directions_run

โครงการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) ในพื้นที่ภาคใต้ (สงขลาและนครศรีธรรมราช)

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมเก็บข้อมูลเพื่อสรุปผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช นำเสนอต่อ สสส.26 ตุลาคม 2565
26
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินร่วมประชุมกับคณะทำงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลสรุปผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำเสนอต่อ สสส.

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อการประเมินโครงการ28 กันยายน 2565
28
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เรียนรู้การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการประเมินผลนโยบายสาธารณะกับการประเมินผลโครงการ Node Flagship ในพื้นที่ภาคใต้ (สงขลาและนครศรีธรรมราช)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถนำเครื่องมือในการประเมินผลนโยบายสาธารณะไปใช้ในการประเมินผลโครงการ Node Flagship ในพื้นที่ภาคใต้ (สงขลาและนครศรีธรรมราช)

ทีมประเมินเข้าร่วมเวทีพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะ โครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช18 กันยายน 2565
18
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินเข้าร่วมเวทีพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะ โครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะตามที่ได้ตั้งไว้

การประชุมเพื่อเก็บข้อมูลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช11 กันยายน 2565
11
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเพื่อเก็บข้อมูลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลข้อมูลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประชุมเพื่อเก็บข้อมูลโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา22 สิงหาคม 2565
22
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การติดตามเก็บข้อมูลผลลัพธ์การทำงานของโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รับทราบข้อมูลการทำงานของโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา เช่น การหนุนเสริมการทำงานของพี่เลี้ยง บทบาทการสนับสนุนของทีมวิชาการ

กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ โครงการย่อย Node Flagship จังหวัดสงขลา15 สิงหาคม 2565
15
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินลงพื้นที่ หมู่ 10 ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ของ Node Flagship จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ โครงการย่อย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับทราบการทำงานโครงการย่อยของ Node Flagship จังหวัดสงขลา ในพื้นที่ หมู่ 10 ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ประชุมเพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา (ทีม PM, Core team และทีมพี่เลี้ยงวิชาการ)10 สิงหาคม 2565
10
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา ในส่วนของทีม PM, Core team และทีมพี่เลี้ยงวิชาการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อมูลผลการวิเคราะห์ประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา ในส่วนของทีม PM, Core team และทีมพี่เลี้ยงวิชาการ

ประชุมเชิงปฏิบัติการการสังเคราะห์และถอดบทเรียนของโครงการย่อย Node Flagship จังหวัดสงขลา24 มิถุนายน 2565
24
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินเข้าร่วมกระบวนการสังเคราะห์และถอดบทเรียนของโครงการย่อย Node Flagship จังหวัดสงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บทเรียนการทำงานของโครงการย่อย Node Flagship จังหวัดสงขลา

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 212 มิถุนายน 2565
12
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

โครงการย่อย Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 25 ชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงาน กับทีมประเมิน และคณะทำงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมประเมินรับทราบความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงานของโครงการย่อย Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ในประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และประเด็นเด็กและเยาวชน จำนวน 25 ชุมชน

ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช8 มิถุนายน 2565
8
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คณะทำงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ ให้ทีมประเมินได้รับทราบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินโครงการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา22 พฤษภาคม 2565
22
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินติดตามความก้าวหน้าคณะทำงานในการดำเนินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

คืนข้อมูลหน่วยจัดการ นครศรีธรรมราช19 มีนาคม 2565
19
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Nuchi
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คืนข้อมูลหน่วยจัดการ นครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 19 มีนาคม 2565 คืนข้อมูลหน่วยจัดการนครศรีธรรมราช แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการคืนข้อมูลหน่วยจัดการนครศรีธรรมราช ประเด็นหน่วยจัดการ
1. การกำหนดบทบาทพี่เลี้ยงวิชาการที่ต้องไปใกล้ชิดพื้นที่ควรปรับอะไรบ้าง เพราะหาก core teamกับทีมพี่เลี้ยง เป็นคนเดียวกัน อาจมองเห็นตัวเองไม่ชัด น่าจะบางครั้งเราทำโครงสร้างให้คนเยอะขึ้นเพื่อปิดช่องว่าง เเต่พอทำงานจริง ก็เป็นปัญหาทำให้มองไม่เห็น 2. มีข้อมูลระดับจังหวัดอยู่ น่าจะ mapping ว่ามิติไหนเป็นปัญหาของพื้นที่ไหน เอาทีมวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลจังหวัดที่มีอยู่เเละ map ไปที่พื้นที่ (อ.เพ็ญ) 3. จับประเด็นได้ว่า 1.ประเด็นเราไปเจาะลึก และการประชุมออนไลน์ ประเด็นเด็ก หรือ ผู้สูงอายุ ไม่เท่ากัน ในส่วนประเด็นเด็กคุ้นชินเรื่องประชุมออนไลน์ เเต่ ผู้สูงอายุ ทำยาก 2.ประเด็นการพัฒนาพี่เลี้ยง เป็นจุดต้องพัฒนา เนื่องจากเป็นพี่เลี้ยงใหม่และเป็น จนท รพ.สต. ตอนนี้ทุกทีม ไม่ค่อยมีเวลา เนื่องจากต้องไปจัดการโควิดอยู่ในขณะนี้ 3ในประเด็นผลลัพธ์ที่จะเชื่อมโยงกับนโยบายจังหวัด เด็กเยาวชน =ปรับเเละขยับได้ง่าย ผู้สูงอายุ ต้องปรับกิจกรรม (อ.กำไล สมรักษ์)
4. ส่วนหนึ่งจากที่ อ.ได้เสนอเเนะ สามารถย้อนกลับไปดูการปฏิบัติงานในพื้นที่ ในพื้นที่ถนัดเเค่ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เเต่ทางเรากังวล ว่าจะไม่ได้ผลลัพธ์ ที่จะมาตอบทาง โหนด ก็เลยต้องทำ เเต่พอได้ฟังก็อาจต้องปรับเป็นต้นไม้ปัญหาต้นเดียว เเละทำในเเต่ละพื้นที่ เเต่ก็น้ำเเต่ละต้นปัญหานั้นมารวมกัน ก็ได้เป็นผลลัพธ์ ของโหนดเเฟลชิปได้ (อ.อาทิตย์) 5. การเชื่อมต่องานกับ สนส. NF นครฯ ถ้าจะทำให้เห็นทิศทางในการทำงาน อ.เพ็ญ ตอบ ในภาคีภาคใต้ ให้ภาคีรวบรวมรูปธรรมความสำเร็จในพื้นที่ (ต้องมีพื้นที่รูปธรรม) มีปัจจัยใดที่ทำให้สำเสร็จ การเสริมสร้างความสำเร็จให้เเก่ภาคี มีอะไรเเละทำอย่างไรบ้าง ให้ไปถอดบทเรียน ก็จะทำให้เป็น ข้อนึง ที่สามารถนำำไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย (อ.กำไล)

ประเด็นโครงการย่อย
1. ปรับ ความล่าช้า โครงการย่อย = ต้องปรับขยายเวลา ..การสื่อสาร..การบริหารจัดการภาพรวมต้องปรับ 2. ในเเต่ละพื้นที่ควรเเสดงให้เห็นถึงจุดเน้นของเเต่ละพื้นที่ จริงๆ เพราะปัญหาเเต่ละพื้นที่มีปัญหาต่างกัน ต้องปรับ อ.วรรณา กุมารจันทร์ เสริม วางเเผนไว้ว่า จะจับเป็นโมเดลก่อน คือ โมเดลที่ว่า พัฒนาคุณภาพชีวิตโดยชุมชน โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (สามตำบล) โดยชมรม 3. เห็นปัญหา เรื่องกิจกรรมในโครงการ ส่วนใหญ่ก็เกิดจากปัญหาในพื้นที่ เเต่ปัญหาไหนอันดับ ไหน ทีมพี่เลี้ยง และวิชาการจะรู้ เเต่ด้วยความที่คิดว่าต้องครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ก็พยายามจะทำให้ครบทุกมิติ เเต่พอลงพื้นที่ไปสักระยะ และเจอโควิด ด้วยก็คงต้องปรับ ปัญหา: โควิด นัดยาก และลงไปช่วยเเล้วก็ไม่คืบหน้า รพ.สต.ก็ไม่มีเวลาตอบปัญหาหรือข้อมูลเราเลย ก็คงต้องเลือกกิจกรรมสำคัญ เท่านั้น เเต่เรื่อง NCDs นั้นมีทุกพื้นที่เเต่ที่ไหนมากน้อยไม่เท่ากัน (อ.จิราภรณ์)

ประเด็นเด็ก
1. ทำอย่างไรให้เห็นว่า การขับเคลื่อนประเด็นเด็ก เกิดจากโหนด ไม่ใช่งานประจำ 2. ประเด็นเด็กเเละเยาวชน ความยั่งยืนจะมีมากเเค่ไหนอย่างไร ต้องเริ่มทำความเข้าใจเริ่มคืนข้อมูลที่ได้ ระหว่างทางทำงาน เค้าจะได้เห็น เเละกับภาคยุทธ ก็ต้องนำผลที่ได้ระหว่างทางไป นำเสนอตลอด ไม่ต้องรอจบโครงการ (ดร.สันติ)

ประเด็นผู้สูงอายุ
ในส่วนผู้สูงอายุ ปัญหาหลักที่ล่าช้า เเละกลไกการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกับ ชุมชน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะ 1. เป็นพี่เลี้ยงใหม่ 2 เจอกันเฉพาะออนไลน์ การอธิบายเรื่องความเข้าใจการทำงานโหนดเเฟลกชิปไม่ชัดเท่าที่ควร 3.พี่เลี้ยงของเราส่วนใหญ่เป็น จนท.ด้านสุขภาพ ปัญหาที่เจอก็คือ พอโดวิดระบาด ทำให้เค้าทำเเต่งานโควิด ทำให้การรวมตัวยากมาก เเละลงพื้นที่ดูโครงการย่อยก็ไม่ได้ เราต้องมาดูว่าต้องทำอย่างไร ต้องปรับการทำงานอย่างไร ปรับกลไกการพัฒนาพี่เลี้ยงอย่างไร

สัมภาษณพี่เลี้ยงพื้นที่ NF นครฯ18 มีนาคม 2565
18
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Nuchi
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สัมภาษพี่เลี้ยงวิชาการ NF นครฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้้ยงวิชาการเข้าร่วมให้สัมภาษณ์ 2 ท่าน ในประเด็นเด็กเเละเยาวชน

กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship นครศรีธรรมราช (ทีมพี่เลี้ยงวิชาการ)17 มีนาคม 2565
17
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สัมภาษณ์บทบาทการทำงานของทีมพี่เลี้ยงวิชาการ โครงการ Node Flagship นครศรีธรรมราช ความเข้าใจต่อการทำงานของ Node Flagship

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับทราบบทบาทการทำงานของทีมพี่เลี้ยงวิชาการ โครงการ Node Flagship นครศรีธรรมราช รวมถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการทำงาน

กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship นครศรีธรรมราช (Core team)16 มีนาคม 2565
16
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สัมภาษณ์บทบาทการทำงานของ Core team โครงการ Node Flagship นครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับบทบาทการทำงานของ Core team โครงการ Node Flagship นครศรีธรรมราช รวมถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางการจัดการปัญหา

สัมภาษณ์ PM โครงการ NF นครศรีธรรมราช15 มีนาคม 2565
15
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Nuchi
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินทำการสัมภาษณ์ pm โครงการ NF นครฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปการสัมภาษณ์ Project Manager โครงการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565
ณ ห้องประชุมออนไลน์ zoom
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : ผู้สัมภาษณ์ ดร.จิราพร วัฒนศรีสิน : ผู้ให้สัมภาษณ์

ที่มาของการเข้าร่วมเป็น Project Manager
โครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการขับเคลื่อนองค์กรกลางร่วมสร้างเมืองคอนสู่ชุมชนสุขภาวะ โครงการนี้เป็นโครงการระยะที่ 3 ตัวเองเข้ามาร่วมโครงการในช่วงปลาย ใกล้จะปิดโครงการระยะที่ 2 ได้เข้าร่วมเวทีที่ทางสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ติดตามการดำเนินงานของ Node Flagship นครฯ เพื่อสรุปปิดโครงการ จึงได้มีส่วนร่วมในการสรุปประเมินผล การสรุปประเมินผลโครงการระยะที่ 2 พบว่า พื้นที่ได้ดำเนินการอย่างเข้มแข็ง เนื่องจากยังไม่มีสถานการณ์โควิด -19 ตอบบันไดผลลัพธ์ได้ เกิดพื้นที่ต้นแบบพัฒนาเครือข่ายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายเด็กและเยาวชน เพื่อขยายผลสู่พื้นที่ร่วมเรียนรู้ได้ ทางผู้ประเมิน สสส. ได้สอบถามประเด็นเรื่องพื้นที่ต้นแบบว่ามีกลไกอย่างไรที่เป็นรูปธรรม ปรากฏว่าการสรุปข้อมูลทำให้เห็นว่าข้อมูลความรู้ที่จะทำให้ผู้อื่นเห็นได้ยังขาดความครอบคลุม ผู้รับผิดชอบโครงการหลักต้องรับผิดชอบหลายหน้าที่ ดังนั้น ในระยะที่ 3 จึงได้มีการสอบถามตนเองว่าสามารถเข้ามาช่วยในหน้าที่ใดได้บ้าง หากจะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการคงไม่ได้เพราะไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ และไม่ได้ดำเนินการมาก่อน แต่จะช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการโครงการให้ได้ จึงเป็นที่มาของ Project Manager : PM ในการบริหารจัดการโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย ช่วงแรกของการเป็น PM ยังไม่ทราบว่าจะต้องทำอะไรบ้าง โอกาสดีที่ทาง สสส. ได้เรียกประชุม และคนที่ทำหน้าที่ PM เดิมของโครงการจะกลับต่างประเทศจึงได้ส่งมอบหมายให้ตนเอง จึงได้ประชุมร่วมกับ สสส. ช่วงการประชุม 2 วัน เป็นการไปแลกเปลี่ยนกันและได้ Timeline ของ สสส.

บทบาทของ Project Manager สำหรับบทบาทหน้าที่หลักของ PM คือ บริหารจัดการโครงการให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้น PM ต้องรู้เรื่องของโครงการ ศึกษาที่มาของโครงการ ทำไมต้องเลือกประเด็นผู้สูงอายุ และประเด็นเด็กและเยาวชน ดูเป้าหมายของโครงการ บันไดผลลัพธ์ตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้กับ สสส. เมื่อรู้ข้อมูลแล้ว ก็นำไปทำแผนเพื่อบริหารจัดการโครงการ โดยยึดตามวัตถุประสงค์ กระบวนการต่าง ๆ ของโครงการ เพื่อให้สอดรับกับ grant chart ของ สสส. ทาง สสส. จะออก Timeline ว่าช่วงเดือนไหนจะทำอะไร PM ก็ต้องรู้ว่า สสส. จะทำอะไรช่วงเดือนไหน แล้วนำไปแจ้งให้คณะทำงานโครงการทราบ บางเรื่องจะมอบให้ PM ดำเนินการติดตาม PM จึงมีหน้าที่ประสานติดตามเพื่อให้โครงการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ และสอดคล้องกับ grant chart ของ สสส.


Node Flagship คืออะไร
ตามการรับรู้ของตนเอง Node Flagship คือ เป็นเหมือนกลไกระดับจังหวัดที่ทำหน้าที่จัดการให้เกิดผลลัพธ์การดำเนินการใน 2 ประเด็นที่รับมา มีหน้าที่ติดตามให้เกิดกระบวนการตามแผนงานโครงการต่าง ๆ และสรุปผล ถอดบทเรียน ประสานเครือข่ายเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนระดับจังหวัด รวมทั้งประสานให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการย่อยในระดับพื้นที่ ระดับชุมชน ระดับตำบล ประสานระดับบน-ล่าง เพื่อนำเสนอเป็นนโยบายเข้าสู่ภาคียุทธศาสตร์ ไม่ได้ทำหน้าที่แทนจังหวัด แต่มีหน้าที่พัฒนากลไกต่าง ๆ และประสานภาคียุทธศาสตร์ระดับจังหวัด เชื่อมโยงกับภาคียุทธศาสตร์เพื่อให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการไปปรากฏในแผนระดับจังหวัด เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

มีวิธีการการเชื่อมระดับบน-ล่าง อย่างไร เนื่องจาก PM ไม่ใช่คนในพื้นที่ ไม่รู้จักภาคียุทธศาสตร์เป็นการส่วนตัว แต่รู้จักโครงสร้าง PM จึงมีหน้าที่สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนโครงการย่อย แล้วส่งข้อมูลไปยังประธานและที่ปรึกษาโครงการ รศ.ดร.อุไร จเรประพาฬ คณบดีสำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้อาจารย์อุไร ได้นำประเด็นที่เกิดขึ้นไปเชื่อมโยงกับภาคียุทธศาสตร์ในบทบาทต่าง ๆ เช่น นำเสนอแผนงานโครงการในระดับอำเภอและจังหวัด รวมถึงเมื่อมีโครงการในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดขึ้น PM มีหน้าที่ทำหนังสือแจ้ง Node ระดับตำบล เช่น แจ้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน โดยเฉพาะนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้รับทราบว่ามีแผนงานโครงการที่ขับเคลื่อนโดยคณะทำงานของโครงการ ซึ่งเป็นคณะทำงานย่อย เช่น ชมรมผู้สูงอายุ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุระดับตำบล ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เมื่อโครงการย่อยจัดกิจกรรม ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม นี่คือการเชื่อมระดับบน ส่วนการเชื่อมระดับล่าง คือ เมื่อคณะทำงานโครงการย่อยนำแผนงานโครงการไปดำเนินการ ประธานโครงการย่อยจะทำกิจกรรมต่าง ๆ PM มีหน้าที่ทำหนังสือแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ เชิญอาจารย์ฝ่ายวิชาการ พี่เลี้ยงพื้นที่ไปช่วยกิจกรรม รวมทั้งช่วยประสานการปรับแก้โครงการระหว่างโครงการย่อยกับพี่เลี้ยงวิชาการในการทำบันไดผลลัพธ์ สรุปคือ เป็นการเชื่อมคณะทำงานระหว่างโครงการย่อย และเชื่อมคณะทำงานโครงการย่อยกับชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การทำงานสอดคล้องกับบันไดผลลัพธ์
ตามความเข้าใจของตนเอง คิดว่า ทาง สสส. คาดหวังว่าข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์จากการทำงานโครงการ จะเข้าไปอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด และให้การสนับสนุนโครงการย่อยเพื่อให้เกิดความยั่งยืน การเชื่อมบนของโครงการ ไม่ใช่ ทำแล้วเอาไปเชื่อม แต่ทำมาตั้งแต่การเขียนโครงการที่สอดรับกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่

บทบาทของ PM กับพี่เลี้ยงวิชาการในการปรับเปลี่ยน Intervention เป็นอย่างไร เมื่อโครงการย่อยเขียนโครงการเสร็จเรียบร้อย PM มีหน้าที่รวบรวมส่งให้กับผู้ทรงคุณวุฒิที่ทาง สสส. ได้แต่งตั้ง เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้สะท้อนความคิดเห็น จากนั้นให้โครงการย่อยปรับแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้น สสส. ได้ทำ ARE ทีมพี่เลี้ยงวิชาการที่ดูแลประเด็นเด็กและเยาวชน ได้เล่าถึงสถานการณ์โควิด ทำให้มีข้อจำกัดในการทำงาน จึงได้รับคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ แต่งบประมาณคงเดิม

PM มีส่วนช่วยให้โครงการย่อยมีความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้อย่างไร หลังจากที่ได้รับการอนุมัติโครงการใหญ่เรียบร้อย จะทำการปฐมนิเทศพี่เลี้ยงพื้นที่ และพี่เลี้ยงวิชาการให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเอง เมื่อได้เข้าร่วม ARE กับ สสส. ทาง สสส. แจ้งว่าการกำหนดบันไดผลลัพธ์ไม่สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการย่อย พี่เลี้ยงวิชาการก็จะช่วยอธิบายทำความเข้าใจและช่วยกันปรับกับพี่เลี้ยงพื้นที่ จนโครงการผ่านการอนุมัติทุน ซึ่ง PM จะคอยช่วยประสานงานระหว่างพี่เลี้ยงวิชาการ พี่เลี้ยงพื้นที่ และโครงการย่อย

ใครเป็นผู้เขียนโครงการย่อย ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ซึ่งเป็นทีมพี่เลี้ยง ทีมวิชาการ ตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการใหญ่ ช่วยกันเขียน ชุมชนมีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรม แต่ทักษะในการเขียนโครงการยังทำได้ไม่ดีพอ จึงมีพี่เลี้ยงพื้นที่ คือ คนที่อยู่ในชุมชนนั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาจารย์โรงเรียน ช่วยสนับสนุนในการเขียนโครงการ

PM มีความคาดหวังต่อกลไกในพื้นที่อย่างไร เรื่องการเขียนโครงการ พื้นที่เป็นคนเขียน แต่พี่เลี้ยงวิชาการเป็นตัวช่วยหนุนเสริมให้สอดคล้องกับโครงการใหญ่ เมื่อตัวโครงการเรียบร้อยแล้ว พี่เลี้ยงในพื้นที่จะเป็นผู้กำกับดูแลให้เกิดการขับเคลื่อนในพื้นที่ ดังนั้น ไม่ต้องพูดถึงเรื่องความคาดหวัง เพราะเกิดความเชื่อมั่นมากว่าพี่เลี้ยงพื้นที่จะขับเคลื่อนโครงการย่อยให้บรรลุเป้าหมายได้แน่นอน เพราะเป็นกลไกที่มีภายในชุมชนเอง จึงเป็นกลไกที่เข้มแข็ง

Node Flagship ได้พัฒนาศักยภาพกลไกในพื้นที่อย่างไรบ้าง เริ่มจากการเรียนรู้ศักยภาพของพื้นที่ก่อน เพื่อให้รู้ว่าเราจะต้องไปหนุนเสริมเพิ่มเติมในเรื่องใด เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เราจะไม่ใช้คำว่าพัฒนาศักยภาพ เพราะเป็นการหนุนเสริมให้ศักยภาพที่พื้นที่มีอยู่เข้มแข็งมากขึ้น โดยจัดเวทีให้มีโอกาสได้ดึงศักยภาพตนเองออกมาใช้ และพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ต้นแบบจากระยะที่ 2 อยู่แล้ว เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ทาง Node ก็จะไปอุดช่องว่าง พัฒนาเพิ่มเติมส่วนที่ขาดให้

Node Flagship ได้พัฒนาศักยภาพเครือข่ายองค์กรกลางอย่างไรบ้าง 1. เริ่มจากทำความเข้าใจกับเครือข่ายองค์กรกลางก่อนว่าเป้าหมายที่ทาง Node Flagship ต้องการคืออะไร
2. พิจารณาความเป็นไปได้ของกิจกรรมที่เครือข่ายองค์กรกลางจัดทำขึ้น
3. Node Flagship รับทราบความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายองค์กรกลาง เพื่อจะได้ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ 4. มีการจัดทำเครื่องมือเพื่อติดตามประเมินผลการทำกิจกรรมของเครือข่ายองค์กรกลาง แต่จะหลีกเลี่ยงการใช้คำว่าประเมิน จะเป็นการเชิญมาเล่าการทำงานให้ฟัง มีการทำตารางให้เติมข้อมูลเพื่อดูว่าเขาทำอะไรไปบ้าง สถานการณ์เป็นอย่างไร สามารถประเมินผลลัพธ์ของตัวเองได้ว่าเป็นไปเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ และทาง Node จะได้รู้ว่าจะต้องเข้าไปช่วยปรับการทำกิจกรรมอย่างไร ส่วนใหญ่การดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายองค์กรกลางในพื้นที่ จะมีพี่เลี้ยงในพื้นที่เป็นตัวช่วยในการทำกิจกรรม และเป็นตัวกลางในการประสานขอความช่วยเหลือจาก Node เครือข่ายองค์กรกลางจะทำกิจกรรมตามโครงการของเขาเอง ทาง Node ไม่ได้ไปสั่งให้ทำ แต่จะไปสนับสนุนส่วนที่เขาขาด เพิ่มศักยภาพให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ได้ เช่น สอนการประชุมผ่านระบบออนไลน์ การใช้สื่อต่าง ๆ เช่น Youtube

PM คิดว่าศักยภาพของทั้ง 25 โครงการย่อยในขณะนี้ เป็นอย่างไร ได้มีการวางแผนว่าจะจัดเวทีสัญจรไปในพื้นที่เพื่อประเมินดูว่าโครงการย่อยสามารถดำเนินกิจกรรมได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ดังนั้น ตอนนี้จึงยังไม่สามารถตอบได้ว่าศักยภาพเป็นอย่างไร เพราะยังไม่เห็นสภาพการทำงานจริง ในส่วนของการทำกิจกรรม มั่นใจว่าโครงการย่อยทำได้แน่นอน แต่เรื่องของการรวบรวม ประเมินผลข้อมูล ยังต้องช่วยสนับสนุนโดยทีมพี่เลี้ยงพื้นที่ พี่เลี้ยงวิชาการ และมีการสร้างเครื่องมือ เพื่อช่วยให้เก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น เช่น แบบสอบถามกลางที่ชุมชนร่วมออกแบบชุดคำถามที่ตอบวัตถุประสงค์ของชุมชน และ Node จากนั้นทาง Node จะนำแบบสอบถามมาพัฒนาเป็นฐานข้อมูล ซึ่งตัวแบบสอบถามจะมีทั้งรูปแบบในระบบออนไลน์ สำหรับผู้ที่สะดวกเก็บผ่านมือถือ และแบบกระดาษ ให้เลือกใช้ตามความสะดวก

PM และ Node Flagship มีวิธีการอย่างไรให้โครงการรู้ว่าสามารถปรับโครงการย่อยให้สอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่ได้ ใช้วิธีให้พี่เลี้ยงพื้นที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารว่าสามารถปรับแก้ไขโครงการได้ตามสภาพปัญหาที่ได้เจอ พื้นที่ต้องการปรับอย่างไรก็ให้แจ้งทางพี่เลี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงปรึกษากับ Node ก่อน แล้วจึงปรับแก้ไข ทาง Node จะส่งข้อมูลการปรับโครงการให้กับทาง สนส. ต่อไป

ทาง Node Flagship จะส่งโมเดลให้กับภาคียุทธศาสตร์ใดบ้าง รศ.ดร.อุไร จเรประพาฬ ประเด็นเด็กและเยาวชน จะนำส่งไปที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยจะนำเสนอผ่านช่องทางการประชุมของจังหวัด ตอนนี้ที่ได้บรรจุในแผนแล้วเรียบร้อย คือ ศึกษาธิการจังหวัด
ประเด็นผู้สูงอายุ ที่ได้ดำเนินการระดับจังหวัด คือ เจรจากับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดท่านใหม่ เพื่อให้รับโมเดลต้นแบบไปขยายผลให้กับตำบลอื่น เจรจากับผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 11 ท่านใหม่ เพื่อหาช่องทางเข้าไปสู่แผนของเขตสุขภาพที่ 11 และคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่ 11 และจะนำเสนอกับทางพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อีกครั้ง รวมถึงกลุ่มจังหวัด

โครงการผู้สูงอายุ 18 โครงการ มีโครงการใดบ้างที่จะตอบผลลัพธ์ของ Node Flagship รศ.ดร.อุไร จเรประพาฬ จากทั้งหมด 25 โครงการ โครงการเด็กและเยาวชน 7 โครงการ จะไม่ค่อยกังวลเนื่องจากความเข้มแข็งของพื้นที่ ส่วนทีมอาจารย์จะต้องเพิ่มบทบาทในฐานะ Node ให้มากขึ้น ส่วนที่กังวล คือ โครงการผู้สูงอายุบางโครงการจาก 18 โครงการ เพราะเป็นชุมชนใหม่ ตำบลที่ไม่น่ากังวล คือตำบลต้นแบบ ได้แก่ ตำบลท่าเรือ ชุมชนบ้านวัดโหนด ชุมชนบ้านประดู่หอม ตำบลสามตำบล คิดว่าน่าจะดำเนินการไปได้ ส่วนตำบลร่วมเรียนรู้ 13 ตำบล บางตำบล เช่น บ้านประตูข้างออก อาจจะอ่อนในเรื่องข้อมูล แต่คิดว่าสุดท้ายแล้วก็น่าจะดำเนินการไปได้เช่นกัน

ดร.จิราพร วัฒนศรีสิน
บางโครงการของชุมชนร่วมเรียนรู้ที่ทาง อ.กุลทัต ไม่มั่นใจว่าจะสำเร็จได้ ทาง PM คิดว่าเป็นเพราะการหนุนเสริม การจัดเวที จากทาง Node อาจจะไม่มากพอ ซึ่งพื้นที่ร่วมเรียนรู้ยังต้องการการหนุนเสริมจากทาง Node จึงคิดว่าทาง Node จะต้องสนับสนุนเพิ่ม

มีการทำกระบวนการ ARE จำนวนกี่ครั้ง จากทั้งหมด 25 โครงการ ประเด็นผู้สูงอายุ ได้ทำไป 2 รอบ โครงการเด็กและเยาวชน ทำ ARE ทุกโครงการ โครงการละ 1 ครั้ง รวม 7 ครั้ง และให้ผู้รับผิดชอบโครงการ ทำ ARE กับพื้นที่แต่ละพื้นที่ เพื่อนำเป้าหมายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นจำนวนหลายครั้งมาก ๆ

ดร.เพ็ญ สุขมาก : ระดับความสำเร็จของโครงการย่อยในภาพรวมอยู่ในขั้นไหนของบันไดผลลัพธ์ พื้นที่ที่สำเร็จมากที่สุดของประเด็นผู้สูงอายุ น่าจะเป็นท่าเรือ อยู่ในขั้นที่ 2 ของบันไดผลลัพธ์ แต่ขั้นที่ 2 ยังไม่ครบทุกกิจกรรม เพราะกิจกรรมหยุดชะงักลงจากสถานการณ์โควิด ส่วนพื้นที่อื่นยังอยู่ขั้นที่ 1
ประเด็นเด็กและเยาวชน โรงเรียนอินทร์ธานี จะอยู่ในบันไดขั้นที่สำเร็จมากที่สุด ส่วนใหญ่ประเด็นเด็กและเยาวชนจะอยู่ในบันไดขั้นที่ 2 เกือบทั้งหมด
สำหรับข้อมูลประเด็นผู้สูงอายุ จะยังไม่เห็นข้อมูลมากนัก ทางผู้รับผิดชอบอาจจะต้องติดตามเพื่อส่งข้อมูลเข้ามา โดยสอบถามการทำงานไปยังคนทำโครงการย่อยโดยตรง หากรอพี่เลี้ยงพื้นที่ที่ติดภารกิจโควิดอาจจะล่าช้าไปอีก

ประชุมคืนข้อมูลผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา3 มีนาคม 2565
3
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินคืนข้อมูลผลการประเมินโครงการ ให้กับคณะทำงาน Node Flagship จังหวัดสงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อมูลผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา

ประชุมคณะทำงานเตรียมคืนข้อมูลผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา2 มีนาคม 2565
2
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินร่วมกันวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมประเมินมีข้อมูลข้อค้นพบในประเด็นต่าง ๆ จากการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา เสร็จสมบูรณ์พร้อมคืนให้กับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา

กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา (กลุ่มที่ 3 Project Manager)28 กุมภาพันธ์ 2565
28
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินสัมภาษณ์ Project Manager โครงการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดสงขลา เกี่ยวกับบทบาทการทำงานของ PM โครงสร้างการทำงานของ Node Flagship จังหวัดสงขลา การทำงานกับภาคียุทธศาสตร์ โมเดลต้นแบบของประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงเพื่อช่วยหนุนเสริมโครงการย่อย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมประเมินรับทราบปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และร่วมกันเสนอแนะแนวทางการแก้ไข และพัฒนาการทำงานให้มีความถูกต้องครอบคลุมตามวัตถุประสงค์โครงการ

กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา (กลุ่มที่ 2 Core Team)27 กุมภาพันธ์ 2565
27
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินสัมภาษณ์ Core Team โครงการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดสงขลา เกี่ยวกับแนวทางการทำงานของ Core Team การวางแผนแก้ปัญหาโครงการย่อย การทำงานกับพี่เลี้ยงโครงการย่อย โมเดลต้นแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เห็นภาพการทำงานของ Core Team การปรับตัวในการทำงานช่วงโควิด คุณค่าที่เกิดในการเสริมศักยภาพของคณะทำงาน/คนทำงาน อาจจะไม่ได้อยู่ในตัวชี้วัดบันไดผลลัพธ์ แต่เห็นถึงการไปเสริมศักยภาพให้ชุมชน มีองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นที่อาจจะไม่ได้ตกลงกับ สสส. แต่เกิดองค์ความรู้ในระดับปฏิบัติการ  เริ่มเห็นแนวโน้มผลลัพธ์ที่ชัดเจนขึ้นของทาง Node Flagship  และ Core Team ทราบว่าจะต้องมีการปรับการทำงานกับพี่เลี้ยงและโครงการย่อย

กิจกรรมการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา (กลุ่มที่ 1 ทีมพี่เลี้ยงวิชาการ)26 กุมภาพันธ์ 2565
26
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินสัมภาษณ์ทีมพี่เลี้ยงวิชาการ Node Flagship จังหวัดสงขลา เกี่ยวกับเป้าหมายการทำงานแบบ Node Flagship ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คาดหวัง ในมุมมองของทีมวิชาการ และบทบาทของทีมวิชาการ ใน Node Flagship จังหวัดสงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รับทราบความเข้าใจของทีมวิชาการ ใน Node Flagship จังหวัดสงขลา ที่มีต่อการทำงานแบบ Node Flagship และบทบาทการทำงานของทีมวิชาการ ใน Node Flagship จังหวัดสงขลา

ประชุมเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา22 กุมภาพันธ์ 2565
22
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินชี้แจงการกำหนดขอบเขตและแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา ให้กับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา รับทราบและเข้าใจขอบเขตและแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา

ประชุมเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช20 กุมภาพันธ์ 2565
20
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินชี้แจงขอบเขตและแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการให้กับคณะทำงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าใจขอบเขตและแนวทางการติดตามประเมินผลโครงการ

ประชุมปฐมนิเทศและทำความเข้าใจการดำเนินงาน “หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)” ประจำปี 256518 กุมภาพันธ์ 2565
18
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดการประชุมปฐมนิเทศและทำความเข้าใจการดำเนินงาน “หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)” ประจำปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดการดำเนินงานให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยจัดการและทีมประเมิน ในระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2565

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร เข้าร่วมการประชุมปฐมนิเทศและทำความเข้าใจการดำเนินงาน “หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)” ประจำปี 2565 ตามที่สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดขึ้น

ประชุมเวทีกลั่นกรองเพื่อร่วมพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช23 มกราคม 2565
23
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินและคณะทำงาน  Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกันพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประชุมเวทีกลั่นกรองเพื่อร่วมพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา18 มกราคม 2565
18
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา วางแผนการประเมินผลโครงการ พัฒนาและออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ รวมทั้งแก้ไขปัญหาการทำงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รับทราบแนวทางการทำงานร่วมกัน

ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา16 มกราคม 2565
16
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินร่วมกันพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงาน ครั้งที่ 1 “หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)”19 พฤศจิกายน 2564
19
พฤศจิกายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงาน ครั้งที่ 1 “หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)” จำนวน 8 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ และ2) เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียน ปัญหาอุปสรรคและเงื่อนไขข้อจำกัดในการดำนินงานที่ผ่านมา และนำมาปรับปรุงวางแผนการดำเนินงานของหน่วยจัดการในระยะเวลาโครงการที่เหลืออยู่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดร.เพ็ญ สุขมาก ,ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร และ นางสาวเยาวลักษณ์ ศรีสุกใส ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าผลลัพธ์การดำเนินงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา

ประชุมกลุ่มเพื่อทำร่างขอบเขตการประเมิน ร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 218 พฤศจิกายน 2564
18
พฤศจิกายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดทำร่างขอบเขตการประเมินโครงการ Node Flagship นครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช รับทราบขอบเขตการประเมินโครงการ

ประชุมกลุ่มเพื่อทำร่างขอบเขตการประเมิน ร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา9 พฤศจิกายน 2564
9
พฤศจิกายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา ร่วมกันจัดทำร่างขอบเขตการประเมินโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ร่างขอบเขตการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา

ประชุมกลุ่มเพื่อทำร่างขอบเขตการประเมิน ร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช2 พฤศจิกายน 2564
2
พฤศจิกายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกันจัดทำร่างขอบเขตการประเมินโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ร่างขอบเขตการประเมินโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประชุมเวทีกลั่นกรองในการประเมินร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช23 ตุลาคม 2564
23
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ วัตถุประสงค์การประเมิน ขอบเขตการประเมิน เครื่องมือการประเมิน ให้คณะทำงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับทราบ คณะทำงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช นำเสนอการดำเนินงานของ Node Flagship นครศรีธรรมราช

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช รับทราบวัตถุประสงค์โครงการ วัตถุประสงค์การประเมิน ขอบเขตการประเมิน เครื่องมือการประเมิน

ประชุมเตรียมเวทีกลั่นกรองในการประเมินร่วมกับคณะทำงานโครงการ Node Flagship จังหวัดสงขลา22 ตุลาคม 2564
22
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ วัตถุประสงค์การประเมิน ขอบเขตการประเมิน เครื่องมือการประเมิน ให้คณะทำงาน Node Flagship จังหวัดสงขลา ได้รับทราบ คณะทำงาน Node Flagship จังหวัดสงขลา นำเสนอการดำเนินงานของ Node Flagship สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน Node Flagship จังหวัดสงขลา รับทราบวัตถุประสงค์โครงการ วัตถุประสงค์การประเมิน ขอบเขตการประเมิน เครื่องมือการประเมิน

ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนรายละเอียดโครงการย่อย ทำแผน และมอบภารกิจของทีมโครงการ Node Flagship22 ตุลาคม 2564
22
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คณะทำงานร่วมกันทบทวนรายละเอียดโครงการย่อย ทำแผน และมอบภารกิจของทีมโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานเข้าใจรายละเอียดโครงการย่อย แผน และภารกิจของทีมโครงการ Node Flagship จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา

ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนรายละเอียดโครงการย่อย ทำแผน และมอบภารกิจของทีมโครงการ Node Flagship17 ตุลาคม 2564
17
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คณะทำงานร่วมกันทบทวนรายละเอียดโครงการย่อย จัดทำแผน และมอบภารกิจของทีมโครงการ Node Flagship

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีแผนการดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบโครงการ Node Flagship แต่ละจังหวัด

ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนรายละเอียดโครงการย่อย และทำแผนโครงการ การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาNode Flagship ในพื้นที่ภาคใต้ (สงขลาและนครศรีธรรมราช)11 ตุลาคม 2564
11
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีมประเมินร่วมกับคณะทำงาน ทบทวนรายละเอียดโครงการย่อย และทำแผนโครงการ การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาNode Flagship ในพื้นที่ภาคใต้ (สงขลาและนครศรีธรรมราช)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปรับปรุงรายละเอียดโครงการย่อย และทำแผนโครงการให้สมบูรณ์ขึ้น

ประชุมคณะทำงานเพื่อทบทวนเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และรายละเอียดของโครงการ Node Flagship20 สิงหาคม 2564
20
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คณะทำงานร่วมกันทบทวนเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และรายละเอียดของโครงการการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานเข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และรายละเอียดของโครงการการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)