โครงการขยายผลและขับเคลื่อนรูปแบบการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างยั่งยืนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

การประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยขยายผลการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราแบบ ก2,3 และการทำเกษตร 1 ไร่ หลายแสนสู่งานเชิงนโยบาย7 มกราคม 2565
7
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้นำเสนอรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราและรูปแบบการทำเกษตร 1 ไร่ 1 แสน ซึ่งมีพื้นที่เรียนรู้อยู่ในจังหวัดสงขลา ซึ่งสถาบันนโยบายสาธารณะมีแนวทางที่จะขยายผลแนวคิดการเพิ่มพื้นที่แหล่งผลิตอาหารในพื้นที่สวนยางพารา พื้นที่นาข้าว โดยพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จำนวน 150 ราย ให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตร โดยประยุกต์แหล่งการส่งเสริมการของจังหวัดสงขลาผู้แทนการยางแห่งประเทศไทยมีข้อเสนอแนะให้สถาบันนโยบายสาธารณะ ดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกร การจัดการตลาด เนื่องจากการยางแห่งประเทศไทยมีข้อจำกัด เพราะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จึงไม่มีงบสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ ทำให้ขาดการบูรณาการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ สำหรับกิจกรรมการขยายผลเกษตรผสมผสาน 1 ไร่ 1 แสน มีแนวทางดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชน เนื่องจากสำนักงานพัฒนาชุมชนมีการปฏิบัติงานขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพอพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ นอกจากนี้สถาบันนโยบายสาธารณะ จะมีส่วนร่วมในการทำงานกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส เรื่องการทำแผนยางพาราแบบครบวงจร และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลากำลังส่งเสริมการผลิตอาหารเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถาบันนโยบายสาธารณะได้มีส่วนร่วมในการทำงานกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส เรื่องการทำแผนยางพาราแบบครบวงจร และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลากำลังส่งเสริมการผลิตอาหารเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว