แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.นครศรีธรรมราช ”

จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
คุณภัทราภรณ์ บัวใหญ่

ชื่อโครงการ เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.นครศรีธรรมราช

ที่อยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง สชต.นศ.001

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ตุลาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.นครศรีธรรมราช



บทคัดย่อ

โครงการ " เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.นครศรีธรรมราช " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2561 - 31 ตุลาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 70 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เนื่องจากการขับเคลื่อนประเด็นด้านสุขภาพในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการขับเคลื่อนในชุมชนและตำบลในรูปแบบต่างๆโดยการสนับสนุนของภาคี และองค์กรพัฒนาของภาครัฐ รวมถึงการรวมตัวของประชาชนในชุมชน แต่กระบวนการขับเคลื่อน และการขยายผล การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารยังไม่สามารถดำเนินการให้เิกดการรับรู้และเกิดความเข้าใจร่วมของทุกภาคส่วนได้ สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ซึ่งมีศักยภาพด้านการสื่อสารโดยใช้ช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ ทั้ง onair online ongrondมีเป้าหมายในการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนทางสังคมสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. เวทีถกเถียงสาธารณะ " ท่องเที่ยววีไทย เก๋ไก๋ อย่างยั่งยืน"

    วันที่ 18 ธันวาคม 2560 เวลา 09:00 - 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานพื้นที่ และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเครือข่ายการท่องเที่ยว 2. ประชุมทีมสื่อเพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนการทำงานและการนำเสนอเพื่อการสื่อสาร 3. เวทีถกเถียงสาธารณะเพื่อเปิดโอกาสในการพูดคุยสถานการณ์และทิศทางการขับเคลื่อน จุดเด่น จุดด้อย และการสร้างความร่วมมือในชุมชนอย่างไร 4. ทำการสื่อสาร ถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุคไลฟ์ และนำเนื้อหาไปสื่อสารในรายการวิทยุ รายการกินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1 เกิดการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและองค์กร หน่วยงานของรัฐ มีความเข้าใจและตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกับการท่องเที่ยววิถีไทย 2. รูปแบบของการสื่อสาร โดยผ่านศิปวัฒนธรรมท้องถิ่น การล้อมวงคุยเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้นำเสนอความต้องการและข้อจำกัดของตัวเองนำไปสู่การสานสัมพันธ์ในเชิงวัฒนธรรม และการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติ 3. การสื่อสารที่ทำให้ผู้เข้าร่วมและผู้ชม มีมุมมองต่อแนวคิดเรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชน กับการท่องเที่ยวกระแสหลัก ที่ใช้จุดขายดึงดูดลูกค้าเข้ามาท่องเที่ยว และนำไปพัฒนาให้เกิดความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น

     

    150 110

    2. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช

    วันที่ 5 มกราคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เชิญทีมสื่อ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการขับเคลื่อนงาน 2.เจ้าหน้าที่สมาคมสื่อชุมภาคใต้นครศรีธรรมราช 3.เตรียมเนื้อหาและประเด็นการพูดคุยและกรอบการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดความเข้าใจของทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการก็เพื่อทำการสื่อสาร กระบวนการขับเคลื่อนงาน ของประเด็นต่างๆ โดยจะต้องคิดวิธีการสื่อสารให้ถึงกลุ่มเป้าหมายสามารถรับรู้ และเห็นความจำเป็นและความสำคัญของเรื่องราวที่สื่ออกไป
    2. ได้กรอบแนวคิดในการสร้างงานสื่อ เพื่อมุ่งเน้นในการขับเคลื่อนสังคมที่สร้างสรรค์
    3. การร่วมคิดสร้างการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วยเครื่องมือการสื่อสารโดยใช้การสื่อสารที่เป็นตัวแทนของชุมชนซึ่งมีความเข้าใจกับวิถีของชุมชน
    4. คณะทำงานได้แนวทางในการขับเคลื่อนพร้อมๆกับการกำหนดเนื้อหาในการสื่อสารของแต่ละประเด็นงาน
    5. วิธีการสื่อสาร กับคณะบุคคล หรือตัวบุคคล ที่เป็นผู้มีประสบการณ์ หรือกลุ่มอาชีพที่สร้างความสำเร็จที่เป็นต้นแบบหรือตัวอย่างใ้หกับผู้อื่นโดยผ่านกระบวนการสื่อสาร

     

    15 11

    3. จัดรายการ “ กินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ ” ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเตรียมงานสร้างสุข

    วันที่ 6 มกราคม 2561 เวลา 09:00-10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.แกนนำประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2.ทีมสื่อสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ 3.ผู้ชมที่ติดตามเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช และแฟนรายกาวิทยุกินอิ่มนอนอุ่นในภาคใต้ 4 ดำเนินการจัดรายการ โดยคุณอานนท์ มีศรี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1  สื่อสารผ่านช่องทางรายการวิทยุ รายการอินอิ่มนอนอุ่น และการนำเสนอผ่านช่องทางเฟสบุ๊คเพจสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช 2. นำเรื่องราวการขับเคลื่อนงานและข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาวะ ให้ผู้ติดตามได้รับฟังรับทราบ 3. นำเสนอเนื้อหาของการดำเนินงานร่วมของภาครัฐและประชาชนในเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มพัฒนาไปสูสิ่งที่ดีขึ้น 4. ประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวของจังหวัดนครศีธรรมราช ที่เป็นเมือง ต้องห้ามพลาด 1 ใน 12 เมือง และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ อุทยานเขาหลวง ทะเลที่สวยงาม รวมทั้งอาหารประจำถิ่นประจำเมือง และที่พักที่สะดวกสบายทั้งในแบบชุมชนที่เป็นโฮมสเตย์และแบบ ที่มีความสะดวกสบายเหมาะแก่การพักผ่อนและท่องเที่ยว 5. การประชาสัมพันธ์งานสร้างสุขภาคใต้ที่จัดขึ้นในวันที่ 29 - 31 มีนาคม 2561 โดยการม่ส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานในภาคใต้ มาร่วมกันแสดงผลงานและการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย

     

    70 0

    4. จัดรายการ “ กินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ ” ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเตรียมงานสร้างสุข

    วันที่ 28 มกราคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมข้อมูลการนำเสนอในรายการ
      1. ประสานเครือข่ายสื่อ ที่เป็นสถานีหลัก ในการเชื่่อมสัญญาณทั้งรายการวิทยุ และเฟสบุ๊คไลฟ์ 3.  ดำเนินรายการ และสื่อสาร ทั้งแบบ onair online ongroun

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การดำเนินรายการพูดคุยนำไปสู่มุมมองและการมองเห็นภาพของความร่วมมือที่จะจัดการการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดความยังยืนของชุมชน 2.ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ได้ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อหาแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เกิดความยั่งยืน และชาวบ้านในชุมชนมีรายได้จากกิจกรรมการท่องเที่ยวด้วย
    2. เกิดแนวทางในการจัดการร่วมขององค์กรรัฐ และชุมชนเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
    3. ชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม และไม่ได้คำนึงถึงรายได้เพียงอย่างเดียว แต่สามารถบริหารจัดการในการอนุรักษ์ ที่คนกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้
    4. การทำงานของชุมชนกับภาครัฐมีการปรับตัวเข้าหากัน โดยมุ่งเน้นการทำงานในเชิงพัฒนามากกว่าการคำนึงถึงรายได้
    5. การสื่อสารทำให้เกิดการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่เครือข่ายสื่อที่ครอบคลุมทั้ง 8 จังหวัด ที่รับรายการวิทยุ และรายการเฟสุบุ๊คไลฟ์ที่มีพื้นที่การสื่อสารในวงกว้่างทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสามารถ สะท้อนความคิดเห็นผ่านรายการสด และการชมย้อนหลัง

     

    70 0

    5. จัดรายการลิกอร์ล้อมวงคุย “วิถีน้ำเมืองคอน”

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้ 1.ประสานบุคลคลเป้าหมายที่จะเข้าร่วมสถานที่(พื้นที่) สำหรับเป็นสถานที่นั่งสัมภาษณ์จัดรายการ 2.การเก็บรวบรวมภาพที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพูดคุยและสร้างความใจให้ผู้ชมในการส่อสาร 3. ดำเนินการพูดคุยและถ่ายทำในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการมากเกินไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.การใช้การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์ และวิกฤติ น้ำท่วมน้้ำแล้งในเมืองนครศรีธรรมราชจนกลายเป็นวิีถีน้ำที่มีอยู่คู่กับการใช้ชีวิตในอดีต 2.การปรับตัวของคนในลุ่มน้ำที่ต้องเผชิญทั้งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็มหนุนสูง  ต้องอพยพเพื่อไปทำกินบนภูเขาจนต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตเข้าไปเป็นแนวร่วมกับขบวนการคอมมิวนิสต์ในยุคก่อน 3.เนื้อหาการสื่อสารที่มี รายละเอียดของการแก้ปัญหา วิกฤติน้ำท่วมน้ำแล้ง และภัยพิบัติ โดยใช้หลักการอยู่ร่วมกับธรรมราชาติ เป็นองค์ความรู้สำหรับคนรุ่นหลัง 4. การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของโลก ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ธรรมชาติยังคงเกิดขึ้นแบบเดิมอาจจะเพิ่มความรุนแรงจากการที่มนุษย์ทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น แต่มนุษย์ไม่เรียนรู้วิถีในอดีตทำให้ภัยที่เกิดขึ้นสร้างความรุนแรงในการทำลายทรัพย์สินและชีวิตผู้คนในทุกๆปี

     

    1,000 0

    6. จัดรายการ กินอิ่มนอนอุ่นบนแผ่นดินใต้ " ประเด็นการจัดการน้ำทั้งระบบ "

    วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ...

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ...

     

    70 0

    7. ประชุมคณะทำงานเตรียมงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2561 "สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดกำจัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน

    วันที่ 26 มีนาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

        1. เตรียมกำหนดการงานสร้างสุขภาคใต้ เพื่อ นำมาเตรียมซักซ้อมและทบทวนกิจกรรมที่แต่ละคนรับผิดชอบ 2. ประชุมทีมสื่อและส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน ทั้งหน้าที่ผู้รับผิดชอบกิจกรรมต่างๆของงาน และการเข้าร่วมกระบวนการในห้องย่อยเพื่อจัดทำข้อเสนอด้านสื่อต่อหน่วยงานองค์กรต่าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดความเข้าใจใน ขั้นตอนการการปฎิบัติแต่ละคน แต่ละทีมที่ัรับผิดชอบ และมีความพร้อมในการปฏิบัติตามกิจกรรมแผนงานที่วางไว้
    2. การจัดเตรียมอุปกรณ์ และการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ การสื่อสารที่จะนำไปใช้ในแต่ละ กิจกรรมงาน
    3. ทุกคนมี เอกสาร ขั้นตอนการทำงานที่ต้องเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน เพื่อให้งานออกมาดีที่สุดและมีข้อติดขัดน้อยที่สุด และมีการวางแผนรองรับกรณีมีปัญหาหรืออุปสรรคหน้างาน กำหนดผุู้้ประสานงานหลักในการอำนวยการแก้ปัยหา

     

    15 0

    8. เวทีสาธารณะ “ย้อนรอย 470 วัน น้ำท่วมใหญ่ : การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน

    วันที่ 20 เมษายน 2561 เวลา 08:30-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ 2.การแสดงมโนราห์c]tการแสดงอะคลูติค 3.พิธีการทางศสาสนา  ทำบุญเลี้ยงพระ และสาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
    4.การเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้การเเตียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติ ตำบลชะอวด 5.เวทีสาธารณะ "บทเรียนน้ำท่วมใหญ่กับการจัดการภัยพิบัติ"  มีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้       -  ปภ.จังหวัดนครศรีธรรมราช       - ชลประทาน       - นักวิชาการการจัดการภัยพิบัติ       - นายอำเภอชะอวด       - เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติภาคใต้       - ตัวแทนชุมชน       - มูลนิธิชุมนไทย       - ปลัดอำเภอชะอวด ดำเนินการโดยนายอานนท์  มีศรี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เสวนา 470 วัน มีความหมายกับคนชะอวดอย่างไร? "ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ชาวบ้านมีการเตรียมตัวหรือตั้งรับอย่างไรบ้าง"     ปลัดฯจันทร์ฉาย  วันที่ 28 ธันวาคม 2560 เหตุการณ์น้ำท่วมชะอวด การเตรียมตัวของหน่วยงานราชการ ขาดประสบการณ์ การอพยพเป็นเรื่องยากของชาวบ้าน ไม่เชื่อ คิดว่าคงท่วมไม่มาก ห่วงบ้าน ห่วงข้าวของ  เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงๆสิ่งที่เราเห็นคือการพร้อมใจกันช่วยเหลือของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  ระยะเวลาแค่ 4 ชม.น้ำขึ้นสูงสุดถือว่าเร็วมาก  การที่ชาวบ้านชินกับฤดูน้ำหลาก ความเชื่อว่าอย่างไรก็ท่วมไม่มากหรือไม่ถึงชั้น 2 ของบ้านแน่นอน  ทุกคนที่เข้ามาช่วยเหลือถือว่าเป็นผู้มีประสบการทั้งสิ้น  วันที่น้ำลดระดับสิ่งที่ทำได้คือ การขอความช่วยเหลือข้างสาร อาหารแห้งให้กับพี่น้องผู้ที่ประสบภัย100%  สิ่งที่อยากให้ตระหนักมากที่สุดคือ การแจ้งเตือนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด  ขอให้ชาวบ้านช่วยกันเพื่อลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด  ให้ชุมชนได้เรียนรู้เรื่องการประสบภัยให้ได้มากที่สุด นายวัชระ  เกตุชู  ปัญหาอยู่ที่ความเสียหายที่มีมากกว่าปกติ  ปี 60 น้ำมาแรงและเร็วการเตรียมตัวของชาวบ้านไม่ทัน  ปกติน้ำใช้เวลาเดินทางมาจากห้วยน้ำใส  มาจากตะวันออกไปตะวันตก  ครั้งแรก5 ธ.ค.59 ครั้งที่ 2 วันที่ 6 ม.ค.60  ข้อดีคือมีเรืออยู่ในหมู่บ้านหลายลำ  แต่ไม่สามารถติดต่อกับภายนอกได้  ต้องใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการติดต่อกับภายนอกในเรื่องของข้าวสารอาหารแห้งมาให้กับชาวบ้านในพื้นที่  การเตรียมความพร้อมของชาวบ้านพอมีอยู่บ้างแต่ไม่มากพอ     นายไมตรี  จงไกรจักร  วันนี้เรามีปภ.มาร่วมรับฟังและร่วมเสวนาด้วยจะได้มองไกลไปถึงความร่วมมือในภาคหน้า  หน่วยงานจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับชาวบ้านหรือหน่วยงานเอกชนมากขึ้น  ธรรมดาในพื้นที่ชะอวดน้ำท่วมเป็นเรื่องปกติคือ น้ำจะมาเรื่อยๆ  ชาวบ้านมีวิถีในการดำรงชีวิตอยู่กับน้ำ  แต่ครั้งที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่หนักสำหรับชาวบ้าน น้ำมาเร็วและแรงมาก  เหมือนกับคำที่พูดว่า “น้ำเพ”และ“เลเพ” พื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมจะมีน้อยมากเรียกว่าท่วม 100% ก็ว่าได้  สิ่งที่เป็นปัญหากับบ้านเรามาช้านาน คือ ระบบกฎหมายของบ้านเรา คือ มีการจัดการเฉพาะวิกฤติเท่านั้น ไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า  ชาวบ้านต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเอง หาทางช่วยเหลือกันเองก่อน  ความเหมือนกับความต่างระหว่างชะอวดกับที่อื่นๆ ถือว่า ชะอวดล้มเหลวเกี่ยวกับระบบรัฐ  มีการประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป  การสื่อสารเรื่องระบบเตือนภัยล้มเหลว  ประกอบกับชาวบ้านมีความเชื่อว่าไม่รุนแรง เกิดทุกปี  ข้อมูลไม่สอดรับกับความจริง ชาวบ้านไม่เชื่อ หน่วยงานไม่เชื่อ  470 วันหลังจากเกิดภัยพิบัติ ทุกชุมชนมีการเตรียมพร้อมเรื่องการจัดการด้านภัยพิบัติ ประกาศตัวตนว่าเป็นชุมชนจัดการภัยพิบัติ  รัฐเป็นตัวช่วยเสริมกำลังให้กับชุมชนเท่านั้น "การจัดการตนเองเมื่อช่วยเหลือตนเองได้แล้วต้องหันกลับมาช่วยเพื่อนด้วย  เราทำอย่างไร"     รต.สุภาพร  ปราบราย เหตุการณ์ย้อนรอยกับบทบาทที่เข้ามาเป็นอาสาจัดการภัยพิบัติ  แนวคิดถ้าพี่น้องในชุมชนไม่ลุกขึ้นมาจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ตนเองแล้วจะหวังให้ใครมาช่วยเหลือ  ถ้าระบบรัฐกับชุมชนไม่ได้ร่วมมือหรือกอดกันในการแก้ปัญหาไม่มีวันที่ปัญหาจะสามารถแก้ได้  จึงคิดว่าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราต้องหันมาร่วมมือกันให้มากขึ้น ยอมรับกันให้มากขึ้น เพิ่มภาคีทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มากขึ้น
        ดร.สมพร  ช่วยอารี  เทคโนโลยีไม่ว่าจะทันสมัยแค่ไหนก็ต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้อง ถึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ  น้ำเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เคยประสบและต้องประสบต่อไปในอนาคตข้างหน้า  เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือ การปรับตัว การปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้เข้ากับสถานการณ์  อยู่กับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นให้ได้  อีกอย่างที่เราต้องปรับคือการใช้ประโยชน์ที่ดินของเราเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  การจัดการภัยพิบัตินอกจากมีการจัดการเรื่องการวางแผน เรื่องแผนที่ ต้องมีการจัดการเรื่องอาหารไว้รองรับด้วย พลังงานที่เราต้องใช้  แผนที่ภัยพิบัติสิ่งที่เราต้องรู้ คือ รู้น้ำคือรู้ทางน้ำ รู้ลม คือรู้ทางลม ช่องลม รู้ไฟคือรู้ทางไฟ ชุมชนต้องชี้เป้าให้กับหน่วยงานได้รับรู้ด้วย ที่สำคัญข้อมูลต้องมีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ  เมื่อถึงภาวะที่เกิดภัยทำอย่างไรให้เราเป็นกู้ภัยในตัวเราเอง คือ ช่วยเหลือตนเองให้ได้ก่อน แล้วค่อยช่วยเหลือคนอื่น
    ปภ.  บทบาทของปภ.มีตั้งแต่ ก่อนเกิด ขณะเกิด หลังเกิด  ที่ผ่านมาความเสียหายมักจะเกิดขึ้นกับเหตุการณ์ที่เราคาดไม่ถึง  การร้องขอทรัพยากรต่างๆ  ปภ.จังหวัดจะไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติการในพื้นที่  เนื่องจากอุปกรณ์ ทรัพยากรมีน้อย  ซึ่งทรัพยากรในการใช้ช่วยเหลือจะอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่  การสร้างกระบวนการให้ชุมชนสามารถจัดการตัวเองได้จึงเป็นจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน 1 ตำบล 1 ศูนย์ภัยพิบัติ  ตอนนี้เราสามารถบอกได้ว่าในตำบลจะตั้งศูนย์ได้ที่ไหน  หรือถ้าชุมชนมีศูนย์อยู่แล้วก็จะเข้ามาสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น  แนวคิดผู้ว่าฯประธานศูนย์สามารถเป็นใครก็ได้ที่ชาวบ้านให้ความเชื่อถือ     นายยรรยงค์  โกศลการ ชลประทาน  กรมชลทำในเรื่องน้ำทุกระบบทุกภาคส่วน  ข้อมูลผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน  บทบาทหน้าที่บริหารจัดการน้ำ จัดหาแหล่งน้ำ  พัฒนาแหล่งน้ำ เป็นต้น  มีการคาดการณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้า 3 เดือน  และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง  มีกลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มผู้บริหารจัดการน้ำ แต่มีเฉพาะในเขตชลประทานเท่านั้น  กรมชลฯยังมี ... นายวิชัย  สุวรรณโณ ผอ.พอช.ภาคใต้  แนวโน้มการจัดการภัยพิบัติอย่างเป็นรูปธรรม  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  มีเป้าหมายส่งเสริมสนับนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น โดยผ่านสภา หรือกองทุนสวัสดิการ  ก่อนเกิดเหตุแบ่งเป็น3ส่วน พอช.มีภารกิจสนับสนุนเรื่องที่ชุมชนประสบ มีการแลกเปลี่ยน มีกลไกของชุมชน ขณะประสบเหตุ ช่วยเหลือตามเหตุการณ์ที่เกิด หลังประสบเหตุ  ร่วมกับกลไกของชุมชน มีการทำแผนและแก้ปัญหาร่วมกัน เช่นเรื่องที่อยู่อาศัย สร้างกระบวนการให้เกิดการพูดคุยของชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง  ปัญหาต่อไปจะอยู่ที่พื้นที่ยังไม่เคยประสวบเหตุจะไม่มีการเตรียมรับมือ  เราต้องมีการเข้าไปช่วยกันสร้างกระบวนการในพื้นที่  ที่ผ่านมาปัญหาการจัดการภัยพิบัติ อยู่ที่ น้ำมากจริง หรือการจัดการไม่ดี  ไม่รู้จะประสานใครหรือหน่วยงานไหน สิ่งที่ชาวบ้านพึ่งได้มากที่สุดจึงเป็นสื่อฯในพื้นที่หรือสื่อที่เข้ามาจากข้างนอก  เรื่องสำคัญอีกเรื่องที่ทำให้ภัยพิบัติรุนแรงเพิ่มขึ้น คือ ผังเมือง  เนื่องจากการวางผังเมืองไม่เป็นระบบ หรือมีการจัดการที่ไม่ดี  เรื่องกฎหมาย ต้องเปิดช่องที่สามารถเอื้อให้มากที่สุด  เรื่องของภาวะภัยพิบัติเป็นเรื่องที่แก้ที่ปลายทาง สภาวะอากาศที่เปลี่ยนไป การแก้ไขปัญหาต้องช่วยกันรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงอยู่มากที่สุด "การก่อตัวกับพื้นที่กลาง เริ่มต้นอย่างไร"     นายวัชระ เกตุชู  มีวงพูดคุยในระดับหมู่บ้าน  มีกองทุนหลายๆกองทุนเกิดขึ้น  เพื่อรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน  ให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น กฏหมายกพ. การบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร การทำงานร่วมกันเพื่อลดภาวะภัยพิบัติ     นายไมตรี  จงไกรจักร  การทำงานเสริมกับชุมชนพร้อมรับมือภัยพิบัติ  ถ้านครทำเรื่องนี้ให้เกิดจริงๆ โดยให้ปภ.ตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้น1ชุดที่มาจากทุกภาคส่วน  รวมถึงต้องมีสภาองค์กรชุมชนด้วย มีประกาศจังหวัด เช่นระบุว่าทุกปีจะต้องมีการซ้อมแผนภัยพิบัติปีละ1 ครั้ง  พอช.ต้องมีหน้าที่ส่งเสริมเรื่องการจัดการภัยพิบัติด้วย ปภ.มีหน้าที่ส่งเสริมชุมชนอย่างชัดเจน
        ดร.สมพร  ช่วยอารี  มองว่ากฎของธรรมชาติเป็นวัฏจักรที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นเรื่องที่กลมกลืน  เราทำอย่างไรให้กระบวนการบริหารจัดการเป็นไปอย่างกลมกลืน  การจัดการภัยพิบัติระดับครัวเรือน ครัวเรือนจัดการได้ทุกอย่างจัดการได้  ครัวเรือน 5 โรง ไฟฟ้า  ประปา  แก๊สชีวภาพ  อาหาร  โรงเรียน เป็นหน่วยการเรียนรู้ครัวเรือน  เปลี่ยนจากศูนย์ให้เป็นหนึ่ง  แต่ถ้าจะเป็น 4.0 ต้องรู้ล่วงหน้า รู้เท่าทัน ช่วยเหลือตนเองได้ ช่วยเหลือคนอื่นได้  เพราะในอนาคตเราต้องอยู่กับสิ่งเหล่านี้อย่างยาวนาน  เพราะฉะนั้น พร้อมหรือเปล่า?  พ=พาหนะ ร=ยานพาหนะทางน้ำ อ=โอ่ง ม=ยานพาหนะทางบก     นายวิชัย  สุวรรณโณ ผอ.พอช. ภาคใต้  การจัดการภัยพิบัติที่ควรจะเป็น คือให้ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการด้วยตนเอง  ต้องที่ครัวเรือน สภาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นที่รวมของกลุ่มองค์กรในชุมชน นั่นหมายถึง ศักยภาพของคนในชุมชนได้มารวมอยู่ในที่เดี่ยวกัน  ความเป็นจริงในตำบล 3 กับ 3 รวมตัวกัน คือ ชุมชน(สภาองค์กรฯ) ท้องถิ่น ท้องที่  โอกาสที่จะทำศูนย์ให้เต็มทังล้อจังหวัด  2. ติดที่นโยบาย ระบบ โครงสร้างที่ยังไม่เอื้อ ไม่เปิดโอกาส  เราต้องทำทั้ง3 ระดับ และต่อเนื่อง  ล่าง บน นโยบายรัฐเป็นถ้าทำแล้วกระทบในพื้นที่ในหลายๆเรื่อง วิถี สภาแวดล้อม ก็ต้องมีการทบทวน     นายมานะ ยะสะนพ ตัวแทนตำบลบ้านตูล 1.การจัดการภัยพิบัติของพื้นที่  ถือว่าเป็นศูนย์รวมน้ำใจ  ที่คนในพื้นที่ หน่วยงาน ได้มารวมตัวกัน  ธารน้ำใจต้องหลั่งไหลได้ทุกเวลาไม่ใช่เฉพาะยามวิกฤติเท่านั้น  ที่ยกระดับจากการจัดการภัยพิบัติเฉพาะอย่างมาเป็น     รต.สุภาพร  ปราบราย  นครศรีธรรมราชจะมีการจัดทำแผนพัฒนาทั้งจังหวัดในปี 61 คาดหวัง 50 ตำบลมีแผนที่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีข้อเสนอเชิงนโยบาย 42 ตำบล 1ตำบล1 ศูนย์เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติเกิดทุกอำเภอ
    "การหนุนเสริมให้เกิดความเป็นจริงทำได้อย่างไร"
        ปภ.  ในแนวราบจะประสานทุกเครือข่าย  ข้อมูล ขาดแต่เรื่องคำสั่ง นำไปสู่การปฏิบัติ  เราจะทำทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสาธารณะภัย  ประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการให้ความร่วมมือ ชลประทาน  จะกลับไปศึกษาเรื่องสภาองค์กรชุมชนเพิ่มเติมซึ่งถือว่าจะเป็นประโยชน์และเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งได้ในอนาคต  ค้นหาผู้นำที่เป็นผู้นำจริงๆ สรุปภาพรวม โดย ดร.ดำรงค์  โยธารักษ์
    มี 2 กระบวนทัศน์ ที่ใช้มอง 1)วิธีคิดแบบเอาชนะธรรมชาติ  นำไปสู่การจัดการแบบรวมศูนย์ การจัดการน้ำให้สอดคล้องกับอาชีพที่หน่วยงานรัฐกำหนด 2)วิธีคิดแบบอยู่กับธรรมชาติ เป็นการกระจาย  จัดการอาชีพให้สอดคล้องกับระบบและธรรมชาติ 3จัดการอาชีพให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
    ภาคปฏิบัติ  เสนอให้การการปฏิบัติการยังไม่มีภาพฝันร่วมกัน การนำเสนอต้องฉายภาพให้เห็นทั้ง 2 ด้านคือ ทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง  ปัญหาที่เกิดน้ำท่วมหนักเกิดจากอะไร  วิธีการทางความคิดไปสู่ฝันมีกระบวนการอย่างไร  ต่อจากนี้เราจะใช้กระบวนการเวทีประชาเข้าใจเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่ถูกที่ถูกทาง  อันประกอบด้วย 1. ความสุข 2. คิด เขียน พูด 3. ถ้ามีหลายแนวทางแต่ห้ามโหวต 4. ทุกคนสามารถเขียนโครงการได้

     

    100 85

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม
    ตัวชี้วัด : 1. อธิบายกระบวนการสื่อสารและเนื้อหาในการสื่อสารสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไร 2. ได้รูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมกับประเด็นที่ขับเคลื่อนในพื้นที่ 3. มีแนวปฏิบัติเรื่องจริยธรรมของนักสื่อสารชุมชน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( คุณภัทราภรณ์ บัวใหญ่ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด