task_alt

แผนงานกลางระบบอาหารประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการ จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ แผนงานกลางระบบอาหารประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการ จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา

ชุมชน จังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2562

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2560 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2562

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมเตรียมงานแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับทีมวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.00 - 16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงการทำโครงการประเมินแผนยุทธศาสตร์อาหารในจังหวัดนครศรีฯ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ทีมวิชาการ ม.วลัยลักษณ์เข้าร่วมเป็นทีมประเมินแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารของจังหวัดนครศรีฯ โดยใช้เครื่องมือ HIA ในการประเมิน และแบ่งการประเมินออกเป็น 3 เรื่อง คือ
  • 1.เรื่องความมั่นคงทางอาหาร รับผิดชอบโดย อ.ชุติมา รอดเนียม
  • 2.เรื่องอาหารปลอดภัย รับผิดชอบโดย อ.อุไร จเรประพาฬ
  • 3.เรื่องโภชนาการสมวัย รับผิดชอบโดย อ.นัยนา หนูนิล
  • กรอบในการประเมิน มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษานโยบาย แผน กิจกรรมของจังหวัด 2) ถอดบทเรียนจากโครงการชุมชนน่าอยู่ และโครงการชุมชนอื่น ๆ และ 3) ติดตามแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารใน 4 อปท. ซึ่งผลที่ได้จัดทำเป็นโมเดลและพัฒนาสู่ยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับทีมวิชาการ ม.วลัยลักษณ์หารือการทำโครงการประเมินแผนยทุธศาสตร์ระบบอาาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ทำจริง

  • อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ทำความเข้าใจแผนงานยุทธศาสตร์ระบบอาหารในโซนใต้กลาง ซึ่งในพื้นที่จังหวัดนครศรีฯ ได้ทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารใน 4 ตำบล ได้แก่ ต.หูล่อง อ.ปากพนัง ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา ต.ไสหร้าและเทศบาลตำบลจันดี อ.ฉวาง ทั้ง 4 ตำบลได้ร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ทีมวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ได้แลกเปลี่ยนการทำโครงการวิจัยประเมินแผนยุทธศาสตร์อาหารในระดับจังหวัด 

 

5 8

2. การประชุมหารือการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 13 ธันวาคม 2560 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหารือการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต
1. ได้แนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารตะดับจังหวัด คือ ทำยุทธศาสตร์จังหวัดให้ชัดเจนและผูดมัดกับงบจังหวัด จะเกิดการนำไปปรับใช้ โดยนัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาร่วมออกแบบและจัดทำร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ในวันที่ 18 ธันวาคม 2560 โดยมอบหมายให้ทางสำนักงานสาธารณสุขเป็นผู้ดำเนินการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. จัดตั้งทีมทำงานขึ้นมาเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และขับเคลื่อน ประกอบด้วย ทีมวิชาการ ฝ่ายยุทธศาสตร์ และฝ่าย สสจ. ให้อยู่ในกรรมการอาหารปลอดภัย
3. กลไกการทำงาน ประกอบด้วย อบจ.นครศรีฯ กรรมการอาหารปลอดภัย เครือข่ายประชาสังคม 4. เมื่อได้ยุทธศาสตร์ประกาศ และทำงานร่วมกับสำนักงานจังหวัดเพื่อให้ยุทธศาตสตร์สู่การดำเนินการ 5. จัดตั้งทีม สสจ. 1 ทีม ที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้เป็นทีมคณะทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับทีมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เริ่มประชุมเวลา 13.30 น. โดน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช นพ.บัญชา ค้าของ เป็นประธานดำเนินการประชุม และได้แจ้งเรื่องการทำงานร่วมกันในเรื่องแผนยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นได้จับมือกับ แพทย์แผนไทยในเรื่องกินผักอาหารเป็นยา และจับมือกับฝ่ายสิ่งแวดล้อมและฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคและทีมแพทย์ที่ทำเรื่องโรคเรื้อรัง และมีแนวทางการทำยุทธศาสตร์อาหารต้องทำร่วมกับสำนักงานจังหวัด
  2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเสนอแผนการดำเนินงานของแต่ละฝ่าย ดังนี้
  • 1) ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ทำวิจัยเรื่องสมุนไพรรักษาโรค และขยายผลสูุ่ชุมชน
  • 2) ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค ดูแลเรื่องอาหารปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตอาหาร การตรวจหาสารพิษในอาหาร
  • 3) ฝ่ายส่งเสริมโภชนาการสมวัย ดำเนินการคัดกรองโภชนการ ทำเรื่องสถานการณ์การกินนมแม่ พัฒนาสมวัยรับผิดชอบเรื่องเด็กปฐมวัย และดูแลเรื่องอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

3.อ.พงค์เทพ สูธีรวุฒิ ผอ.สจรส.ได้นำเสนอที่มาของการทำงานเรื่องอาหารปลอดภัย ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายกฤษฎา บุญราช ได้มอบหมายให้จัดทำยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา และต่อมาท่านผู้ว่าทรงพล สวาสดิ์ธรรม ได้มอบหมายให้ทบทวนยุทธศาสตร์ 5 ประเด็น และได้ดำเนินงานในจังหวัดสงขลา จนได้ยุทธศาสตร์อาหารจังหวัดสงขลา จึงมีแนวคิดขยายมาสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้เริ่มทำในระดับ อปท. 4 ตำบล คือ ตำบลหูล่อง อ.ปากพนัง ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา ต.ไสหร้า และเทศบาลตำบลจันดี อ.ฉวาง จนได้ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับตำบล และในปี 2561 จะขยายสู่แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับจังหวัด จึงเป็นที่มาของการประชุมในวันนี้

 

20 20

3. ประชุมทีมวิชาการเตรียมงานเวทีจัดทำแผนระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 17 ธันวาคม 2560 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนร่วมกับทีมวิชาการออกแบบเวทีจัดทำร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต 1. แผนงานวิจัยในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย ยังไม่เห็นกระบวนการของงานวิจัย HIA จึงได้ให้กรอบการเขียนงานและกระบวนการตามกรอบของาน HIA ดังนี้ - ขั้นตอนที่ 1 การกลั่นกรอง / ทำไมต้องทำการประเมิน : สถานการณ์อะไรที่เป็น Highlight จุดเด่น ทำไมต้องมีการประเมินและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์อาหารของจังหวัดนครศรีธรรมราชในแต่ละด้าน - ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดขอบเขต / จะประเมินอะไร : ตัวชี้วัดที่สำคัญที่แสดงถึงความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย จะเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดอย่างไร ด้วยใคร โดยเครื่องมืออะไร - ขั้นตอนที่ 3 การประเมิน / ลงมือประเมิน ใครทำ ที่ไหน อย่างไร : แผน มาตรการ โครงการ กิจกรรม ของรัฐ ท้องถิ่น โครงการชุมชน และอื่น ๆ มีผลต่อตัวชี้วัดอย่างไร - ขั้นตอนที่ 4 การทบทวนรายงานการประเมิน / ชุมชนตรวจทานคืนข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง : ช่วยกันวางเป้าหมาย วางแผน และพัฒนาข้อเสนอ - ขั้นตอนที่ 5 การติดตามและประเมินผล / การวางระบบกลไกการติดตามและแผน ยุทธศาสตร์ : วางระบบการติดตามและประเมินผล ระบบข้อมูล ระบบติดตามผลการดำเนินงานเพื่อเพื่อการทบทวนข้อมูลแผน โครงการ กิจกรรม 2. ทีมวิชาการจะดำเนินการปรับตามกรอบที่ได้เสนอแนะ และส่งร่างข้อเสนอโครงการให้ สจรส.ภายในเดือนธันวาคม 60 3. วางแผนการเป็นพี่เลี้ยงช่วยดำเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรี โดยให้ทีมวิชาการเป็นพี่เลี้ยงซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เรื่อง คือ 1) เรื่องโภชนาการสมวัย ให้ อ.นัยนา และยุทธนา 2) เรื่องอาหารปลอดภัย ให้ อ.อุไร จเรประพาฬ และ 3) เรื่องความมั่นคงทางอาหาร ให้ อ.ชุติมา รอดเนียม ซึ่งพี่เลี้ยง มีบทบาทช่วยดำเนินกระบวนการกลุ่ม ตั้งคำถาม ให้หน่วยงานที่มาร่วมให้ข้อมูลต่อร่างแผนยุทธศาสตร์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมทีมวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ เพื่อปรับร่างข้อเสนอแผนงานการวิจัยประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เรื่องระบบอาหารจังหวัดนครศรีฯ และวางแผนการเป็นทีมพี่เลี้ยงในเวทีจัดทำร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีฯ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • อ.อุไร และ อ.ชุติมา นำเสนอโครงร่างข้อเสนอแผนงานวิจัยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ประเด็นอาหารปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร
  • ออกแบบทีมวิชาการ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารที่จะจัดขึ้นในวันพรุ่งนี้

 

5 5

4. ประชุมเวทีระดมทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 18 ธันวาคม 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ประเด็น อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการสูงวัย ในระดับจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต ได้ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ทั้ง 3 ประเด็น มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  1. ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย ข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร (พื้นที่การทำเกษตร การทำประมง จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้ และการส่งเสริมทางด้านการเกษตรของภาครัฐ) มีกรอบยุทธศาสตร์ 8 ด้าน คือ 1) มีการคุ้มครองพื้นที่การเกษตรเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตโดยการจัดทำแผนผังแม่บท (โซนนิ่ง) ผังเมือง พื้นที่ที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ และเขตฟาร์มทะเล 2) ชุมชนพึ่งตนเองด้านอาหารในระดับชุมชน ครอบครัว 3) การฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน อาหารและสมุนไพรเป็นยา 4) ยกระดับ เพิ่มมูลค่าอาหารไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 5) บูรณาการเรื่องอาหารพื้นบ้าน สมุนไพรพื้นบ้าน ให้อยู่ในแผนการท่องเที่ยวของจังหวัดและแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์/แผนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน 6) จัดตั้งเป็น “ศูนย์การจัดการฐานทรัพยากรเพื่อความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย” ขึ้น ทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น 7) จัดระบบเพื่อรองรับความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤต 8) จัดระบบการสื่อสารสาธารณะทั้งภายในและภายนอกในการรณรงค์และขยายผลความมั่นคงทางอาหาร
  2. ประเด็นอาหารปลอดภัย มีกรอบยุทธศาสตร์ 7 ด้าน คือ 1) ทบทวนและร่วมกันผลักดันคณะกรรมการอาหารปลอดภัยของจังหวัด 2) ผลักดันมาตรฐาน GAP ที่เหมาะสมให้เป็นภาคบังคับทางกฎหมาย และเป็นข้อตกลงของชุมชนโดยเน้นระบบตลาดภายในจังหวัด ตลาดในห้างสรรพสินค้า และตลาดส่งออก 3) ผลักดันให้เกิดตลาดและร้านอาหารปลอดภัยและโภชนาการเพื่อสุขภาพ 4) รณรงค์สร้างกระแสให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของอาหารปลอดภัย และโภชนาการที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าวที่เกี่ยวข้อง 5) สร้างต้นแบบสำหรับการผลิตที่ได้มาตรฐานในระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดการปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบการ เกษตร ผู้ผลิต และผู้บริโภค 6) พัฒนากลไกการติดตามเฝ้าระวัง และคุ้มครองผู้บริโภคระดับท้องถิ่นที่เน้นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารให้กับผู้บริโภค 7) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลติดตามเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย (Information Center) ระดับจัง
  3. ประเด็นโภชนาการสมวัย มีกรอบยุทธศาสตร์ 10 ด้าน คือ 1) พัฒนาระบบข้อมูลสถานการณ์ด้านโภชนาการและสุขภาพในทุกพื้นที่ ทั้งระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น 2) ผลักดันให้เกิดขับเคลื่อนเรื่องโภชนาการสมวัยเข้าสู่แผนชุมชนและแผนท้องถิ่น 3)พัฒนารูปแบบการใช้นวัตกรรมด้านอาหารและโภชนาการให้เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ 4)  ประกาศให้ เรื่องอาหารของแม่ เป็นวาระของจังหวัด เพื่อให้เด็กได้รับการโภชนาการที่ดีและเพิ่มความสัมพันธ์ในครอบครัว 5) ส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการจัดการเรื่องโภชนาการในทุกกลุ่มอายุ 6) มีการพัฒนาเครื่องชี้วัดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประเมินภาวะโภชนาการอันเป็นผลของพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการที่ไม่ปกติ 7) สร้างและยกระดับบุคลากรรวมถึงอาสาสมัครต่างๆให้ทำงานด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และ โภชนาการสมวัย 8) ประกาศให้เรื่องอาหารของหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร เป็นวาระของจังหวัด 9) ผลักดันการแก้ปัญหาสารปรุงรส (โซเดียม น้ำตาล สารปรุงแต่งรส) เข้าสู่การจัดการในระดับชุมชน 10) บูรณาการงานวิจัยกับการสร้างเสริมภาวะโภชนาการในแต่ละกลุ่มวัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
  • 09.00 – 09.30 น. กล่าวความร่วมมือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดย นายแพทย์บัญชา ค้าของ  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • 09.30 – 10.00 น. นำเสนอตัวอย่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 10.00 – 12.00 น. แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นและจัดทำแผนยุทธศาตร์ระบบอาหาร กลุ่ม 1 เรื่องความมั่นคงทางอาหาร พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม : อาจารย์ชุติมา รอดเนียม สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กลุ่ม 2 เรื่องอาหารปลอดภัย พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม : ดร.อุไร จเรประพาฬ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กลุ่ม 3 เรื่อง โภชนาการสมวัย พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม : ผศ.ดร.นัยนา หนูนิล และ นายยุทธนา หอมเกตุ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 – 15.00 น. นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช และเติมเต็มแผนยุทธศาสตร์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 09.30 - 09.10 แนะนำหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม
  • 09.10 - 09.30 นำเสนอตัวอย่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สจรส.ม.อ.
  • 09.30 - 10.00 นายแพทย์ สสจ.กล่าวต้อนรับและกล่าวความร่วมมือในการทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีฯ
  • 10.00 - 11.30 แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ ดังนี้
  • กลุ่มที่ 1 ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มีพี่เลี้ยง อ.ชุติมา รอดเนียม หน่วยงานที่อยู่กลุ่มนี้ ประกอบด้วย สำนักงานประมง สำนักงานเกษตร และภาคประชาชน
  • กลุ่มที่ 2 ประเด็นอาหารปลอดภัย มีพี่เลี้ยง ดร.เพ็ญ สุขมาก หน่วยงานที่อยู่กลุ่มนี้ ประกอบด้วย ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.นครศรีฯ
  • กลุ่มที่ 3 ประเด็นโภชนาการสมวัย มีพี่เลี้ยง นายยุทธนา เกตุชุม และ อ.นัยนา หนูนิล หน่วยงานที่อยู่กลุ่มนี้ ประกอบด้วย ฝ่ายส่งเสริมและโภชนาการ สสจ. และ สนอ.ทุ่งใหญ่
  • 11.30 - 12.00 น. นำเสนอร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารในแต่ละประเด็น
  • 12.00 - 12.30 น. สรุปการประชุม และแนวทางการขับเคลื่อน

 

50 35

5. การประชุมพัฒนาโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ จ.พัทลุงปี 2561

วันที่ 23 มกราคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การประชุมพัฒนาโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ จ.พัทลุงปี 2561 วันที่ 23 มกราคม 2561 ณ วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

กิจกรรมที่ทำจริง

-

 

50 50

6. ประชุมทีมวิชาการหารือการทำวิจัยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ด้านแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหาโจทย์วิจัยการประเมินโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์พัทลุง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

อ.บุญเรือง ขาวนวล มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้การตอบรับเป็นทีมประเมินโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ โดยขอเอกสารจากทีม สจรส.ที่เกี่ยวข้องกับโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ เพื่อไปออกแบบกรอบการประเมิน โดยใช้ประเมิน HIA เป็นเครื่องมือ ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี งบประมาณ 150,000 บาท ดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมทีมวิจัยประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ด้านโครงการยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ จ.พัทลุง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมหารือการทำวิจัยประเมินโครงการยุทธศาตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ทำความเข้าใจกรอบการประเมิน งบประมาณที่สนับสนุน ระยะเวลา และทบทวนเอกสารยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

 

5 5

7. การประชุมนำเสนอโครงการวิจัยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) แผนยุทธศาสตร์ ระบบอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำเสนอแผนการดำเนินงานการประเมินงานยุทธศาสตร์อาหาร จ.นครศรีฯ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. แผนงานวิจัยทั้ง 3 ประเด็น ต้องปรับแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกับกรอบงานวิจัย HIA ที่ประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้
    1. Screening การกลั่นกรอง : ทำไมต้องทำการประเมิน
    2. Scoping ขอบเขต : จะประเมินอะไรบ้าง
    3. Appraisal ลงมือประเมิน :
    4. Public Review ทบทวนรายงาน ประเมินความถูกต้อง หรือไม่
    5. Decision Making ตัดสินใจ ข้อเสนอ: ทำ ทบทวน ปรับปรุง
    6. M & E ติดตามประเมินผล : เป็นไปตามที่วางไว้หรือไม่
  2. การประเเมินยุทธศาสตร์อาหาร ต้องครอบคลุม 3 อย่าง คือ ประเมิน นโยบาย ประเมินแผล และประเมินโครงการ
  3. แต่ละประเด็นทาง อ.พงค์เทพ ได้เขียนกรอบแนวคิด และข้อมูลที่ต้องประเมินให้ ซึ่งจะอยู่ในรูปภาพที่แสดง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำเสนอโครงการวิจัยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในโครงการระบบอาหาร ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ทำจริง

  • กล่าวเปิดการประชุมและชี้แจงกรอบการทำวิจัยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพยุทธศาสตร์อาหารจังหวัดนครศรีฯ โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สจรส.
  • แต่ละประเด็นนำเสนอแผนงาน ดังนี้ แผนงานวิจัยประเด็นอาหารปลอดภัย โดย ดร.รัชฎาภรณ์ จันทสุวรรณ แผนงานประเด็นความมั่นคงทางอาหาร โดย อ.ชุติมา รอดเนียม และแผนงานประเด็นโภชนาการสมวัย โดย ผศ.ดร.นัยนา หนูนิล
  • ให้ข้อเสนอโดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และ อ.เพ็ญ สุขมาก

 

20 22

8. ประชุมวางแผนการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์

วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 เวลา 17:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนการเพิ่มเติมร่างยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อนร่างยุทธศาสตร์สุ่จังหวัด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อาหารจังหวัด โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1. สสจ.สรรหาผู้เกี่ยวข้อง ส่งให้ทางสำนักงานจังหวัดจัดตั้งคณะทำงานโครงการอาหารปลอดภัย
  2. เชิญคณะทำงานมาให้ความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์ และปรับแก้ให่สมบูรณ์
  3. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น และนำร่างที่ปรับแก้ เข้าสู่เวทีระดับจังหวัดเพื่อส่งต่อให้หน่วยงานขับเคลื่อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับ สสจ.จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมหารือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อาหาร สู่งานระดับจังหวัด โดยในเบื้องต้นจะนำเข้าสู่สำนักงานจังหวัดเพื่อให้มีคำสั่งจากท่านผู้ว่าราชการ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการนำเข้าสู่แผนของแต่ละหน่วยงานให้เกิดการปฏิบัติการ

 

5 10

9. ประชุมคณะทำงานยกร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา

วันที่ 6 มิถุนายน 2561 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

แผนงานโครงการที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ที่บรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา บรรจุในแผนปฏิบัติงานของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

9999

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จังหวัดสงขลาได้มอบหมายให้สถาบันการจัดการระบบสุขภาพดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา โดยสถาบันฯได้นำแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาจังหวัดสงขลาปีพ.ศ.2561-2564 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะยาว จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2580 (อบจ.) และแผนหน่วยงานอื่นๆ มาประกอบการยกร่างแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ซึ่งในวันที่ 6 มิถุนายน 2561 ได้ระดมความคิดเห็นกับหน่วยงานราชการ เอกชน ได้แก่ สำนักงานจังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา สำนักงานศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16  โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ สำนักงานแรงงานจังหวัดสงขลา สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา หอการค้าจังหวัดสงขลาสมาคมเอสเอ็มอีไทยสงขลา โดยร่างแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลาจะแบ่งเป็น 6 ด้าน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้แก่ - ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง - ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน - ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ - ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม - ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ การประชุมครั้งนี้ ได้จัดทำข้อเสนอในยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยที่ประชุมมีข้อเสนอดังนี้ 1. จังหวัดสงขลา กำหนดนโยบายส่งเสริมการจัดกิจกรรมตามศาสนา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ในโรงเรียนทุกแห่ง ในจังหวัดสงขลา  เพื่อส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม
2. พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกิจกรรมในเครื่องแบบ เช่น ลูกเสือ  เนตรนารี  นักศึกษาวิชาทหาร ฯลฯ 3. การจัดระเบียบพระสงฆ์ทั้งระบบ กิจพึงปฏิบัติของสงฆ์ และสุขภาวะของพระสงฆ์ 4. การปลูกฝังค่านิยมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ
5. สร้างวินัยการเงิน  ปลูกฝังการออม ในเด็กนักเรียน  (เตรียมความพร้อมก่อนสูงอายุ) 6. ส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มอายุ 7. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านแรงงานอาชีพในระดับเด็กอาชีวะ เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมยางพาราและเศรษฐกิจพิเศษ
8. ส่งเสริมระบบสหกรณ์ ในสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมการออมในกลุ่มแรงงาน เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ / สหกรณ์จังหวัด 9. การพัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับอีวะ และอุดมศึกษา (วัยเรียน) การพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดสงขลา เช่น ยางพารา /ประมง/เกษตร 10. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านอาชีพอนามัยและความปลอดภัยแบครบวงจรในกลุ่ม (SME)  คือแรงงานที่ไม่เกิน 200คนในสถานประกอบการภาคการผลิตและกลุ่มสถานศึกษา กลุ่มสถานบริการ 11. โครงการส่งเสริมพัฒนาการจัดการศึกษาด้านปฐมวัยให้กับครูและผู้ดูแลเด็ก 12. พัฒนาการเรียนรู้เตรียมความพร้อมของหญิงวัยเจริญพันธุ์ เช่น โครงการหญิงไทยแก้มแดง (ป้องกันภาวะซีด) 13. อาหารกลางวันที่มีมาตรฐานคุณภาพให้กับศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน  ภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนไม่ผ่านเกณฑ์  /โครงการลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย (ลดอัตราตายของมารดา) /โครงการอาหารแม่เพื่อส่งเสริมโภชนาการในระดับชุมชน3. ช่วงวัยเรียน 14. พัฒนาส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือการผลิตและพัฒนากำลังคนในระดับจังหวัด ด้านภาษา/ด้านแรงงานการผลิต/ด้านอาชีพ 15. โครงการพัฒนา IQ , EQ ทุกช่วงวัย 16. โครงการพัฒนาการ (ทักษะชีวิต) คุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย เช่น ค่ายกลุ่มสัมพันธ์ เช่น สอนว่ายน้ำ /กีฬาประเภทต่างๆ 17. โครงการส่งเสริมสังคมคุณธรรม /กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมต่างๆ เช่น เข้าค่าย /เยี่ยมวัด/เวียนเทียน 18. ส่งเสริมกิจกรรมสภาเด็ก (ด้านจิตอาสา /ทักษะชีวิต/การป้องกันยาเสพติด ฯลฯ) 19. STEM ศึกษาในกลุ่มวัยเรียน 20. โครงการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้สมวัย เช่น ส่งเสริมความรู้ให้กับครูปฐมวัย /การจัดการระบบอาหาร มาตรฐานสุขาบาลในสถานประกอบการและสถานศึกษา /สถานพยาบาล เช่น ความรู้วินัยอุสาหกรรม /สารเคมี /อัคคีภัย /เครื่องจักร /ความสะอาดของโรงอาหาร/ห้องน้ำ /การปฐมพยาบาล/การดูแลสุขภาพ การส่งเสริมแหล่งจำหน่ายอาหารปลอดภัยในสถานประกอบการ 21.วัยผู้สูงอายุ เตรียมความพร้อมก่อนวัยผู้สูงอายุก่อนในกลุ่มแรงงาน / การดุแลสุขภาพ / การออม / อาชีพสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ไกด์ท้องถิ่น 22. โครงการอารยสถาปัตย์ (การพัฒนาพื้นที่ร้าง /ปรับพื้นที่ให้เหมาะสม กับผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น สวนสาธารณะ /ห้องน้ำ/ห้องสุขา ,ห้องอาบน้ำในแหล่งท่องเที่ยว/สถานที่ราชการ/หน่วยช่วยเหลือด้านสุขภาพ 23. พัฒนาจุดบริการด้านสุขภาพของจังหวัดในแหล่งท่องเที่ยว 24. พัฒนาส่งเสริมอาชีพด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มผู้สูงอายุ 25. พัฒนาสร้างจุดบริการด้านห้องสุขา /ห้องอาบน้ำ/น้ำดื่มสะอาดในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดสงลาให้ได้ระดับมาตรฐานสากล 26. ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญในสงขลา เช่น ทะเลสาบสงขลา/ล่องเรือเลสาบ /ย่านเมืองเก่า/วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น ฯลฯ
27. พัฒนากลุ่มโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว  /พัฒนาเครือข่ายชุมชนสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 28. พัฒนาระบบการขนส่ง /การเดินทางอย่างสะดวกไปยังแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดสงขลาและพัทลุง และเอื้อกับกลุ่มคนสูงวัย/คนพิการ 29. จัดตั้ง/ปรับปรุง ศูนย์บริการเสริมการเรียนรู้เรื่องภาษาต่างประเทศ ในจังหวัดสงขลา ให้ทุกคนเข้าถึงและใช้บริการ  (ทั้งปรับปรุงของเดิม /สร้างใหม่) 30. มีศูนย์ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการจัดการศึกษา
31. ส่งเสริมมาตรฐานการศึกษาที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกันในทุกระดับ 32.  โครงการผลิตครูรุ่นใหม่ เก่ง ดี มีคุณธรรม  โดยการสรรหาเด็กเก่ง ในพื้นที่ ให้ทุน กลับมาสอนในสถาบันการศึกษาในพื้นที่
33. การพัฒนาศักยภาพครู /ข้าราชการ ในจังหวัดสงขลา ตามหลักสูตร  effective personal productivity  โดยภาคธุรกิจ 34. โครงการพัฒนาช้างเผือก 35. หอศิลปวัฒนธรรมมีการส่งเสริมกิจกรรมท้องถิ่น/ระดับประเทศ เช่น หนังตะลุง /มโนราห์/การแสดงในรูปแบบต่างๆเพื่อส่งเสริมความรู้ในกลุ่มคนที่เก่งด้านการแสดง 36. โครงการพัฒนาขีดความสามารถ และศักยภาพของผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ เช่น ศิลปะ /กีฬา /การแสดง 37. จัดทำฐานข้อมูลรวบรวมผู้ที่มีความสามารถในด้านต่างๆ 38. ส่งเสริมให้ทุนการศึกษาผู้ที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ เช่น กีฬา วิทยาศาสตร์ ศิลปะ การแสดง ภาษาต่างประเทศ 39. โครงการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ สสจ. 3.5.1 (กลุ่มแม่ค้า ครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ประกอบอหารในโรงเรียน)โครงการศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนลดเกลือและน้ำตาล
40. โครงการพัฒนา application การคัดกรอง การดูแลตนเองจากภาวะซึมมเศร้าด้วยตัวเอง HL กลุ่ม สาธารณสุข ศึกษา ผู้นำชุมชน (กิจกรรมทางกาย อาหาร)หลักสูตร / application การจัดการความโกธรที่นำไปสู่การลดการใช้ความรุนแรง 41. พัฒนาโปรแกรม เครื่องมือส่งเสริมกิจกรรมทางกายในมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ 42. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทุกช่วงวัย ในโรงเรียน สถานที่ทำงาน 43. การเสริมสร้างเรื่องวินัยการเงินในคนรุ่นใหม่ ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่น 44. สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมการฝึกอาชีพ/ทำงานในช่วงหยุดภาคเรียนให้กับนักเรียน นักศึกษา 45. โครงการโรงเรียนพ่อแม่ 46. โครงการป้องกันตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ซึ่งสถาบันฯจะนำข้อเสนอสรุปเป็นโครงการที่จะต้องดำเนินการต่อไป

 

30 0

10. การประชุมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยโซนใต้กลาง

วันที่ 7 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทบทวนแผนกิจกรรมในประเด็นเด็กและเยาวชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ผลการประเมินงานสร้างสุขจากกลุ่มเยาวชน ให้ความเห็นว่า การทำงานของแต่ละเครือข่าย ยังยึดเอาหน้างานของตนเองเป้นหลัก ยังไม่ก้าวข้ามขีดจำกัด ตามหัวข้อของงาน และสิ่งที่อยากเห็นในปีถัดไป คือ การทำงานร่วมกันที่มีเป้าหมายร่วมกันอย่างชัด เพื่อที่จะได้ทำงานหนุนเสริมต่อกันได้
  2. ได้รายชื่อกลุ่มเครือข่ายที่ทำงานประเด็นเด็กในภาคใต้ เช่น กลุ่มลุกเหรียง กลุ่มป่าชายเลน กลุ่มวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละจังหวัดจะมีการทำงานด้านนี้อยู่ และแนวทางต่อไป คือ การเก็บข้อมูลสถานการณ์ของเครือข่ายว่าทำอะไรอยู่บ้าง
  3. ได้แผนงานขับเคลื่อน โดยในขั้นตอนแรกคือเก้บข้อมูลสถานการณ์ของแต่ละเครือข่าย แล้วทำ Mapping งานต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • 09.00 – 10.30 น. สรุปและประเมินผลการจัดงานสร้างสุขในประเด็นเด็กและเยาวชน
  • 1) การเตรียมงาน : กระบวนการขับเคลื่อนข้อเสนอปี 59 และแนวทางการดำเนินงาน
  • 2) การจัดงานสร้างสุข : กระบวนการในห้องย่อย
  • 3) วาระรูปแบบการจัดงานสร้างสุขในปี 62
  • 10.30 – 14.00 น. จัดทำแผนขับเคลื่อนข้อเสนอที่ได้จากงานสร้างสุขปี 62 ประเด็นสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
  • 14.00 – 14.30 น. สรุปและนัดหมายคณะทำงานในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประเมินผลจากการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ตั้งแต่กระบวนการก่อนเริ่มงาน กระบวนการวันงาน และแนวทางการเคลื่อนงานต่อไป
  2. ทบทวนกลุ่มเครือข่ายที่ทำงานในภาคใต้ และสถานการณ์การทำงานของแต่ละกลุ่ม
  3. ออกแบบแผนงานการขับเคลื่อนร่วมกันในประเด็นเด็กและเยาวชน

 

20 25

11. การประชุมองค์กร 15 ภาคี บริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 2 / 2561 วันที่ 16 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมหอประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยนำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา

วันที่ 16 มิถุนายน 2561 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

แผนงานโครงการที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ที่บรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา บรรจุในแผนปฏิบัติงานของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

9999

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การประชุมองค์กร 15 ภาคี บริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 2 /2561 วันที่ 16 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมหอประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยนำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา
ผู้มาประชุม 1.ผู้บริหารองค์กร 15 ภาคี บริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ 1.1 ศ.กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม ประธานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ ประธานการประชุม พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 1.2 นายบัญญัติ จันทน์เสนาะ    ประธานมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ 1.3 นายอำพล พงศ์สุวรรณ    แทนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 1.4 นายชิต สง่ากุลพงศ์    ประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา 1.5 นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์    นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา 1.6 นายอภินันท์ ศรีสมานุวัตร    แทนประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา 1.7 นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ    แทนประธานการค้าจังหวัดสงขลา 1.8 ดร.นิวัฒน์ สวัสดิ์แก้ว    แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 1.9 ดร.แสนศักดิ์ ศิริพานิช    แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 1.10 รศ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์    แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ 1.11 ผศ.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ    แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1.12 นายชยันต์ สังขไพฑูรย์    ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา

  1. ที่ปรึกษาองค์กร 15 ภาคี บริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ 2.1 นายสมนึก หนูเงิน    ประธานที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบจังหวัดสงขลา 2.1 นายประนอบ คงสม    ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลาในที่ประชุมระดับชาติ

ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายสามารถ วราดิศัย    เลขาธิการมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ 2. นายบัณลือเดช ทองนุ้ย    ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสงขลา 3. ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร    รองผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4.นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี    ผู้ประสานงานวิจัยสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5. นายทรงพล ทองผ่อง    เจ้าหน้าที่สภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา 6. นายสุรินทร์ นุ่นแก้ว    ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ โรงเรียนไทยคอม สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำเสนอการดำเนินงานการขับเคลื่อนแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ต่อที่ประชุมในระเบียบวาระที่ 3
การขับเคลื่อนแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลามีการดำเนินงาน ดังนี้ 1) กรอบแนวคิดการทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มี 2 หลัก ประกอบด้วย ปัจจัยกำหนดสุขภาพและสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา โดยมีระบบ /กลไก ภาพแวดล้อม และปัจเจกบุคคลเป็นตัวกำหนด ทำให้เกิดการร่วมมือกัน ซึ่งประกอบด้วย 1.1) พลังวิชาการโดยการประสานงานร่วมสร้างองค์ความรู้ 1.2) พลังสังคมได้จุดประกาย สานพลัง สานความร่วมมือเครือข่าย 1.3) พลังนโยบายเน้นการร่วมประสานและผลักดันนโยบาย     2) แนวทางการดำเนินการแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องสอดคล้องกับร่างยุศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะยาวจังหวัดสงขลา พ.ศ.2560 (อบจ.), แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา พ.ศ.2561 – 2562 รวมถึงแผนอื่นๆ ของหน่วยงาน เพื่อกำหนดคุณลักษณะ /แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยได้ดำเนินการดังนี้ 2.1) วิเคราะห์เปรียบเทียบยุทธศาสตร์ที่มี 2.2) ร่วมระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องเติมเต็มโครงการกิจกรรมตามร่างยุทธศาสตร์ชาติ 2.3) กำหนดคุณลักษณะของทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการ 2.4) กำหนดแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน 5 ช่วงวัย ตั้งแต่ในครรภ์ ถึงวัยสูงอายุ     3) ร่างแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ จากการประชุมระดมความคิดเห็น เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2561 ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีข้อสรุปเป็นแนวทางการพัฒนา ดังนี้

3.1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (Transformation of Cuiture) ข้อเสนอจากการประชุม (1) จังหวัดสงขลากำหนดนโยบายส่งเสริมการจัดกิจกรรมตามศาสนา ด้านคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนทุกแห่งเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม (2) พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกิจกรรมในเครื่องแบบ เช่น ลูกเสือ เนตรนารี นักศึกษาวิชาทหารฯลฯ         (3) จัดระบบพระสงฆ์ทั้งระบบ กิจพึงปฏิบัติของสงฆ์ และสุขภาวะของพระสงฆ์         (4) ปลูกฝังค่านิยมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ         (5) สร้างวินัยการเงิน ปลูกฝังการออม ในเด็กนักเรียน (เตรียมความพร้อมก่อนสูงอายุ)         (6) ส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มอายุ สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการรวบรวมสังเคราะห์ (Mapping) ค่านิยมร่วมและวัฒนธรรมของคนสงขลาจำแนกตามบริบทเมืองและชนบท จำแนกตามบริบทศาสนา (2) โครงการออกแบบหลักสูตรทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรม ตลอดจนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ เด็ก เยาวชน (3) โครงการพัฒนาศักยภาพให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนการขับเคลื่อนค่านิยมร่วมและวัฒนธรรมภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม         (4) โครงการรณรงค์เรื่องธรรมาภิบาลและการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในภาครัฐและภาคธุรกิจ (5) โครงการขับเคลื่อนค่านิยมร่วมและวัฒนาธรรมของคนสงขลา โดยใช้หลักธรรมของศาสนาโดยเฉพาะไทยพุทธและไทยมุสลิม (6) โครงการผลิตสื่อเพื่อการรณรงค์ให้ชุมชนมีความภาคภูมิใจในค่านิยมทางวัฒนธรรมของคนสงขลาโดยเครือข่ายสื่อสารมวลชน

        3.2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ข้อเสนอจากการประชุม         (1) ช่วงวัยแรงงาน   (1.1) พัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านแรงงานอาชีพในระดับอาชีวะเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมยางพาราและเศรษฐกิจพิเศษ   (1.2) ส่งเสริมระบบสหกรณ์ ในสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมการออมในกลุ่มแรงงานเช่น สหกรณืออมทรัพย์ /สหกรณ์จังหวัด       (1.3) พัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับอาชีวะและอุดมศึกษา (วัยเรียน)   (1.4) พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดสงขลา เช่น ยางพารา ประมง เกษตร   (1.5) โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านอาชีพอนามัยและความปลอดภัยแบบครบวงจรในกลุ่ม SME (แรงงานที่ไม่เกิน 200 คน ในสถานประกอบการภาคการผลิตกลุ่มสถาบริการและกลุ่มสถานศึกษา)         (2) ช่วงปฐมวัย   (2.1) โครงการส่งเสริมการพัฒนา การจัดการศึกษาด้านปฐมวัยให้กับครูและผู้ดูแลเด็ก   (2.2) พัฒนาการเรียนรู้เตรียมความพร้อมของหญิงวัยเจริญพันธุ์ เช่น โครงการหญิงไทยแก้มแดง (ป้องกันภาวะซีด)   (2.3) อาหารกลางวันที่มีมาตรฐานคุณภาพให้กับศูนย์เด็กเล็ก/ โรงเรียนภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ /โครงการลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย (ลดอัตราตายของมารดา)/ โครงการอาหารแม่เพื่อส่งเสริมโภชนาการในระดับชุมชน         (3) ช่วงวัยเรียน   (3.1) พัฒนาส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือการผลิตและการพัฒนากำลังคนในระดับจังหวัด ด้านภาษา ด้านแรงงานการผลิต และด้านอาชีพ   (3.2) โครงการพัฒนา IQ, EQ ทุกช่วงวัย   (3.3) โครงการพัฒนาการ (ทักษะชีวิต) คุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย เช่น ค่ายกลุ่มสัมพันธ์ เช่นสอนว่ายน้ำ กีฬาประเภทต่างๆ   (3.4) โครงการส่งเสริมสังคมคุณธรรม /กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมต่างๆ เช่น เข้าค่าย /เยี่ยมวัด /เวียนเทียน   (3.5) ส่งเสริมกิจกรรมสภาเด็ก (ด้านจิตอาสา /ทักษะชีวิต /การป้องกันยาเสพติดฯลฯ)   (3.6) STEM ศึกษาในกลุ่มวัยเรียน   (3.7) โครงการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้สมวัย เช่น ส่งเสริมความรู้ให้กับครูปฐมวัย /การจัดการระบบอาหารมาตรฐานสุขาบาล สถานพยาบาลในสถานประกอบการและสถานศึกษา เช่น ความรู้วินัยอุตสาหกรรม สารเคมี อัคคีภัย เครื่องจักร /ความสะอาดของโรงอาหาร ห้องน้ำ /การปฐมพยาบาล /การดูแลสุขภาพ   (3.8) ส่งเสริมแหล่งจำหน่ายอาหารปลอดภัยในสถานประกอบการ         (4) วันผู้สูงอายุ   (4.1) เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในกลุ่มแรงงาน การดูแลสุขภาพ การออม อาชีพสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ไกด์ท้องถิ่น   (4.2) พัฒนาส่งเสริมอาชีพด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น อาสาสมัคร (มีค่าตอบแทนเพื่อยังชีพ) ในกลุ่มผู้สูงอายุ   (4.3) โครงการอารยะสถาปัตย์ (การพัฒนาพื้นที่ร้าง /ปรับพื้นที่ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น สวนสาธารณะ /ห้องน้ำ ห้องสุขา ห้องอาบน้ำในแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ราชการ หน่วยช่วยเหลือด้านสุขภาพ)   (4.4) พัฒนาจุดบริการด้านสุขภาพของจังหวัดในแหล่งท่องเที่ยว   (4.5) พัฒนาสร้างจุดบริการด้านห้องสุขา /ห้องอาบน้ำ /น้ำดื่มสะอาดในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดสงขลาให้ได้ระดับมาตรฐานสากล
  (4.6) ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญในสงขลา เช่น ทะเลสาบสงขลา /ล่องเรือเลสาบ /ย่านเมืองเก่า /วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นฯลฯ   (4.7) พัฒนากลุ่มโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว /พัฒนาเครือข่ายชุมชนสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน   (4.8) พัฒนาระบบขนส่ง การเดินทางอย่างสะดวกไปยังแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดสงขลาและพัทลุง และเอื้อกับกลุ่มคนสูงวัย คนพิการ

สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการโรงเรียนเตรียมพ่อแม่ โดยความร่วมมือของสาธารณสุขจังหวัด สถานศึกษา กับสถานศาสนา เป็นการใช้หลักธรรมและหลักการสาธารณสุข (2) โครงการส่งเสริมนมแม่ในชุมชนและสถานประกอบการ (3) โครงการส่งเสริมโภชนาการตั้งแต่ตั้งครรภ์ ทารก เด็กเล็ก เด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน และผู้สูงอายุ (4) โครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายทุกช่วงวัย (5) โครงการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในกลุ่มเด็กเยาวชน (Start up) เพื่อให้เด็กเยาวชนก้าวสู่ Global citizens (6) โครงการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ จำแนกตามแต่ละกลุ่มวัยและแต่ละกลุ่มอาชีพ (7) โครงการส่งเสริมให้แต่ละหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และใช้มาตรการการลดหย่อนภาษีให้หน่วยงานเอกชนที่มีแผนสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้กับบุคลากรของหน่วยงาน (8) โครงการพัฒนาฝีมือและทักษะให้กับแรงงานทั้งภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม (9) โครงการพัฒนาความพร้อมสู่สังคมสูงวัย (10) โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงวัย

        3.3) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformation of Learning) ข้อเสนอจากการประชุม (1) จัดตั้ง /ปรับปรุง ศูนย์บริการเสริมการเรียนรู้เรื่องภาษาต่างประเทศในจังหวัดสงขลา ให้ทุกคนเข้าถึงและใช้บริการ (ทั้งปรับปรุงของเดิม /สร้างใหม่) (2) มีศูนย์ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการจัดการศึกษา (3) ส่งเสริมมาตรฐานการศึกษาที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกันในทุกระดับ (4) โครงการผลิตครูรุ่นใหม่ เก่ง ดี มีคุณธรรม โดยการสรรหาเด็กเก่งในพื้นที่ ให้ทุน กลับมาสอนในสถาบันการศึกษาในพื้นที่ (5) การพัฒนาศักยภาพครู/ ข้าราชการ ในจังหวัดสงขลา ตามหลักสูตร effective personal productivity โดยภาคธุรกิจ

สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการพัฒนาแบบการเรียนรู้ใหม่ (New learning platform) ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบตลอดชีวิต (Life long learning) (2) โครงการพัฒนาระบบการเรียนรู้ดิจิตอลออนไลน์ (Digital online) โดยมีหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาความรู้ทักษะความสามารถในแต่ละช่วงวัยและแต่ละสาขาอาชีพ (3) โครงการจัดตั้งกองทุนและศูนย์วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (4) โครงการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในทุกระดับจัดทำแผนปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (5) โครงการจัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้ภาษาไทย จีน อังกฤษ มลายู ในพื้นที่พหุวัฒนธรรม (6) โครงการขยายผลการศึกษา Active Learning และ STEM ศึกษาในระดับขั้นพื้นฐานของรัฐ เพื่อพัฒนาบุคลากรแกนนำด้าน Active Learning และ STEM ศึกษาและเป็นการยกระดับคุณภาพผู้เรียน (7) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ในจังหวัดสงขลา ตามหลักสูตร effective personal productivity

        3.4) การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents) ข้อเสนอจากการประชุม (1) โครงการพัฒนาช้างเผือก (2) หอศิลปะวัฒนธรรมมีการส่งเสริมกิจกรรมท้องถิ่น /ระดับประเทศ เช่น หนังตะลุง มโนราห์ /การแสดงในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ในกลุ่มคนที่เก่งด้านการแสดง (3) โครงการพัฒนาขีดความสามารถ และศักยภาพของผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ เช่น ศิลปะ /กีฬา /การแสดง (4) จัดทำฐานข้อมูลรวบรวมผู้ที่มีความสามารถในด้านต่างๆ (5) ส่งเสริมให้ทุนการศึกษาผู้ที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ เช่น กีฬา วิทยาศาสตร์ ศิลปะ การแสดง ภาษาต่างประเทศ สรุปโครงการ 4 ปี
(1) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งความเป็นเลิศ เป็นโครงการรวบรวมและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและรักษากลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ ในด้านต่างๆ ในระดับตำบล (2) โครงการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนการสร้างกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ (3) โครงการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวศึกษา และโรงเรียน มีกองทุนส่งเสริมการพัฒนานักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษ (4) โครงการจัดทำ Human Mapping ซึ่งเป็นแผนที่แสดงถึงศักยภาพของคนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ ในแต่ละพื้นที่

        3.5) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ข้อเสนอจากการประชุม (1) โครงการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ สสจ. 3.5.1 (กลุ่มแม่ค้า ครอบครัว ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน) โครงการศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนลดเกลือและน้ำตาล (2) โครงการพัฒนา application การคัดกรอง การดูแลตนเองจากภาวะซึมเศร้าด้วยตนเอง HL กลุ่ม สาธารณสุข ศึกษา ผู้นำชุมชน (กิจกรรมทางกาย อาหาร) หลักสูตร /application การจัดการความโกรธที่นำไปสู่การลดการใช้ความรุนแรง (3) พัฒนาโปรแกรมเครื่องมือส่งเสริมกิจกรรมทางกายในมือถือหรือคอมพิวเตอร์ (4) ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทุกช่วงวัย ในโรงเรียน สถาที่ทำงาน สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพชุมชน ให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) โดยเฉพาะการส่งเสริมป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยชุมชน (2) โครงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น การสร้างวัฒนธรรม และค่านิยมร่วมของชุมชนในการจัดการปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะเรื่องสุรา บุหรี่ สารเสพติด (3) โครงการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งสามารถจัดการระบสุขภาพชุมชนได้โดยชุมชนเอง โดยเฉพาะเรื่องการจัดการระบบข้อมูลสุขภาพชุมชน การจัดทำแผนสุขภาพของชุมชน และการเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการโครงการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (4) โครงการสร้างและพัฒนาศักยภาพของกลไกอาสาสมัครด้านสุขภาพ เช่น มีอาสาสมัครด้านสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าว มีอาสาสมัครสุขภาพของศาสนสถาน มีการจัดทำเครือข่ายอาสาสมัครสุขภาพของชุมชน (5) โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะทางด้านสุขภาพ เช่น การจัดทำธรรมนูญสุขภาพในระดับตำบล ในระดับอำเภอ และในระดับจังหวัด การจัดให้มีสมัชชาสุขภาพเพื่อเป็นพื้นที่ของการพัฒนานโยบายสาธารณะสุขภาพ ตลอดจนการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนนโยบายทุกนโยบายที่เอื้อต่อสุขภาพ

        3.6) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย ข้อเสนอจากการประชุม (1) การเสริมสร้างเรื่องวินัยการเงินในคนรุ่นใหม่ ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่น (2) สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมการฝึกอาชีพ/ ทำงานในช่วงหยุดภาคเรียนให้กับนักเรียน นักศึกษา (3) โครงการโรงเรียนพ่อแม่ (4) โครงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการส่งเสริมให้ครัวเรือนใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางสำคัญในการวางแผนการดำเนินชีวิตและมีการใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือในการว่างแผนเศรษฐกิจของครัวเรือน (2) โครงการอาหารของแม่ เป็นการส่งเสริมให้ครอบครัวมีการจัดหาอาหาร มีการปรุงอาหาร และมีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้อาหารเป็นสื่อกลางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูก ศาสตราจารย์กิตติกุล ดร.วิษณุ เครืองาม ประธานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีข้อสังเกตว่า แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรเน้นพิจารณา 6 ด้าน เป็นองค์ประกอบ คือ สุขภาพอนามัยตามช่วงวัย การศึกษา การกีฬา การอาชีพ คุณธรรม จริยธรรม และความด้อยโอกาส (ปัญหาของทรัพยากรมนุษย์บางประเภทที่เกิดกับวัยต่างๆ ทำให้ชาติต้องเสียทรัพย์) โดยใช้ศักยภาพความพร้อมในด้านวิชาการ (มหาวิทยาลัย) และองค์กรภาคีเครือข่าย

 

20 0

12. การประชุมเพื่อชี้แจงการรายงานผลกิจกรรมของโครงการและการจัดทำรายงานการเงินผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 19 มิถุนายน 2561 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงขั้นตอนการจัดทำรายงานบนเว็บไซต์และการบริหารจัดการการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. ทีมคณะทำงานที่เข้าร่วมเข้าใจขั้นตอนการรายงานกิจกรรมบนเว็บไซต์ และได้รายงานกิจกรรมจำนวน 1 กิจกรรม คือ กิจกรรมอบรมการใช้เว็บในวันนี้

ผลลัพธ์

  1. ผู้ที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลในเว็บไซต์เคยเป็นพี่เลี้ยงในโครงการชุมชนน่าอยู่ จึงเข้าใจขั้นตอนการรายงานบนเว็บไซต์ได้เร็ว และทำได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงการรายงานผลกิจกรรมทางเว็บไซต์ และทำความเข้าใจการบริหารจัดการการใช้เงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ชี้แจงและอธิบายการจัดทำรายงานบนเว็บไซต์ โดย น.ส.ฮามีด๊ะ หวันนุรัตนื
  • สอนขั้นตอนการทำรายงาน พร้อมกับฝึกปฏิบัติการบันทึกบนเว็บไซต์ โดยนายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ
  • ชี้แจงระเบียบการเบิกจ่ายของ สสส.และการจัดทำเอกสารการเงิน โดย น.ส.ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
  • ฝึกปฏิบัติการรายงานกิจกรรมในวันนี้ และสอบถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้เว็บ
  • สรุปและนัดหมายติดตามโครงการในครั้งต่อไป

 

15 22

13. การประชุมติดตามและพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยโซนใต้กลาง

วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุนในพื้นที่โซนใต้กลาง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้เห็นปัญหาการดำเนินงานของคณะทำงานในโครงการต่อยอดวัฒนธรรมฯ มีความล่าช้า และต้องปรับแผนให้ทันกับช่วงเวลาที่เหลือ
  2. ได้นำเสนอโครงการแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สงขลา
  3. ได้เครือข่ายที่คณะทำงานเพิ่มเติม โดยมีทีมสภาภาคพลเมืองเข้ามาช่วยขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีฯ
  4. ได้รายงานข้อมูลแผนทรัพยากรมนุษย์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการโซนใต้กลาง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมติดตามสนับสนุนโครงการต่อยอดวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ วันที่ 7 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก อ.สทิงพระ จ.สงขลา
  2. การประชุมเตรียมความพร้อมในการชี้แจงงบประมาณต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างข้อเสนอโครงการ วันที่ 10 กรกฎาคม 2561 ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา
  3. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสภาพัฒนาเมืองนครภาคพลเมือง วันที่ 15 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมปลัดจังหวัดชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. การประชุมอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการปี 2563 วันที่ 23 สิงหาคม 2561 ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

20 20

14. ประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา

วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

แผนงานโครงการที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ที่บรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา บรรจุในแผนปฏิบัติงานของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พัฒนาแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา โดยใช้กรอบยุทธศาสตร์ชาติเป็นหัวข้อหลักในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ การประชุมในครั้งนี้ใช้การระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องประชุมสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพได้ระดมความคิดเห็นกับสำนักงานจังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา สำนักงานศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ สำนักงานแรงงานจังหวัดสงขลา สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา หอการค้าจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยจัดทำร่างยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดเพิ่มเติมในประเด็นที่ยังไม่ดำเนินการ จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง 1. การจัดการบุคลากรด้านการจัดการสาธารณภัย ก่อน ระหว่าง หลัง เกิดเหตุ 2. ความหลากหลายทางชีวภาพ ความสะอาด คุณภาพน้ำ ระบบนิเวศน์ พฤติกรรมชุมชนโดยรอบร่วมกันจัดการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน การมีส่วนร่วม (การบูรณาการ หนุนเสริม) 3. ควบคุมการจับสัตว์น้ำ มีมาตรกร กฎ กติกา สร้างความตระหนักในการใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำ (ทบทวนมาตรการทางกฎหมายการใช้เครื่องมือการจับสัตว์น้ำที่ไม่เหมาะสม) 4. ปัญหายาเสพติด พฤติกรรมเด็ก เยาวชน ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยี
5. แผนที่เขตชายแดนไทย มาเลเซีย (ความมั่นคงชายแดน) จัดการขอบเขตให้ชัดเจน ป้องกันการหลบหนีเข้าเมือง ติดตาม ตรวจสอบ เข้มงวด 6. แรงงานต่างด้าว แรงงานนอกระบบ ควบคุม กาจัดการด้านสาธารณสุข การควบคุมโรค (กฎหมายแรงงานต่างด้าว แรงงานนอกระบบ) 7. ศูนย์ควบคุมแรงงานประมงจังหวัดสงขลา ให้ความรู้แก่แรงงาน พัฒนาศักยภาพแรงงานนอกระบบ (การจับสัตว์น้ำ สุขภาพ) 8. ควบคุม กำกับ รณรงค์ให้สถานประกอบการ (แรงงานต่างด้าว) พัฒนาศักยภาพแรงงาน ควบคุม ดูแล จัดการด้านสุขภาพ 9. แรงงานผิดกฎหมาย จัดการให้ลงทะเบียน เข้าสู่ระบบให้ครอบคลุม 10. ความมั่นคงทางอาหาร 2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 1. การแข่งขันภาคการเกษตร ได้แก่
- การทำเกษตรผสมผสาน - การจัดตั้งศูนย์ตลาดเกษตร /ตลาดพืชผล - การแปรรูปสินค้าเกษตร /การสร้างตลาดวิถีชุมชน - การจัดทำผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ - พัฒนาองค์ความรู้ด้านการตลาด
- พัฒนาศักยภาพให้กับเกษตรกรด้าน การดึงคนรุ่นใหม่สานต่องานเกษตรกรรม
- พัฒนาศักยภาพด้านการรวมกลุ่มในชุมชน เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่ม แม่บ้าน /การแปรรูปสินค้าเกษตร /การจัดหาตลาด /กลุ่ม Smart Farmer
- สร้างกระบวนการจัดการผลผลิตการเกษตร ตั้งแต่ต้นทาง (ผลผลิต) กลางทาง (ตลาด การแปรรูป การออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างแพ็คเกต) และปลายทาง (ผู้บริโภค) - การหาพื้นที่รวบรวมและขายสินค้าเกษตร - สร้างการเรียนรู้ให้การเกษตรแบบครบวงจร ตั้งแต่หน่วยผลิต การส่งเสริม และช่องทางการจำหน่าย การแปรรูป และการบรรจุภัณฑ์ - ส่งเสริมบทบาท (ศบกต.) ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล ให้มีการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริง และมีการทำงานอย่างจริงจัง ซึ่งมีการจัดตั้งทุกตำบล และมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ที่ดำเนินงานพัฒนาเกษตรในพื้นที่ระดับท้องถิ่น มีงบสนับสนุนจาก อบท. และหนุนเสริมงาน ศบกต. ด้านการบริหารจัดการ (การจัดทำตลาด การหนุนเสริมชาวบ้านในพื้นที่ การจัดการงบการเงิน) เพื่อให้เป็นแบบอย่างดับตำบลอื่น - จัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตรใน จ.สงขลา เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำเลสาบ พื้นที่ชายแดน พื้นที่เกษตร (นาข้าว ผลไม้) พื้นที่เศรษฐกิจ และหนุนเสริมการจัดทำโครงการให้เหมาะสมกับบริบทของโซน
- ส่งเสริมสร้างตลาดผลไม้ท้องถิ่น (ทุเรียน มังคุด มะม่วง) ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดน เช่น มาเลเชีย สิงคโปร์ - จัดทำเอกลักษณ์ตลาดพื้นบ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการเกิดตลาดชุมชน เช่น ตลาดผลไม้ - จัดทำข้อมูลสถานการณ์ สังเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตรเพื่อทำแผนส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดผลไม้ท้องถิ่นและอื่น ๆ
- พัฒนาส่งเสริมระบบอาหารเกษตรอินทรีย์ เช่น พัฒนาอาหารฮาลาลที่ ครบวงจร และอาหารที่ปลอดสารพิษ - สร้างทัศนคติที่ดีต่อแนวคิดการทำเกษตร เช่น กล้าทดลองสิ่งใหม่ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง เทคนิคทางการเกษตร เทคนิคการสร้างคุณภาพให้ผลผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า - การฟื้นฟูภูมิปัญญาการทำเกษตรดั้งเดิม
- ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้เกษตรกรจากอาชีพเสริมได้แก่ โครงการแก้จนเกษตรกร 4.0 ให้กับกลุ่มชาวสวนยางปลูกผักเพิ่มรายได้ 2. การแข่งขันและสร้างเอกลักษณ์การท่องเที่ยว - ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เชิงอนุรักษ์ที่เข้ากับอัตลักษณ์ของคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา - พัฒนาการคมนาคมการท่องเที่ยว เช่น รถโดยสารที่เข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยว - พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสร้างให้เกิดสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ - ส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น กิจกรรมอาหาร กิจกรรมอีเว้น ให้กับชาวต่างชาติ และระบบบริการนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวกับต่างชาติ - ส่งเสริม ปรับปรุง พัฒนา แหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ให้ได้มาตรฐาน (เส้นทาง ความสะอาด) - จัดหมวดแหล่งท่องเที่ยวในสงขลา เช่น แหล่งธรรมชาติ แหล่งสปา (นวดผ่อนคลาย) แหล่งฟิตเนส ตลาดเอกลักษณ์ ห้าง แหล่งเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม แหล่งความรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรม - ศึกษาข้อมูลจุดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจัดทำแผนการแข่งขันการท่องเที่ยว
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดัน ดูแล ดำเนินการ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดให้ได้มาตรฐานและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว - พัฒนาหมู่บ้านที่มีเอกลักษณ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม
- สร้างมูลค่าผ้าเกาะยอ ผ้าทอกระแสสินธ์ ให้หน่วยงาน /นักวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบลายผ้าให้ทันสมัย หลากหลาย ให้มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ของสงขลา และสร้างงานหัตกรรมอื่น ๆ เช่น กระเป๋า ของใช้ ของที่ระลึก เป็นต้น - จัดทำประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการใช้ผ้าเกาะยอและผ้าพื้นบ้านอื่น ๆ
- ต่อยอดรณรงค์การใช้ผ้าทอท้องถิ่น ให้เป็นชุดแต่งกายประจำจังหวัด - มีการแนะแนวอาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษาเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพให้ตรงกับตลาดแรงงาน

  1. ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
    1. หน่วยงานส่งเสริมอาชีพในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
    2. โครงการติดตามเด็กด้อยโอกาสให้เข้าสู่ระบบตามการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    3. การติดตาม จัดเก็บข้อมูลของนักเรียนเพื่อให้เข้าถึงระบบการศึกษาทั้งในระบบ และ กศน. โดย สนง.เขตพื้นที่การศึกษา (ใช้หลักสตูลโมเดล)
    4. พม.มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเด็กนอกระบบ (เด็กพิการ) นำร่องในตำบลบ่อยางและ ต.เขารูปช้าง เพื่อนำไปทำแผนฟื้นฟูช่วยเหลือและมอบให้หน่วยงานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องนำไปแก้ไขดำเนินการ ในภาคใต้นำร่องใน จ.สงขลา และชุมพร
    5. โครงการพัฒนาอาชีพ ของ พม.ช่วยผู้มีรายได้น้อย
    6. โครงการพิเศษ ของ พม.สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพสำหรับผู้มีรายได้น้อย ในวงเงิน 15,000 บาท
    7. ส่งเสริมกลุ่มสตรี (สตรีหม้าย) มีศูนย์ฝึกอาชีพสตรีภาคใต้ใน จ.สงขลา ตามหลักสูตรตั้งไว้
      ผู้สูงอายุ
    8. สนับสนุนเงินกู้ให้กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมอาชีพโดยไม่มีดอกเบี้ย กลุ่มคนพิการ
    9. สนับสนุนทุนกู้ยืมประกอบอาชีพในวงเงิน 60,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย
    10. ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ความเสมอภาค ตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทางเลือกทั้ง 2 เพศ ในการดำเนินชีวิต เช่น การสมัครงานที่ระบุเพศชาย
  2. ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    1. การจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (คน = ความรู้ในการจัดการ) (ชุมชน = มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการ) (นโยบายสาธารณะ กฎ กติกาชุมชน กฎหมาย อปท.) (โครงสร้างพื้นฐาน ความปลอดภัย)
    2. ขยะฐานศูนย์ สร้างค่านิยมร่วม สร้างจิตสำนึกในการจัดการสิ่งแวดล้อม คัดแยกขยะครัวเรือน จัดหลักสูตรการจัดการขยะในเด็ก เช่น ท้องถิ่นกับการจัดการขยะ ผ้าป่าขยะ ลดขยะโดยนำภาชนะไปเอ
    3. ทะเลสาบตื้นเขิน อนุรักษ์จัดการป่าต้นน้ำ (ลดการใช้สารเคมี) ลดการตัดไม้ทำลายป่า
    4. ควบคุม ดูแล การจัดการโพงพาง โฮมเสตย์ (การบังคับใช้กฎหมาย สร้างกฎ กติกา ข้อตกลง) การเมืองเกี่ยวข้อง จัดระเบียบ การจัดการการปล่อยน้ำเสีย ของเสียลงสู่แหล่งน้ำของโฮมเสตย์
    5. การจัดการการท่องเที่ยว water front การท่องเที่ยววิถีชุมชน ท่องเที่ยวทางน้ำ (คูเต่า)
    6. การบำบัดน้ำเสีย (ริมชายฝั่ง) บำบัดน้ำเสียทั้งระบบ น้ำเสียจากครัวเรือน
    7. พลังงานทดแทน ทบทวนกฎหมายการติดตั้งโซล่าเซล ความร่วมมือกับ กฟฝ. ลดขั้นตอนการขอติดตั้งโซล่าเซล การติดตั้งโซล่าเซลมีข้อจำกัดมาก
    8. การใช้พลังงานโซล่าเซลในครัวเรือน
    9. การศึกษาความคุ้มค่า คุ้มทุนในการใช้พลังงานทดแทน (โซล่าเซล) ระเบียบการใช้พลังงานทดแทน (ศาลากลางมีโซล่าเซล)
    10. หน้าบ้าน่ามอง ทุกครัวเรือน จัดประกวด อปท.จัดรางวัล
    11. การใช้พื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียว เพื่อสุขภาวะ (ออกกำลังกาย)
    12. แต่งตั้ง อาสาสมัคร ดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้
    13. พัฒนาศักยภาพคน สร้างผลิตภัณฑ์จากขยะ ประกวด ให้รางวัล ครอบคลุมทุกระดับ
    14. สร้างจิตสำนึก ปรับพฤติกรรม โดยการประกวด ให้รางวัล ทั้งในสถานศึกษา หน่วยบริกานสาธารณสุข ตลาด
    15. การจัดการขยะในทะล แหล่งน้ำต่าง ๆ
    16. ควบคุม ดูแล การจัดการโพงพาง โฮมเสตย์ (การบังคับใช้กฎหมาย สร้างกฎ กติกา ข้อตกลง) การเมืองเกี่ยวข้อง จัดระเบียบ การจัดการการปล่อยน้ำเสีย ของเสียลงสู่แหล่งน้ำของโฮมเสตย์
    17. พลังงานทดแทน ทบทวนกฎหมายการติดตั้งโซล่าเซล ความร่วมมือกับ กฟฝ. ลดขั้นตอนการขอติดตั้งโซล่าเซล การติดตั้งโซล่าเซลมีข้อจำกัดมาก
  3. ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
    1. ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แสดงความคิดเห็น ต่อการแผนพัฒนาของภาครัฐ ที่จัดขึ้นในเวทีต่าง ๆ
    2. ใช้ระบบ IT ทันสมัยเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เช่น การบริการประชาชนรวดเร็ว ได้มาตรฐานสากล และข้อมูลเชื่อมโยงกันทุกจังหวัด
    3. จัดมาตรฐานระบบบริการในแต่ละงาน เพื่อบริการประชาชนได้ดี กระจายแหล่งบริการลงไปในพื้นที่ชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
    4. พัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ด้านการทำงาน มีเป้าหมายภาระงานที่ชัดเจน มีการนำระบบอำนวยความสะดวกเข้ามาใช้
    5. พัฒนาระบบการติดตามตรวจสอบประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ และสะท้อนการทำงานเพื่อพัฒนาคนทำงานให้ดีขึ้น
    6. มีหน่วยตรวจสอบการติดตามประเมินผลการทำงานของบุคลากร
    7. สร้างมาตรฐานการประเมินของหน่วยงานให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเข้ามาประเมินเพื่อปรับปรุงได้
    8. การบริหารจัดการประเมินผลในองค์กรเพื่อปรับปรุงระบบบริหารภาครัฐ ซึ่งสถาบันฯจะนำข้อเสนอสรุปเป็นโครงการที่จะต้องดำเนินการต่อไป

 

30 0

15. ประชุมจัดตั้งคณะทำงานโครงการบริหารจัดการระบบอาหารปลอดภัย

วันที่ 17 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดตั้งคณะทำงานโครงการอาหารปลอดภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต 1. มีคำสั่งจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ 1107/2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศร๊ฯ ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน นายก อบจ.เป็นรองประธาน และให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการและคณะทำงาน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีม สสจ.ประชุมเรื่องการจัดหาคณะทำงานในโครงการอาหารปลอดภัยเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การดำเนินการจริง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมสรรหาหน่วยงาน องค์กร และภาคประชาชน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานโครงการบูรณาการการอาหารปลอดภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • จัดทำรายชื่อส่งให้ทางสำนักงานจังหวัด เพื่อให้ท่านผู้ว่าราชการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน 

 

5 5

16. การประชุมพัฒนาโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ จ.พัทลุงปี 2561 ณวิทยาลัยภูมิปัญญาพัทลุง มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  • วิทยาลัยภูมิปัญญาพัทลุง ได้รายงานถึงความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ว่าในขณะนี้จังหวัดพัทลุงได้บรรจุเรื่องตลาดเกษตรอินทรีย์ ในงานทำบุญขวัญข้าวจังหวัดพัทลุงโดยตั้งงบประมาณ 500,000 บาท และการสนับสนุนโครงการจัดตั้งห้องแลป ม.ทักษิณ โครงการจัดตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์
  • สำหรับเกษตรกรกลุ่มปันแต มีการดำเนินกิจกรรมรวมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ขณะนี้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้รับรองมาตรฐานออแกนิกไทยแลนด์  กิจกรรมในกลุ่มมีการแปรรูปข้าวอินทรีย์เป็นเครื่องสำอาง  การพัฒนาจุลินทรีย์ท้องถิ่น การพัฒนาปุ๋ยพืชสด การพัฒนาศักยภาพกลุ่มด้านมาตรฐาน  กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้เครือข่ายเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สิ่งที่น่าพัฒนาต่อ คือ หลักสูตรการเรียนรู้ในแต่เรื่อง (การปรับปรุงดิน พันธุ์ข้าว การจัดการน้ำ การจัดการปุ๋ย) เพื่อให้สมาชิกสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
  • สำหรับการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ในปี 2561-2562 วิทยาลัยภูมิปัญญา ได้เสนอแผนการดำเนินงาน ดังนี้
  1. พัฒนามาตรฐาน GPS  (ข้าว) ( นำร่อง 6 กลุ่มตามภูมินิเวศน์) ด้าน มาตรฐานการรับรองกลุ่ม มาตรฐานการรับรองแบบกลุ่มระดับจังหวัดและสมาคมผู้บริโภค เพิ่มเรื่องประเพณีขวัญข้าวเป็นเรื่องราวในมาตรฐาน GPS และมาตรฐานออแกนนิกไทยแลนด์
  2. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ตำบลปันแต ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์
  3. การติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง ด้าน ทบทวนแผนยุทธศาสตร์จังหวัด เตรียมโครงการเข้าสู่แผนจังหวัด และติดตามประเมินมาตรฐานโรงสีข้าว GMP อย่างน้อยปีละ 2 โรง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมพัฒนาโจทย์วิจัย การจัดทำโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงปีที่ 2 และการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ ณ บ้านปันแต อ.ควนขุน จ.พัทลุง
  • อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ จากวิทยาลัยภูมิปัญญา ได้รายงานความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง
  • แลกเปลี่ยนและหารือการจัดทำศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์บ้านปันแต
  • สรุปผลการสนับสนุนงบประมาณการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวและการส่งแผนการทำกิจกรรม

 

40 0

17. ประชุมภาคีเครือข่ายโซนใต้กลางติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ และประชุมเตรียมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้

วันที่ 2 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานของเครือข่ายทีมติดตามประเมินผลโซนใต้กลาง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้รายงานผลการประเมินงานสร้างสุขภาคใต้ โดย อ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย สรุปผลได้ว่า เครือข่ายมีความพึงพอใจมากต่อการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ในภาพรวมก่อนจัดงาน และระหว่างจัดงาน ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมงานสร้างสุข ได้รับความรู้ที่นำกลับไปใช้ในพื้นที่ได้
  2. ได้หารือเพื่อหาเป้าหมายร่วมในการจัดงานสร้างสุขปี 2562 คือ ผู้มาร่วมงานได้ประโยชน์อะไรจากงาน และธีมงานต้องเป็นประเด็นปัญหาของสังคม
  3. ได้แผนการดำเนินงานร่วมทั้ง 4 ประเด็น
  4. รูปแบบการจัดงานและประเด็นร่วมในปี 2562 สรุปได้ว่า "โจทย์การขับเคลื่อนในพื้นที่ มี 5 เรื่อง ที่สำคัญ คือ"

- 1. การสร้างความรู้ การยกระดับความรู้สู่นวัตกรรม - 2. การพัฒนาศักยภาพและการสร้างเครือข่าย (พื้นที่เรียนรู้ที่ปฏิบัติการอยู่ไปถอดบทเรียน) - 3. พื้นที่ปฏิบัติการนำร่อง - 4. การขยายพื้นที่ - 5. การขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ 5. การขยายเครือข่ายงานสร้างสุขปี 2562 ได้แก่ 1) ภาควิชาการ : เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ (เครือข่ายมหาวิทยาลัย โรงเรียน) 2) ภาคท้องถิ่น : เครือข่ายสันนิบาตเทศบาล (เทศบาล สมาคม อบต.) 3) กขป.+สช. 4) พชอ. (กระทรวงสาธารณสุข) 5) สปสช. (กองทุนสุขภาพตำบล) 6) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) 7) โหนด สสส. และ 8) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน 6. สถานที่จัดงานสร้างสุขปี 2562 มี 2 แห่ง ที่ยังไม่สรุป คือ ศูนย์ประชุมนานาชาติ ม.อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี 7. นัดหมายประชุมครั้งต่อไป ในวันที่ 9 ก.ย.61

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • 09.00 - 09.20 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของการจัดประชุมและการจัดทำแผนขัยเคลื่อนข้อเสนอปี 61
  • 09.20 - 10.00 น. ภาพรวมการจัดงานสร้างสุขปี 2561 การประเมินผลและแนวทางการจัดงานสร้างสุขในปีถัดไป
  • 10.00 - 11.00 น. แ่บ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม ตามประเด็นทบทวนข้อเสนอปี 61 และปรับแผนตามข้อเสนอสู่การปฏิบัติการ ดังนี้
  1. ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเด็นการท่องเที่ยวเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ ประเด็นการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน)
  2. ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ (ประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยง และประเด็นสุขภาวะเด็ก เยาวชน)
  3. ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ (ประเด็นกลไกระบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และ ประเด็นการแพทยพหุวัฒนธรรม)
  4. ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร (ประเด็นเกษตรกรรมเพื่อสุขภาพ และ ประเด็นชุมชนน่าอยู่)

- 11.00 - 12.00 น. นำเสนอแผนขับเคลื่อนข้อเสนองานสร้างสุข กลุ่มละ 10 นาที และให้ข้อเสนอโดยภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุม - 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง - 13.00 - 15.00 น. สรุปรูปแบบการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ และกำหนดประเด็นร่วมของงานปี 2562

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 09.00 - 09.20 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของการจัดประชุมและการจัดทำแผนขัยเคลื่อนข้อเสนอปี 61
  • 09.20 - 10.00 น. ภาพรวมการจัดงานสร้างสุขปี 2561 การประเมินผลและแนวทางการจัดงานสร้างสุขในปีถัดไป
  • 10.00 - 11.00 น. แ่บ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม ตามประเด็นทบทวนข้อเสนอปี 61 และปรับแผนตามข้อเสนอสู่การปฏิบัติการ ดังนี้
  1. ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเด็นการท่องเที่ยวเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ ประเด็นการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน)
  2. ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ (ประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยง และประเด็นสุขภาวะเด็ก เยาวชน)
  3. ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ (ประเด็นกลไกระบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และ ประเด็นการแพทยพหุวัฒนธรรม)
  4. ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร (ประเด็นเกษตรกรรมเพื่อสุขภาพ และ ประเด็นชุมชนน่าอยู่)

- 11.00 - 12.00 น. นำเสนอแผนขับเคลื่อนข้อเสนองานสร้างสุข กลุ่มละ 10 นาที และให้ข้อเสนอโดยภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุม - 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง - 13.00 - 15.00 น. สรุปรูปแบบการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ และกำหนดประเด็นร่วมของงานปี 2562

 

50 45

18. ติดตามสนับสนุนโครงการย่อยโครงการต่อยอดวัฒนธรรมอาหารสงขลา

วันที่ 7 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ติดตามสนับการดำเนินโครงการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การต่อยอดวัฒนธรรมอาหารในคาบสมุทรสทิงพระ 1. ต้องสร้างจุดขายให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น “โหนด นา เล” 2. จัดกิจกรรมเที่ยว 1 วัน 1 ตำบล เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในแต่ละชุมชน 3. คนในชุมชนต้องมีความร่วมมือกันและต้องสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนที่เพื่อเป็นการกระจายรายได้ 4. ผลิตภัณฑ์ในแต่ละชุมชนต้องมีจุดขายที่แตกต่าง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ดำเนินการปรับแผนการดำเนินงานโครงการต่อยอดวัฒนธรรมอาหารคาบสมุทรสทิงพระแบบบูรณาการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ชชชชชชช

 

20 0

19. เข้าร่วมประชุมร่วมกับสภาพัฒนาเมืองนคร ภาคพลเมือง

วันที่ 15 สิงหาคม 2561 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสังเกตุการณ์การทำงานของทีมสภาพัฒนาเมืองนคร ภาคพลเมือง และหาเครือข่ายขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีฯ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบประเมินแผนยุทธศาสตร?

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สรุปการหารือและผลการติดตามงาน "นครเมืองศูนย์อาหารปลอดภัยอละครัวโลก" ดังนี้
  1. นครเมืองศูนย์อาหารปลอดภัยได้เสนอผ่าน พรบ.แล้ว มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานแล้ว แต่ยังไม่มีการประชุม ซึ่งทาง สสจ. และ สจรส.ม.อ. จะเข้าหารือกับท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นายขจรเกียรติ) ก่อน แล้วจะกำหนดวันจัดประชุมคณะกรรมการหลังจากนี้ เป้าหมายสำคัญของงานนี้ คือ นครเมืองอาหารปลอดภัย เตรียมการโดย สสจ.นครศรีฯ ต้องขับเคลื่อนผลักดันในระดับจังหวัด
  2. เรื่องอาหารได้ร่างยุทธศาสตร์ และภาคพลเมืองจะผลักดันเข้าสู่จังหวัด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดทำ 1) แนวทางสร้างพฤติกรรมผู้บริโภคตั้งแต่วัยเด็ก 2) เชื่อมโย เรื่องอาหารกลางวันที่ผลิตในท้องถิ่น และ 3) เรื่องโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการ
  3. สรุปแนวทาง ว่า

- ภาคพลเมืองผลักดันเข้าสู่จังหวัด - สสจ.คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบ - คุยกับภาคประชาชนและภาคราชการกำหนดนโยบายจากข้่างบน และเสนอว่าถ้าทำเรื่องนี้ให้สำเร็จต้องผลักดันให้เป็นนโยบายระดับสูง - หาพลังกำหนดรูปแบบเพื่อให้ราชการทำ - เสนอให้ผลักดันเรื่องอาหารในโรงเรียน ถ้าผลักดันในนามศึกษาธิการจังหวัด วุฒิอาสา ธนาคารสมอง สาธารณสุข สภาประชาชนจังหวัดนครศรีฯ ผลักดันสู่ระดับจังหวัดให้ขับเคลื่อนได้ 4. ข้อเสนอจากปลัดจังหวัดนครศรีฯ "จะทำอย่างไรให้เรื่องนี้เป็นรูปธรรม เช่น โครงการผลไม้โรงเรียน เรื่องเกษตรปลอดภัย / ผลักดันเกษตรอินทรีย์
- กระบวนการ คือ อย่าเขียนโมเดลแต่ให้ประชาชนเกิดความต้องการเอง
- สร้างต้บแบบอาหารสมวัย หาโรงเรียนต้นแบบที่มีอาหารกลางวันดี ๆ
- ความมั่นคงทางอาหาร สร้างต้นแบบเกษตรปลอดภัยที่ มทร.ศรีวิชัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เข้าร่วมประชุมร่วมกับทีมสภาพัฒนาเมืองนคร ภาคพลเมือง เพื่อสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็น โดยมีวาระประชุม ดังนี้
  1. ความก้าวหน้าโครงการบรรเทาและป้องกันอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามพระราชดำริ โดยผู้อำนวยการโครงการ
  2. นครเมืองศูนย์อาหารปลอดภัยอละครัวโลก โดย สสจ.นครศรีฯ
  3. ความก้าวหน้าเรื่องการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในบรมธาตุเจดีย์ที่ อ.ทุ่งสง โดยนายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง
  4. ติดตามเรื่องประตูเมืองไชยศักดิ์ โดย ผศ.ตรีพล เจาะจิตต์
  5. โครงการการรักษาแบบประคับประคอง โดย อ.ศักดิ์พงษ์ และทีมงานอุ่นไอรัก
  6. ติดตามความก้าวหน้าโครงการต่าง ๆ ที่เสนอ โดยสภาพัฒนาเมืองนครภาคพลเมือง

 

30 30

20. การประชุมร่วมกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหารือการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์อาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดผลเชิงรูปธรรม ดังนี้
  1. จัดประชุมคณะกรรมการอาหารตามคำสั่งที่ได้รับการแต่งตั้ง เพื่อชี้แจงและหาแนวทางดำเนินการร่วมกัน ในวันที่ 18 กันยายน 2561 ณ โรงแรมทวินโลตัส โดยทาง สสจ.เป็นคนออกหนังสือเชิญ และให้เชิญท่านรองผูู้ว่าราชการจังหวัด (นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์) เป็นประธานดำเนินการประชุมดังกล่าว และในวันนั้นจะนำร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารเข้าทบทวนในที่ประชุมกรรมการฯ
  2. จัด work shop ทีมคณะกรรมการ เพื่อสร้างการเรียนรู้และมอบหมายภาระงานที่บรรจุยุทธศาสตร์ให้เข้าสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการนำไปปฏิบัติการจริง ในวันที่ 24 - 25 ตุลาคม 2561 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหัวหน้าฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าพบนายขจรเกียรติ รักษาพานิชมณี (รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช) เพื่อหารือการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในจังหวัดนครศรีฯ และแนวทางการดำเนินงานให้เกิดการปฏิบัติการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

10 7

21. การประชุมคณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 18 กันยายน 2561 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมคณะทำงานโครงการบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช
    ประธานคณะทำงานได้มีมติให้แก้ไขคำสั่งโดยแต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติม ดังนี้ ๑) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานคณะทำงาน ๒) ให้สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) เป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยเลขานุการ ๓) เพิ่มประธานชมรมร้านอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นคณะทำงาน ๔) เพิ่มสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้เป็นคณะทำงาน ๕) เพิ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นคณะทำงาน ๖) เพิ่มนายอำเภอทุกอำเภอเป็นคณะทำงาน ๗) เพิ่มบริษัทประชารัฐเป็นคณะทำงาน และมีข้อเสนอจากที่ประชุมต่อการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ดังนี้ ๑) ให้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการระบบอาหารชุดเล็ก ๓ ด้าน คือ อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหาร ๒) การทบทวนองค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานเรื่องอาหาร เช่น การกำจัดศัตรูพืช การจัดหาตลาด ยกตัวอย่างการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดสงขลา จะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมดำเนินงาน เช่น ประเด็นโภชนาการสมวัยร่วมกับสำนักงานท้องถิ่นจัดอบรมโปรแกรมเมน Thai School Lunch ให้กับโรงเรียนสังกัดท้องถิ่น ประเด็นความมั่นคงทางอาหารร่วมกับคณะทรัพยากรธรรมชาติและ สนง.เกษตรและสหกรณ์ หนุนเสริมการปลูกพืชร่วมยางและเกษตร ๑ ไร่ ๑ แสน ในกลุ่มเกษตรกรเป็นต้น และมีมติให้แก้ไขชื่อคณะกรรมการในคำสั่ง โดยแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนี้ ๑) ปรับชื่อคณะกรรมการ จาก คณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “คณะทำงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช” ๒) สภาหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช”
    ๓) สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช” ๔) สภาการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช” ๕) สภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช”
    ๖) เจ้าของบริษัทซิลเวอร์เบเกอรี่แอนด์ฟู้ด จำกัด (ตัวแทนโรงงานผลิตอาหาร) แก้เป็น “ผู้จัดการบริษัทซิลเวอร์เบเกอรี่แอนด์ฟู้ด จำกัด” ๗) เจ้าของร้านอาหารครัวน้ำชุบ (ตัวแทนร้านอาหาร) แก้เป็น “ผู้จัดการร้านอาหารครัวน้ำชุบ” ๘) เจ้าของตลาดปิ่มเพชร (ผู้แทนเจ้าของตลาดเอกชน) แก้เป็น “ผู้จัดการตลาดปิ่มเพชร”

2.ทบทวนร่าง (๑) ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ ประธานคณะทำงานทบทวนร่างยุทธศาสตร์ มีข้อเสนอต่อการดำเนินงานต่อร่างยุทธศาสตร์ ดังนี้ ๑) ปรับ พ.ศ.ในร่างยุทธศาสตร์จากเดิม พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ แก้เป็น “ร่าง (๑) ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๖” ๒) ให้เพิ่มข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหาร ก่อนจะเข้าหมวดยุทธศาสตร์ในแต่ละประเด็น ๓) ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (หน้าที่ ๑) ในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร หัวข้อสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหารของจังหวัดนครศรีธรรมราช มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัด และ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ตรวจสอบข้อมูลตัวเลขให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน โดยเอาข้อมูลล่าสุดมาปรับใส่ในร่างยุทธศาสตร์ ๔) ข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร ให้เพิ่มเติมข้อมูล การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ๕) แก้ไขข้อมูลหน้าที่ ๕ หัวข้อกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องหลักคิดในการทำยุทธศาสตร์ ข้อที่ ๒ วางยุทธศาสตร์อาหารใน ๓ระดับ แก้ไขเป็น “วางยุทธศาสตร์อาหารใน ๔ ระดับ คือ ๑.ระดับครัวเรือน ๒.ระดับชุมชนท้องถิ่น ๓.ระดับอำเภอ และ ๔.ระดับจังหวัด” ๖) แก้ไขข้อมูลหน้าที่ ๖ เป้าประสงค์ของระบบอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพิ่มข้อที่ “๒๑ ตั้งองค์กรและหน่วยงานติดตามตรวจสอบสารปนเปื้อนและอาหารปลอดภัย” และ ให้ปรับการเขียนใหม่โดยคงเนื้อหาไว้ทั้ง ๒๑ ข้อ แต่ทำเป็นระบบตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ๗) แก้ไขข้อมูลหน้าที่ ๙ หัวข้อยุทธศาสตร์ที่ ๒ ด้านอาหารปลอดภัย ให้ตัด ข้อที่ ๑ ทบทวนและร่วมกันผลักดันคณะกรรมการอาหารปลอดภัยของจังหวัด ตัดออกไม่ต้องใส่ ๘) ให้คณะกรรมการชุดใหญ่เป็นแกนหลักในการประสานงาน และติดตามข้อมูลสถานการณ์ของทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีการเชื่อมโยงและบูรณาการทำงานร่วมกัน ๙) มีข้อเสนอให้ทำเรื่องระบบอาหารให้เป็นทางการตลาด และเพิ่มยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์การตลาด โดยใส่ไว้ในยุทธศาสตร์ที่ ๔ ด้านการบริหารจัดการ ในหัวข้อ เรื่อง กลยุทธ์หนึ่งของการตลาด ๑๐) เพิ่มเติมกระบวนการในยุทธศาสตร์ที่ ๔ ด้านการบริหารจัดการ หน้าที่ ๑๑ ดังนี้ a. มีการทบแผนยุทธศาสตร์ในการประชุมทุกครั้ง b. แผนงานกิจกรรมมอบหมายให้ทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) เข้ามาช่วยรวมทั้งงานด้านวิชาการ ๑๑) ให้มีระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่
a. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ด้านความมั่นคงทางอาหาร b. ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ด้านอาหารปลอดภัย c. ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ด้านโภชนาการสมวัย d. ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ด้านการบริหารจัดการ

3.การประชุมในครั้งต่อไปเป็นวันที่ ๒๔ - ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑ ณ โรงแรมทวินโลตัส โดยเชิญคณะทำงานชุดใหม่ และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ประเด็นยุทธศาสตร์เข้าร่วมประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • วาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ ๑.๑ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม ไม่มี
  • วาระที่ ๓ เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ ๓.๑ ความร่วมมือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร          ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วาระที่ ๔ เรื่องที่เสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณา ๔.๑ ทบทวนร่าง (๑) ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช     (๑) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางอาหาร     (๒) ยุทธศาสตร์ด้านอาหารปลอดภัย     (๓) ยุทธศาสตร์ด้านโภชนาการสมวัย
  • วาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ
    ๕.๑ นัดหมายการประชุมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • วาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ ประธานได้ทบทวนรายชื่อคณะทำงานและมีมติให้แก้ไขคำสั่งโดยเพิ่มคณะทำงานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านอาหารปลอดภัย
  • วาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม  ไม่มี
  • วาระที่ ๓ เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ เรื่องความร่วมมือในการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วาระที่ ๔ เรื่องที่เสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณา มี 2 เรื่อง คือ การทบทวนและเพิ่มเติมคณะทำงานให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และการทบทวนแก้ไขร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารฯ
  • วาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ นัดหมายการประชุมครั้งต่อไป

 

40 36

22. การประชุมสัมมนาคณะทำงานบูรณาการระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 23 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการเสนอให้เพิ่มเติมคณะทำงาน และเพิ่มคณะทำงานชุดเล็กที่เป็นทีมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์
  • ได้แผนปฏิบัติยุทธศาสตร์จำนวน 3 ประเด็น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับ สสจ.จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 24 ตุลาคม 2561 - เปิดประชุมโดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช - สรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๑ - ชมวิดีทัศน์ระบบอาหารปลอดภัยบ้านหูยานและบ้านทุ่งยาว จังหวัดพัทลุง - แนวคิดและรูปแบบการทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในระดับจังหวัด โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ - แบ่งกลุ่มทบทวนร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช
วันที่ 25 ตุลาคม 2561 - นำเสนอแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ระบบอาหารทั้ง ๓ ประเด็น

 

80 80

23. ประชุมชี้แจงและระดมความคิดเห็นการขับเคลื่อนโครงการบูรณาการระบบอาหารในสถานศึกษาของจังหวัดสงขลา

วันที่ 26 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อระดมความคิดเห็นกับผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 80 แห่งซึ่งเป็นโรงเรียนเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการบูรณาการระบบอาหารในสถานศึกษาของจังหวัดสงขลา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

แผนงานโครงการที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ที่บรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา บรรจุในแผนปฏิบัติงานของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้บริหารโรงเรียนมีความเข้าใจต่อการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการบูรณาการระบบอาหารในสถานศึกษาของจังหวัดสงขลา ซึ่งจังหวัดสงขลาได้จัดสรรงบประมาณปี 2562 จำนวน 3.8 ล้านบาท ดำเนินงานมีกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 80 แห่ง ซึ่งอยู่ในอำเภอนาทวี 21 แห่ง อำเภอสะบ้าย้อย 21 แห่ง อำเภอกระแสสินธุ์ 9 แห่ง อำเภอนาหม่อม 9 แห่ง อำเภอคลองหอยโข่ง 11 แห่ง และอำเภอควนเนียง 9 แห่ง คัดเลือกจากโรงเรียนที่มีเด็กอยู่ในเกณฑ์ทุพโภชนาการ 1. หลักการและเหตุผลที่ต้องดำเนินงาน - มาตรฐานอาหารกลางวัน คุณค่าทางโภชนาการอาหารกลางวันมีปริมาณพลังงาน และสารอาหาร (เช่น แคลเซียม เหล็ก
และวิตามินเอ ) อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน - ความปลอดภัยด้านผลผลิตของอาหารที่นำมาปรุงอาหารกลางวัน - สถานการณ์ภาวะโภชนาการของสงขลา ที่ยังพบว่ากลุ่มเด็ก 6-14 ปี มีเด็กผอมร้อยละ 4.7 อ้วน ร้อยละ 9.39 และเตี้ย ร้อยละ 6.95  กลุ่มอายุ 6-18 ปี มีร่างกายสมส่วนเพียงร้อยละ 46.5 กลุ่ม 15 ปี มีภาวะอ้วน ร้อยละ 25 และผอมร้อยละ 6.7 และค่าเฉลี่ยเชาวน์ปัญญา (IQ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี พ.ศ. 2559 เด็กมีระดับไอคิว 99.11 จุด 2. วัตถุประสงค์การดำเนินงาน - เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการพื้นที่ผลิตอาหาร ทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และการเข้าถึงอาหารของเด็กนักเรียน ในโรงเรียนในจังหวัดสงขลา
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการภาวะโภชนาการที่ดีแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน - เพื่อพัฒนาโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพโรงเรียนอย่างครบวงจร - เพื่อลดปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน ทั้งปัญหาเด็กอ้วน เตี้ย ผอม 3. คัดเลือกโรงเรียนในพื้นที่ ๆ มีปัญหาภาวะโภชนาการผอมและเตี้ย - อำเภอนาทวี จำนวน 21 โรงเรียน นักเรียน 5,622 คน - อำเภอสะบ้าย้อย จำนวน 21 โรงเรียน นักเรียน 4,180 คน - อำเภอกระแสสินธุ์ จำนวน 9 โรงเรียน นักเรียน 1,091 คน - อำเภอนาหม่อม จำนวน 9 โรงเรียน นักเรียน 1,109 คน - อำเภอคลองหอยโข่ง จำนวน 11 โรงเรียน นักเรียน 1,536 คน - อำเภอควนเนียง จำนวน 9 โรงเรียน นักเรียน 1,018 คน รวมจำนวนนักเรียน 15,106 คน 4. เป้าหมายของโครงการ - เกิดการจัดการระบบอาหารกลางวันในโรงเรียนตั้งแต่กระบวนการผลิต กระบวนการปรุงอาหาร และการบริโภคที่ปลอดภัย โดยใช้เป็นวัตถุดิบอาหารที่เกิดจากการทำโครงการเกษตรโนโรงเรียน
- ครูผู้รับผิดชอบการกำหนดเมนูอาหารกลางวันในโรงเรียนใช้โปรแกรม Thai School Lunch ออกเมนูอาหารกลางวันหมุนเวียนทั้งรายสัปดาห์และรายเดือน โดยเมนูอาหารกลางวันเชื่อมโยงกับโครงการเกษตรในโรงเรียน - มีการติดตาม เฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน และโรงเรียนสามารถสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาภาวะโภชนาการร่วมกับผู้ปกครอง และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ - เกิดแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบอาหารในโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5.ผลลัพธ์โครงการ - โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง มีพื้นที่ผลิตอาหารทั้งทางด้านการเกษตร ปศุสัตว์ หรือประมง โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียน ชุมชน และเครือข่าย
- โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งมีการนำผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อจัดทำอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน - โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งมีการจัดรายการอาหารหมุนเวียน อย่างน้อย 1 เดือน ตามโภชนาการที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพและผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนหรือชุมชน โดยใช้ โปรแกรม Thai School Lunch - โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่ง มีกระบวนการเตรียมปรุงอาหารให้กับเด็กนักเรียนที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการ - โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งมีระบบการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของนักเรียน มีการใช้โปรแกรม Thai Growth - เกิดโรงเรียนต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้เรื่องการจัดการระบบอาหารในโรงเรียนของจังหวัดสงขลา - เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนที่ดำเนินงานระบบอาหารด้วยกัน หรือมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และ อปท. ของจังหวัดสงขลา 6. แนวทางการดำเนินงาน 1.ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่อาหาร ทั้งทางด้านการเกษตร การปศุสัตว์ และประมงในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 แห่ง 1.1.ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน (ต.ค. 2561) 1.2 อบรมพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผนการจัดการระบบอาหารในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 80 โรง เรียน ๆ ละ 5 คน (พ.ย. 2561) 1.3 สนับสนุนให้โรงเรียน ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด ( ธ.ค.2561-มิ.ย.2562 ) 2. ส่งเสริมให้เกิดการจัดการภาวะโภชนาการที่ดีแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน 2.1 อบรมครูอนามัยโรงเรียน แม่ครัว เรื่องการจัดบริการอาหารกลางวันให้ถูกหลักโภชนาการ (พ.ย.- ธ.ค.2561) 2.2 โรงเรียนมีนโยบายใช้ผลผลิตจากพื้นที่ผลิตอาหารทั้งเกษตร ปศุสัตว์ และประมงเป็นวัตถุดิบอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน ใช้การประชุมระดมความคิดเห็นกับเกษตรตำบล พัฒนาชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแกนนำเกษตร เพื่อค้นหาแหล่งผลผิตอาหารในชุมชน โดยโรงเรียนทั้ง 80 แห่ง จัดให้มีการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม แห่งละ 20 คน (ธ.ค.2561) 2.3 การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กนักเรียน โดยการจัดอบรมโปรแกรม Thai growth ให้กับครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 80 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน (ม.ค. – ก.ย.2562) 3 การพัฒนาโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านระบบอาหาร 3.1 ประชุมกลุ่มย่อย (Focus group)เพื่อถอดบทเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ (มี.ค.2562) 3.2 ประชุมครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ เพื่อรับฟังความเห็น และสังเคราะห์บทเรียนการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นองค์ความรู้ (เม.ย.2562) 3.3.คัดเลือกโรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นเป็นโรงเรียนต้นแบบ และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างน้อย 10 โรงเรียน (มิ.ย.2562) 3.4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน (พ.ค.2562) 4. การติดตามประเมินผล 4.1 พัฒนาระบบการประเมินผลแบบออนไลน์ (บนเวปไซต์) (พ.ย. 2561) 4.2 พัฒนาศักยภาพครูที่รับผิดชอบโครงการเรื่องการบันทึกข้อมูลในระบบการติดตามประเมินผลแบบออนไลน์ (เวปไชต์) (พ.ย. 2561) 5.สรุปผลโครงการ 5.1 จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่โรงเรียนที่เป็นต้นแบบการจัดการระบบอาหารในโรงเรียน 10 กรณีศึกษา ( 10 พื้นที่) (ส.ค.2562) ซึ่งที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการ ดังนี้ 1. คุณภาพอาหารกลางวัน บางโรงเรียนมีระบบการจ้างเหมาแม่ครัว ทำให้มีข้อจำกัดการจัดการวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหาร เพราะต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมากซึ่งซื้อจากตลาดเป็นหลัก
2. การจัดการเมนูอาหารกลางวัน โรงเรียนใช้โปรแกรม Thai School Lunch แต่พบข้อจำกัดคือไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ตามในโปรแกรมที่ระบุ นักวิชาได้เสนอว่าคุณครูที่ออกเมนูอาหารกลางวันสามารถประยุกต์ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบตามบริบทพื้นที่ จึงควรทำความเข้าใจกับระบบโปรแกรมให้เพิ่มขึ้น 3. การจัดทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียน บางโรงเรียนมีข้อจำกัดของพื้นที่ ขาดบุคลากรการทำเกษตร ภาระครูในการดำเนินงานเรื่องเกษตรในโรงเรียน และพบปัญหาด้านความรู้ในการเลี้ยงไก่ไข่ แต่บางโรงเรียนสามารถบูรณาการกับผู้ปกครองนักเรียนให้นำวัตถุดิบการเกษตรมาส่งโรงเรียน บางโรงเรียนสามารถบูรณาการเรื่องเกษตรให้กับสำนักงานเกษตรตำบล ผู้ใหญ่บ้าน อปท. และหน่วยทหาร
4. ปัญหาภาวะโภชนาการ พบเรื่องเด็กอ้วน เด็กไม่กินผัก โดยผู้บริหารเห็นว่าปัญหาภาวะโภชนาการต้องแก้มาจากที่บ้าน 5. การอบรมแม่ครัว บางโรงเรียนมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย ข้อสรูปจากการประชุมครั้งนี้ สถาบันจะให้โรงเรียนพัฒนาต่อยอดกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียน โดยเน้นกิจกรรมเรื่องการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา โดยใช้งบอุดหนุนจากจังหวัดให้โรงเรียนละ 20,000 บาท

กิจกรรมที่ทำจริง

สถาบันฯจะออกแบบฟอร์มแบบเสนอโครงการเกษตรในโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนระบุกิจกรรมที่จะดำเนินการและแจกแจงงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม

 

80 0

24. การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารนครศรีธรรมราชปี 2562-2566

วันที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทบทวนแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้แผนปฏิบัติเพิ่ม และหลังจากนี้จะตามข้อมูลจากหน่วยงานที่นำเสนอ และปรับ และนัดประชุมคณะทำงานทีมขับเคลื่อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานบูรณาการระบบอาหารเพื่อทบทวน ปรับปรุงเนื้อหาเอกสารร่างยุทธศาสตร์ฯ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • กล่าวเปิดการประชุม และมอบนโยบายการทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีฯ
  • ภาพรวมและกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
  • นำเสนอยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ด้านความมั่นคงทางอาหาร
  • นำเสนอยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ด้านอาหารปลอดภัย
  • นำเสนอยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ด้านโภชนาการสมวัย
  • สรุป แนวทางการขับเคลื่อนงานให้เกิดรูปธรรม

 

80 80

25. การประชุมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลาไปสู่แผนปฏิบัติราชการและแผนงบประมาณของจังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 14 มกราคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อระดมความคิดเห็นกับหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

แผนงานโครงการที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ที่บรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา บรรจุในแผนปฏิบัติงานของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา และงานอื่นๆที่จังหวัดมอบหมาย

กิจกรรมที่ทำจริง

ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลาไปสู่แผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณของจังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้ร่วมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา โดยมีความก้าวหน้าดังนี้

  1. แผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา จำแนกตามเป้าหมาย มีรายละเอียด ดังนี้
    1.1. เป้าหมาย: การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม(Transformation of Culture)

    1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มีแผนเรื่องธรรมาภิบาลในปีงบประมาณ 2562 สามารถจัดสรร ไตรมาสที่ 3 จำนวน 300,000 บาท ในการดำเนินโครงการรณรงค์เรื่องธรรมาภิบาลและการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในภาครัฐและภาคธุรกิจและโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนการขับเคลื่อนค่านิยมร่วมและวัฒนธรรมภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และมีมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ร่วมออกแบบหลักสูตรการอบรม สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นหน่วยประสานงาน กลุ่มเป้าหมายดำเนินโครงการ คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 140 แห่ง

    2) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เสนอเรื่องการขับเคลื่อนแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ไปสู่แผนปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาปี พ.ศ. 2562-2563 การดำเนินงานร่วมกับองค์กร 15 ภาคีบริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จำนวน 26 ล้าน พัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มวัยเด็กเล็ก วัยเรียน ผู้สูงอายุและผู้พิการ โดยวันที่ 25 มกราคม 2562 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาเป็นประธานการประชุมพิจารณาโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเวลา 9.00 น. – 12.00 น.พิจารณาโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ช่วงวัยเด็ก วัยสูงอายุ และผู้พิการ และเวลา 13.00-16.30 น. พิจารณาโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยประสานงานกับสำนักงานจังหวัดสงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ไปสู่แผนปฏิบัติราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาปี พ.ศ. 2562-2563

    3) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (วธจ.) ได้ขับเคลื่อนแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลาปีงบประมาณ 2562 โดยขอความร่วมมือผ่านหน่วยงานราชการเรื่องการสร้างค่านิยม แหลงใต้ ไหว้สวย การประหยัดอดออม และการมีวินัย สำหรับปีงบประมาณ 2564 ดำเนินโครงการผลิตสื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของคนสงขลา ปี 2565 โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องค่านิยมร่วมและวัฒนธรรมของคนสงขลา และปี2566 ดำเนินโครงการพัฒนาบุคคลต้นแบบขับเคลื่อนวัฒนธรรมคนสงขลา

    4) ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ขับเคลื่อนแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลาปีงบประมาณ 2563 ใช้กระบวนการลูกเสือ เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและการอยู่ร่วมกัน รวมทั้งการกำหนดให้ทุกโรงเรียนเข้าร่วมในโครงการโรงเรียนคุณธรรม ด้านวินัย ความรับผิดชอบ และจิตอาสา และมีต้นแบบ โรงเรียนคุณธรรมในพื้นที่ 2 แห่ง ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่เน้นกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในส่วนของการออกแบบหลักสูตรในโรงเรียน ทางศึกษาธิการจังหวัดรับไปพิจารณาออกแบบหลักสูตรในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน

    5) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่มีวิชาบัณฑิตที่พึงประสงค์ และเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย

    6) สำนักงาน ปปช. มีการดำเนินงานเรื่องธรรมมาภิบาลและการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในภาครัฐและเอกชน กิจกรรมรณรงค์ให้กับเยาวชน มีปกครองจังหวัดดำเนินงานเรื่องจริยธรรมในองค์กรภาครัฐ สำนักงานจังหวัดสงขลาดำเนินงานส่งเสริมการบริหารจัดการภาครัฐ และ ซึ่งปีงบประมาณ 2563-2566 หอการค้าจังหวัดสงขลาสามารถสนับสนุนงบประมาณและร่วมกิจกรรมส่งเสริมเรื่องธรรมมาภิบาล

    7) สำนักงานจังหวัดสงขลารับผิดชอบประสานกับประชาสัมพันธ์จังหวัด เพื่อขยายผลเรื่องการผลิตสื่อหรือเผยแพร่ค่านิยมวัฒนธรรมของคนสงขลา และการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข้อมูล

    1.2. เป้าหมาย: การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

    1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้สนับสนุนงบประมาณปีละ 8 ล้านบาทให้กับโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนในจังหวัดสงขลาจำนวน 10 แห่งดำเนินงานเรื่องการสนับสนุนคุณภาพชีวิตเด็กนักเรียนโดยเฉพาะเรื่องอาหารเช้า โดยให้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ติดตามประเมินโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล

    2) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มีงบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จำนวน 26 ล้าน ซึ่งสามารถนำมาบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มวัยเด็กเล็ก วัยเรียน ผู้สูงอายุและผู้พิการ และมีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุซึ่งยังขาดภารกิจในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด และหน่วยอื่นๆได้นำเสนอโครงการกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดในวันที่ 25 มกราคม 2562 เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการปี พ.ศ. 2562-2563 ต่อไป

    3) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีสงขลา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา มีโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจำนวน 6 โครงการ ซึ่งอยู่แผนปฏิบัติราชการของจังหวัดสงขลาปีงบประมาณ 2563

    4) สำนักงานหอการค้าจังหวัดสงขลา จะดำเนินโครงการสร้างนักธุรกิจรุ่นใหม่โดยเฉพาะเยาวชน และการสร้างกลไกรัฐในการสนับสนุนนักธุรกิจรุ่นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจของประเทศ

    1.3. เป้าหมาย: การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformation of Learning)

    1) ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แจ้งว่าได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาพัฒนาระบบออนไลน์เพื่อสนับสนุนสอบวัดโครงงานด้วยฐานวิจัยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ระยะเวลาดำเนินงาน 2 ปี งบสนับสนุน 6 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มเป้าหมายปี2562 จำนวน 10 แห่ง และปี 2563 จำนวน 10 แห่ง โดยแนวคิดมาจากโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ของ รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเคยดำเนินโครงการในพื้นที่จังหวัดสงขลาจำนวน 10 แห่ง
    เสนอให้ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ได้ขยายผลเรื่อง STEM Education และโครงการอื่นๆที่อยู่ในแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลาให้เกิดการขยายผลในจังหวัดสงขลา

    2) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังพัฒนาระบบการเรียนรู้ดิจิตอลออนไลน์ (Digital online) โดยให้ผู้เรียนที่อยู่ในวัยเรียน วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ สามารถลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่สนใจ ดำเนินการเก็บหน่วยกิตและรับรองผลการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และพัฒนาระบบการเรียนรู้เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถได้รับการรับรองจบการศึกษาจากในประเทศและต่างประเทศ

    3) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา จะรับดำเนินงานให้สถาบันการศึกษาส่งเสริมสนับสนุนการปฏิรูปการเรียนรู้ทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา

    1.4. เป้าหมาย: การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents)

    1) เสนออุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมขับเคลื่อนโครงการในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา

    1.5. เป้าหมาย: การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี

    1) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา มีการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพของประชาชนอยู่ในแผนปฏิบัติราชการ

    1.6. เป้าหมาย: การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย

    1) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา มีการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพของประชาชนอยู่ในแผนปฏิบัติราชการ

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 979,150.00 0.00                    
คุณภาพกิจกรรม                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
น.ส.ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ , น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี, น.ส.อิสรา มิตรช่วยรอด
ผู้รับผิดชอบโครงการ