาะ และอําเภอจะแนะ มีเด็กภาวะเตี้ยสูงกว่า มาตรฐานมากที่สุด ที่ร้อยละ 40.06 ร้อยละ 38.13 และร้อยละ 36.73 ตามลําดับ และเด็กภาวะเตี้ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีพ.ศ. 2561 ในทุกอําเภอ ยกเว้นอําเภอ สุไหงปาดีที่มีแนวโน้มลดลง ภาวะเด็กผอม (ไม่เกิน 5%) พบว่าทุกอําเภอมีค่าร้อยละเกินเกณฑ์ มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในปี พ.ศ. 2561 และปี พ.ศ. 2562 โดยอําเภอเจาะไอร้องมีภาวะผอมต่อเนื่อง รอยละ 14.40 และร้อยละ 15.69 ตามลําดับ ซึ่งจัดว่าสูงที่สุดในจังหวัดนราธิวาส ภาวะเด็กอ้วน (ไม่เกิน 10%) ในปี พ.ศ.2562 ทุกอําเภอมี แนวโน้มของค่าร้อยละเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2561 โดยอําเภอที่มีค่าร้อยละเพิ่มขึ้นและค่าเกินจากค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขใน ปี 2562 มีจํานวน 5 อําเภอ ได้แก่ อําเภอบาเจาะ ร้อยละ 20.29 ศรีสาคร ร้อยละ 17.54 จะแนะ ร้อยละ 12.22 รือเสาะ ร้อยละ 11.45 และระแงะ ร้อยละ 11.10 ตามลําดับ สรุปสถานการณ์ปัญหาภาวะโภชนาการของพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา มีเด็กที่มีภาวะเตี้ย มากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ข้อมูลล่าสุดในปี 2564 พบเด็กมีภาวะเตี้ยในจังหวัดนราธิวาส 15.37 ยะลา 13.72 ปัตตานี 11.93 ในขณะ ที่ระดับประเทศพบร้อยละ 10.56 ถือเป็นปัญหาด้านการเจริญเติบโตหรือภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง ของเด็กภาคใต้ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ได้แก่ อาชีพ การศึกษาของแม่และผู้ดูแลเด็ก ล้วนส่งผลกระทบกับภาวะโภชนาการเด็ก รายงานของ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ “สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมลํ้าด้านรายได้ในระดับภาคของ ประเทศไทย” ปี 2561 พบว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีรายได้ประชากรอยู่ในกลุ่มตํ่าที่สุดของประเทศมาต่อเนื่อง ยาวนานนับสิบปี มีความเหลื่อมลํ้าด้านรายได้สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบความเหลื่อมลํ้าด้านรายได้ระหว่างภูมิภาค รายงานสภาพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2562 พบว่า อัตราความยากจนกระจุกตัวมากที่สุดในจังหวัดทางภาคใต้ ขณะที่ 5 อันดับ จังหวัดที่มี อัตราความยากจนมากที่สุดได้แก่ แม่ฮ่องสอน ปัตตานี กาฬสินธุ์ นราธิวาส และตาก ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจังหวัดในภาคใต้ 2 ใน 5 อยู่ใน กลุ่มภาคใต้ชายแดน โดยจังหวัดปัตตานี และนราธิวาสมีอัตราความยากจนเท่ากับ ร้อยละ 29.72 และ ร้อยละ 25.53% ตามลําดับ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาพื้นฐานสําคัญที่ส่งผลต่อภาวะโภชนการของเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

  2. การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 มีความท้าทายต่อการจัดการด้านระบบอาหารของทั่วโลก เนื่องจากบาง ประเทศมีมาตรการปิดชายแดนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เกิดปัญหาการกระจายผลผลิตการเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบตลาด การซื้อปัจจัยการผลิตของเกษตรกร การขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนการ ดําเนินมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ทําให้ภาคธุรกิจเกิดการหยุดและชะลอการดําเนินธุรกิจ โดยเฉพาะภาคบริการ เช่น การค้าตามแนวชายแดน การท่องเที่ยว อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร ล้วนเป็นแหล่งสร้างรายได้ของภาคใต้ชายแดน เกิดผลให้มีการลด และเลิกจ้างแรงงานจํานวนมาก ทําให้ประชาชนมีรายได้ลดลงและบางส่วนขาดรายได้ เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น และแรงงานบางส่วน เคลื่อนย้ายกลับภูมิลําเนาเดิม
    สําหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย หลังจาก ประเทศมาเลเซียผลักดันชาวต่างชาติให้กลับประเทศ จากข้อมูลของกองทัพภาคที่ 4 พบว่า ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2563 ถึง เมษายน2564 มีแรงงานไทยที่เดินทางเข้าเมืองผิดกฏหมายผ่าน 5 ด้านหลัก คือ สุไหงโก-ลก, เบตง, สะเดา, วังประจัน และตํามะลัง จํานวน 4,853 คน และเข้าเมืองถูกกฎหมาย 24,769 คน และคาดว่าจะมีแรงงานไทยมีความต้องการกลับประเทศมากขึ้นจากมาตรการ ผลักดันชาวต่างชาติของประเทศมาเลเซีย (ที่มา https://news.thaipbs.or.th/content/303465) จากสถานการณ์ข้างต้นทําให้เกิดการ ว่างงานของแรงงานย้ายถิ่น ส่งผลต่อฐานะทางการเงิน และครัวเรือนทําให้มีความเปราะบางต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น นโยบายรัฐโดยศูนย์ อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา (ศอ.บต.) มีแนวทางส่งเสริมการมีอาชีพของแรงงานย้ายถิ่น ภายใต้โครงการเมืองต้นแบบฯ เช่น การท่องเที่ยว เกษตรฐานราก การปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นโอกาสทําให้ภาคเกษตรของภาคใต้มีความเข้มแข็งขึ้นจากการมี แรงงานเข้าสู่ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น จึงจําเป็นต้องเร่งพัฒนาศักยภาพด้านความรู้เกษตรสมัยใหม่เทคโนโลยี นวตกรรมการเกษตร และการ ตลาดรูปแบบต่างๆ

  3. ผลการดําเนินโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการ ปี พ.ศ. 2557-2563 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2563 สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับงบประมาณจากสํานักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดําเนินโครงการบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยอย่างต่อเนื่อง โดยขับเคลื่อนการทํางาน 4 ประเด็นคือประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย การบูรณาการระบบอาหารระดับท้องถิ่น (ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย) และแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับจังหวัด การดําเนินงานที่ผ่านมา 4 ระยะ แบ่งตาม ห่วงเวลาการดําเนินงานดังนี้ ระยะแรก ดําเนินงานระหว่างปี พ.ศ.2557-2558 ระยะที่สองดําเนินงานระหว่าง ปี พ.ศ. 2559-2560 ระยะที่สามดําเนินงานระหว่างปี พ.ศ.2560-2561 ระยะที่สี่ดําเนินงานระหว่าง ปี พ.ศ.2561-2563 การดําเนินระยะแรกถึง ระยะที่สามโครงการดําเนินงานเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสงขลา ต่อมาในระยะที่สี่ ได้ขยายผลพื้นที่การดําเนินงานเพิ่มไปยังจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

stars
4. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อยกระดับการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ในกลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว โดยการขยายรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราแบบ ก 2,3 รูปแบบการทำเกษตร 1 ไร่ หลายแสน สู่งานเชิงนโยบาย
  • เกิดต้นแบบในการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน โดยการทำพืชร่วมยาง และ 1 ไร่ 1 แสนจำนวน 150 ครัวเรือน (ใหม่) โดยเป็นพืชร่วมยาง 120 ครัวเรือนและ 1 ไร่ 1 แสน 30 ครัวเรือน พร้อมถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาต้นแบบและจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเผยแพร่และใช้ผลักดันให้หน่วยงานในพื้นที่นำไปขยายผล โดยมีพื้นที่ Model ตั้งต้น อยู่ในจังหวัดสงขลา และนำร่องการขยายผลไปยังพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
  • เกิดข้อเสนอแนะ/มาตรการเชิงนโยบาย ส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน 1 ไร่หลาย1 แสน จำนวน 1 ข้อเสนอ
0.00
2 เพื่อพัฒนารูปแบบระบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) และกระจายอาหารปลอดภัยจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยใช้กลไกสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอ ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
  • เกิดการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อาหารปลอดภัยจากเกษตรกร ไปยัง รพ./โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก /ร้านอาหาร โดยกลไกสหกรณ์การเกษตร อย่างน้อยจำนวน 10 แห่ง พร้อมจัดทำเป็นฐานข้อมูลและแผนที่การเชื่อมโยงผลผลิตที่แสดงให้เห็นระบบการหมุนเวียนเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ (เช่น ชนิดปริมาณ และราคาจำหน่ายผลผลิต) พื้นที่จังหวัดสงขลา และนำร่องขยายผลเพิ่มเติมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
0.00
3 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนนโยบายและสื่อสาธารณะ ด้านอาหารปลอดภัยในจังหวัดปัตตานี
  • เกิดแผนปฏิบัติราชการในการดำเนินงานอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดปัตตานี 1 ฉบับ พร้อมติดตามผลการนำแผนไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดปัตตานี
  • เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านอาหารปลอดภัยจังหวัดปัตตานี 1 ฉบับ พร้อมนำไปใช้ผลักดันให้ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พิจารณาดำเนินการ พื้นที่จังหวัดปัตตานี
  • เกิดองค์ความรู้เพื่อใช้ขับเคลื่อนนโยบายและนำไปสื่อสารสาธารณะ อย่างน้อย 1 เรื่อง คือ ด้านอาหารปลอดภัยจังหวัดปัตตานี
0.00
4 เพื่อขยายผลและผลักดันรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารในองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดยะลาสู่ภารกิจงานปกติของหน่วยงาน และยกระดับเทศบาลนครยะลาเป็นต้นแบบการจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล
  • เกิดแผนงานและโครงการด้านอาหารและโภชนาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลาอย่างน้อย 63 โครงการ พื้นที่จังหวัดยะลา
  • เกิดนโยบายเพิ่มสัดส่วนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของเทศบาลนครยะลา 1 นโยบาย พร้อมติดตามผลการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติพื้นที่จังหวัดยะลา
0.00
5 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหาร โดยกลไกองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบางในภาวะวิกฤติ
  • เกิดต้นแบบการจัดการระบบอาหารอย่างครบวงจรให้กับกลุ่มเปราะบางอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในภาวะวิกฤติที่มีการระบาดของ COVID-19 อย่างน้อย 30 แห่ง พร้อมติดตามถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาต้นแบบและจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเผยแพร่และใช้ผลักดันให้หน่วยงานในพื้นที่นำไปขยายผลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
0.00
6 เพื่อผลักดันการดำเนินงานระบบอาหารผ่านกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารแบบบูรณาการ ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส)
  • เกิดแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้มีการดำเนินงานเรื่องระบบอาหารและโภชนาการที่ครบวงจร 1 ฉบับ พร้อมนำไปใช้ผลักดันให้ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พิจารณาดำเนินการพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
0.00
stars
5. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1283 0.00 22 0.00
21 ธ.ค. 64 การประชุมชี้แจงแนวทางพัฒนาระบบกระจายผลผลิตการเกษตรโดยกลไกสหกรณ์การเกษตรอำเภอควนเนียงและอำเภอบางกล่ำ 21 0.00 0.00
27 ธ.ค. 64 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหาร เพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัด สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสกับผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ 9 0.00 0.00
7 ม.ค. 65 การประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยขยายผลการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราแบบ ก2,3 และการทำเกษตร 1 ไร่ หลายแสนสู่งานเชิงนโยบาย 44 0.00 0.00
10 ม.ค. 65 ประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหารและโภชนาการ ในภาวะวิกฤตโดยกลไกชุมชน เพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และกลุ่มเปราะบาง 77 0.00 0.00
21 ม.ค. 65 การประชุมจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรจังหวัดยะลา เพื่อพัฒนารูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้) 48 0.00 0.00
26 ม.ค. 65 การประชุมจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรจังหวัดปัตตานี เรื่องการพัฒนารูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้) 70 0.00 0.00
27 ม.ค. 65 การประชุมการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้) 43 0.00 0.00
28 ม.ค. 65 การประชุมการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และเกษตรผสมผสานแบบ 1 ไร่ 1 แสน (นาข้าว สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้) 43 0.00 0.00
9 ก.พ. 65 ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำแผนระบบอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น 142 0.00 0.00
25 ก.พ. 65 ประชุมบุคลากรชี้แจงแนวทางการพัฒนาโครงการด้านอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น 31 0.00 0.00
1 มี.ค. 65 ประชุมหารือการดำเนินกิจกรรมพัฒนารูปแบบการจัดการระบบอาหารและโภชนาการใน อปท. ร่วมกับทีมนักวิชาการ 10 0.00 0.00
1 มี.ค. 65 กิจกรรมการสำรวจการจัดการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงวิกฤติโควิด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 411 0.00 0.00
9 มี.ค. 65 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ณ จังหวัดสงขลา 27 0.00 0.00
10 มี.ค. 65 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ณ จังหวัดสงขลา 23 0.00 0.00
11 มี.ค. 65 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ณ จังหวัดสงขลา 48 0.00 0.00
15 มี.ค. 65 ประชุมการปรับปรุงแผนการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อำเภอควนเนียง และอำเภอบางกล่ำ 13 0.00 0.00
15 มี.ค. 65 - 15 พ.ค. 65 สนับสนุนกิจกรรมการขับเคลื่อนแผนอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น จังหวัดยะลา 0 0.00 0.00
29 มี.ค. 65 ประชุมชี้แจงแผนการส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา นาข้าว สวนผลไม้ 13 0.00 0.00
30 มี.ค. 65 ประชุมเตรียมงาน เตรียมข้อมูล เพื่อจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฎิบัติการเขียนโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการชุมชน 7 0.00 0.00
31 มี.ค. 65 ประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการชุมชนผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) 88 0.00 0.00
1 เม.ย. 65 กิจกรรมการศึกษาการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานและการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของระบบการผลิต เพื่อการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส 115 0.00 0.00
1 เม.ย. 65 กิจกรรมพัฒนารูปแบบระบบการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง 0 0.00 0.00

 

stars
6. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 14:46 น.