directions_run

(UNPD) ปฏิบัติการณ์ความมั่นคงทางอาหาร อบต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (UNPD) ปฏิบัติการณ์ความมั่นคงทางอาหาร อบต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส
ภายใต้โครงการ (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดุลย์ ยีดิง โทรศัพท์ 08 1277 5263
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ 1.ดร.เพ็ญ สุขมาก 2. นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ด้านอาหารจังหวัดนราธิวาส ที่มีสัดส่วนพื้นที่การทำเกษตรส่วนใหญ่เป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวประมาณร้อยละ 74 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ขณะที่พื้นที่เกษตรที่เป็นพืชอาหาร เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ มีประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด (ยุทธศาสตร์ระบบอาหาร จังหวัดนราธิวาส พ.ศ.2563-2567, 2563) เช่นเดียวกับพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ที่มีพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 เป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ขณะที่พื้นที่ทำเกษตรที่เป็นพืชอาหารมีประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะมีความสามารถในการผลิตอาหารสำหรับการบริโภคในครัวเรือนและชุมชนได้น้อยกว่าความต้องการ จึงจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบด้านการเกษตรจากพื้นที่ข้างเคียงซึ่งเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมี โดยเฉพาะในพืชผัก เป็นผลทำให้คนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะสูญเสียโอกาสในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ด้วยเหตุดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กในวัยต่าง ๆ วัยเด็กถือเป็นวัยที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่สำคัญ อาหารที่ดีและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่สมวัย สำหรับข้อมูลภาวะโภชนาการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ปี พ.ศ.2562 พบว่า เด็กอายุ 0-5 ปี ในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส มีภาวะเตี้ยเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 38.13 (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10) มีภาวะผอมเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 9.24 (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 5) มีภาวะอ้วนเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 20.29 (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10) และพบว่า เด็กอายุ 6-14 ปี มีภาวะสมส่วนต่ำกว่าค่า
  มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 49.98 (ค่ามาตรฐานไม่น้อยกว่า ร้อยละ 54) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส กำลังประสบกับปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลภาวะโภชนาการในระดับท้องถิ่น จากข้อมูลภาวะโภชนาการเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดด้วยสถานการณ์ด้านอาหารจังหวัดนราธิวาส ที่มีสัดส่วนพื้นที่การทำเกษตรส่วนใหญ่เป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวประมาณร้อยละ 74 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ขณะที่พื้นที่เกษตรที่เป็นพืชอาหาร เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ มีประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด (ยุทธศาสตร์ระบบอาหาร จังหวัดนราธิวาส พ.ศ.2563-2567, 2563) เช่นเดียวกับพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ที่มีพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60 เป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ขณะที่พื้นที่ทำเกษตรที่เป็นพืชอาหารมีประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะมีความสามารถในการผลิตอาหารสำหรับการบริโภคในครัวเรือนและชุมชนได้น้อยกว่าความต้องการ จึงจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบด้านการเกษตรจากพื้นที่ข้างเคียงซึ่งเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมี โดยเฉพาะในพืชผัก เป็นผลทำให้คนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะสูญเสียโอกาสในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ด้วยเหตุดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กในวัยต่าง ๆ วัยเด็กถือเป็นวัยที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่สำคัญ อาหารที่ดีและปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่สมวัย สำหรับข้อมูลภาวะโภชนาการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ปี พ.ศ.2562 พบว่า เด็กอายุ 0-5 ปี ในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส มีภาวะเตี้ยเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 38.13 (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10) มีภาวะผอมเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 9.24 (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 5) มีภาวะอ้วนเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 20.29 (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10) และพบว่า เด็กอายุ 6-14 ปี มีภาวะสมส่วนต่ำกว่าค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 49.98 (ค่ามาตรฐานไม่น้อยกว่า ร้อยละ 54) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส กำลังประสบกับปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลภาวะโภชนาการในระดับท้องถิ่น จากข้อมูลภาวะโภชนาการเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส พบว่า เด็กอายุ 0-5 ปี ในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส มีภาวะเตี้ยเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 10.98 (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 10) มีภาวะผอมเกินค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 8.06 (ค่ามาตรฐานไม่เกินร้อยละ 5) ส่วนเด็กอายุ 6-14 ปี พบว่า มีภาวะสมส่วนต่ำกว่าค่ามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 53.12 (ค่ามาตรฐานไม่น้อยกว่า ร้อยละ 54) ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-14 ปี ในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส มีภาวะโภชนาการที่ดีเติบโตสมวัย องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส จึงมีแนวคิดริเริ่มโครงการเกษตรปลอดสารพิษในสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคอาหารกลางวันจากวัตถุดิบที่สามารถผลิตได้เองในท้องถิ่น นอกจากเด็กนักเรียนจะกินอิ่มและมีสุขภาวะที่ดีแล้วยังถือเป็นการสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านวิชาเกษตรให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ ถือเป็นการปลูกฝังค่านิยมหลักการพึ่งพาตนเองให้แก่เด็กนักเรียนในการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองลดการพึ่งพิงจากผู้อื่น ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีเติบโตสมวัย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ทุกแห่ง มีการใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัยในการจัดการอาหารกลางวันสำหรับให้เด็กนักเรียนบริโภค

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร มีวัตถุดิบที่ปลอดภัยสำหรับการจัดการอาหารกลางวันภายในสถานศึกษา

เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และโรงเรียนตาดีการในพื้นที่ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย มีภาวะโภชนาการที่ดีเติบโตสมวัย

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และโรงเรียนตาดีกาสามารถสร้างเงินทุนหมุนเวียนในโครงการอาหารกลางวันจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมคณะทำงานโครงการ/ผู้ร่วมโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 3,600.00 3 3,600.00
3 ส.ค. 64 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 30 1,200.00 1,200.00
4 พ.ย. 64 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 30 1,200.00 1,200.00
25 ธ.ค. 64 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 30 1,200.00 1,200.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2000 76,400.00 2 76,400.00
10 ก.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมโรงเรียนแปลงเกษตรปลอดสารพิษ 2,000 76,400.00 76,400.00
30 ก.ย. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมการจัดการผลผลิตจากโรงเรียนแปลงเกษตรปลอดสารพิษ 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะมีภาวะโภชนาการที่ดีเติบโตสมวัย
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร มีวัตถุดิบที่ปลอดภัยสำหรับการจัดการอาหารกลางวันภายในสถานศึกษา
  3. เด็กนักเรียนมีอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 12:37 น.